คนพาลทั้งหลายมีการเพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง บัณฑิตทั้งหลายมีการไม่เพ่งโทษเป็นกำลัง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด, 13 พฤษภาคม 2010.

  1. ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2008
    โพสต์:
    3,277
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,490

    <center> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
    อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต</center> <table align="center" background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="90%"> <tbody><tr><td>[​IMG]</td> </tr><tr><td vspace="0" hspace="0" bgcolor="darkblue" width="100%">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
    <center>พลสูตรที่ ๑
    </center> [๑๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย

    ทารกทั้งหลายมีการร้องไห้เป็นกำลัง ๑
    มาตุคามทั้งหลายมีความโกรธเป็นกำลัง ๑

    โจรทั้งหลายมีอาวุธเป็นกำลัง ๑
    พระราชาทั้งหลายมีอิสริยยศเป็นกำลัง ๑

    คนพาลทั้งหลายมีการเพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง ๑
    บัณฑิตทั้งหลายมีการไม่เพ่งโทษเป็นกำลัง ๑

    พหุสุตบุคคลทั้งหลายมีการพิจารณาเป็นกำลัง ๑
    สมณพราหมณ์ทั้งหลายมีขันติเป็นกำลัง ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๘ ประการนี้แล

    <center>จบสูตรที่ ๗
    </center>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 พฤษภาคม 2010
  2. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255

    บุคคลพึงเห็นบุคคลใดผู้มักชี้โทษ
    เหมือนบุคคลผู้บอกขุมทรัพย์ มักกล่าวข่มขี่ มีปัญญา
    พึงคบบุคคลผู้เป็นบัณฑิตเช่นนั้น
    เพราะว่าเมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น
    มีแต่คุณที่ประเสริฐโทษที่ลามกย่อมไม่มี

    <center> </center>​
    คาถาธรรมบท ปัณฑิตวรรคที่ ๖

    (smile)
     
  3. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ความต่างกันของบัณฑิตกับคนพาลเป็นไฉน???


    ความต่างกันของ บัณฑิต กับ คนพาล เป็นไฉน???


    พาลปัณฑิตสูตร

    [๕๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

    กายนี้ของคนพาลผู้ถูกอวิชชาใดหุ้มห่อแล้ว และประกอบแล้วด้วยตัณหาใด เกิดขึ้นแล้ว
    อวิชชานั้นคนพาลยังละไม่ได้ และตัณหานั้นยังไม่สิ้นไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะคนพาลไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
    เหตุนั้น เมื่อตายไปคนพาลย่อมเข้าถึงกาย เมื่อเขาเข้าถึงกาย
    ชื่อว่ายังไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกปริเทว ทุกขโทมนัสและอุปายาส
    เรากล่าวว่า ยังไม่พ้นไปจากทุกข์

    กายนี้ของบัณฑิตผู้ถูกอวิชชาใดหุ้มห่อแล้ว และประกอบด้วยตัณหาใด เกิดขึ้นแล้ว
    อวิชชานั้นบัณฑิตละได้แล้วและตัณหานั้นสิ้นไปแล้ว ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะว่าบัณฑิตได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
    เหตุนั้น เมื่อตายไป บัณฑิตย่อมไม่เข้าถึงกาย เมื่อเขาไม่เข้าถึงกาย
    ชื่อว่าย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกปริเทว ทุกขโทมนัสและอุปายาส
    เรากล่าวว่า ย่อมพ้นจากทุกข์

    อันนี้เป็นความแปลกกัน อันนี้เป็นอธิบาย
    อันนี้เป็นความต่างกันของบัณฑิตกับคนพาล
    กล่าวคือ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์


    (smile)
    บัณฑิตกับคนพาล ต่างกันที่ การประพฤติพรหมจรรย์
     
  4. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    การประพฤติพรหมจรรย์เป็นไฉน???

    ภิกขุสูตรที่ ๑ ว่าด้วยพรหมจรรย์และที่สุดพรหมจรรย์

    [๒๙] ฯลฯข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าพรหมจรรย์ๆ ดังนี้
    ก็พรหมจรรย์เป็นไฉน ที่สุดแห่งพรหมจรรย์เป็นไฉน?

    [๓๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ดูกรภิกษุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
    สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
    สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
    นี้แลเป็นพรหมจรรย์

    ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์.

    ^
    สรุป

    การประพฤติพรหมจรรย์ คือ การปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘

    ดังนั้น บัณฑิตกับคนพาลจึงต่างกันที่
    บัณฑิตปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘
    แต่คนพาลไม่ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘

    (smile)

     
  5. ลูกบัวผัน

    ลูกบัวผัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +295
    อนุโมทนา คุณธรรมสวนัง ค่อนข้าง ชัดเจน ชัดเจน ชัดเจน

    สาธุ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...