การปฏิบัติทำให้เกิดสิ่งที่คนอื่นไม่รู้เยอะ..เหลือเชื่อ(ดร.หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล)

ในห้อง 'พุทธศาสนากับคนดัง' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 13 มกราคม 2011.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,657
    ดร.หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด การปฏิบัติทำให้เกิดสิ่งที่คนอื่นไม่รู้เยอะ เหลือเชื่อ


    [​IMG]


    หลักธรรมในพุทธศาสนา แท้จริงเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน ช่วยให้การงานต่าง ๆ เดินหน้าด้วยความราบรื่น มีความเจริญก้าวหน้า และมีทุกข์น้อยกว่าคนไม่รู้ธรรม

    ดร.หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นแบบอย่างของนักปฏิบัติธรรม ที่ใช้แนวทางสมาธิพุทธ กับการดำเนินชีวิตตั้งแต่วัยเด็ก จนก้าวสู่ตำแหน่งสูงสุดของสถาบันศาลปกครอง ซึ่งน่าจะเป็นแบบอย่างที่จะช่วยคลายความสงสัย ไม่เข้าใจของคนบางกลุ่ม เกิดมุมมองใหม่ในการสร้างความสุขให้กับชีวิต ที่ไม่ผูกติดกับความหลงใด ๆ

    ท่านประธานศาลปกครองสูงสุด เปิดห้องทำงานที่เต็ม ไปด้วยพระพุทธรูป เพื่อตอบข้อถามในประเด็นการปฏิบัติธรรมอย่างเป็นกันเอง โดยเล่าว่า ใกล้ชิดกับพุทธศาสนาตั้งแต่เด็ก เพราะเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดสระเกศ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย อาศัยข้าวก้นบาตรกับพระสงฆ์ คณะ 5 และอุปสมบทที่วัดนั้น โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เป็นพระอุปัชฌาย์ เท่ากับว่าอยู่ในแวดวงพระภิกษุสงฆ์ผู้ปฏิบัติชอบมาโดยตลอด เย็นลงก็สวดมนต์ ทำวัตร และฝึกปฏิบัติสมาธิ นอกจากนั้นก็ยังสนใจไปศึกษาแนวปฏิบัติของอีกหลายสำนัก เช่น วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ราชวรมหาวิหาร เขตพระนคร

    “แต่ที่จริงจัง คือตอนเรียนหนังสือที่เมืองนอก ช่วงนั้นจะว่าไม่มีครูก็ไม่ใช่ มีก็ไม่เชิง ผมอ่านหนังสืออานาปานสติภาวนา ของท่านพุทธทาสภิกขุ ตอนนั้นเป็นช่วงปฏิบัติที่เข้ม ข้นมาก ตลอด 11 ปีที่อยู่ต่างประเทศ ขาดการปฏิบัติน้อย มีเฉพาะช่วงป่วยอยู่สองวัน อ่านหนังสือดึกแค่ไหนก็ปฏิบัติ และช่วยให้เกิดสมาธิ มีสติในการอ่านหนังสือ เพราะเรียนภาษาที่ไม่ใช่ภาษาแม่ ทั้งต้องอ่านเยอะ จากนั้นก็ใช้กับการทำงาน ซึ่งได้ประสบการณ์หลายอย่าง แต่เป็นการรู้เฉพาะตน”

    ถึงตอนนี้ ท่านประธานศาลปกครองสูงสุดขยายความว่า การปฏิบัติอานาปานสติ เป็นแนวที่ผ่อนคลาย ที่มิใช่เฉพาะชาวพุทธเท่านั้น เป็นหลักสากลที่คนทั่วไปจะรู้วิธีหรือไม่รู้ ก็ปฏิบัติได้เพราะช่วยให้ไม่เครียด มีจิตเป็นสมาธิ

    นอกจากการปฏิบัติแนวอานาปานสติ ดร.หัสวุฒิ เล่าว่าบางครั้งก็เพ่งกสิณ (สมถกรรมฐานหมวดว่าด้วยอารมณ์ที่กําหนด ธาตุ 4 คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (นํ้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม) หรือว่าด้วยวรรณะ (สี) 4 นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว)) แต่มิใช่การแสวงหาสิ่งใหม่ เพราะมีแนวทางชัดเจน คือการใช้สมาธิประกอบสติ ในการพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ให้เห็นสัจธรรมของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่ควรยึดติดอะไรมากมาย เหมือนสังขาร มีเกิดแล้วก็ตาย ในที่สุดสิ่งนี้ก็จะมาถึงตัวเรา

    “ทุกวันนี้ใช้ปัญญามากกว่า ผมไม่ค่อยมีเวลานั่งสมาธิ เพราะบางวันทำงานถึงตีสอง บางวันนอนตีสี่ ตื่นหกโมงเช้า ก็ทำตอนนั่งรถมาทำงานสักหนึ่งชั่วโมงหรือครึ่งชั่วโมง สมาธินั้น ทำได้ทุกขณะจิต มีสติตลอดเวลา แม้ขณะพูดก็ต้องรู้ว่าจะพูดอะไรออกมา หากมีสิ่งใดมากระทบใจก็รู้ทัน ซึ่งก็คงไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่ถึงขั้นไม่โกรธ แต่ก็ระงับได้”

    เราตั้งคำถามว่า การปฏิบัติธรรม มุ่งปฏิบัติสมาธิ มีสติกำกับอยู่เสมอ จะทำให้ความทะเยอทะยานลดลง กลายเป็นคนเฉื่อยชา หรือไม่ ดร.หัสวุฒิ ซึ่งก้าวมาสู่จุดสูงสุดในหน้าที่การงานบอกเราว่าไม่จริง เพราะการปฏิบัติทำให้ลดกิเลส คือความอยาก โดยปกติถ้ามีความต้องการแล้วไม่ได้ ก็ทำให้เกิดทุกข์ ฉะนั้นเมื่อปฏิบัติธรรม เราก็รู้สัจธรรมว่าไม่ได้ ก็คือไม่ได้ เป็นปกติธรรมดา ใจก็ไม่เป็นทุกข์ ไม่มีกิเลส ส่วนเรื่องหน้าที่การงานเป็นคนละส่วน เมื่อมีหน้าที่ก็ต้องทำให้สมบูรณ์ ไม่งั้นอาจมีผลตามมากับตัวเราเอง แต่ต้องไม่ยินดียินร้าย งานที่เป็นหน้าที่ ต้องทำอย่างจริงจัง ไม่ใช่สักแต่ทำ สักแต่หลับตาปล่อยจิตไปไหนก็ช่าง ไม่ใช่ไม่ รับผิดชอบงานในหน้าที่ ผู้ปฏิบัติธรรมต้องรู้หน้าที่และปฏิบัติของตนให้สมบูรณ์ ครบถ้วน สำหรับกุศโลบายที่ นำมาแนะนำกับผู้ใต้บังคับบัญชา ก็คือการแนะนำว่า ไม่ว่าเราจะทำอะไร สิ่งศักดิ์ สิทธิ์จะรู้เห็น จะหลอกคน อื่นไม่ได้ การทำงานในองค์ กรก็เหมือนอยู่บ้านตัวเอง ถ้าช่วยกันทำให้ดีบ้าน นี้ก็ น่าอยู่

    นอกจากนี้ ทราบว่า ท่านประธานหัสวุฒิ เคยร่วมฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน กับมูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐานในพระสังฆราชูป ถัมภ์ ที่สอนโดย อาจารย์โกเอ็นก้า ได้รับคำชี้แจงว่า มีคนที่ปฏิบัติแล้วมาชวนให้ไปลองศึกษา ใช้เวลาสิบวัน ซึ่งได้หลักการที่ดี มีสิ่งที่ เห็นว่าควรนำมาเป็นแบบอย่าง คือ ทุกคนต้องเข้า สู่กฎระเบียบ ระหว่างการปฏิบัติต้องไม่คุยกัน ต่างคนต่างอยู่ มีหลักสูตรที่เป็น ระบบ ไม่ใช่แค่เดินเข้าไปแล้วไม่มีอะไรติดออกมา โดย ดร.หัสวุฒิ เห็นว่า แนวทางนี้เป็นไปได้ โดยช่วงแรกเป็นการฝึกสมาธิ ช่วงสองเน้นวิปัสสนา พระพุทธองค์ก็สอนว่ามีหลายสิบวิธี แล้วแต่จริตของใคร หลักการของสำนักนี้ เน้นการดูเวทนาในกาย ฝึกสมาธิ ทำให้จิตแหลมคม เอาจิตไปพิจารณาการเกิดดับที่กาย เป็นตรรกะที่ทำให้เห็นว่าเป็นไปได้ เช่น เห็นเวทนา ซึ่งเป็นทุกข์ตัวหนึ่ง เกิดแล้ววางเฉยก็ดับ กิเลสเก่าขึ้นมา ก็ใช้สติอย่างเดียวกัน ไม่ใส่ใจ ดูธรรมชาติของมันจนกิเลสออกมาจนหมด แม้ไม่บรรลุธรรมก็สามารถดำรงชีวิตวางตนได้ ไม่ถูกภายนอกเข้ามากระทบจิตและเศร้าหมอง

    สำหรับข้อธรรมที่บุคคลทั่วไปควรนำไปปรับใช้ ดร.หัสวุฒิแนะนำว่า แล้วแต่สถานการณ์ มีสติ เอาใจคนอื่นมาใส่ใจเรา สิ่งใดเราไม่ชอบคนอื่นก็ไม่ชอบเช่นกัน ต้องมีเมตตา ให้โอกาสทุกคน ส่วนความสุขต้องเกิดจากในตัวของเราเอง จะหวังจากภายนอกคงไม่ได้ เพราะสิ่งที่เกิดจากภายนอก เป็นความพอใจเดี๋ยวเดียวก็หมดไป ความสุขนั้นเกิดจากการปฏิบัติธรรม เช่น ลดละสิ่งต่าง ๆ ได้ จะทำให้สบายใจ คนอื่นอาจไม่สบายด้วย แต่เราจะรู้สึกดี สิ่งต่าง ๆ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมและดับไป เราได้ของใหม่สวยเดี๋ยวเดียวก็เหี่ยว เน่า สิ่งเหล่านี้ แม้คนปฏิบัติธรรมแล้วยังติดกับความสุขสบายภายนอก แต่ก็จะน้อยกว่าคนไม่ได้ปฏิบัติ

    ในฐานะที่ปฏิบัติธรรมมานาน และฝึกด้วยตนเอง ระหว่างอยู่ต่างประเทศ เราขอให้ท่านแนะนำสำหรับคนทั่วไปที่ต้องการเริ่มต้นว่าควรทำอย่างไร คำตอบก็คือ หากสนใจจะซื้อหนังสือมาฝึกหัดปฏิบัติก็ได้ แต่ถ้าไม่อยากอ่านให้มีผู้รู้สอน ก็ได้ แต่คนส่วนใหญ่มักเริ่มปฏิบัติเมื่อมีทุกข์ จึงไม่ได้ละวางสิ่งที่เป็นทุกข์ จึงควรไปปฏิบัติขณะที่เป็นปกติ ไม่ใช่เรื่องยาก ผลที่ได้ จะทำให้ใจเรานิ่งสงบ จะเกิดความสุข ไม่ต้องคิดเรื่องสารพัด คนฝึกใหม่อาจนิ่งอยู่ได้ไม่นาน ก็ไม่เป็นไร เพราะจิตคนเหมือนนก อยากบิน ก็บิน เราไม่เคยจับ จะบินจะคิดเรื่องร้อยแปดเราก็ปล่อยไม่เคยจัดการ แต่การฝึกเปรียบได้กับการผูกขาดให้เกาะอยู่กับขอนไม้ ไม่บิน นกจะเตลิดบิน แต่มันก็จะถูกดึงกลับมาที่เดิม คนเราที่ไม่รู้เพราะขาดสติ เมื่อเริมฝึก ก็ดึงจิตที่บินหรือไม่นิ่ง ก็จะดึงกลับมาได้ จาก 5 นาทีมันเตลิดไป 20 ครั้ง เมื่อเราดึงกลับมา ก็อาจจะเหลือแค่ 5 ครั้ง สักระยะหนึ่งก็จะคุ้น การฝึกก็ใช้หลักอานาปานสติ หรือการกำหนดลมหายใจ ตามดูลมหายใจจากจมูกเข้าสู่ช่องท้อง เราดูแค่ลมหายใจเข้าหรือออก ให้จิตอยู่จุดเดียวไม่วอกแวก พอนิ่งได้ 5 นาที เราก็ขยายเป็น 10 เป็น 15 นาทีหรือนานกว่านั้นได้ ทีนี้ เราก็ใช้ประโยชน์ได้ อ่านหนังสือนาน ๆ ได้ เมื่อเรามีสมาธิก็เอาจิตที่แหลมคมพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อ่านหนังสือก็จำได้

    ถึงจะปฏิบัติมานาน และส่วนใหญ่ฝึกด้วยตนเอง แต่ ดร.หัสวุฒิ มีคำแนะนำว่า การปฏิบัติทำให้เกิดสิ่งที่คนอื่นไม่รู้อีกเยอะ การปฏิบัติที่ไม่มีครูจึงอาจมีอันตราย ที่สำคัญต้องมีสติ รู้ว่ากำลังทำสิ่งใด หรือเห็นนิมิตใดก็ให้รู้ตัวไม่หลงไปกับสิ่งนั้น

    การฝึกปฏิบัติธรรมไม่ใช่เรื่องยาก และเป็นประโยชน์สุขที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน.

    อุเปกขินทรีย์

    ############# ############# ############# #############

    ชี้ทางธรรม โดยพระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี) : ลายแทงแห่งความสุข

    ช่วงเวลาส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เราถือกันว่าเป็นเทศกาลแห่งความสุข ในบรรยากาศอย่างนี้ จึงมีแต่การเฉลิมฉลอง การเดินทางท่องเที่ยว การจับจ่ายซื้อข้าวของ รวมทั้งการให้เงินเดือนพิเศษที่เรียกว่าเงินโบนัส รวมทั้งการหยุดงานยาวหลายวันต่อเนื่องกัน องค์ประกอบหลายอย่างดังกล่าวมา จึงทำให้ช่วงเวลาก่อนสิ้นปีและเริ่มต้นปีเป็น “โมงยามแห่งความสุข”

    แต่ “โมงยามแห่งความสุข” เช่นนี้ ก็มีอายุแสนสั้น เพียงไม่กี่วัน ก็ผ่านไปแล้ว หลังจากนั้น คนทั้งโลกก็ต้องกลับเข้ามาสู่โลกของความเป็นจริงที่แสนยุ่งเหยิงต่อไป

    ทำอย่างไร เราจึงจะสามารถยืดวันเวลาแห่งความสุขออกไปให้ยาวนาน

    พระพุทธองค์ตรัสว่า หากเราอยากมีความสุข ก็ควรปฏิบัติตามหลักการที่เรียกว่า “ลายแทงแห่งความสุข” 4 ประการดังต่อไปนี้

    1. ไม่เอาทุกข์มาทับถมตนที่ไม่มีทุกข์

    2. แสวงหาความสุขที่ชอบธรรม

    3. ในความสุขที่ชอบธรรมก็ไม่ยึดติด

    4. เพียรพัฒนาจิตให้ดียิ่งขึ้นไป

    - ไม่เอาทุกข์มาทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ หมายความว่า ไม่ทำอะไรที่ทำให้กาย และใจถูกกดขี่ บีบคั้น จนเป็นทุกข์โดยไม่จำเป็น เช่น ในอดีต มีนักบวชบางกลุ่มชอบทรมานตนโดยเข้าใจผิดคิดว่า การทรมานตนวิธีต่าง ๆ เหล่านั้น จะกำจัดกิเลสได้ เช่น นอนบนหนามแหลม แช่ตัวอยู่ในน้ำที่เย็นจัด ย่างตัวเองบนถ่านไฟ หรืออดข้าวปลาอาหารจนร่างกายผ่ายผอมทรุดโทรม โดยเข้าใจว่า การทรมานตนเช่นนี้เป็นวิธีที่จะทำลายกิเลส เมื่อกิเลสสลายตนก็จะได้พบความสุข โดยหารู้ไม่ว่า ยิ่งทรมานตน ไม่เพียงแต่จะไม่พบความสุขเท่านั้น แต่การณ์กลับเป็นตรงกันข้าม กล่าวคือ ทำให้ร่างกายต้องแบกทุกข์แสนสาหัส จิตใจก็ถูกบีบคั้นให้อึดอัดขัดข้อง หม่นหมองครองเศร้า

    ถ้าเป็นสมัยปัจจุบัน ก็เปรียบเหมือนคนที่หาเหตุเบียดเบียนตนให้ทรมานด้วยการทำงานหนักจนไม่เป็นอันพักผ่อน ปล่อยให้ร่างกายทรุดโทรม เจ็บไข้ได้ป่วย หรือนำพาตนเองไปเสพสุรา ยาเสพติด จนตกเป็นทาสของเครื่องดองของเมา บั่นทอนทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต มีชีวิตอยู่ในโลกมืดมน เป็นคนที่สังคมไม่ต้อนรับ หรือบางคนนำตนไปประกอบกรรมทำชั่ว จนเป็นเหตุให้ต้องเดือดเนื้อร้อนใจไม่มีความสุขทั้งในยามตื่นยามหลับ อยู่ในสังคมก็ขาดความสง่างาม

    ลักษณะดังกล่าวมานี้ท่านเรียกว่า เอาทุกข์มาทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ ใครมีพฤติกรรมเช่นนี้ ก็ควรลด ละ เลิก เพราะเป็นการหาทุกข์มาใส่ตนโดยไม่จำเป็น

    - แสวงหาความสุขที่ชอบธรรม หมายความว่า ถ้าจะมีความสุขด้วยเรื่องใด ๆ ก็ตาม ก็ต้องให้ความสุขนั้น เกิด ขึ้นมาอย่างชอบธรรม อย่างสุจริต อย่างสมเหตุสมผล เช่น ถ้าการได้เงินทำให้เรามีความสุข ก็ต้องแสวงหาเงินด้วยวิธีการที่ถูกต้อง ถ้าการมีวัตถุทำให้มีความสุข วัตถุนั้นก็ต้องได้มาอย่างชอบธรรม ถ้าการกินทำให้มีความสุข ก็ต้องเลือกกินแต่อาหารที่มีผลดีต่อสุขภาพ กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า ต้องมีความสุขบนความไม่ทุกข์ของตนและคนอื่น ถ้าแสวงหาความสุขแล้วยังทำให้ตนทุกข์ เช่น ดื่มเหล้าแล้วมีความสุข แต่บั่นทอนสุขภาพ ทำงานหนักแล้วมีความสุข แต่สุขภาพเสื่อมโทรม มีเงินเยอะแล้วมีความสุข แต่ต้องคอร์รัปชั่น ฯลฯ ความสุขที่มีความทุกข์เป็นของแถม ถือว่า เป็นความสุขที่ไม่ชอบธรรม ควรเปลี่ยนพฤติกรรมการแสวงหาความสุขแบบนี้โดยสิ้นเชิง เพราะสุขที่มีทุกข์แฝง เปรียบเหมือนความสุขที่เกิดจากการเกาขอบแผล ที่ยิ่งเกา ยิ่งมัน ยิ่งคัน ยิ่งเกา แต่ผลที่ตามมาคือแผลติดเชื้อ ลุกลาม เป็นอันตราย

    - แม้ความสุขที่ชอบธรรมก็ไม่หลงติด หมายความว่า เมื่อเราทำแต่กรรมดีแล้วมีความสุข มีความสำเร็จ ก็ไม่ควรประมาทมัวเมา ยึดติดถือมั่นอยู่แค่นั้น เช่น บางคน ได้ยศแล้วเมายศ ได้ลาภแล้วเมาลาภ ได้ชื่อเสียงแล้วเมาชื่อเสียง ได้สุขแล้วก็เผลอว่าจะไม่ทุกข์ ใครที่ได้ดีมีสุขแล้วประมาท ก็มีโอกาสจะทุกข์ได้ทุกเมื่อ ดังนั้น เมื่อได้ดีมีสุขโดยชอบธรรมแล้ว ก็ไม่ควรประมาทขาดสติ เพราะประมาทเมื่อไหร่ สุขจะพลิกเป็นทุกข์ได้ทุกเมื่อ

    - เพียรพัฒนาจิตให้ดียิ่งขึ้นไป หมายความว่า เมื่อมีความสุขทางกายก็ดี ทางจิตก็ดี ก็ไม่ควรคิดเอาเองว่า ความสุขมีอยู่เพียงแค่นี้ ไม่มีอะไรจะดียิ่งไปกว่านี้แล้ว เพราะแท้ที่จริงนั้น ความสุขมีอยู่หลายขั้น เช่น กามสุข สุขจากการสนอง ความอยาก สมาธิสุข สุขจากความสงบของจิต และนิพพานสุข สุขจากการเป็นอิสระจากกิเลสอย่างสิ้นเชิง เมื่อมีความสุขขั้นต้นแล้ว ก็ควรเพียรพัฒนาตนให้ก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไปจนกระทั่งบรรลุถึงสุขแท้ที่เป็นบรมสุขอันยั่งยืนคือภาวะพระนิพพาน

    ใครลุถึงภาวะพระนิพพาน คนคนนั้นก็บรรลุถึงวิวัฒนาการสูงสุดแห่งการเกิดเป็นมนุษย์ เมื่อถึงนิพพานแล้ว ความสุขนั้นจะไม่ผันแปรอีกต่อไป กลายเป็นผู้มีสุขที่สมบูรณ์ และสุขที่สมบูรณ์นี้ มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่จะเข้าถึงได้ในชีวิตนี้.


    -------------
    เดลินิวส์ออนไลน์
    Daily News Online > หน้าบทความ > จิตเหนืออารมณ์ > ดร.หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด การปฏิ�
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • jit.jpg
      jit.jpg
      ขนาดไฟล์:
      43.6 KB
      เปิดดู:
      561
  2. คิดดีจัง

    คิดดีจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,626
    ค่าพลัง:
    +5,353
    อนุโมทนาครับท่าน

    สุดยอดเลยครับ รู้สึกนับถือท่านจริงๆครับ

    และชอบมากับประโยคที่ว่า

    การปฏิบัติทำให้เกิดสิ่งที่คนอื่นไม่รู้เยอะ..เหลือเชื่อ(ดร.หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล)

    นี้แหละครับของจริง หลวงตาบัวท่านกล่าวว่า ผู้ปฏิบัติพึงรู้ผลแห่งการปฏิบัติของตน

    ของแบบนี้พิสูตรได้เฉพาะบุคคลครับ

    สาธุ...สาธุ

    <!-- google_ad_section_end -->
     
  3. น้ำมนต์49

    น้ำมนต์49 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +157
    "ส่วนเรื่องหน้าที่การงานเป็นคนละส่วน เมื่อมีหน้าที่ก็ต้องทำให้สมบูรณ์ ไม่งั้นอาจมีผลตามมากับตัวเราเอง แต่ต้องไม่ยินดียินร้าย งานที่เป็นหน้าที่ ต้องทำอย่างจริงจัง ไม่ใช่สักแต่ทำ สักแต่หลับตาปล่อยจิตไปไหนก็ช่าง ไม่ใช่ไม่ รับผิดชอบงานในหน้าที่ ผู้ปฏิบัติธรรมต้องรู้หน้าที่และปฏิบัติของตนให้สมบูรณ์ ครบถ้วน สำหรับกุศโลบายที่ นำมาแนะนำกับผู้ใต้บังคับบัญชา ก็คือการแนะนำว่า ไม่ว่าเราจะทำอะไร สิ่งศักดิ์ สิทธิ์จะรู้เห็น จะหลอกคน อื่นไม่ได้ การทำงานในองค์กรก็เหมือนอยู่บ้านตัวเอง ถ้าช่วยกันทำให้ดีบ้าน นี้ก็ น่าอยู่"

    อนุโมทนาค่ะ...

    จะปฏิบัติตามคำแนะนำของท่านประธานค่ะ
    เพื่อต้นไม้ใหญ่ของเรา
     

แชร์หน้านี้

Loading...