จะบวชควรรู้ ปริยัติ เรื่องอะไรบ้างครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ppmtm15, 13 ธันวาคม 2014.

  1. ppmtm15

    ppmtm15 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    118
    ค่าพลัง:
    +605
    ผมอยากทราบปริยัติ(เรื่องอะไรบ้าง)ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติเมื่อบวช พี่ๆช่วยแนะนำหนังสือ หรือ สื่อใดๆก็ได้ที่ควรรู้ก่อนบวชเพื่อเข็มทิศในการปฎิบัติด้วยครับ
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456

    บวชเพื่ออะไรหละ ถ้า บวชเพื่อปฏิบัติ ก็ไม่ต้องเตรียมอะไร แต่ก็ต้อง
    ท่องบทขอบวช อะไรนั่นตามธรรมเนียม งานมันจะได้ลื่น

    ที่นี้ การบวชเพื่อปฏิบัติที่ว่าไม่ต้องเตรียมอะไร เพราะ มันคือ การเกิดใหม่

    ให้วางจิตเลยว่า เหมือนได้เกิดใหม่ เด็กอุแว๊ๆ ออกมา จะต้องไป
    จดจำอะไร ไม่ต้องจำอะไร จำอะไรมาได้ ทิ้งให้หมด

    แล้ว " ขอนิสัย " พระป่าจะใช้คำว่า " ขอนิสัย "

    คือ ให้ พระอุปปัชฌา ท่าน สอนนิสัยให้ใหม่หมด

    นะ บวชเพื่อปฏิบัติ ต้องเข้าไปขอนิสัย แค่นี้ ก็ ทราบคำถาม คำตอบ อื่นๆ
    ที่จะเกิดได้แล้ว


    ปล. ส่วนใหญ่ บวช ก็เอา นิสัย เอาความหวัง เอาภาพฝัน เอาอุดมการณ์ชีวิต
    ปณิทาน เข้าไปด้วย.....................อันนี้...............บวช อ้างเลห์
     
  3. ppmtm15

    ppmtm15 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    118
    ค่าพลัง:
    +605
    :cool: ขอบคุณมากครับเข้าใจแล้วครับ
     
  4. ศนิวาร

    ศนิวาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    7,337
    ค่าพลัง:
    +17,635
    นวโกวาท เป็นหนังสือคำสอนและแนวปฏิบัติสำหรับพระบวชใหม่ครับ
     
  5. ppmtm15

    ppmtm15 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    118
    ค่าพลัง:
    +605
    ขอบคุณมากครับ
     
  6. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,398
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,633
    ก่อนอื่นดูเรื่องของสิกขาบทและกฏระเบียบต่างๆของทางวัดก่อนเลยครับ โดยเฉพาะข้อ ปาราชิก และ สังฆาทิเสส นี้หนักมาก ต้องระวังไว้เป็นพิเศษเลย และข้ออื่นๆอีก รวมแล้ว 227 ข้อ แต่ที่ต้องระวังเป็นพิเศษก็คือ

    ปาราชิก 4
    สังฆาทิเสส 13

    ถ้าต้องอาบัติขึ้นมาจะยุ่ง

    ส่วนเรื่องปฏิบัติก็ ถ้ารู้ว่าเราชอบภาวนาแบบไหน ก็ทำไปเลยครับ จะเป็นดูลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว หรือจะภาวนาพุทโธร่วมด้วย หรือจะเพ็งกสิณร่วมด้วยก็ได้ ถ้าเราชอบแบบปฏิบัติแบบไหนเป็นพิเศษก็แสดงว่าเราเคยทำแบบนั้นมาแล้ว ก็มาต่อยอดในชาตินี้อีกจะทำให้เราได้รับผลของการปฏิบัติได้เร็วที่สุดครับ
     
  7. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ขอโอกาส

    ธุระในพุทธศาสนามี ๒ คือ

    คันถะธุระ คือ การเรียน การทรงจำ ปาพจน์ ธรรมวินัย

    วิปัสสนาธุระ คือ งานกัมมัฏฐาน


    ทีนี้ภิกษุผู้เริ่มต้นในพุทธศาสนา ควรศึกษาคันถธุระ คือ พระวินัยก่อน

    เรื่องข้อวัตรปฏิบัติ สามารถขอนิสัยกับ อุปัชฌาย์อาจารย์

    ต่อไปจะกล่าวเรื่อง ตำราพระวินัย อย่างย่อ คือ อริยวินัย ถือเป็นพื้นฐานใช้ศึกษาได้

    สูงขึ้นมา เป็นเรื่องปาฏิโมกข์วินิจฉัย ในคัมภีร์กังขาวิตรณ

    จะอธิบาย เรื่องสีมาคาบเกี่ยว วัตถุวิบัติ องค์แห่งอุโบสถ์ บรรพชา ฐานกรณ์ ฯลฯ

    ก็จะทราบรายละเอียดเกี่ยวกับสงฆ์มากขึ้น ว่ากรรมที่ทำกันอยู่นั้นเป็นอันทำหรือไม่

    ตลอดจนข้อวินิจฉัยเรื่องอาบัติต่างๆ ที่พุทธองค์บัญญัติ และการออกจากอาบัติ


    ต่อมา คือ คำภีร์ วินยสังคห

    เป็นคำภีร์วินัย เกี่ยวกับ รายละเอียดปลีกย่อย เช่นวัตถุอนามาส

    ปลาและเนื้อ การอยู่ปราสจีวร การให้ ฯลฯ


    ต่อมาคือ พระวินัยปิฏก กล่าวเรื่องพระวินัยล้วนๆ รวมถึงเหตุต้นบัญญัติ

    ปริวาสกถา เกี่ยวกับข้อวัตรในปริวาสกรรม การออกจากกรรมสังฆทิเสส

    มหาวัตร คือ วัตร ๑๓ ที่ควรปฏิบัติ เกี่ยวกับวัตรอาจารย์ วัตรสัทธิวิหาริ วัตรอันเตวาสิก วัตรอาคันตุก ฯลฯ



    หมายเหตุ ทำไมต้องศึกษา

    ตอบว่า สมัยนี้เป็นเรื่อง ความเห็นอาจารย์ คือ อาจารย์ว่าอย่างไร ก็ทำตาม

    หากท่านอาจารย์ไม่ศึกษามา อาจสอนไปผิด แนะนำไปผิดได้

    เช่น การรับเงินทอง การใช้กัปปิยะวาจา หรือเรื่องการดื่มน้ำปานะ

    บางอาจารย์ มีมติว่า ดื่มนมได้ ฉันเมล็ดทานตะวันได้ ไม่ผิด ฯลฯ

    หรือ วินิจฉัยอาบัติให้ศิษย์ไปผิดๆ



    ทีนี้ ถามว่าจะรักษาพระวินัยจำเป็นไหม ต้องไปอยู่วัดป่า

    ตอบว่าไม่จำเป็น เพราะการรักษาวินัย เป็นพื้นฐานของพระสงฆ์ ไม่ใช่เรื่องของนิกายใดนิกายหนึ่ง
     
  8. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ หนังสือที่มีประโยชน์มากกับผมเล่มหนึ่งคือ "ต้นบัญญัติ" หนังสือเล่มนี้ แสดง "เหตุ" ที่พระพุทธเจ้า "บัญญัติศีล" ต่าง ๆ ขึ้นมา จึงทำให้สามารถ "เข้าใจที่มา" ของศีลได้

    +++ เมื่ออ่านและเข้าใจได้แล้ว ก็จะสามารถทำให้ "สรุป เพื่อง่ายต่อการควบคุม ตน ได้" ว่า ศีลทั้งหมดจริง ๆ แล้วมีอยู่ไม่กี่หมวดเท่านั้น คือ

    1. หมวดราคะ
    2. หมวดโทสะ
    3. หมวดโลภะ
    4. หมวดที่อยู่อาศัย
    5. หมวดที่ขาดสติ
    6. หมวดที่ ควร-ไม่ควร กระทำต่าง ๆ เป็นต้น

    +++ ทั้งหมดนี้ ในแต่ละหมวดสามารถหาค่า min-max ได้ตั้งแต่ ปาราชิก ลงมาจนถึงเบาที่สุดได้

    +++ อีกประการหนึ่งของ "ศีลบรรพชิต" คือ "อพรหมะจริยา" ให้คุณศึกษาดู "คุณสมบัติของพรหม" ให้เข้าใจด้วย

    +++ "ความเป็นพรหม" คือ "พรหมอยู่ใน ฌานสมาบัติ" หากตกจาก "ฌานสมาบัติ" เมื่อไรก็ถือว่า "ตกมาจากชั้นพรหม เมื่อนั้น" ดังนั้น ตรงนี้คือการ "ครองสมาธิ" (หรืออยู่ในภาคปฏิบัติ) ตลอดเวลา

    +++ สิ่งที่เรียกว่า "สัมมาสมาธิ" นั้น คือ "สมาธิ ที่มี สติ ครอง" ดังนั้น "การทำสติให้เป็นสมาธิ" จึงเป็นหัวใจของ "อพรหมะจริยา แห่งศาสนาพุทธ"

    +++ ในสายการปฏิบัติของ "พระป่า" ท่านมักจะพูดอยู่เสมอว่า "สติ สมาธิ ปัญญา" หรืออีกนัยหนึ่งคือ "ถือสติ เป็นศีล" สำหรับผม มีข้อท่องจำเพียงแค่สั้น ๆ ว่า "สติอยู่ ศีลอยู่ สติขาด ศีลขาด"

    +++ โพสท์นี้ ผมมอบให้คุณไว้เพื่อเป็น "กำลังใจในการบวช" นะครับ
     
  9. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,644
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,019
    เชิญตามนี้ได้เลยครับคุณ ppmtm15 ข้างล่างนี้เป็น www สอนปริยัติธรรม on line ถ้าสนใจก็เข้าไปศึกษาได้เลยนะครับ

    www พระอภิธรรม on line ( อันนี้เป็น www ใหม่ครับ )

    มูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม

    www พระอภิธรรม on line ( อันเก่า )

    www เก่าอันนี้รู้สึกเหมือนจะไม่ได้ใช้งานเเล้ว แต่บทเรียนใน www เก่านี่ดีมาก ๆ ครับ ลองศึกษาได้ครับมีอยู่ทั้งหมด 10 บท แต่รู้สึกบทที่ 8 - 10 จะอ่านไม่ได้ แต่ถ้าคุณ ppmtm15 สนใจบทที่เหลือ ก็พิมพ์มาหาผมได้ใน message ครับ ผมมีอีก 3 บทที่เหลือครับ บทเรียน 10 บทนี่ดีมาก ๆ ครับ ผมเข้าใจเรื่องปริบัติก็เพราะบทเรียน 10 บทนี่ล่ะครับ คือเหมือนเค้าเอาแก่นหลักของพระพุทธศาสนามาย่อให้เราอ่านในบท 10 นี่ ดีมาก ๆ ครับ อยากให้ศึกษาจากใน www นี้จริง ๆ ตามนี้ครับ อ้อ แต่ www เก่านี่ต้องใช้ internet explorer เข้าไปอ่านนะครับถึงจะอ่านได้ คิดว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น อนุโมทนาครับ

    www.buddhism-online.org
     
  10. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    เรื่อง ปาราชิก 4 ก่อนเลย ผิดศีล ขาดจากความเป็นพระ ตลอดชีพ บวชอีก็ไม่ได้ อ้างว่าไม่รู้ก็ไม่ได้

    สังฆาทิเสส 13 อาบัติหนัก รองลงมาจาก ปาราชิก ผิดแล้ว พ้นสภาพตกจากความเป็นพระ แต่ ยังสามารถ แก้อาบัติได้ ด้วยการเข้า ปาริวาส ครับ

    หลักๆ เลย 2 หัวข้อนี่ละ ลองหาข้อมูล ศึกษา ดูครับ



    ลึกๆ ก็ อาบัติ ปราชิก นอกจาก 4 ข้อหลักๆ นั้นก็คือ

    ทุติยปาราชิกสิกขาบท บทภาชนีย์ ภุมมัฏฐวิภาค เป็นต้น
    ขาดจากความเป็นพระทันที แต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะรู้กัน

    ทุติยปาราชิกสิกขาบท บทภาชนีย์ ภุมมัฏฐวิภาค เป็นต้น

    เนื้อหา




    ภุมมัฏฐวิภาค

    [๙๑] ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในแผ่นดิน ได้แก่ทรัพย์ที่ฝังกลบไว้ในแผ่นดิน
    ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์อยู่ในแผ่นดิน เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ตาม แสวงหาจอบหรือ ตะกร้าก็ตาม เดินไปก็ตาม ต้องอาบัติทุกกฏ ตัดไม้หรือเถาวัลย์ ซึ่งเกิดอยู่ในที่นั้น ต้องอาบัติ ทุกกฏ ขุดก็ตาม คุ้ยก็ตาม โกยขึ้นก็ตาม ซึ่งดินร่วนต้องอาบัติทุกกฏ จับต้องหม้อ ต้องอาบัติ ทุกกฏ ทำหม้อให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำหม้อให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุมีไถยจิต หย่อนภาชนะของตนลงไป ถูกต้องทรัพย์ควรแก่ค่า ๕ มาสก หรือเกิน กว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย กระทำให้ทรัพย์อยู่ในภาชนะ ของตนก็ตาม ตัดขาดด้วยกำมือก็ตาม ต้องอาบัติปาราชิก
    ภิกษุมีไถยมีจิต จับต้องทรัพย์ที่เขาร้อยด้ายก็ดี สังวาลก็ดี สร้อยคอก็ดี เข็มขัดก็ดี ผ้าสาฎกก็ดี ผ้าโพกก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหวต้องอาบัติถุลลัจจัย จับที่สุดยกขึ้น ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย ดึงครูดออกไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้พ้นปากหม้อ โดยที่สุดแม้ชั่วเส้นผม ต้องอาบัติ ปาราชิก
    ภิกษุมีไถยจิต ดื่มเนยใสก็ดี น้ำมันก็ดี น้ำผึ้งก็ดี น้ำอ้อยก็ดี ควรแก่ค่า ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ด้วยประโยคอันเดียว ต้องอาบัติปาราชิก ทำลายเสียก็ดี ทำให้หกล้นก็ดี เผาเสียก็ดี ทำให้บริโภคไม่ได้ก็ดี ในที่นั้นเองต้องอาบัติทุกกฏ.
    ถลัฏฐวิภาค

    [๙๒] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ตั้งอยู่บนพื้น ได้แก่ทรัพย์ที่เขาวางไว้บนพื้น ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่ตั้งอยู่บนพื้น เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้อง อาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้อง อาบัติปาราชิก.
    อากาสัฏฐวิภาค

    [๙๓] ชื่อว่า ทรัพย์ลอยอยู่ในอากาศ ได้แก่ทรัพย์ที่ไปในอากาศคือนกยูง นกคับแค นกกระทา นกกระจาบ ผ้าสาฎก ผ้าโพก หรือเงินทองที่ขาดหลุดตกลง ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่ลอยอยู่ในอากาศ เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดีเดินไปก็ดี ต้อง อาบัติทุกกฏ หยุดอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
    เวหาสัฏฐวิภาค

    [๙๔] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ตั้งอยู่ในที่แจ้ง ได้ทรัพย์ที่แขวนไว้ในที่แจ้ง เช่น ทรัพย์ที่คล้อง ไว้บนเตียงหรือตั่ง ที่ห้อยไว้บนราวจีวร สายระเตียง เดือยที่ฝาบันไดแก้ว หรือต้นไม้ โดยที่สุด แม้บนเชิงรองบาตร ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในที่แจ้ง เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้อง อาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
    อุทกัฏฐวิภาค

    [๙๕] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ตั้งอยู่ในน้ำ ได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในน้ำ ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในน้ำ เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติ ทุกกฏ ดำลงก็ดี โผล่ขึ้นก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก
    ภิกษุมีไถยจิต จับดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก เง่าบัว ปลา หรือเต่า ที่เกิดใน น้ำนั้น มีราคา ๕ มาสกก็ดี เกินกว่า ๕ มาสกก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
    นาวัฏฐวิภาค

    [๙๖] ที่ว่า เรือ ได้แก่พาหนะสำหรับข้ามน้ำ ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในเรือ ได้แก่ทรัพย์ ที่เขาเก็บไว้ในเรือ
    ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในเรือ เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติ ทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติ ปาราชิก
    ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักเรือ เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย แก้เครื่องผูก ต้องอาบัติทุกกฏ แก้เครื่องผูก แล้วลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ลอยขึ้นน้ำไปก็ดี ล่องน้ำไปก็ดี ขวางน้ำไปก็ดี โดยที่สุด แม้ชั่วเส้นผม ต้องอาบัติปาราชิก.
    ยานัฏฐวิภาค

    [๙๗] ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่คานหาม รถ เกวียน เตียงหาม ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในยาน ได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในยาน
    ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในยาน เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติ ทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติ ปาราชิก
    ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักยาน เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
    ภารัฏฐวิภาค

    [๙๘] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่ตนนำไป ได้แก่ภาระบนศีรษะ ภาระที่คอ ภาระที่สะเอว ภาระ ที่หิ้วไป
    ภิกษุมีไถยจิตจับต้องภาระบนศีรษะ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ลดลงสู่คอ ต้องอาบัติปาราชิก
    ภิกษุมีไถยจิตจับต้องภาระที่คอ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ลดลง สู่สะเอว ต้องอาบัติปาราชิก
    ภิกษุมีไถยจิตจับต้องภาระที่สะเอว ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถือไปด้วยมือ ต้องอาบัติปาราชิก
    ภิกษุมีไถยจิตวางภาระที่มือลงบนพื้น ต้องอาบัติปาราชิก มีไถยจิตถือเอาจากพื้น ต้อง อาบัติปาราชิก.
    อารามัฏฐวิภาค

    [๙๙] ที่ชื่อว่า สวน ได้แก่สวนไม้ดอก สวนไม้ผล ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในสวน ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในสวน โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑
    ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในสวน เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติ ทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติ ปาราชิก
    ภิกษุมีไถยจิตจับต้องรากไม้ เปลือกไม้ ใบไม้ ดอกไม้ หรือ ผลไม้ ซึ่งเกิดในสวนนั้น ได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก
    ภิกษุตู่เอาที่สวน ต้องอาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เจ้าของทอดธุระว่าจักไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก
    ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุผู้ฟ้องร้องยังโรงศาล แพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
    วิหารรัฏฐวิภาค

    [๑๐๐] ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในวัด ได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในวัด โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑ ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในวัด เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้อง อาบัติทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก
    ภิกษุตู่เอาที่วัด ต้องอาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เจ้าของทอดธุระว่าจักไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุผู้ฟ้องร้องยังโรงศาล แพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
    เขตตัฏฐวิภาค

    [๑๐๑] บุพพัณณชาติ หรืออปรัณณชาติ เกิดในที่ใด ที่นั้นชื่อว่า นา ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในนา ได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในนา โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑ ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในนา เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติ ทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติ ปาราชิก
    ภิกษุมีไถยจิตจับต้องบุพพัณณชาติ หรืออปรัณณชาติ ซึ่งเกิดในนานั้นได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุตู่เอาที่นา ต้องอาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    เจ้าของทอดธุระว่าจักไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก
    ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุผู้ฟ้องร้องยังโรงศาล แพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ภิกษุปักหลัก ขึงเชือก ล้อมรั้ว หรือถมคันนาให้รุกล้ำ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่ออีก ประโยคหนึ่งจะสำเร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อประโยคนั้นสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิก.
    วัตถุฏฐวิภาค

    [๑๐๒] ที่ชื่อว่า พื้นที่ ได้แก่พื้นที่สวน พื้นที่วัด ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในพื้นที่ ได้แก่ ทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑ ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในพื้นที่ เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติ ทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติ ปาราชิก
    ภิกษุตู่เอาพื้นที่ ต้องอาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เจ้าของทอดธุระว่าจักไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก
    ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุผู้ฟ้องร้องยังโรงศาล แพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ภิกษุปักหลัก ขึงเชือก ล้อมรั้ว หรือทำกำแพงให้รุกล้ำ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่ออีก ประโยคหนึ่งจะสำเร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อประโยคนั้นสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิก.
    คามัฏฐวิภาค

    [๑๐๓] ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในบ้าน ได้แก่ทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในบ้าน โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ๑ ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในบ้าน เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติ ทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติ ปาราชิก.
    อรัญญัฏฐวิภาค

    [๑๐๔] ที่ชื่อว่า ป่า ได้แก่ป่าที่มนุษย์หวงห้าม ที่ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในป่า ได้แก่ทรัพย์ ที่ตั้งอยู่ในป่า โดยฐาน ๔ คือ ฝังอยู่ในดิน ๑ ตั้งอยู่บนพื้นดิน ๑ ลอยอยู่ในอากาศ ๑ แขวนอยู่ ในที่แจ้ง ๑ ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในป่า เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ต้องอาบัติ ทุกกฏ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำไว้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติ ปาราชิก
    ภิกษุมีไถยจิตจับต้องไม้ก็ดี เถาวัลย์ก็ดี หญ้าก็ดี ซึ่งเกิดในป่านั้น ได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
    อุทกวิภาค

    [๑๐๕] ที่ชื่อว่า น้ำ ได้แก่น้ำที่อยู่ในภาชนะ หรือน้ำที่ขังอยู่ในสระโบกขรณี หรือ ในบ่อ ภิกษุมีไถยจิตจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก
    ภิกษุมีไถยจิตหย่อนภาชนะของตนลงไปถูกต้องน้ำ ได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้ไหลเข้าไปในภาชนะของตน ต้องอาบัติปาราชิก
    ภิกษุทำลายคันนา ต้องอาบัติทุกกฏ ครั้นทำลายคันนาแล้วทำน้ำให้ไหลออกไป ได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติปาราชิก ทำให้น้ำไหลออกไป ได้ราคาเกินกว่า ๑ มาสก หรือหย่อนกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้น้ำไหลออกไป ได้ราคา ๑ มาสก หรือ หย่อนกว่า ๑ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ.
    ทันตโปณวิภาค

    [๑๐๖] ที่ชื่อว่า ไม้ชำระฟัน ได้แก่ไม้ชำระฟันที่ตัดแล้ว หรือที่ยังมิได้ตัด ภิกษุมีไถยจิตจับต้องไม้ชำระฟัน อันมีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติ ทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
    วนัปปติวิภาค

    [๑๐๗] ที่ชื่อว่า ต้นไม้เจ้าป่า ได้แก่ต้นไม้ที่คนทั้งหลายหวงห้าม เป็นไม้ที่ใช้สอยได้ ภิกษุมีไถยจิตตัด ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ ครั้งที่ฟัน เมื่อการฟันอีกครั้งหนึ่งจะสำเร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อการฟันนั้นสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิก.
    หรณกวิภาค

    [๑๐๘] ที่ชื่อว่า ทรัพย์มีผู้นำไป ได้แก่ทรัพย์ที่ผู้อื่นนำไป ภิกษุมีไถยจิตลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก
    ภิกษุคิดว่า จักนำทรัพย์พร้อมกับคนผู้นำทรัพย์ไป แล้วให้ย่างเท้าก้าวที่ ๑ ไป ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าก้าวที่ ๒ ไป ต้องอาบัติปาราชิก
    ภิกษุคิดว่า จักเก็บทรัพย์ที่ตก แล้วทำทรัพย์นั้นให้ตก ต้องอาบัติทุกกฏ มีไถยจิตจับต้อง ทรัพย์ที่ตก อันได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
    อุปนิธิวิภาค

    [๑๐๙] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่เขาฝากไว้ ได้แก่ทรัพย์ที่ผู้อื่นให้เก็บไว้ ภิกษุรับของฝาก เมื่อเจ้าของกล่าวขอคืนว่า จงคืนทรัพย์ให้ข้าพเจ้า กล่าวปฏิเสธว่า ฉัน ไม่ได้รับไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เจ้าของ ทอดธุระว่าจะไม่ให้แก่เรา ต้องอาบัติปาราชิก
    ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุผู้ฟ้องร้องยังโรงศาล แพ้เจ้าของ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
    สุงกฆาตวิภาค

    [๑๑๐] ที่ชื่อว่า ด่านภาษี ได้แก่สถานที่ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งไว้ที่ภูเขาขาดบ้าง ที่ท่าน้ำบ้าง ที่ประตูบ้านบ้าง ด้วยทรงกำหนดว่า จงเก็บภาษีแก่บุคคลผู้ผ่านเข้าไปในสถานที่นั้น ภิกษุผ่านเข้าไปในด่านภาษีนั้น แล้วมีไถยจิตจับต้องทรัพย์ที่ควรเสียภาษี ซึ่งมีราคา ๕ มาสกก็ดี เกินกว่า ๕ มาสกก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ย่างเท้าก้าวที่ ๑ ล่วงด่านภาษีไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ย่างเท้าก้าวที่ ๒ ล่วงด่านภาษีไป ต้องอาบัติปาราชิก
    ภิกษุยืนอยู่ภายในด่านภาษี โยนทรัพย์ให้ตกนอกด่านภาษี ต้องอาบัติปาราชิก หลบเลี่ยง ภาษี ต้องอาบัติทุกกฏ
    ปาณวิภาค

    [๑๑๑] ที่ชื่อว่า สัตว์มีชีวิต พระผู้มีพระภาคตรัสหมายเอามนุษย์ที่ยังมีลมหายใจ ภิกษุมีไถยจิตลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก
    ภิกษุคิดว่า จักพาให้เดินไป แล้วให้ก้าวเท้าที่ ๑ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่ ๒ ต้องอาบัติปาราชิก.
    อปทวิภาค

    [๑๑๒] ที่ชื่อว่า สัตว์ไม่มีเท้า ได้แก่ งู ปลา
    ภิกษุมีไถยจิตจับต้องสัตว์ไม่มีเท้า ซึ่งมีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติ ทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
    ทวิปทวิภาค

    [๑๑๓] ที่ชื่อว่า สัตว์ ๒ เท้า ได้แก่ คน นก ภิกษุมีไถยจิตลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก
    ภิกษุคิดว่า จักพาให้เดินไป แล้วให้ก้าวเท้าที่ ๑ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่ ๒ ต้องอาบัติปาราชิก.
    จตุปทวิภาค

    [๑๑๔] ที่ชื่อว่า สัตว์ ๔ เท้า ได้แก่ ช้าง ม้า อูฐ โค ลา ปศุสัตว์ ภิกษุมีไถยจิตลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก
    ภิกษุคิดว่า จักพาให้เดินไป แล้วให้ก้าวเท้าที่ ๑ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่ ๒ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่ ๓ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่ ๔ ต้องอาบัติปาราชิก.
    พหุปทวิภาค

    [๑๑๕] ที่ชื่อว่า สัตว์มีเท้ามาก ได้แก่สัตว์จำพวกแมลงป่อง ตะขาบ บุ้งขน ภิกษุมีไถยจิตจับต้องสัตว์มีเท้ามากนั้น ซึ่งมีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้อง อาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุคิดว่า จักเดินนำไป แล้วย่างเท้าก้าวไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทุกๆ ก้าว ย่างเท้า ก้าวหลังที่สุด ต้องอาบัติปาราชิก.
    โอจรกวิภาค

    [๑๑๖] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้สั่ง อธิบายว่า ภิกษุสั่งกำหนดทรัพย์ว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งนั้น ลักทรัพย์นั้นมาได้ ต้องอาบัติปาราชิก ทั้ง ๒ รูป.
    โอณิรักขวิภาค

    [๑๑๗] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้รับของฝาก ได้แก่ภิกษุผู้รักษาทรัพย์ที่เขานำมาฝากไว้ ภิกษุมีไถยจิตจับต้องทรัพย์นั้น มีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก.
    สังวิธาวหารวิภาค

    [๑๑๘] ที่ชื่อว่า การชักชวนกันไปลัก ได้แก่ภิกษุหลายรูปชักชวนกันแล้ว รูปหนึ่ง ลักทรัพย์มาได้ ต้องอาบัติปาราชิกทุกรูป.
    สังเกตกัมมวิภาค

    [๑๑๙] ที่ชื่อว่า การนัดหมาย มีอธิบายว่า ภิกษุทำการนัดหมายว่า ท่านจงลักทรัพย์นั้น ตามคำนัดหมายนั้น ในเวลาเช้าหรือเย็น ในเวลากลางคืน หรือกลางวัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุ ผู้ลัก ลักทรัพย์นั้นได้ ตามคำนัดหมายนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์นั้น ได้ก่อนหรือหลังคำนัดหมายนั้น ภิกษุผู้นัดหมายไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลักต้องอาบัติปาราชิก.
    นิมิตตกัมมวิภาค

    [๑๒๐] ที่ชื่อว่า การทำนิมิต มีอธิบายว่า ภิกษุทำนิมิตว่า เราจักขยิบตา จักยักคิ้ว หรือจักผงกศีรษะ ท่านจงลักทรัพย์นั้น ตามนิมิตนั้น ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์นั้นได้ ตามนิมิตนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ภิกษุลักลักทรัพย์นั้นได้ก่อนหรือ หลังนิมิตนั้น ภิกษุผู้ทำนิมิตไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลักต้องอาบัติปาราชิก.
     
  11. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    สรุปง่ายๆ​


    หนังสือ ๒ เล่ม ที่จำเป็นต้องมีติดตัว+อ่านก่อนบวช และต้องทบทวนเรื่อยๆขณะเป็นพระภิกษุ คือ

    ๑. มนต์พิธี
    ขอแนะนำฉบับมาตรฐาน คือ ของหลวงพ่อเอี่ยม วัดอรุณราชวราราม
    พิธีบวช การปลงอาบัติ การลาสิกขา และข้อวัตรที่สำคัญ หน้าที่ ๑๗๑ - ๒๑๗
    อนุโมทนาวิธี หน้าที่ ๑๓๒

    ๒. นวโกวาท
    วินัยบัญญัติ อ่าน : อนุศาสน์๘ นิสสัย๔ อกรณียกิจ๔ และศีล๒๒๗
    ธรรมวิภาค อ่าน : อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ ๔ อย่าง, ปาริสุทธิศีล ๔, องค์แห่งภิกษุใหม่ ๕ อย่าง และธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ๑๐ อย่าง


    ขออนุโมทนาบุญบวช ครับ


    (f)(f)(f)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2014
  12. Piagk3

    Piagk3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    606
    ค่าพลัง:
    +1,222
    ควรไปศึกษา ในหนังสือ
    1. อริยวินัย
    2. ขุมทรัพย์ จากพระโอษฐ์
    3. อริยสัจจากพระโอษฐ์
    ถ้าศึกษา ก่อนบวชและปฏิบัติตามระหว่างครองสมณะ ภิกษุ การบวชของเขาไม่เสียเปล่า และได้ชื่อว่าเป็นสมณะศากยะปุติยะ ( คือ สมณะอันเป็นบุตรที่เกิดจาก ปากพระพุทธเจ้า)
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    หนังสือสวดมนต์พิธี (ก่อนบวชต้องท่องขานนาคให้ได้) ในหนังสือมีครบทั้งทำวัตรเช้าำ-เย็น มีบทมนต์ที่จำเป็น ฯลฯ

    ดูความหมาย ปริยัติสัทธรรม ปฏิบัติสัทธรรม ปฏิเวธสัทธรรม (เรียกสั้นๆ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ)

    สัทธรรม ธรรมที่ดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของคนดี, ธรรมของสัตบุรุษ สัทธรรมมีคือ

    ๑.ปริยัติสัทธรรม-สัทธรรมคือสิ่งที่พึงเล่าเรียนได้แก่พุทธพจน์

    ๒.ปฏิบัติสัทธรรม-สัทธรรมคือสิ่งพึงปฏิบัติได้แก่ไตรสิกขา(เรียกสั้นๆ ศีล สมาธิ ปัญญา เรียกเต็มว่า อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา)

    ๓.ปฏิเวธสัทธรรม-สัทธรรมคือผลที่พึงบรรลุได้แก่มรรคผลและนิพพาน
     
  14. ppmtm15

    ppmtm15 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    118
    ค่าพลัง:
    +605
    สาธุครับ จะพยายามศึกษาทำความเข้าใจเบื้องต้นแล้วนำไปปฏิบัติครับ สาธุๆๆๆๆ
     
  15. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    ปริยัติแบ่งเป็นสามหมวด คุณต้องเข้าใจ
    1พระวินัยปิกฏ
    ถ้าคุณสวดปาฏิโมกข์ ได้ และทำความเข้าใจในบทปาฏิโมกข์ คุณก็จะเข้าใจพระวินัย ทั้งหมดครับ

    นอกจากนั้นพึงทำความเข้าใจใน ความอาบัติ ปราชิก สังฆาทิเสส สิกขาบท ควบคู่กันไปครับ

    2พระอภิธรรม คือศึกษาพระอภิธรรม พระสูตร ต่างๆ

    3พระสุตันตะปิกฏ ต้องศึกษาทำความเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ความเป็นมา พุทธภาษิต โอวาจน์ อื่นๆ ให้แจ่มแจ้ง

    ปริยัติ ทั้งสามหมวด แล้วมีเหตุผลความสำคัญที่ต่างกันแต่สนับสนุนกัน สาระส่วนหนึ่งเป็นไปเพื่อความเข้าใจในเหตุปัจจัยที่มาที่ไปผลที่จะได้รับ
    สาระอีกส่วนหนึ่งเป็นเหตุแห่งความเข้าถึงสัทธรรม เป็นเครื่องปฏิบัติ นำไปสู่ ความรู้จริงรู้แจ้ง ตลอดจนปฏิเวธ คือผลที่บังเกิด

    ปริยัติ มีมากก็จริง เราจะศึกษาอย่างไร ก็ต้องถามว่า เราปราถนาอะไร
    สถานะเราเป็นใคร นักบวช หรือ ชาวบ้าน เรามีกำลังความพร้อมในการศึกษามากน้อยแค่ไหนอย่างไร

    ให้ทบทวนฐานะแห่งตนแล้วกำหนดเป้าหมายและวิธีการ แล้วดำเนินไป ด้วยความไม่ประมาทครับ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2014
  16. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    ==========

    พระวินัย ทำให้รอบรู้เรื่องศีล จาริวัตร วัตรปฏิบัติ
    พระอภิธรรม คือธรรมส่วนที่สนับสนุนปัญญา เป็นความรู้ในสมถะ+วิปัสสนา
    พระสุตัตนะ คือส่วนขยาย ส่วนอธิบาย ตัวอย่างประกอบ รวมทั้งประวัติความเป็นมาเป็นไปต่างๆของพุทธศาสนา

    ทั้งสามส่วนมีประโยชน์แก่การพอกพูนปัญญาของเรา มีความสำคัญที่แตกต่างกันแต่ก็เป็นส่วนที่เสริมกันและกัน ครับ พึงรู้จักใช้สติปัญญาในการคัดเลือกและวางแผนของตนให้ดีครับ
     
  17. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    ศึกษาวินัยก่อน โดยเฉพาะปาราชิก 4 และก็ข้อที่ว่าด้วยเรื่องโลกะวัชชะ เอาเท่านี้ ที่เหลือบวชแล้วเร่งศึกษา หาตำรามานั่งอ่าน ปริยัติที่ดี ที่จำเป็นสูงสุด ต้องเป็นแก่น เป็นประโยชน์โดยตรง เช่น เรื่องของอริยสัจ เรื่องของไตรลักษณ์ เรื่องของวิธีการปฏิบัติตามมรรค 8 อิทัปปัจจยตาว่าด้วยเหตุปัจจัย ปฏิจจสมุปบาท ว่าด้วยวงจรการเกิดทุกข์ พรหมวิหาร หลักๆคิดว่าเท่าที่กล่าวมาควรรู้ และสมณะในพุทธศาสนาทุกคนต้องรู้ ใครไม่รู้ แสดงว่ามาบวชแบบไร้จุดหมาย
     

แชร์หน้านี้

Loading...