ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    <TABLE borderColor=#0000ff cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%" border=1><TBODY><TR><TD align=middle>โอวาทพระคุณเจ้าหลวงพ่อพระราชพรหมยาน</TD></TR><TR><TD align=left>โอวาทพระคุณเจ้าหลวงพ่อพระราชพรหมยานมีว่า
    ขอให้ทุกคนเตรียมตัวเตรียมใจไว้ว่าเวลาที่เราป่วยไข้ไม่สบาย อย่าลืมกำหนดลมหายใจเข้าออก (อานาปานุสสติ) จิตจะคลายจากความเจ็บปวดทุกข์เวทนาได้
    ยามปกติจิตอย่าทิ้งอย่าห่างพระนิพพาน (อุปสมานุสสติกรรมฐาน) สิ่งที่จะทำให้อารมณ์คลายจากความเจ็บปวดทรมานกายได้อย่างวิเศษมี 3 อย่างคือ
    1. กำลังสมาธิ จิตจับลมหายใจเข้าออก ตั้งมั่นในอานาปานุสสติ
    2. จิตระลึกถึงพระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง เป็นกำลังตัดความหลง
    3. กำลังจิตนึกถึงพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพลังพระพุทธานุภาพ เป็นบุญกุศล
    ใหญ่ โรคภัยหายรวดเร็วไม่ทรมานก่อนตาย
    ถึงเวลาป่วยจริง ๆ ทุกข์เวทนามันจะน้อย ก็จำไว้ว่าร่างกายมีสภาพไม่ดี มันเป็นทุกข์ตลอดเวลา สมบัติที่เราจะได้จากร่างกายมี
    1. ความแก่มาหาเราทุกเวลา
    2. อาการหิว เจ็บป่วย ไม่สบายกายใจมีเป็นปกติ
    3. ความปรารถนาไม่ค่อยจะสมหวังมีเป็นปกติ
    4. ความตายเข้ามาถึงทุกวัน
    ทั้ง 4 ข้อนี้ถือไว้แต่ตอนต้นว่ามันเป็นธรรมดาของเราเมื่อเกิดมาแล้วสิ่งทั้ง 4 ก็ต้องมีเป็นธรรมดา มันจะพังสลายตายเมื่อไรก็เชิญพัง พังเมื่อไรฉันขอให้พระนิพพานเมื่อนั้น ถ้าตั้งใจแบบนี้ความเจ็บปวดทุกข์เวทนามันจะน้อย ตั้งใจขึ้นมาอีกหน่อยหนึ่งว่า ขึ้นชื่อว่าร่างกายเลว ๆ ไม่ดีอย่างนี้ เราไม่ต้องการมัน จุดที่เราต้องการคือ พระนิพพาน
    คนมีกำลังน้อยเดินขึ้นบันไดต้องเกาะราวจะได้ไม่ตกหล่น แม้ตนมีกำลังมากถ้าเดินขึ้นบันไดก็ต้องเกาะราวเพื่อความไม่ประมาท ถ้าไม่เกาะมันเผลอไผล มันก็หล่นได้ฉันใด ถ้าทำจิตว่างเฉย ๆ ดีไม่ดีมันจะลงอเวจีไป ต้องเกาะพระนิพพานอย่าไปเชื่อเขา พวกเราต้องเกาะพระนิพพานแบบนั้นปลอดภัยดี องค์สมเด็จพระพุทธสิกขีพุทธเจ้า หรือ องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์พระปฐม ได้ตรัสสั่งให้พระคุณเจ้าหลวงพ่อพระราชพรหมยานมาบอกลูกหลานว่า อย่างนี้
    ให้พวกลูก ๆ หลาน ๆ ไหว้พระในตัวเองดีกว่า คือ ให้ชาวพุทธทุกคนทำใจให้เป็นพระอรหันต์ คือ บอกให้นึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารวมกับนึกถึงพระนิพพานจะดูลมหายใจไปด้วยก็ดี นั่งนึกสัก 1 ชั่วโมง ถ้าใน 1 ชั่วโมงลูกหลานทั้งหลายรวมจิตได้สัก 3 นาที พระพุทธองค์ตรัสว่า มีผลมากกว่าที่เอาพระนอกกายมาบูชา พระนอกกายเขาอุ้มลุกอุ้มหลานไปนิพพานได้เมื่อไร พวกเราชาวพุทธชอบบูชาพระนอกกาย ไม่ชอบทำใจตนเองให้เป็นพระ พระในกายเรา คือ อารมณ์จิตสะอาดด้วยการนึกถึงพระรัตนตรัย พระนิพพานนึกถึงร่างกายเป็นของปลอมของสมมุติของชั่วคราว แบบนี้จิตสะอาด จิตสะอาดเท่านั้นที่นำพาลูก ๆ หลาน ๆ ทุกคนไปพระนิพพานได้


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://www.dhammapratarnporn.com/book3/book3_page14.html

    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 กุมภาพันธ์ 2008
  2. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    อานิสงส์การถวายทานด้วยสิ่งของต่างๆ

    อานิสงส์การถวายทานด้วยสิ่งของต่างๆ

    เรื่องนี้มาในคัมภีร์อปทาน ตอน ปิลินทวัจฉเถราปทาน คือหมายถึงเป็นเรื่องของพระปิลินทวัจฉะ
    ท่านเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระปิลินทวัจฉะว่า
    เป็นผู้เลิศกว่าพระภิกษุทั้งหลายในทางเป็นที่รักแห่งเทวดา คือเทวดาจะรักท่านมากด้วยความดีที่ท่านได้สร้างมา
    ทั้งในอดีตชาติและปัจจุบันชาติ เมื่อท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านได้ระลึกชาติในอดีตกาลของท่านว่า
    ในอดีตกาลผ่านมาแล้วแสนกัป ครั้งนั้นได้มีพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งอุบัติตรัสรู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาอยู่ในโลก
    ทรงพระนามว่า พระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประกาศพระศาสนาตั้งหลักมั่นอยู่ที่พระนครหังสวดี
    พระปิลินทวัจฉะเกิดเป็นผู้มีทรัพย์ได้ถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยสิ่งของมากมายหลายอย่าง
    อานิสงส์แห่งการถวายทานด้วยสิ่งของต่างๆ ย่อมให้ผลต่างๆ แก่ท่านซึ่งท่านได้บรรยายไว้ละเอียด

    จะได้นำมากล่าวเพื่อเพิ่มพูนศรัทธาปสาทะแก่ท่านสาธุชนทั้งหลายดังต่อไปนี้

    การถวายข้าวและน้ำย่อมมีอานิสงส์ ๑๐ ประการคือ ๑.มีอายุยืน ๒.มีกำลัง ๓.เป็นนักปราชญ์ ๔.มีวรรณะ
    ๕.มียศ ๖.มีสุข ๗.เป็นผู้ได้ข้าว ๘.เป็นผู้ได้น้ำ ๙.เป็นคนกล้า ๑๐.มีญาณรู้ทั่ว

    เมื่อท่านพระปิลินทวัจฉะได้กล่าวแสดงอานิสงส์แห่งการถวายทานในอดีตชาติที่ท่านเคยได้รับผลอันประเสริฐ
    มาอย่างมากมาย ซึ่งท่านรู้แจ้งด้วยญาณอันประเสริฐของความเป็นพระอรหันต์ของท่าน แล้วท่านพระปิลินทวัจฉะได้
    อุทานธรรมด้วยโสมนัสของท่านต่ออีกว่า

    การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ ประการเราบรรลุแล้ว
    คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้วเราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพชาติขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว
    ตัดกิเลสเครื่องผูกดุจช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
    และอภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้วดังนี้

    ทราบว่าท่านพระปิลินทวัจฉเถระได้กล่าวคาถาอันไพเราะเหล่านี้ไว้ด้วยประการฉะนี้แล

    มีหัวข้ออื่น ๆ เกี่ยวกับอานิสงส์การถวายทานอีกครับ มีอีกหลายอย่าง อ่านต่อคลิ๊กที่รูปครับ
    ที่มา[​IMG]

    โมทนาบุญกับทุกท่านครับ
    น้องโอ๊ต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กุมภาพันธ์ 2008
  3. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886

    การเผยแพร่พระศาสนาพุทธ ตลอด 45 พระพรรษา

    จะขอกล่าวโดยย่อ เนื่องจากเวลา45พระพรรษา ที่พระพุทธองค์ทรงเผยแพร่และแสดงพระธรรม มีเนื้อหาที่มากมาย ละเอียดอ่อน จนเป็นที่มาของพระธรรมถึง 84000 ผมจึงขอกล่าวเพียง การจำพรรษา ณ ที่ต่างๆ เหตุการณ์สำคัญๆ รูปที่พอหาประกอบได้
     
  4. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    โมทนาบุญเพิ่มเติม

    กราบขอบพระคุณและโมทนาในบุญที่ทุกท่านได้บริจาคและเสียสละทรัพย์ของทุกๆท่านมาให้กับทุนนิธิฯนี้ สาธุ สาธุ สาธุ วันนี้
    ( 8 ก.พ. 2551) มีผู้บริจาคเงินเพิ่มเติมจากเมื่อวานนี้ ผมของแจกแจงเงินที่มีผู้บริจาคมาทั้งโอนผ่านธนาคารและฝากเงินมาทำบุญกับผมดังนี้



    8 ก.พ.2551 คุณ พันวฤทธิ์ 500 บาท
    นายสติ และครอบครัว 400 บาท
    คุณ เสาวนีย์ ศิริอัญชนาวงศ์ 100 บาท
    คุณ จินา ปานสมุทร 100 บาท
    คุณ อรนุช ,บุญชัย ,ด.ช. ธนกฤต กิ่งรุ้งเพชร 100 บาท
    คุณ เอื้อง + เพียน รักษาศิริ 100 บาท
    คุณ วาสนา,น.ส. นันทพร ล้ำเลิศชัชวาล 500 บาท
    คุณ สนสิริ สนธิสนธิ์วรชัย,คุณ สารภี สิริสิงห 200 บาท
    ไม่ทราบนาม 500 บาท
    รวมยอดเงิน 2,500 บาท

    สรุปยอดเงินบริจาคตอนนี้ 46,991.32 บาท

    ขอให้ทุกท่านได้ร่วมกันโมทนาบุญในครั้งนี้ด้วยนะครับ

    โมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
    <!-- / message -->
     
  5. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    ผมนำยอดเงินบริจาคในสมุดบัญชีธนาคาร มาให้ดูเพื่อตรวจสอบยอดเงินว่าตรงกันกับที่ได้แจ้งไว้ในกระทู้นะครับ

    [​IMG]

    ขอได้โมทนาบุญกุศลนี้ร่วมกันนะครับ
    โมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    การสร้างพระในใจตนเอง

    [​IMG]
    ปุจฉา : อย่างไรคือการสร้างพระในใจตนเอง ข้อปุจฉานี้ หลวงปู่พุทธอิสระตอบดังนี้.-
    วิสัชนา : การสร้างพระในใจตนเองได้ ต้องทำให้เกิดสามศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ กายศักดิ์สิทธิ์ ธรรมศักดิ์สิทธิ์ และก็จิตศักดิ์สิทธิ์ จงอย่าอยู่เพื่อให้คนอื่นเค้ากราบไหว้ แต่จงมีชีวิตอยู่ เพื่อจะกราบไหว้ตัวเองให้สนิทใจ การที่เราจะสามารถกราบตัวเองได้อย่างสนิทใจ เพราะว่าเราสร้างความศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 3 อย่าง ให้เกิดขึ้นในตัวเรา คือสร้างสถานะแห่ง 3 ศักดิ์สิทธิ์ให้เกิดขึ้นในจิตวิญญาณ กมลสันดาน และในกายเรา ข้อแรก กายศักดิ์สิทธิ์ เราต้องทำให้มีความรู้สึกว่าร่างกายทั้งหมด ทั้งหลาย ทั้งปวงของเราศักดิ์สิทธิ์ได้ด้วยวิถีชีวิตของการอุทิศแบ่งปัน เอื้ออาทร และการุณย์ แก่มหาชน สรรพสัตว์ และคนที่อยู่รอบข้าง รวมทั้งสรรพวัตถุ สรรพชีวิต และก็สรรพวิญญาณ ให้โดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทน เหล่านี้คือกระบวนการสร้างกายศักดิ์สิทธิ์ เมื่อเรามีกายศักดิ์สิทธิ์ คนทั้งหลายก็ยอมรับเราได้ เราก็ยอมรับตัวเราเองได้ กราบตัวเองได้อย่างสนิทใจ ถือว่า นั่นคือวิถีทางแห่งกายศักดิ์สิทธิ์

    เมื่อกายศักดิ์สิทธิ์แล้ว มันก็จะเป็นกระบวนการ แนวทางให้เราขวนขวายแสวงหาธรรมศักดิ์สิทธิ์ ที่สิงสถิตอยู่ภายในกาย ไม่ใช่จากคัมภีร์ ไม่ใช่อักษรภาษา หนังสือหรือกลบทใดๆ แต่แสวงหาได้ในจิตวิญญาณของตัวเอง และเมื่อเราพบธรรมศักดิ์สิทธิ์ ก็จะทำให้จิตวิญญาณของเราที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลานุภาพ และพลังอำนาจศักดิ์สิทธิ์ไปด้วย ทั้ง 3 ศักดิ์สิทธิ์นี้แหละ เป็นการสร้างสรรค์และหล่อหลอมพระผู้ศักดิ์สิทธิ์ให้เป็นพระบริสุทธิธรรมที่ยิ่งใหญ่ ที่เกิดขึ้นภายในใจ จิตวิญญาณของตัวเอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    ปัจฉิมโอวาท ของท่านวิปัสสนาจารย์ 8 ประการ

    พระอาจารย์ ท่านวิทยากร ในโครงการฝึกอบรมพัฒนาจิตใจด้วยการ วิปัสสนากรรมฐาน มักจะให้ ปัจฉิมโอวาท หรือให้โอวาทครั้งสุดท้ายก่อนปิดการอบรมการวิปัสสนากรรมฐาน คือ
    ประการที่ 1 ให้เกิดความภูมิใจต่อบุญกุศลและประสบการณ์ที่ได้รับจากการมาร่วมเข้าหลักสูตรวิปัสสนากรรมฐาน โดยคิดไปจนวันตายว่า ครั้งหนึ่งในชีวิตของเรา เราได้ประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรมอย่างไรบ้าง ปกติคนทั่วไป คนที่ไม่มีบุญ ทำได้ยาก แต่เราทำได้แล้ว เราสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวของเราเอง เป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตน เป็นเรื่องปัจจัตตัง เรามีโอกาสทำพร้อมกัน ทั้ง ให้ทาน รักษาศีล และ เจริญสมาธิ และปัญญาไปพร้อม ๆ กันในคราวเดียวกัน
    ประการที่ 2 อย่าได้ทอดทิ้งการปฏิบัติ เมื่อเรากลับไปที่บ้านของเราแล้ว ถ้าหากเราทอดทิ้งแล้ว สิ่งเหล่านี้จะหายไปหมด อย่าได้ทอดทิ้ง ถ้าเราไม่ทอดทิ้งการปฏิบัติของเราจะสืบต่อไปได้ ทำให้เกิดบุญกุศล เกิดความก้าวหน้าในชีวิตของเรา อย่างน้อยให้ปฏิบัติติดต่อกัน 2 ปี ให้เป็นนิสัย ก่อนนอน ตื่นนอน ครั้งละ 20 นาที ถึงครึ่งชั่วโมง วันใดไม่ว่างจริง ๆ ก็ชดเชยวันเสาร์และอาทิตย์เอาบ้างก็ได้ หรือในวันที่พอมีเวลา แต่ทำให้เป็นปกติ จะเป็นความสุขใจ เป็นบุญกุศล เป็นความก้าวหน้าในชีวิตของเรา โดยการหยุดความคิดทั้งปวงโดยการเจริญสมาธิ และควบคุมความคิดโดยการเจริญสติให้รู้เท่าทันในสิ่งที่ปรากฏ โดยการทำใจให้เป็นอุเบกขา จิตเราก็จะไม่ทุกข์โดยการตั้งเจตนา มีความตั้งใจด้วยความเพียร โดยมีสติตลอดเวลา ว่าเราจะคิดแต่สิ่งที่เป็นกุศล สิ่งที่ดี เพื่อจะได้พูดแต่สิ่งที่ดี ทำแต่สิ่งที่ดี และถูกต้องตลอดชีวิตที่เหลือของเรา
    ประการที่ 3 ให้แนะนำคนที่ควรแนะนำบ้าง ศาสนาของเราดำรงมั่นมาได้จนถึงปัจจุบัน ก็เพราะว่าปู่ย่าตาทวด บรรพบุรุษของเรา ภิกษุสงฆ์ ท่านแนะนำสั่งสอนกันมา ลูกหลานของเรา เพื่อนฝูงญาติมิตรของเราจึงได้รับพระพุทธศาสนา เข้าใจหลักธรรมที่นำไปปฏิบัติ ก็เนื่องมาจากว่าเราชาวพุทธช่วยกัน ถ้าเราไม่ช่วยกันแล้วใครจะช่วยศาสนาของเรา เราก็ต้องช่วยกันแนะนำ ทั้งการพูดและการเขียน แต่ขอย้ำว่า ให้แนะนำคนที่ควรแนะนำเท่านั้น ไม่ต้องแนะนำทุกคน เพราะคนบางคนไม่อยู่ในฐานะที่ควรแนะนำ แม้อยู่ใกล้ชิดกัน เพราะคนบางคนไม่อยู่ในฐานะที่ควรแนะนำ แม้อยู่ใกล้ชิดกัน อยู่ในบ้านเดียวกันกับเรา ญาติพี่น้องของเรา หรือผู้ที่เกี่ยวพันกับเรา ถ้ายังไม่ถึงเวลา ปล่อยเขาไปก่อน ให้แนะนำคนที่ควรแนะนำเท่านั้น อย่าพูดโกรธคนที่ไม่เชื่อคำแนะนำ เพราะบุญของเขายังไม่ถึงระดับ แม้พระพุทธเจ้าก็ทรงสอน เวไนยสัตว์ ซึ่งแปลว่า ผู้ที่ควรแนะนำ แม้พระพุทธเจ้าเองก็ทรงแนะนำผู้ที่ควรแนะนำ ทรงสอนผู้ที่ควรสอน ไม่ได้ทรงสอนทุกคน
    ประการที่ 4 ให้มีศีล 5 ตลอดชีวิต ศีล 5 ไม่เหลือวิสัยที่จะรักษาเป็นประจำ เราในฐานะเป็นชาวบ้าน อาจจะขาดบ้างก็อธิษฐานขึ้นใหม่ก็มีศีลตามเดิม เหมือนเมื่อเราสกปรกเราก็ล้างหรืออาบน้ำเสียใหม่ เราก็สะอาดตามเดิม เสื้อผ้าเราสกปรกเราซักเสีย เราก็มีเสื้อผ้าดีสวมใส่ตามเดิม ศีลของเราขาดไป อธิษฐานขึ้นใหม่ ไม่ต้องพบพระก็ได้ ก็เป็นศีลตามเดิม เพราะฉะนั้น ให้อยู่อย่างมีศีล อยู่อย่างสมภาคภูมิใจความเป็นชาวพุทธ เราอาจตั้งใจไว้ก็ได้ว่า วันใดไม่มีศีล วันนั้นไม่ออกจากบ้าน เพราะมันไม่เป็นมงคลก็ได้
    ประการที่ 5 ให้สวดมนต์ก่อนนอนทุกครั้ง วันใดถ้าไม่สวดมนต์อย่านอน มันไม่เป็นมงคล จะสวดมากสวดน้อยแล้วแต่มีเวลา มีเวลาน้อยก็สวดน้อย มีเวลามากก็สวดมากหน่อย แต่ไม่ควรสวดเป็นชั่วโมง อย่างมากก็ประมาณ 10
     
  8. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    [​IMG]


    ศากยบุตร

    ปุจฉา : จะมีวิธีสร้างวินัยให้เกิดขึ้นได้อย่างไร ทั้งต่อตนเองและหมู่คณะ

    วิสัชนา : ต้องเริ่มต้นจัดระเบียบของกาย จนเป็นระบบของความคิด ความหมายของการจัดระเบียบของกายคือเริ่มต้นจากเรื่องพื้น ๆ ใกล้ ๆ ตัวอาจจะมาจากการที่เราเคยใช้ของแบบสุรุ่ยสุร่าย ทิ้งไว้ไม่เป็นที่เป็นทาง ก็รู้จักเก็บให้เป็นที่เป็นทาง จะต้องรักษาสิ่งเหล่านั้นให้อยู่ คือมีอายุยืนยาวต่อการใช้สอย ปกติเคยอาบน้ำ ผลัดผ้า แล้วโยนกอง ก็หันไปเก็บพับหรือไม่ก็มาผึ่งถ้าไม่งั้นก็ซักเลย แล้วตากปกติลุกจากที่นอน เคยบิดขี้เกียจ ๓ ที ก็ลุกขึ้นมาอย่างกระฉับกระเฉงดื่มน้ำหนึ่งแก้วใหญ่ ๆ เสร็จแล้วก็ทำตัวทำชีวิตจิตวิญญาณให้สดชื่น แจ่มใส และตื่นขึ้นมาด้วยความเบิกบาน พร้อมกับหันไปเก็บที่นอนให้เรียบร้อยเหล่านี้เป็นการจัดระเบียบของกาย
    เมื่อเรารู้จักที่จะสร้างระเบียบให้กับกายอย่างนี้ ถือว่าเป็นการรักษากฎเกณฑ์ กติกา และวินัยของสังคมไปในตัว วินัยมี ๒ ประเภท ประการแรก คือวินัยโดยสามัญสำนึก เรียกว่า จริยา จริยาของการเป็นคน เป็นมนุษย์ หรือการมีชีวิต ประเภทที่สอง คือ วินัยโดยสังคมกำหนด ระเบียบ หรือกติกาใดๆ หรือกฎหมายใด ๆ เป็นเรื่องของสังคมกำหนด วินัยข้อที่สองนี้อยู่ห่างใกลตัวมาก ถ้าเราไม่สามารถปฏิบัติวินัยโดยสามัญสำนึกเราได้ เราก็จะปฏิเสธวินัยที่เป็นกติกาของนอกกาย เป็นวินัยของโลกของสังคม เราจะยอมรับมันไม่ได้ และ รู้สึกอึดอัดที่จะทำตาม แต่ถ้าเมื่อใดเราปฏิบัติ ทำตนให้เป็นคนมีวินัยโดยหลักการโดยสถานะที่จัดกาย วาจา ใจ ของตนให้เป็นระเบียบจนมีความคิดเป็นระบบก็จะยอมรับ และ เคารพต่อระเบียบวินัยของสังคม และก็คนอื่นๆ สำหรับในส่วนนี้คงจะต้องมีความละเอียดรอบคอบ จัดระเบียบของตัวเองให้ดีดังที่ท่านบอก

    วิธีทำบุญนั้นพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ๑๐ ประการ ๑ ใน ๑๐ ประการก็มีเพียงแค่บริจาคทาน ที่เหลือ ๙ ประการก็เริ่มจาก ทำดี ทำหน้าที่ถูกต้องไม่บกพร่อง แผ่เมตตา ทำบุญ ฟังธรรม และก็อุทิศผลบุญของตนเองให้กับคนอื่น สนับสนุนให้คนอื่นแสดงธรรมและฟังธรรม ทำสมาธิภาวนา และ รวมไปถึงกระบวนการเชื่อถ้อยฟังคำ รักษาหน้าที่ในการเป็นลูกที่ดี เป็นครอบครัวที่ดี เป็นผัวที่ดี เหล่านี้เป็นวิธีทำบุญ รวมความแล้วก็คือ ๙ ใน ๑๐ อย่างนั้น เป็นการทำบุญได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องลงทุน มีแค่ข้อเดียวก็คือ บริจาคทาน ซึ่งเป็นข้อแรกในวิะการทำบุญสิบอย่างการทำบุญของพวกนั้นเพิ่มต้นจาก ข้อแรกบริจาคทาน ข้อที่สองรักษาศีล ข้อที่สามเจริญภาวนา ข้อที่สี่แผ่เมตตา ข้อที่ห้าทำหน้าที่ถูกต้อง ข้อที่หกฟังธรรม ข้อที่เจ็ดสนับสนุนให้ผู้อื่นฟังธรรม ข้อที่แปดพยายามสร้างสัมมาทิฐิให้เกิดขึ้น สัมมาทิฐิตัวนี้ก็มีความเห็นที่ตรงและถูกต้อง และข้อที่เก้าเห็นคนอื่นเค้า ทำความดีแล้วก็อนุโมทนากับความดีของเค้าด้วย ดีใจกับเค้าด้วย ไม่ใช่อิจฉาตาร้อน ตาเหลือก ตาดำ ตาขาวแล้วก็ข้อสุดท้าย ข้อที่สิบคือ ต้องรู้จักเอื้ออาทรแบ่งปันและก็ให้อภัย เหล่านี้เป็นเรื่องเป็นราวในวิธีทำบุญสิบประการที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็นการทำให้เกิดบุญ
     
  9. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    คำสอนหลวงปู่ทวด
    พูดมาก เสียมาก พูดน้อย เสียน้อย
    ไม่พูด ไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตย์


    คำสอนหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    ให้หมั่นเข้าวัดทุกวัน...
    ให้เข้าไปดูในใจตัวเองว่า ขณะนี้เดี๋ยวนี้มันดีมันเลว แค่ไหน
    ไม่ต้องไปเข้าวัดไกล ๆ ที่ไหน ให้หมั่นเข้าไปวัดที่ใจตัวเอง บ่อยๆ


    คำสอนหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ
    เมื่อเข้าวัดแล้ว ก็ต้องสร้างพระกันด้วย อย่ามัวแต่สร้างพระภายนอก
    ให้สร้างพระภายในตัวเองขึ้นมา จะได้พึ่งตัวเองได้


    คำสอนหลวงตาม้า
    เมื่อสร้างพระได้แล้ว ให้อธิษฐานตั้งพระพุทธเจ้าไว้อยู่เหนือหัว
    มีหลวงปู่ทวดและหลวงปู่ดู่ อยู่ซ้ายขวาของพระพุทธเจ้า
     
  10. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    [​IMG]


    วิธีเจริญสมาธิภาวนา หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

    พระราชวุฒาจารย์(หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์


    วิธีเจริญสมาธิภาวนาตามแนวการสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล มีดังต่อไปนี้

    1. เริ่มต้นด้วยอิริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก
    ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว หรือรู้ "ตัว" อย่างเดียว
    รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้ "รู้อยู่เฉยๆ" ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม
    เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบสภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ
    จากนั้นค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีกจนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณาและรักษาจิตต่อไป
    ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน "พฤติแห่งจิต" โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร
    ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการ เจริญจิตครั้งต่อๆ ไป
    ในกรณีที่ไม่สามารทำเช่นนี้ได้ ให้ลองนึกคำว่า "พุทโธ" หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต
    พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง
    ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว
    เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้
    ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นไปสู่อารมณ์ทันที
    เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเอง ก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง
    ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ
    เจตจำนงนี้ คือ ตัว "ศีล"
    การบริกรรม "พุทโธ" เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป
    แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้ง ไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน
    ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่องถึงความชัดเจนและความไม่ขาดสายของพุทโธจะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ
    เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคยเปรียบไว้ว่ามีลักษณาการประหนึ่งบุรุษผู้หนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขน พร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่าถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย
    เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลาและบั่นทอนความศรัทธาของตนเองเลย
    เมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อยๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อยๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าวก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเอง เพราะคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อจิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบและคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึก และ "พฤติแห่งจิต" ที่ฐานนั้นๆ
    บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ

    2. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกิริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือกิเลสปรุงจิต)
    ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสามคือ ราคะ โทสะ โมหะ

    3. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไป ก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิต ให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน)
    ระวังจิตไม่ให้คิดถึงเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖

    4. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อยๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อยๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดับไปเรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยคิด

    5. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไปว่า ยังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามใช้สติ สังเกตดูที่จิต ทำความสงบอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจ พฤติแห่งจิต ได้อย่างละเอียดละออตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่าเกิดจากความคิดนั่นเอง และความคิดมันออกไปจากจิตนี่เอง ไปหาปรุงหาแต่งหาก่อหาเกิดไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้
    คำว่า แยกรูปถอด นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง

    6. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใดๆ ทั้งสิ้น จิตก็จะอยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใดๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น
    เรียกว่า "สมุจเฉทธรรมทั้งปวง"

    7. ใช้หนี้ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึกถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้นก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะ กรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีกไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า "พ้นเหตุเกิด"

    8. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร
    เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่าธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่าไม่มีธรรมนั่นแหละ มันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่ถูกรู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง)
    เมื่อจิตว่างจาก "พฤติ" ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซึมซาบอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน

    เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร

    เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพาน"
    โดยปกติ คำสอนธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล นั้นเป็นแบบ "ปริศนาธรรม" มิใช่เป็นการบรรยายธรรม ฉะนั้นคำสอนของท่านจึงสั้น จำกัดในความหมายของธรรม เพื่อไม่ให้เฝือหรือฟุ่มเฟือยมากนัก เพราะจะทำให้สับสน เมื่อผู้ใดเป็นผู้ปฏิบัติธรรม เขาย่อมเข้าใจได้เองว่า กิริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นนั้น มีมากมายหลายอย่าง ยากที่จะอธิบายให้ได้หมด ด้วยเหตุนั้น หลวงปู่ท่านจึงใช้คำว่า "พฤติของจิต" แทนกิริยาทั้งหลายเหล่านั้น

    คำว่า "ดูจิต อย่าส่งจิตออกนอก ทำญาณให้เห็นจิต" เหล่านี้ย่อมมีความหมายครอบคลุมไปทั้งหมดตลอดองค์ภาวนา แต่เพื่ออธิบายให้เป็นขั้นตอน จึงจัดเรียงให้ดูง่าย เข้าใจง่ายเท่านั้น หาได้จัดเรียงไปตามลำดับกระแสการเจริญจิตแต่อย่างใดไม่
    ท่านผู้มีจิตศรัทธาในทางปฏิบัติ เมื่อเจริญจิตภาวนาตามคำสอนแล้ว ตามธรรมดาการปฏิบัติในแนวนี้ ผู้ปฏิบัติจะค่อยๆ มีความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป เพราะมีการใส่ใจสังเกตและกำหนดรู้ "พฤติแห่งจิต" อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าหากเกิดปัญหาในระหว่างการ ปฏิบัติ ควรรีบเข้าหาครูบาอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระโดยเร็ว หากประมาทแล้วอาจผิดพลาดเป็นปัญหาตามมาภายหลังเพราะคำว่า "มรรคปฏิปทา" นั้น จะต้องอยู่ใน "มรรคจิต" เท่านั้น มิใช่มรรคภายนอกต่างๆ นานาเลย
    การเจริญจิตเข้าสู่ที่สุดแห่งทุกข์นั้น จะต้องถึงพร้อมด้วยวิสุทธิศีล วิสุทธิมรรค พร้อมทั้ง ๓ ทวาร คือ กาย วาจา ใจ จึงจะยังกิจให้ลุล่วงถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    พรรษาที่ ๑ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี<!--colorc--><!--/colorc-->

    ภายหลังจากพระมหาบุรุษตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แล้วพระองค์ทรงประทับเสวยวิมุตติสุข คือสุขอันเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลส อาสวะ และปวงทุกข์ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เป็นเวลา ๗ สัปดาห์จากนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินจากโพธิมณฑล ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี แคว้นกาสี ใช้เวลาเสด็จพุทธดำเนิน ๑๑ วัน เสด็จถึงป่าอิสิปตนฤคทายวันใน เวลาเย็นวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๘ ปีระกา
    พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา "ธัมมจักรกัปปนวัตตนสูตร" ทำให้เกิดมีปฐมสาวกและพระอริยบุคคลคือ พระอัญญาโกณฑัญญะ เกิดสังฆรัตนะ คำรบพระรัตนตรัย มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขึ้นโดยบริบูรณ์ ในวันเพ็ญเดือน ๘ อันเป็นที่มาขาองการบูชาในเดือน ๘ คือ"อาสฬบูชา"
    พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดปัจจวัคคีย์ ได้บรรลุพระอรหันต์ทั้ง ๕ องค์ จากนั้นทรงแสดงธรรมโปรดพระยสะภิกษุ สาวกองค์ที่ ๖ ของพระพุทธเจ้าได้บรรลุพระอรหัตถผล ครั้งนั้นมีบุตรเศรษฐีชาวเมืองพารณสี ๔ คน ซึ่งเป็นสหายรักของพระยสะ เข้าเฝ้าฟังธรรมได้อุปสมบท ๕๐ คน ได้สดับธรรมและอุปสมบทได้บรรลุพระอรหัตถผลด้วยกันทั้งหมด จึงเกิดมีพระอรหันต์รวมทั้งพระบรมศาสดาด้วย ๖๑ องค์
    ในตอนปลายพรรษาที่ ๑ พระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินไปยังดำบลอุรุเวลา ตำบลใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แคว้นมคธ อีกครั้งหนึ่งทรงทรมานอุรุเวลากัสสปด้วยอิทิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ จนอุรุเวลกัสสปผู้เป็นคณาจารย์ใหญ่ของนักบวชชฏิล ละทิ้งลัทธิบูชาไฟยอมมอบตัวเป็นพุทธสาวกขอบรรพชา ทำให้ชลฎิผู้น้องอีกสองคนพร้อมบริวารออกบวชตามด้วยทั้งหมด ครั้นบวชแล้วได้ฟังเทศนาอาทิตตปริยายสูตรจากพระพุทธเจ้าก็ได้สำเร็จพระอรหัต ทั้งสามพี่น้องคณาจารย์ชฏิลพร้อมด้วยบริวารทั้งหมดรวมหนึ่งพันองค์ จากนั้นพระบรมศาสดาได้เสด็จสู่พระนครราชคฤห์

    ที่มาhttp://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=1808

    [​IMG]
    [​IMG]


    [​IMG]


    ธัมเมกขสถูป เจดีย์ปฐมเทศนา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ที่พระพุทธองค์ทรงแสดง ปฐมเทศนา ด้วย ธัมมจักกัปปวัตนสูตร โกณฑัญญะ ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นโสดาปัตติผล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 กุมภาพันธ์ 2008
  12. ชิน9

    ชิน9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +247
    ขอร่วมทำบุญและขอร่วมอนุโมทนาบุญด้วยครับ

    ทำการโอนเงินจำนวน 1,000.00

    ธนาคารกรุงศรี สาขา ประตูนำ เวลา 15.22.44 08/02/2008

    ขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งที่ทำให้ได้ร่วมบุญครั้งนี้
     
  13. kittipongc

    kittipongc เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +3,648
    ได้รับพระแล้ว ขอบคุณมากครับ

    ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ
     
  14. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    [​IMG]

    [​IMG]

    ธัมเมกขสถูป บางทีเรียกว่า ธรรมมุขะ สร้างขึ้นสมัยราชวงศ์ คุปต์ มีความเชื่อว่าเป็นสถานที่สำคัญ 3 ประการคือ
    1 เชื่อว่าเป็นที่ประสูติ พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
    2 พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแสดงปฐมเทศนาที่นี้
    3 เป็นที่พระพุทธองค์ทรงประทานให้พระศรีอริยเมตไตรย เพื่อเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไปในอนาคต
     
  15. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293

    กราบขอบพระคุณและโมทนาในบุญที่ คุณชิน9 ได้บริจาคและเสียสละทรัพย์มาให้กับทุนนิธิฯนี้ โมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
    ถ้ามีเวลาว่างก็ขอเรียนเชิญไปร่วมงานบุญกันในวันที่ 17 ก.พ. 2551 นี้ เวลา 7.30 น ที่โรงพยาบาลสงฆ์ด้วยกันนะครับ
     
  16. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    [​IMG]


    [​IMG]

    ลวดลายการสลักหินทรายของ ธัมเมกขสถูป ที่พอหลงเหลือให้ได้ชมถึงความสวยงามและมีความหมาย ผ่านกาลเวลามาเป็น 2000 ปี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 กุมภาพันธ์ 2008
  17. natta_pea

    natta_pea เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    322
    ค่าพลัง:
    +1,515
    ได้รับพระแล้วครับคุณโสระ ขอขอบคุณมากครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
     
  18. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน นอกจากเป็นที่ ปฐมเทศนา ที่ธัมเมกขสถูป ยังมีสถูปที่สำคัญอีกหลายแห่ง สถูปที่จะขอกล่าวต่อไปคือ ธรรมราชิกสถูป เป็นที่พระพุทธองค์ ทรงเทศนาปัญจวัคคีย์อีก4 องค์ ให้บรรลุธรรมด้วย อนัตตลักขณสูตร ในความว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตาตามกฏแห่งสามัญลักษณะ

    [​IMG]

    สภาพ ธรรมราชิกสถูป ในปัจจุบันเหลือเพียงฐานเดิม เชื่อกันว่าเริ่มสร้างในสมัย พระเจ้าอโศก เป็นที่พระพุทธองค์ทรงแสดง ทุติยเทศนา ท่าน วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ ดวงตาเห็นธรรม
     
  19. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    สถูปที่สำคัญ อีกที่หนึ่งคือ ยสเจตียสถาน เป็นสถานที่ระลึกถึง พระยสกลุบุตร ผู้เป็นพระสงฆ์องค์ที่ 6 ต่อจากปัญจวัคคีย์ทั้ง5องค์ ยสกุลบุตร เป็นบุตรของเศรษฐีในเมืองพาราณสี เกิดความเบื่อหน่ายในฆราวาสวิสัย เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พระพุทธองค์ทรงกล่าวพระพุทธวจนะว่าที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง มาเถิดยสะ นั่งลง เราจักแสดงธรรมแก่เธอ พระพุทธองค์ทรงแสดง อนุปุพพิกถา คือ พรรณนาทาน สีลกถา คือ พรรณาศีล สัคคกถา คือ พรรณาสวรรค์ อาทีนวกถา คือ พรรณาโทษของกามทั้งหลาย เนกขัมมานิสังสกถา คือ พรรณาอนิสงค์ แห่งการออกจากกาม แล้วทรงแสดงอริยสัจ 4 รวมถึง มรรค8แด่ยสกุลบุตรได้บรรลุ เป็นพระโสดาบัน ณ ที่นั้น

    [​IMG]

    [​IMG]

    ยสเจตียสถาน สถูประลึกถึง ยสกุลบุตร ที่ได้บรรลุธรรม ณ ที่นี้ เป็นพระสงฆ์องค์ที่ 6 ท่านใดได้ไปกราบไหว้ให้ระลึกอธิษฐานถึงว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง
    [​IMG]

    สถูปแห่งนี้ผ่านกาลเวลามาเป็น2000 ปี ลายสลักหินทรายแดง ยังคงความสวยงามอ่อนช้อย เห็นถึงความเจริญและศัทธาในพุทธศาสนายุคพระเจ้าอโศกและสมัย คุปต์ ได้อย่างชัดเจน
     
  20. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    หลังจาก ยสกุลบุตร ดวงตาให้ธรรมบรรลุโสดาปติผล ได้ขอบวชกับพระพุทธองค์ จากนั้นพระยสได้พาสหายคฤหัสถ์อีกจำนวน 45 คน เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ทรงแสดง อนุปุพพิกถา และ แสดงอริยสัจ4 ทั้งหมดได้บรรลุอรหันต์ กราบทูลขอบรรพชา พระพุทธองค์ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา

    [​IMG]

    [​IMG]

    หมู่สถูปเจดีย์น้อยใหญ่ เรียงรายสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเหล่าพระอรหันต์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เป็นที่จำพรรษาแรกของพระพุทธองค์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 กุมภาพันธ์ 2008

แชร์หน้านี้

Loading...