วิธีอ่านคำบาลี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 28 กุมภาพันธ์ 2015.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    การอ่านคำบาลีแท้นั้น หากพุทธศาสนิกชนตั้งใจหรือสนใจศรัทธาจะอ่านให้ได้จริงๆ นั้นง่ายนิดเดียว เพราะภาษาบาลีนั้นไม่มีอักษรเขียนเป็นการเฉพาะของตนเองเหมือน ภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยของเรา มีแต่เสียงสำหรับสื่อให้รู้ความหมายเท่านั้น เมื่อคนชาติใดนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ซึ่งจารึกบันทึกพุทธธรรมด้วยภาษาบาลี ก็จะใช้อักษรของคนชาตินั้นเป็นอักษรตัวเขียนของภาษาบาลี เช่น ภาษาบาลีในพระไตรปิฎกของประเทศไทยเรา ก็ใช้อักษรไทยเป็นตัวเขียน เรียกว่า บาลีอักษรไทย ดังนั้น จึงเป็นการง่ายที่จะอ่านคำบาลีแท้ แม้ว่าจะไม่ได้เรียน เพราะเราคุ้นเคยกับอักษรไทยกันอยู่ดีอยู่แล้วนั่นเอง

    การอ่านคำบาลีแท้นั้น มีหลักสำหรับการอ่านอยู่ ๒ ประการ คือ

    ๑) การพยัญชนะที่มีจุด () อยู่ใต้ มีหลักว่า พยัญชนะตัวใดมีจุดกำกับอยู่ด้านใต้ พึงรู้ว่าพยัญชนะตัวนั้น ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด โดยถ้าสะกดพยัญชนะที่ผสมด้วยสระ อะ ซึ่งไม่ปรากฏรุป เช่น คำว่า อคฺโค สจฺจํ กมฺมํ จุดใต้ ค, จ, และ ม, นั้นมีค่าเท่ากับเครื่องหมายไม้หันอากาศ หรือไม้ผัด ( ั ) ดพยัญชนะที่มีจุด กำกับนั้น มีค่าเท่ากับตัวสะกด ก็จะอ่านออกเสียงว่า อัคโค อัจจัง กัมมัง ถ้าสะกดพยัญชนะที่นอกจากสระ อะ คือ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ซึ่งปรากฏรูปอยู่ เช่นคำว่า เวทนากฺขนฺโธ จิตฺตํ สุกฺกํ อุเปกฺขโก จุดนั้น ไม่มีค่าอะไร เพียงแต่เป็นเครื่องกำหนดพยัญชนะตัวนั้น ให้ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด ก็จะอ่านออกเสียงไปตามรูปสระที่ปรากฏ คือ อ่านว่า เวทะนากขันโธ จิตตัง สุกกัง อุเปกขะโก

    ๒) การอ่านพยัญชนะหรือสระที่มีนิคคหิต ( ํ ) อยู่บน มีหลักว่าพยัญชนะคือ อัง ( ํ ) หรือนิคคหิตนี้ จะปรากฏอยู่บนร่วมกับสระเสียงสั้น ๓ ตัว คือ อ อิ อุ เสมอ เมื่อปรากฏอยู่บนสระ อะ เช่น เอวรูปํ จิตฺตํ กมฺมํ ให้แทนค่าเป็น ัง คือ ไม้หันอากาศตามด้วย สะกด อยู่ร่วมกับพยัญชนะตัวใด ก็ออกเสียงไปตามพยัญชนะตัวนั้น เช่น ในตัวอย่างนี้ ก็จะอ่านว่า เอวะรูปัง จิตตัง กัมมัง เมื่อปรากฏอยู่บนสระ อิ เช่นคำว่า กึ อหึ สุคตึ ให้แทนค่าเป็น ิง คือสระ อิ ตามด้วย สะกด ก็จะอ่านได้ว่า กิง อะหิง สุคะติง และพึงตระหนักว่าไม่ใช่สระ อึ จึงไม่ควรอ่านออกเสียงเ็นสระ อึ ว่า กึ อะหึ สุคะตึ เป็นอันขาดอาจทำให้เสียภูมิรู้ เมื่อปรากฏอยู่บนสระ อุ เช่น คำว่า กาตุํ เสตุํ ให้แทนค่าเป็น ุง คือสระ อุ ตามด้วยตัว สะกด ก็จะอา่นได้ว่า กาตุง เสตุง ดังนี้เป็นต้น

    นอกจากนี้ ยังมีหลักการอ่านพยัญชนะอวรรค (พยัญชนะอิสระที่ไม่จัดเข้าวรรค) อีก ๗ ตัว คือ ย ร ล ว ส ห ฬ ซึ่งพยัญชนะเหล่านี้ ท่านจัดเป็นอัฑฒสระ คือ ออกเสียงได้เล็กน้อย ออกเสียงได้ครึ่งหนึ่ง แต่ต้องอ่านให้เร็ว แม้จะเป็นตัวสะกด หรือใช้ร่วมกับพยัญชนะวรรคอื่นๆ เช่น คำว่า ตสฺมา กตฺวา ก็จะอ่านว่า ตัด สะ มา (- มา เหมือนมีเสียง นำ) โดยพยัญชนะ เป็นได้ทั้งตัวสะกด และยังออกเสียงว่า สะ ซึ่งต้องอ่านออกเสียงเร็ว กตฺวา อ่านว่า กัต ตะ วา คำว่า ตะ ต้องว่าออกเสียงเร็ว ดังนี้เป็นต้น

    ตัวอย่างคำบาลีแท้: คำถวายผ้ากฐิน

    อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ สปริวารํ กฐินทุสฺสํ ปฏิคฺคณฺหาตุ ปฏิคฺคเหตฺวา จ อิมินา ทุสฺเสน กฐินํ อตฺถรตุ อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย.

    คำอ่าน (บาลีไทย)

    อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต สังโฆ อิมัง สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง ปะฏิคคัณหาตุ ปะฏิคคะเหตตะวา จ อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง อัตถะระตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ.
     
  2. nao7310

    nao7310 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +931
    ขอบคุณค่ะ
     
  3. noawarat pakdee

    noawarat pakdee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +682
    ขอบคุณจขกท. ที่ได้นำสิ่งดีๆมาฝาก ค่ะ ดิฉันอยากได้ความหมายของภาษาบาลี ได้ไหมค่ะ อยากเรียนรู้ว่าแต่ละคำแปลว่าอะไรบ้าง เวลาเราสวดมนต์ทำให้เรารู้ความหมายไปในตัว ถึงแม้หนังสือบางเล่มจะมีคำแปลมาบ้างแล้วก็ตามแต่บางบทไม่มี จะเป็นการรบกวนหรือเปล่าค่ะ
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เปล่ารบกวนครับ

    นำคำนั้นๆมาตรงนี้ก่อนสิครับ รู้ก็บอกให้ ถ้าไม่รู้ก็จะไปค้นมาให้ เรียกว่าทำให้สุดกำลังครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...