จิต,เจตสิก,รูป,นิพพาน ตามหลักพระอภิธรรมปิฎก ตอนที่๔

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 4 กันยายน 2009.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,556
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ตอนที่ ๔
    ในตอนที่ ๓ ข้าพเจ้าได้ให้ความหมายตามหลักภาษาไทย และย่อใจความ ของคำว่า เจตสิก อันหมายถึง ความรู้ ความเข้าใจ ในด้านต่างๆ รวมไปถึง การได้รับการขัดเกลาทางสังคม วัฒนธรรมจารีตประเพณี และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ นับตั้งแต่กรรมพันธุ์ เป็นต้นมา ซึ่งเป็นเหตุหรือเป็นปัจจัย ก่อให้เกิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม และการกระทำ รวมไปถึงสภาพสภาวะจิตใจ ทั้งในทางที่ค่านิยมของสังคมเรียกว่า ดี และทั้งในทางที่ค่านิยมของสังคมเรียกว่า ไม่ดี
    เพราะหากจะอธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับ "เจตสิก" ให้ละเอียดแล้ว ย่อมต้องเกี่ยวโยง หรือเกี่ยวข้อง เกี่ยวเนื่องกับ ภวัง,หรือ ภวังค์ คือ ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกาย และต้องเกี่ยวโยงกับ "จิต" ซึ่งจะทำให้สับสนสำหรับผู้เรียน ผู้ศึกษา ดังนั้นข้าพเจ้าจึงจำต้องย่อใจความ เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้ง่ายต่อการจดจำ และง่ายต่อการทำความเข้าใจ แต่ท่านทั้งหลายต้องมีสติระลึกได้อยู่เสมอว่า สิ่งที่จะทำให้เกิดเจตสิก ได้ ก็คือ จิต และภวัง,หรือ ภวังค์ และต้องระลึกได้อยู่เสมอว่า จิต คือ อะไร ภวัง,หรือ ภวังค์ คืออะไร หากท่านระลึกได้อยู่เสมอ ท่านทั้งหลายก็จะเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพราะหากจะอธิบายแบบในพระอภิธรรมปิฎก ก็คงยากที่จะอธิบาย เพราะ "เจตสิก" ย่อมเกิดขึ้น ตั้งแต่ระดับ อะตอม โมเลกุล เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ และ ระบบการทำงาน ของอวัยวะ แห่งสรีระร่างกายมนุษย์ หากจะเรียกตามหลักพระอภิธรรมปิฎก ก็คือ “มรรค,ผล แห่งมรรค,ผล” ซึ่งหากท่านที่เคยได้ศึกษา เล่าเรียน หรือกำลังคิดที่จะเล่าเรียนศึกษาใน พระไตรปิฎก ก็จะพบข้อความอันแสดงถึง “มรรค,ผล แห่งมรรค,ผล” หรือจะเรียกอีกรูปแบบหนึ่งว่า เหตุ และ ปัจจัย ก็ได้เช่นกัน
    เจตสิก หรือ ธรรม ที่ประกอบกับจิตนั้น หากเป็นไปในทางที่ดีต่อร่างกาย บ้างก็ทำให้เกิดสภาพสภาวะจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ในรูปแบบต่างๆ อันเป็นสิ่งที่ดีต่อจิตใจและร่างกาย บ้างก็สามารถทำให้เกิดความแคล่วคล่อง ในพฤติกรรม และความคิด บ้างก็ทำให้เกิดความเข้มแข็ง หรือ นิ่มนวล สุภาพ อ่อนโยน ทั้งทางกาย วาจา และใจ บ้างก็ทำให้เกิดความคิด ความเข้าใจ ในตนเองและผู้อื่นว่าสิ่งไหนควรหรือไม่ควร ในการประพฤติ ฯ
    เจตสิก บางชนิด ก็เป็นไปในทางที่เป็นผลเสียต่อสภาพร่างกายและจิตใจ บ้างทำให้เกิดสภาพสภาวะจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ความไม่ดี ต่อทุกส่วนของร่างกาย กล่าวคือ ย่อมเกิดความไม่ดีทั้งทางอายตนะภายใน อันเนื่องมาจากอายตนะภายนอก ก่อให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม และการกระทำ ทั้งทางกาย วาจา และใจ ในทางที่ไม่ดี บ้างก่อให้เกิด ความไม่ดี เฉพาะบางส่วนของร่างกาย กล่าวคือ ย่อมเกิดความไม่ดี เฉพาะบางส่วน แห่ง อายตนะภายใน อันเนื่องมาจากอายตนะภายนอก อาจจะก่อให้อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม หรือ การกระทำก็ได้ หรือไม่ก่อให้เกิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม และการกระทำก็ได้

    เมื่อได้กล่าวถึง เจตสิก ทั้งทางที่ดี และไม่ดี ไปแล้ว ก็ต้องกล่าวถึง ความเป็นกลางแห่งความรู้ ความเข้าใจ ในด้านต่างๆ อันได้รับการขัดเกลาทางสังคม วัฒนธรรม จารีต ประเพณีและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ นับตั้งแต่ กรรมพันธุ์ เป็นต้นมา ซึ่งก่อให้เกิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรรม หรือสภาพสภาวะจิตใจ อันเป็นสิ่งนำไปสู่พฤติกรรมในด้านต่างๆ อันเนื่องจากเหตุที่ว่า ความรู้ทั้งหลายที่บุคคลได้รับมานั้น ย่อมสามารถประกอบเข้า เป็นความรู้ทางด้าน ที่ดี และไม่ดีได้ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น เพราะความรู้แต่ละอย่าง ย่อมเป็นเหตุและปัจจัยเกื้อกูล เกื้อหนุน เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า ความรู้ทั้งหลายฯลฯย่อมสามารถประกอบเข้า เป็นความรู้ทางด้านที่ดี และไม่ดีได้ ก็เพราะอวัยวะทุกส่วนทำงานร่วมกัน สัมพันธ์กัน ถ้าได้รับการขัดเกลาทางสังคมฯ มาแบบไม่ค่อยดี มี อารมณ์ ความรู้สึก ความคิดไปในทางที่ไม่ดีมากกว่าในทางที่ดี ความรู้ต่างๆ ก็มักจะประกอบเข้าหรือมีผลให้บุคคลนั้นๆใช้ความรู้ ไปในทางที่ไม่ดีตามไปด้วย เช่นลำเอียงไม่ยุติธรรม ฯลฯ มาถึงจุดนี้ท่านทั้งหลายควรได้พิจารณาให้ดีว่า เจตสิก ที่ข้าพเจ้าอธิบายไปข้างต้น ล้วนเป็นสิ่งสิ่งเดียวกัน หากบุคคลมีความรู้ ฯอันทำให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดในทางที่ไม่ดีมาก ก็ย่อมใช้ ความรู้ที่มีอยู่ฯ ประพฤติ ปฏิบัติ ไปในทางที่ไม่ดี ถ้าบุคคลมีความรู้ ฯ อันทำให้เกิด อารมณ์ ความรู้สึก ความคิดในที่ดีมาก ก็ย่อมใช้ ความรู้ฯ ที่มีอยู่ ประพฤติปฏิบัติ ไปในทางที่ดี
    ความรู้ฯในบุคคลนั้นๆ ย่อมเป็นเหตุและปัจจัย ทำให้เกิดการฉุด หรือการยับยั้ง เกิดการพิจารณา เกิดการคิดไตร่ตรอง การเชื่อหรือการเกิดความเข้าใจตามหลักเหตุผลแห่งความรู้ด้านต่างๆอันเป็นไปตามหลักวิชาการนั้นๆ หรือตามวัฒนธรรม จารีตประเพณี หรือค่านิยมของสังคมที่ได้รับการขัดเกลามา
    หากท่านทั้งหลายได้อ่าน และพิจารณาจนเกิดความเข้าใจอย่างดี และถ่องแท้แล้ว ท่านทั้งหลายจะพบความ เป็นจริงตามหลักธรรมชาติแห่งมนุษย์ (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) หรือตามหลักความจริงในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ว่า "สรรพสิ่งย่อมมีทั้งที่ทางค่านิยมของสังคมเรียกว่าดี และสิ่งที่ทางค่านิยมของสังคมเรียกว่าไม่ดี และสิ่งที่ทางค่านิยมของสังคมจะเรียกว่าดีก็ไม่ใช่ จะเรียกว่า ไม่ดีก็ไม่ใช่ หรือจะเรียกว่า "ทางสายกลาง" ก็ย่อมได้
    ในเมื่อท่านทั้งหลายได้ทำความเข้าใจแล้วว่า ในเมื่อมนุษย์ล้วนย่อมมี เจตสิก ทั้งทางที่ดี และไม่ดี และจะว่าดีก็ไม่ใช่ จะว่าไม่ดีก็ไม่ใช่แล้ว ท่านทั้งหลายก็ควรได้เรียนรู้และทำความเข้าใจต่อไปว่า เหตุและปัจจัย ที่ประกอบกันเป็นจิต และก่อให้เกิดเจตสิก ตามหลักพระอภิธรรมปิฎกนั้นคืออะไร เป็นไปตามหลักธรรมชาติ เป็นไปตามหลักความจริงในยุคปัจจุบันหรือไม่ ซึ่งท่านทั้งหลายที่เคยได้เล่าเรียนศึกษา พระอภิธรรมปิฎกหรือท่านที่มีสติระลึกนึกได้ในบทความนี้ ก็คงจะรู้แล้วว่า สิ่งที่ประกอบกันเป็นจิต และเจตสิก นั้นก็คือ “รูป” นั่นเอง

    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
    ๓ กันยายน ๒๕๕๒
     
  2. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    อนุโมทนา สาธุ นิพพานังปัจจโยโหตุ รูป จิต เจตสิก นิพพาน เป็น ปรมัตถธรรม (ธรรมที่เป็นประโยชน์สูงสุด)
     

แชร์หน้านี้

Loading...