เล่าประสบการณ์ตรง และเทคนิควิธีการฝึกกสิณแสงสว่าง (จนถึงฌานสี่)

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย ณฐมณฑ์, 12 ตุลาคม 2004.

  1. tamsak

    tamsak ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2004
    โพสต์:
    7,857
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +161,171

    เคยอ่านจากหนังสือของหลวงพ่อเหมือนกันครับ แต่ก็ไม่ได้นึกถึง
    ขอบคุณที่นำมาบอกกล่าวและแนะนำให้ทราบกันครับ :cool:
     
  2. attasaro

    attasaro เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +140
    หวัดดีครับ เพิ่งมาใหม่ อยากรู้เหมือนกัน แต่ตอนนี้ก็ลองฝึก อาโลกสิณ อยู่นะครับ เดือนหน้าก็ว่าจะลองไปที่บ้านสายลมดู ที่นั่นจะมีใครที่บอกเราได้ไหมว่าฝึกอะไรดี (ดูชาติก่อนให้นะ) จะได้ฝึกถูก
     
  3. ปาริสัชชา

    ปาริสัชชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2004
    โพสต์:
    255
    ค่าพลัง:
    +2,693
    สังเกตุง่ายๆว่า กรรมฐานกองใดที่ปฏิบัติแล้ว จิตมีอาการเบาๆ โปร่งๆ สบายๆ มีความมั่นคงทางอารมภ์ ก็ใช้กรรมฐานกองนั้นนะครับ ... ขอให้เจริญในธรรมทุกๆท่านครับ :)
     
  4. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,880
    สวัสดีค่ะมิตรธรรมทุกท่าน
    ระยะหลังๆ มานี้คอมพิวเตอร์ดิฉันรวนๆ ประกอบกับด้านสุขภาพนั้นความดันต่ำก็มาทักทายทุกครั้งที่หลับไม่พอ แม้แต่ตอนนี้ก็ยังมึนๆ ศีรษะอยู่บ้างค่ะ
    ดิฉันจึงหายไปนานจากกระทู้นี้

    อย่างไรก็ตาม คิดว่าอีกไม่กี่หัวข้อย่อย กระทู้นี้ก็จะจบแล้วค่ะ เพราะดิฉันร่างหัวข้อคร่าวๆ ไว้ในใจและในคอมพิวเตอร์แล้ว
    ที่ผ่านมาดิฉันโทร.ไปขอให้พี่ปาริสัชชาช่วยดูแลกระทู้นี้แทนดิฉันไปก่อน เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ของดิฉันยังซ่อมไม่สมบูรณ์ (แม้นี้ก็ยังซ่อมไม่เสร็จดีค่ะ)

    ขอบคุณคุณจันทร์เจ้ามากๆ ที่ช่วยกู้บทความที่หายไปมาให้นะคะ
    ตอนนั้นคุณปาริสัชชาเข้าใจว่าระบบเทคนิคของเว็บบอร์ดผิดพลาดบางอย่างโดยใส่ชื่อสลับกันในบางข้อความน่ะค่ะ เพราะเมื่อปีก่อนก็เคยมีคนโพสต์แล้วชื่อเป็นอีกคนนึง
    งานนี้คุณจันทร์เจ้าช่วยดิฉันไว้มากเพราะดิฉันเองก็ไม่ได้เซฟข้อความที่ตนเขียนในบางหน้าไว้

    ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่าน
    และขอขอบคุณพี่ปาริสัชชาที่ดูแลกระทุ้แทนดิฉันในช่วงที่ดิฉันไม่อยู่นะคะ

    --------------------------------------
    หัวข้อต่อไปจะเป็น....
    1.ลักษณะของญาณ(ภาคต่อ)
    2.วิธีฝึกกสิณทางลัด(ในระดับหนึ่ง)ค่ะ
     
  5. อภิเดช

    อภิเดช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +910
    ผมได้นั่งอ่านตั้งแต่หน้า 1-8 อ่านแล้วรู้สึกเข้าใจง่ายและซาบซึ้งใจมากเลยครับ ทำให้รู้ถึงวิธีการปฏิบัติและช่วยคลายความสงสัยในหลายๆเรื่องได้อย่างดีทีเดียว ได้เห็นถึงความรักความเมตตาของหลายๆท่านที่คิดอยากจะช่วยเหลือผู้อื่นอย่างจริงใจ ทำให้รู้ว่ายังมีคนที่ปฏิบัติดีอยู่อีกมาก ทำให้ผมมีกำลังใจที่จะปฏิบัติต่อไปครับ ถึงแม้ตอนนี้ผมจะยังดีไม่พอ ขาดความตั้งใจจริง ยังไงชาตินี้ผมก็จะต้องเอาดีให้ได้ ช่วยเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ ตอนนี้ผมยังขาดพรหมวิหาร 4 อยู่ครับ กำลังพยายามอยู่ พอมาได้อ่านข้อความที่ทุกท่านช่วยกันเขียนช่วยกันตอบ ก็ทำให้ผมรู้สึกมีกำลังใจในการปฏิบัติมากขึ้นครับ ผมขออนุโมทนาในผลบุญนั้น ขอให้จงเป็นปัจจัยให้ทุกท่านได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยครับ สาธุ
     
  6. will

    will สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +1
    หลังจากอ่านบทความทั้งหมด ผมอยากจะฝึกกสิณแสงสว่างมากครับ แต่ไม่มีความรู้ในเรื่องพวกนี้เลย

    แล้วคำตอบที่มีก็ไม่ค่อยชัดเจนเลยครับ เลยขอรบกวนพี่ ๆช่วยอธิบายต่อความเขลาของผมอีกทีด้วยครับว่าต้องเริ่มยังไง แบบละเอียดครับเช่น แสงไฟที่ส่องลงมาที่แก้วหรือพระพุทธใสต้องสว่างขนาดไหน พื้นหลังจะต้องเป็นฉากสีขาวหรือไม่ เราต้องมองเห็นวัตถุใกล้ไกลขนาดไหน ขณะมองต้องภาวนาอะไรหรือไม่ แล้วมีอะไรบ้างที่ผมสมควรรู้ในฐานะที่เพิ่งเริ่มต้น

    ขอบคุณสำหรับคำตอบล่วงหน้าครับ

    ขอโทษสำหรับความยุ่งยากของผมด้วยครับ
     
  7. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,702
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,016


    มีสมาชิกอยู่ที่ USA ชื่นชอบที่คุณณฐมณฑ์ที่สอนเรื่องสมาธิครับ เขาศรัทธาคุณ ณฐมณฑ์ มาก
    เขาเอาที่คุณณฐมณฑ์ตอบในกระทู้ต่างๆในเว็ปพลังจิต ไปพิมพ์ แล้วเอาไว้ในหิ้งพระแล้วก็กราบก่อนนอน
    แล้วพิมพ์แจกญาติๆเขาที่ USA และ พิมพ์แจกตามวัดไทยในอเมริกา.
    และเป็นแรงดลใจ บรรดาลใจ ให้คนรุ่นใหม่ มาฝึกกรรมฐาน

    ใครมีเรื่องสมาธิอะไรให้มาโพสถามหน้าบอร์ด เพราะอาจจะเกิดปัญหาเดียวกับคนๆ อื่นจะได้อ่านได้...

    คุณณฐมณฑ์มีเวลาไม่มาก สมาชิกพยายามอย่าโพสถามอะไร คุณณฐมณฑ์ ทาง PM
    จะทำให้คุณ ณฐมณฑ์ใช้เวลามากและเสียเวลาไปกับแต่ละบุคคลมากเกินไป จะทำให้มีผลกระทู้ส่วนรวม.



    ขออนุโมทนาบุญกับคุณณฐมณฑ์ในการตั้งมั่นในพานชาตินี้นะครับ ขอให้บรรลุเป้าหมายครับ
     
  8. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,880
    เป็นกำลังใจให้นะคะ
    สำหรับเรื่องพรหมวิหาร ดิฉันพยายามคิดเวลาที่บางเวลาเผลอตกอยู่ในความโกรธ ดังนี้

    ดิฉันเตือนตนเองว่าดิฉันเป็นผู้รักความสุข อยากหนีความทุกข์
    ผู้คนทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น
    สัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นเดียวกัน
    รวมถึงคนที่เพิ่งเบียดเบียนจิตใจเราด้วย

    บางคนเดินหาความสุขด้วยทางที่งดงาม เช่น หาสุขบนทางธรรม
    บางคนเดินหาความสุขในทางที่ชอบ(ธรรม)บ้าง ไม่ชอบ(ธรรม)บ้าง
    บางคนเดินหาความสุขด้วยการเหยียบย่ำผู้อื่น เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
    แต่เขาก็ทำไปเพราะมีแรงขับของการอยากหนีทุกข์

    เราทั้งหลายตกอยู่ในภาวะของเพื่อนร่วมทุกข์
    คนทุกคนมีทุกข์เป็นเจ้าเรือนทั้งสิ้น หากเราคิดได้ เราไม่ควรไปเพิ่มทุกข์ให้ใครอีก

    เมื่อคิดเช่นนี้ทีไร ใจก็เบาขึ้นมากค่ะ

    ความเมตตานั้น คุณอภิเดชทำได้บ่อยๆ อยู่แล้ว
    เมื่อพื้นใจคุณมีความยินดีในความช่วยเหลือเกื้อกูลกันอย่างนี้ แสดงว่าพื้นใจคุณอ่อนโยนนะคะ
    เมื่อใจอ่อนโยน...มุทิตาก็เป็นข้อที่ง่ายมาก
    การที่พลอยยินดีในสุข ในความสำเร็จ และในความดีของผู้อื่นนั้น
    ทำให้ใจเราเบิกบานแบบไม่ต้องลงทุนอะไรเลย
    เมื่อผู้คนฝึกพรหมวิหารจนเป็นปรกติชีวิตประจำวัน
    ย่อมทราบว่าง่ายดายและเป็นมาตรฐานธรรมดาที่คนดีทำได้ทั้งนั้นค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กรกฎาคม 2005
  9. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,880
    เขลาอะไรกันคะ ผู้(เริ่ม)ปฏิบัติย่อมค่อยๆ เป็นผู้ที่เข้าสู่กระแสแห่งปัญญานะคะ
    1. พระพุทธรูปใส หรือลูกแก้วใสที่จะนำมาฝึกกสิณนั้น จะส่องแสงไฟหรือไม่ส่องก็ได้นะคะ
    ถ้าส่องแสงไฟก็เลือกขนาดแสงที่สบายตาค่ะ

    หลักเลือกวัตถุมาฝึกอุคหนิมิตรคือ เลือกที่สบายตา สบายใจ และผู้ฝึกมีใจรักเป็นใช้ได้ทั้งนั้นค่ะ

    2.พื้นหลังเป็นฉากอะไรก็ได้ที่ไม่กวนสายตา จะพื้นขาว พื้นดำได้ทั้งนั้น อย่าให้ฉากรกตาเป็นใช้ได้ค่ะ
    เพราะพื้นหลังรกๆ จะเกะกะสายตา ทำให้ฝึกจำภาพ (หรือภาษาตำราเรียกว่าเพ่ง)กสิณยาก

    3.มองใกล้-ไกลเพียงใดก็ได้อีกนั่นแหละค่ะ
    เลือกที่สบายตานั่นเอง
    ดิฉันมองในระยะ 1/2 เมตรถึง 2 เมตร ตามแต่อิริยาบถที่สบาย

    ส่วนรายละเอียดอื่นๆ นั้น ลองย้อนทบทวนกระทู้นี้ใหม่อีกทีนะคะ เข้าใจว่ามีรายละเอียดไว้มากแล้วค่ะ
    เจริญในธรรมนะคะ
     
  10. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ยินดียิ่งนะคะที่ข้อเขียนของดิฉันจะมีประโยชน์ต่อท่านผู้อ่าน
    ดิฉันกับคุณปาริสัชชาเคยคุยกันบ่อยๆ ว่าการแนะนำกรรมฐานนั้น
    แม้ว่าเขียนบนบอร์ดแล้วมีผู้ปฏิบัติจริงๆ เพียงท่านเดียว ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีเหลือเกินแล้ว
    เพราะผู้ปฏิบัติเพียงท่านเดียวนั้นจะไปสร้างประโยชน์กับครอบครัว กับสังคมที่ท่านนั้นเกี่ยวข้อง
    บางทีท่านนั้นอาจจะไปสอนใครอีกหลายคนในอนาคตก็ได้
    ทางธรรมเป็นทางสายดีงามอันจะขัดเกลาใจผู้ปฏิบัติให้มีสุขจากข้างในได้ง่ายขึ้นเรื่อยๆ
    และการมีโอกาสเกื้อกูลกันในทางธรรมย่อมให้ความสุขกับทุกฝ่าย

    ซึ่งในกรณีนี้ดิฉันปิติใจและรู้สึกขอบคุณที่สมาชิกท่านนั้นช่วยต่อยอดทางกุศลให้กว้างไกลออกไปเรื่อยๆ นะคะ
    ขอโมทนาในกุศลจิตของสมาชิกท่านนั้นค่ะ
    ดิฉันขอยืนยันว่าดิฉันเขียนด้วยความตั้งใจจริงเพื่อประโยชน์แก่ผู้อ่าน
    เพื่อบูชาความดีของพระพุทธเจ้าและหลวงพ่อ
    อีกเพื่อนอบน้อมใจแด่พระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ในอนาคตที่บัดนี้ท่านได้เริ่มปฏิบัติธรรมอีกชาติหนึ่งแล้ว

    และที่ดิฉันกล่าวนี้มิเกินความจริงเลยนะคะ
    มนุษย์ทุกผู้ทุกนามมีศักยภาพในการบรรลุธรรมทั้งสิ้น...เพียงแต่หากเขาจะลงมือ...
     
  11. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,880
  12. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ลักษณะของญาณโดยทั่วไป

    นอกจากการเห็นภาพหรือผุดรู้จากญาณโดยตรงในขณะที่หลับตาหรือลืมตาดังที่เคยเขียนไปแล้วนะคะ
    พบว่ายังมีการปรากฏของญาณในลักษณะอื่นด้วย คือ

    1.ความฝัน
    หลายท่านอาจมีประสบการณ์ฝันเห็นอดีต และประสบการณ์ฝันเห็นอนาคตแบบ dejuvu มาก่อนเริ่มฝึกกรรมฐานก็ได้
    อันนั้นเป็นญาณเดิมที่ติดตัวมาจากอดีตชาติค่ะ เพราะท่านเคยฝึกจิตมาหลายๆ ชาติในอดีตอันไกลโพ้น
    ขอให้มีกำลังใจว่าที่ท่านที่มีประสบการณ์ฝันเห็นอนาคตนั้น
    แสดงถึงแนวโน้มว่าท่านจะฝึกกรรมฐานในแนวทิพจักขุญาณได้สำเร็จในปัจจุบันชาติ
    หากท่านมีอิทธิบาทสี่นะคะ

    การฝึกฌานจะทำให้ฝันแม่นยำขึ้น มีสติในขณะหลับหรือในขณะฝันมากขึ้น
    ที่เป็นเช่นนั้นเพราะขณะหลับ จิตผ่านเข้าสู่ภาวะแบบช่วงอุปจารสมาธิ
    หรือบางทีจิตก็ถอดออกไปเองแบบมโนมยิทธิค่ะ ความเป็นทิพย์จึงมาปรากฏให้เห็นในขณะนั้น

    2.ภาวะกึ่งฝัน
    ภาวะกึ่งฝันนี้เกิดขึ้นในขณะที่กำลังจะหลับหรือกำลังจะตื่น แต่ยังรู้สึกตัวดีว่ายังไม่ได้หลับ
    ภาวะดังกล่าวเป็นภาวะที่จิตเข้าสู่อุปจารฌานเอง เห็นสิ่งใดช่วงนี้จะแม่นยำมากค่ะ
     
  13. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,880
    การวางระดับอารมณ์ใจขณะฝึกใช้ญาณ

    เมื่อผู้ปฏิบัติผ่านฌานสี่ของกสิณหรืออานาปานสติก็ตาม แล้วต้องการฝึกญาณ
    แต่ไม่ทราบจะลดระดับอารมณ์ใจมาที่อุปจารสมาธิอย่างไร
    ข้อนี้ ดิฉันเคยอธิบายในกระทู้กสิณแสงสว่างนี้ว่า...
    เมื่อถึงฌานสี่แล้วผู้ปฏิบัตินึกขอดูนิมิตร ระดับอารมณ์จิตจะลงมาที่อุปจารสมาธิเอง
    ทว่า หากท่านยังไม่เห็นภาพนิมิตรนะคะ ดิฉันมีรายละเอียดเพิ่มเติมให้ทราบดังนี้ค่ะ

    1. จำอารมณ์ตอนที่ฝึกอานาปานสติแล้วภาพนิมิตรลอยมาเองได้ไหมคะ
    แม้ว่านิมิตรลอยมาเองนั้นจะไม่ใช้นิมิตรใช้งาน และเป็นนิมิตรที่ควรเพิก
    แต่ถ้าจำอารมณ์ตอนที่นิมิตรลอยมาเองได้นะคะ ให้ใช้อารมณ์ใจสบาย แผ่วๆ แบบตอนเห็นนิมิตรลอยมาเองนั้นค่ะ
    แต่ให้ท่านทำในตอนที่ผ่านฌานสี่แล้วขอเห็นนิมิตรนะคะ

    2.ถ้าข้อหนึ่งยังชวนงงก็ข้ามไปนะคะ มาดูข้อสองนี้นะคะ
    การเห็นนิมิตรจะเห็นคล้ายๆ ว่าเห็นที่"หางตา"ค่ะ
    เพราะนั่นเป็นการใช้ใจมอง อย่าเพ่งด้วยลูกตา และใช้อารมณ์สบาย อย่าลังเลสสงสัยนะคะ

    3.ถ้าไม่เห็นเป็นภาพนิมิตร แต่ก็อาจผุดรู้ด้วยอารมณ์ใจขณะอยู่ในกรรมฐาน
    หากท่านผ่านฌานสี่แล้วลดระดับมาถามในอุปจารสมาธิค่ะ
    ให้เชื่อจิตแรกที่ผุดขึ้นมา อย่าคิดนะคะ เพราะอารมณ์คิดในสมาธิจะชักนำอุปาทาน

    4.เมื่อคล่องทิพจักขุญาณญาณมากขึ้น ส่วนใหญ่จะผุดเห็นเองในอารมณ์สบายระหว่างวันค่ะ
    นอกจากนี้ ยังมีเทคนิคใช้ญาณแบบฉุกเฉินที่พบจากประสบการณ์ (แต่ไม่สนับสนุนให้ใช้บ่อยๆ )นะคะ
    นั่นคือ ....
    4.1 ตั้งคำถามกับตนเองในหัวข้อง่ายๆ ที่ไม่ต้องการคำตอบยาวๆ
    4.2 ต้องทำใจให้ว่างปราศจากความคิดทั้งปวงสัก 3-4 วินาทีก็ได้ค่ะ
    4.3 แล้วใช้ใจนิ่งๆ ค่อยหยั่งถึงคำตอบว่าใช่-ไม่ใช่ เป็นต้น
    คำตอบแรกที่ผุดขึ้น แลท่านมีอารมณ์ใจมั่นคงว่าไม่เป็นอื่นนอกจากคำตอบที่จิตกระทบ
    คำตอบนั้นจะใช่ และจะแม่นยำอย่างน่าอัศจรรย์ค่ะ
     
  14. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,880
    กสิณโทษ

    ก่อนที่จะเขียนเรื่องเทคนิคการฝึกกสิณทางลัดทั้งสิบกอง ดิฉันจะขอกล่าวถึงกสิณโทษเท่าที่ทราบนะคะ

    กสิณโทษหมายถึง
    1.การเพ่งกสิณกองหนึ่ง แล้วเห็นดวงกสิณเป็นของกสิณอีกกองหนึ่ง
    2.ดวงกสิณที่เห็นมีตำหนิ เช่น เพ่งกสิณสีขาว แต่เห็นดวงกสิณเป็นสีขาวที่มีตรงกลางหรือตรงขอบเป็นสีดำ เป็นต้น
    3.ภาพดวงกสิณลอยมาให้เห็นเอง แบบนี้นักปฏิบัติจะไม่ใช่ค่ะ
    เราต้องเป็นผู้ควบคุมดวงกสิณที่เรากำลังฝึกเอง ดวงกสิณที่ลอยมาเองนั้นไม่ใช่ดวงกสิณที่เราควบคุมค่ะ
    ดังนั้น กสิณโทษเหล่านี้นักปฏิบัติจะต้องละเสีย

    วิธีละ หรือเพิกกสิณโทษทำได้โดยการ...
    1.ไม่สนใจดวงกสิณโทษนะคะ ถ้าหลับตาอยู่ให้ตั้งวงดวงกสิณเสียใหม่ในขณะที่หลับตาก็ได้
    (ตั้งดวงกสิณหรืออุคหนิมิตรใหม่ด้วยการใช้ความจำเจือด้วยจินตนาการเล็กน้อย)
    2.แต่ถ้าหากท่านหลับตาแล้วดวงกสิณโทษยังกวนใจ ก็ลืมตาแล้วตั้งดวงกสิณใหม่นะคะ
     
  15. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ความเข้าใจผิดบางประการที่ผู้สนใจฝึกกสิณแสงสว่างมักจะมี
    นั่นคือ
    บางท่านที่เลือกฝึกจากโคมไฟนั้น เมื่อมองดวงกลมของโคมไฟแล้วหลับตา
    ท่านนั้นก็อาจจะเห็นเป็นภาพดวงไฟลอยอยู่ในความมืดในเปลือกตาอย่างอัตโนมัติก็ได้
    อย่างนี้เป็นภาพติดตาเพราะแสงค่ะ ยังใช้ไม่ได้นะคะ เนื่องจากเป็นเพียงภาพติดตาจากระบบประสาทตา

    อุคหนิมิตรมาจากสัญญาหรือความจำถึงวัตถุที่เรานำมาใช้เพ่งกสิณค่ะ และบางทีก็เป็นความจำเจือด้วยจินตนาการเล็กน้อย
    เราควบคุมให้เกิดเป็นดวงกสิณเองได้ แบบนี้จึงเป็นอุคหนิมิตรค่ะ
     
  16. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ประสบการณ์ฝึกกสิณทั้งสิบกองแบบทางลัด

    เมื่อประมาณเมษายนที่ผ่านมา ดิฉันฝึกกสิณถึงฌานสี่ครบสิบกองแล้ว
    จึงแน่ใจว่าเทคนิคที่ใช้นี้ได้ผลดีค่ะ

    ก่อนอื่นจะต้องฝึกกสิณใดๆ ให้สำเร็จเป็นฌานสี่กองหนึ่งก่อน
    และสำเร็จฌานสี่ในกสิณกองนั้นยังไม่พอ
    แต่จะต้องฝึกจนคล่องตัวพอสมควรด้วย

    ความคล่องตัวคือ...
    การเข้ากสิณกองดังกล่าวได้เร็ว ควบคุมได้ดังใจดีพอสมควรจนถึงดีมาก

    สำหรับดิฉันฝึกกสิณแสงสว่างเป็นกองแรกในหมวดกสิณค่ะ
    มีความคล่องตัวในระดับหนึ่ง (ใช้เวลาเข้ากสิณประมาณวินาทีต้นๆ โดยเฉลี่ย)
    แต่ยังไม่ได้นวสีในตอนนี้

    ดิฉันมีเทคนิคที่จะใช้เวลาในการฝึกกสิณกองต่างๆ ที่เหลือให้ได้ฌานสี่ภายในไม่กี่วัน
    หรือภายในที่นั่งเดียว ดังนี้

    1.เมื่อฝึกกสิณกองแรกจนคล่อง (ดิฉันฝึกกสิณแสงสว่าง)
    ผู้ฝึกจะได้ดวงกสิณกลมๆ ที่จะควบคุมให้ผุดขึ้นมาด้วยใจได้ตลอดเวลา
    เป็นอุคหนิมิตรของกสิณกองแรกที่คล่องตัวแล้ว
    2.ไปในสถานที่ที่มีวัตถุให้มองสำหรับฝึก
    3.มองหรือตำราเรียกว่าเพ่งวัตถุนั้น
    4.จำภาพมาใส่ในวงกลมประจำตัวที่ควบคุมให้ผุดขึ้นมาได้ตลอดเวลานั้น

    ยังไม่จบหัวข้อย่อยนี้นะคะ แต่ดึกมากแล้ว ขอไปนอนก่อนค่ะ
    ถ้าพรุ่งนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ดิฉันยังใช้ได้ จะเข้ามาเขียนต่อค่ะ (วันนี้เครื่องรวนพอสมควร)
     
  17. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ประสบการณ์ฝึกกสิณทั้งสิบกองแบบทางลัด (ต่อ)

    ขอทวนเล็กน้อยในส่วนที่เขียนไว้คราวที่แล้วนะคะว่า

    ดิฉันมีเทคนิคที่จะใช้เวลาในการฝึกกสิณกองต่างๆ ที่เหลือให้ได้ฌานสี่ภายในไม่กี่วัน
    หรือภายในที่นั่งเดียว ดังนี้

    1.เมื่อฝึกกสิณกองแรกจนคล่อง (ดิฉันฝึกกสิณแสงสว่าง)
    ผู้ฝึกจะได้ดวงกสิณกลมๆ ที่จะควบคุมให้ผุดขึ้นมาด้วยใจได้ตลอดเวลา
    เป็นอุคหนิมิตรของกสิณกองแรกที่คล่องตัวแล้ว

    2.ไปในสถานที่ที่มีวัตถุให้มองสำหรับฝึก
    เช่น ผู้ฝึกต้องการฝึกกสิณดิน ก็ไปนั่งในบริเวณที่มีดิน เป็นต้น

    3.มองหรือตำราเรียกว่าเพ่งวัตถุนั้น
    เช่น มองดินด้วยอารมณ์สบาย (อย่าตั้งใจมากไปนะคะ เพราะอารมณ์จะหนักเกินไป)

    4.จำภาพมาใส่ในวงกลมประจำตัว
    (ที่ผู้ฝึกควบคุมให้ผุดขึ้นมาได้ตลอดเวลานั้นไว้นะคะ)

    ทำตาม 4 ข้อข้างต้น จะได้อุคหนิมิตรที่ฝึกต่อการฝึกปฏิภาคนิมิตรโดยลดขั้นตอนการหาวัตถุมาเพ่งแล้วฝึกทีละกอง กองละหลายๆ วันค่ะ
    ทั้งนี้ เพียงแต่เราทำกสิณกองแรกให้คล่องก่อน แล้วนำภาพวัตถุธาตุที่เพิ่งมองมาใส่ในวงกลมประจำตัวที่เราบังคับควบคุมได้อยู่แล้วนั่นเอง

    ก่อนที่จะทำ 4 ข้อข้างต้นได้นั้นจะต้องรู้ถึงภาวะธาตุหรืออารมณ์ใจที่ใช้ระลึกเมื่อฝึกกสิณกองต่างๆ ด้วยนะคะจึงจะได้อุคหนิมิตร

    ภาวะอารมณ์ใจที่ใช้ระลึกถึงธาตุแท้ของกสิณกองต่างๆ มีดังนี้

    1.กสิณดิน
    มองดินแล้วระลึกถึงความแข็ง หรือความเป็นแผ่นของธาตุดิน
    ให้จำสีดินพร้อมกับการระลึกรู้ถึงธาตุดิน
    แล้วนำมาใส่ในวงกลมที่ผู้ฝึกมีประจำตัวและควบคุมได้

    2.กสิณน้ำ
    มองน้ำแล้วระลึกถึงพลังความไหวกระเพื่อม หรือศักยภาพความกลิ้งได้ที่ซ่อนตัวอยู่ในความนิ่งของธาตุน้ำ
    ให้จำภาพน้ำนิ่งๆ ใสๆ พร้อมกับระลึกรู้ถึงความไหวกระเพื่อมหรือความกลิ้งได้ที่ซ่อนไว้ลึกๆ ของธาตุน้ำ
    แล้วนำมาใส่ในวงกลมที่ผู้ฝึกมีประจำตัวและควบคุมได้

    3.กสิณลม
    มองยอดไม้ไหว ปลายผมไหว ควันธูป ไอน้ำ หรือหมู่ไม้ที่ใบปลิวระบัดด้วยสายลม พร้อมกับระลึกรู้ถึงความไหวโดยสายลมโดยรวมนะคะ
    ให้จำภาพวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวที่มีลักษณะไหวๆ (อาจจะเป็นภาพพลิ้ววิบวับๆ ก็ได้)
    แล้วนำมาใส่ในวงกลมที่ผู้ฝึกมีประจำตัวและควบคุมได้นะคะ

    4.กสิณไฟ
    มองเปลวไฟจากเทียนหรือจากไฟทั่วไปใดๆ ก็ได้ที่ไม่ใช่ไฟฟ้า พร้อมกับระลึกรู้สึกความร้อนของธาตุไฟ
    ให้จำภาพสีส้มของเปลวไฟ แล้วนำมาใส่ในวงกลมที่ผู้ฝึกมีประจำตัวและควบคุมได้นั้นนะคะ

    (ยังมีต่อ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2005
  18. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,880
    (ต่อ)
    5.กสิณสีขาว
    มองสีขาวจากกระดาษที่ตัดเป็นรูปวงกลม
    (ขอแนะว่าควรติดกระดาษดังกล่าวไว้กับข้างฝาในระดับสายตา จะช่วยให้จำได้ง่ายค่ะ)
    หรือจะมองสีขาวจากฝาขวดกระปุกอะไรก็ได้ที่เป็นสีขาวเรียบ และฝานั้นมีขนาดใหญ่พอสมควร
    ให้จำสีขาวนั้นมาใส่ในวงกลมที่ผู้ฝึกมีประจำตัวและควบคุมได้นั้น

    6.กสิณสีแดง
    มองสีแดงจากกระดาษที่ตัดเป็นรูปวงกลม
    (ขอแนะว่าควรติดกระดาษดังกล่าวไว้กับข้างฝาในระดับสายตา จะช่วยให้จำได้ง่ายค่ะ)
    หรือจะมองสีแดงจากฝาขวดกระปุกอะไรก็ได้ที่เรียบ และฝานั้นมีขนาดใหญ่พอสมควร
    ให้จำสีแดงนั้นมาใส่ในวงกลมที่ผู้ฝึกมีประจำตัวและควบคุมได้นั้น

    7.นิลกสิณ
    มองสีเขียว หรือสีดำจากกระดาษที่ตัดเป็นรูปวงกลม
    (ขอแนะว่าควรติดกระดาษดังกล่าวไว้กับข้างฝาในระดับสายตา จะช่วยให้จำได้ง่ายค่ะ)
    หรือจะมองสีเขียว(หรือสีดำ)จากฝาขวดกระปุกอะไรก็ได้ที่เรียบ และฝานั้นมีขนาดใหญ่พอสมควร
    ให้จำสีเขียว(หรือสีดำ)นั้นมาใส่ในวงกลมที่ผู้ฝึกมีประจำตัวและควบคุมได้นั้น

    8.กสิณสีเหลือง
    มองสีเหลืองจากกระดาษที่ตัดเป็นรูปวงกลม
    (ขอแนะว่าควรติดกระดาษดังกล่าวไว้กับข้างฝาในระดับสายตา จะช่วยให้จำได้ง่ายค่ะ)
    หรือจะมองสีเหลืองจากฝาขวดกระปุกอะไรก็ได้ที่เรียบ และฝานั้นมีขนาดใหญ่พอสมควร
    ให้จำสีเหลืองนั้นมาใส่ในวงกลมที่ผู้ฝึกมีประจำตัวและควบคุมได้นั้น

    9.กสิณแสงสว่าง
    มองลูกแก้วหล่อ หรือหินทรงกลมใส หรือโคมไฟทรงพระจันทร์ หรือมองแสงที่ลอดจากฝาที่เป็นจุดแสงก็ได้ค่ะ พร้อมกับระลึกรู้ถึงแสงสว่าง
    แล้วให้จำแสงมาใส่ในวงกลมที่ผู้ฝึกมีประจำตัวและควบคุมได้นั้น
    (ภาพที่เป็นอุคหนิมิตรจะเป็นดวงแก้วใสๆ ค่ะ)

    10.กสิณอากาศ
    มองฟ้า พร้อมกับระลึกรู้ถึงความว่างในอากาศ
    แล้วให้จำภาพความว่างหรือท้องฟ้ามาใส่ในวงกลมที่ผู้ฝึกมีประจำตัวและควบคุมได้นั้น
    (ภาพที่เป็นอุคหนิมิตรจะเป็นสีขาวหรือสีฟ้าหรือใสๆ ไม่มีสีก็ไม่เป็นอะไรค่ะ แต่ต้องมีสติว่ากำลังฝึกกสิณอากาศอยู่นะคะ)

    หมายเหตุ

    คำว่า ระลึกรู้ ในที่นี่ เช่น "มองฟ้า พร้อมกับระลึกรู้ถึงความว่างในอากาศ"
    อย่าให้เป็นอารมณ์หนักจนถึงกับเป็นอารมณ์คิดนะคะ
    แต่ให้เป็นอารมณ์รู้สึก หรือเข้าใจมากกว่านะคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2005
  19. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ตัวอย่างการฝึกกสิณสีเขียวด้วยการแทนค่าสีเขียวลงไปในวงกลมประจำตัว

    กสิณกองที่ 2 ถัดจากที่ดิฉันฝึกกสิณแสงสว่างก็คือกสิณสีเขียวค่ะ
    ตอนนั้น ดิฉันได้อุคหนิมิตรของกสิณแสงสว่างคล่องมากแล้ว
    (จำเป็นต้องคล่องก่อนนะคะ)
    และคุมดวงกสิณจนเป็นปฏิภาคนิมิตรได้เป็นฌานสี่หยาบบ้าง ละเอียดบ้างแล้ว

    ดิฉันสังเกตุว่า นอกจากจะใช้ใจเราย่อ ขยายดวงกสิณที่เห็น(บนเปลือกตาเมื่อหลับตา)ได้แล้ว
    ยังทำให้เป็นหลายดวงก็ได้ จะใส่ลายจุด ลายน้ำ ลายริ้วอะไรลงไปก็ได้
    จะทำกรอบดวงกสิณเป็นเหลี่ยมหรือวงกลมก็ได้
    เคยลองทำกรอบดวงกสิณให้เป็นรูปหัวใจก็ยังได้ค่ะ (ฮา)
    อย่างนี้เรียกว่าคุมดวงกสิณได้แล้ว

    วันหนึ่งดิฉันไปนั่งพักผ่อน มองฟ้า มองต้นไม้
    ดิฉันเห็นใบตองเป็นแผ่นไม่แตก เขียวสดสวย
    มองแล้วสบายใจ ก็จำสีเขียวได้ทันทีค่ะ
    จากนั้นจึงหลับตาสร้างวงกลมขึ้นมา แต่แทนที่จะสร้างขึ้นเป็นดวงใสๆ แบบกสิณแสวสว่างดังเคย
    ก็สร้างดวงกลมสีเขียวขึ้นมาเพราะเพิ่งมองสีเขียวมา
    ผลคือสร้างดวงกสิณสีเขียวได้
    และได้ทุกครั้งที่ต้องการ เพราะว่าจำสีเขียวได้
    จากนั้น เมื่อทรงอารมณ์ฌานแบบกสิณก็เข้าถึงฌานสี่ นั่นคือดวงกสิณสีเขียวก็กลายเป็นประกายพฤกษ์ได้ค่ะ
    ทั้งนี้เพราะอารมณ์ฌานสี่ของกสิณกองอื่นๆ ก็เหมือนกองแรก
    เมื่อทำกองแรกได้แล้ว กองอื่นจะไม่ยากเลยค่ะ

    จากประสบการณ์ครั้งนั้นจึงพบว่า
    กสิณกองอื่นๆ ก็จะสามารถแทนค่าไปแบบนี้ได้
    และเมื่อฝึกกสิณกองอื่นต่อมาจริงๆ ก็พบว่าใช้ได้ผลอย่างรวดเร็วค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2005
  20. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,880
    จากข้อความ 4 ข้อความที่ผ่านมา (ตั้งแต่ข้อความที่ 252-255)
    เป็นการอธิบายถึงการรวบรัดขั้นตอนของอุคหนิมิตร
    กล่าวคือ ผู้ฝึกไม่จำเป็นต้องนำวัตถุมาตั้งไว้ดูนานๆ เสมอไปก็ได้ค่ะ
    เราอาจจะมองจากสภาพแวดล้อมใกล้ตัวที่หาได้ง่ายๆ
    หรือถ้ามีสัญญา(การจำได้หมายรู้)อยู่แล้ว
    ก็ให้นำความทรงจำถึงวัตถุที่จะใช้ฝึกกสิณนั้นๆ แทนค่าลงไปก็ใช้ได้ค่ะ

    ทั้งนี้ เรามองวัตถุเพื่อให้เราจำได้เสมอ
    สามารถนึกหรือเรียกเป็นภาพ(ด้วยใจ)ขึ้นมาได้เสมอเมื่อต้องการ
    อย่างนี้เรียกว่าอุคหนิมิตร

    อุคหนิมิตรเกิดจากสัญญาเจือจินตนาการเล็กน้อยนั่นเองค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2005

แชร์หน้านี้

Loading...