จิตไม่เที่ยง จิตเกิดดับ ใครว่า จิตเที่ยง จิตดับไม่มี นี่เป็นความเห็นผิด

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมแท้, 5 พฤศจิกายน 2014.

  1. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    ถาม : การอ้างแต่ตำรา ไม่ได้เห็นสภาวะ แล้วไปเถียง บอกว่าพระสอนผิด นั้น เป็น เอาตำราไปขัดแย้งกับผลปฏิบัติ สมควรแล้วหรือ?

    ตอบ : ต้องไปดูว่า พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ยังไง อรรถกถาจารย์ท่านอธิบายพระพุทธพจน์ไว้ยังไง

    พระพุทธเจ้าท่านตรัสสอน เรื่องมหาปเทศ 4 มีเนื้อหาโดยสรุปว่า

    ไม่ว่าจะได้ฟังได้ยินคำสอนของใครก็ตาม อย่าพึ่งชื่นชม อย่าพึ่งคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น ให้ศึกษาแล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัยเสียก่อน

    - ถ้าไม่สอดคล้องกับ พระสูตร หรือ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่านี้มิใช่คำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และ ภิกษุนี้/ภิกษุสงฆ์นี้/พระเถระเหล่านั้น/พระเถระนั้น จำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย

    - ถ้าสอดคล้องกับ พระสูตร หรือ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และ ภิกษุนี้/ภิกษุสงฆ์นี้/พระเถระเหล่านั้น/พระเถระนั้น จำมาถูกต้องแล้ว


    ( http://84000.org/tipitaka/read/?10/113-116/144 )

    ในเมื่อพระพุทธเจ้าท่านตรัสให้ตรวจสอบก่อนว่า สิ่งที่ฟังมาจากผู้อื่นนั้น สอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือไม่ จึงเป็นสิ่งสมควรอย่างยิ่งที่ชาวพุทธจะพึงตรวจสอบคำสอนหรือผลการปฏิบัติ โดยมีคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหลักในการอ้างอิง

    ไม่ใช่ว่า เป็นพระพูดแล้วจะต้องถูกทั้งหมด แล้วห้ามเอาตำราไปขัดแย้งกับผลการปฏิบัติ นี่ก็เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนเหมือนกัน


    การที่มีผู้สอนว่า
    "จิตเที่ยง จิตดับไม่มี นั้นแม้ไม่มีในตำรา แต่เป็นประสบการณ์ตรง" นั้น
    เมื่อตรวจสอบกับพระสูตรแล้ว พบหลักฐานชัดเจนจากว่า คำสอนดังกล่าวขัดแย้งกับคำสอนของพระพุทธเจ้าและอรรถกถาตามหลักฐานที่แสดงมาข้างต้น ดังนั้นจึงต้องทำตามพระพุทธพจน์ที่ว่า

    "พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่านี้มิใช่คำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และ ภิกษุนี้/ภิกษุสงฆ์นี้/พระเถระเหล่านั้น/พระเถระนั้น จำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย"

     
  2. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    น่าสงสารคนที่ หลงงมงายไปเชื่อว่า จิตดับไม่มี เพราะไม่ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ดี

    ก็คงต้องอุเบกขากับคนเหล่านั้น แต่ไม่อุเบกขากับสัทธรรมปฏิรูป
    ทำได้เพียงเผยแพร่ คำสอนที่ถูกต้องว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร อรรถกถาสอนอะไร

    ใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อ ก็แล้วแต่บุญกรรมของผู้นั้น
     
  3. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    วาทะกรรมของผู้ที่ มีศรัทธา แต่ขาดปัญญาพิจารณาไตร่ตรอง (ก็คืองมงายนั่นเอง)
    มักจะกล่าวโทษ ด้วยโทสะ และ โมหะ ต่อผู้ที่อ้างปริยัติ อาทิเช่น

    - อ้างแต่ตำรา ไม่ได้ปฏิบัติ (คนที่อ่านตำราและปฏิบัติก็มี เพราะนักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่าปริยัติต้องคู่กับปฏิบัติ ไม่สุดโต่ง เอาปริยัติอย่างเดียว หรือ ปฏิบัติอย่างเดียว)

    - ปรามาสพระ (ไม่คิดบ้างล่ะว่า พระก็สอนผิดได้ สอนผิดบิดเบือนคำสอนพระพุทธเจ้านี่ยิ่งเสียหายหนักเลยนะ ยกตำรามาเตือนสติ)

    - ฟังธรรมครูบาอาจารย์ไม่เข้าใจ ภูมิธรรมไม่ถึง (ไม่เข้าใจก็ช่างเถอะ ขอให้ฟังพระพุทธเจ้าเข้าใจละกัน ส่วนภูมิธรรมนะ ไม่มีพระรูปใดที่ภูมิธรรมสูงเท่าพระพุทธเจ้าสักคน)

    - อย่าเอาตำรามาขัดแย้งผลการปฏิบัติของครูบาอาจารย์ (ที่ถูกพระพุทธเจ้าสอนในมหาปเทสให้ตรวจสอบเทียบเคียงคำสอนของพระองค์ ก่อนจะเชื่อหรือไม่เชื่อ)
    ฯลฯ
     
  4. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    ตัวอย่างสัทธรรมปฏิรูป (ธรรมปลอม)
    ไม่รู้จะอธิบายยังไงเหมือนกัน
    - จิตเป็นรูป
    - นิพพานเป็นอัตตา
    ฯลฯ
     
  5. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    เหอะๆ อ้างแต่ ครูบาอาจารย์
    ไม่ต่างอะไรกับที่ไปบอกคนอื่นที่ว่าอ้างตำราหรอก

    เพียงแค่เปลี่ยน แหล่งอ้างอิง เป็นระดับ อัตตโนมัติ เท่านั้นเอง

    ไม่ศึกษาคำตถาคตบ้างหรือ? ไม่ปฏิบัติบ้างหรือ?
     
  6. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    แมวเป็นช้างก็ไม่ใช่ ไม่เป็นช้าง ก็ไม่ใช่?

    ถ้าไม่เล่น ก็หลงภาษา วนไปเวียนมา ก็อยู่แค่อนัตตานี่เอง

    ทีนี้ ในข้อศึกษาว่า นิพพานเป็นอัตตา หรือเป็นอนัตตานี้ เมื่อเกิดมีคำกล่าวขึ้นมาว่า "นิพพานเป็นนิพพาน ไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่อนัตตา" ก็ให้รู้กันว่า คำพูดนี้เกิดจากความหลงภาษา หรือเป็นการเล่นภาษาเท่านั้น

    เป็นการหลงภาษา หรือเล่นภาษาอย่างไร

    ขอพูดให้เข้าใจง่ายๆ สั้นๆ คือในภาษาบาลีนั้น พอพูดว่า "นิพพานไม่ใช่อัตตา" ก็คือบอกว่า "นิพพานเป็นอนัตตา"

    เพราะอะไร ก็เพราะว่า คำว่า "ไม่ใช่อัตตา" หรือ "ไม่เป็นอัตตา" นั้น พูดเป็นคำภาษาบาลีว่า "อนัตตา"

    คำบาลีว่า "อนัตตา" แปลเป็นภาษาไทยว่า "ไม่ใช่อัตตา" หรือ "ไม่เป็นอัตตา" (ไม่ใช่.., ไม่เป็น-, ไม่มี- ได้ทั้งนั้น)

    เหมือนคำว่า "อนิจจัง" ที่คนไทยรู้จักกันดี แปลว่า "ไม่เที่ยง" เรารู้กันดีว่า เป็นการปฏิเสธ "นิจจัง" ที่แปลว่า "เที่ยง" เมื่อมัน "ไม่เที่ยง" ก็คือมัน "ไม่เป็นนิจจัง" และก็คือมัน "เป็นอนิจจัง"

    พูดอย่างไทยว่า "ไม่เป็นนิจจัง" คือพูดแบบบาลีว่า "เป็นอนิจจัง"

    พูดอย่างไทยว่า "ไม่เป็นอัตตา" คือพูดแบบบาลีว่า "เป็นอนัตตา"

    ถ้าเขาถามว่า "สังขารเป็นนิจจัง" (เที่ยง) ไหม?" ถ้ามันไม่เที่ยง ก็ตอบเขาไปว่า "สังขารเป็นอนิจจัง" หรือจะว่า "สังขารไม่เป็นนิจจัง (ไม่เที่ยง)" ก็ได้ มีความหมายเท่ากัน

    แต่ถ้าตอบไปแล้วว่า "สังขารไม่เป็นนิจจัง (ไม่เที่ยง)" คือบอกไปแล้วว่า "สังขารเป็นอนิจจัง" ก็หมดสิทธิที่จะบอกว่า "สังขารไม่เป็นอนิจจัง" เพราะตัวเองบอกไปแล้วว่า "สังขารเป็นอนิจจัง"

    เพราะฉะนั้น ใครจะพูดขึ้นมาว่า "สังขารก็เป็นสังขาร ไม่เป็นนิจจัง ไม่เป็นอนิจจัง" ก็พูดขัดกับคำของตัวเอง คือพูดกลับไปกลับมา ก็เห็นอยู่ชัดๆ บอกว่าสังขารเป็นอนิจจัง แล้วก็บอกว่าไม่เป็นอนิจจัง

    พอพูดว่า "สังขารไม่เป็นนิจจัง" ก็หมดสิทธิที่จะพูดว่า "สังขารไม่เป็นอนิจจัง" เพราะตัวเองบอกไปแล้วว่า เป็นอนิจจัง

    พอพูดว่า "นิพพานไม่เป็นอัตตา" ก็คือบอกตามคำบาลีว่า "นิพพานเป็นอนัตตา" ก็เลยหมดสิทธิที่จะพูดว่า "นิพพานไม่เป็นอนัตตา"

    เพราะฉะนั้น ท่านผู้ใดจะพูดว่า "นิพพานก็เป็นนิพพาน ไม่เป็นอัตตา ไม่เป็นอนัตตา" ก็พูดขัดกับคำของตัวเอง ก็เห็นอยู่ชัดๆ พูดออกมาแล้วว่า นิพพานเป็นอนัตตา แล้วก็บอกว่าไม่เป็นอนัตตา

    ตามปกติ หรือจะให้ถูก เขาไม่ถามว่า "นิพพานเป็นอัตตา หรือเป็นอนัตตา" แต่เขาถามว่า "นิพพานเป็นอัตตาไหม?" แล้วทีนี้ก็ตอบมาซิ ถ้าเห็นว่าเป็น ก็บอกว่า "นิพพานเป็นอัตตา" ถ้าว่าไม่เป็น ก็บอกว่า "นิพพานเป็นอนัตตา" ก็คือหรือเท่ากับบอกว่า "นิพพานไม่เป็นอัตตา" นั่นเอง

    เป็นอันว่า พอพูดขึ้นมาว่า "นิพพานไม่เป็นอัตตา" เท่านี้แหละ ก็พูดต่อไปไม่ได้ว่า "นิพพานไม่เป็นอนัตตา" เพราะตัวเองบอกไปแล้วชัดๆว่า "นิพพานเป็นอนัตตา"

    ดูง่ายๆในภาษาไทยนี่แหละ จะเข้าใจดี

    ถ้าใครมาถามว่า "แมวเป็นช้างไหม?" หรือถามว่า "แมวเป็นช้าง หรือไม่เป็นช้าง?" เราก็ตอบว่า "แมวไม่เป็นช้าง" หรือพูดเลียนภาษาบาลีว่า "แมวเป็น อช้าง" แค่นี้ก็จบ พอแล้ว

    ทีนี้ ถ้าถูกถามว่า "แมวเป็นช้างไหม?" ใครตอบว่า "แมวไม่เป็นช้าง ไม่เป็น อช้าง" คือพูดอย่างไทยแท้ว่า "แมวไม่เป็นช้าง ไม่ใช่ไม่เป็นช้าง" หรือ "แมวเป็นช้าง ก็ไม่ใช่ ไม่เป็นช้าง ก็ไม่ใช่" เราก็คงนึกว่านี่จะเอาไงกัน

    เรื่องนี้ ถ้าไม่ใช่ว่าทั้งที่รู้อยู่ ก็ทำเป็นเล่นภาษา ก็เป็นเพราะหลงภาษาอย่างที่ว่าแล้ว คือ หลายคนทีเดียว เพราะไม่รู้ภาษาบาลี ไม่รู้ไม่เข้าใจคำที่มาจากบาลี ก็เลยนึกว่า "อัตตา" เป็นอะไรอย่างหนึ่ง และ "อนัตตา" ก็เป็นอะไรอีกอย่างหนึ่ง ก็เลยต้องมาเลือก หรือมาตัดสินว่า เป็นอย่างไหน หรือไม่ใช่ทั้งสองอย่าง

    แต่ที่แท้ ไม่ใช่อย่างนั้นเลย ไม่ใช่มาตัดสินว่า นี่เป็นอะไรที่เรียกว่า "อัตตา" หรือเป็นอะไรอีกอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า "อนัตตา"

    ไม่ใช่มาตัดสินว่า "แมวเป็นช้าง หรือเป็นนกฮูก?"

    อย่างนั้นจึงตอบว่า "แมวเป็นแมว ไม่เป็นช้าง ไม่เป็นนกฮูก"

    แต่นี่ เขาถามว่า "แมวเป็นช้างไหม?" - "แมวเป็นช้าง หรือไม่เป็นช้าง?"

    ก็ตอบว่า "แมว ไม่เป็นช้าง" ก็จบ

    ไม่ใช่บอกว่า "แมวเป็นแมว ไม่เป็นช้าง ไม่ใช่ไม่เป็นช้าง"

    คราวนี้ เขาถามว่า "นิพพานเป็นอัตตาไหม?" หรือว่า "นิพพานเป็นอัตตา หรือไม่เป็นอัตตา/เป็นอนัตตา"

    ก็ทำนองเดียวกับที่ถามว่า "แมวเป็นช้างไหม?" หรือว่า "แมวเป็นช้าง หรือไม่เป็นช้าง / เป็น อช้าง?"

    จาก หนังสือ พระไทย ใช่เขาใช่เรา นิพพาน - อนัตตา
    ฉบับเพียงเพื่อไม่ประมาท โดยพระพรหมคุณาภรณ์ ปยุต ปยุตโต ปธ.๙

    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/03/Y10327063/Y10327063.html "
     
  7. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    สัพเพ ธัมมา อนัตตา
    ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัวตน
     
  8. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤศจิกายน 2014
  9. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    คุณตั้งฉากเข้าใจผิดแล้ว

    อสัญญีสัตตาภูมินั้น ไม่ได้เข้าจากเนวสัญญาฯ

    เมื่อได้รูปฌาน 4 (ยังมีทั้งรูปและนาม) จะมีทางแยกต่อไปคือ
    1. อยู่ในรูปฌานต่อไป
    2. ดับความรู้สึกในรูป เหลือแต่นาม (เข้าอรูปฌาน)
    3. ดับนามธรรม เหลือแต่รูป (เป็นอสัญญีสัตตาภูมิ)

    นั้นคือแยกตั้งแต่ รูปฌาน 4 แล้ว
    ที่ไปอรูปฌาน (อากาสา วิญญา อากิญ เนวสัญญา) นั้นก็เพราะเกลียดรูป เห็นว่ารูปนำทุกข์มาให้ จึงอยากดับรูป. ดังนั้น เนวสัญญา จะกลับไป มีรูปแบบ อสัญญีไม่ได้

    ที่ไปอสัญญี เพราะเกลียดนาม จึงดับนามเหลือแต่รูป

    ส่วนอสัญญีนั้น จิตดับไปเลย แต่ผ่านไป ประมาณ ห้าร้อยกัป จิตก็จะเกิดขึ้นมาดวงใหม่(ที่สืบต่อจากดวงเดิมก่อนดับจิต)

    อรรถกถาท่านสอนไว้ดังนี้


    จริงอยู่ เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้เสด็จอุบัติขึ้น พวกที่บวชเป็นเดียรถีย์ทำบริกรรมในวาโยกสิณ ยังจตุตถฌานให้เกิดขึ้นออกจากฌานนั้นแล้ว ก็เห็นว่าจิตนี้เป็นของน่าติเตียนมาก ความไม่มีจิตเสียเลยเป็นการดี เพราะทุกข์มีการฆ่าและจองจำเป็นต้นย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยจิต, เมื่อไม่มีจิตทุกข์นั้นก็ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้นจึงเกิดความยินดีพอใจ ฌานไม่เสื่อมทำกาละแล้วเกิดในอสัญญีภพ.
    ผู้ใดตั้งอยู่ในอิริยาบถใดในมนุษย์ ผู้นั้นก็ย่อมเกิดด้วยอิริยาบถนั้นสถิตอยู่ตลอด ๕๐๐ กัป. เป็นเหมือนนอน นั่งหรือยืนตลอดกาลยาวนานมีประมาณเพียงนั้น.

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=2&p=1
     
  10. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    ถาม มนุษย์ที่ทำฌานไปเกิดเป็นอสัญญสัตตพรหม มีแต่รูปอย่างเดียวไม่มีนาม เมื่อจุติจากอสัญญสัตตพรหมนั้นแล้ว ไปเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็มีนามอีก อยากทราบว่าจุติจิตในภพก่อนที่เป็นมนุษย์สืบต่อกับปฏิสนธิจิตที่เป็นเทวดาหรือมนุษย์ในภพใหม่ได้อย่างไร

    ตอบ ถ้าจะตอบแต่เพียงสั้นๆ ก็ตอบแต่เพียงว่า นามคือจุติในภพก่อนเป็นอสัญญสัตตพรหม ซึ่งดับไปแล้วสืบต่อกับนามคือปฏิสนธิจิตในภพใหม่ หลังจากจุติจากอสัญญสัตตพรหมแล้วได้ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย คือไม่มีจิตอื่นมาเกิดคั่นระหว่างจุติจิตในภพก่อน กับปฏิสนธิจิตในภพใหม่ แม้ว่าระยะเวลาที่ไม่มีจิตอื่นเกิดคั่นนั้นจะยาวนานถึง ๕๐๐ กัป ทั้งนี้ ก็เพราะอายุของอสัญญสัตตพรหมยืนยาวถึง ๕๐๐ กัป การสืบต่อของจิตดวงหนึ่งกับจิตอีกดวงหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นจิตอะไรก็ตามโดยที่ไม่มีจิตอื่นมาคั่น แม้ว่าจะเว้นระยะเวลาห่างกันนานเท่าไรก็ตาม การสืบต่อนั้นเป็นไปด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย
    นี่ก็ตอบตามหลักฐานในพระอภิธรรมคัมภีร์ปัฏฐาน ซึ่งคำตอบนี้ทำให้ทราบว่า ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุแต่ปัจจัยทั้งสิ้น ไม่มีใครบังคับบัญชาให้เป็นไปตามใจชอบได้ การตอบตามหลักฐานอภิธรรมนั้นอาจจะเข้าใจยาก แต่ก็ไม่ทราบว่าจะตอบให้เข้าใจง่ายกว่านี้ได้อย่างไร เพราะจิตไม่มีรูปร่างจึงไม่อาจเทียบกับอะไรได้ เพราะฉะนั้นก็ขอตอบเพียงเท่านี้

    http://www.84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=40
     
  11. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    นิยามของปัจจัยต่างๆในพระอภิธรรม

    [๕] อนันตรปัจจัย คือ จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณ
    ธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น โดยอนันตรปัจจัย
    มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และ
    ธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้น โดยอนันตรปัจจัย
    โสตวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยโสตวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ
    และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น โดยอนันตรปัจจัย
    มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ
    และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้น โดยอนันตรปัจจัย
    ฆานวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยฆานวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ
    และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น โดยอนันตรปัจจัย
    มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ-
    *ธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้น โดยอนันตรปัจจัย
    ชิวหาวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยชิวหาวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่
    มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น โดยอนันตรปัจจัย
    มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ
    และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้น โดยอนันตรปัจจัย
    กายวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยกายวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ
    และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น โดยอนันตรปัจจัย
    มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ
    และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้น โดยอนันตรปัจจัย
    กุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย
    กุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย
    อกุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย
    อกุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย
    อัพยากตธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย
    อัพยากตธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย
    อัพยากตธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย
    ธรรม คือ จิตและเจตสิกใดๆ เกิดขึ้นในลำดับแห่งธรรมใดๆ ธรรมนั้นๆ เป็น
    ปัจจัยแก่ธรรม (คือ จิตและเจตสิก) นั้นๆ โดยอนันตรปัจจัย

    [๖] สมนันตรปัจจัย คือ จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณ-
    *ธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น โดยสมนันตรปัจจัย
    มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และ
    ธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้น โดยสมนันตรปัจจัย
    โสตวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยโสตวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ
    และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น โดยสมนันตรปัจจัย
    มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ
    และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้น โดยสมนันตรปัจจัย
    ฆานวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยฆานวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ
    และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น โดยสมนันตรปัจจัย
    มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ
    และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้น โดยสมนันตรปัจจัย
    ชิวหาวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยชิวหาวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่-
    *มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น โดยสมนันตรปัจจัย
    มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ
    และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้น โดยสมนันตรปัจจัย
    กายวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยกายวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ
    และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น โดยสมนันตรปัจจัย
    มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ
    และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้น โดยสมนันตรปัจจัย
    กุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เกิดหลังๆ โดยสมนันตรปัจจัย
    กุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมที่เกิดหลังๆ โดยสมนันตรปัจจัย
    อกุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เกิดหลังๆ โดยสมนันตรปัจจัย
    อกุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมที่เกิดหลังๆ โดยสมนันตรปัจจัย
    อัพยากตธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมที่เกิดหลังๆ โดยสมนันตร
    ปัจจัย
    อัพยากตธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เกิดหลังๆ โดยสมนันตรปัจจัย
    อัพยากตธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เกิดหลังๆ โดยสมนันตร
    ปัจจัย
    ธรรม คือ จิตและเจตสิกใดๆ เกิดขึ้นในลำดับแห่งธรรมใดๆ ธรรมนั้นๆ เป็น
    ปัจจัยแก่ธรรม (คือ จิตและเจตสิก) นั้น โดยสมนันตรปัจจัย


    [๑๐] อุปนิสสยปัจจัย คือ กุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เกิด
    หลังๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย
    กุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เกิดหลังๆ บางอย่าง โดยอุปนิสสย-
    *ปัจจัย
    กุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย
    อกุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอุปปนิสสย-
    *ปัจจัย
    อกุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เกิดหลังๆ บางอย่าง โดย
    อุปนิสสยปัจจัย
    อกุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอุปนิสสย-
    *ปัจจัย
    อัพยากตธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอุปนิสสย-
    *ปัจจัย
    อัพยากตธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอุปปนิสสย-
    *ปัจจัย
    แม้บุคคลก็จัดเป็นปัจจัย โดยเป็นอุปนิสสยปัจจัย แม้เสนาสนะก็จัดเป็นปัจจัย โดย
    เป็นอุปนิสสยปัจจัย

    [๒๓] นัตถิปัจจัย คือ จิตและเจตสิกธรรม ที่ดับไปแล้วโดยไม่มีธรรมอื่นคั่น
    เป็นปัจจัยแก่จิตและเจตสิกธรรมที่เกิดขึ้นติดต่อกัน โดยนัตถิปัจจัย

    [๒๔] วิคตปัจจัย คือ จิตและเจตสิกธรรมที่ไปปราศแล้วโดยไม่มีธรรมอื่นคั่น
    เป็นปัจจัยแก่จิตและเจตสิกธรรม ที่เกิดขึ้นติดต่อกัน โดยวิคตปัจจัย

    http://www.84000.org/tipitaka/book/v.php?B=40&A=1&Z=291
     
  12. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    สิ่งที่หลวงตามหาบัวเทศน์เรื่อง
    จิตดับ 3 วัน นั้นคือความรู้รอบจิตดับ แต่จิตท่านไม่ได้ดับ

    ประโยคนี้หมายความว่า ท่านเล่าสภาวะธรรมของท่านในขณะนั้นว่า
    จิตไม่รับรู้อารมณ์ภายนอก แต่มีความรู้สึกตัวอยู่ที่จิต ท่านเลยบอกว่า ตัวจิตของท่านไม่ได้ดับ ก็เพราะยังมีความรู้สึกอยู่ภายในนั่นเอง

    ตรงจุดนี้หลวงตามหาบัวไม่ได้ผิดอะไร. เพราะท่านพูดตามภาษาสมมุติบัญญัติของท่านที่ท่านเข้าใจ

    แต่ในความเป็นจริงในปรมัตถ์แล้ว จิตเกิดดับสืบเนื่องกันตลอดอยู่แล้ว เหมือนหลอดไฟกะพริบถี่ๆ จนเหมือนว่าสว่างต่อเนื่องไม่ได้ดับ

    แต่ที่ผิดคือ คนที่ฟังหรืออ่าน คำบอกเล่าของหลวงตามหาบัว แล้วพาลเข้าใจผิดว่า

    "

    จิตดับไม่มี เพราะเราฟังดูในเทศน์ของครูบาอาจารย์เราทุกองค์ มันไม่มี "

    เพราะฟังคำสอนของครูบาอาจารย์ด้วยความไม่แยบคาย ฟังไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด
    นึกว่าที่หลวงตามหาบัวเทศคือ จิตทั้งหมด ทั้งๆที่หลวงตามหาบัวเทศน์เล่าเรื่องสภาวะเฉพาะตัวในขณะนั้นของท่าน แต่กลับไปเข้าใจผิดว่า จิตดับจริงๆไม่มีเลย

    เพราะไม่ได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ดีว่า
    - จิตเกิดดับตลอดเวลาที่ยังมีความรู้สึกตัว
    - จิตดับไปนานๆไม่รู้ทั้ง อารมณ์ภายนอกและภายใน ก็มีเหมือนกัน คือ อสัญญีสัตตาภูมิ
    - สภาวะธรรมที่หลวงตามหาบัวเล่า เป็นเพียงสภาวะนึงในสภาวะที่เป็นไปได้ทั้งหมดซึ่งมีนับไม่ถ้วน และสภาวะที่ หลวงตาฯเล่านั้น ไม่ใช่อสัญญีสัตตาภูมิ

    การฟังครูบาอาจารย์พูดถึงสภาวะนึงว่าเป็นแบบนี้แล้วพาลเข้าใจไปตัดสินสภาวะอื่นๆว่าเป็นเช่นนั้นตามไปด้วยเป็นสิ่งที่ผิด

    นี่คือต้นฉบับ อ่านแล้วไม่เจอที่หลวงตามหาบัวกล่าวว่าจิตดับไม่มี คนอ่านเข้าใจผิดไปเอง
    http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=4343&CatID=2
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤศจิกายน 2014
  13. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    ไม่ว่าพระไหนก็ตาม
    พระพุทธเจ้าต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง
    พระพุทธเจ้าเป็นต้นธารแห่งอรหันต์สาวกทั้งปวง

    ทำบุญกับพระอรหันต์ 100 รูปก็ไม่เท่า บุญที่ทำกับพระพุทธเจ้าองค์เดียว
    ทำบุญกับพระพุทธเจ้า ก็ไม่เท่าทำสังฆทานในหมู่สงฆ์
     
  14. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    เพราะเห็นสัทธรรมปฏิรูปที่เกิดขึ้นทำลายธรรมของแท้
    จึงไม่นิ่งนอนใจ อุเบกขาได้ จึงต้องนำความจริงออกมาแสดง

    ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับพวกที่คุณยกขึ้นมาเลย
     
  15. รามเมืองลพ

    รามเมืองลพ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2014
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +99
    กราบขอขมาครูบาอาจารย์ ศิษย์ได้ประมาทไป ทั้งที่พอจะรู้อยู่ก่อนว่า พวก หูหนวกตาบอด อวดดีทั้งที่ไม่มีดี จะไม่ฟังคำครูบาอาจารย์ยิ่งพูดไปยาว อาจเลยเถิดไปเป็นการลบหลู่ ปรามาส ครูบาอาจารย์ จึงขอกราบขอขมา ครูบาอาจารย์ ณ ที่นี้ โพสนี้เป็นโพสสุดท้าย เชิญ ธรรมแท้ เดี่ยวไมโครโฟน ไปคนเดียวนะ>>>>>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    อย่าเที่ยวยัดเยียดข้อหาว่าผู้อื่นไม่ฟังคำครูบาอาจารย์เลย รามเมืองลพ

    นั่นเป็นสิ่งที่คุณ มโน ไปเอง

    ตัวคุณเองฟังคำสอนของครูอาจารย์ใหญ่อย่างพระพุทธเจ้าบ้างหรือเปล่า
    ถ้าไม่ฟังพระพุทธเจ้า ก็อย่าเที่ยวว่า ว่าผู้อื่นเลย

    เราบอกตรงไหนรึ ว่าไม่ฟังครูอาจารย์

    เราฟังคำครูบาอาจารย์ที่สอดคล้องกับ พระพุทธเจ้าเท่านั้น

    เราไม่ฟัง "คำสาวกที่นอกแนวจากคำสอนของพระพุทธเจ้า"
    ไม่ใช่ ปฏิเสธคำสาวกทั้งหมด

    เขียนบอกอยู่ชัดๆ ถ้าไม่เข้าใจก็ไม่รู้จะว่ายังไง
     
  17. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    ช่วยยกมาให้ดูหน่อยสิว่า เขียนไว้ตรงไหน? ที่ปฏิเสธพระสงฆ์ หรือปฏิเสธธรรมของอริยสาวกฯ

    ใครจะเปลี่ยนใจ หรือ ไม่เปลี่ยนใจ ก็เรื่องของผู้นั้น
    เป็นเรื่องของกรรมผู้นั้นเอง

    ผิดตรงไหนที่นำธรรมของแท้ มาเปิดเผยชี้แจง ?
    จะปล่อยให้ กิเลส ใหอธรรม มันแสดงอยู่ฝ่ายเดียวรึไง

    พวกที่ชอบอ้างครูบาอาจารย์(แถมอ้างแบบผิดๆ) ก็ไม่ต่างอะไรกับ ที่ไปว่าผู้อื่นว่า อ้างตำราหรอก
     
  18. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    ลองไปอ่าน มิคสาลาสูตรดูนะ

    พระพุทธเจ้าสอน สรุปได้ว่า "ไม่พึงถือประมาณในบุคคลว่า บรรลุธรรมชั้นนั้นชั้นนี้เป็นพระอริยะ"

    และพระพุทธเจ้าตรัสสอนใน มหาปรินิพพานสูตรว่า

    ธรรมและวินัยที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้ว จักเป็นศาสดาของพวกเธอเมื่อตถาคตได้ล่วงไปแล้ว

    ท่านให้เอา พระธรรม และ พระวินัยเป็นศาสดา

    ไม่ใช่เอาคำนอกแนว เป็นศาสดา

    ท่านยังสอนหลักมหาประเทศ 4 ว่า ไม่ว่าจะได้ยินได้ฟังจากใคร
    อย่าพึ่งเชื่อ อย่าพึ่งคัดค้าน

    ให้ตรวจสอบกับพระธรรมวินัยเสียก่อน

    ถ้าเข้ากันได้ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ทิ้งเสีย


    และท่านตรัสสอนเรื่อง อปริยหานิยธรรม ว่า

    "ไม่บัญญัติในสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติ ไม่ล้มล้างสิ่งที่ตถาคตได้บัญญัติไว้แล้ว"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤศจิกายน 2014
  19. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    การศึกษาพระธรรม ตำหรับตำรา คำครูอาจารย์ไว้มากนั้นเป็นสิ่งดี

    แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือการปฏิบัติ ที่จะทำให้เราเข้าใจรู้แจ้งสัทธรรมอย่างแท้จริง

    การกล่าวพุทธพจน์ จากพระโอษฐ์ หรือแม้จากพระไตรปิฏก หรือคำกล่าวจากครูอาจารย์ก็ดี
    ทุกคำกล่าว ทุกบทความ ในการตีความหมาย ต้องพิจารณาอย่างแยบยลรอบคอบ เพราะเจตนาในการกล่าวก็ดี สภาวะนั้นๆ หมายถึงอะไร สื่อถึงสิ่งใด เจาะจงเฉพาะส่วนใด เนื้อหาครอบครุมเฉพาะเงื่อนไขใด เป็นต้น

    แม้ตอนนั้นเราจะยังไม่ทราบชัดเจน ว่าขอบเขตแห่งธรรมธุรสนั้นมีประมาณใด แต่หากเราได้ตั้งมั่นสู่การปฏิบัติ ได้ถึงพร้อมแห่งการปฏิบัติธรรม เมื่อนั้น เราจะเข้าใจแจ่มแจ้งในธรรม อย่างไม่มีประมาณ เพราะธรรม คือธรรมชาติอันเป็นจริงในรูปนามทั้งปวง ทั่วทั้งอนันต์จักรวาล ซึ่งไม่เป็นอื่น

    จากคำแปลที่ว่า จิตบริสุทธิ ์ จากพระคัมภีร์นั้น ย่อมมีความหมายขอบข่ายของมัน มากน้อย ท่านต้องใช้ปัญญาพิจารณา
    แม้กระทั่ง การเกิดดับของจิต ในแต่ละสภาวะ หรือการไม่เกิดไม่ดับในแต่ละสภาวะ ย่อมต้องมีขอบข่ายหรือเงื่อนไข ตรงนี้ท่านต้องใช้ปัญญาพิจารณา

    สติปัญญาที่จะใช้พิจารณาแยกแยะ นั้น หาได้จากไหน ตรงนี้ ท่านต้องทบทวนดูด้วยตัวท่านเอง เราเป็นเพียงผู้แนะนำ ก็แค่ปราถนาให้ท่าน มีดวงตาและบรรลุธรรมขั้นสูงยิ่งๆขึ้นไปได้เองครับ สาธุ
     
  20. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อันนี้เป็นข้อสันนิษฐาน
    ในอภิธรรม จิตไม่ใช่นิพพานธาตุ แต่จิตเป็นวิญญาณธาตุ
    จิตหนึ่งๆ เกิดด้วยจิต(วิญญาณ)และเจตสิก(เวทนา สัญญา สังขาร)
    จิตเกิดดับตลอดเวลา

    ในสายพระป่า บางทีจิตมีนิยามไปถึงนิพพานธาตุ
    คือไม่ใช่ขันธ์ห้า หรือขันธ์สี่(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
    เวลาที่ว่า จิตไม่ดับ ไม่แน่ใจว่า ความหมายจะรวมไปเป็นนิพพานธาตุ
    คือจิต(นิพพานธาตุ) เป็นนิรันดร์ ไม่เกิด ไม่ดับ ประมาณนั้นหรือเปล่า..
    คือกล่าวถึงจิต ในความหมายของนิพพาน..

    ซึ่งในอภิธรรม จะใช้สมมุติบัญญัติ ไม่คาบเกี่ยว
    ทำให้เกิดการแยกแยะที่ไม่สับสน
     

แชร์หน้านี้

Loading...