ความแตกต่างของสัมมาสมาธิกับฌานสมาบัติ ๘

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 13 เมษายน 2015.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    [​IMG]

    ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์พระองค์นั้น

    พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ได้ทรงตรัสไว้ดีแล้ว เรามักเรียกว่า "พระพุทธพจน์" หรือ "พระพุทธวจนะ" นั้น เป็นสิ่งสำคัญสูงสุดในพระพุทธศาสนา

    ดังพระดำรัสที่ทรงตรัสไว้ว่า

    "สมาธึ ภิกฺขเว ภาเวถ สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ แปลว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด
    ผู้ที่มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง ดังนี้"


    จากพระบาลีที่มาจากพระพุทธพจน์ ยังมีพระพุทธพจน์จากพระสูตรที่เชื่อมโยงรองรับไว้ว่า

    เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ
    ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง


    ก็ภิกษุย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงอย่างไร?
    ย่อมรู้ชัดซึ่ง ความเกิดและความดับแห่งรูป
    ย่อมรู้ชัดซึ่ง ความเกิดและความดับแห่งเวทนา
    ย่อมรู้ชัดซึ่ง ความเกิดและความดับแห่งสัญญา
    ย่อมรู้ชัดซึ่ง ความเกิดและความดับแห่งสังขาร
    ย่อมรู้ชัดซึ่ง ความเกิดและความดับแห่งวิญญาณ


    ปัจจุบันมักมีการแอบอ้างเอาธรรมะของพ่อแม่ครูบาอาจารย์บางท่าน ที่ท่านเทศน์ไว้เป็นคราวๆ ในประชุมชนครั้งนั้นๆ ว่า "ยิ่งเป็นปัญญาขั้นสูงด้วยแล้ว เห็นสมาธิเป็นภัยไปหมดเลย" ด้วยท่านเกรงไปว่า ลูกศิษย์ลูกหาของท่านที่มีอยู่ในขณะนั้น จะติดอยู่กับความเบากายเบาใจในสมาธิ จนลืมไปว่า ต้องออกใช้ปัญญาปล่อยวาง พิจารณากายในกายเป็นภายนอกบ้าง ตอนลืมตา เพื่อฝึกหัดการปล่อยวางอารมณ์ที่เข้ามากระทบจิต (ปัญญา) ระลึกรู้ก่อนที่จิตของตนจะไหวตัวไปตามอารมณ์เหล่านั้น

    กลับมองไปในทางตรงกันข้ามแบบคิดเองเออเองไปตามตำราในชั้นหลังว่า สมาธิไม่ทำให้เกิดปัญญา สมาธิเป็นการติดสุขชุ่มแช่ ต้องวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้นเป็นสำคัญ ทั้งที่ตนเองไม่มีความเข้าใจในคำว่า "วิปัสสนา" เลย วิปัสสนา แปลว่า การรู้เห็นอย่างวิเศษ หรือการรู้เห็นตามความเป็นจริง อันเป็นเรื่องเดียวกัน

    มีพระพุทธพจน์รับรอบว่า "สัมมาสมาธิ" ยังให้เกิดปัญญาญาณ ทำให้รู้เห็นตามจริงในขันธ์ ๕ รู้ชัดว่า ขันธ์ ๕ นั่นไม่ใช่เรา(จิต) เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ปล่อยวางลดละเลิกความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ลงได้


    คำว่า "วิปัสสนา" เป็นคำที่เกิดมีขึ้นมาในภายหลัง เป็นการรจนาขึ้นมาใหม่ของอาจาริยวาท ในพระสูตรชั้นต้นๆ ที่มีอยู่นั้น พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงตรัสรับรองคำนี้ไว้เลย

    แต่มักมีการแอบอ้างเอา "วิปัสสนากรรมฐาน" มาบังหน้าเพื่อประโยชน์ของตนเท่านั้น เพื่อความเกียจคร้านของตน ที่จะไม่ต้องทำ "สมถะกรรมฐาน" หรือที่เรียกว่า "สมาธิกรรมฐานภาวนา" ให้เหนื่อยยากลำบากกาย ต้องหลังขดหลังแข็ง

    และมักพูดจากล่าวร้ายโจมตีไปในทางที่เสียหายว่าเป็นเรื่องของสมณะพราหมณ์ ฤาษีชีไพร ไม่ทำให้เกิดปัญญาวิมุตติหลุดพ้น ต้อง "วิปัสสนากรรมฐาน" เท่านั้น จึงจะเกิดปัญญาวิมุตติหลุดพ้นได้ ถึงกับมีอัตโนมัติอาจารย์บางท่าน กล้าฟันธงเลยว่า การปฏิบัติธรรมกรรมฐานภาวนาเป็นเรื่องของการทำอัตตกิลมถานุโยค ด้วยผู้ที่พูดนั้นขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง

    ผู้พูดไม่เคยรู้ความจริงเลยว่า "วิปัสสนา" ที่ตนคิดเองเออเองไปว่าเป็นปัญญาญาณนั้น เป็นเพียงแค่สัญญาอารมณ์ที่ได้มาจากความรู้สึกนึกคิดของตน ที่คิดแล้วคิดเล่า จนความคิดที่ว่ามานั้นตกผลึก ไม่ใช่ปัญญาญาณ ที่เกิดจากการรู้เห็นตามความเป็นจริง ด้วยการปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ยัง "สัมมาสมาธิ" ให้เกิดขึ้น จนจิตมีกำลังสติสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่เข้ามาผัสสะ


    มารู้จักกับคำว่า " สมาธิ" ที่มีมาก่อนพระพุทธองค์ได้ทรงอุบัติขึ้นมาในโลก และ "สัมมาสมาธิ" ที่พระพุทธองค์ได้ทรงค้นพบด้วยพระองค์เองโดยชอบแล้ว จึงกล้าตรัสรับรองตนเองไว้ว่า

    "ปุพเพ อนนุสสุเตสุ ธัมเมสุ แปลว่า
    ธรรมอันเราตรัสรู้นี้ ไม่เคยได้ยินได้ฟัง
    จากที่ไหนในกาลก่อนนี้แล มาปรากฏแก่อาตมภาพ"



    มีเรื่องแปลกแต่จริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นด้วยขาดการพิจารณาโดยไม่ไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อนหรือเพราะตำราพาไป กลับกลายเป็นการกล่าวตู่ลบหลู่ดูหมิ่นพระพุทธปัญญาของพระองค์ไปโดยไม่รู้ตัว อันเป็นกรรมหนักที่ตนเองต้องแบกรับโดยไม่รู้ตัวเช่นกัน

    ได้มีการนำเอา "สมาธิ" ที่มีมาแต่กาลก่อนพระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ มาผสมปนเปเข้ากับ "สัมมาสมาธิ" ในอริยมรรค ๘ จนวุ่นวายไปหมด ทำให้ผู้ที่ศึกษาใหม่เกิดความลังเลสงสัยสับสนจนเกรงกลัวการนั่งหลับตาปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา

    โดยเห็นไปว่าการนั่งหลับตาปฏิบัติธรรมสมาธิกรรมฐานภาวนานั้น เป็นการติดสุขอยู่ในฌาน เป็นพวกตัณหาจริต เป็นเรื่องของฤๅษีชีไพรและสมณพราหมณ์ จนมองข้าม "สัมมาสมาธิ" ในองค์แห่งอริยมรรค ๘ ไปให้ความสนใจกับคำว่า "วิปัสสนากรรมฐาน" แต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่เอาสมาธิเลย

    ทั้งที่ คำว่า "วิปัสสนากรรมฐาน" นั้น เป็นของคู่กับ "สมถะกรรมฐาน" ชนิดที่ขาดกัน หรือแยกออกจากกันไม่ได้เลย เมื่อนำเอา "สมถะและวิปัสสนา" มารวมเข้าด้วยกัน ก็เท่ากับ "สัมมาสมาธิ" ในหมวด "สมาธิ" แห่งองค์อริยมรรค ๘ ซึ่งเป็นสมาธิกรรมฐานภาวนาที่สำคัญยิ่ง อันยังให้เกิดปัญญาญาณรู้เห็นตามความเป็นจริงได้ เข้าใจในขันธ์ ๕ และอริยสัจ ๔

    ดังมีพระพุทธพจน์ในพระสูตรได้ทรงตรัสรับรองเรื่องราวต่างๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้น อย่างเช่น สมาธิที่มีมาแต่กาลก่อนที่พระพุทธองค์จะได้ทรงตรัสรู้ หรือที่เรียกว่า "สมาบัติ ๘" นั้น อันมีรูปฌาน และอรูปฌาน เป็นต้น

    "อาตมภาพนั้นมีความคิดเห็นว่า
    ธรรมนี้ไม่เป็นไป เพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท
    เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
    ย่อมเป็นไปเพียงให้อุปบัติในอากิญจัญญายตนพรหมเท่านั้น
    อาตมภาพไม่พอใจธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้นแล้วหลีกไปเสียฯ"
    (อรูปฌานที่๗)

    จะเห็นว่า พระพุทธองค์ได้ทรงปฏิเสธไปในแนวทางที่ว่า "ธรรมนี้ไม่เป็นไป" เพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

    แต่มิได้ทรงปฏิเสธไปแบบปัดทิ้งไม่เห็นคุณค่าเสียเลยทีเดียว ยังทรงตรัสถึงท่านอาจารย์ทั้งสอง ที่ได้อรูปฌาน ๗ และ ๘ ว่า เป็นบุคคลที่ควรสั่งสอน เป็นบัณฑิต ฉลาด มีเมธา มีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยมานาน ถ้ากระไร เราพึงแสดงธรรมแก่ท่านอาจารย์ทั้งสอง เธอจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้โดยฉับพลัน


    เมื่อมาถึงตรงนี้ ก็ให้สงสัยขึ้นมาว่า แล้ว "สมาธิ" กับ "สัมมาสมาธิ" นั้น แตกต่างกันอย่างไร ตรงไหน จากการที่มีจารึกไว้ในพระไตรปิฎก ดูจะเหมือนกันจนกระทั่งหาข้อแตกต่างกันไม่ได้เลย ดูไปแล้ว คล้ายกับว่าพระพุทธองค์ได้ทรงแอบต่อยอดความรู้ ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้มาจาก "ฌานสมาบัติ" ดังกล่าว ทำให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างมหันต์ แบบไม่น่าให้อภัยเลยจริงๆ

    โปรดสังเกตด้วยใจที่เป็นธรรม พิจารณาให้รอบคอบรอบด้าน ก่อนจะเชื่ออะไรลงไปง่ายๆ สบายๆ ลัดสั้น จะเห็นว่าอารมณ์ที่พวกสมณพราหมณ์ และพวกฤๅษีชีไพรใช้นำเอามาเพียรเพ่งเป็นอารมณ์ฌานสมาบัตินั้น ล้วนเป็นอารมณ์ภายนอกกายทั้งสิ้น

    เช่น เอารูปที่ปราศจากกามมาเป็นอารมณ์ภาวนา ถ้าเป็นรูปที่ก่อให้เกิดกามขึ้นมาได้นั้น เพียรเพ่งอย่างไรคงทำให้เกิดสมาธิฌานได้ยาก เพราะกิเลสตัณหาคงลากเอาไปกินตั้งแต่ต้นทางแล้ว อรูปก็เช่นเดียวกัน

    ส่วนองค์แห่งฌานของรูปฌาน อรูปฌานที่เกิดขึ้นนั้น ย่อมต้องแตกต่างไปจาก "สัมมาสมาธิ" ในองค์ฌานแห่งอริยมรรค องค์ฌานของฌานสมาบัติ ๘ นั้น เป็นการเกาะเกี่ยวเอาอารมณ์ภายนอกกายมาเป็นอารมณ์ภาวนา จนอารมณ์เกาะเกี่ยวกับจิตเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

    เป็นการปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ที่นำไปสู่การละจากอารมณ์หยาบ เข้าไปติดสุขอยู่ในอารมณ์อันละเอียดยิ่งๆ ขึ้นไป เพียงช่วยทำให้กิเลสเบาบางลงได้เท่านั้น ไม่นำไปสู่ความวิมุตติจิตหลุดพ้นเหมือนฌานใน "สัมมาสมาธิ" เลย มีพระพุทธพจน์รับรองดังนี้

    "ดูกรมหานาม อริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน
    มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ ไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่านี้อย่างเดียว
    ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
    เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่
    ข้อนี้เป็นความแตกฉานแห่งญาณข้อที่สาม (อาสวักขยญาณ) ของอริยสาวกนั้น"


    ฌานสมาบัติเป็นเพียงเอกัคคตารมณ์ ซึ่งจิตมีการเกาะเกี่ยวกับอารมณ์ภาวนารวมเป็นหนึ่งอย่างเหนียวแน่นไม่ยอมปล่อยวาง ส่วนฌานในสัมมาสมาธิแห่งองค์อริยมรรคนั้นเป็นการปล่อยวางอารมณ์ออกไปจากจิต

    รูปฌาน อรูปฌานนั้น ยังต้องคอยระวังรักษาอารมณ์ฌานอันละเอียดที่เป็นสุขอยู่นั้นตลอดเวลา ด้วยความหวั่นไหวเกรงกลัวไปว่าอารมณ์ฌานนั้นจะจืดจางลงไปได้

    ส่วน "ฌานในสัมมาสมาธิแห่งองค์อริยมรรค" นั้น เป็นอารมณ์ ณ.ภายในกาย เวทนา จิต และธรรมของตน เป็นการปฏิบัติธรรมเพื่อนำไปสู่การฝึกฝนอบรมตนเองให้รู้จักการปล่อยวางอารมณ์ออกไปเป็นชั้นๆ ในขณะปฏิบัติธรรมสมาธิกรรมฐานภาวนา เมื่อปล่อยเป็นแล้วไม่ต้องจำ

    เริ่มต้นจากต้องสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลกรรม จากนั้นปล่อยวางอามีสสัญญา พร้อมด้วยวาจาดับ ปรากฏเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้นมาอย่างเด่นชัด มีอุเบกขา เสวยสุขด้วยนามกายอันปราศจากอามีส จากนั้นละสุข ละทุกข์ ดับโสมนัส โทมนัสแต่เก่าก่อนได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า "สัมมาสมาธิ"


    สรุปได้ว่า ฌานนั้นมีมาแต่กาลก่อนนานมาแล้ว โดยมีทั้งฌานที่มีมาก่อนพระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้น กับฌานในสัมมาสมาธิที่พระพุทธเจ้าทรงได้ค้นพบและตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง โดยไม่เคยได้ยินได้ฟังจากที่ไหนมาในกาลก่อน แม้แต่องค์ฌานก็ยังแตกต่างกันในส่วนผล ฌานสมาบัติ ๘ นั้น เห็นตาลปัดกลับกันกับฌานในสัมมาสมาธิ ที่เห็นขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตน

    ใช่ว่า ฌานสมาบัติ ๘ จะเป็นเรื่องเลวร้ายอะไร ที่พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธไปนั้น ทรงเห็นว่าเป็นหนทางนำไปสู่ภพภูมิ ที่ยังต้องวนเวียนอยู่ในวัฏฏะ ไม่อาจหลุดพ้นจากทุกข์ได้ เพราะเป็นฌานที่ยังเกาะเกี่ยวเอาอารมณ์ภายนอกอันละเอียดเป็นสุขอย่างเหนียวแน่นอยู่ สาธุ


    เจริญในธรรมทุกๆท่านครับ
    ธรรมภูต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • buddha-07.jpg
      buddha-07.jpg
      ขนาดไฟล์:
      94.2 KB
      เปิดดู:
      4,792
  2. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    ขอบารมีแห่งพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ. ดลบันดาลให้ท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปครับ อนุโมทนาสาธุ
     
  3. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ด้วยความเคารพท่านธรรมภูติ.ฌานในสัมมาทิฏฐิ สามารถปล่อยวางอารมณ์ได้รึครับ(อารมณ์เดียวที่ทรงอยู่) และเหตุใดฌานสมาบัต8 จึงปล่อยวางอารมณ์ไม่ได้
    อย่างนั้นนิพพาน ก็ต้องเข้าฌานก่อนนะซิ ผมสงสัยครับ ตอนเข้านิพพานแล้ว ต้องทิ้งฌานรึไม่ครับหรือยังทรงฌานอยู่..ผมชักสับสน.
     
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    คำว่าสมาธิ กับคำว่า สัมมาสมาธิ มีความแตกต่างกัน สมาธิได้แก่การถือเอา อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ทำให้แน่วแน่อยู่ในอารมณ์นั้น แบบสมถะสมาธิ สัมมาสมาธินั้น เป็นสมาธิที่มีรากฐานจากการกำหนดรู้ ในมหาสติปัฏฐานทั้ง 4 คือกาย เวทนา จิต ธรรม

    อริยมรรค 8 คือหนทางแห่งการดำรงชีวิตอย่างรู้แจ้ง มีสติเป็นพี้นฐานด้วยการฝึกสติสามารถพัฒนาสมาธิจิตซึ่งจะช่วยให้บรรลุถึงปัญญา เพราะ สัมมาสมาธิจึงสามารถบรรลุถึงสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ และสัมมาวายามะ ปัญญาความเข้าใจซึ่งพัฒนาขึ้นนั้นสามารถกำจัดความไม่รู้ (อวิชชา) ได้ในที่สุด

    สัมมาสมาธิที่แตกต่างกับฌานสมาบัติ 8 ในฌานสมาบัติ 8 ถือเอาความแนบแน่นของฌานมีตั้งแต่ปฐมฌานเป็นต้น อาจใช้ได้ไปถึงฌานสมาบัติ 9 ที่เป็นนิโรธสมาบัติ มีปัญญาที่เป็นอยู่ในโลกียธรรม ไม่สามารถกำจัดอวิชชาที่นอนเนื่องเป็นอนุสัยมาทุกภพทุกชาติ

    เข้ามาสนทนาตามกาล หวังว่าคงไม่ถูกด่า ถูกปรามาสแบบคนพาล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 เมษายน 2015
  5. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    แทงตลอดด้วย สัมมาทิฏฐิ จิฮับ

    มันเหมือน คำว่า เอาอยานตนะ6 ออก เอา หู ตา จมูก ปาก กาย ใจ ออก
    แล้วเข้าถึงสัมมาทิฏฐิ เป็นโสดาบัน

    การเอาอยาตนะ6 ออก เช่น ตา ...เอาตา ออก ตายังเห็น รูป หรือเปล่า
    หรือว่า บอด

    การเอา อยาตนะ8(ฌาณ) เมื่อทำ จิตให้เห็น ฌาณวิสัย เหมือนดังตาเห็นรูป
    แล้วเอา อยาตนะ นั้นออก จิตยังกระทบ ฌาณ นั้นๆ หรือเปล่า หรือว่า บอด
    ไม่กระทบเลย ไม่เข้าไปเห็นเลย ไม่มีการรื้อค้นเลย ไม่มีการ พิจารณา



    ปล. อยาตนะ รู้สึกว่า สะกดผิด แต่ ยังจำไม่ได้ นะฮับ ว่าต้อง สะกดยังไง
    น้องๆ หนูๆ ไปหา คำที่ถูกต้องของ "อยานตนะ" ด้วย
     
  6. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ก็ต้อง ปรามาส อยู่ดี และ ฮับ ลุงหมาน

    ก็ อภิธรรม ระบุเอาไว้ ฌาณจิต เกิดร่วมกับ จิตทุกดวง

    ซึ่งโดยทั่วไป ก็ ควรจะน่าย้อนแย้ง ตำราอภิธรรมในข้อนี้ แต่ เอาหละ
    เราจะอนโลมให้กับ " จิตกุศลทุกดวง "

    เพราะคำว่า จิตกุศล ย่อมหมายถึง ปราศจาก โลภะมูลจิต เป็นอาธิ

    ดังนั้น

    หากลุงหมาน จะกล่าวว่า จิตตนเป็นกุศล นั่นแปลว่า จิตลุงหมานเสพปฐมฌาณ แล้วฮับ

    แต่นี้ ลุงหมานไม่เอา ผลการปฏิบัติเป็นใหญ่ ดันไป เอาตำรา และ ความคิด เลย
    กล่าวธรรมปฏิเสธ ปฐมฌาณ ว่าไม่มีในตน ซึ่งเป้นเรื่อง น่าหัวร่อ ที่ ตกอภิธรรม
    จิตลูกชิ้นเสียบไม้เป็น ชุด เอาดื้อๆ [ ลูกชิ้นเสียบไม้ที่ไม่มี โลภะ เสียบร่วมด้วย ไม้ลูกชิ้นนั้นมี ฌาณหนึ่งดวง ]

    ทำให้ กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ถูก ไม่รู้วิธี หรือ อุบายนำ ฌาณจิต นั้นออกจากจิต ด้วย
    การเข้าไปเห็น ยกขึ้นเห็น ตามเห็นความเกิด ความดับ ของฌาณ แบบ พระโปฏิละ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 เมษายน 2015
  7. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ..การแทงตลอดด้วยสัมมาทิฏฐินั้น ผมเข้าใจได้..ฌานที่เกิดไม่รู้ตัวหรอกครับ แต่จิตใจเป็นหนึ่งมาก ถามว่าแล้วทรงอารมณ์อะไร ก็ตอบว่า..ก็เหตุผล-ศิล5 ธรรมดานี่แหละในชีวิตประจำวันแต่ทำจริงแน่วแน่มาก
    เขาคล้ายเป็นเข็มทิศชี้นำเราปฏิบัติ หากกล้าแข็งก็ทรงตัวได้นาน หากเจอสิ่งล่อนั่นก็อยู่ที่จิตเข้มแข็งขนาดไหน..มันมองไม่เห็นอารมณ์ใดๆที่จะทรง..อยากจะถามว่าแล้วมันต่างอะไรกับ..ฌานสมาบัติ8 ครับ:'(
     
  8. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    นั่นแหละๆ

    ปู่ สังเกตรส "กำลัง" หรือ "ความเข้มแข็ง" ก็ได้

    นั่นคือ รสของฌาณจิต ที่เกิดขึ้น

    ที่นี้ เราไม่ได้ดูเพื่อเอากำลังให้มันมีมากๆ

    เราจะเน้นเข้าไป ยกเห็นว่ามันเกิดในจิต ยกนามธรรมนั้นเหมือนตาเห็นรูป

    เห็น จิตมีพละอย่างไร อินทรีย์ก็อย่างนั้น

    จิตมีพละอย่างไร ...จิตมี พลังเกิด แล้วก็ดับ [ ไม่ใช่ มีพลังเยอะ และ นาน เห้น ลงไตรลักษณ์ แทน ]

    พอเน้นเห็น พละเกิด ดับ ....อินทรีย์ก็จะรับทราบได้ว่า เกิด ดับ อย่างนั้น

    ตามเห็น ความเกิดดับของ สมาธิพละ สติพละ ศรัทธาพละ ปัญญาพละ วิริยะพละ

    รู้เห็น สัมปยุตกับ ไตรลักษณ์ได้ อินทรีย์ ก็เกิด ดับ เกิดความ ไม่ล้ำหน้ากัน
    เกิดความ สมดุลกัน ด้วยความเป็น สิ่งเกิดดับ เป็นทุกขสัจจ ให้เห็น


    ปล.

    พระพุทธองค์กล่าว ประมาณนี้

    ถ้า ปู่ กำหนดรู้เห็น กำลังจิต ด้วยปฐมฌาณจิตเกิดดับ ....ปู่คร้าบ ปู่ขึ้น ทุตยฌาณ
    ถ้า ปู่ กำหนดรู้เห็น กำลังจิต ด้วยทุติยฌาณจิตเกิดดับ ....ปู่คร้าบ ปู่ขึ้น ตติยฌาณ
    ถ้า ปู่ กำหนดรู้เห็น กำลังจิต ด้วยตติยฌาณจิตเกิดดับ ....ปู่คร้าบ ปู่ขึ้น จตุถฌาณ
    (แล้วแลอยู่ ...ไม่ใช่ เสพเป็นสมาบัติ หรือ ถ้าจะเสพเป็น สมาบัติ ก็ไม่ตำหนิ เพราะ
    เรามีปฏิปทาตามเห็นลงไตรลักษณ์ ไม่ใช่เพื่ออยู่ เพื่อเป็น)

    นะปู่ ตามเห็น4 ดับ ก็ขึ้น 5
    ตามเห็น 5 ดับ ก็ขึ้น 6
    ไปเรื่อยๆ

    นี่คือ พฤติจิต หากมีจิต ยังยึดถือจิต จิตมันก็ วิวัฏไปตาม กฏแห่งปฏิจสมุบาปธรรมนี้

    หากไม่ ยึดถือจิต ก็เหมือน คนเห็น ฌาณ แต่ ไม่ถือเอา แค่อาศัยระลึก [ เพราะ ละอัสมิมานะ เสียได้ ... พระสารีบุตร ภาวนาแบบนี้ พระสารีบุตร จึงเล่นได้ถึง ฌาณ9 แสดงฤทธิเหาะได้ด้วย ...แต่ทำครั้งเดียว คือ ตอนปรินิพพาน ]

    เหมือน ตาเห็นรูป แต่ไม่ยึดถือ ใช่ว่าต้อง ทำให้ ตาบอก ซะเมื่อไหร่ การนำ อายตนะ ออกเนี่ยะ



    ปล. น้องๆ หนูๆ อายตนะ ตรงนี้ น่าจะสะกดถูกและ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 เมษายน 2015
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    คุณ สับสน ครับ ไม่ใช่อารมณ์เดียวที่ทรงอยู่ครับ
    ตอนต้นนะใช่ เพราะยังเกาะเกี่ยวองค์ภาวนา(อามีสสัญญา)
    แต่เมื่อปรากฏเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้นมา
    หมายถึงเห็นจิต ที่เป็นเพียงธาตุรู้ผุดขึ้นมาอย่างเด่นชัด

    ทำไมถึงบอกว่าปล่อยวางอารมณ์ได้
    เริ่มจากเมื่อเอาลมหายใจมาเป็นองค์ภาวนา
    เมื่อภาวนาไปๆ ลมหายใจเริ่มละเอียดยิ่งๆขึ้น
    จนจับลมแทบไม่ได้ใช่หรือไม่?

    ยิ่งเมื่อภาวนาจนแนบแน่นกับองค์ภาวนาละเอียดมากเท่าใด
    จนธรรมอันเอกผุดขึ้น ทั้งลมหายใจ หรือ พุทโธ ที่เป็นองค์ภาวนา
    จะถูกทิ้งไปโดยปริยาย เพราะจิตเห็นไตรลักษณ์ชัดเจน
    คือเห็นความไม่เที่ยงของลมหรือพุทโธ
    เห็นทุกข์ คือเห็นลมหรือพุทโธ ที่ต้องแบกเพราะเป็นกายสังขาร
    เห็นสิ่งที่ไม่ใช่ตน เป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้
    เพราะเห็นที่พึ่งที่แท้จริง คือจิตที่เป็นธรรมอันเอกผุดขึ้นมานั่นเอง

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน

     
  10. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ครับสนทนาตามกาล

    ได้พูดไว้ในบทความก็ชัดๆนะครับ

    ที่ลุงยกมาก็ชัดเจนเหมือนจะบอกเป็นนัยๆว่า

    ธรรมะที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้นั้นต่อยอดจาก สมาบัติ๘

    มีที่ไหนจาก"เนวสัญญานาสัญญา" ก็กระโดดมา "สัญญาเวทยิตนิโรธ"เลย

    ฌาน๘ ต่อ ฌาน๙ เป็นไปได้หรือ?

    ทั้งที่ในสมัยนั้นมีแค่"สมาบัติ๘"

    ลุงลองพิจารณา "สัมมาสมาธิ" ในฌานที่๔ดู

    ชัดเจนว่า คือ "สัญญาเวทยิตนิโรธ"ดีๆนี่เอง

    ละสุข ละทุกข์ ดับโสมนัส ดับโทมนัส แต่เก่าก่อน

    ใช่สัญญาดับใช่หรือไม่?

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  11. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    เรื่องมีอยู่ว่า คุณธรรมภูติยังยืนกราน ว่ายังไงๆผู้จะบรรลุธรรมได้ต้องมีฌาน4 เท่านั้น คือสัมมาสมาธิ

    แต่คุณสับสน ซึ่งเคยได้ได้อ่านได้ฟังจากพระผู้รู้ต่างๆมาอยู่บ้าง
    ผู้บรรลุธรรมถึงนิพพานได้ ไม่จำเป็นต้องถึงฌาน4 ก็มี เพราะพระอรหันต์ยังมีถึง 4 ประเภท

    ยังไงๆคุณธรรมภูติก็ยังปฏิเสธอภิธรรม มีเพียงทุติยปิฏกเท่านั้น
    แม้การปฏิบัติในมรรคก็ยังสับหัวกลับท้าย ทั้งที่หากปุถุชนใดๆยังไม่ถึงกระแสนิพพาน
    ใช่จริงอยู่ในอริยมรรค สัมมาทิฏฐิ คือการรู้แจ้งในอริยสัจ

    แม้พระนิพพาน คุณธรรมภูติเองก็ยังมีความเห็นว่าต้องมีจิต

    ซึ่งกระทู้ต่างๆ ที่คุณธรรมภูติพยายามสื่อ ก็คงมีประมาณนี้ เท่าที่สังเกตุ

    มันจึงสับสน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 เมษายน 2015
  12. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    จริงๆแล้วเรื่อง ฌาน นี่ผมเคยสัมผัสแบบไม่รู้ตัวมาก่อน มารู้จักทีหลัง ก็ทึ่งมาก ผมก็กำลังหาเหตุผลอยู่ และผมเข้าใจว่าเป็นสมาธิอย่างหนึ่งที่ทรงอยู่ได้นานแต่นานแค่ไหนอยากรู้จริงครับ..เป็นเดือน-ปี ไหมครับ
     
  13. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,424
    ค่าพลัง:
    +35,040
    ขออนุญาตแสดงความเห็นโดยภาพรวมถ้าอ่านดีๆเห็นว่า คุณ ธรรมภูติ
    อธิบายได้ชัดเจนพอสมควรครับ..ที่เน้นตัวสีแดงในกลุ่มตัวสีน้ำเงิน
    ช่วงที่ ๓ ก็น่าจะชัดเจนแล้วนะครับ...
    ส่วนตรงนี้ คือคัดลอกมาเพื่อขอเพิ่มเติม
    ''ฌานสมาบัติเป็นเพียงเอกัคคตารมณ์
    ซึ่งจิตมีการเกาะเกี่ยวกับอารมณ์ภาวนารวมเป็นหนึ่ง
    อย่างเหนียวแน่นไม่ยอมปล่อยวาง

    ส่วนฌานในสัมมาสมาธิแห่งองค์อริยมรรคนั้นเป็นการปล่อยวางอารมณ์ออกไปจากจิต''

    ส่วนที่ขีดเส้นใต้มันเป็นอย่างนี้จริงๆครับ มันเป็นอารมย์ในขณะกำลังใช้งานครับ.
    ต้องพิสูจน์ด้วยกรรมฐานประเภทที่สร้างจากภาพให้เข้าถึงให้ได้อย่างน้อย ๑ กอง
    และมีความสามารถในการใช้งานได้จะเข้าใจตรงนี้ได้ดีครับ.

    และมันเป็นอารมย์ที่มันยังมีการตั้งท่า ยังมีการกระมิดกระเมี้ยน พูดง่ายๆว่ามันยัง
    มีตัณหาเป็นตัวนำอยู่ เป็นตัณหานำตัววิญญาน ซึ่งต่อให้ใช้งานได้มันก็ยังจะ
    ตะกุกตะกั๊กครับ เพราะมันมีตัวไปรู้ มีตัวไปเข้าใจ
    ซ้อนทับเข้าไปอยู่ครับ.
    .ส่วนถ้าจะเป็นสัมมาได้อย่าง
    ที่ยกข้อความที่คุณ ธรรมภูติ นำมากล่าว มันก็ต้องปล่อยวางให้ได้ก่อนจริงๆครับ..
    มันถึงจะเป็นไปตามเนื้อหาดั่งเดิมของจิตดวงนั้นๆที่มีความสามารถในการทำได้นะครับ..
    ไม่ว่าจะสมาบัติ ๘ หรือ ตบะ ฌาน ญาณ สมาธิ สติ กำลังจิต อรูปต่างๆ ฯลฯ

    ถ้าไม่ปล่อยวางและไม่เป็นเพื่อ คัดลอกของเดิมมา''เพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท
    เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน''
    มันก็ไม่ใช่สัมมาฯทั้งนั้นหละครับ
    เพราะมันยังมีตัวไปตั้งเอา มันยังมีตัวไปทำอยู่ และมันยังมีตัว
    ไปเข้าใจตามอยู่ครับ..ตัวนี้เป็นตัวตัณหาตัวหนึ่ง
    ที่เป็นตัณหานำปัญญา ในกรณีที่เราไปคิดตาม ไปใช้ความพยายาม
    ไปใช้ความเห็นตีความ หรือในกรณีที่เป็นตบะ ฌาน ญาณ มันก็เป็น
    ตัวตัณหาไปซ้อนตัววิญญาน ซึ่งทั้ง ๒ ส่วนนี้มันจะทำให้จิตเรามันไม่คลาย
    ไม่โปร่ง ไม่โล่งออก ไม่เป็นไป
    ตามเนื้อหาดั่งเดิมแท้ของมันนั่นเองครับ....

    ปล.สุดแล้วแต่จะพิจารณาครับ.
     
  14. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    ขออนุญาติแย้งนิดหนึ่ง
    มีผู้รู้ท่านแนะนำมาว่า
    บางที่เราประมาท เข้าใจว่าเราเสพรสของกุศลธรรมอยู่
    บางทีเพราะอวิชชา คือมีฉันทะพอใจ และราคะ
    บางทีเราเห็ฯสิ่งที่เราคิด สังขารไปว่า ปฐมฌานเกิด ดับ
    แปลว่าเรา กำลังเสพ ทุติยะฌาน

    บางที่อาจจะไม่ใช่ เราอาจจะเสพ อกุศลธรรม ที่ปราณีตกว่าเดิมอยู่
    เพราะเข้าใจไปว่าเรากำลังเสพ กุศลธรรมอยู่

    อันนี่ผมไม่ได้คิดออกเอง
    เกือบหมดที่ผมพิมพ์ผมไม่ได้คิดออกเอง
    มี ผี ช่วยคิด
     
  15. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    เรามามองอายตนะว่างี้ก็ได้

    เกิดธรรมขิ้นสองฝ่าย
    คือกุศลที่เราเข้าใจว่าเรากำลังเสพอยู่ เราเข้าใจ เราปรุง เราสังขารว่างั้นย
    กะอีกฝั่งหนึ่ง
    คือธรรมอีกฝั่งที่เราไม่ได้เสพ

    ถ้ามองเป็ฯอายตนะ คู่ ธรรมารมณ์
    ก็คือเราเสพอายตนะ ใน หนึ่ง ในธรรมารมณืกะมะโนอยู่
    อาการที่เราไป เอาอันผิดมาเสพ
    คือกะว่านี่คือมะโน แต่ไปเอาธรรมารมณืมาเสพ
    หรือเข้าใจว่าคือธรรมารใร์แต่ไปเอามะโนมาเสพ
    เรียกว่าร้อยรัด

    ไม่ได้คิดออกเองนะ
    ผี ช่วยคิด ปรุงหนะ
     
  16. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    ถ้าเราภาวนาตามตัวหนังสือ
    ตามพระอธิธรรม เราอาจจะ เกิดการร้อยรัดขึ้น
    เพราะมีรูปราคะ และอรูปราคะ เจืออยู่เยอะ

    แต่ถ้าเราปรงได้ ว่าปรงได้ก็คือคิด
    ดูปรง นั้นแหละมันเกิดดับ

    จะเกิดของคู่อีกฝั่ง ที่เราไม่ได้เสพ
    เราเสพได้ทีละฝั่ง

    การที่เราไปเอาอีกฝั่งที่เราไม่ได้เสพมาเสพ นั้นแหละรูปราคะ อรูปราคะ
     
  17. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    เช่น เรามีกุมารทองอยู่ ไม่รู้ไปหลุดมากจากไหน กุมารเจ้าของคือใครไม่ทราบ
    แต่มาแย่งเสพ กะเรา
    เราไปเอาฝั่งที่เราไม่ได้เสพ อีกฝั่งมายึดว่าเราเสพ
    ฝ่ายกุมารทองก็เอาฝั่งเราซึ่งมันไม่ได้เสพ ไปเสพ

    คือร้อยรัดกัน สองปราณร่างกายเดียว

    บังเอิย ผมก็ไม่ได้สอนกุมารทองนั้นๆ ฝึกกสิน
    มันไปฝึกมาเอง มันมาฝึกให้ผมเห็น
    ผมก็แย่งมันไป ย้อน หนะ ย้อนแย้ง คือหาทางอนุโลม

    ว่าเธอเอาฝั่งฉันไปเสพ
    ฉันกำลังเอาฝั่งเธอมาเสพ
    หาทางเดินมรรคะ ให้หลุดให้พ้นไปจากกุมารนี่ให้ได้

    บังเอิยกุมารมันฝึกกสินสำเร็จ

    และมันชอบมาเสพ ฝั่งผมประจำ
     
  18. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    บังเอิญ กุมารที่มาแฝงผม
    มีทิฏฐิต่างจากผมรุนแรงมากโต้แย้งกันรุนแรงมาก

    ฝ่ายกุมารที่เอาอารมร์ฝั่งผมไปเสพ จะเชื่ออย่างฝังหัว
    ว่าธรรมเที่ยง ว่านั้นคือนิพพาน
    ธรรมที่ยุติการเสพไปแล้ว กำลังเสพ และยังไม่ได้เสพ กุมารนี่เห็ฯว่ามันไม่เคยเกิดเคยดับ
    มันนิจนิรันดร์ มันย้อน และแย้งกับ ทิฏฐิที่ผมยึดไว้
    รุนแรงมาก

    ถ้ากุมารนั้นฝึก กสินสำเร็จ
    ผมจะได้ ปฏิภาคนิมิตของมันมา เสมอ
    แย่งมันมาแหละ
    ฉีกตำราได้ไปคนละครึ่งเล่มเสมอ

    แต่ทุกครั้งที่มันจะมาแย่งอีกครึ่งนึงคืน
    ผมจะได้อีกครึงเล่มที่อยู่กะมันมาอีกทีเสมอ
    จะแย่งกันอย่างนี้ร่ำไป
    หาทางแยกกันไม่ออกซะที
     
  19. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    ยังถอนให้ไม่ได้
    ผี ยังบังคับอยู่
    จิตตะหนะ
     
  20. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    ให้มันมืดๆอย่างนี้แหละดีแล้ว
     

แชร์หน้านี้

Loading...