ขอทำความเข้าใจเรื่องนิพพานหน่อยนะครับ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Tiger Dear's, 2 กรกฎาคม 2015.

  1. anan2099

    anan2099 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    405
    ค่าพลัง:
    +473
    ผมขอแสดงความเห็นสักหน่อยครับ
    ผมสนใจศึกษาธรรมะ แต่ผมอ่านหนังสือไม่ได้ อ่านแล้วจะง่วง
    ผมจึงใช้วิธีฟัง เป็นบุญของผมได้รู้จักพระรูปหนึ่ง ฟังเทศน์หลายๆครั้งจนเข้าใจธรรมะดีระดับหนึ่ง รู้เส้นทางที่จะเอาตัวรอด
    ท่านสอนว่า นิพพานอยู่ต่อหน้าของเราทุกๆคนแต่ไม่เห็น เพราะจิตไม่มีคุณภาพพอ จิตที่สามารถเห็นนิพพานได้คือจิตที่ปราศจากกิเลส ท่านสอนไตรสิกขาเพื่อดับกิเลส
    องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า
    นิพพานเป็นบรมสุข

    นี่คือความรู้ที่ผมมี และผมกำลังที่จะเริ่มเดินตามทางสู่นิพพาน
     
  2. คุณตุ๊ก

    คุณตุ๊ก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    127
    ค่าพลัง:
    +131
    การเข้าใจธรรมเป็นผลดีครับ อย่างน้อยก็ดีต่อท่านเอง

    แต่การไม่เคยกรุงเทพ แต่ไปเล่าชาวบ้านว่ากรุงเทพมีแต่ชื่อ ไม่มีจริง นี้ไม่ถูกนะครับ จะเป็นภัยแก่ตัว (หนักมาก)

    ครูบารอาจารย์ ให้ข้อสอบมาห้าข้อ คุณมาบอกทำข้อเดียวก็ผ่าน ไม่ต้องทำทั้งห้าข้อ คุณพยามบอกว่าครูบารอาจารย์สอนผืดหรือ?

    กรรมฐาน 40 กองคืออะไรครับ อย่าก็อปมาตอบนะครับเอาที่ท่านเข้าใจ เผื่อจะรู้ว่า ควรจะออกจากบ้านทางไหน ถึงจะไปกรุงเทพถูก
     
  3. Tiger Dear's

    Tiger Dear's MY HOMEWORK

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    842
    ค่าพลัง:
    +301
    กรรมฐานไม่ได้มีสี่สิบกองครับแต่มีนับ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน กองที่เป็นเช่นนี้คืออะไรผมจะอธิบายให้ฟังนะครับ กรรมฐานแปลว่าการกระทำที่ฐานคือจิต คือ กรรมฐานเป็นเรื่องของด้านจิตใจ จิตใจคนเรา ย่อมมีความต้องการมีความปรารถนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกามคุณทั้งห้า เมื่อมีความต้องการมีความปรารถนา บางทีก็ได้ บางทีก็ไม่ได้ หรือได้แล้วอยากได้ยิ่งๆขึ้นไปไม่มีที่สิ้นสุด จึงเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ อย่างนี้เรียกว่าพิจารณาธรรม แล้วพิจารณาธรรมอย่างเดียวมันกี่กองเข้าไปแล้ว ที่สำคัญที่พระพุทธทรงสอนภิกษุไม่ได้เน้นเรื่องกรรมฐานสี่สิบกองนั้นเลย แต่เน้นเรื่องสติปัฏฐาน 4 มี กาย เวทนา จิต ธรรม ถามว่าผมปฏิบัติไหมตอบว่าปฏิบัติสิ่งที่ได้รับคือ ผมตัดกามราคะได้หมดสิ้นแล้ว ยังเหลือแต่อวิชชา ถ้าละได้ก็สำเร็จอรหันต์ใช่ไหม ถามผมปฏิบัติเพื่ออะไร ตอบว่า เพื่อที่จะไม่ต้องเกิด ไม่มีตัวกูของกู อย่างที่ท่านพุทธทาสกล่าวไว้อยู่เสมอๆ ไม่มีตัวกูคือไร ตอบง่ายๆว่าไม่มีขันธ์ห้า ของกูคืออะไรก็ตอบเหมือนเดิมนั้นแหละว่าขันธ์ห้า ย่อๆนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กันยายน 2015
  4. Tiger Dear's

    Tiger Dear's MY HOMEWORK

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    842
    ค่าพลัง:
    +301
    ที่จริงไม่ชอบก็อบของใครวันนี้ก็อบเรื่องศีลให้ทุกท่านได้เข้าใจให้ตรงกันครับ ที่มา วิกิพีเดีย

    สีลัพพตปรามาส (บาลี: สีลพฺพตปรามาส) เป็นศัพท์ในพระไตรปิฎกเถรวาท หมายความถึงความยึดมั่นถือมั่นอยู่ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือศีลพรตภายนอกพระพุทธศาสนา หรือความยึดมั่นถือมั่นในการบำเพ็ญเพียงกายและวาจาตามหลักธรรมพระพุทธศาสนา (ศีล) ของตนว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ ซึ่งเป็นเหตุให้ละเลยการปฏิบัติทางด้านจิตใจหรือการใช้ปัญญาเพื่อหลุดพ้น[1]

    สีลัพพตปรามาสจัดเป็นความเห็นผิดหรือมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง[2] จัดเข้าในกลุ่มสังโยชน์ขั้นต้นที่พระอริยบุคคลระดับโสดาบันจะละความยึดมั่นเช่นนี้ได้[3]

    สีลัพพตปรามาสในพระไตรปิฎก ปรากฏทั้งในคัมภีร์สุตตันตปิฎกและอภิธรรมปิฎก โดยความหมายหลักของคำว่าศีลและพรตในศัพท์นี้ หมายถึงการปฏิบัติตามความเชื่อนอกพระพุทธศาสนา เช่น ความเชื่อในอำนาจบันดาลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือพระผู้เป็นเจ้า, ความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ที่เชื่อว่าการบำเพ็ญทุกกรกิริยาจะสามารถทำให้ผู้บำเพ็ญหลุดพ้นจากความทุกข์หรือหลุดพ้นจากอำนาจของกิเลสได้ หรือความเชื่อของลัทธิตันตระที่เชื่อว่าการมั่วสุมอยู่ในกามารมณ์จะสามารถทำให้หลุดพ้นจากทุกข์ได้[4] เป็นต้น

    นอกจากนี้ ความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาก็อาจถือว่าเป็นศีลพรตในสีลัพพตปรามาสได้ กล่าวคือความยึดมั่นถือมั่นว่าการบำเพ็ญศีลในทางพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์ของตนว่าเป็นสิ่งประเสริฐจนละเลยการปฏิบัติทางด้านจิตใจ และความเชื่ออย่างยึดมั่นถือมั่นว่าการบำเพ็ญเพียงแต่ศีลในพระพุทธศาสนาตามที่ตนยึดถือเพียงอย่างเดียวจะช่วยให้เป็นผู้บริสุทธิ์ได้ เช่น ความเชื่อว่าการถือศีลจะช่วยให้คนบริสุทธิ์ ซึ่งรวมไปถึงความเชื่อในการทานเจ หรือการปิดวาจา หรือความเชื่อในอำนาจอิทธิฤทธิ์บันดาลของพระพุทธรูปหรือพระสงฆ์เป็นต้น

    โดยสรุป สีลัพพตปรามาส คือความเชื่ออย่างเห็นผิดในอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายนอกตัว, ความยึดมั่นในความดีเพียงขั้นศีลของตน และความเชื่อว่าการบำเพ็ญทางกายวาจาเท่านั้นที่จะสามารถทำให้คนบริสุทธิ์จากกิเลสหรือหลุดพ้นได้ ความเห็นเหล่านี้ถูกจัดเป็นความเห็นที่ผิดพลาดในทางพระพุทธศาสนาเพราะเนื่องด้วยพระพุทธศาสนาเน้นเรื่องภายในจิตใจคือการหลุดพ้นด้วยปัญญาภายในเป็นสำคัญ[5] นอกจากนี้พระพุทธเจ้าตรัสหลักสีลัพพตปรามาสไว้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ปฏิบัติหลงผิดจากแนวทางหลักในพระพุทธศาสนา กล่าวคือไม่ให้มัวแต่หลงยึดมั่นแค่เพียงความบริสุทธิ์ของศีลที่มีเฉพาะด้านกายและวาจา โดยละเลยความบริสุทธิ์ด้านจิตใจไป ซึ่งความยึดมั่นถือมั่นเช่นนี้จัดเป็นอัสมิมานะซึ่งจัดเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง
     
  5. Tiger Dear's

    Tiger Dear's MY HOMEWORK

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    842
    ค่าพลัง:
    +301
    ตอนนี้ผมอยู่กรุงเทพครับ
     
  6. Tiger Dear's

    Tiger Dear's MY HOMEWORK

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    842
    ค่าพลัง:
    +301
    ตกลงไม่มีใครเข้าใจเรื่องพระนิพพานเลย เฮ้อ แล้วดันมาหาว่าเราเพ้ออีก
     
  7. พญายา

    พญายา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,265
    ค่าพลัง:
    +8,171
    เข้าถึงยาก ต้องลงมือปฏิบัติเอง ขนาดพระหลวงตา ยังไปสอนโยมว่ามันไม่มีหรอกโยม สวดมนต์ทำวัตรกันเฉยๆ ก็พอ
     

แชร์หน้านี้

Loading...