"กฎแห่งกรรมในพระไตรปิฎก" ครึ่งคน-ครึ่งเปรต

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 28 กรกฎาคม 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    กฎแห่งกรรมใน พระไตรปิฎก : ครึ่งคน ครึ่งเปรต

    ชีวิตของคนเราทุกคนตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของธรรมชาติ คนที่ปฏิบัติดีย่อมได้รับผลดี คนที่ปฏิบัติชั่วย่อมได้รับผลชั่ว หากเรา
    รักตัวเองก็ไม่ควรที่จะทำความชั่ว เพราะผลของมันจะสะท้อนกลับมาหาตัวผู้กระทำนั่นเอง ดังเรื่องกฎแห่งกรรมต่อไปนี้
    ในกรุงพาราณสีมีพรานคนหนึ่งอยู่ใน หมู่ บ้านจุนทัฏฐิละ เลยวาสภคาม ฝั่งแม่น้ำคงคาในอีกด้านทิศหนึ่ง เขาล่าเนื้อในป่าแล้วย่าง
    กิน ส่วนที่เหลือเอาใบไม้ห่อกลับบ้าน พวกเด็กเล็กๆ เห็นเขาที่หน้าหมู่บ้าน
    พากันวิ่งมาขอเนื้อ เขาก็ได้ให้เนื้อแก่เด็กเหล่านั้นคนละน้อย
    อยู่มาวันหนึ่ง พวกเด็กเห็นเขาที่หน้าหมู่บ้าน แต่ไม่มีเนื้อติดมือมาด้วย มีแต่ดอกราชพฤกษ์ที่หอบกลับมามากมาย เด็กๆ วิ่งเข้าไปขอ
    เนื้อจากเขาเหมือนเดิม แต่เขาได้ให้ดอกไม้แก่เด็กคนละดอก ต่อมาหลังจากเขาตายแล้ว ก็ไปบังเกิดใน หมู่ เปรต เป็นผู้เปลือยกาย
    มีรูปน่าเกลียดน่ากลัว ไม่รู้จักข้าว ไม่รู้จักน้ำ บนหัวมีดอกโกสุมและทัดด้วยดอกราชพฤกษ์ กลับไปหาพวกญาติของตนในจุน
    ทัฏฐิลคามเพื่อขอส่วนบุญ โดยเดินทวนกระแสน้ำคงคาที่ไหลอยู่ไม่ขาดสาย
    ขณะนั้นอำมาตย์ของพระเจ้าพิมพิสาร ชื่อว่า โกลิยะ ได้ปราบโจรที่กำเริบเสิบสานอยู่ชายแดนให้สงบแล้วก็กลับเข้าเมืองมาทางเรือ
    ตามกระแสแม่น้ำคงคา เห็นเปรตตัวนั้นกำลังเดินอยู่ จึงถามว่า

    “ดูก่อนเปรต ท่านเป็นผู้เปลือยกาย มีร่างกายเป็นเปรตครึ่งหนึ่ง ทัดดอกไม้ตกแต่งร่างกาย เดินไปตามน้ำที่ไหลไม่ขาด
    สายในแม่น้ำคงคานี้ ท่านจะไปไหนหรือ ที่อยู่ของท่านคือที่ไหน”

    เปรตกล่าวว่า ข้าพเจ้าจะไปบ้านจุนทัฏฐิละซึ่งอยู่ในระหว่างวาสภคามกับกรุงพาราณสี มหาอำมาตย์เห็นแล้วสงสารเปรต ดังนั้น เมื่อ
    เรือหยุดเดินจึงได้ให้ข้าวและผ้าแก่อุบาสกช่างกัลบก เพื่ออุทิศไปให้เปรต
    เปรตนั้นก็ได้ผ้านุ่งห่มทันที เพราะผลบุญที่มหาอำมาตย์ทำให้
    ต่อมาโกลิยมหาอำมาตย์มีจิตอยากจะช่วยเหลือเปรต จึงทำบุญอุทิศแก่เปรตไปเรื่อย จนกระทั่งเดินทางถึงกรุงพาราณสีในตอนเช้า
    ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาทางอากาศ ประทับยืนที่ฝั่งแม่น้ำคงคา เพื่อจะโปรดเปรต ฝ่ายโกลิยมหาอำมาตย์ลงจากเรือแล้วเกิด
    ความสุขใจ ได้นิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าให้มาฉันภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น

    เมื่อโกลิยมหาอำมาตย์ได้ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์ จึงให้สร้างมณฑปใหญ่ประดับประดาด้วยผ้าต่างชนิดอันวิจิตรด้วย
    สีย้อมต่างๆ ทั้งเบื้องบนและด้านข้างๆ ทั้ง ๔ ด้าน ปูอาสนะถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าในที่นั้น
    พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่ตบแต่งไว้แล้ว มหาอำมาตย์จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า บูชาสักการะด้วยของหอมและ
    ดอกไม้เป็นต้น แล้วกราบทูลคำที่ตนกล่าวและคำโต้ตอบของเปรตให้พระองค์ฟัง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า ขอให้สงฆ์จงมา
    ที่นี่ เพียงแค่ดำริเท่านั้นภิกษุสงฆ์ก็พากันมาแวดล้อมพระองค์ด้วยพุทธานุภาพ
    ในขณะนั้นเอง มหาชนพากันมาประชุมเพื่อจะฟังธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้า มหาอำมาตย์เห็นดังนั้นก็ยิ่งมีจิตเลื่อมใส ได้ถวาย
    ภัตตาหารอันประณีตแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ได้ทรงอธิษฐานว่า ขอ
    คนชาวบ้านใกล้กรุงพาราณสีจงประชุมกันเถิด มหาชนทั้งหมดก็ได้มาประชุมกันด้วยกำลังพระฤทธิ์ และพระองค์ได้ทำให้มหาอำมาตย์
    และประชาชนมองเห็นเปรตทั้งหลายที่มารอขอส่วน บุญ เปรตบางพวกนุ่งผ้าขี้ริ้วขาดรุ่งริ่ง บางพวกเปลือยกายมีผมยาวสยายปกคลุม
    ร่าง กระจายกันไปคนละทิศละทางเพื่อหาอาหาร บางพวก
    วิ่งไปไกลๆ ไม่ได้อาหารก็กลับมา บางพวกสลบล้มลงเพราะความหิวกระหาย นอนกลิ้งเกลือกบนพื้นดิน บางพวกล้มลงตรงแผ่นดินใน
    ที่ที่ตนวิ่งไปนั้น พร้อมกับร้องไห้ร่ำไรว่า

    “พวกเราทั้งหลายไม่ได้ทำกุศลไว้ในกาลก่อน จึงได้ถูกไฟคือความหิวความกระหายเผาอยู่ ดุจถูกไฟเผาในที่ร้อน เมื่อ
    ก่อนพวกเราชอบทำความชั่ว เมื่อมีทรัพย์สินเงินทองอยู่ก็ไม่ทำบุญทำทานไว้ ข้าวและน้ำก็มีมาก แต่เราก็ไม่เคยแจกจ่าย
    ให้ทานและไม่ได้ถวายอะไรๆ แก่บรรพชิตผู้ปฏิบัติชอบ ชอบทำแต่กรรมที่คนดีเขาไม่ทำ เกียจคร้าน ชอบแต่ความสำราญ
    และกินมาก ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าว่าลูกน้อง คนรับใช้เป็นประจำ ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นอาหาร บ้าน คนรับใช้
    ทรัพย์สมบัติเครื่องประดับต่างๆ ของเรา เมื่อเราตายแล้วก็เอามาด้วยไม่ได้ พวกเขาก็หนีไปรับใช้คนอื่นหมด พวกเราได้
    รับแต่ความทุกข์ เราจุติจากเปรตนี้แล้วจะไปเกิดในตระกูลอันต่ำช้าเลวทราม”

    ส่วนผู้ที่ทำบุญกุศลไว้ ไม่มีความตระหนี่ ย่อมไปเกิดบนสวรรค์ ย่อมมีสวนนันทวันอันสว่างไสว รื่นรมย์อยู่เวชยันตปราสาท อยากได้
    อะไรก็ได้ดังใจหวัง ครั้นจุติจาก เทวโลกแล้ว ย่อมเกิดในตระกูลสูง มีโภคะมาก คือในตระกูลคนมีเรือนยอด และปราสาทราชมณเฑียร
    มีบัลลังก์ลาดด้วยผ้าโกเชาว์ (ผ้าทำจากขนแพะ) มีเหล่าบุรุษและสตรีถือพัดอันประดับด้วยแววหางนกยูงคอยพัดให้ ในเวลาเป็นทารก
    ก็ทัดทรงดอกไม้ตกแต่งร่างกาย หมู่ญาติพี่เลี้ยงนางนมผลัดกันอุ้ม ไม่ต้องเอาเท้าแตะพื้นดิน มีผู้คนคอยเลี้ยงดูรับใช้อยู่ทั้งเช้าและ
    เย็นตลอดชาติ
    สวนนันทวันเป็นสวนใหญ่ของเทวดาเหล่าไตรทศ เป็นสถานที่ไม่มีความเศร้าโศก มีแต่ความน่ารื่นรมย์ ย่อมไม่มีแก่ชนผู้ไม่ได้ทำบุญ
    ไว้ ความสุขในโลกนี้และโลกหน้า ย่อมมีเฉพาะแต่คนผู้ทำบุญไว้ ผู้ปรารถนาความเป็นสหายแห่งเทวดาเหล่าไตรทศ พึงทำบุญกุศลไว้
    ให้มาก เพราะว่าบุคคลผู้ทำบุญไว้ย่อมบันเทิงใจอยู่ในสวรรค์เพียบพร้อมด้วยโภคสมบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโดย
    พิสดาร ตามควรแก่อัธยาศัยของมหาชนผู้ประชุมกันในที่นั้น หลังจากเทศน์จบ สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้ตรัสรู้ธรรม
    ความสุขความทุกข์อยู่ที่ตัวเราเป็นสำคัญ หากเราทำกรรมดี เราก็จะได้รับผลดีตามกฎเกณฑ์ของกฎธรรมชาติ การทำความดีไม่มีวัน
    สูญเปล่า ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในภพภูมิใดก็ตาม เราก็ประสบแต่สิ่งที่ดีมีความสุขอยู่ตลอดเวลา เมื่อเราได้เกิดมาในโลกนี้จึงไม่ควร
    ประมาท ต้องรีบสั่งสมกรรมดีไว้ให้มากๆ เราไม่รู้ว่าชีวิตเราจะสิ้นสุดวันไหน จะยังมีลมหายใจถึงวันพรุ่งนี้หรือไม่ ความดีจึงเป็นที่พึ่ง
    อย่างแท้จริงของเรา คนที่ทำความดีไว้มากเหมือนกับมีเสบียงมาก พร้อมที่จะออกเดินทางอยู่ตลอดเวลา ไม่หวั่นกลัวต่อความตาย
    ใดๆ ทั้งสิ้น คนสมัยใหม่จำนวนไม่น้อยที่ไม่เชื่อเรื่องชาติหน้า จึงไม่อยากจะทำความดี การพิสูจน์ว่าชาติหน้ามีหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่
    พิสูจน์ได้ยาก ผู้ที่ต้องการพิสูจน์ต้องลงมาปฏิบัติธรรมด้วยตนเอง เมื่อมีจิตสงบถึงระดับหนึ่งแล้ว จะรู้เองเห็นเองว่า ชาติหน้ามีจริง
    หรือไม่ อย่างไรก็ดีการทำความดีไว้ในชาติปัจจุบันก็ไม่เป็นการเสียเปล่าอย่างแน่นอน เพราะกรรมดีจะทำให้เรามีความสุขในชาตินี้ ถึง
    ชาติหน้าจะมีหรือไม่มี เราก็ยังได้รับผลดีอยู่นั่นเอง

    คัดลอกมาจาก กฎแห่งกรรมใน พระไตรปิฎก : ครึ่งคน ครึ่งเปรต
     
  2. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๖
    ๑. อภิชชมานเปตวัตถุ
    ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตเปลือย
    โกสิยมหาอำมาตย์ของพระเจ้าพิมพิสาร ถามเปรตตนหนึ่งว่า
    [๑๑๑] ดูกรเปรต ท่านเป็นผู้เปลือยกาย มีร่างกายเป็นเปรตกึ่งหนึ่งทัดทรง
    ดอกไม้ ตกแต่งร่างกาย เดินไปในน้ำอันไม่ขาดสายในแม่น้ำคงคานี้
    ท่านจักไปไหน ที่อยู่ของท่านอยู่ที่ไหน?
    เพื่อจะแสดงเนื้อความที่เปรตนั้น และโกสิยมหาอำมาตย์กล่าวแล้ว พระสังคีติกาจารย์
    จึงกล่าวคาถาความว่า
    เปรตนั้นกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักไปยังบ้านจุนทัฏฐิละ อันอยู่ในระหว่าง
    แห่งวาสภคามกับเมืองพาราณสี แต่บ้านนั้นอยู่ใกล้เมืองพาราณสี ก็มหา
    อำมาตย์อันปรากฏชื่อว่าโกลิยะเห็นเปรตนั้นแล้ว ได้ให้ข้าวสัตตูและคู่
    ผ้าสีเหลืองแก่เปรตนั้น เมื่อเรือหยุดเดิน ได้ให้ข้าวสัตตูและคู่ผ้าแก่
    อุบาสกเมื่อคู่ผ้าอันโกลิยะอำมาตย์ให้ช่างกัลบกแล้ว ผ้านุ่งผ้าห่มก็ปรากฏ
    แก่เปรตทันที ภายหลัง เปรตนั้นนุ่งห่มผ้าดีแล้ว ทัดทรงดอกไม้ตบแต่ง
    ร่างกายด้วยอาภรณ์ ทักษิณาย่อมเข้าไปสำเร็จแก่เปรตนั้น ผู้อยู่แล้วใน
    ที่นั้น เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้มีปัญญา พึงให้ทักษิณาบ่อยๆ เพื่อ
    อนุเคราะห์แก่เปรตทั้งหลาย เปรตเหล่าอื่น บางพวกนุ่งผ้าขี้ริ้วขาดรุ่งริ่ง
    บางพวกนุ่งผม หลีกไปสู่ทิศน้อยใหญ่เพื่อหาอาหาร บางพวกวิ่งไปแม้
    ในที่ไกลไม่ได้แล้วกลับมา บางพวกสลบแล้วเพราะความหิวกระหาย
    นอนกลิ้งไปบนพื้นดิน บางพวกล้มลงที่แผ่นดินในที่ตนวิ่งไปนั้นร้อง
    ไห้ร่ำไรว่า เมื่อก่อน เราทั้งหลายไม่ได้ทำกุศลไว้จึงได้ถูกไฟคือความหิว
    และความกระหายเผาอยู่ ดุจถูกไฟเผาแล้วในที่ร้อน เมื่อก่อน พวก
    เรามีธรรมอันลามก เป็นหญิงแม่เรือนมารดาทารกในตระกูล เมื่อ
    ไทยธรรมทั้งหลายมีอยู่ไม่กระทำพึงแก่ตน เออ ก็ข้าวและน้ำมีมาก แต่
    เราไม่กระทำการแจกจ่ายให้ทาน และไม่ได้ให้อะไรในบรรพชิตทั้งหลาย
    ผู้ปฏิบัติชอบ อยากทำแต่กรรมที่คนดีไม่พึงทำ เป็นคนเกียจคร้านใคร่แต่
    ความสำราญและของที่อร่อย กินมาก ให้แต่เพียงโภชนะก้อนหนึ่ง
    ด่าตัดพ้อปฏิคาหกผู้รับอาหาร เรือน พวกทาสีทาสาและผ้าอาภรณ์ของ
    เราเหล่านั้น ไม่สำเร็จประโยชน์แก่พวกเรา กลายเป็นของคนอื่นไป
    หมด เรามีแต่ส่วนแห่งทุกข์ เราจุติจากเปรตนี้แล้ว จักไปเกิดในตระกูล
    อันต่ำช้าเลวทราม คือ ตระกูลจักสาน ตระกูลช่างรถ ตระกูลนายพราน
    ตระกูลคนจัณฑาล ตระกูลคนกำพร้า ตระกูลช่างกัลบก นี้เป็นคติแห่ง
    ความตระหนี่ ส่วนทายกทั้งหลายผู้มีกุศลอันทำไว้แล้วในชาติก่อน
    ปราศจากความตระหนี่ ย่อมยังสวรรค์ให้บริบูรณ์ และย่อมยังนันทนวัน
    ให้สว่างไสวรื่นรมย์แล้วในเวชยันตปราสาทสำเร็จความปรารถนา ครั้น
    จุติจากเทวโลกแล้ว ย่อมเกิดในตระกูลสูง มีโภคะมาก คือ ในตระกูล
    แห่งบุคคลมีเรือนยอดและปราสาทราชมนเทียรมีบัลลังก์อันลาดแล้วด้วย
    ผ้าโกเชาว์ มีเหล่าบุรุษและสตรีถือพัดอันประดับแล้วด้วยแววหางนกยูง
    คอยพัดอยู่ ในเวลาเป็นทารกก็ทัดทรงดอกไม้ ตบแต่งร่างกาย หมู่
    ญาติและพี่เลี้ยงนางนมผลัดกันอุ้ม ไม่ต้องลงสู่พื้นดิน อันชนทั้งหลาย
    ผู้ปรารถนาความสุขเข้าไปบำรุงอยู่ทั้งเช้าและเย็นตลอดชาติ สวนใหญ่
    แห่งเทวดาชาวไตรทศเทพชื่อว่านันทนวัน อันเป็นสถานไม่เศร้าโศก
    น่ารื่นรมย์นี้ย่อมไม่มีแก่ชนทั้งหลายผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ ย่อมมีแต่เฉพาะ
    เหล่าชนผู้มีบุญอันทำไว้แล้วเท่านั้น ความสุขในโลกนี้และในปรโลก
    ย่อมไม่มีแก่เหล่าชนผู้ไม่ทำบุญ ความสุขในโลกนี้และโลกหน้า ย่อมมี
    เฉพาะแก่เหล่าชนผู้ทำบุญไว้ ผู้ปรารถนาความเป็นสหายแห่งเทวดาชาว
    ไตรทศเทพ พึงทำบุญกุศลไว้ให้มาก เพราะว่าบุคคลผู้ทำบุญไว้แล้ว
    ย่อมบันเทิงใจอยู่ในสวรรค์เพรียบพร้อมไปด้วยโภคสมบัติ.
    จบ อภิชชมานเปตวัตถุที่ ๑
     

แชร์หน้านี้

Loading...