การตำหนิผู้อื่น จะผิดหรือจะถูกก็เลวทั้งสิ้น พระพุทธเจ้าองค์ปฐม

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย คนหลงเงา, 31 ธันวาคม 2011.

  1. คนหลงเงา

    คนหลงเงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    71
    ค่าพลัง:
    +541
    การตำหนิผู้อื่น จะผิดหรือจะถูกก็เลวทั้งสิ้น
    ธรรมะมีแต่ปัจจุบัน รักษาอารมณ์ปัจจุบันให้ดีๆ สุข-ทุกข์พ้นได้ตรงนี้<O:p</O:p
    ความจำที่ไม่ดีเป็นพิษ เหมือนยาพิษ จิตเราก็ดื่มยาพิษ หากไปยึดเอาสัญญาที่ไม่ดีไว้<O:p</O:p
    คนอยู่รวมกัน ยังตัดกิเลสไม่ได้เสมอกัน ก็ย่อมหาความสุข-สงบไม่ได้ นี่เป็นเรื่องธรรมดา<O:p</O:p
    ให้รู้อารมณ์ของตนเองรบ ๑๐๐ ครั้ง ก็ชนะทั้ง ๑๐๐ ครา<O:p</O:p
    ทุกข์ของใจ ต้องฝืน เพราะใจเป็นเรา เป็นของเรา<O:p</O:p
    ใครกินเพราะอยากจึงเป็นกิเลส แต่ใครกินเพราะหิวเป็นพระธรรม<O:p</O:p
    ใจบ่นเมื่อไหร่ ผู้อื่นเขาก็ได้ยิน โดยเฉพาะเทวดา-นางฟ้า-พรหม และพระท่านได้ยินทุกครั้งที่ใจบ่น เพราะจิตเป็นภาษากลาง จิตคิด-นึกอะไรก็ถึงกันหมด<O:p</O:p
    สักกายทิฏฐิ แปลว่าทุกสิ่ง-ทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับร่างกาย
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าองค์ปฐม<O:p</O:p
    ............................<O:p</O:p
    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๑๖ เดือนตุลาคม ๒๕๔๖<O:p</O:p
    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p</O:p
    .............................<O:p</O:p

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๑๖ เดือนตุลาคม ๒๕๔๖<O:p</O:p


    <O:p</O:p


    <O:p</O:p



    <O:p</O:p
    สมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสสอนไว้ มีความสำคัญดังนี้
    <O:p</O:p
    ๑. จงทำใจตนเองให้สบาย ไม่ต้องกังวลกับอะไรทั้งหมดโดยอาศัยการแยกกาย-เวทนา-จิต (อารมณ์ของจิต) และธรรมว่ามันเกิด-ดับๆ เป็นสันตติภายนอก และสันตติภายในตลอดเวลา ผู้ที่ไปรู้ธรรมเหล่านั้นคือ จิต ซึ่งเป็นตัวเราที่แท้จริงผู้ใดปฏิบัติได้ ก็รู้เท่าทันกองสังขารแห่งกาย และกองสังขารแห่งจิตตลอดเวลา ธรรมจุดนี้ละเอียดมาก และทำให้ทรงตัวได้ยาก ต้องใช้ความเพียนขั้นสูงสุด ใครทำได้ก็เป็นพระอรหันต์
    <O:p</O:p
    ๒. อานาปาเป็นฐานใหญ่ในการทำจิตให้สงบ เมื่อยังมีชีวิตอยู่ จงอย่าทิ้งอานาปา พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ และพระอรหันต์ทุกองค์ ท่านก็ไม่ทิ้งอานาปา เพราะอานาปาช่วยระงับกายสังขาร หรือทุกขเวทนาของกายได้ ทำจิตให้เป็นรูปฌาน และอรูปฌานได้ แต่ไม่หลงติดอยู่อาศัยเพียงแค่ใช้ระงับเวทนาของกาย และใช้เป็นกำลังช่วยให้จิตพิจารณาตัดกิเลสให้หมดไปเพื่อเข้าสู่พระนิพพานเท่านั้นหมดกายแล้วก็หมดความจำเป็นต้องใช้
    <O:p</O:p
    ๓. จงตัดความกังวลในเวทนาลงเสีย เพราะเวทนาอาศัยกายอยู่ เมื่อเราแยกร่างกายออกเป็นธาตุ ๔ ก็ดี เป็นอาการ ๓๒ ก็ดี ก็จะเหลือแต่จิตเท่านั้น จะเอาเวทนามาจากไหน จุดนี้จักต้องล้างสัญญาออกจากจิตไปเสียด้วย คือ เพิกหรือลืม หรือทิ้งสัญญาไปในบัดดล ไม่คิด-ไม่จำ ล้างทั้งสังขารซึ่งเป็นอารมณ์ปรุงแต่งธรรมไปด้วยปัญญา คิดว่าธรรมดาของมันก็เป็นอยู่อย่างนั้นในเมื่อขันธ์ ๕ มันไม่ใช่เรา-ไม่ใช่ของเรา เราจะไปยึดมันทำไม ล้างทั้งสัญญาคือความจำ ความจำที่ไม่ดีเป็นพิษ เหมือนยาพิษ จิตเราก็ดื่มยาพิษ หากไปยึดเอาสัญญาที่ไม่ดีไว้ ส่วนสังขารอารมณ์ปรุงแต่งธรรมที่เป็นอกุศล ก็มาทำร้ายจิตตนเองอยู่เป็นประจำความจริงอารมณ์ปรุงแต่งก็คือ อุปาทานขันธ์ ๕ จิตหลงไปยึดเกาะขันธ์ ๕ ว่าเป็นเรา เป็นของเราตัวเราจริงๆ ก็คือจิต เป็นอมตะ ไม่เคยตายหากไม่เข้าใจธรรมจุดนี้ จิตก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลส-ตัณหา-อุปาทาน แล้วสร้างอกุศลกรรมมาทำร้ายจิตตนเองอยู่เสมอ
    <O:p</O:p
    ๔. เอกายโน ภิกขเว มรรคโค สัทธานัง วิสุทธิยา กายอื่นจิตอื่นไม่สามารถทำให้จิตใจของเราเป็นสุขสงบได้ มีแต่จิตใจของเราเองเท่านั้นที่เมื่อฝึกฝนดีแล้ว เป็นหนทางเดียว ที่จักยังความสุขสงบให้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง ดังนั้นในเมื่อคนอยู่รวมกัน ยังตัดกิเลสไม่ได้เสมอกัน ก็ย่อมหาความสุข-สงบไม่ได้ นี่เป็นเรื่องธรรมดาคนโง่ที่คิดบังคับจิตผู้อื่นให้มีความเห็นคล้อยตามเรา ยิ่งพวกโลกียชนยังไม่ถึงความเป็นพระอริยเจ้า จักให้คิดไปในทางเดียวกันไม่ได้
    <O:p</O:p
    ๕. อย่าไปคิดรบกับใคร ให้รบกับอารมณ์กิเลสของตนเองในจิตตนเอง ขอเพียงสักแต่ว่าให้รู้อารมณ์ของตนเองรบ ๑๐๐ ครั้ง ก็ชนะทั้ง ๑๐๐ ครา
    <O:p</O:p
    ๖. จงใช้ทุกข์ให้เป็นประโยชน์ ทุกข์กาย หรือทุกขสัจ เป็นเรื่องธรรมดาของผู้มีร่างกาย ทุกคนจะต้องพบคนโง่เท่านั้นที่เห็นทุกข์ของกายแล้วกอดทุกข์ เลยจมอยู่กับความทุกข์ เพราะขาดปัญญา แยกทุกข์กายกับทุกข์ใจออกจากกันไม่เป็น อาทิเช่น ปวดท้องขี้-ปวดท้องเยี่ยว และหิวเกิดกับคนทุกคน ซึ่งเป็นทุกข์ของกาย ฝืนไม่ได้ ยิ่งฝืนก็ยิ่งทุกข์เพิ่มขึ้น ส่วนทุกข์ของใจ ต้องฝืน เพราะใจเป็นเรา เป็นของเรา เช่นอยากกิน แต่กายไม่ได้หิว ใครกินเพราะอยากจึงเป็นกิเลส แต่ใครกินเพราะหิวเป็นพระธรรม
    <O:p</O:p
    ๗. การตำหนิผู้อื่น จะผิดหรือจะถูกก็เลวทั้งสิ้น เพราะเป็นการจุดไฟเผาใจตนเองโดยตรง หากใช้ปัญญาพิจารณาให้ดี ๆ จะพบว่าผิดกรรมบถ ๑๐ หมวดวาจา ๔ ด้วย ผิดพรหมวิหาร ๔ ขาดเมตตาจิตตนเองด้วยบุคคลโดยทั่วไปยังติดคำพูด ติดถูก-ติดผิด ติดดี-ติดเลว อันเป็นอุปาทานตัวยึดมั่นถือมั่นของจิตเพราะยึดติดสมมติสมมติแปลว่าไม่จริง จึงไปยึดเอาความไม่จริง-ความไม่เที่ยงเข้า จึงเท่ากับยึดความทุกข์ พระธรรมในข้อนี้จึงยากยิ่งในการปฏิบัติผู้ที่ปฏิบัติได้จิตทรงตัว จึงเป็นพระอรหันต์เท่านั้น
    <O:p</O:p
    ๘. การเจ็บ-ป่วยเป็นของธรรมดาของผู้มีร่างกาย ทั้งๆ ที่รู้ก็ยังอดเผลอ-บ่นทำจิตให้เศร้าหมองไม่ได้ หากจิตหยาบก็ใช้ปากบ่น ให้รำคาญหูผู้อื่น เบียดเบียนจิตตนเองไม่พอยังช่วยเบียดเบียนจิตผู้อื่นด้วย หากจิตละเอียดขึ้น ก็ใช้ใจบ่น โดยลืมไปว่าใจบ่นเมื่อไหร่ ผู้อื่นเขาก็ได้ยิน โดยเฉพาะเทวดา-นางฟ้า-พรหม และพระท่านได้ยินทุกครั้งที่ใจบ่น เพราะจิตเป็นภาษากลาง จิตคิด-นึกอะไรก็ถึงกันหมด
    <O:p</O:p
    ๙. ธรรมในพุทธศาสนา ต้องถูกกระทบก่อนจึงจักเป็นของจริง อุปสรรคของการปฏิบัติธรรม อยู่ที่กายเราคือ ขันธมาร และอยู่ที่จิตเราคือ กิเลสมาร ผู้มีปัญญาท่านใช้มารทั้ง ๒ เป็นเครื่องทดสอบอารมณ์จิตได้อย่างดี ธรรมเนียมของคนไทย เมื่อพบกันมักถามว่า สบายดีหรือ หากตอบว่า สบายดี ก็สอบตกทุกคน เพราะคนมีร่างกาย มันมีแต่ทุกข์ ทุกข์มากหรือทุกข์น้อยเท่านั้น โดยเฉพาะโรคหิวกำเริบมีกันทุกคน พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ชิคัทฉา ปรมาโรคา ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง (โรคะ แปลว่า เสียดแทง)
    <O:p</O:p
    ๑๐. โลกทั้งโลกไม่มีอะไรสุขจริง นี่คืออริยสัจพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ต่างบรรลุธรรมเป็นพระพุทธเจ้าได้ด้วยอริยสัจ ๔ และพระอรหันต์สาวกของพระองค์ทุกองค์ ก็บรรลุธรรมจบกิจเป็นพระอรหันต์ได้ก็ด้วยอริยสัจ มีทางนี้ทางเดียว ทางอื่นไม่มีนักปฏิบัติธรรมจึงไม่มีใครทิ้งอริยสัจ
    <O:p</O:p
    ๑๑. สุข-ทุกข์เกิด เพราะจิตเกาะยึดติดขันธ์ ๕ ว่าเป็นเรา เป็นของเรา หากวางอุปาทานขันธ์ ๕ ได้จุดเดียว ก็จบกิจในพุทธศาสนาหรือละสักกายทิฏฐิได้เด็ดขาด ก็จบกิจในพุทธศาสนา สักกายทิฏฐิ แปลว่าทุกสิ่ง-ทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับร่างกายมีพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น ที่ทรงทราบจริต-นิสัย และกรรมของแต่ละบุคคลได้สร้างกันมาไม่เสมอกัน และรู้วิธีสอนให้ตรงกับจริต-นิสัย และกรรมของแต่ละบุคคลได้ทุกคน โดยไม่มีคำว่าผิด-พลาด
    <O:p</O:p
    ๑๒. ทำใจให้สบาย จงอย่าไปกังวลกับพวกเล่นคุณไสย เพราะจักทำให้ยิ่งเป็นสื่อให้เขาโจมตีได้ง่าย โดยให้มีสติระลึกถึงอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นว่าไม่ใช่เรา-ไม่มีในเรา ให้พิจารณาและเพิกความรู้สึกลงเสีย โดยคิดว่าเป็นการขาดทุนในผลของการปฏิบัติธรรม และจงอย่าประมาท หมู่นี้พวกเล่นคุณไสยเข้ามาในวัดเยอะ ให้ระวังให้ดี คาถาป้องกันคุณไสยของสมเด็จองค์ปัจจุบันคือ อิติ-ติอิ สัมปติจฉามิ-สัมปจิตฉามิ คาถาป้องกันคุณไสยของสมเด็จองค์ปฐม คือ อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา ปัด-ตัด ทุกขัง-อนิจจัง-อนัตตา แล้วภาวนา คำว่า อนัตตาเข้าไว้
    <O:p</O:p
    ๑๓. รักษากำลังใจเข้าไว้ จงอย่าท้อถอยกับอุปสรรคทั้งปวง อะไรจักเกิดมันก็ต้องเกิด ให้ยอมรับนับถือ และเคารพในกฎของกรรม ซึ่งเที่ยงเสมอ และให้ผลไม่ผิดตัวด้วย กรรมใดที่เราไม่เคยก่อไว้ในอดีต วิบากกรรมย่อมไม่เกิดกับเราในปัจจุบันการกระทำทุกอย่างให้มุ่งหวังเพื่อพระนิพพานเป็นที่ไปเท่านั้น โดยเล็งเห็นว่าทุกสิ่ง-ทุกอย่างเป็นของธรรมดา
    <O:p</O:p
    ๑๔. ทำใจให้สงบ จงอย่าว้าวุ่นใจ แม้ว่าในขณะนี้อาการทางร่างกายจักไม่ดี ก็ต้องยอมรับนับถือว่ามันเป็นของธรรมดาของผู้มีร่างกาย ไม่มีใครจักหนีความแก่-ความป่วยไข้ไม่สบาย-ความตายไปได้ ในระหว่างที่ชีวิตของร่างกายยังอยู่ย่อมจักต้องกระทบกระทั่งกับอารมณ์พอใจบ้าง-ไม่พอใจบ้างเป็นธรรมดา และต้องพบกับความปรารถนาไม่สมหวังบ้างเป็นธรรมดาด้วยกันทุกคน เพราะที่สุดของโลกแล้ว ก็ไม่มีอะไรเหลือ จึงไม่มีใครสามารถเอาสมบัติของโลกไปได้ สมบัติของโลกที่เรารัก และหวงแหนที่สุดก็คือ ร่างกายที่จิตเราอาศัยอยู่ชั่วคราว เราก็เอาไปไม่ได้ ผู้มีปัญญาตถาคตตรัสสอนให้วางอุปาทานขันธ์ ๕ ตัวเดียว ก็ไปพระนิพพานได้ ให้ล้างใจเสียใหม่ ชำระความเกาะติดในร่างกาย และทุกขเวทนาของกายลงเสียให้หมด
    <O:p</O:p
    ๑๕. ทำใจให้สบาย เรื่องอื่นๆ ก็จักดีขึ้นเอง จงอย่าวิตกกังวลกับเรื่องอื่นใดทั้งปวง ให้รู้จักกำหนดปล่อยวางทุกเรื่อง-ทุกราวลงให้ได้ทุกขณะจิต ธรรมะมีแต่ปัจจุบันรักษาอารมณ์ปัจจุบันให้ดีๆ สุข-ทุกข์พ้นได้ตรงนี้ สุข-ทุกข์เกิดเพราะจิตเกาะติด หรืออิงขันธ์ ๕ หรืออิงอายตนะภายใน (ตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย-ใจ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ ๕ หรือสักกายทิฏฐินั่นเอง)
    <O:p</O:p
    ๑๖.ศัตรูของเราคือ อารมณ์จิตของเรา ทำร้ายจิตตนเอง ดังนั้นจงอย่าหาศัตรูนอกตัวเรา วันหนึ่งๆ ไม่มีใครมาทำร้ายเราได้มากเท่า อารมณ์จิตตนเองทำร้ายจิตตนเอง การที่จักพ้นภัยตนเอง พ้นได้ยากที่จุดนี้ พรหมวิหาร ๔ จึงเป็นธรรมปฏิบัติที่ละเอียดลึกซึ้ง-ปราณีต ยากที่บุคคลธรรมดาๆ จักพึงเข้าถึงได้ เพราะผู้ที่พ้นภัยตนเองได้ก็คือ พระอรหันต์
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
    <O:p</O:p</O:p
    .............................<O:p</O:p
    ที่มาของข้อมูล<O:p</O:p
    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๑๖ เดือนตุลาคม ๒๕๔๖<O:p</O:p
    หนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น ทุกเล่ม<O:p</O:p
    หาข้อมูลศึกษาได้จาก.......<O:p</O:p
    http://www.tangnipparn.com/page_book_all.html<O:p</O:p
    ต้องขอโมทนาทุกท่านที่ช่วยเผยแพร่ผลงานของพระพุทธเจ้าหรือหลวงพ่อหรือพระอริยเจ้าทั้งหลายในทุกรูปแบบทั้งทางหนังสือและอินเตอร์เน็ต<O:p</O:p
    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกๆท่านครับ<O:p</O:p
    …………………………………
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
     

แชร์หน้านี้

Loading...