พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. ลัก...ยิ้ม

    ลัก...ยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3,409
    ค่าพลัง:
    +15,762
    ยิ้มก็ได้ยินมาเช่นนั้นค่ะ....แต่ก็ไม่ทราบว่าพระที่ท่านจะรับสังฆทานจากเราไปท่านทราบด้วยกับเรารึปป่าว

    เพื่อความสบายใจของตนเอง ยิ้มก็จะถวายพระประธานก่อน ฮี่ๆๆ แล้วเรียนให้ท่านทราบว่ายิ้มมาถวายสังฆทานนะ ถ้าท่านพยักหน้ายิ้มก็ประเเคนค่ะ

    ก็มิทราบว่าถูกผิดประการใด ... รอฟังด้วยคนค่ะ:d
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ชุดสังฆทาน จะต้องมีอะไรบ้าง
    http://larndham.net/index.php?showtopic=14662&st=10


    <TABLE width="100%" bgColor=#e4f3f3 border=0><TBODY><TR><TD>ความคิดเห็นที่ 11 : (วัชรพล)</TD><TD>

    </TD><TR><TD colSpan=2>
    สังฆทาน คือ ทานให้กับหมู่สงฆ์ ซึ่งต้องประกอบไปด้วยพระภิกษุตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป (เพราะสังฆะ แปลว่า 4)​


    สังฆทานที่ประเสริฐที่สุด คือ สังฆทานที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แต่ปัจจุบันทำไม่ได้แล้ว​

    สังฆทานที่พอทำได้ในช่วงนี้ คือ สังฆทานที่มีครูบาอาจารย์ผู้ประพฤติดี ผู้ปฎิบัติชอบเป็นประธาน​


    แต่การเป็นประธานมิได้หมายความว่า ครูบาอาจารย์ท่านต้องมานั่งเป็นประธานทุกครั้ง หรือไม่จำเป็นต้องมานั่งเป็นประธานเลยก็ได้ แต่ขั้นตอนที่สำคัญอันหนึ่งของสังฆทานก็คือ ต้องมีการแต่งตั้งหรืออุปโลกน์ให้พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเป็นตัวแทนของหมู่คณะมารับทานอันนั้น และเมื่อรับไปแล้ว วัตถุทานนั้นมิได้ตกเป็นของพระภิกษุรูปนั้น หากแต่ต้องนำกลับไปจัดสรรให้กับพระภิกษุอื่นๆตามความเหมาะสม​


    การจัดสรรวัตถุทานต่างๆให้กับพระภิกษุ จะต้องดำเนินการไปด้วยมติอันเป็นเอกฉันท์ของพระภิกษุในคณะนั้น (คณะ มีความหมายเอา "สังฆะ" เป็นเกณฑ์ คือ ตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป) หากความเห็นไม่เป็นเอกฉันท์ คือ มีเสียงคัดค้านแม้แต่เพียงเสียงเดียวแล้ว การแบ่งปันจะต้องดำเนินการแบ่งปันกันใหม่​


    การทำสังฆทานจึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักที่จะเกิดขึ้น แม้แต่ในสมัยนี้ที่มีพระภิกษุมากมาย ก็ใช่ว่าการถวายทานทุกครั้งจะเป็นสังฆทาน เพราะหากไม่ผ่านขั้นตอนจากคณะสงฆ์มาเป็นตัวแทนรับ เมื่อรับแล้วก็นำไปเก็บเป็นสมบัติส่วนตัว ก็ไม่ใช่สังฆทาน อีกทั้งยังมีปัญหาพระภิกษุที่อาบัติปาราชิกไปแล้ว แต่ไม่มีใครทราบ (ดังเช่นที่เห็นเจ้าอาวาสวัดดังๆหลายวัดที่เป็นข่าว) ก็จะทำให้สังฆทานนั้น มิใช่สังฆทานไป​


    สำหรับวัตถุทานนั้น จะเป็นสิ่งใดก็ได้ที่ไม่ขัดพระธรรมวินัย​


    สิ่งที่ต้องระวังให้ดีก็คือ วัตถุทานที่เป็นอาหาร แม้จะเป็นอาหารแห้ง หากพระภิกษุรับไว้ จักไม่อาจเก็บเอาไว้ได้หลังเที่ยง จะต้องสละทิ้ง มิฉะนั้นจะเป็นอาบัติ ยกเว้นน้ำตาล น้ำผึ้ง เนยใส เนยข้น และยา(กิน) จะเก็บเอาไว้ได้ 7 วัน พ้น 7 วันก็ต้องสละ คือ ทิ้ง​


    และหากพระภิกษุท่านถือธุดงควัตรข้อฉันอาสนะเดียว หรือฉันมื้อเดียว จะต้องถวายอาหารหรือของกินก่อนท่านฉัน หากถวายภายหลัง ท่านเองจะอาบัติ เมื่ออาบัติเพราะวัตถุทานนั้น จะทำให้องค์ประกอบของทานด้อยลงไป​


    องค์ประกอบของทานนั้น ต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ​


    1. ผู้ให้บริสุทธิ์ (บริสุทธิ์ด้วยสติดีที่สุด แต่ยากสำหรับคนทั่วไป บริสุทธิ์ด้วยศีลก็ได้เหมือนกัน)​

    2. ผู้รับบริสุทธิ์ (หากบริสุทธิ์ด้วยสติดีที่สุด ดังนั้นหากถวายกับครูบาอาจารย์ซึ่งภาวนามาจนถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ ท่านย่อมบริสุทธิ์ด้วยสติแท้จริง แต่เราไม่อาจรู้ได้)​

    3. วัตถุทานนั้นบริสุทธิ์ (คือ ไม่ได้วัตถุทานมาด้วยการกระทำที่ผิดศีล และไม่ขัดกับพระธรรมวินัย)​


    ในข้อ 2 หากเราไปถวายของที่ทำให้ท่านอาบัติ ก็เท่ากับเราทำลายผลบุญที่ควรได้รับจากการถวายสังฆทานลงไปนั่นเอง​

    สำหรับความเข้าใจผิดว่า การถวายสังฆทาน คือ การถวายที่ไม่เจาะจง แล้วไปตั้งใจเอาไว้ว่า หากเจอพระภิกษุรูปใด ก็จะถวาย ถือว่าเป็นการถวายที่ไม่เจาะจง เป็นความเข้าใจที่ผิดโดยสิ้นเชิง ความหมายที่แท้จริงของการถวายที่ไม่เจาะจง คือ การถวายที่ไม่อาจเจาะจงได้ว่า วัตถุทานนั้นจะไปเป็นของพระภิกษุรูปใด เนื่องจากคณะพระภิกษุหรือสังฆะ จะจัดสรรไปตามความเหมาะสมเอง ฆราวาสหรือผู้ถวาย ไม่อาจเข้าไปยุ่งเกี่ยวได้ นับแต่วัตถุทานนั้นพ้นมือหรือพ้นความครอบครองของตนไปแล้ว​

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE width="100%" bgColor=#e4f3f3 border=0><TBODY><TR><TD>ความคิดเห็นที่ 12 : (วัชรพล)</TD><TD>

    </TD><TR><TD colSpan=2>
    มีทานอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งให้ผลมากกว่าสังฆทานที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน คือ วิหารทาน คือ การสร้างวัดสร้างโบสถ์สร้างวิหาร แต่ต้องถวายให้ได้ตามองค์ประกอบแห่งทานด้วย ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น หากสร้างถวายพระภิกษุที่ศีลกระพร่องกระแพร่ง อาจทำให้ทานที่ถวายด้อยคุณภาพไปอีกมาก​

    ลองหาอ่านได้จากหนังสือ "วิธีสร้างบุญบารมี" พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ครับ หากไม่แน่ใจว่าจะได้จากที่ใด ลองติดต่อห้องสมุดธรรมะ บ้านอารีย์ครับ​

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    http://larndham.net/index.php?showtopic=21968&st=5
    หากจะถวายยาแก่พระสงฆ์ควรเป็นยาประเภทไหนบ้างคะ

    <TABLE width="100%" bgColor=#e4f3f3 border=0><TBODY><TR><TD>ความคิดเห็นที่ 5 : (P
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    วิธีสร้างบุญบารมี.....สมเด็จพระญาณสังวร
    http://palungjit.org/showthread.php?t=19673

    [​IMG]

    ผู้โพส varanyo<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_151640", true); </SCRIPT>

    บุญ ความหมายตามพุจนานุกรมพุทธศาสน์ของพระราชวรมนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) กล่าวว่า บุญ คือเครื่องชำระสันดาน ความดี กุศล ความสุข ความประพฤติชอบทางกาย วาจาและใจ กุศลธรรม
    บารมี คือคุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง

    วิธีสร้างบุญบารมีในพระพุทธศาสนามีอยู่ ๓ ขั้นตอน คือ การให้ทาน การถือศีล และการเจริญภาวนา ที่นิยมเรียกกันว่า "ทาน ศีล ภาวนา" ซึ่งการให้ทานหรือการทำทานนั้นเป็นการสร้างบุญที่ต่ำที่สุด ได้บุญน้อยที่สุด ไม่ว่าจะทำมากอย่างไรก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากไปกว่าการถือศีลไปได้ การถือศีลนั้นแม้จะมากอย่างไร ก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากเกินไปกว่าการเจริญภาวนาไปได้ ฉะนั้น การเจริญภาวนานั้น จึงเป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุด ได้มากที่สุด ในทุกวันนี้เรารู้จักกันแต่การให้ทานอย่างเดียว เช่น การทำบุญตักบาตร ทอดกฐิน ผ้าป่า สละทรัพย์สร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ส่วนการถือศีลแม้จะได้บุญมากกว่าการทำทาน ก็ยังมีการทำกันเป็นส่วนน้อย เพื่อความเข้าใจอันดี จึงขอชี้แจงการสร้างบุญบารมีอย่างไรจึงจะเป็นการลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้บุญบารมีมากที่สุด ดังนี้คือ

    ๑. การทำทาน


    การทำทาน ได้แก่การสละทรัพย์สิ่งของสมบัติของตนที่มีอยู่ให้แก่ผู้อื่น โดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ และความสุขด้วยเมตตาจิตของตน ทานที่ได้ทำไปนั้นจะทำให้ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยเพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่องค์ประกอบ ๓ ประการ ถ้าประกอบหรือถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบ ๓ ประการต่อไปนี้แล้ว ทานนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญบารมีมาก กล่าวคือ

    องค์ประกอบข้อ ๑. "วัตถุทานที่ต้องบริสถทธิ์"
    วัตถุทานที่ให้ ได้แก่สิ่งของทรัพย์สมบัติที่ตนได้สละให้เป็นทานนั้นเอง จะต้องเป็นของที่บริสุทธิ์ ที่จะเป็นของบริสุทธิ์ได้จะต้องเป็นสิ่งของที่ตนได้แสวงหา ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ในการประกอบอาชีพ ไม่ใช่ของที่ได้มาเพราะการเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ได้มาโดยทุจริต ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฯลฯ

    ตัวอย่างที่ ๑ ได้มาโดยการเบียดเบียนชีวิตเลือดเนื้อสัตว์ เช่น ฆ่าสัตว์ต่างๆ เป็นต้นว่า ปลา โค กระบือ สุกร โดยประสงค์จะนำเอาเลือดเนื้อของเขามาทำอาหารถวายพระเพื่อเอาบุญ ย่อมเป็นการสร้างบาปเอามาทำบุญ วัตถุทานคือเนื้อสัตว์นั้นเป็นของที่ไม่บริสุทธิ์ แม้ทำบุญให้ทานไป ก็ย่อมได้บุญน้อย จนเกือบไม่ได้อะไรเลย ทั้งอาจจะได้บาปเสียอีกหากว่า ทำทานด้วยจิตที่เศร้าหมอง แต่การที่ได้เนื้อสัตว์มาโดยการซื้อหาจากผู้อื่นที่ฆ่าสัตว์นั้นโดยที่ตนมิได้มีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจในการฆ่าสัตว์ก็ดี เนื้อสัตว์นั้นตายเองก็ดี เนื้อสัตว์นั้นย่อมเป็นวัตถุทานที่บริสุทธิ์ เมื่อนำมาทำทานย่อมได้บุญมากหากถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบข้ออื่นๆ ด้วย
    -----------------------------------------------------

    ตัวอย่างที่ ๒ ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ รวมถึงการทุจริตฉ้อราษฏร์บังหลวง อันเป็นการได้ทรัพย์มาในลักษณะไม่ชอบธรรม หรือโดยเจ้าของเดิมไม่เต็มใจให้ ทรัพย์นั้นย่อมเป็นของไม่บริสุทธิ์ เป็นของร้อน แม้จะผลิดอกออกผลมาเพิ่มเติม ดอกผลนั้นก็ย่อมเป็นของไม่บริสุทธิ์ ด้วยนำเอาไปกินไปใช้ย่อมเกิดโทษ เรียกว่า "บริโภคด้วยความเป็นหนี้" แม้จะนำเอาไปทำบุญให้ทาน สร้างโบสถ์ วิหาร ก็ไม่ทำให้ได้บุญแต่อย่างใด สมัยหนึ่งในรัชกาลที่ ๕ มีหัวหน้าสำนักนางโลมชื่อว่า "ยายแฟง" ได้เรียกเก็บเงินจากหญิงโสเภณี ในสำนักของตนจากอัตราที่ได้มาครั้งหนึ่ง ๒๕ สตางค์ แกจะชักเอาไว้ ๕ สตางค์ สะสมเอาไว้เช่นนี้จนได้ประมาณ ๒,๐๐๐ บาท แล้วจึงจัดสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งด้วยเงินนั้นทั้งหมด เมื่อสร้างเสร็จแล้วแกก็ปลื้มปีติ นำไปมนัสการถามหลวงพ่อโตวัดระฆังว่า การที่แกสร้างวัดทั้งวัดด้วยเงินของแกทั้งหมดจะได้บุญบารมีอย่างไร หลวงพ่อโตตอบว่า ได้แค่ ๑ สลึง แกก็เสียใจ เหตุที่ได้บุญน้อยก็เพราะทรัพย์อันเป็นวัตถุทานที่ตนนำมาสร้างวัดอันเป็นวิหารทานนั้น เป็นของที่แสวงหาได้มาโดยไม่บริสุทธิ์ เพราะเบียดเบียนมาจากเจ้าของที่ไม่เต็มใจจะให้ ฉะนั้นบรรดาพ่อค้าแม่ค้าทั้งหลายที่ซื้อของถูกๆ แต่ขายแพงๆ จนเกินส่วนที่ควรจะได้ ผลกำไรที่ได้มาเพราะความโลภจัดจนเกินส่วนนั้นย่อมเป็นสิ่งของที่ไม่บริสุทธิ์โดยนัยเดียวกัน

    วัตถุทานที่บริสุทธิ์เพราะการแสวงหาได้มาโดยชอบธรรมดังกล่าว ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นของดีหรือเลว ไม่จำกัดว่าเป็นของมากหรือน้อย น้อยค่าหรือมีค่ามาก จะเป็นของดี เลว ประณีตมากน้อยไม่สำคัญ ความสำคัญขึ้นอยู่กับเจตนาในการให้ทานนั้นตามกำลังทรัพย์และศรัทธาที่ตนมีอยู่

    องค์ประกอบข้อ ๒. "เจตนาในการให้ทานต้องบริสุทธิ์"

    การให้ทานนั้น โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงก็เพื่อเป็นการขจัดความโลภ ความตระหนี่เหนียวแน่น ความหวงแหนหลงใหลในทรัพย์สมบัติของตน อันเป็นกิเลสหยาบ คือ "โลภกิเลส" และเพื่อเป็นการสางเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขด้วยเมตตาธรรมของตนอันเป็นบันไดก้าวแรกในการเจริญเมตตา พรหมวิหารธรรมในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น ถ้าได้ให้ทานด้วยเจตนาดังกล่าวแล้ว เรียกว่าเจตนาในการทำทานบริสุทธิ์ แต่เจตนาที่ว่าบริสุทธิ์นั้น ถ้าจะบริสุทธิ์จริงจะต้องสมบูรณ์พร้อมกัน ๓ ระยะ คือ

    (๑) ระยะก่อนที่จะให้ทาน ก่อนที่จะให้ทานก็มีจิตโสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีที่จะให้ทาน เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขเพราะทรัพย์สิ่งของของตน
    (๒) ระยะที่กำลังลงมือให้ทาน ระยะที่กำลังลงมือทำทานอยู่นั้นเอง ก็ทำด้วยจิตโสมนัสร่าเริงยินดีและเบิกบานในทานที่ตนกำลังทำให้ผู้อื่น
    (๓) ระยะหลังจากที่ได้ให้ทานไปแล้ว ครั้นเมื่อได้ให้ทานไปแล้วเสร็จ หลังจากนั้นก็ดี นานมาก็ดี เมื่อหวนคิดถึงทานที่ตนได้กระทำไปแล้วครั้งใด ก็มีจิตโสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีในทานนั้นๆ

    เจตนาบริสุทธิ์ในการทำทานนั้น อยู่ที่จิตโสมนัสร่าเริง เบิกบาน ยินดีในทานที่ทำนั้นเป็นสำคัญ และเนื่องมาจากเมตตาจิตที่มุ่งสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้นความทุกข์และให้ได้รับความสุข เพราะทานของตนนับว่าเป็นเจตนาที่บริสุทธิ์ในเบื้องต้น แต่เจตนาที่บริสุทธิ์เพราะเหตุดังกล่าวมาแล้วนี้จะทำให้ยิ่งๆ บริสุทธิ์มากขึ้นไปอีก หากผู้ให้ทานนั้นได้ทำด้วยวิปัสนาปัญญา กล่าวคือไม่ใช่ทำทานอย่างเดียว แต่ทำทานพร้อมกับมีวิปัสนาปัญญา โดยใคร่ครวญถึงวัตถุทานที่ให้ทานนั้นว่า อันบรรดาทรัพย์สิ่งของทั้งปวงที่ชาวโลกนิยมยกย่องหวงแหนเป็นสมบัติกันด้วยความโลภนั้นแท้ที่จริงแล้วก็เป็นเพียงแต่วัตถุธาตุประจำโลก เป็นสมบัติกลางไม่ใช่ของผู้ใดโดยเฉพาะ เป็นของที่มีมาตั้งแต่ก่อนเราเกิดขึ้นมา และไม่ว่าเราจะเกิดขึ้นมาหรือไม่ก็ตาม วัตถุธาตุดังกล่าวก็มีอยู่เช่นนั้น และได้ผ่านการเป็นเจ้าของของผู้อื่นมาแล้วหลายชั่วคน ซึ่งท่านแต่ก่อนนั้นต่างก็ได้ล้มหายตายจากไปทั้งสิ้น ไม่สามารถนำวัตถุธาตุดังกล่าวนี้ติดตัวไปได้เลย จนในที่สุดก็ได้ตกทอดมาถึงเรา ให้เราได้กินได้ใช้ได้ยึดถือเพียงชั่วคราว แล้วก็ตกทอดสืบเนื่องไปเป็นของคนอื่นๆ ต่อๆ ไป เช่นนี้ แม้เราเองก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้ จึงนับว่าเป็นเพียงสมบัติผลัดกันชมเท่านั้น ไม่จากไปวันนี้ก็ต้องจากไปวันหน้า อย่างน้อยเราก็ต้องจากต้องทิ้งเมื่อเราได้ตายลง นับว่าเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอนจึงไม่อาจยึดมั่นถือมั่นว่านั่นเป็นของเราได้ถาวรตลอดไป แม้ตัววัตถุธาตุดังกล่าวนี้เอง เมื่อมีเกิดขึ้นเป็นตัวตนแล้ว ก็ตั้งอยู่ในสภาพนั้นให้ตลอดไปไม่ได้ จะต้องเก่าแก่ ผุพัง บุบสลายไป ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแต่อย่างไร แม้แต่เนื้อตัวร่างกายของเราเองก็มีสภาพเช่นเดียวกับวัตถุธาตุเหล่านั้น ซึ่งไม่อาจจะตั้งมั่นให้ยั่งยืนอยู่ได้เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะต้องเจริญวัยเป็นหนุ่มสาวแล้วก็เฒ่าแก่ และตายไปในที่สุด เราจะต้องพลัดพรากจากของอันเป็นที่รัก ที่หวงแหน คือทรัพย์สมบัติทั้งปวง

    เมื่อเจตนาในการให้ทานบริสุทธิ์ผุดผ่องดีพร้อมทั้ง ๓ ระยะดังกล่าวมาแล้ว ทั้งยังประกอบไปด้วยวิปัสนาปัญญา ดังกล่าวมาแล้วด้วย เจตนานั้นย่อมบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทานที่ได้ทำไปนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญมากหากวัตถุทานที่ได้ทำเป็นของบริสุทธิ์ตามองค์ประกอบข้อ ๑ ด้วย ก็ย่อมทำให้ได้บุญมากยิ่งๆ ขึ้นไปอีก วัตถุทานจะมากหรือน้อย เป็นของเลวหรือประณีตไม่สำคัญ เมื่อเราได้ให้ทานไปตามกำลังทรัพย์ที่เรามีอยู่ย่อมใช้ได้ แต่ก็มีอันควรระวังอยู่ก็คือ การทำทานนั้น อย่าได้เบียดเบียนตนเอง เช่นมีน้อย แต่ฝืนทำให้มากๆ จนเกินกำลังของตนที่จะให้ได้ เมื่อได้ทำไปแล้วตนเองและสามี ภรรยา รวมทั้งบุตรต้องลำบาก ขาดแคลน เพราะไม่มีจะกินจะใช้ เช่นนี้ย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง เจตนานั้นย่อมไม่บริสุทธิ์ ทานที่ได้ทำไปแล้วนั้น แม้วัตถุทานจะมากหรือทำมาก ก็ย่อมได้บุญน้อย ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่ทำทานด้วยเจตนาอันไม่บริสุทธิ์ คือ

    ตัวอย่าง ๑ ทำทานเพราะอยากได้ ทำเอาหน้า ทำอวดผู้อื่น เช่น สร้างโรงเรียน โรงพยาบาลใส่ชื่อของตน ไปยืนถ่ายภาพ ลงโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์ เพื่อให้ได้รับความนิยมยกย่องนับถือ โดยที่แท้จริงแล้วตนมิได้มีเจตนาที่จะมุ่งสงเคราะห์ผู้ใดเรียกว่า ทำทานด้วยความโลภ ไม่ได้ทำเพื่อขจัดความโลภ ทำทานด้วยความอยากได้ คืออยากได้หน้า ได้เกรียติ ได้สรรเสริญ ได้ความนิยมนับถือ

    ตัวอย่าง ๒ ทำทานด้วยความฝืนใจ ทำเพราะเสียไม่ได้ ทำด้วยความเสียหาย เช่น มีพวกพ้องมาเรี่ยไร ตนเองไม่มีศรัทธาที่จะทำ หรือมีศรัทธาอยู่บ้างแต่ทรัพย์น้อย เมื่อมีพวกเรี่ยไรมาบอกบุญต้องจำใจทำทานไปเพราะความเกรงใจพวกพ้อง หรือเกรงว่าจะเสียหน้า ตนจึงได้สละทรัพย์ทำทานไปด้วยความจำใจ ย่อมเป็นการทำทานด้วยความตระหนี่หวงแหน ทำด้วยความเสียดาย ไม่ใช่ทำด้วยจิตเมตตาที่จะมุ่งสงเคราะห์ผู้อื่น ซึ่งยิ่งคิดก็ยิ่งเสียดายให้ไปแล้วก็เป็นทุกข์ใจ บางครั้งนึกโกรธผู้ที่มาบอกบุญ เช่นนี้จิตย่อมเศร้าหมองได้บุญน้อย หากเสียดายมากๆ จนเกิดโทสจริตกล้าแล้วนอกจากจะไม่ได้บุญแล้วที่จะได้ก็คือบาป

    ตัวอย่าง ๓ ทำทานด้วยความโลภ คือทำทานเพราะอยากได้นั่นอยากได้นี่ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ อันเป็นการทำทานเพราะหวังสิ่งตอบแทน ไม่ใช่ทำทานเพราะมุ่งหมายที่จะขจัดความโลภ ความตระหนี่หวงแหนในทรัพย์ของตน เช่น ทำทานแล้วตั้งจิตอธิฐานขอให้ชาติหน้าได้เป็นเทวดา นางฟ้า ขอให้รูปสวย ขอให้ทำมาค้าขึ้น ขอให้ร่ำรวยเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐี ทำทาน ๑๐๐ บาท แต่ขอให้ร่ำรวยนับล้าน ขอให้ถูกสลากกินแบ่งสลากกินรวบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสมบัติสวรรค์ หากชาติก่อนไม่เคยได้ทำบุญใส่บาตรฝากสวรรค์เอาไว้ อยู่ๆ ก็มาขอเบิกในชาตินี้ ย่อมไม่ได้บุญอะไรเลย สิ่ที่พอกพูนเพิ่มให้มากขึ้นและหนาขึ้นก็คือ "ความโลภ"

    ผลหรืออานิสงส์ของการทำทานที่ครบองค์ประกอบ ๓ ประการนั้น ย่อมมีผลให้ได้ซึ่งมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติเอง แม้ว่าจะไม่ได้ตั้งเจตนาเอาไว้ล่วงหน้าก็ตาม เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากเหตุ เมื่อทำเหตุครบถ้วนย่อมมีผลเกิดขึ้นตามมาเอง เช่นเดียวกับปลูกต้นมะม่วงเมื่อรดน้ำพรวนดิน และใส่ปุ๋ยไปตามธรรมดาเรื่อยไป แม้ไม่อยากให้เจริญเติบโตและออกดอกออกผลในที่สุดต้นไม้ก็ต้องเจริญและผลิดอกออกผลตามมา สำหรับผลของทานนั้น หากน้อยหรือมีกำลังไม่มากนักย่อมน้อมนำให้บังเกิดในมนุษย์ชาติ หากมีกำลังแรงมาก ก็อาจจะน้อมนำให้ได้บังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น เมื่อได้เสวยสมบัติในเทวโลกจนสิ้นบุญแล้ว ด้วยเศษของบุญที่เหลืออยู่บ้าง ประกอบกับไม่มีอกุศลกรรมอื่นแทรกให้ผล ก็อาจจะน้อมนำให้มาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้งหนึ่งและเมื่อมาบังเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ก็ย่อมทำให้เกิดในตระกูลที่ร่ำรวยมั่งคั่ง สมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์ หรือไม่ก็เป็นผู้ที่มีลาภผลมาก ทำมาหากินขึ้นและร่ำรวยในภายหลัง ทรัพย์สมบัติไม่วิบัติหายนะไปเพราะวินาศภัย โจรภัย อักคีภัย วาตภัย ฯลฯ แต่จะมั่งคั่งร่ำรวย ในวัยใดย่อมสุดแล้วแต่ผลทานแต่ชาติก่อนๆ จะส่งผลคือ...
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    วิธีสร้างบุญบารมี.....สมเด็จพระญาณสังวร
    http://palungjit.org/showthread.php?t=19673

    [​IMG]

    ผู้โพส varanyo<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_151640", true); </SCRIPT>

    ๑. ร่ำรวยตั้งแต่วัยต้น เพราะผลของทานที่ได้ตั้งเจตนาไว้บริสุทธิ์ตั้งแต่ก่อนจะทำทาน คือก่อนที่จะลงมือทำทาน ก็มีจิตเมตตาโสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีในทานที่ตนจะได้ทำเพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น แล้วก็ได้ลงมือทำทานไปตามเจตนานั้น เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ย่อมโชคดี โดยเกิดในตระกูลที่ร่ำรวย ชีวิตในวัยต้นอุดมสมบูรณ์พูนสุขไปด้วยทรัพย์ ไม่ยากจนแร้นแค้นไม่ต้องขวนขวายหาเลี้ยงตนเองมาก แต่ถ้าเจตนานั้นไม่งามบริสุทธิ์พร้อมกันครบ ๓ ระยะแล้ว ผลทานนั้นก็ย่อมส่งผลให้ไม่สม่ำเสมอกัน คือแม้ว่าจะร่ำรวยตั้งแต่วัยต้น โดยเกิดมาบนกองเงินกองทองก็ตาม หากในขณะที่กำลังลงมือทำทานเกิดจิตเศร้าหมองเพราะหวงแหนทรัพย์ที่จะให้ทานขึ้นมา หรือเกิดหมดศรัทธาขึ้นมาเฉยๆ แต่ก็ยังฝืนใจทำทานไป เพราะเสียไม่ได้หรือเพราะตามพวกพ้องไปอย่างเสียไม่ได้เช่นนี้ ผลทานย่อมหมดกำลังให้ผลในระยะที่ ๒ ซึ่งตรงกับวัยกลางคน ซึ่งจะมีผลทำให้ทรัพย์สมบัติวิบัติหายนะไปด้วย ประการต่างๆ แม้จะได้รับมรดกมาก็ไม่อาจจะรักษาไว้ได้ หากเจตนาในการทำทานนั้นเศร้าหมองในระยะที่ ๓ คือทำทานไปแล้วหวนคิดขึ้นมา ทำให้เสียดายทรัพย์ ความหายนะก็มีผลต่อเนื่องมาจนถึงบั้นปลายชีวิตด้วย คือทรัพย์สินคงวิบัติเสียหายต่อเนื่องจากวัยกลางคนตลอดไปจนถึงตลอดอายุขัย ชีวิตจริงของผู้ที่เกิดบนกองเงินกองทองก็มีให้เห็น เป็นตัวอย่างที่เมื่อได้รับมรดกแล้วก็วิบัติเสียหายไป หรือนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในวัยต้นแต่ก็ต้องล้มละลายในวัยกลางคน และบั้นปลายชีวิต แต่ถ้าได้ตั้งเจตนาในการทำทานไว้บริสุทธิ์ครบถ้วนทั้ง ๓ ระยะแล้ว ผลทานนั้นย่อมส่งผลสม่ำเสมอ คือร่ำรวยตั้งแต่เกิด วัยกลางคน และจนปัจฉิมวัย

    ๒. ร่ำรวยในวัยกลางคน การที่ร่ำรวยในวัยกลางคนนั้นสืบเนื่องมสจากผลของทานที่ได้ทำเพราะเจตนางามบริสุทธิ์ในระยะที่ ๒ กล่าวคือไม่งามบริสุทธิ์ในระยะแรก เพราะก่อนที่จะลงมือทำทานก็มิได้มีจิตศรัทธามาก่อน ไม่คิดจะทำทานมาก่อน แต่ก็ได้ตัดสินใจทำทานไปเพราะเหตุบางอย่าง เช่นทำตามพวกพ้องอย่างเสียไม่ได้ แต่เมื่อได้ลงมือทำทานอยู่ก็เกิดโสมนัส รื่นเร่งยินดี ในทานที่กำลังกระทำอยู่นั้น ด้วยผลทานชนิดนี้ ย่อมทำให้มาบังเกิดในตระกูลที่ยากจนคับแค้น ต้องต่อสู้สร้างตนเองมาในวัยต้น ครั้นเมื่อถึงวัยกลางคน กิจการหรือธุรกิจที่ทำก็ประสบความสำเร็จรุ่งเรืองและหากเจตนาในการทำทานได้งามบริสุทธิ์ในระยะที่ ๓ ด้วย กิจการหรือธุรกิจนั้น ย่อมส่งผลรุ่งเรืองตลอดไปจนถึงบั้นปลายชีวิต หากเจตนาในการทำทานไม่บริสุทธิ์ในระยะที่ ๓ แม้ธุรกิจหรือกิจการงานจะประสบความสำเร็จรุ่งเรืองในวัยกลางคน แต่ก็ล้มเหลวหายนะในบั้นปลาย ทั้งนี้เพราะผลทานหมดกำลังส่งผลไม่ตลอดจนถึงบั้นปลายชีวิต

    ๓. ร่ำรวยปัจฉิมวัย คือร่ำรวยในบั้นปลายชีวิตนั้น สืบเนื่องมาจากผลทานที่ผู้กระทำมีเจตนางามไม่บริสุทธิ์ในระยะแรก และระยะที่ ๒ แต่งามบริสุทธิ์เฉพาะในระยะที่ ๓ กล่าวคือ ก่อนและในขณะที่ลงมือทำทานอยู่นั้น ก็มิได้มีจิตโสมนัสยินดีในการทำทานนั้นแต่อย่างใด แต่ได้ทำลงไปโดยบังเอิญ เช่นทำตามๆ พวกพ้องไปอย่างเสียไม่ได้ แต่เมื่อได้ทำไปแล้ว ต่อมาหวนคิดถึงผลทานนั้นก็เกิดจิตโสมนัสร่าเริงยินดีเบิกบาน หากผลทานชนิดนี้จะน้อมนำมาให้บังเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเกิดในตระกูลที่ยากจนคับแค้น ต้องต่อสู้ดิ้นรนศึกษาเล่าเรียน และขวนขวายสร้างตนเองมากตั้งแต่วัยต้นจนล่วงวัยกลางคนไปแล้ว กิจการงานหรือธุรกิจนั้นก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ เช่น ต้องล้มลุกคลุกคลานตลอดมา แต่ครั้นถึงบั้นปลายชีวิตก็ประสบช่องทางเหมาะ ทำให้กิจการงานนั้นเจริญรุ่งเรืองทำมาค้าขึ้น และร่ำรวยอย่างไม่คาดหมาย ซึ่งชีวิตจริงๆ ของคนประเภทนี้ก็มีให้เห็นเป็นตัวอย่างอยู่มาก

    องค์ประกอบที่ ๓ "เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์"

    คำว่า "เนื้อนาบุญ" ในที่นี้ได้แก่บุคคลผู้รับการทำทานของผู้ทำทานเอง นับว่าเป็นองค์ประกอบข้อที่สำคัญที่สุด แม้ว่าองค์ประกอบในการทำทานข้อ ๑ และ ๒ จะงามบริสุทธิ์ครบถ้วนดีแล้ว กล่าวคือ วัตถุที่ทำทานนั้นเป็นของที่แสวงหาได้มาด้วยความบริสุทธิ์ เจตนาในการทำทานก็งามบริสุทธิ์พร้อมทั้งสามระยะ แต่ตัวผู้รับการทำทานเป็นคนที่ไม่ดี ไม่ใช่ผู้ที่เป็นเนื้อนาบุญที่บริสุทธิ์ เป็นเนื้อนาบุญที่เลว ทานที่ทำไปนั้นก็ไม่ผลิดอกออกผล เปรียบเหมือนกับการหว่านเมล็ดข้าวเปลือกลงในพื้นนา ๑ กำมือ แม้เมล็ดข้าวนั้นจะเป็นพันธุ์ดีที่พร้อมจะงอกงาม (วัตถุทานบริสุทธิ์) และผู้หว่านคือกสิกรก็มีเจตนาจะหว่านเพื่อทำนาให้เกิดผลิตผลเป็นอาชีพ (เจตนาบริสุทธิ์) แต่หากที่นานั้นเป็นที่ที่ไม่ส่ำเสมอกันเมล็ดข้าวที่หว่านลงไปก็งอกเงยไม่เสมอกัน โดยเมล็ดที่ไปตกในที่เป็นดินดี ปุ๋ยดี มีน้ำอุดมดี ก็จะงอกเงยมีผลิตผลที่สมบูรณ์ ส่วนเมล็ดที่ไปตกบนพื้นนาที่แห้งแล้ง มีแต่กรวดกับทรายและขาดน้ำก็จะแห้งเหี่ยวหรือเฉาตายไป หรือไม่งอกเงยเสียเลย การทำทานนั้นผลิตผลที่ผู้ทำทานจะได้รับก็คือ "บุญ" หากผู้ที่รับการให้ทานไม่เป็นเนื้อนาที่ดีสำหรับการทำบุญแล้ว ผลของทานคือบุญก็จะไม่เกิดขึ้น แม้จะเกิดก็ไม่สมบูรณ์ เพราะแกร็นหรือแห้งเหี่ยวเฉาไปด้วยประการต่างๆ ฉะนั้นในการทำทาน ตัวบุคคลผู้รับของที่เราให้ทานจึงเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุด เราผู้ทำทานจะได้บุญมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับคนพวกนี้ คนที่รับการให้ทานนั้นหากเป็นผู้มีศีลมีธรรมสูงก็ย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่ดี ทานที่เราได้ทำไปแล้วก็เกิดผลบุญมาก หากผู้รับการให้ทานเป็นผู้ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรม ผลของทานก็ไม่เกิดขึ้น คือได้บุญน้อย ฉะนั้นคติโบราณที่กล่าวว่า "ทำบุญอย่าถามพระ หรือตักบาตรอย่าเลือกพระ" เห็นจะใช้ไม่ได้สมัยนี้ เพราะในสมัยนี้ไม่เหมือนกับท่านในสมัยก่อนๆ ที่บวชเพราะมุ่งจะหนีสงสาร โดยมุ่งจะทำมรรคผล และนิพพานให้แจ้ง ท่านจึงเป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ แต่ในสมัยนี้มีอยู่บางคนที่บวชด้วยคติ ๔ ประการ คือ "บวชเป็นประเพณี บวชหนีทหาร บวชผลาญข้าวสุก บวชสนุกตามเพื่อน" ธรรมวินัยใดๆ ท่านไม่สนใจ เพียงแต่มีผ้าเหลืองห่มกายท่านก็นึกว่าตนเป็นพระและเป็นเนื้อนาบุญเสียแล้ว ซึ่งป่วยการจะกล่าวไปถึงศีลปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อ แม้แต่เพียงแค่ศีล ๕ ก็ยังเอาแน่ไม่ได้ว่าท่านจะมีหรือไม่ การบวชที่แท้จริงแล้วก็เพื่อจะละความโลภ โกรธ และหลง ปัญหาว่าทำอย่างไร จึงจะได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ ข้อนี้ย่อมขึ้นอยู่กับวาสนาของเราผู้ทำทานเป็นสำคัญ หากเราเคยสร้างสม อบรมบารมี มาด้วยดีในอดีตชาติเป็นอันมากแล้ว บารมีนั้นก็จะเป็นพลังวาสนาน้อมนำให้ได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ ทำทานครั้งใดก็มักมีโชคดี ได้พบกับท่านที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไปเสียทุกครั้ง หากบุญวาสนาของเราน้อยและไม่มั่นคง ก็จะได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญบ้าง ได้พบกับอลัชชีบ้าง คือดีและชั่วคละกันไป เช่นเดียวกับการซื้อสลากกินแบ่งสลากกินรวบ หากมีวาสนาบารมีเพราะได้เคยทำบุญให้ทานฝากกับสวรรค์ไว้ในชาติก่อนๆ ก็ย่อมมีวาสนาให้ถูกรางวัลได้ หากไม่มีวาสนาเพราะไม่เคยทำบุญทำทานฝากสวรรค์เอาไว้เลย ก็ไม่มีสมบัติสวรรค์อะไรที่จะให้เบิกได้ อยู่ๆ ก็จะมาขอเบิกเช่นนี้ก็ยากที่จะถูกรางวัลได้......
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    วิธีสร้างบุญบารมี.....สมเด็จพระญาณสังวร
    http://palungjit.org/showthread.php?t=19673

    [​IMG]

    ผู้โพส varanyo<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_151640", true); </SCRIPT>


    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดี จะทำให้ทานนั้นมีผลมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับต่อไปนี้คือ....


    ๑. ทำทานแก่สัตว์เดรัชฉาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ แม้จะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมเลยก็ตาม ทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีบุญวาสนาบารมีน้อยกว่ามนุษย์ และสัตว์ไม่ใช่เนื้อนาบุญที่ดี

    ๒. ให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมวินัย แม้จะให้มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานแก่ผู้มีศีล ๕ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๓. ให้ทานแก่ผู้มีศีล ๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล ๘ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๔. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานแก่ผู้ที่มีศีล ๑๐ คือสามเณรในพระพุทธศาสนาแม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๕. ถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล ๑๐ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่พระสมมุติสงฆ์ ซึ่งมีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อ

    ระด้วยกันก็มีคุณธรรมแตกต่างกัน จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ต่างกัน บุคคลที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนามีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสเรียกว่าเป็น "พระ" แต่เป็นเพียงพระสมมุติเท่านั้น เรียกกันว่า "สมมุติสงฆ์" พระที่แท้จริงนั้น หมายถึงบุคคลที่บรรลุคุณธรรมตั้งแต่พระโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบันเป็นต้นไป ไม่ว่าท่านผู้นั้นจะได้บวชหรือเป็นฆราวาสก็ตาม นับว่าเป็น "พระ"ทั้งสิ้น และพระด้วยกันก็มีคุณธรรมต่างกันหลายระดับชั้น จากน้อยไปหามากดังนี้คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้


    ๖. ถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์ แม้จะมากกว่า ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม (ความจริงยังมีการแยกเป็นพระโสดาปัตติมรรคและพระโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นลำดับไปจนถึงพระอรหัตผล แต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เพียงย่นย่อให้ได้ความเท่านั้น)

    ๗. ถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระสกิทาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๘. ถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอนาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๙. ถวายทานแก่พระอนาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่พระอรหันต์ แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๑๐. ถวายทานแก่พระอรหันต์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๑๑. ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๑๒. ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทาน ที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะได้ถวายสังฆทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๑๓. การถวายสังฆทานที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การถวายวิหารทาน แม้จะได้กระทำแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม วิหารทานได้แก่การสร้างหรือร่วมสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม ศาลาท่าน้ำ ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทาง อันเป็นสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน อนึ่งการสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์หรือสิ่งที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน แม้จะไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจในพระพุทธศาสนา เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำ แท็งก์น้ำ ศาลาป้ายรถยนต์โดยสารประจำทาง สุสาน เมรุเผาศพ ก็ได้บุญมากในทำนองเดียวกัน

    ๑๔. การถวายวิหารทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง (๑๐๐ หลัง) ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ธรรมทาน แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้ธรรมทานก็คือการเทศน์ การสอนธรรมแก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ให้ได้รู้ ที่รู้อยู่แล้วให้รู้ยิ่งๆ ขึ้น ให้ได้เข้าใจมรรคผล นิพพาน ให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมตลอดถึงการพิมพ์ การแจกหนังสือธรรมะ

    ๑๕. การธรรมทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ "อภัยทาน" แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทาน ก็คือการไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่านทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อละ "โทสกิเลส" และเป็นการเจริญ "เมตตาพรหมวิหารธรรม" อันเป็นพรหมวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น อันพรหมวิหาร ๔ นั้น เป็นคุณธรรมที่เป็นองค์ธรรมของโยคีบุคคลที่บำเพ็ญฌานและวิปัสสนา ผู้ที่ทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ย่อมย่อมเป็นผู้ทรงฌาน ซึ่งเมื่อเมตตาพรหมวิหารธรรมได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อใด ก็ย่อมละเสียได้ซึ่ง "พยาบาท" ผู้นั้นจึงจะสามารถให้อภัยทานได้ การให้อภัยทานจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและยากเย็น จึงจัดเป็นทานสูงกว่าการให้ทานทั้งปวง

    ย่างไรก็ดี การให้อภัยทาน แม้จะมากเพียงใด แม้จะชนะการให้ทานอื่นๆ ทั้งมวล ผลบุญก็ยังอยู่ต่ำกว่า "ฝ่ายศีล" เพราะเป็นการบำเพ็ญบารมีคนละขั้นต่างกัน..

    ๒. การรักษาศีล


    "ศีล" นั้น แปลว่า "ปกติ" คือสิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษาตามเพศและฐานะ ศีลนั้นมีหลายระดับ คือศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ และในบรรดาศีลชนิดเดียวก็ยังจัดแยกออกเป็นระดับธรรมดา มัชฌิมศีล (ศีลระดับกลาง) และอธิศีล (ศีลอย่างสูง ศีลอย่างอุกฤษฏ์)

    คำว่า "มนุษย์" นั้น คือผู้ที่มีใจอันประเสริฐ คุณธรรมที่เป็นปกติของมนุษย์ที่จะต้องทรงไว้ให้ได้ตลอดไปก็คือศีล ๕ บุคคลที่ไม่มีศีล ๕ ไม่เรียกว่ามนุษย์ แต่อาจจะเรียกว่า "คน" ซึ่งแปลว่า "ยุ่ง" ในสมัยพุทธกาลผู้คนมักจะมีศีล ๕ ประจำใจกันเป็นนิจ ศีล ๕ จึงเป็นเรื่องปกติของบุคคลในสมัยนั้น และจัดว่าเป็น "มนุษย์ธรรม" ส่วนหนึ่งในมนุษย์ธรรม ๑๐ ประการ ผู้ที่จะมีวาสนาได้เกิดมาเป็นมนุษย์ จะต้องถึงพร้อมด้วยมนุษย์ธรรม ๑๐ ประการ เป็นปกติ (ซึ่งรวมถึงศีล ๕ ด้วย) รายละเอียดประการใดจะไม่กล่าวถึงในที่นี้

    การรักษาศีลเป็นการเพียรพยายามเพื่อระงับโทษทางกายและวาจา อันเป็นเพียงกิเลสหยาบมิให้กำเริบขึ้น และเป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงขึ้นกว่าการให้ทาน ทั้งในการถือศีลด้วยกันเอง ก็ยังได้บุญมากและน้อยต่างกันไปตามลำดับ ต่อไปนี้ คือ

    ๑. การให้อภัยทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๕ แม้จะได้ถือแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๒. การถือศีล ๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๘ แม้จะถือแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๓. การถือศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๑๐ คือการบวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา แม้จะบวชมาได้แต่เพียงวันเดียวก็ตาม

    ๔. การที่ได้บวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา แล้วรักษาศีล ๑๐ ไม่ให้ขาด ไม่ด่างพร้อย แม้จะนานถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพุทธศาสนา มีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ แม้จะบวชมาได้เพียงวันเดียวก็ตาม

    ฉะนั้น ในฝ่ายศีลแล้ว การที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนาได้บุญบารมีมากที่สุด เพราะเป็นนักเนกขัมมบารมีในบารมี ๑๐ ทิศ ซึ่งเป็นการออกจากกามเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติธรรมขั้นสูงๆ คือการภาวนาเพื่อมรรค ผล นิพพาน ต่อๆ ไป ผลของการรักษาศีลนั้นมีมาก ซึ่งจะยังประโยชน์สุขให้แก่ผู้นั้น ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า เมื่อได้ละอัตภาพนี้ไปแล้วย่อมส่งผลให้ได้บังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น ซึ่งแล้วแต่ความละเอียดประณีตของศีลที่รักษาและที่บำเพ็ญมา ครั้นเมื่อสิ้นบุญในเทวโลกแล้ว ด้วยเศษของบุญที่ยังคงหลงเหลืออยู่แต่เพียงเล็กๆ น้อยๆ หากไม่มีอกุศลกรรมอื่นมาให้ผลก็อาจจะน้อมนำให้ได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์ที่ถึงพร้อมด้วยสมบัติ ๔ ประการ เช่น อานิสงส์ของการรักษาศีล ๕ ดังกล่าว คือ

    (๑) ผู้ที่รักษาศีลข้อ ๑ ด้วยการไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อน้อมนำมาบังเกิดเป็นมนุษย์ก็จะทำให้มีพลานามัยแข็งแรง ปราศจากโรคภัย ไม่ขี้โรค อายุยืนยาว ไม่มีศัตรูเบียดเบียนให้ต้องบาดเจ็บ ไม่มีอุบัติเหตุต่างๆ ที่จะทำให้บาดเจ็บ หรือสิ้นอายุเสียก่อนวัยอันสมควร

    (๒) ผู้ที่รักษาศีลข้อ ๒ ด้วยการไม่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่เจ้าของมิได้เต็มใจให้ ด้วยเศษของบุญที่นำมาเกิดเป็นมนุษย์ย่อมทำให้ได้เกิดในตระกูลที่ร่ำรวย การทำมาหาเลี้ยงชีพในภายหน้ามักจะประสบช่องทางที่ดี ทำมาค้าขึ้นและมั่งมีทรัพย์ ทรัพย์สมบัติไม่วิบัติหายนะไปด้วยภัยต่างๆ เช่น อัคคีภัย วาตภัย โจรภัย ฯลฯ

    (๓) ผู้ที่รักษาศีลข้อ ๓ ด้วยการไม่ล่วงประเวณีในคู่ครองหรือคนในปกครองของผู้อื่น ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะประสบโชคดีในความรัก มักได้พบรักแท้ที่จริงจังและจริงใจ ไม่ต้องอกหัก อกโรย และอกเดาะ ครั้นเมื่อมีบุตรธิดา ก็ว่านอนสอนง่าย ไม่ดื้อด้าน ไม่ถูกผู้อื่นหลอกลวงฉุดคร่าอนาจารไปทำให้เสียหาย บุตรธิดาย่อมเป็นอภิชาติบุตร ซึ่งจะนำเกียรติยศชื่อเสียงมาสู่วงศ์ตระกูล

    (๔) ผู้ที่รักษาศีลข้อ ๔ ด้วยการไม่กล่าวมุสา ........
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    วิธีสร้างบุญบารมี.....สมเด็จพระญาณสังวร
    http://palungjit.org/showthread.php?t=19673

    [​IMG]

    ผู้โพส varanyo

    (๔) ผู้ที่รักษาศีลข้อ ๔ ด้วยการไม่กล่าวมุสา ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อนำมาเกิดเป็นมนุษย์ จะทำให้เป็นผู้มีสุ้มเสียงไพเราะ พูดจามีน้ำมีนวลชวนฟัง มีเหตุมีผล ชนิดที่เป็น "พุทธวาจา" มีโวหารปฏิภาณไหวพริบในการเจรจา จะเจรจาความสิ่งใดก็มีผู้เชื่อฟังและเชื่อถือ สามารถว่ากล่าวสั่งสอนบุตรธิดาและศิษย์ให้อญุ่ในโอวาทได้ดี

    (๕) ผู้ที่รักษาศีลข้อ ๕ ด้วยการไม่ดื่มสุราเมรัย เครื่องหมักดองของมึนเมา ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อนำมาเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมทำให้เป็นผู้ที่มีสมอง ประสาท ปัญญา ความคิดแจ่มใส จะศึกษาเล่าเรียนสิ่งใดก็แตกฉาน และทรงจำได้ง่ายไม่หลงลืมฟั่นเฟือนเลอะเลือน ไม่เสีสติ วิกลจริต ไม่เป็นโรคสมอง โรคประสาท ไม่ปัญญาทราม ปัญญาอ่อนปัญญานิ่ม

    อานิสงส์ของศีล ๕ มีดังกล่าวข้างต้น สำหรับศีล ๘ ศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ ก็ย่อมมีอานิสงส์เพิ่มพูนมากยิ่งๆ ขึ้นตามลำดับ และประเภทของศีลที่รักษา แต่ศีลนั้นแม้จะมีอานิสงส์เพียงไรก็ยังเป็นแต่เพียงการบำเพ็ญบุญบารมีในชั้นกลางๆ ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น เพราะเป็นแต่เพียงระเบียบหรือกติกาที่จะรักษากายและวาจาให้สงบ ไม่ให้ก่อให้เกิดทุกข์โทษขึ้นทางกายและวาจาเท่านั้น ส่วนทางจิตใจนั้น ศีลยังไม่สามารถที่จะควบคุมหรือทำให้สะอาดบริสุทธิ์ได้ ฉะนั้น การรักษาศีลจึงยังได้บุญน้อยกว่าการภาวนา เพราะการภาวนานั้น เป็นการรักษาใจ รักษาจิต และซักฟอกจิตให้เบาบางหรือจนหมดกิเลส คือความโลภ โกรธ และหลง อันเป็นเครื่องร้อยรัดให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสงสารวัฏ การภาวนาจึงเป็นการบำเพ็ญบารมีที่สูงที่สุด ประเสริฐที่สุด ได้บุญมากที่สุด เป็นกรรมอันยิ่งใหญ่ เรียกว่า "มหัคคตกรรม" อันเป็นมหัคคตกุศล

    ๓. การภาวนา

    การเจริญภาวนานั้น เป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุด และยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา จัดว่าเป็นแก่นแท้และสูงกว่าฝ่ายศีลมากนัก การเจริญภาวนานั้น มี ๒ อย่าง คือ (๑) สมถภาวนา (การทำสมาธิ) และ (๒) วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา) แยกอธิบายดังนี้ คือ

    (๑) สมถภาวนา (การทำสมาธิ)
    สมถภาวนา ได้แก่การทำจิตให้เป็นสมาธิ หรือเป็นฌานซึ่งก็คือการทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน แส่ส่ายไปยังอารมณ์อื่นๆ วิธีภาวนานั้น มีมากมายหลายร้อยชนิด ซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติแบบอย่างเอาไว้ ๔๐ ประการ เรียกกันว่า "กรรมฐาน ๔๐" ซึ่งผู้ใดจะเลือกใช้วิธีใดก็ได้ตามแต่สมัครใจ ทั้งนี้ย่อมสุดแล้วแต่อุปนิสัยและวาสนาบารมีที่ได้เคยสร้างสมอบรมมาแต่ในอดีตชาติ เมื่อสร้างสมอบรมมาในกรรมฐานกองใดจิตก็มักจะน้อมชอบกรรมฐานกองนั้นมากกว่ากองอื่นๆ และการเจริญภาวนาก็ก้าวหน้าเร็วและง่าย

    แต่ไม่ว่าจะเลือกปฏิบัติวิธีใดก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาศีลให้ครบถ้วนบริบูรณ์ตามเพศของตนเสียก่อน คือหากเป็นฆราวาสก็จะต้องรักษาศีล ๕ เป็นอย่างน้อย หากเป็นสามเณรก็จะต้องรักษาศีล ๑๐ หากเป็นพระก็จะต้องรักษาศีลปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อให้บริบูรณ์ ไม่ให้ขาด และด่างพร้อย จึงจะสามารถทำจิตให้เป็ยณานได้ หากศีลยังไม่มั่นคง ย่อมเจริญฌานให้เกิดขึ้นได้โดยยาก เพราะศีลย่อมเป็นบาทฐาน (เป็นกำลัง) ให้เกิดสมาธิขึ้น อานิสงส์ของสมาธินั้นมีมากกว่าการรักษาศีล อย่างเทียบกันไม่ได้ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า "แม้จะได้อุปสมบทเป็นภิกษุรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ไม่เคยขาด ไม่ด่างพร้อยมานานถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญกุศลน้อยกว่าผู้ที่ทำสมาธิเพียงให้จิตสงบนานเพียงชั่วไก่กระพือปีก ช้างกระดิกหู" คำว่า "จิตสงบ" ในที่นี้หมายถึงจิตที่เป็นอารมณ์เดียวเพียงชั่ววูบที่พระท่านเรียกว่า "ขณิกสมาธิ" คือสมาธิเล็กๆ น้อยๆ สมาธิแบบเด็กๆ ที่เพิ่งหัดตั้งไข่ คือหัดยืนแล้วก็ล้มลง แล้วก็ลุกยืนขึ้นใหม่ซึ่งเป็นอารมณ์จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น สงบวูบลงเล็กน้อยแล้วก็รักษาไว้ไม่ได้ ซึ่งยังห่างไกลต่อการที่จิตถึงขั้นเป็นอุปจารสมาธิและฌาน แม้กระนั้นก็ยังมีอานิสงส์มากมายถึงเพียงนี้ โดยหากผู้ใดจิตทรงอารมณ์อยู่ในขั้นขณิกสมาธิแล้วบังเอิญตายลงในขณะนั้น อานิสงส์นี้จะส่งผลให้ได้ไปบังเกิดในเทวโลกชั้นที่ ๑ คือชั้น จาตุมหาราชิกา หากจิตยึดไตรสรณคมน์ (มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันสุดท้ายด้วย ก็เป็นเทวดาชั้น ๒ คือดาวดึงส์)

    สมาธินั้น มีหลายขั้นตอน ระยะก่อนที่จะเป็นฌาน (อัปปนาสมาธิ) ก็คือขณิกสมาธิและอุปจารสมาธิ ซึ่งอานิสงส์ส่งให้ไปบังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น แต่ยังไม่ถึงชั้นพรหมโลก สมาธิในระดับอัปปนาสมธิหรือฌานนั้น มีรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ซึ่งล้วนแต่ส่งผลให้ไปบังเกิดในพรหมโลกรวม ๒๐ ชั้น แต่จะเป็นชั้นใดย่อมสุดแล้วแต่ความละเอียดปราณีตของกำลังฌานที่ได้ (เว้นแต่พรหมโลกชั้นสุทธาวาส คือชั้นที่ ๑๒ ถึง ๑๖ ซึ่งเป็นที่เกิดของพระอนาคามีบุคคลโดยเฉพาะ) รูปฌาน ๑ ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้น ๑ ถึงชั้น ๓ สุดแล้วแต่ความละเอียดประณีตของกำลังฌาน ๑ ส่วนอรูปฌานที่เรียกว่า "เนวสัญญา นาสัญญายตนะ" นั้น ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้นสูงสุด คือชั้นที่ ๒๐ ซึ่งมีอายุยืนยาวถึง ๘๔,๐๐๐ มหากัป เรียกกันว่า นิพพานพรหม คือนานเสียจนเกือบหาเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดมิได้ จนเป็นที่เข้าใจกันว่านิพพาน

    การทำสมาธิเป็นการสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ ลงทุนน้อยที่สุด เพราะไม่ได้เสียเงินเสียทอง ไม่ได้เหนื่อยยากต้องแบกหามแต่อย่างใด เพียงแต่คอยเพียงระวังรักษาสติ คุ้มครองจิตมิให้แส่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่นๆ โดยให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น การทำทานเสียอีกยังต้องเสียเงินทอง การสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาโรงธรรมยังต้องเสียทรัพย์ และบางทีก็ต้องเข้าช่วยแบกหามเหนื่อยกาย แต่ก็ได้บุญน้อยกว่าการทำสมาธิอย่างที่เทียบกันไม่ได้

    อย่างไรก็ดี การเจริญสมถภาวนาหรือสมาธินั้น แม้จะได้บุญอานิสงส์มากมายมหาศาลอย่างไร ก็ยังไม่ใช่บุญกุศลสูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบกับต้นไม้ก็เป็นเพียงเนื้อไม้เท่านั้น การเจริญวิปัสสนา (การเจริญปัญญา) จึงจะเป็นการสร้างบุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบก็เป็นแก่นไม้โดยแท้................

    (๒) วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา)
    เมื่อจิตของผู้บำเพ็ญตั้งมั่นในสมาธิจนมีกำลังดีแล้ว เช่นอยู่ในระดับฌานต่างๆ ซึ่งจะเป็นฌานระดับใดก็ได้ แม้แต่จะอยู่แค่เพียงอุปจารสมาธิ จิตของผู้บำเพ็ญเพียรก็ย่อมมีกำลังและอยู่ในสภาพที่นุ่มนวล ควรแก่การเจริญวิปัสสนาต่อไปได้ อารมณ์ของวิปัสสนานั้นแตกต่างไปจากอารมณ์ของสมาธิ เพราะสมาธินั้นมุ่งให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งแต่อารมณ์เดียว โดยแน่นิ่งอยู่เช่นนั้น ไม่นึกคิดอะไร ๆ แต่วิปัสสนาไม่ใช่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวนิ่งอยู่เช่นนั้น แต่เป็นจิตที่คิดและใคร่ครวญหาเหตุและผลในสภาวธรรมทั้งหลายและสิ่งที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียวคือ "ขันธ์ ๕" ซึ่งนิยมเรียกกันว่า "รูป-นาม" โดยรูปมี ๑ ส่วน นามนั้นมี ๔ ส่วน คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ขันธ์ ๕ ดังกล่าวเป็นเพียง อุปทานขันธ์ เพราะแท้จริงแล้วเป็นแต่เพียงสังขารธรรมที่เกิดขึ้น เนื่องจากการปรุงแต่ง แต่เพราะอวิชชา คือความไม่รู้เท่าสภาวธรรม จึงทำให้เกิดความยึดมั่นด้วย อำนาจอุปาทานว่าเป็นตัวตนและของตน การเจริญวิปัสสนาก็โดยมีจิตพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า อันสภาวธรรมทั้งหลาย อันได้แก่ขันธ์ ๕ นั้นล้วนแต่มีอาการเป็นพระไตรลักษณ์ คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา โดย.......

    (๑) อนิจจัง คือความไม่เที่ยง คือสรรพสิ่งทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สมบัติ เพชร หิน ดิน ทราย และรูปกายของเรา ล้วนแต่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น ไม่อาจจะตั้งมั่นทรงอยู่ในสภาพเดิมได้ เช่นคนและสัตว์ เมื่อมีการเกิดขึ้นแล้ว ก็มีการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มสาว และเฒ่าแก่จนตายไปในที่สุด ไม่มีเว้นไปได้ทุกผู้คน แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย พรหมและเทวดา ฯลฯ

    สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เช่น รูปกาย ล้วนแต่เป็นแร่ธาตุต่างๆ มาประชุมรวมกันเป็นหน่วยเล็กๆ ของชีวิตขึ้นก่อน ซึ่งเล็กจนตาเปล่ามองไม่เห็น เรียกกันว่า "เซลล์" แล้วบรรดาเซลล์เหล่านั้นก็มาประชุมรวมกันเป็นรูปร่างของคนและสัตว์ขึ้น ซึ่งหน่วยชีวิตเล็กๆ เหล่านั้นก็มีการเจริญเติบโตและแตกสลายไป แล้วเกิดของใหม่ขึ้นแทนที่อยู่ตลอดเวลา ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้แน่นอน

    (๒) ทุกขัง ได้แก่ "สภาพที่ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้" ทุกขังในที่นี้มิได้หมายความแต่เพียงว่าเป็นความทุกข์กายทุกข์ใจเท่านั้น แต่การทุกข์กายทุกข์ใจก็เป็นลักษณะส่วนหนึ่งของทุกขังในที่นี้ สรรพสิ่งทั้งหลายอันเป็นสังขารธรรมเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่อาจที่จะทนตั้งมั่นอยู่ในสภาพนั้นๆ ได้ตลอดไป ไม่อาจจะทรงตัว และต้องเปลี่ยนแปลงไป เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น เมื่อได้เกิดมาเป็นเด็ก จะให้ทรงสภาพเป็นเด็กๆ เช่นนั้นตลอดไปหาได้ไม่ จะต้องเปลี่ยนแปลงไปเป็นหนุ่มและสาว แล้วก็เฒ่าแก่ จนในที่สุดก็ต้องตายไป แม้แต่ขันธ์ที่เป็นนามธรรมอันได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ไม่มีสภาพทรงตัวเช่นเดียวกัน เช่นขันธ์ ที่เรียกว่าเวทนา อันได้แก่ ความทุกข์กาย ทุกข์ใจ และความไม่สุขไม่ทุกข์ ซึ่งเมื่อมีเกิดเป็นอารมณ์ดังกล่าวอย่างใดขึ้นแล้ว จะให้คงทรงอารมณ์เช่นนั้นให้ตลอดไปย่อมไม่ได้ นานไปอารมณ์เช่นนั้น หรือเวทนาเช่นนั้นก็ค่อยๆ จางไป แล้วเกิดอารมณ์ใหม่ชนิดอื่นขึ้นมาแทน.....
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    วิธีสร้างบุญบารมี.....สมเด็จพระญาณสังวร
    http://palungjit.org/showthread.php?t=19673

    [​IMG]

    ผู้โพส varanyo

    (๓) อนัตตา ได้แก่ "ความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งของ" โดยสรรพสิ่งทั้งหลาย อันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็น "รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ" ล้วนแต่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เช่นรูปขันธ์ย่อมประกอบขึ้นด้วยแร่ธาตุต่างๆ มาประชุมรวมกันเป็นกลุ่มก้อน เป็นหน่วยชีวิตเล็กๆ ขึ้นก่อน เรียกในทางวิทยาศาสตร์ว่า "เซลล์" แล้วเซลล์เหล่านั้นก็ประชุมรวมกันเป็นรูปใหญ่ขึ้น จนเป็นรูปกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งพระท่านรวมเรียกหยาบๆ ว่าธาตุ ๔ มาประชุมรวมกัน โดยส่วนที่เป็นของแข็งมีความหนักแน่น เช่น เนื้อ กระดูก ฯลฯ เรียกว่า ธาตุดิน ส่วนที่เป็นของเหลว เช่น น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำดี น้ำปัสสาวะ น้ำไขข้อ น้ำมูก น้ำลาย ฯลฯ รวามเรียกว่า ธาตุน้ำ ส่วนสิ่งที่ให้พลังงานและอุณหภูมิในร่างกาย เช่น ความร้อน ความเย็น เรียกว่า ธาตุไฟ ส่วนธรรมชาติที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหว ความตั้งมั่น ความเคร่ง ความตึง และบรรดาสิ่งเคลื่อนไหวไปมาในร่างกาย เรียกว่า ธาตุลม (โดยธาตุ ๔ ดังกล่าวนี้มิได้มีความหมายอย่างเดียวกับคำว่า "ธาตุ" อันหมายถึง แร่ธาตุในทางวิทยาศาสตร์) ธาตุ ๔ หยาบๆ เหล่านี้ได้มาประชุมรวมกันเป็นรูปกายของคน สัตว์ และสรรพสิ่งทั้งหลายขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อนานไปก็ย่อมเปลี่ยนแปลงแล้วแตกสลายกลับคืนไปสู่สภาพเดิม โดยส่วนที่เป็นดินก็กลับไปสู่ดิน ส่วนที่เป็นน้ำก็กลับไปสู่น้ำ ส่วนที่เป็นไฟก็กลับไปสู่ไฟ ส่วนที่เป็นลมก็กลับไปสู่ความเป็นลม ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของคนและสัตว์ที่ไหนแต่อย่างใด จึงไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นรูปกายนี้ว่าเป็นตัวเราของเราให้เป็นที่พึ่งอันถาวรได้

    สมาธิย่อมมีกรรมฐาน ๔๐ เป็นอารมณ์ ซึ่งผู้บำเพ็ญอาจจะใช้กรรมฐานบทใดบทหนึ่งตามแต่ที่ถูกแก่จริตนิสัยของตนก็ย่อมได้ ส่วนวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียว คือมี ขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ เรียกสั้นๆ ว่า มีแต่รูปกับนามเท่านั้น ขันธ์ ๕ นั้นได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสภาวธรรมหรือสังขารธรรม เกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ และไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแต่อย่างใด อารมณ์ของวิปัสสนานั้น เป็นอารมณ์จิตที่ใคร่ครวญหาเหตุและผลในสังขารธรรมทั้งหลาย จนรู้แจ้งเห็นจริงว่าเป็นพระไตรลักษณ์ คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา และเมื่อใดที่จิตยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาจริง เรียกว่าจิตต กระแสธรรมตัดกิเลสได้ ปัญญาที่จะเห็นสภาพความเป็นจริงดังกล่าว ไม่ใช่แต่เพียงปัญญาที่นึกคิดและความหมายเอาเท่านั้น แต่ย่อมมีตาวิเศษหรือตาในที่พระท่านเรียกว่า "ญาณทัสสนะ" เห็นเป็นเช่นนั้นจริงๆ ซึ่งจิตที่ได้ผ่านการอบรมสมาธิมาจนมีกำลังดีแล้ว ย่อมมีพลังให้เกิดญาณทัสสนะหรือปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริงดังกล่าวได้ เรียกกันว่า "สมาธิอบรมปัญญา" คือสมาธิทำให้วิปัสสนาญาณเกิดขึ้น

    และเมื่อวิปัสสนาญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถ่ายถอนกิเลสให้เบาบางลง จิตก็ย่อมจะเบาและใสสะอาดบางจากกิเลสทั้งหลายไปตามลำดับ สมาธิจิตก็จะยิ่งก้าวหน้าและตั้งมั่นมากยิ่งๆ ขึ้นไปอีกเรียกว่า "ปัญญาอบรมสมาธิ" ฉะนั้น ทั้งสมาธิและวิปัสสนาจึงเป็นทั้งเหตุและผลของกันและกัน และอุปการะซึ่งกันและกัน จะมีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นโดยขาดกำลังสมาธิสนับสนุนไม่ได้เลย อย่างน้อยที่สุดก็จะต้องใช้กำลังของขณิกสมาธิ เป็นบาทฐานในระยะแรกเริ่ม สมาธิจึงเปรียบเหมือนกับหินลับมีด ส่วนวิปัสสนานั้นเหมือนกับมีดที่ได้ลับกับหินคมดีแล้ว ย่อมมีอำนาจถากถางตัดฟันบรรดากิเลสทั้งหลายให้ขาดและพังลงได้ อันสังขารธรรมทั้งหลายนั้นล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวเรา ของเราแต่อย่างใด ทุกสรรพสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นแค่ดิน น้ำ ลม และไฟ มาประชุมรวมกันชั่วคราวตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น ในเมื่อจิตได้เห็นความเป็นจริงเช่นนี้แล้วจิตก็จะละคลายจากอุปาทาน คือ ความยึดมั่นถือมั่น โดยคลายกำหนัดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุขทั้งหลาย ความโลภ ความโกรธ และความหลงก็เบาบางลงไปตามลำดับ ปัญญาญาณจนหมดสิ้นจากกิเลสทั้งมวล บรรลุซึ่งพระอรหัตผล

    ฉะนั้น การที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนาได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพยายามทำสมาธิให้ได้เสียก่อน หากทำสมาธิยังไม่ได้ ก็ไม่มีทางที่จะเกิดวิปัสสนาปัญญาขึ้น สมาธิจึงเป็นเพียงบันไดขั้นต้นที่จะก้าวไปสู่การเจริญวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า "ผู้ใดแม้จะทำสมาธิจนจิตเป็นณานได้นานถึง ๑๐๐ ปี และไม่เสื่อม ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นความเป็นจริงที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุ่งแต่งล้วนแล้วแต่มาจาก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตเดียวก็ตาม" ดังนี้จะเห็นได้ว่าวิปัสสนาภาวนานั้นเป็นสุดยอดของการสร้างบุญบารมีโดยแท้จริง และการกระทำก็ไม่เหนื่อยยากลำบาก ไม่ต้องแบกหาม ไม่ต้องลงทุนหรือเสียทรัพย์แต่อย่างใด แต่ก็ได้กำไรมากที่สุด เมื่อเปรียบการให้ทานเหมือนกับกรวด และทราย ก็เปรียบวิปัสสนาได้กับเพชรน้ำเอก ซึ่งทานย่อมไม่มีทางที่จะเทียบศีล ศีลก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับสมาธิและสมาธิก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับวิปัสสนา แต่ตราบใดที่เราท่านทั้งหลายยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน ก็ต้องเก็บเล็กผสมน้อย โดยทำทุกๆ ทางเพื่อความไม่ประมาท โดยทำทั้งทาน ศีล และภาวนา สุดแต่โอกาสจะอำนวยให้ จะถือว่าการเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว โดยไม่ยอมลงทุนทำบุญให้ทานใดๆ ไว้เลย เมื่อเกิดชาติหน้า เพราะเหตุยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน ก็เลยมีแต่ปัญญาอย่างเดียวไม่มีจะกินจะใช้ ก็เห็นจะเจริญวิปัสสนาให้ถึงฝั่งพระนิพพานไปไม่ได้เหมือนกัน

    อนึ่ง พระพุทธองค์ได้ตรัสเอาไว้ว่า "ผู้ใดมีปัญญาพิจารณาจนจิตเห็นความจริงว่า ร่างกายนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน คน สัตว์ แม้จะนานเพียงชั่วช้างยกหูขึ้นกระดิกก็ยังดีเสียกว่าผู้ที่มีอายุยืนนานถึง ๑๐๐ ปี แต่ไม่มีปัญญาเห็นความเป็นจริงดังกล่าว" กล่าวคือแม้ว่าอายุของผู้นั้นจะยืนยาวมานานเพียงใด ก็ย่อมโมฆะเสียเปล่าไปชาติหนึ่ง จัดว่าเป็น "โมฆบุรุษ" คือบุรุษที่สูญเปล่า

    ต่อไปนี้เป็นการเจริญสมถะและวิปัสสนาอย่างง่ายๆ ประจำวัน ซึ่งควรจะทำให้บ่อยๆ ทำเนื่องๆ ทำให้มากๆ ทำจนจิตเป็นอารมณ์แนบแน่น ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบทใด คือไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง หรือนอน ก็คิดและใคร่ครวญถึงความเป็นจริง ๔ ประการ ดังต่อไปนี้.....หากทำแล้วพระพุทธองค์ตรัสว่า "จิตของผู้นั้นไม่ห่างจากวิปัสสนาและเป็นผู้ที่ไม่ห่างจาก มรรค ผล นิพพาน" คือ....

    (๑) มีจิตใคร่ครวญถึงมรณัสสติกรรมฐาน หรือมรณานุสสติกรรมฐาน ซึ่งก็คือการใคร่ครวญถึงความตายเป็นอารมณ์อันความมรณะนั้นเป็นธรรมอันยิ่งใหญ่ที่ไม่มีใครสามารถที่จะเอาชนะได้ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งทรงบรรลุถึงพระธรรมอันยิ่งใหญ่ที่ไม่ตาย แต่ก็ยังต้องทรงทอดทิ้งพระสรีระร่างกายไว้บนโลก การระลึกถึงความตายจึงเป็นการเตือนสติให้ตื่น รีบพากเพียรชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ก่อนที่ความตายจะมาถึง พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญมรณัสสติว่า "มรณัสสติ (การระลึกถึงความตาย) อันบุคคลทำให้มากแล้วย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่พระนิพพานเป็นที่สุด ฯลฯ" อันมรณัสสติกรรมฐานนั้น แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย ซึ่งแม้จะได้บรรลุมรรคผลแล้ว ก็ยังม่ยอมละ เพราะยังทรงอารมณ์มรณัสสติ นี้ควบคู่ไปกับวิปัสสนา เพื่อความอยู่เป็นสุข ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า "ตถาคตนึกถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าและออก ฯลฯ"

    มรณัสสติกรรมฐานนั้น โดยปกติเป็นกรรมฐานของผู้ที่มีพุทธจริต คือคนที่ฉลาด การใคร่ครวญถึงความตายเป็นอารมณ์ก็คือการพิจารณาถึงความเป็นจริงที่ว่า ไม่ว่าคนและสัตว์ ทั้งหลายเมื่อมีเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญวัยเป็นหนุ่มสาว เฒ่าแก่แล้วก็ตายไปในที่สุด ไม่อาจจะล่วงพ้นไปได้ทุกผู้คน ไม่ว่าจะเป็นคนยาก ดี มีจน เด็ก หนุ่ม สาว เฒ่าแก่ สูง ต่ำ เหลื่อมล้ำกันด้วยฐานันดรศักดิ์อย่างใด ในที่สุดก็ทันกันและเสมอกันด้วยความตาย ผู้ที่คิดถึงความตายนั้น เป็นผู้ที่ไม่ประมาทในชีวิต ไม่มัวเมาในชีวิต เพราะเมื่อคิดถึงแล้วย่อมเร่งกระทำความดีและบุญกุศล เกรงกลัวต่อบาปกรรมที่จะติดตามไปในภพชาติหน้า ผู้ที่ประมาทมัวเมาต่อทรัพย์สมบัติยศศักดิ์ตำแหน่งหน้าที่นั้นเป็นผู้ที่หลง เหมือนกับคนที่หูหนวกและตาบอด ซึ่งโบราณกล่าวตำหนิไว้ว่า "หลงลำเนาเขาป่ากู่หาพอได้ยิน หลงยศอำนาจย่อมหูหนวกและตาบอด" และกล่าวไว้อีกว่า "หลงยศลืมตาย หลงกายลืมแก่" และความจริงก็มีให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ที่บางท่านใกล้จะเข้าโลงแล้ว ก็ยังหลงและมัวเมาในอำนาจวาสนา ตำแหน่งหน้าที่ จนลืมไปว่าอีกไม่นานตนก็จะต้องทิ้งต้องจากสิ่งเหล่านี้ไป แล้วทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนได้หลงมัวเมาเฝ้าแสวงหาหวงแหนเกาะแน่นอยู่นั้น ก็จะต้องสลายไปพร้อมกับความตายของตน สูญเปล่าไม่ได้ตามติดกับตนไปได้เลย แล้วไม่นานผู้คนที่อยู่เบื้องหลังก็ลืมเลือนตนไปเสียสิ้น ดูเหมือนกับวันเวลาทั้งหลายที่ตนได้ต่อสู้เหนื่อยยากขวนขวายจนได้สิ่งดังกล่าวมานั้น ต้องโมฆะสูญเปล่าไปโดยหาสาระประโยชน์อันใดไม่ได้เลย

    มรณัสสติกรรมฐานนั้น เมื่อพิจารณาไปนานๆ จิตจะค่อยๆ สงบระงับจากนิวรณ์ธรรม ๕ ประการ ในที่สุดจิตก็เข้าถึงอุปจารสมาธิ และความจริงกรรมฐานกองนี้เป็นเพียงสมถภาวนาเท่านั้น แต่ก็ใกล้กับวิปัสสนา เพราะอารมณ์จิตที่ใช้นั้นเป็นการพิจารณาหาเหตุและผลในรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งหากพลิกการพิจารณาว่า อันชีวิตของคนและสัตว์ ตลอดจนสรรพสิ่งทั้งหลายไม่อาจทรงตัวตั้งมั่นอยู่ได้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมมีความตายเป็นที่สุด เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้แล้วก็เป็นวิปัสสนาภาวนา

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อใกล้จะเสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานอีก ๓ เดือน ได้ทรงปลงอายุสังขาร แล้วตรัสสอนพระอานนท์พร้อมหมู่ภิกษุทั้งหลายว่า "อานนท์ ตถาคตได้เคยบอกเธอแล้วมิใช่หรือว่า สัตว์จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจไปทั้งสิ้น สัตว์จะได้ตามปรารถนาในสังขารนี้แต่ที่ไหนเล่า การที่จะขอให้สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นแล้ว ที่มีปัจจัยปรุงแต่งแล้วและที่จะต้องมีการแตกดับเป็นธรรมดาว่าอย่าฉิบหายเลย ดังนี้ ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะมีได้ เป็นได้ การปรินิพพานของตถาคตจักมีในกาลไม่นานเลย ถัดจากนี้ไปอีก ๓ เดือน เราจักนิพพาน ฯลฯ สัตว์ทั้งปวงทั้งที่เป็นคนหนุ่ม คนแก่ ทั้งที่เป็นพาลและบัณฑิต ทั้งที่มั่งมีและยากจน ล้วนแต่มีความตายเป็นเบื้องหน้า เปรียบเหมือนภาชนะดินที่ช่างหม้อได้ปั้นแล้ว ทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งที่สุกและที่ยังดิบล้วนแต่มีการแตกทำลายำปในที่สุดฉันใด ชีวิตแห่งสัตว์ทั้งหลายก็ล้วนแต่มีความตายเป็นเบื้องหน้าฉันนั้น วัยของเราแก่หง่อมแล้วชีวิตของเราริบหรี่แล้วจักต้องละพวกเธอไป ที่พึ่งของตัวเองเราได้ทำแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีล มีความดำริอันตั้งไว้ด้วยดี ตามรักษาซึ่งจิตของตนเถิดในธรรมวินัยนี้ ภิกษุใดเป็นผู้ไม่ประมาท ก็สามารถที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้" และในวันมหาปรินิพพานพระพุทธองค์ได้ตรัสพระปัจฉิมโอวาท ที่เรียกกันว่า "อัปปมาทธรรม" สั่งสอนพระสาวกเป็นครั้งสุดท้าย จนดูเหมือนว่าพระธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ที่ทรงสั่งสอนมานานถึง ๔๕ พรรษาได้ประมวลประชุมรวมกันในพระปัจฉิมโอวาทนี้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ตถาคตขอเตือนท่านทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด"
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    วิธีสร้างบุญบารมี.....สมเด็จพระญาณสังวร
    http://palungjit.org/showthread.php?t=19673

    [​IMG]

    ผู้โพส varanyo

    (๒) มีจิตใคร่ครวญถึงอสุภกรรมฐาน อสุภ ได้แก่สิ่งที่ไม่สวยไม่งาม เช่น ซากศพ คืดมีจิตพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงที่ว่า ร่างกายของคนและสัตว์อันเป็นที่นิยมรักใคร่เสน่หา และเป็นบ่อเกิดแห่งตัณหาราคะ กามกิเลส ว่าเป็นของสวยของงาม เป็นที่เจริญตาและใจ ไม่ว่าร่างกายของตนเอง และของผู้อื่นก็ตาม แท้ที่จริงแล้วก็เป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอน ทุกขัง คือทนอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ วันเวลาย่อมพรากความสวยสดงดงามให้ค่อยๆ จากไปเข้าสู่วัยชรา ซึ่งจะมองหาความสวยงามใดๆ หลงเหลืออยู่มิได้อีกเลย และในทันใดก็ตายลงนั้น แม้แต่ผู้ที่เคยสนิทสนมเสน่หารักใคร่ อันรวมถึงสามี ภรรยา และบุตรธิดา ต่างก็พากันเกลียดในทันใด ไม่ยอมเข้าใกล้ บ้านของตนเองที่อุตส่าห์สร้างมาด้วยความเหนื่อยยาก ก็ไม่ยอมให้อยู่ ต้องรีบขนออกไปโดยไวไว้ที่วัด แล้วซากเหล่านั้นก็เน่าเปื่อยสลายไป เริ่มตั้งแต่เนื้อหนังค่อยๆ พองออกขึ้นอึด น้ำเลือด น้ำเหลืองก็เริ่มเน่า แล้วเดือดไหลออกจากทวารทั้งหลาย เนื้อหนังแตกปริแล้วร่วงหลุดออก จนเหลือแต่กระดูก ส่งกลิ่นเน่าเหม็น เป็นที่น่าเกลียดกลัว สะอิดสะเอียน หาความสสวยงามน่ารักเสน่หาใดๆ มิได้อีกเลย ทั้งไร้คุณค่าและประโยชน์ คงมีค่าแค่เป็นอาหารแก่หมู่หนอนเท่านั้น แล้วในที่สุดกระดูกก็กระจัดกระจายเรี่ยราดอยู่ตามดินและทราย แตกละเอียดผุพังเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยแก่พืชผักต่อไป หาตัวหาตนของเราของเขาที่ไหนไม่ได้เลย สังขารของเราในที่สุดก็เป็นเช่นนี้ ไม่มีอะไรคงเหลือไว้เลย..........

    ---------------------------------

    (๓) มีจิตใคร่ครวญถึงกายคตานุสสติกรรมฐาน บางทีเรียกกันง่ายๆ ว่า "กายคตาสติกรรมฐาน" เป็นกรรมฐานที่มีอานิสงส์มากเพราะสามารถทำให้ละ "สักกายทิฐิ" อันเป็นสังโยชน์ข้อต้นได้ โดยง่าย และเป็นกรรมฐานที่เกี่ยวกับการพิจารณาร่างกายให้เห็นตามสภาพความเป็นจริง ซึ่ฃมักพิจารณาร่วมกับอสุภกรรมฐาน มรณัสสติกรรมฐาน ซึ่งพระอริยเจ้าทุกๆ พระองค์ที่จะบรรลุพระอรหัตผลได้จะต้องผ่านการพิจารณากรรมฐานทั้งสามกองนี้เสมอ มิฉะนั้นแล้วจะเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนามิได้ ทั้งนี้เพราะบรรดาสรรพกิเลสทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นความโลภ โกรธ และหลง ต่างก็เกิดขึ้นที่กายนี้ เพราะความยึดมั่นถือมั่นด้วยอำนาจอุปทานว่าเป็นตัวตนและของตน จึงได้เกิดกิเลสดังกล่าวขึ้น การพิจารณาละกิเลสก็จะต้องพิจารณาละที่กายนี้เอง มรรค ผล และนิพพาน ไม่ต้องไปมองหาที่ไหนเลย แต่มีอยู่พร้อมให้รู้แจ้งเห็นจริงได้ที่ร่างกายอันกว้างศอกยาววาและหนาคืบนี่เอง

    การพิจารณาก็คือ ให้มีจิตใคร่ครวญให้เห็นตามสภาพความเป็นจริงที่ว่า อันร่างกายของคนและสัตว์ที่ต่างก็เฝ้าทะนุถนอมรักใคร่ ว่าสวยงาม เป็นที่สนิทเสน่หาชมเชยรักใคร่ซึ่งกันและกันนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นของปฏิกูล สกปรกโสโครก ไม่สวย ไม่งาม ไม่น่ารักใคร่ทะนุถนอม เป็นมูตร คูถ เพราะเป็นที่บรรจุไว้ซึ่งสรรพสิ่งทั้งหลายที่เป็นพืชผักและบรรดาซากศพของสัตว์ที่บริโภคเข้าไปในกระเพาะนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นที่รวมฝังซากศพของบรรดาสัตว์ทั้งหลายนั่นเอง พืชและสัตว์ที่บริโภคเข้าไป ก็ล้วนแต่เป็นของที่สกปรก ที่ขับถ่ายออกมาจากทวารทั้งหลาย ก็เป็นของสกปรกโสโครก ซึ่งต่างก็พากันรังเกียจว่าเป็น "ขี้" มีสารพัดขี้ ซึ่งแม้แต่เหลือบตาไปมองก็ยังไม่กล้าที่จะมอง แต่แท้ที่จริงแล้วในท้อง กระเพาะ ลำไส้ภายในร่างกายของทุกผู้คนก็ยังคงมีบรรดาขี้เหล่านี้บรรจุอยู่ เพียงแต่มีหนังห่อหุ้มปกปิดไว้ ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอกเท่านั้น แต่เราท่านทั้งหลายก็พากันกกกอดคลึงเคร้า เฝ้าชมเชยก้อนขี้เหล่านี้ว่าเป็นของสวยงาม น่ารักใคร่น่าเสน่หายิ่งนัก เมื่อมีการขับถ่ายออกจากทวาร หูก็เรียกกันว่าขี้ของหู คือ "ขี้หู" ที่ขับถ่ายออกทางตาก็เรียกกันว่า "ขี้ตา" ที่ติดฟันอยู่ก็เรียกว่า "ขี้ฟัน" ที่ออกจากทางจมูกก็เรียกว่าขี้ของจมูก "ขี้มูก" รวมความแล้ว บรรดาสิ่งที่ขับถ่ายออกมาพอพ้นออกจากร่างกายในทันใดนั้นเอง จากเดิมที่เคยเป็นของน่ารักน่าเสน่หา ก็กลายเป็นของที่น่ารังเกียจไปโดยพลัน กลายเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากรักอยากเสน่หา เพราะเป็นขี้ และไม่มีใครอยากเป็นเจ้าของด้วย เมื่อไม่มีใครรับเป็นเจ้าของสิ่งที่ขับถ่ายออกมาทางผิวหนังจึงหาเจ้าของมิได้ ซึ่งต่างก็โทษว่าขี้ของใครก็ไม่ทราบ นานมาก็กลายเป็น "ขี้ไคล" ดังนี้เป็นต้น นอกจากสิ่งที่ขับถ่ายออกมาจะน่ารังเกียจดังกล่าวแล้ว แม้แต่สังขารร่างกายของคนเราเมื่อได้แยกแยะพิจารณาไปแล้ว ก็จะเห็นความเป็นจริงที่ว่า เป็นที่ประชุมรวมกันของอวัยวะชิ้นต่างๆ ที่เป็นตา หู จมูก ลิ้น เนื้อ ปอด ตับ ม้าม หัวใจ กระเพาะอาหาร ลำไส้ หนัง พังผืด เส้นเอ็น เส้นเลือด น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำตา น้ำปัสสาวะ ฯลฯ รวมกันเรียกว่าอาการ ๓๒ ซึ่งต่างก็ห้อยแขวนระเกระกะยางโตงเตงอยู่ภายใน เมื่อแยกหรือควักออกมาดูทีละชิ้น จะไม่มีชิ้นใดที่เรียกกันว่า สวยงาม น่ารัก น่าพิศวาสเลย กลับเป็นของที่น่าเกลียด ไม่สวย ไม่งาม ไม่น่าดู แต่สิ่งเหล่านี้ก็รวมประกอบอยู่ภายในร่างกายของเราทุกผู้คน โดยมีหนังห่อหุ้ม ปกปิดอยู่โดยรอบ

    หากไม่มีผืนหนังห่อหุ้มและสามารถมองเห็นภายในได้แล้ว แม้จะเป็นร่างกายของคนที่รักสุดสวาทขาดใจ ก็คงจะต้องเบือนหน้าหนีอกสั่นขวัญหาย บางทีอาจจะต้องถึงขั้นจับไข้ไปเลย ซึ่งอาจจะต้องถึงขั้นทำพิธีปัดรังควานเรียกขวัญกันอีก หากจะถือว่าน่ารักน่าเสน่หาอยู่ที่ผืนหรือแผ่นหนังรอบกาย ก็ลองลอกออกมาดูก็จะเห็นว่าไม่สวยงามตรงไหนแต่อย่างใด แต่ที่นิยมยกย่องรักใคร่หลงกันอยู่ ก็คือผิวหรือสีของหนังชั้นนอกสุดเท่านั้น ถ้าได้ลอกหรือขูดผิวชั้นนอกสุดออกให้เหลือแต่หนังแท้แดงๆ แล้ว แม้จะเป็นหนังสดสวยของนางงามจักรวาล ผู้คนก็คงจะต้องเบือนหน้าหนี จึงเป็นที่แน่ชัดว่า คนสวย คนงาม ก็คงสวยและงามกันแค่ผิวหนังชั้นนอกสุด รักและเสน่หากันที่ผิวหนัง ซึ่งเป็นของฉาบฉวยนอกกาย หาได้สวยงามน่ารักไปเข้าถึงตับ ปอด หัวใจ ม้าม กระเพาะ ลำไส้ น้ำเลือด น้ำเหลือง อุจจาระ ปัสสาวะ ภายในร่างกายด้วยไม่ ส่วนผู้ที่ผิวหรือสีของหน้าดำด่าง ไม่สดใสน่าดู ก็พยายามทาลิปสติก แต่งหน้า ทาสี พอกแป้ง ย้อม และดึงกันเข้าไปให้เต่งตึง และออกเป็นสีสันต่างๆ แล้วก็พากันนิยมยกย่องชวนชมกันไป แท้ที่จริงแล้วก็เป็นความหลง โดยรักกันที่แป้งและสีที่พอก หลอกให้เห็นฉาบฉวยอยู่แค่ผิวนอกเท่านั้น เมื่อมีสติพิจารณาเห็นความจริงอยู่เช่นนี้ หากจิตมีกำลังก็จะทำให้นิวรณ์ ๕ ประการค่อยๆ สงบระงับลงทีละเล็กละน้อย โดยเฉพาะจิตจะไม่เดือดร้อนกระวนกระวายแส่ส่ายไปในอารมณ์รักๆ ใคร่ๆ ในที่สุดจิตก็จะสงบเยือกเย็นลงจนถึงขั้นอุปจารสมาธิได้ หากสติมีกำลังพอก็อาจถึงขั้นปฐมฌานได้..............
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    วิธีสร้างบุญบารมี.....สมเด็จพระญาณสังวร
    http://palungjit.org/showthread.php?t=19673

    [​IMG]

    ผู้โพส varanyo

    กายคตานุสสติกรรมฐาน นั้น ความจริงก็เป็นเพียงสมถะภาวนาที่ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ถึงขั้นปฐมฌาน แต่ก็เป็นสมถะภาวนาที่เจือไปด้วยวิปัสสนาภาวนา เพราะเป็นอารมณ์จิตที่ใคร่ครวญหาเหตุและผลตามสภาพเป็นจริงของสังขารธรรมหรือสภาวธรรมซึ่งหากได้พลิกการพิจารณาอาการ ๓๒ ดังกล่าว ให้รู้แจ้งเห็นจริงว่าอาการ ๓๒ ดังกล่าวนั้นไม่มีการทรงตัว เมื่อมีเกิดเป็นอาการ ๓๒ ขึ้นแล้ว ก็ไม่อาจจะตั้งมั่นอยู่ได้ จะต้องเปลี่ยนแปลงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวเรา และของเราแต่อย่างใด ร่างกายไม่ว่าของตนเองและผู้อื่นต่างก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ดังนี้ก็เป็นวิปัสสนา กายคตานุสสติกรรมฐานเป็นกรรมฐานที่เมื่อได้พิจารณาไปแล้ว ก็จะเห็นความสกปรกโสโครกของร่างกายจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า ไม่น่ารัก ไม่น่าใคร่ จึงเป็นกรรมฐานที่มีอำนาจทำลายราคะกิเลส และเมื่อได้รู้แจ้งเห็นจริงดังกล่าวมากๆ เข้า จิตก็จะมีกำลังและเกิดความเบื่อหน่ายในร่างกายทั้งของตนเองและของผู้อื่น จึงเป็นการง่ายที่ "นิพพิทาญาณ" จะเกิดขึ้น และเมื่อได้เกิดขึ้นแล้ว จนมีญาณทัสสนะเห็นแจ้งอาการพระไตรลักษณ์ว่า ร่างกายเป็น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขาแต่อย่างใด จิตก็จะน้อมไปสู่ "สังขารุเปกขาญาณ" ซึ่งมีอารมณือันวางเฉย ไม่ยินดียินร้ายในร่างกาย และคลายกำหนัดในรูปนามขันธ์ ๕ เรียกว่า จิตปล่อยวางไม่ยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ ซึ่งจะนำไปสู่การละ "สักกายทิฐิ" อันเป็นการละความเห็นผิดในร่างกายนี้เสียได้ และถ้าละได้เมื่อใดก็ใกล้ที่จะบรรลุความเป็นพระอริยเจ้าเบื้องต้นในพระพุทธศาสนาคือเป็น "พระโสดาบัน" สมจริงตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า "การเจริญกรรมฐานกองนี้จะไม่ห่างจาก มรรค ผล นิพพาน"

    ฉะนั้น กายคตานุสสติกรรมฐาน จึงเป็นกรรมฐาน เครื่องที่จะทำให้บรรลุพระอรหันต์ได้โดยง่าย ซึ่งในสมัยพระพุทธกาล ท่านที่บรรลุแล้วด้วยพระกรรมฐานกองนี้มีเป็นอันมาก ในสมัยที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ ได้เสด็จไปพบพราหมณ์สองสามีภรรยา ซึ่งมีบุตรที่สุดสวยชื่อว่า "นางมาคัณฑิยา" พราหมณ์ทั้งสองชอบใจในพระพุทธองค์ จึงได้ออกปากยกนางมาคัณฑิยาให้เป็นภรรยา พระพุทธองค์ไม่ทรงรับไว้และมองเห็นนิสัยของพราหมณ์ทั้งสองที่จะได้บรรลุมรรคผล จึงได้ทรงแสดงพระธรรมให้ฟัง โดยยกเอากายคตานุสสติกรรมฐานขึ้นมาเทศน์ ซึ่งได้ตำหนิโทษแห่งความสวยงามแห่งรูปกายของนางมาคัณฑิยาว่า พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าเป็นของปฏิกูล มูตรคูถเน่าเหม็น หาความสวยงามใดๆ มิได้เลย พราหมณ์ทั้งสองพิจารณาตามก็ได้ดวงตาเห็นธรรม ส่วนนางมาคัณฑิยาผูกโกรธ ต่อมาเมื่อนางได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าอุเทน กรุงโกสัมพี ก็ได้จองล้างจองผลาญพระพุทธองค์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะแรงพยาบาท อีกท่านหนึ่งก็คือนางอภิรูปนันทาซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าเขมกะศากยะ ก็จัดว่ามีรูปงามที่สุดในสมัยนั้น และพระนางทรงภาคภูมิหลงใหลในความงดงามของพระนางยิ่งนัก แต่ด้วยบุญบารมีที่ได้เคยสร้างสมอบรมมาแล้วเป็นอันมากในอดีตชาติ เป็นเหตุให้พระนางได้สดับพระธรรมของพระพุทธองค์จากพระโอษฐ์ ซึ่งได้ทรงเทศน์กายคตานุสสติกรรมฐานควบคู่ไปกับมรณัสสติกรรมฐาน แล้วทรงเนรมิตรูปกายของสาวงามที่งามยิ่งกว่าพระนางให้ปรากฏขึ้น ให้พระนางได้มองเห็นแล้วบันดาลให้รูปเนรมิตนั้นค่อยๆ เจริญวัย แก่ แล้วชราโทรมๆ ลงจนตายไปในที่สุด แล้วก็เน่าเปื่อย สลายไปต่อหน้า พระนางก็น้อมเอาภาพนิมิตนั้นเข้ามาเปรียบเทียบกับร่างกายของพระนางจนเห็นว่าร่างกายอันงดงามของพระนางนั้นหาได้งามจริงไม่ ทั้งเป็นอนิจจังและอนัตตา หาสาระแก่นสารที่พึ่งอันถาวรอันใดมิได้เลย จนพระนางได้บรรลุพระอรหันต์ในขณะนั้นเอง และพระนางเขมาเทวีที่ยิ่งด้วยรูปโฉม และเป็นพระมเหสีองค์หนึ่งของพระเจ้าพิมพิสารแห่งเมืองราชคฤห์ ก็ได้บรรลุพระอรหันต์ในทำนองเดียวกันนี้เอง สาธุ..อนุโมทามิ................

    (๔) มีจิตใคร่ครวญถึงธาตุกรรมฐาน คือนอกจากจะมีจิตใคร่ครวญถึงความเป็นจริงของร่างกายดังกล่าวมาในข้อ (๓) แล้ว พึงพิจารณาแยกให้เห็นความเป็นจริงที่ว่า อันที่จริงร่างกายของเราเองก็ดี ของผู้อื่นก็ดี ไม่ใช่ตัวเราของเราแต่อย่างใดเลย เป็นแต่เพียงธาตุ ๔ มาประชุมกัน เกาะกุมรวมกันเพียงชั่วคราวเท่านั้นเอง ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ แล้วสิ่งเหล่านี้ก็ทนอยู่ในสภาพที่รวมกันเช่นนั้นไม่ได้ นานไปก็เก่าแก่แล้วแตกสลายตายไป ธาตุน้ำก็กลับไปสู่ความเป็นน้ำ ธาตุดินก็กลับไปสู่ความเป็นดิน ธาตุลมก็กลับไปสู่ความเป็นลม และธาตุไฟก็กลับไปสู่ความเป็นไฟตามเดิม เนื้อตัวร่างกายของเราเมื่อได้แยกส่วนออกมาดูแล้ว ก็มิได้มีตัวตนที่ตรงไหนแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงเนื้อ กระดูก ตับ ไต ไส้ กระเพาะ เส้นเอ็น หนัง พังผืด เนื้อเยื่อ มันสมอง ไขข้อ ฯลฯ มาเกาะกุมกันตัวตนของเราไม่มี ครั้นเมื่อแยกแยะอวัยวะย่อยๆ ดังกล่าวออกไปจนถึงหน่วยย่อยๆ ของชีวิต คือเซลล์เล็กๆ ที่มาเกาะกุมรวมกัน ก็จะเห็นว่าเซลล์เองก็เนื่องมาจากแร่ธาตุทั้งหลายซึ่งไม่มีชีวิตจิตใจมารวมกันเป็นกลุ่มก้อนเล็กๆ ไม่มีตัวตนของเราแต่อย่างใด แม้แร่ธาตุต่างๆ นั้น ก็เนื่องมาจากพลังงานโปรตรอนและอิเล็กตรอนเท่านั้น หาใช่ตัวตนของเราแต่อย่างใดไม่ ที่หลงกันอยู่ว่า ตัวเราของเราหาที่ไหนมิได้เลย

    ทุกสรรพสิ่งที่ดิ้นรนแสวงหา สะสมกันเข้าไว้ในที่สุดก็ต้องทิ้งต้องจาก ซึ่งป่วยการที่จะกล่าวไปถึงสมบัติที่จะนำเอาติดตัวไปด้วย แม้แต่เนื้อตัว ร่างกายที่ว่าเป็นของเราก็ยังเอาติดตัวไปไม่ได้ และก็เป็นความจริงที่ได้เห็นและรู้กันมานานนับล้านๆ ปี คนแล้วคนเล่า ท่านทั้งหลายที่ได้เคยยิ่งใหญ่ด้วยยศศักดิ์ อำนาจวาสนา และทรัพย์สมบัติในอดีตกาล จนเป็นถึงมหาจักรพรรดิมีสมบัติที่สร้างสมมาด้วยเลือดและน้ำตาของผู้อื่นจนค่อนโลก แต่แล้วในที่สุดก็ต้องทิ้งต้องจากสิ่งเหล่านี้ไป แม้แต่เนื้อตัวร่างกายของท่านที่เคยยิ่งใหญ่ จนถึงกับเป็นผู้ที่ไม่อาจจะแตะต้องได้ แต่แล้วก็ต้องทอดทิ้งจมดินและทราย จนในที่สุดก็สลายไปจนหาไม่พบว่าเนื้อ หนัง กระดูก ขน เล็บ ตับ ไต ไส้ กระเพาะของท่านอยู่ที่ตรงไหน คงเหลืออยู่แต่ที่เป็นดิน น้ำ ลม และไฟ ตามสภาพเดิมที่ก่อเกิดกำเนิดมาเป็นตัวของท่านเพียงชั่วคราวเท่านั้น แล้วตัวของเราท่านทั้งหลายก็เพียงเท่านี้ มิได้ยิ่งใหญ่ไปกว่าท่านในอดีตจะรอดพ้นจากสัจธรรมนี้ไปได้หรือ

    เมื่อความเป็นจริงก็เห็นๆ กันอยู่เช่นนี้แล้ว เหตุใดเราท่านทั้งหลายจึงต้องพากันดิ้นรนขวนขวายสะสมสิ่งที่ในที่สุดก็จะต้องทิ้งจะต้องจากไป ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายวันเวลาอันมีค่าของพวกเรา ซึ่งก็คงมีไม่เกินคนละ ๑๐๐ ปี ให้ต้องโมฆะเสียเปล่าไปโดยหาสาระประโยชน์อันใดมิได้ เหตุใดไม่เร่งขวนขวายสร้างสมบุญบารมีที่เป็นอริยทรัพย์อันประเสริฐ ซึ่งจะติดตัวตามไปในชาติหน้า แม้หากสิ่งเหล่านี้จะไม่มีจริงดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ อย่างเลวพวกเราก็เพียงเสมอตัวมิได้ขาดทุนแต่อย่างใด

    หากสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้มีจริง ดังที่ปราชญ์ในอดีตกาลยอมรับ แล้วเราท่านทั้งหลายไม่สร้างสมบุญและความดีไว้ สร้างสมแต่ความชั่วและบาปกรรมตามติดตัวไปเราท่านทั้งหลายมิขาดทุนหรือ เวลาในชีวิตของเราที่ควรจะได้ใช้ให้เป็นประโยชน์กลับต้องมาโมฆะเสียเปล่า ก็สมควรที่จะได้ชื่อว่าเป็น "โมฆะบุรุษ" โดยแท้...........
    -----------------------------------------------------------------------
    สำหรับบทพระนิพนธ์ของ ท่านสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ซึ่งผมได้นำมาโพสต์ลงในเว็ปไซต์นี้ เพื่อเป็นธรรมทาน เป็นการร่วมกันจรรโลงพระพุทธศาสนา และเพื่อเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติสืบต่อไป ดังรายละเอียดมาแล้วนั้น ก็ขอจบลง ณ ที่นี้......ขอกราบอนุโมทนา..สาธุ..สาธุ..สาธุ..อนุโมทามิ..
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    วัด : พุทธศาสนสถาปัตยกรรมไทย
    http://elearning.su.ac.th/elearning-uploads2/libs/html/16231/c1/chapter1.htm

    วัด หมายถึง สถานที่ทางพระพุทธศาสนา ซึ่งปกติมีพระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ รวมทั้งมีพระภิกษุสงฆ์อยู่อาศัย [1]
    คำว่า “วัด” เป็นคำเรียกชื่อศาสนสถานแบบคำไทย โดยที่มาของคำว่า “วัด” นี้ ยังไม่มีข้อยุติ ด้วยบางคนอธิบายว่า มาจากคำว่า “วตวา” ในภาษาบาลี แปลว่า เป็นที่สนทนาธรรม [2]บ้างก็ว่ามาจาก“วัตร” อันหมายถึงกิจปฏิบัติหรือหน้าที่ของพระภิกษุที่พึงกระทำ หรือแปลอีกอย่างว่าการจำศีล ซึ่งวัด(วัตร) ตามนัยยะนี้จึงน่าจะหมายถึงสถานที่ซึ่งพระภิกษุสงฆ์ใช้เป็นที่จำศีลภาวนา หรือสถานที่ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้ปฏิบัติภาระกิจที่พึงกระทำนั่นเอง แต่ก็มีบางคนสันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “วัดวา” อันหมายถึงการกำหนดขอบเขตของดินแดนที่สร้างเป็นศาสนสถาน[3] เพราะวัดกับวามีความหมายอย่างเดียวกัน คือการสอบขนาด หรือปริมาณของสิ่งต่างๆ เช่น ความยาว ความกว้าง เป็นต้น วัดในนัยยะอย่างหลังนี้จึงหมายถึง พื้นที่
    แต่เดิมครั้งพุทธกาลนั้น มีการใช้คำว่า “อาราม” เป็นคำเรียกชื่อ ศาสนสถานในทางพุทธศาสนาที่ใช้เรียกเสนาสนะที่มีผู้ศรัทธาถวายพระพุทธองค์ในระยะแรกๆ เช่น “เชตวนาราม” หรือชื่อเต็มว่า “เชตวเนอนาถบิณฑิกสสอาราเม” ซึ่งมีความหมายว่า “สวนของอนาถบิณฑที่ป่าเชต” หรือ “เวฬุวนาราม” หรือ “บุปผาราม” เป็นต้น โดย “อาราเม” หรือ “อาราม” ในคำอ่านของไทยแปลว่าสวน[4] นอกจากนี้ในเวลาต่อมายังมีคำที่ใช้เรียกอีกอย่างว่า “วิหาระ” หรือ “วิหาร”
    อย่างไรก็ตามก็ยังมีคำที่ให้ความหมายว่าวัดอยู่อีกชื่อหนึ่ง คือ “อาวาส” ดังชื่อเรียกสมภารผู้ครองวัดว่า “เจ้าอาวาส” ซึ่งแปลว่าผู้เป็นใหญ่ในวัด หรือชื่อเรียกวัด เช่น เทพศิรินทราวาส( เทพ+ ศิรินทรา+ อาวาส ) โดยปกติคำว่าอาวาสไม่เป็นที่นิยมใช้กันในความหมายว่าวัด ทั้งนี้เพราะนิยมนำไปใช้กับความหมายที่แคบกว่าคำว่าอาราม โดยมักให้ความหมายในเชิงที่เป็นตัวเรือนที่อยู่อาศัยมากกว่า อาวาสจึงเสมือนเป็นที่อยู่ส่วนย่อยภายในอารามที่หมายถึงพื้นที่ที่เป็นศาสนสถานทั้งเขต[5]
    <HR align=right width="90%" color=#c0c0c0>ชนิดของวัด

    <DL><DD>ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ในประเทศไทย พุทธศักราช 2505 กำหนดไว้ว่า วัดมี 2 ชนิด[6] คือ
    <DD>1. วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
    <DD>2. สำนักสงฆ์
    </DD></DL>วิสุงคามสีมา หมายถึง เขตพื้นที่ที่พระภิกษุสงฆ์ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเพื่อใช้จัดตั้งวัดขึ้น แต่ในทางปฏิบัตินั้นเป็นการขอพระบรมราชานุญาตเฉพาะแต่บริเวณที่ตั้งพระอุโบสถเท่านั้น[7]
    สำนักสงฆ์ หมายถึง สถานที่ตั้งพำนักอาศัยของหมู่พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งไม่ได้ขอพระบรมราชานุญาตใช้ผืนที่ดินแห่งนั้นเพื่อจัดตั้งเป็นวัดขึ้น ดังนั้นสำนักสงฆ์จึงไม่มีโรงพระอุโบสถเพื่อใช้เป็นที่ทำสังฆกรรม
    วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ถือว่าเป็นวัดที่ถูกต้องและมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย วัดประเภทนี้ยังแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ วัดหลวงหรือพระอารามหลวง กับ วัดราษฎร์
    วัดหลวง หมายถึง วัดที่พระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ทรงสร้าง หรือวัดที่รัฐบาลหรือราษฎรทั่วไปสร้างขึ้นแล้วทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์
    วัดราษฎร์ หมายถึง วัดที่ราษฎรทั้งหลายสร้างขึ้นตามศรัทธา
    <HR align=right width="90%" color=#c0c0c0>การแบ่งระดับของวัดหรือพระอารามหลวง

    พระอารามหลวงแบ่งออกได้เป็น 3 ชั้น[8]<SUP> </SUP>คือ
    . พระอารามหลวงชั้นเอก หมายถึง วัดที่มีเจติยสถานสำคัญ เป็นวัดที่บรรจุพระบรมอัฐิหรือวัดที่มีเกียรติอย่างสูง มีเจ้าอาวาสเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ขึ้นไป
    . พระอารามหลวงชั้นโท หมายถึง วัดที่มีเกียรติ มีเจ้าอาวาสเป็นพระราชาคณะสามัญขึ้นไป
    . พระอารามหลวงชั้นตรี หมายถึง วัดที่มีเกียรติหรือวัดสามัญ เจ้าอาวาสเป็นพระครูชั้นสูงขึ้นไป
    ซึ่งพระอารามหลวงนั้นยังแบ่งตามฐานันดรศักดิ์ออกได้เป็น 4 ชนิด คือ
    1. ชนิดราชวรมหาวิหาร หมายถึง พระอารามที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์เป็นการส่วนพระองค์ โดยที่สิ่งปลูกสร้างนั้นมีขนาดใหญ่โตสมพระเกียรติ
    2. ชนิดวรมหาวิหาร ลักษณะเดียวกับชนิดราชวรมหาวิหาร แต่มีความสำคัญน้อยกว่า
    3. ชนิดราชวรวิหาร หมายถึง พระอารามที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์เป็นการส่วนพระองค์
    4. ชนิดวรวิหาร หมายถึง พระอารามที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์แล้วพระราชทานเป็นเกียรติแก่ผู้อื่น
    พระอารามหลวงแต่ละชั้นมิได้หมายถึงว่าจะมีชนิดของพระอารามครบทั้ง 4 ประเภท ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับความสำคัญของสถานที่ ขนาดและผู้สร้าง ซึ่งจะเป็นสิ่งกำหนดชนิดของพระอารามดังกล่าว ในปัจจุบันได้มีการจัดแบ่งชนิดของพระอารามตามระดับชั้นดังนี้
    <DL><DD>พระอารามหลวงชั้นเอก แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
    <DD>1. ราชวรมหาวิหาร
    <DD>2. ราชวรวิหาร
    <DD>3. วรมหาวิหาร
    <DD>พระอารามหลวงชั้นโท แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ
    <DD>1 ราชวรมหาวิหาร
    <DD>2 ราชวรวิหาร
    <DD>3 วรมหาวิหาร
    <DD>4 วรวิหาร
    <DD>พระอารามหลวงชั้นตรี แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
    <DD>1 ราชวรวิหาร
    <DD>2 วรวิหาร
    <DD>3 สามัญ ไม่มีสร้อยต่อท้ายชื่อ
    </DD></DL>


     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    มูลเหตุการสร้างวัด

    แต่เดิมในสมัยครั้งพุทธกาลนั้นยังไม่มีการสร้างอาคารสถานให้เป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสงฆ์โดยเฉพาะเจาะจง เนื่องจากพระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาตให้พระภิกษุมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งถาวร ด้วยจะทำให้เกิดความยึดติดในทรัพย์ทางโลก จึงทรงกำหนดสถานที่สำหรับใช้เป็นที่อาศัยพื้นฐานสุด คือ “รุกขมูลเสนาสนะ” อันหมายถึงการอยู่รอบโคนต้นไม้ [9] แล้วให้จาริกไปเรื่อยๆ ทั้งนี้เพื่อมิให้จิตมีสิ่งผูกพัน
    เมื่อพระพุทธเจ้าพร้อมเหล่าสาวกออกเผยแพร่พระศาสนา ปรากฏว่ามีผู้เลื่อมใสศรัทธาพากันบวชเป็นพระภิกษุจำนวนมากมาย ที่ไม่ได้บวชต่างก็ให้ความอุปถัมภ์เกื้อกูลเป็นอย่างดี โดยเฉพาะพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งนครราชคฤห์ ทรงประกาศตนเป็นองค์ศาสนูปถัมภกต่อพุทธศาสนา ทั้งทรงถวาย “เวฬุวัน”[10] ให้เป็นที่ประทับของพระพุทธองค์และเหล่าพุทธสาวก ซึ่งพระองค์ทรงรับไว้ ด้วยเพราะวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์มิใช่มุ่งเน้นให้บำเพ็ญวิปัสสนาญาณเท่านั้น หน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการจาริกออกไป ณ ที่ต่างๆเพื่อเผยแพร่พระธรรมคำสอนอีกด้วย และเป็นมูลเหตุให้ทรงมีพระพุทธานุญาตให้พระภิกษุสามารถรับอารามที่เหล่าทายกถวายได้ อาทิ เชตวนาราม ที่มหาเศรษฐีอนาถบิณฑิกะแห่งกรุงสาวัตถี สร้างถวาย หรือ ปุพพารามวิหาร ที่นางวิสาขาสร้างถวาย แต่ถือได้ว่าเวฬุวนารามเป็นวัดแห่งแรกของพุทธศาสนา
    <HR align=right width="90%" color=#c0c0c0>ประเภทของวัด
    สมัยหลังพุทธกาลเมื่อมีการสร้างพระสถูปเจดีย์ขึ้น ทำให้บริเวณเหล่านี้เกิดเป็นที่ชุมนุมของเหล่าพระสงฆ์และคฤหัสถ์ที่เดินทางมาถึง ที่สุดแล้วก็เกิดมีพระภิกษุบางรูปสมัครใจที่จะอยู่พำนักเพื่อบำรุงรักษาสังเวชนียสถานเหล่านั้น[11] ทั้งมีผู้ศรัทธาสร้างที่พักกุฎีสงฆ์ถวายแด่พระภิกษุดังกล่าว สถานที่นี้ในที่สุดได้กลายสภาพเป็น “วัด” ที่สมบูรณ์แบบ สืบทอดกันมาจนเกิดเป็นแบบอย่างชัดเจนดังปัจจุบัน ด้วยเหตุที่การสร้างวัดกลายเป็นประเพณีที่นิยมกันในที่ต่างๆ วัดจึงมีปรากฏอย่างแพร่หลายทั้งในเมืองใหญ่และชนบท จนทำให้จุดมุ่งหมายเดิมของการบวชนั้นเปลี่ยนไปในเวลาต่อมา เพราะพระสงฆ์ส่วนหนึ่งมีที่พักอาศัยอย่างถาวรยึดติดใน เสนาสนะ แทนการมุ่งเน้นปฏิบัติเพื่อรื้อออกซึ่งความทุกข์และเพื่อทำให้แจ้งแห่งการดับทุกข์ ซึ่งเป็นความหมายของการบวช เพราะคำว่าบวช มาจากคำว่า +วช แปลว่า เว้นทั่ว[12] หมายถึงเว้นห่างจากกาม จากกิเลส พระภิกษุในเวลาถัดมาจึงมีลักษณะที่แตกต่างกัน 2 แบบ คือ ฝ่ายหนึ่งซึ่งยังคงตั้งมั่นอยู่กับแนวปฏิบัติเดิมนั่นคือปลีกความวุ่นวายจากโลกออกสู่ป่า เพื่อแสวงหาความวิเวก มุ่งเน้นทาง“วิปัสสนาธุระ” กับอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งนิยมการอยู่ชิดติดวัดภายในเขตชุมชน โดยมุ่งเน้นการศึกษา คือการมุ่งศึกษาเพื่อให้รู้ถึงพระพุทธพจน์ พระธรรมวินัย รวมทั้งพระอภิธรรมต่างๆ การแยกออกเป็น 2 ลักษณะนี้มาแบ่งชัดเจนเป็น 2 ฝ่ายในประเทศลังกา[13]<SUP> </SUP>โดยเรียกฝ่ายที่อยู่ป่าว่า “พระอรัญวาสี” และเรียกฝ่ายที่อยู่ในเมืองว่า “พระคามวาสี”
    พระภิกษุไม่ว่าจะเป็นฝ่ายอรัญวาสีหรือคามวาสี ทุกรูปจะต้องสังกัดไม่วัดใดก็วัดหนึ่ง วัดฝ่ายคามวาสีนั้นอยู่ภายในหรือรอบนอกเมืองที่มีชุมชนอาศัยอยู่ แต่วัดฝ่ายอรัญวาสีจะต้องถอยร่นให้ห่างไกลชุมชนให้มากที่สุด แต่ความจำเป็นในการพึ่งพาอาศัยการแบ่งปันอาหารจากสังคมยังต้องมีอยู่ ในพระวินัยกำหนดไว้ว่าวัดฝ่ายอรัญวาสีจะต้องตั้งไม่ห่างจากหมู่บ้านที่ใกล้ที่สุดจนเกินไป คือให้อยู่ในระยะประมาณ 500 ชั่วคันธนู หรือประมาณ 1 กิโลเมตร[14] เพื่อเอื้อให้พระภิกษุสามารถเดินไปรับการบิณฑบาตและกลับมาทันฉันอาหารเพลก่อนเที่ยงวัน
    วัดอรัญวาสี นิยมตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นป่าเขา ส่วนใหญ่มีเพียงกุฏิและศาลาโถงอเนกประสงค์ ไม่มีอาคารและแบบแผนมากนัก พระสงฆ์ฝ่ายนี้จะอยู่จำวัดเฉพาะเพียงช่วงเข้าพรรษา และจะมุ่งธุดงค์เข้าป่าลึก ปักกลด ฝึกหัดกรรมฐานจิต และจาริกไปเรื่อยๆ ก่อนกลับออกมาจำพรรษาที่วัดอีกครั้งเมื่อถึงฤดูเข้าพรรษาใหม่ ความต้องการทำสังฆกรรมใดๆ ก็เพียงอาศัยการกำหนดขึ้นใช้เพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระเจดีย์ดูเหมือนจะไม่มีการสร้างในวัดอรัญวาสีหรือ“วัดป่า”แท้ๆเลย คงเป็นเพราะแนวความคิดของพระภิกษุสายนี้เน้นที่การปฏิบัติเพื่อให้เห็น “ธรรม” มากกว่า “รูป” ที่แม้เป็นตัวแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ก็เป็นเพียงภาพสัญลักษณ์ที่ไม่ใช่วิถีทางแห่งการหลุดพ้น
    วัดคามวาสี สร้างขึ้นสำหรับเป็นที่พึ่งของชุมชนหรือเมืองโดยตรง ภารกิจหลักของพระภิกษุสงฆ์ฝ่ายนี้มุ่งไปในทางปฏิบัติด้านพิธีกรรมทางศาสนา และการเน้นศึกษาทางหนังสือเพื่อแสวงหาความรู้ สำหรับใช้ในการสั่งสอนฆราวาสมากกว่าฝึกปฏิบัติด้านวิปัสสนาธุระ พระสงฆ์ฝ่ายนี้จึงมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับโลกภายนอกตลอด ทำให้แนวทางหลักด้านปฏิบัติต้องเปลี่ยนไปจากการมุ่งหาหนทางเพื่อให้ “ตนเอง” พ้นจากสังสารวัฏ มาเป็นเพื่อช่วยให้ “ผู้อื่น” พ้นทุกข์แทน เป็นการปฏิบัติที่ไม่ใช่เพื่อมุ่งผลตรัสรู้และนิพพาน หากแต่การเน้นผลทางปริยัติธรรมทั้งคอยชี้แนะช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่เวไนยสัตว์ทั้งปวงได้ ก็เท่ากับเป็นการสั่งสมทานบารมีและยกระดับจิตของตนให้สูงขึ้นในขณะเดียวกัน ถือเป็นหลักสำคัญในการฝึกจิตเพื่อการ “ละวาง” วัดประเภทนี้จะมีองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่เป็นอาคารมากกว่าวัดอรัญวาสี ตามความต้องการใช้งาน การกำหนดแบบแผนทั้งด้านรูปแบบและแผนผังรวมมีกฎเกณฑ์ค่อนข้างชัดเจน
    <HR align=right width="90%" color=#c0c0c0>


    <DL><DD>เชิงอรรถ
    <DD>[1] ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2525), หน้า 747.
    </DD></DL>
    <DL><DD>[2] สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และ พระยาอนุมานราชธน บันทึกเรื่องความรู้ต่างๆ เล่ม 2 (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2521), หน้า73.
    </DD></DL>
    <DL><DD>[3] สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และ พระยาอนุมานราชธน บันทึกเรื่องความรู้ต่างๆ เล่ม 4 (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2521), หน้า 248.
    </DD></DL>
    <DL><DD>[4] สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, สาส์นสมเด็จ เล่ม 14 (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2526 พิมพ์ครั้งที่ 2), หน้า 131.
    </DD></DL>
    <DL><DD>[5] สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, สาส์นสมเด็จ เล่ม 9 (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2515 พิมพ์ครั้งที่ 2), หน้า 109.
    </DD></DL>
    <DL><DD>
    [6] กรมการศาสนา, ประวัติวัดสำคัญทางพุทธศาสนา ตอน 3 (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, 2526), หน้า 2.
    </DD></DL>
    <DL><DD>
    [7] สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, วินัยมุข เล่ม 3 (กรุงเทพฯ : มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2529 พิมพ์ครั้งที่ 21), หน้า 43.
    </DD></DL>
    <DL><DD>[8] เรื่องเดียวกัน, หน้า 7.
    </DD></DL>
    <DL><DD>[9] พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต), จาริกบุญจาริกธรรม (กรุงเทพฯ : บริษัทสหธรรมมิก จำกัด, 2539), หน้า 321.
    </DD></DL>
    <DL><DD>[10] เวฬุวัน = สวนไผ่
    </DD></DL>
    <DL><DD>[11] สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ตำนานพระพุทธเจดีย์ (ธนบุรี: โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2541), หน้า 23-24.
    </DD></DL>
    <DL><DD>[12] พระเทพคุณาภรณ์, พิธีชีวิต [ ธนบุรี : โรงพิมพ์กรมสารบรรณทหารเรือ: 2513, พิมพ์เป็นบรรณาการ งานฌาปนกิจศพ นางบำราปอริพินาศ ( เชื่อม พุกกะรัตน์ ) วัดโสมนัสวิหาร 12 ก.ย. 2513], หน้า 5.
    </DD></DL>
    <DL><DD>[13] พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต), เรื่องเดียวกัน, หน้า 325.
    </DD></DL>
    <DL><DD>[14] โชติ กัลยาณมิตร, สถาปัตยกรรมแบบไทยเดิม (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539 พิมพ์ครั้งที่ 2), หน้า 89.
    </DD></DL>

    http://elearning.su.ac.th/elearning-uploads2/libs/html/16231/c1/chapter1.htm
     
  12. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    ขอถามนิดนึงครับ
    จาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
    ๑. มนุสสิตถี สุทธิกะจตุกกะ [ทับ]
    ๒. มนุสสิตถี สุทธิกะจตุกกะ [คร่อม]
    ๓. มนุสสิตถี สุทธิกะจตุกกะ [อม]

    3 คำที่ต่อข้างหลังนี่หมายถึงอะไรเหรอครับ [ทับ] [คร่อม] [อม]
    พอดีสังเกตุเห็นจะมีทุกหัวข้อน่ะครับ
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    น่าจะเป็นการอธิบายเรื่องลักษณะของอาการที่กระทำครับ (ในความคิดของผม)

    ท่านใดรู้ว่าเป็นอย่างไร แสดงความคิดเห็นกันนะครับ
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ถามตอบเรื่องพระรัตนตรัย
    โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    http://mahamakuta.inet.co.th/study/study66/mk6614/mk66141.htm
    พระสงฆ์
    เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระธรรมอันเป็นความจริงอย่างสูงสุด พ้นจากทุกข์ทั้งสิ้น เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ (ตรัสรู้เองโดยชอบ) แล้วมิได้ทรงนิ่งเฉยเสวยสุข อันเกิดแต่ความพ้นทุกข์ ที่คนสามัญไม่อาจรู้ได้นั้น ทรงพระกรุณาสงสารแผ่ไปในผู้อื่น จึงทรงแสดงคำสั่งสอนประกาศธรรม คือความจริง เป็นประโยชน์และถูกต้อง ประกอบด้วยเหตุและผล อันรวมเรียกว่า พระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นทั่วไป (ดังแสดงไว้ในธรรมคุณ)
    บุคคลได้ฟังและสนใจ กำหนดเนื้อความพิจารณาไปตามกระแสธรรม เห็นจริงปรากฏแก่ใจ มีความเชื่อความเลื่อมใสนับถือและปฏิบัติตาม มีหลายพวก คือเป็นนักบวชในลัทธิต่างๆ บ้าง เป็นฆราวาส และเป็นเจ้าบ้านบ้าง ตลอดถึงคนสามัญในสกุลต่างๆ ทั้งชายและหญิง แต่ก็รวมเรียกว่า สาวก แปลว่า ผู้ฟังของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างเดียวกัน
    ตามพระพุทธประวัติ สังเกตว่า ในชั้นต้นๆ ทรงแสดงธรรมแก่นักบวชที่เป็นเจ้าลัทธิ เพราะท่านเหล่านั้นมุ่งหาความจริงความถูก และเป็นคนฉลาด และทรงแสดงแก่เจ้าประเทศ แก่พวกเจ้า แก่พราหมณ์ แก่อำมาตย์ เพราท่านเหล่านั้นเป็นผู้ได้ศึกษามีความรู้ ความฉลาด และเพราะพระธรรมที่ทรงแสดงเป็นความจริง ทั้งที่เป็นประโยชน์ชั้นสูง ก็ละเอียดลึกซึ้ง ทั้งทรงแสดงให้ใช้ปัญญาพิจารณาเพื่อรู้เห็นตามเป็นจริง ไม่ใช่ทรงสั่งสอนเพียงให้เชื่อๆ เท่านั้น ผู้ไม่เคยได้ศึกษาความรู้ในทางอื่นมา ไม่มีความฉลาดเป็นพื้นเพอยู่ อยากที่จะเข้าใจ ไม่เหมือนคำสอนที่เป็นแต่เพียงสอนให้เชื่อไปเท่านั้น ไม่ให้พิจารณา ต่อมาทรงมุ่งประโยชน์แก่คนทั่วไปทุกชั้น จึงทรงแสดงธรรมผ่อนผัน พอให้เหมาะแก่ภูมิของเขา เพื่อให้ได้รับประโยชน์ทั่วถึงกัน เปรียบเหมือนท่านผู้กรุณา แจกปันสิ่งของแก่คนที่มีวัยต่างๆ กัน เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ตามชั้นของคนฉะนั้น


    ถามตอบเรื่องพระรัตนตรัย
    โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    http://mahamakuta.inet.co.th/study/study66/mk6614/mk66142.htm
    อริยสงฆ์

    ผู้เชื่อและเลื่อมใสนับถือปฏิบัติตามนั้นมีมาก จึงเป็นพวกเป็นหมู่กัน ด้วยมุ่งธรรมเป็นใหญ่ ไม่มุ่งลาภ ยศ สรรเสริญ และสามิสสุข (สุขที่เจือด้วยอามิส
    คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ชอบใจ) เสมอกัน เพราะฉะนั้น จึงมีคำแสดงคุณท่านเป็นลักษณะไว้ว่า
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ถามตอบเรื่องพระรัตนตรัย
    โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    http://mahamakuta.inet.co.th/study/study66/mk6614/mk66143.htm
    ภิกขุสงฆ์
    พระสาวกนั้น ที่เป็นบรรพชิตในลัทธิอื่นมาก่อนบ้าง ที่เป็นฆราวาสและมีความเชื่อความเลื่อมใสแก่กล้าปรารถนาจะพ้นทุกข์บ้าง ทูลขอบวชเป็นบรรพชิตในสำนักพระสัมมาสัมพุทธะ เมื่อพระองค์ทรงเห็นสมควร ก็ทรงรับด้วยทรงอนุญาตให้เป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา แม้มีผู้ศรัทธาและเลื่อมใสแก่กล้า ปรารถนาจะบวชเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา แต่ยังอยู่ไกล ไปทูลขอบวชไม่ทันใจ ได้ตั้งใจอุทิศพระสัมมาสัมพุทธะ และครองเพศบรรพชิตเอาเอง เช่นมีเรื่องเล่าว่า พระมหากัสสปเถระได้อุทิศพระอรหันต์ในโลก และครองเพศบรรพชิตเอาเอง แต่เมื่อท่านได้ทราบข่าวพระพุทธเจ้าแล้ว ก็รีบไปเฝ้าทูลขอบวชในสำนักพระสัมมาสัมพุทธะ เมื่อทรงรับ จึงเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนาได้ ไม่ใช่อุทิศพระสัมมาสัมพุทธะแล้วบวชเอาเองเท่านั้นก็เป็นได้ ถึงผู้ทูลขอบวชในสำนักพระองค์ ถ้ายังไม่ทรงเห็นสมควร ก็ยังไม่ทรงอนุญาต เช่น พระปุกกุสาติ ได้บวชอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้ามาแล้ว ได้ฟังธรรมในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าเกิดศรัทธาเลื่อมใสทูลขอบวช พระองค์ยังไม่ทรงรับ ตรัสให้ไปหาสมณบริขารก่อน เป็นตัวอย่าง (ถ้าต้องการรู้พิสดาร พึงอ่านดูในธาตุวิภังคสูตร ในหนังสือธรรมสมบัติ) นี้เป็นไปในตอนต้น ภายหลังทรงอนุญาตให้กุลบุตรผู้ต้องการบวชได้ในสำนักภิกษุ ด้วยให้ตั้งใจ และกล่าววาจาถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะ (ที่ระลึก) เรียกว่า
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อานิสงส์การสวดมนตร์(ถอดจากเทปบทสัมภาษณ์ พระเดชพระคุณหลวงพ่อ)
    http://www.jarun.org/v6/board/viewto...7bebaa6024de77

    โดย สมศักดิ์ ชูศรีขาว

    <TABLE class=post1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=post-right vAlign=top align=left width="100%" height=250>พิธีกร: อานิสงส์ของการสวดพุทธคุณนี่นะคะ ได้แก่ตัวเราคนเดียว ทำให้คนอื่นได้ไหมค่ะ
    หลวงพ่อจรัญ: ได้ สวดพุทธคุณนี้ อาตมาไปเห็นโยมแก่คนหนึ่งที่สุพรรณบุรีนะ อายุ ๙๐ กว่า ไม่มีครอบครัวนะ อาตมาไปได้ตัวอย่างมา มีกับข้าวบริบูรณ์เลยอาตมาเอาแล่นเรือยนต์ไป พระตั้งหลายองค์แล้วก็ฆราวาสอีก ๘ แกไม่มีหม้อข้าวหม้อเตาไฟเลยนะ บอกนิมนต์ฉันท์เพล เราบอก เอ้ย ยายแก่นี่โกหกเราแล้ว เราจำเป็นเหลือ ๑๐ นาทีจะเพลแล้ว จะไปตลาดซื้อไม่ทันก็จอดเรือเข้าไปที่แพแก อายุมากแล้วสวยด้วย เดี๋ยวเพล ตึง ตึง ตึง กับข้าวมาเต็มเลย มาเต็มเลยอาตมายังจำได้ อ้าว คนนั้นส่งมาถ้วย แก.. อิติปิโส ภควา อะระหังสัมมา สัมพุทโธวิชชา... แล้วแกก็เท ถ่ายแล้ว อิติปิโส ภควา... จบแล้วก็บอกนี่เอาไปฝากแม่เธอด้วย ถาม อาตมาถามว่า ยาย...ทำไมต้องสวดสองหน อิ...(อิติปิโส)หนนึงเราต้องเอาก่อน อิ...(อิติปิโส)หนนี้ไปให้เขา ได้แน่ ได้แน่ๆ นี่มันมีประโยชน์อยู่ นี่อาตมาก็จำไว้

    พิธีกร: อ๋อ หมายถึงว่าหลวงพ่อได้ฉันท์อาหารจากคุณยายคนนี้ในลักษณะอย่างนี้เหรอค่ะ
    หลวงพ่อจรัญ: เนี่ยกับข้าวเยอะเลย ถามบอก..ยายนี่มาไงกันเนี่ย แล้วก็ยายมีลูกไหม ฉันไม่มีครอบครัว มีนาอยู่เจ็ดแปดร้อยไร่ยกให้วัดและก็ยกให้เด็กๆบ้านนี้หมด แล้วเขาก็มาปฏิบัติมานอนด้วยซักผ้าซักผ่อนให้ด้วย ขอเจริญพรพูดนอกนิดนึง บางคนเนี่ยกลัวไม่มีลูกมาปฏิบัติ มีลูกตั้งแปดเก้าคนไม่เคยมาเช็ดก้นเช็ดตูดเลยนะ เพราะเป็นเวรกรรมของแม่ไม่เคยทำต่อเนื่องกันมา แต่คุณยายเนี่ยไม่มีลูกไม่มีผัว นี่ขอพูดอย่างชาวบ้านนอก แต่มีคนปฎิบัติทั้งแถวเลย แล้วกลางคืนมีคนมานอน แล้วเสื้อผ้าซักรีดให้เสร็จแต่กับข้าวไม่มีเลย แต่ถึงเวลาเต็มเลย คนละถ้วยใช่ไหม ทั้งแถวเลย เนี่ยแล้วแกก็ทำอย่างเนี๊ย ถามบอก ยาย..ทำไมต้องสวดสองหน อิ...(อิติปิโส)หนนึงเราต้องเอาไว้ก่อน เราต้องเอาเป็นบุญก่อน อิ...(อิติปิโส)หนที่สองเป็นกำไรให้เขาไป นี่อาตมาจำซึ้งมาแล้วก็ใช้ได้ผลอย่างนี้ ขอเจริญพร

    พิธีกร: หลวงพ่อขาอานิสงส์ของพุทธคุณในการที่จะรักษาไข้เนี่ยนะคะ นอกจากจะรักษาไข้แล้วนี่ ยังเป็นประโยชน์อย่างอื่นได้ไหมค่ะ
    หลวงพ่อจรัญ: เป็นประโยชน์อย่างอื่นได้มากมาย เด็ก..ที่จะไปสอบเข้ามหาวิทยาลัยและฝรั่งมั่งค่าก็ตามนะ สวดเท่าอายุเกินหนึ่ง แล้วก็พาหุงมหากาฯ เข้าไว้ แล้วก็สวดเกินหนึ่งไป สอบไม่เคยตก นี่อานิสงส์สำหรับเด็ก สวดเข้ามันมีปัญญา มันมีปัญญามันมีความคิด และสามารถผจญมารได้ทุกๆ บท ดีอย่างนี้ดีสำหรับเด็ก ให้เด็กสวดไว้ กล้ารับรองว่าเด็กเกเรเกเสน่ะพ่อแม่เอาใจใส่ลูกเป็นกรณีพิเศษ ให้ลูกสวดมนต์ไหว้พระไว้แล้วก็ไปสวดเท่าอายุ ไม่เคยพลาดเลยไปสอบไม่เคยตก ไปสอบสัมภาษณ์อะไรก็ไม่เคยตก ไปเมืองสหรัฐอเมริกาหรือไปกรุงปารีสไม่เคยตก ที่เป็นด๊อกเตอร์มานี่เขาสวดกัน ขอเจริญพร

    พิธีกร: สำหรับคนที่อยากจะสวดพุทธคุณนะคะแต่ยังไม่ได้รู้เบื้องต้นเลยนี่นะคะ หลวงพ่อจะกรุณาแนะนำอย่างไรบ้างคะ
    หลวงพ่อจรัญ: ได้ได้ ถ้ายังไม่รู้อะไรเลยนะ ถ้าขอให้มีศรัทธาหน่อย มั่นใจหน่อย เพราะว่าศาสนาเนี่ยต้องการจะให้มีศรัทธาและมั่นใจ ถ้ามั่นใจเป็นตัวของตัวเองขึ้นมานะ อ่านไปก่อน จะขี้เกียจท่องอ่านทุกวันเดี๋ยวมันจำได้ พอจำได้จิตมันเป็นสมาธิ เอกัตคตา ได้ผลตอนนั้น ได้ผลแน่ๆ บอกขอให้ทำเถอะ สวดดีกว่าไม่สวด ดีกว่าไปเที่ยวเล่น ชมวิวชมอะไร ไปช้อปปิ้งกันเสียเวลา ขอเจริญพรอย่างนี้

    ( คำเทศน์ ข้างบนนี้ นั้น ถอดจากบทสัมภาษณ์ พระเดชพระคุณหลวงพ่อ.. จากม้วนเทป โดยคุณพี่ประมวล ร่วมกับผม สมศักดิ์ ชูศรีขาว หากมีข้อความใดหรือคำพูดใดถอดผิดพลาดไป ผมและพี่ประมวลกราบขออภัยมานะตรงนี้ด้วยครับ)


    เสียงธรรมะบรรยายของพระเดชพระคุณหลวงพ่อในเรื่องนี้ครับ สามารถดาวน์โหลดได้ครับ

    http://fs4.netdiskbytrue.com/Pub043/40/254698_file01.mp3
    http://fs3.netdiskbytrue.com/Pub034/45/254700_file02.mp3

    ลำดับการสวดตามลิ๊งค์นี้ครับ http://www.jarun.org/v6/th/dhamma-pray.html

    ขอขอบคุณบริษัท ทรู คอเปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) โดย http://www.netdiskbytrue.com เอื้อเฟื้อพื้นที่ไฟล์ดาวน์โหลดทั้งหมดครับ

    ด้วยความเคารพ


    หมายเหตุ: ในการสวดคฤหัสถ์ จะมีผู้สวดทั้งหมด 4 คน หนึ่งในนั้นคือตัวตุ๊ย ซึ่งหมายถึงตัวตลก จาก http://www.anurakthai.com/anecdote/question.asp?QID=4

    สมศักดิ์ ชูศรีขาว+ ประมวล วิทยบำรุงกุล
    แก้ไขล่าสุดโดย ณัฐวรรธน์ ภรนรา
    </TD></TR><TR><TD class=post-bottom vAlign=bottom align=left><TABLE height=8 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD class=post-signature colSpan=3>

    แก้ไขล่าสุดโดย สมศักดิ์ ชูศรีขาว เมื่อ Sat Sep 22, 2007 2:35 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    สังฆานุสสติ
    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    วัดบวรนิเวศวิหาร
    คัดจากเทปธรรมอบรมจิตข้อความสมบูรณ์
    อณิศร โพธิทองคำบรรณาธิการ
    http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/somdej/sd-187.htm

    บัดนี้จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิตในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการพระผู้มีพระภาอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีลทำสมาธิในการฟังเพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
    จะแสดงสังฆานุสสติอนุสสติคือสติที่ระลึกถึงพระสงฆ์สืบต่อจากพุทธานุสสติธรรมานุสสติที่ได้แสดงมาแล้วนำสติปัฏฐานอันเป็นข้อปฏิบัติทางจิตตภาวนาอบรมจิตอันเป็นหลักสำคัญที่ปฏิบัติกันอยู่ทั่วไปสังฆะหรือสงฆ์ที่เราเรียกกันว่าพระสงฆ์อันหมายถึงรัตนะ หรือสรณะที่๓ต่อเนื่องมาจากพระพุทธะและพระธรรมะมาจากคำที่สวดกันอยู่ในสังฆานุสสติว่าภควโต สาวกสังโฆที่แปลว่าสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
    สาวกแปลตามศัพท์ว่า ผู้ฟัง คือ ศิษย์สงฆ์ก็มาจากสังฆะ ที่แปลว่า หมู่สาวกสังโฆ ก็แปลว่าหมู่แห่งสาวกคือผู้ฟังหรือศิษย์นั้นเองและคำว่าสังฆะหรือสงฆ์ที่แปลว่าหมู่นี้ ก็ใช้ในความหมายทั่วไปด้วยเช่นหมู่นกก็เรียกว่าสกุณะสังโฆที่แปลว่าหมู่แห่งนก
    ส่วนในทางพระพุทธศาสนาก็นำมาใช้ถึงหมู่แห่งสาวกผู้ฟังคือศิษย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าคือพระพุทธเจ้า

    สรณะ ๒

    โดยที่เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระธรรมเมื่อยังไม่ได้เสด็จจาริกไปทรงสั่งสอนก็มีเพียงรัตนะ ๒หรือสรณะ ๒อันได้แก่พระพุทธเจ้าและพระธรรมฉะนั้นจึงมีแสดงไว้ในพุทธประวัติว่าเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ ยังมิได้ทรงสั่งสอนผู้ที่ได้เข้าเฝ้าโดยได้พบพระพุทธเจ้าได้ความเลื่อมใสในพระองค์ก็เปล่งวาจาถึงพระองค์คือพระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นสรณะที่แปลว่าที่พึ่งคือถึงสรณะ ๒
    พิจารณาดูว่าผู้ที่ถึงสรณะ๒ นั้นได้รู้จักพระธรรมอย่างไรก็ได้มีแสดงไว้ต่อมาที่ทำให้จับความได้ว่าผู้ที่ได้พบเห็นพระพุทธเจ้าเมื่อได้ตรัสรู้ใหม่ๆ นั้นได้เห็นพระฉวีวรรณพระอากัปกิริยาที่ผ่องใส สงบก็ทำให้นึกว่าท่านผู้นี้เป็นผู้ที่ได้มีคุณวิเศษทางจิตใจซึ่งท่านได้บรรลุแล้วและคุณวิเศษทางจิตใจนั้นเขาผู้นั้นเองก็ไม่รู้จักว่าอะไรแต่เข้าใจว่าต้องมีจึงทำให้มีพระฉวีวรรณผ่องใสมีพระอากัปกิริยาสงบมีแววพระเนตรที่บริสุทธิ์แจ่มใสแสดงถึงความที่เต็มไปด้วยพระมหากรุณา( เริ่ม ๑๒๔/)อาการเหล่านี้เขาก็เข้าใจรวมเข้าในคำว่าธรรมหรือธรรมะซึ่งท่านผู้นี้จะต้องมีธรรมะอันเป็นคุณวิเศษอยู่ในจิตใจอย่างแน่นอน
    เพราะฉะนั้นแม้จะยังไม่เข้าใจธรรมะไม่ได้ฟังธรรมะยังไม่รู้จักธรรมะเมื่อเห็นพระองค์เข้าอย่างนี้ก็ทำให้รู้สึกซาบซึ้งในจิตใจแล้วว่าต้องมีของวิเศษอยู่ในจิตใจคือคุณวิเศษอยู่ในจิตใจหรือธรรมะรวมเรียกว่าธรรมะนั่นเองเพราะฉะนั้นจึงได้เปล่งวาจาถึงพระองค์และพระธรรมที่ทรงมีอยู่ในจิตใจนั่นแหละเป็นสรณะคือที่พึ่งดั่งนี้
    เพราะฉะนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกทีแรกจึงได้มีสรณะ ๒ได้แก่พระพุทธเจ้าและพระธรรมที่ได้ตรัสรู้และต่อมาเมื่อได้เสด็จจาริกไปประกาศพระศาสนาตั้งต้นแต่ทรงแสดงปฐมเทศนาแก่พระปัญจวัคคีย์ซึ่งขณะนั้นเป็นฤษี ๕ องค์และเมื่อทรงแสดงปฐมเทศนาจบท่านโกณฑัญญะที่เป็นหัวหน้าก็ได้ดวงตาเห็นธรรมอันเรียกว่าธรรมจักขุหรือธรรมจักษุคือได้เกิดความรู้ขึ้นว่ายังกิญจิ สมุทยธัมมังสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสัพพันตัง นิโรธธัมมังสิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดาที่ท่านแสดงว่าท่านสำเร็จเป็นโสดาบันบุคคลซึ่งเป็นอริยบุคคลชั้นแรกในพุทธศาสนาและท่านได้ขออุปสมบทจากพระพุทธเจ้าพระองค์ก็ประทานพระพุทธานุญาตให้เป็นภิกษุด้วยพระวาจาว่าเอหิภิกขุจงเป็นภิกษุมาเถิด

    ปฐมเทศนา

    เพราะฉะนั้นในวันที่ได้ทรงแสดงปฐมเทศนาและท่านพระโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมได้รับอุปสมบทเป็นภิกษุขึ้นเป็นองค์แรกนั้นจึงได้นับถือว่าเป็นวันเริ่มบังเกิดขึ้นของพระสงฆ์แต่อันที่จริงนั้นเรียกว่าเป็นวันเริ่มเกิดขึ้นได้แต่ยังไม่เป็นพระสงฆ์ที่สมบูรณ์เพราะคำว่าสงฆ์แปลว่าหมู่ท่านโกณฑัญญะองค์เดียวยังไม่เป็นหมู่เพราะเป็นเพียงองค์เดียวหมู่จะต้องตั้งแต่ ๒ขึ้นไปและถ้าในวินัยบัญญัติก็ตั้งแต่๔ รูปขึ้นไปและคุณวิเศษที่ท่านได้นั้นคือธรรมจักขุดวงตาเห็นธรรมก็ทำให้ท่านได้สำเร็จเป็นโสดาบันบุคคลก็ยังเป็นอริยบุคคลชั้นแรกยังละกิเลสไม่ได้หมดเพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าเป็นวันที่เริ่มบังเกิดขึ้นของพระสงฆ์ได้แต่ยังไม่เป็นพระสงฆ์ที่สมบูรณ์
    และในวันนั้นก็คือวันอาสาฬหบูชาที่เราทั้งหลายได้กระทำการบูชาอันตรงกับวันเพ็ญ เดือนอาสาฬหะหรือเดือนแปดและต่อมาพระพุทธเจ้าได้ทรงอบรมอีก๔ ท่านจนได้ดวงตาเห็นธรรมทั้งหมดแล้ว
    คือเป็นโสดาบันด้วยกันหมดแล้วรวมทั้ง ๕ องค์จึงได้ทรงแสดงทุติยเทศนาเทศนาที่ ๒ อันเรียกว่าอนัตตลักขณสูตรพระสูตรที่แสดงลักษณะเครื่องกำหนดหมายขันธ์ ๕ ว่าเป็นอนัตตามิใช่อัตตาตัวตนพระเบ็ญจวัคคีย์ทั้ง๕ นั้นซึ่งได้อุปสมบทเป็นภิกษุทั้งหมดแล้วจึงได้มีจิตพ้นจากอาสวะทั้งสิ้นเป็นขีณาสวะคือเป็นผู้มีอาสะสิ้นแล้วสิ้นกิเลสทั้งหมดแล้วเป็นพระอรหันต์ทั้งหมดซึ่งตรงกับวันแรม ๕ค่ำแห่งเดือนอาสาฬหะคือเดือน๘ที่เราทั้งหลายฝ่ายบรรพชิตได้ไปสวดมนต์กันที่วัดพระแก้วในวันแรม๕ ค่ำนั้นเป็นการถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย
    เพราะพระองค์ได้ตรัสสั่งเอาไว้เมื่อได้เสด็จปริวัตรจากบรรพชิตเพศออกไปเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่๔เมื่อถึงวาระเข้าพรรษาพระเถระ พระภิกษุที่เป็นสัทธิวิหารริกของพระองค์ท่านได้เคยทำวัตรเข้าพรรษาคือนำสักการะถวายดังที่เราทั้งหลายได้กระทำกันแต่เมื่อพระองค์ได้ทรงปริวัตรไปเป็นฆราวาสแล้วจึงไม่เป็นฐานะที่จะไปถวายทำวัตรเข้าพรรษาได้จึงได้ตรัสสั่งไว้ว่าเมื่อสัทธิวิหาริกทั้งหลายศิษย์ทั้งหลายระลึกถึงพระองค์ก็ให้เข้าไปทำวัตรสวดมนต์ที่วัดพระแก้วในวันแรม๕ ค่ำซึ่งเป็นวันที่ได้บังเกิดพระสงฆ์ขึ้นอย่างสมบูรณ์

    วันอาสาฬหะบูชา

    และเมื่อบังเกิดพระสงฆ์ขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้วก็เป็นอันว่ารัตนะทั้ง๓ สรณะทั้ง ๓ได้มีครบบริบูรณ์ขึ้นแล้วในโลกตั้งแต่วันแรม ๕ค่ำเดือนอาสาฬหะนั้นเพราะว่าได้เป็นสังฆะคือหมู่แห่งสาวกคือผู้ฟังของพระพุทธเจ้าที่ได้ตรัสรู้ตามอันเรียกว่าอนุพุทธะคือผู้ที่รู้ตามตรัสรู้ตามพระองค์เป็นผู้สิ้นอาสวะกิเลสเป็นพระอรหันต์ขึ้นเหมือนดั่งพระองค์เพราะฉะนั้นจึงได้มีพระอรหันต์ขึ้น ๖ รูป๖ พระองค์ ในโลกในวันแรม ๕ค่ำนั้น
    คือพระพุทธเจ้า ๑และพระเบ็ญจวัคคีย์อีก๕ ก็รวมเป็น ๖ องค์ด้วยกันเพราะฉะนั้นพระสงฆ์จึงเกิดขึ้นสมบูรณ์ตั้งแต่ในวันนั้นมาและสงฆ์ที่สมบูรณ์นี้จึงหมายถึงสงฆ์ที่มีอาสวะสิ้นแล้วคือสิ้นกิเลสดองสันดานทั้งหมด
    แต่แม้เช่นนั้นทางพระพุทธศาสนาก็ได้แสดงถึงสงฆ์ไว้ว่ามี๔ คู่ นับเรียงบุคคลก็เป็น ๘อันได้แก่ท่านผู้ที่ได้ฟังธรรมเป็นสาวกคือเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้าได้ธรรมจักษุดวงตาเห็นธรรมขึ้นเป็นชั้นที่เรียกว่าตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลนี่เป็นคู่หนึ่งที่สูงขึ้นไปตั้งอยู่ในสกทาคามีมรรคตั้งอยู่ในสกทาคามีผลคู่หนึ่งที่สูงขึ้นไปตั้งอยู่ในอนาคามีมรรคตั้งอยู่ในอนาคามีผลคู่หนึ่งที่สูงสุดตั้งอยู่ในอรหัตตมรรคตั้งอยู่ในอรหัตตผล คู่หนึ่งจึงเป็น ๔ คู่และเมื่อนับเรียงเป็นบุคคลก็เป็น๘
    และเมื่อนับเป็นบุคคลผู้บรรลุมรรคผลที่เป็น๔ คู่นั้นโดยที่ไม่แยกเป็นมรรคเป็นผลดังกล่าวก็นับได้ ๔คือเป็นโสดาบัน ๑เป็นสกทาคามีบุคคล ๑เป็นอนาคามี ๑ เป็นอรหันต์ ๑ก็เป็น ๔และที่แบ่งเป็น ๔ชั้นดั่งนี้ก็ได้มีพระพุทธาธิบายตรัสไว้ว่าแบ่งตามการละกิเลสได้บางส่วนและก็ละได้เพิ่มมากขึ้นๆ จนถึงละได้หมดโดยลำดับเป็นพระขีณาสพคือเป็นผู้สิ้นกิเลสที่ดองสันดานทั้งสิ้นคือเป็นพระอรหันต์เป็นที่สุด
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    สังฆานุสสติ

    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    วัดบวรนิเวศวิหาร
    คัดจากเทปธรรมอบรมจิตข้อความสมบูรณ์
    อณิศร โพธิทองคำบรรณาธิการ
    http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/somdej/sd-187.htm






    เอหิภิกขุอุปสัมปทา

    เพราะฉะนั้นพระสงฆ์นั้นที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ที่บังเกิดมาในทีแรกจึงเริ่มมาตั้งแต่ได้ธรรมจักขุดวงตาเห็นธรรมและก็ได้อุปสมบทเป็นภิกษุในพุทธศาสนาด้วยวิธีที่ตรัสเรียกว่าเอหิภิกขุจงเป็นภิกษุมาเถิดเพียงเท่านี้ก็สำเร็จเป็นภิกษุแล้วในเบื้องต้นซึ่งวิธีบวชในชั้นแรกนี้เรียกว่าเอหิภิกขุอุปสัมปทา
    เพราะฉะนั้นพระสงฆ์ที่มีในชั้นแรกจึงมีความเป็นมาดั่งนี้แล้วก็เป็นภิกษุทั้งหมดคือบวชเข้ามาทั้งหมด
    แต่ว่าในการรับรองว่าเป็นสงฆ์พระพุทธเจ้าทรงรับรองด้วยการละกิเลสเป็นข้อสำคัญเมื่อละกิเลสได้ตั้งแต่บางส่วนจึงนับว่าเป็นสงฆ์ซึ่งการละกิเลสได้บางส่วนนั้นก็ได้แก่การละกิเลสของบุคคลที่เรียกว่าโสดาบันนั้นเองดังที่ได้กล่าวมาแล้วเป็นเบื้องต้นแต่ว่าก็มุ่งเอาการละกิเลสนี้เป็นประการสำคัญและต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงแผ่พระพุทธศาสนาเสด็จจาริกไปทรงแสดงธรรมะสั่งสอนแก่เวไนยนิกรคือหมู่ชนผู้ที่พึงแนะนำได้ก็ได้มีผู้ที่ได้ฟังธรรมได้ดวงตาเห็นธรรมได้บรรลุธรรมขึ้นโดยลำดับมาและท่านผู้ที่ได้บรรลุธรรมในขั้นเป็นโสดาบันนั้นเมื่อได้บรรลุแล้วก็ไม่ออกบวชยังอยู่ครองเรือนอยู่ก็มีออกบวชก็มีและแม้ผู้ที่เป็นสกทาคามีบุคคลก็เช่นเดียวกันออกบวชก็มีครองเรือนอยู่ก็มีผู้ที่ได้บรรลุเป็นอนาคามีบุคคลแล้วที่ยังไม่ออกบวชยังอยู่ในบ้านเรือนก็มี
    แต่สำหรับที่เป็นอนาคามีบุคคลซึ่งยังไม่ออกบวชนั้นก็มีแสดงว่าเพราะยังมีภาระที่จะเลี้ยงดูท่านบุพการีคือมารดาบิดาของตนอยู่จึงยังไม่ออกบวชส่วนที่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์นั้นโดยมากบรรลุเมื่อออกบวชแล้วแต่ก็มีอยู่ที่บรรลุเมื่อยังเป็นฆราวาสแต่เมื่อบรรลุแล้วก็ออกบวชในวันนั้นเพราะเมื่อเป็นพระอรหันต์แล้วไม่อยู่ในฐานะที่จะอยู่ในบ้านในเรือนต้องออกบวช
    เพราะฉะนั้นผู้ที่ได้เป็นอริยะบุคคลซึ่งยังไม่ออกบวชก็นับว่าเป็นคฤหัสถ์ยังอยู่ครองเรือนหรืออยู่ในบ้านเรือนแต่แม้เช่นนั้นเมื่อถือการนับว่าละกิเลสได้บางส่วนขึ้นไปแล้วก็นับเป็นสงฆ์ได้ท่านที่เป็นคฤหัสถ์เหล่านั้นก็นับเข้าในสาวกสังโฆหมู่แห่งสาวกผู้ฟังคือศิษย์ของพระพุทธเจ้าได้เพราะว่านับรวมอยู่ในบุคคล๔ คู่ ๘ จำพวก ดั่งที่กล่าวมา
    และเมื่อพระพุทธเจ้าได้ประกาศพระพุทธศาสนาต่อมาก็ได้มีผู้ที่เข้ามาขอบวชเป็นภิกษุสามเณรและภิกษุสามเณรเหล่านั้นก็ได้ปฏิบัติตามพระธรรมที่ทรงสั่งสอนแต่ผู้ที่เข้ามาบวชเมื่อมีมากเข้าก็มีผู้ที่ประพฤติสิ่งอันไม่สมควรแก่ความเป็นสมณะพระองค์จึงต้องทรงบัญญัติพระวินัยสำหรับที่ผู้เข้าบวชปฏิบัติและผู้ที่ออกบวชเป็นภิกษุจึงต้องปฏิบัติตามพระวินัยที่ทรงบัญญัตินั้นต่อมาเมื่อมีสามเณรก็มีวินัยบัญญัติสำหรับสามเณรที่ผ่อนลงมา
    และต่อมาเมื่อพระพุทธองค์ได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุเถระให้อุปสมบทได้ด้วยวิธีที่เรียกว่าติสรณคมนูปสัมปทา อุปสมบทด้วยการถึงสรณะ ๓และต่อมาอีกเมื่อมีภิกษุมากขึ้นก็ตรัสให้สงฆ์อันหมายความว่าหมู่แห่งภิกษุที่ได้รับอุปสมบทตามพระวินัยนี้ประชุมกันให้การอุปสมบทนับกำหนดว่าตั้งแต่ ๕รูปขึ้นไปเพราะฉะนั้นจึงมีวิธีอุปสมบทโดยสงฆ์ดังกล่าวอันเรียกว่าญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทาอุปสมบทด้วยญัติเป็นที่ ๔คือตั้งญัติหนหนึ่งสวดประกาศอันเรียกว่าอนุสาวนาสามหนก็เป็น ๔ เที่ยวจึงสำเร็จเป็นภิกษุซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้

    สมมติสงฆ์ อริยะสงฆ์

    และสำหรับในสังฆกรรมอย่างอื่นก็โปรดให้ภิกษุตั้งแต่๔ รูปขึ้นไปประชุมกันเรียกว่าเป็นสงฆ์ประกอบสังฆกรรมนั้นๆ เพราะฉะนั้นจึงได้เกิดมีสงฆ์ขึ้นอีกตามพระวินัยอันเรียกว่าการกสงฆ์คือสงฆ์ที่ปฏิบัติสังฆกรรมหรือวินัยสงฆ์สงฆ์ตามพระวินัยบัญญัติหรือที่เรียกกันโดยมากว่าสมมติสงฆ์สงฆ์โดยสมมติ
    อันคำว่าสงฆ์โดยสมมตินี้ไม่ใช่หมายความว่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...