จงกล่าววาจาอ่อนหวานอันสมัครสมานกันเถิด นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด, 7 พฤษภาคม 2010.

  1. ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2008
    โพสต์:
    3,277
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,490
    <table align="left" background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="90%"> <tbody><tr><td>[​IMG]</td> </tr><tr align="center"><td vspace="0" hspace="0" bgcolor="darkblue" width="100%">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
    <center>


    มหาโลมหังสจริยาที่ ๑๕
    </center><center>ว่าด้วยจริยาวัตรของมหาโลมหังสบัณฑิต
    </center>
    [๓๕] เรานอนอยู่ในป่าช้า เอาซากศพอันมีแต่กระดูกทำเป็นหมอนหนุน
    เด็กชาวบ้านพวกหนึ่ง พากันเข้าไปทำความหยาบช้าร้ายกาจนานัปการ
    อีกพวกหนึ่งร่าเริงดีใจ พากันนำเอาของหอม ดอกไม้ อาหาร และ
    เครื่องบรรณาการต่างๆ เป็นอันมากมาให้เรา พวกใดนำทุกข์มาให้
    เราและพวกใดให้สุขแก่เรา เราเป็นผู้มีจิตเสมอแก่เขาทั้งหมดไม่มี
    ความเอ็นดู ไม่มีความโกรธ เราเป็นผู้วางเฉยในสุขและทุกข์ ใน
    ยศและความเสื่อมยศ เป็นผู้มีใจเสมอในสิ่งทั้งปวง นี้เป็นอุเบกขา
    บารมีของเรา ฉะนี้แล.
    <center>
    จบมหาโลมหังสจริยาที่ ๑๕
    </center><center class="l">
    -----------------------------------------------------
    </center><center>
    รวมจริยาที่มีในวรรคนี้ คือ
    </center> ๑. ยุธัญชยจริยา ๒. โสมนัสสจริยา ๓. อโยฆรจริยา
    ๔. ภิงสจริยา ๕. โสณนันทปัณฑิตจริยา ๖. มูคผักขจริยา
    ๗. กปีลราชจริยา ๘. สัจจสวหยปัณฑิตจริยา ๙. วัฏฏกโปตกจริยา
    ๑๐. มัจฉราชจริยา ๑๑. กัณหทีปายนจริยา ๑๒. สุตโสมจริยา
    ๑๓. สุวรรณสามจริยา ๑๔. เอกราชจริยา ๑๕. มหาโลมหังสจริยา
    เป็นอุเบกขาบารมีดังนี้

    พระผู้มีพระภาคผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ตรัสแล้ว เราได้เสวยทุกข์
    และสมบัติมากมายหลายอย่าง ในภพน้อยภพใหญ่ ตามนัยที่กล่าวแล้ว
    อย่างนี้ แล้วจึงได้บรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด เราได้ให้ทานอันควร
    ให้ บำเพ็ญศีลโดยหาเศษมิได้ถึงเนกขัมมบารมีแล้ว จึงบรรลุสัม
    โพธิญาณอันสูงสุดเราสอบถามบัณฑิตทั้งหลายทำความเพียรอย่าง
    อุกฤษฏ์อย่างถึงขันติบารมีแล้วจึงบรรลุโพธิญาณอันสูงสุด เรากระทำ
    อธิษฐานอย่างมั่น ตามรักษาสัจจวาจา ถึงเมตตาบารมีแล้ว จึงบรรลุ
    สัมโพธิญาณอันสูงสุด เราเป็นผู้มีจิตเสมอในลาภและความเสื่อม
    ลาภ ในยศและความเสื่อมยศ ในความนับถือและการดูหมิ่นทั้งปวง
    แล้ว จึงบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด

    ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านโดยความเป็นภัย และเห็นการปรารภความเพียรโดยเป็นทางเกษมแล้วจงปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

    ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย และเห็นความไม่วิวาทโดยเป็นทางเกษมแล้วจงกล่าววาจาอ่อนหวานอันสมัครสมานกันเถิด นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

    ท่านทั้งหลายจงเห็นความประมาทโดยความเป็นภัย และเห็นความไม่ประมาทโดยเป็นทางเกษม แล้วจงเจริญมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการเถิด นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายฯ

    ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเมื่อจะทรงยกย่องบุรพจรรยาของพระองค์ จึงได้ตรัสธรรมบรร-
    *ยายชื่อพุทธาปทานีย์ ด้วยประการฉะนี้แล.

    <center>จบจริยาปิฎก
    </center>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 พฤษภาคม 2010
  2. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,766

    ๗. สีลสูตร
    [๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รักเป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
    คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกขสังวรถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ เป็นพหูสูต ทรงไว้
    ซึ่งสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
    พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ เป็นผู้มีวาจาไพเราะ พูดวาจา อ่อนหวาน ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองที่สละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ความหมายได้ ๑ เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ
    ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ฯ

    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
    หน้าที่ ๙๙
     
  3. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,766
    ๘. วาจาสูตร

    [๑๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ เป็นวาจาสุภาษิต
    ไม่เป็นทุพภาษิต และเป็นวาจาไม่มีโทษ วิญญูชนไม่ติเตียน องค์ ๕ประการเป็นไฉน
    คือวาจานั้นย่อมเป็นวาจาที่กล่าวถูกกาล ๑
    เป็นวาจาที่กล่าวเป็นสัจ ๑
    เป็นวาจาที่กล่าวอ่อนหวาน ๑
    เป็นวาจาที่กล่าวประกอบด้วยประโยชน์ ๑
    เป็นวาจาที่กล่าวด้วยเมตตาจิต ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลายวาจาประกอบด้วยองค์ ๕ประการนี้แล เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต และเป็นวาจาไม่มีโทษ วิญญูชนไม่ติเตียน ฯ

    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
    หน้าที่ 216

     
  4. ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2008
    โพสต์:
    3,277
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,490

แชร์หน้านี้

Loading...