ขอคำแนะนำค่ะ การปฎิบัติตนระหว่างทางโลกและทางธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย หนูนะโม, 30 มกราคม 2015.

  1. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    ลองไปอ่านพิจารณาดูครับ จขกท.

     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,448
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,023
    ค่าพลัง:
    +70,066
    [​IMG]
     
  3. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    รอดไป :cool:
     
  4. หนูนะโม

    หนูนะโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2015
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +128
    อนุโมทนาสาธุคะ
    ขอบพระคุณที่เมตตาหนู และก็ท่านที่ได้มาอ่านในกระทู้นี้นะคะ
    อ่านแล้วจิตสงบกว่าเดิมมากคะ หนูไม่ควรมีอัตตา ไม่ควรต่อปากต่อคำ อันนี้สำนึกผิดเลยคะ เรายังไม่เข้าใจธรรมะอย่างเเจ่มแจ้งยังไม่บรรลุ พูดไปก็เหมือนเอาจิตที่ต่างปรุงแต่งมาฝาดฟันกัน อันนี้หนูจะนำไปปรับปรุงตัวคะ เจตนาที่แท้จริงคืออยากสนทนาธรรมกับท่านผู้รู้ทั้งหลาย เพื่อแก้ปัญหาให้กับตนเอง และการที่มีท่านทั้งหลายมาตอบ และ สนทนาแลกเปลี่ยนกัน หนูเจตนาว่าเป็นการสร้างกุศลของทั้งสองฝ่าย เพราะเชื่อว่าการให้ธรรมเป็นทานประเสริฐกว่าทานไหน
    หนูรบกวนถามปัญหาสักนึดค่ะ คือว่า
    วิสัยของปถุชน มักมี รัก โลภ โกรธ หลง ติดตัวอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้ามีธรรมสิ่งที่กล่าวมาก็จะเบาบางลง ในกรณี ที่บุญ หรือกุศล เรายังไม่เต็ม ยังไม่เพียงพอต่อการบรรลุธรรมขั้นสูงๆ เรามีหนทางในการมีธรรมในใจแล้วเดินต่อไปในทางโลกได้อย่างไรคะ (เพราะยังไม่มีเหตุหรือปัจจัยให้บวชได้ เพราะนักบวชสามารถมีเวลาปฎิบัติฝึกจิตได้อย่างเต็มที่) หรือ เราต้องสะสมในส่วนของ ทาน ศีล ภาวนา ให้เต็มขั้นก่อน แล้วทางนั้นจริงจะปรากฎกับเราเอง...
    อ่านข้อความเเล้วเห็นจริงเป็นอย่างมากคะ หนูยังมีกิเลส ใจจึงไม่สามารถสงบได้ เกิดความลังเลสงสัยอยู่อย่างนี้ รบกวนชี้ทางที่หนูจะปฎิบัติได้ให้หนูด้วยคะ

    ขอบพระคุณคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2015
  5. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    การใช้อุปทาน แห่งการสำคัญตัวว่าเราเป็น สัตว์ เกิดมานะ ก็จะเห็น
    การปฏิบัติธรรมเป็นเรื่อง การสะสม เพื่อที่จะได้ รวยทรัพย์พอที่จะทำโน้น นั่น นี่ได้

    อันนี้แหละ ความคิดจากกิเลส มันพาวนในอ่าง

    ส่วนการปฏิบัติธรรม เป็นเรื่อง ปัจจัยการ

    แปลว่าอะไร

    แปลว่า ทำทานครั้งเดียว หากกำหนดรู้ ปัจจัยการได้ถูกต้อง
    มือ อาจจะยังไม่พ้นบาตร จิตก็สามารถรวม บรรลุธรรม ไปตาม
    ความสมควรแก่ธรรม พิสูจน์ อกาลิโก ได้ทันที

    ดังนั้น จงฉลาดในการ กำหนดรู้ความเกิด ความดับ ของ สัญญา
    ให้ดีๆ มีฉันทะ มีการตั้งจิตในการ วิวัฏ ให้ดีๆ

    อย่าเอา มานะมานำหน้าการปฏิบัติ เอาภพมากดข่ม ธรรมปฏิบัติ

    ซึ่งแน่นอนว่า

    จะต้องเกิด มานะ ย้อนแย้ง ดึงรั้งเอาไว้ว่า " ไม่ไหว ไม่ได้ ยังไม่มี "
    นั้นคือ อาการ ดิ้นรนของกิเลส อย่าไปเชื่อมัน

    ยกเห็น มานะเป็นกิเลส เกิด ดับ ด้วยจิตตั้งมั่น เป็นกลางต่อการเห็นไปเลย มีประโยชน์กว่า
    ไปให้มัน กุมบังเฮียน พาเราข้องอยู่กับการ ถือตัวสูงกว่าเขา ต่ำกว่าเขา หรือแม้แต่ เสมอเขา ก็ไม่ได้
     
  6. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    การแผ่เมตตา การให้ธรรมทาน

    ก็ไม่ใช่ วางจิต วางพวกเขาว่า เป็น สัตว์ต่างหิวธรรมทาน ต่างต้องการทำธรรมทาน

    เวลาวางจิต เมตตา ต้องวางให้ถูก วางด้วยความเป็น ปัจจัยการ

    หมายถึง เวลากำหนดเมตตาไปยังสรรพสิ่งอื่น อันเป็น ธรรมภายนอก
    ให้มองว่า เมตตาคือปัจจัยการที่ประกอบให้เป็นสัตว์ ต่างถูกเมตตา
    ปรกคลุมอยู่ เหมือน ฝุ่นบังตา ไม่ให้เห็นธรรม

    ทุกสรรพสิ่งจึงน่า สังเวช ที่ไม่อาจหลุดพ้น ตาข่ายทิฏฐิ แห่งเมตตาได้
    ข้องอยู่แต่ โลกแห่งเทวะ โลกแห่งพรหม ....เทวะ และ พรหม ที่ขวาง นิพพาน



    แผ่เมตตา คือ กำหนดรู้ เจตสิกชื่อเมตตา ที่ปรากฏใน จิต มีโดยไม่มีประมาณ
    ไม่มีขอบเขต จะกี่แสนจักรวาล สัตว์ก็โดนเมตตา ครอบไว้เชนนี้ มานานนักหนา


    การกำหนดรู้ จะเป็นเรื่องของธรรม

    การเอา ตรรกศาตร์ หรือ มุมมองปุถุชนมาพิจารณา จะสำคัญว่า ธรรมคือศัตรู หรือ
    เรียกหาพระพุทธองค์อย่างศัตรู เป็นผู้ล้มล้างสัตว์ให้วิบัติไปจาก กุศล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2015
  7. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    มานะ การสำคัญตัวไปก่อนว่า เป็นใหญ่ เป็นผู้จำแนกทาน เป็นผู้อำนวยให้โลกสงบ
    ด้วยผลบุญาหลากหลายอย่าง

    จริงอยู่ มันเป็น มานะ หรือ สังโยชน์เบื้องสูง ไม่ใช่ตัดกันได้ง่ายๆ พ้นกันได้ง่ายๆ

    ก็ ไม่ได้บอกกล่าวให้ไปตัด

    บอกกล่าวให้รู้จัก กำหนดรู้ทุกข์ให้ถูกต้อง

    มานะมี ก็รู้ว่ามี

    มานะไม่มี ก็รู้ว่าไม่มี

    มี สัญญาตามเห็นความเกิดดับ ของ มานะ ไปเรื่อยๆ มี จิตพุทโธ ตลอดเวลา นั่นแหละ
     
  8. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    ก่อนปฏิบัติ ปรับทิฐิ ซะหน่อยก่อนเลยครับ
    ให้เห็นโทษของการเวียนว่ายตายเกิด จะได้มีแรง มีความพอใจที่จะออกจากมัน
    ที่พระพุทธองค์ ตรัสว่า "การเกิดเป็นทุกข์"
    ทุกข์ที่ว่าเป็นอย่างไร
    พิจารณาสิ่งที่เคยผ่านมาในชีวิตก่อนเลยว่า ทุกข์ที่เคยผ่านมา
    มันเวียนกลับมาเกิดขึ้นกับเราอีกหรือไม่
    แล้วถ้าเกิดใหม่อีก จะทุกข์อย่างนี้อีกไหม
    ถ้าพิจารณาได้อย่างนี้จะเห็นทุกข์แบบหยาบๆ
    แต่ก็พอที่จะทำให่เกิดความพอใจ จะออกจากวรจรนี้
    กลับมาถนนหลัก
    การปฏิบัติจะได้ไม่เป็นการทำเพื่อสะสมอะไร
    แต่เป็นอาศัยธรรมเหล่านั้นเพื่อจะได้ "เห็นความจริง"
    จนเห็นทุกสิ่งมีสภาพทุกข์ จนคลายความยึดถือ
    จิตจะพ้นไปไม่ยึดกับโลก ของโลกๆ

    ปรับทิฐิ ให้ตรง แล้วการปฏิบัติจะไม่หลงทางครับ
     
  9. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    เวลาฟังธรรม

    ธรรมที่แสดง จะแสดง ส่วนข้างโน้น ส่วนที่พ้นภพ พ้นชาติ นั่น นั่น นั่น ชี้ให้ดู ( เห็นเหรอ สำนวนหลวงตา )

    เห็นแล้วทำไง ...........

    เห็นแล้ว ไม่ใช่ว่าไป นั่งเชื่อมั่นว่า ไปไม่ได้ ข้างโน้นหนูไม่มีแรง

    ไม่ได้ให้ดูอย่างนั้น



    ต้อง อาศัยบารมีของพระ ที่ท่านชี้ให้เห็น ฝากทางโน้น

    แล้ว ดูดีๆ ว่า อะไรที่ทำให้ จิตกำเริบกลับ ขออยู่กับโลก ขออยู่ติดโลก

    ดูดีๆ ปัจจัยการนั้น ขณะจิตเดียว เห็นปั๊ป ก็ พ้นไปเลย ไม่ใช่ มานั่งสะสม



    พระพุทธองค์ ตรัสบอกว่า ภิกษูในธรรมวินัยนี้ อาศัยฟังธรรม ธรรมฐีติญาณ เกิดก่อน
    ญาณการตรัสรู้เกิดทีหลัง [ สัมผัสได้ว่า ข้างโน้นมีอยู่ แล้ว ปฏิบัติสมควรแก่ธรรม
    เข้าไปสัมผัสด้วยปัญญาอันยิ่ง ภายหลัง ] ธรรมะของพระพุทธองค์ เป็นเรื่องของคนรู้เร็ว
    ไม่ใช่ความเนิ่นช้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2015
  10. หนูนะโม

    หนูนะโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2015
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +128
    5555 ค่าาา จะพยายามไม่เป็นแบบปลาแซลม่อนค่าา
    บางทีหนูก็รู้สึกนะคะว่าหนูมาอยู่ผิดที่ เด็กอนุบาล ควรอยู่ในวิสัยของเด็กอนุบาล บางทีการมาอยู่ตรงจุดๆนี้มันยังสูงเกินวิสัยหนู คงยังไม่ถึงเวลา
    การที่หนูพยายามหาหนทางเดินให้ตรงและเหมาะสมกับตัวหนู จนหนูไปคิดหมกมุ่นกับวิธีมากเกินไป จนหลงลืมการฝึกเดินจริงๆ มันมักจะต้องลองล้มกับตัวเอง มีแผลบ้างอะไรบ้างจะได้เดินเป็น หนูคงกลัวการหกล้มมากเกินไป วันนี้หนูเข้าใจแล้วคะ ส่วนเวลาเดินนั้น อาจจะมีเซๆไปบ้างต่อไปหนูคงแค่แวะมาส่องๆบ้างเป็นบางเวลาเท่านั้นคงพอ 555 ยังไงก็จะพยายามฝึกเดินนะคะ
    ขอบคุณที่ชี้แนะค่ะ


    ปล. หนูเข้าใจคำว่า วิราคะ ผิดไปค่าา หนูไปอ่านแล้ว หนูคิดว่ามันเป็นกิเลสตัวหนึ่ง เท่านั้น คิดว่าผู้ไม่หลุดพ้น ย่อมมีกิเลสอยู่เต็มหัวใจ แค่ผู้มีธรรม จะพยายามทำให้มันเบาบางลง

    ปล2. หนูไม่ได้อยากอยู่ในสภาวะทางโลกเลยคะ ถ้าหนูเป็นผู้ชายคงขอคุณแม่บวชเณร พระบวชไปนานแล้ว ทางโลกมันวุ่นวาย แต่มันเกินวิสัยหนูคะ หนูเป็นผู้หญิง ยังมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ เลี้ยงดูพ่อแม่ แต่หนูมั่นใจว่า ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง หนูจะต้องได้ปฎิบัติธรรมอย่างเต็มกำลังแน่นอน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2015
  11. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    ความเห็นตามสัญญา กับ ความเห็นด้วยปัญญา
    ต่างกันอยู่มาก ราวฟ้ากับดิน

    ความเห็นด้วยสัญญา พาให้ผู้เห็น มีอารมณ์มาก
    มักเสกสรรตัวว่า มีความรู้มาก ทั้งที่กำลังหลงมาก
    จึงมีทิฏฐิมานะมาก ไม่ยอมลงให้ใครง่ายๆ...

    ส่วนความเห็นด้วยปัญญา เป็นความเห็นซึ่งพร้อมที่จะถอดถอน
    ความสำคัญมั่นหมายต่างๆ อันเป็นตัวกิเลสทิฏฐิมานะน้อยใหญ่ออกไป
    โดยลำดับ ที่ปัญญาหยั่งถึง ถ้าปัญญาหยั่งลงโดยทั่วถึงจริงๆ กิเลสทั้งมวล ก็พังทลายไปหมด

    เจริญธรรม

    โดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
     
  12. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เกร็ดธรรม

    หลวงปู่พุธ ฐานิโย
    วัดป่าสาละวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา

    การกำหนดรู้
    โดยที่เราตั้งใจกำหนดรู้ลงที่จิต ทำจิตให้ว่างอยู่ชั่วขณะหนึ่ง
    โดยธรรมดาของจิตเมื่อเราตั้งใจกำหนดลง เราจะเกิดความว่าง
    ในเมื่อเกิดความว่างเกิดขึ้นมาแล้ว
    เราก็กำหนดดูที่ความว่าง
    ในเมื่อจิตว่างอยู่ซักพักหนึ่งความคิดย่อมเกิดขึ้น
    เมื่อความคิดเกิดขึ้น ทำสติตามรู้ความคิดนั้น

    เพียงแต่สักว่ารู้ อย่าไปช่วยมันคิด
    ความคิดอะไรเกิดขึ้นกำหนดรู้ ความคิดอะไรเกิดขึ้นกำหนดรู้

    ยกตัวอย่างเช่น
    คิดถึงสีแดง ก็เพียงแต่ว่า รู้ว่าสีแดง ไม่ต้องไปคิดว่า สีแดงคืออะไร
    ถ้าหากว่าจิตมันคิดไปโดยอัตโนมัติของมัน
    เราทำสติตามรู้ทุกระยะอย่าเผลอ

    ในทำนองนี้จะเป็นอุบายทำให้จิตของเรารู้เท่าทันอารมณ์
    สติตัวนี้จะกลายเป็นมหาสติ
    ถ้าสติกลายเป็นมหาสติ จะสามารถ ประคับประคองจิต
    ให้ดำรงอยู่ในสภาพปกติ ไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ได้ง่าย
    เมื่อสติตัวเป็นมหาสติแล้ว
    เพิ่มพลังขึ้น
    ด้วยการฝึกฝนอบรมกลายเป็นสตินทรี
    เมื่อสติตัวนี้กลายเป็นสตินทรีแล้ว
    พอกระทบอะไรปั๊ป
    จิตจะค้นคว้าพิจารณาไปเองโดยอัตโนมัติโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ

    ทีนี้เมื่อสติตัวนี้กลายเป็นสตินทรีเป็นใหญ่ในอารมณ์ทั้งปวง
    ซึ่งมีลักษณะ คล้ายๆกับว่า
    จิตของเราสามารถเหนี่ยวเอาอารมณ์
    มาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ได้

    หรือ เอากิเลสมาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ได้
    เพราะสติตัวนี้เป็นใหญ่ ย่อมมีอำนาจเหนืออารมณ์
    และสามารถใช้อารมณ์ให้เกิดประโยชน์ได้
    เมื่อเป็นเช่นนั้น สติตัวนี้จะกลายเป็น สตินทรี อ่าจะกลายเป็น สติวินะโย
    ในเมื่อสติตัวนี้เป็นกลายเป็นสติวินะโย
    สมาธิ สติ ปัญญา ของผู้ปฏิบัติ มีสมรรถภาพดียิ่งขึ้น

    อีกชั่วโมง เป็นสติสัมปชัญญะ เป็นสายสัมพันธ์ สืบต่อกันตลอดเวลา
    แม้หลับลงไปแล้ว จะรู้สึกว่าตัวเองนอนไม่หลับเพราะสติไม่ขาดตอน

    สติตัวรู้หรือสติตัวรู้สึกสำนึกหรือสติอันเป็นตัวการซึ่งเป็นสติวินะโยเนี๊ยะ
    มันจะคอยจดจ้องอยู่ที่จิตตลอดเวลา
    พออะไรเข้ามาปั๊บ
    มันจะฉกออกไปเหมือนกับงูเห่าฉกเหยื่อ อย่างงั้นล่ะ
    ถ้าสิ่งใดที่มันยังไม่รู้แจ้งเห็นจริง
    มันจะยึดเอามาแล้วก็พิจารณาค้นคว้า จนรู้ความจริง

    ถ้ามันรู้แล้วพอสัมผัสรู้ปั๊บมันก็มานิ่ง

    เวลาเราจะทำงานทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใด

    สติตัวนี้มันจะคล้ายๆกับว่าเป็นตัวรู้ปรากฎอยู่ในท่ามกลางแห่ง ทรวง อก

    ส่วนที่ส่งกระแสออกไปทำงาน
    มันก็ทำงานของมันอยู่ตลอดเวลา

    ในเมื่อเป็นเช่นนั้น
    เราสามารถที่จะเอาพลังแห่งสมาธิไปใช้ในงานทุกประเภทได้


    การทำสมาธิอันใด
    ทำให้ท่านเบื่อต่อโลก ต่อครอบครัวมันยังไม่ถูกต้องดอก
    ถ้าทำสมาธิ มีสติปัญญา รู้แจ้งเห็นจริงดีแล้ว
    ต้องสามารถเอาพลังของสมาธิไปสนับสนุนงานการที่เราทำอยู่ได้


    http://palungjit.org/threads/ข้อสังเกตุ-ผลที่เริ่มเกิดจากการมีสติที่ถูกต้อง.285396/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 กุมภาพันธ์ 2015
  13. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เกร็ดธรรม

    หลวงปู่พุธ ฐานิโย
    วัดป่าสาละวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา


    แม้ว่า จะมีใครกล่าวว่า
    การภาวนาอย่างนั้นไม่ดี อย่างนี้จึงดีอะไรทำนองนี่ อย่าได้ไปสนใจ

    เราจะเอาอะไรก็ได้
    ถ้าสมมุติว่า จิตของเราเนี๊ยะมันไปติดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเหนียวแน่น

    เช่น

    อย่างเราจะภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ
    แต่มันไม่อยู่กับพุทโธ มันชอบวิ่งไปหา สิ่งอื่นที่เราเคยติดมาแล้ว
    ก็ให้เอาสิ่งนั้นแหล่ะมาบริกรรมภาวนา

    เช่น อย่างสมมุติว่า
    ในขณะที่เราภาวนา มันคิดถึงใครคนหนึ่ง
    ก็เอาชื่อของคนคนนั้นมาบริกรรมภาวนา
    เพราะจิตมันติดอยู่แล้ว มันจะได้ติดเร็วขึ้น

    ในเมื่อจิตมีการติดมันก็ย่อมเกิดความสงบ
    ในเมื่อสงบแล้วมันไม่ฟุ้งซ่าน
    ไม่ฟุ้งซ่านมันก็อยู่ในอารมณ์เดียว
    ในเมื่อจิตอยู่ในอารมณ์เดียว จิตก็เกิดเป็นสมาธิ
    ในเมื่อจิตเป็นสมาธิอย่างแท้จริง
    แม้แต่บริกรรมภาวนามันก็ทิ้งไป

    ในเมื่อมันทิ้งบริกรรมภาวนาแล้ว มันก็เป็นตัวของตัวเอง
    ไม่ตกอยู่ในอำนาจของสิ่งใด
    เป็นเหตุให้เราได้รู้สภาพความเป็นจริงของจิตดั้งเดิมของเราว่ามันเป็นอย่างนี้

    ในเมื่อจิตมันปล่อยวางหมดทุกสิ่งทุกอย่าง
    มันเป็นตัวของตัวเอง มีแต่จิตดวงเดียวล้วนๆไม่ได้พึ่งพาอาศัยอะไร
    มันก็เป็นอิสระ
    ในเมื่อเราฝึกหัดให้มันเป็นอิสระ บ่อยๆ เข้า
    พละ คือกำลังมันก็เกิดขึ้น มากขึ้นทุกที ทุกที
    จนสามารถที่จะทรงตัวอยู่ได้ ในสภาพปกติตลอดไป

    ความเป็นปกติของจิตนั้น
    ความเป็นปกติของจิตในภายใน
    หมายถึง จิตเข้าอยู่ในสมาธิ
    สลัดอารมณ์ทั้งปวงแล้ว
    จิตเป็นจิตดวงเดียวล้วนๆ
    อันนี้เป็นความปกติของจิตภายใน

    ในเมื่อจิต ออกมาสู่อารมณ์ภายนอก
    เช่น สิ่งที่ผ่านเข้ามาทาง ตาหูจมูกลิ้นกายและใจ
    จิตเป็นแต่เพียงสัมผัสรู้
    รู้แล้วไม่ยึดถือสิ่งนั้น เป็นตัวของตัวเองอยู่ตลอดเวลา
    พอพูดมาถึงตอนนี้ ท่านผู้ฟังอาจจะเข้าใจว่า
    อะอืมๆ ในเมื่อจิตไม่สนใจกับสิ่งใดใด
    จิตมันจะไม่กลายเป็นจิตที่ไร้สำนึกไม่เอาไหนหรือ
    จะไม่กลายเป็นจิตที่ขี้เกียจขี้คร้านไม่เอาการเอางานหรือ
    ข้อนั้นไม่พึงสงสัย

    ถ้าหากว่าจิตมันผ่านความเป็น สมาธิ
    ผ่านความเป็นตัวของตัวเองได้โดยเด็ดขาดแล้ว
    มันจะเกิดความสนใจในหน้าที่การงาน
    เกิดความสนใจในหมู่ในขณะ
    เกิดความสนใจในหน้าที่ที่เราจะต้องรับผิดชอบ

    ผู้ซึ่งเคยขี้เกียจทำงานมันจะขยันขึ้น
    ผู้ที่ไม่เอาใจใส่กับจิตใจของตัวเอง
    ไม่เอาใจใส่กับการงานขาดความรับผิดชอบ
    มันจะมีความรับผิดชอบมากขึ้น
    อันนี้คือ ผลของการทำสมาธิ

    การทำสมาธิ เช่นอย่าง เราจะไปเข้าห้องกรรมฐาน ไม่เอาไหนเลย
    ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใดเลย อันมันก็ไม่ดี เพราะเราทิ้งการทิ้งงานคนอื่น

    การทำสมาธินี่เรามีความมุงหวังที่จะให้เรามีพลังจิต
    มีสติ สัมปชัญญะ ต่อสู่กับงานการที่เรารับผิดชอบอยู่
    สามารถที่จะแก้ไขชีวิต อ่าปัญหาชีวิตประจำวันได้
    สามารถที่จะแก้ไขปัญหาสังคมได้
    ไม่ใช่ว่าทำสมาธิแล้ว
    ไปหลับหูหลับตาไม่เอาไหนแบบนั้นไม่ถูกต้องแน่

    ทำสมาธิเป็นแล้วต้องสนใจในการงาน
    สนใจในหมู่คณะ
    สนใจในการรับผิดชอบ
    สนใจในทุกสิ่งทุกอย่าง
    เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกนี้มันเป็นสภาวะธรรม

    ได้กล่าวแล้ว ว่า
    กายกับใจของเราเป็นสภาวะธรรม
    เป็นครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติฉันใด

    บุคคลภายนอก สถานการณ์ และสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย
    ที่เราประสพอยู่ทุกวินาที
    สิ่งเหล่านั้นก็เป็นสภาวะธรรม
    เป็นเครื่องรู้ของจิตเป็นเครื่องระลึกของสติ
    เราทำสติให้รู้เท่าทันเหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านั้น
    ได้ชื่อว่าเป็นการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง

    นักปฏิบัติสมาธิต้องสู้ สู้ต่อการงานทุกสิ่งทุกอย่าง
    เพราะว่าการทำสมาธินี่ ทำให้จิตมีสมาธิ
    มีความตั้งมั่น มีความมั่นใจ
    มั่นใจต่อหน้าที่การงานที่เรารับผิดชอบอยู่
    อันนี้คือผลของการทำสมาธิในขั้นนี้

    ถ้าหากเราฝึกหัดทำสมาธิในขั้นต้น อะอืมๆ
    พอที่จะจับหลัก แห่งการทำสมาธิ
    สามารถที่จะทำจิตให้สงบ
    สามารถ ที่จะน้อมจิตไปพิจารณา
    สามารถที่จะทำสติให้รู้เท่าทันเหตุการณ์นั้นๆ
    คือตามรู้เหตุการณ์นั้นๆ จนทัน
    ก็ ได้ชื่อว่า
    เป็นผู้ได้ปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องด้วยประการะฉะนี้

    ได้กล่าวธรรมะบรรยายมา พอเป็นเครื่องประดับสติปัญญาของท่านผู้ฟัง
    ก็เห็นว่าพอสมควรแก่กาละเวลา จึงขอยุติ ด้วยประการะฉะนี้


    http://palungjit.org/threads/ข้อสังเกตุ-ผลที่เริ่มได้จากการทำสมาธิที่ถูกต้อง.285156/
     
  14. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ถ้าท่านถามแบบนี้แสดงว่าท่านยังไม่เข้าใจจริงๆตามคำถาม. การปฎิบัติธรรมนั้นให้ผลดีทั้งทางโลกทางธรรม การที่ท่านเป็นเพศฆราวาสนั้นท่านเพียงรักษาศิลห้าปฎิบัติสมถะวิปัสนา ไม่ล่วงอกุศลกรรมบทสิบก็ถือว่าสุดยอดแล้วครับ ส่วนวิธิเจริญสติในระหว่างการทำงานหรือกิจกรรมตามปรกตินั้นให้ใช้บทอธิฐานการงานคือให้มีสติอยู่กับการงานที่ทำก็ได้ครับ คหบดี ! ในบรรดากามโภคีเหล่านั้น กามโภคีผู้ใด
    แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัดด้วย,
    ครั้นแสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัดแล้ว
    ทำตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำด้วย, แบ่งปันโภคทรัพย์
    บำเพ็ญบุญด้วย, ไม่กำหนัด ไม่มัวเมา ไม่ลุ่มหลง มีปกติ
    เห็นโทษ มีปัญญา เป็นเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์
    เหล่านั้นอยู่ด้วย;
    คหบดี ! กามโภคีผู้นี้ ควรสรรเสริญโดยฐานะ
    ทั้งสี่ คือ :-
    ควรสรรเสริญโดยฐานะที่หนึ่ง ในข้อที่เขา
    แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัด,
    ควรสรรเสริญโดยฐานะที่สอง ในข้อที่เขา
    ทำตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ,
    ควรสรรเสริญโดยฐานะที่สาม ในข้อที่เขา
    แบ่งปันโภคทรัพย์ บำเพ็ญบุญ,
    ควรสรรเสริญโดยฐานะที่สี่ ในข้อที่เขา
    ไม่กำหนัด ไม่มัวเมา ไม่ลุ่มหลง มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็น
    เครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์เหล่านั้น.
    คหบดี ! กามโภคีผู้นี้ ควรสรรเสริญโดยฐานะ
    ทั้งสี่เหล่านี้.
    คหบดี ! กามโภคีจำพวกนี้ เป็นกามโภคีชั้นเลิศ
    ชั้นประเสริฐ ชั้นหัวหน้า ชั้นสูงสุด ชั้นบวรกว่ากามโภคี
    ทั้งหลาย, เปรียบเสมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจาก
    นมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น
    หัวเนยใสเกิดจากเนยใส; หัวเนยใสปรากฏว่าเลิศกว่าบรรดา
    รสอันเกิดจากโคทั้งหลาย เหล่านั้น, ข้อนี้ฉันใด; กามโภคี
    จำพวกนี้ ก็ปรากฏว่าเลิศกว่าบรรดากามโภคีทั้งหลาย
    เหล่านั้น ฉันนั้น แล.
    ทสก. อํ. ๒๔/๑๙๔/๙๑.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กุมภาพันธ์ 2015
  15. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    เชื่อได้แน่เลยว่าแม้แต่พระพุทธองค์เอง หรือครูอาจารย์ที่ท่านบรรลุธรรมแล้ว
    พระองค์และองค์ท่านก็ยังมีความลังเลสงสัยในทางปฏิบัติมาแล้วทั้งนั้น
    แม้พระพุทธองค์เองก็ทรงใช้เวลาถึง 6 ปี ในการแสวงหาทางหลุดพ้น

    เรานักปฏิบัติที่เดินตามรอยพระบาทองค์ศาสดา ตามรอยบาทครูบาอาจารย์
    ก็ไม่ต่างจากพระองค์และองค์ท่านนักหรอก
    ทางไม่เคยไปยังไงมันก็สงสัยอยู่ดี ก็มันไม่เคยเห็นมาก่อนนี่นา
    ถ้าไม่ลังเลสังสัยก็คงละวิจิกิจฉาไปแล้วล่ะ

    พระพุทธองค์หรือครูบาอาจารย์
    ท่านก็เคยลังเลสงสัยเหมือนเรามาก่อนนั่นแหละ
    ไม่แปลกหรอกที่เราจะลังเลสงสัย

    ทางเดินไปสู่ความรู้แจ้งยังไงมันต้องผ่านลังเลสงสัยก่อนทั้งนั้น
    ไม่มีใครไม่ลังเลสงสัยมาก่อนหรอก
    แม้แต่พระพุทธสร้างบารมีมาเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า
    ก็ยังทรงลังเลสงสัยมาก่อนเช่นกัน
     
  16. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ปล่อยวางความลังเลสงสัย แล้วเพียรปฏิบัติต่อไป
    น้อมนำแนวทางปฏิบัติของพระมหาชนก มาตั้งไว้ที่ใจเราสิ
     
  17. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เพิ่งจะเข้ามาอ่านกับเขา และก็ไม่รู้ว่า จขกท. ยังเข้ามาอ่านอยู่หรือเปล่า
    เพียงอ่านหัวที่ตั้งไว้ ไม่ได้อ่านสมาชิกท่านอื่นก็ลองตอบบ้าง ผิดถูกยังไงก็ว่ากันไป

    การปฏิบัติธรรมอาจจะเคยได้ยินบ่อยๆว่าจะอยู่ทีไหน ขณะทำอะไร หรืออยู่ในกิริยาบทใดปฏิบัติธรรมได้ทั้งนั้น
    มี ยืน เดิน นั่ง นอน เหล่านี้ก็อยู่ในอริยบถบรรพ เพียงว่าเราจะเข้าใจหรือเปล่าเท่านั้น เช่นว่า ขณะที่เรา เดิน ยืน นั่ง นอน
    กำหนดพิจารณา ในท่าใดท่าหนึ่งว่าไม่มีใคร ยืน เดิน นั่ง นอน ยืน

    เดิน นั่ง นอน ก็ไม่ได้เป็นของใคร มีก็แต่เพียง จิต เจตสิก รูป ที่เกิดขึ้น หรือดูว่าเป็นเพียงรูปกับนามเท่านั้น
    ในแต่ละขณะแล้วดับไปให้เห็นเป็นอนัตตา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 กุมภาพันธ์ 2015
  18. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ได้อรรถรสดีฮับหลวงลุง

    เมื่อก่อนหลวงลุง มีแต่ลุกชิ้นเปนดวงๆ

    ไอ้กระผมได้ลุกชิ้นแล้ว ก้อยากจะจิ้ม ทิ่ม แทง

    ไม่ใช่อะไรหลอกหลวงลุง มันขาดน้ำจิ้ม

    ขาดภาคปฏิบัต ภาษาปฏิบัต มันเลยขาดอรรถสาระ รสชาติที่เคลือบรอบลุกชิ้นรุปนาม

    ตอนนี้ได้ภาษาปฏิบัตแล้ว

    ผมนี่ ตัวตรงเลย
     
  19. testewer

    testewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +758
    เราตอบวิธีการปฏิบัติโดยไม่ต้องทำสมถะกรรมฐาน ก่อนการปฏิบัติสัมมาสมาธิใน PM ของเจ้าของกระทู้ เหตุที่เราให้ท่านเจ้าของกระทู้ทราบแต่เพียงท่านเดียวเพราะ เราอธิบายรายละเอียดไว้มาก แม้กระทั้งเปรียบเทียบภูมิธรรมของเราระหว่างพุทธสาวกฯ ว่าที่เราได้อธิบายหรือสอนไปแล้วนั้น มีความแตกต่างกันอย่างไร ถ้ายกลงมาที่นี้จะทำให้เราดูดี ดูเด่นเกินไป ไม่ใช่สิ่งที่เราปรารถนา เราเสียเวลาพิมพ์ที่สอนท่านนานมาก คาดว่าจะเป็นประโยชน์กับท่านเจ้าของกระทู้ เราเองมีธุระมาก ขอให้ท่านปฏิบัติเข้าถึงตามที่ท่านปรารถนาทุกประการ
     
  20. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014




    หากยังใช้ชีวิต อยู่ในโลก
    นักปฏิบัติ ต้องระวัง โลกกระทำ
    โลกกระทำ ก็คือ โลกธรรม นั่นเอง


    โลกกระทำมี 8 อย่าง

    คนธรรมดา เวลาโดนโลกธรรมเล่นงาน จะวิ่งพล่านเหมือนถูกน้ำร้อนลวก
    โดนปุ๊บดิ้นปุ๊บ มันเป็นไปเองโดยอัตโนมัต บังคับไม่ได้ เพราะจิตที่ไม่ได้ถูกฝึก
    มันเข้าใจผิด คิดว่า โลกมายาการนี้ เป็นของจริง มันเลยโต้ตอบโลกธรรมนั้น
    โดยคิดว่า ตัวมันเป็นศูนย์กลางของโลก หรือเป็น พระเอก นางเอก
    ของหนังเรื่องหนึ่ง ที่โลกแสดงหลอกให้ดู จนเราคิดว่า โลกนี้เป็นของเราคนเดียว
    ส่วนคนอื่นเป็นตัวร้าย หรือคนร้าย จิตของเราจึงต้องดิ้นพล่านไปตามมัน

    คนไม่ธรรมดา โสดาบัน
    เวลาโดนโลกธรรมแปดเล่นงาน
    เค้าจะบังคับจิตของเค้าได้
    ถึง 1 ใน 4 ส่วน หรือ 25%
    เริ่มจะเห็นบ้างรางๆ ว่า
    โลกนี้ไม่เีที่ยง
    โลกนี้ไม่จริง
    โลกนี้สมมุติ
    เค้าจะรู้สึก โลกนี้ยังมีคนอื่นอีก
    ที่ทนลำบากอยู่ในโลกสมมุตินี้
    โดยที่คนเหล่านั้น ไม่อาจรู้ได้เลยว่า
    โลกนี้มันไม่จริง
    เค้าจะรู้สึกว่า โลกนี้ยังมีคนทีี่่ลำบากกว่าเรา
    ที่เรายังต้องช่วยเหลือเค้า อยู่อีกมาก
    คนเหล่านั้นต่างหาก
    ที่เป็นพระเอก นางเอก ของเรื่องนี้
    เพราะมนุษย์ อธิษฐานว่า เมื่อเกิดมา
    ก็เพื่อช่วยคนอื่น

    ส่วนการปฏิบัติตน
    ในขณะที่เป็นคน ไม่ใช่พระ
    เราก็คิดไว้ในใจ อยู่เสมอๆ ว่า
    กายไม่ใช่พระ แต่ใจเป็นพระ


    ให้รำลึกบ่อยๆ อย่างนี้ตลอด
    เวลาจะทำเลวอะไร เราจะรู้สึกว่า
    ทำไม่ได้นะ เพราะเราเป็นพระ
    ถือศีลพระ ทำอย่างนี้จะบาปกว่าคนอื่น
    แล้วก็อดทนไว้
    ทนได้ก็ชนะไปครั้งหนึ่ง แต่อย่าพึ่งดีใจไป
    เพราะ ครั้งหน้าย่อมหนักกว่าเก่า
    ทนได้ยากกว่าเก่า


    หากทนไม่ได้ ต้องทำความเลวตามนั้น
    เราก็ไม่ต้องไปตีัโพยตีพาย
    เีสียใจเป็นวรรคเป็นเวร
    ว่า เราทำไม่สำเร็จ
    ให้ตั้งจิตใจใหม่ให้ดี
    รอคอยต่อสู้กับครั้งต่อไป


    ฝึกใหม่ๆ
    ต่อสู้ร้อยครั้ง ชนะครั้งหนึ่ง ก็ดีแล้ว


    หากเป็น โสดาบัน
    ต่อสู้ร้อยครั้ง จะชนะ 25 ครั้ง


    เป็น สกิทาคา
    ต่อสู้ร้อยครั้ง ชนะ 50 ครั้ง


    ถ้าเป็น อนาคามี
    ต่อสู้ร้อยครั้ง ย่อมชนะ 75 ครั้ง


    แต่ถ้าเป็น อรหันต์
    รบร้อยครั้ง ก็ชนะร้อยครั้ง
    ไม่มีความแพ้ เล็ดรอดออกมาเลย


    เพราะฉนั้น หากใครคิดว่าตนเองเป็น พระอรหันต์
    ไม่ต้องไปดูที่ไหนให้ยุ่งยาก
    ให้เปรียบดูเวลา ที่ โลกธรรมมากระทบจิต
    แล้วจิตของเรา ไม่หวั่นไหวตามมัน
    ได้ทั้งกลางวันและกลางคืน
    อันนี้เริ่มเข้าเค้า
    ถ้าน้อยกว่านั้น แสดงว่า ยังไม่ถึง


    นักปฏิบัติที่ดี
    ควรจะมีสมุดโน๊ตเล่มนึง
    เอาไว้จดเวลาที่ โลกธรรมแปดมากระทบ
    ว่า
    วันหนึ่ง มีกี่ครั้ง แล้วตัวเรา ทนไ้ด้กี่ครั้ง
    อาทิตย์นึง มีกี่ครั้ง ทนได้กี่ครั้ง
    เดื่อนหนึ่ง มีกี่ครั้ง ทนได้กี่ครั้ง
    คิดแล้ว ประมาณกี่เปอร์เซนต์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 กุมภาพันธ์ 2015

แชร์หน้านี้

Loading...