ตำ นาน ลี้ ลับ แห่ง เมือง ลับ แล

ในห้อง 'เรื่องผี' ตั้งกระทู้โดย Lukhgai, 20 มกราคม 2009.

  1. Lukhgai

    Lukhgai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    3,000
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +8,239
    ตำ นาน ลี้ ลับ แห่ง เมือง ลับ แล

    <DIR><DIR>
    ...
    เรื่องเล่าปรัมปราของชาวเมืองลับแล เมืองเล็ก ๆ
    ที่ปัจจุบันเป็นอำเภอลับแล อำเภอหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์
    ซึ่งเล่าสืบทอดกันต่อมาจนเป็นที่แพร่หลาย เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
    คือเรื่อง ตำนานรักภายใต้กฎเกณฑ์แห่งความยึดมั่นในศีลและสัจจะ
    ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า
    ชายหนุ่มจากทุ่งยั้งผู้มีอาชีพหาของป่าได้พลัดหลงเข้าไปในเขตเมืองลับแลแล้วหาทางออกไม่ได้
    จนไปพบรักกับห?ิงสาวชาวลับแลแล้วอยู่กินเป็นผัวเมียกันอย่างมีความสุขในเมืองลับแลนั่นเอง

    ทั้งคู่ครองรักกันมาเนิ่นนานกระทั่งมีลูกด้วยกัน
    ภายใต้กฎเข้มของเมืองลับแลที่ยึดถือสัจจะเป็นที่ตั้งห้ามกล่าวคำโป้ปดมดเท็จโดยเด็ดขาด
    วันหนึ่งฝ่ายชายเลี้ยงลูกอยู่บ้านตามลำพัง ฝ่ายห?ิงออกไปเก็บผักตักน้ำ
    เจ้าลูกก็เกิด ร้องไห้จ้าไม่ยอมหยุดขึ้นมา พ่อคงไม่รู้จะปลอบยังไง
    เลยหลุดปากออกไปว่า แม่กลับมาแล้ว ทำให้ลูกเงียบเสียงในบัดดล
    แต่บรรดาท่านผู้ชมที่อยู่ไม่ห่างคือพ่อแม่ฝ่ายห?ิง
    มองไปไม่เห็นลูกสาวกลับมาจริง ก็ถือเป็นความผิดอันให?่หลวง
    ถึงขั้นต้องเนรเทศส่งลูกเขยกลับออกไปให้พ้นเขต

    ก่อนส่งกลับยังมีการแถมของชำร่วยจัดใส่ย่ามให้เจ้าหนุ่มกลับไปเป็นที่ระลึกอีกด้วย
    แต่คงเป็นด้วยกรรมของคนที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในศีลในสัจจะ
    ระหว่างทางรู้สึกหนักจึงเปิดย่ามดู ก็เห็นเป็นแท่งขมิ้นไม่มีค่าอะไร
    เลยเดินไปทิ้งไปตลอดทาง พอกลับถึงบ้านกลับกลายเป็นว่าแท่งขมิ้นนั้น
    แท้จริงเป็นทองคำแท่ง ซึ่งก็เหลือมาเพียงแท่งเดียว
    ด้วยความเสียดายจึงย้อนรอยกลับไปทางเดิม
    แต่ก็ไม่พบทั้งแท่งขมิ้นและเมืองลับแลอีกเลย ฟัง ๆ แล้วก็สะใจดี
    สาสมกับความไม่มีสัจจะ ไม่มีน้ำอดน้ำทน ซ้ำยังเห็นของคนรักมอบ
    ให้เป็นของไร้ค่าของเจ้าหนุ่มทุ่งยั้ง
    แต่ก็น่าเห็นใจสาวลับแลที่ต้องเป็นแม่ม่ายเพราะคำเท็จ
    ที่ไม่น่าจะร้ายแรงนัก

    จากตำนานเรื่องเล่าเมืองลับแล
    นอกจากจะบอกถึงความเร้นลับของเมืองลับแลที่ยาก จะมีใครพบได้แล้ว
    ยังอาจสะท้อนได้ถึงวิถีชีวิตของชาวลับแลที่เปี่ยมไปด้วยศีลและสัจจะ
    ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ในสังคมที่วางไว้อย่างเคร่งครัด
    ชาวลับแลจึงอยู่กันอย่างสุขสงบตลอดมา

    แม้จะไม่อาจยืนยันได้ว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่
    แต่ก็นับว่าเป็นอุบายที่แยบยลยิ่งในการอบรมสั่งสอนให้คนเป็นคนดี
    อย่างน้อยก็ยังรักษาศีลได้ข้อหนึ่ง นี่ก็เป็นเรื่องเล่าสนุก ๆ
    ที่สืบทอดกันมา ส่วนความเชื่อเรื่องการสร้างบ้านแปลงเมือง
    จนกำเนิดเป็นเมืองลับแลนั้น
    มีเรื่องสืบทอดกันมาว่าชาวเมืองลับแลอพยพโยกย้ายมาเมื่อประมาณพุทธศักราช
    1500
    ซึ่งเป็นสมัยแห่งอาณาจักรโยนกนคร

    มีราชธานีชื่อ นครนาคพันธ์สิงหนวัติโยนกชัยบุรีเชียงแสน
    (
    ปัจจุบันคืออำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย)
    ครั้งนั้นราษฎรทนความทุกข์ยากอันเกิดจากสงครามและโรคระบาดไม่ไหว

    พากันละทิ้ง ถิ่นฐานแยกย้ายไปหาที่ทำกินใหม่ ราษฎรประมาณ ๒๐ ครอบครัว
    ภายใต้การนำของหนานคำลือ และหนานคำแสน ได้เดินทางล่องลงใต้
    ตามความเชื่อว่าวิ??าณเจ้าปู่พ?าแก้ววงเมือง กษัตริย์องค์ที่ ๑๓
    แห่งนครโยนก มาเข้าฝันบอกว่า มีแหล่งหากินอันอุดมสมบูรณ์
    มีน้ำตกและธารน้ำไหลตลอดทุกฤดูกาล ดินฟ้าอากาศไม่หนาวไม่ร้อนจนเกินไป

    ราษฎรกลุ่มนี้ ได้อันเชิ?ดวงวิ??าณของปู่พ?าแก้ววงเมืองไปด้วย
    เดินทางผ่านจังหวัดลำปาง
    จังหวัดแพร่จนไปพบแหล่งทำมาหากินในฝันแห่งใหม่เมื่อถึงหุบเขาลับแล
    ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศตรงตามที่วิ??าณเจ้าปู่พ?าแก้ววงเมือง คือ
    มีน้ำตก ธารน้ำไหล ดินฟ้าอากาศ ชุ่มชื้น มีภูเขาเตี้ย ๆ
    อุดมไปด้วยพันธุ์ไม่นานาชนิดแสงแดดส่องถึงพื้นดินเพียงครึ่งวัน

    จากนั้นก็ลงหลักปักฐานตั้งบ้านเมืองขึ้นที่เมืองลับแล ให้ชื่อว่า
    บ้านเชียงแสน บรรดาช้าง ม้า วัว ควาย
    ที่นำมาด้วยก็ตั้งเป็นบ้านคอกควายและบ้านคอกช้างให้อยู่
    (
    ปัจจุบันยังมีชื่อบ้านคอกควายและบ้านคอกช้างอยู่ที่ตำบลฝายหลวงและตำบลศรีพนมมาศ)
    เมื่อสร้างบ้าน เมืองแล้วก็แต่งตั้งหนานคำลือเป็น "เจ้าแคว้น
    "
    (
    เทียบเท่ากำนัน) หนานคำแสนเป็น "เจ้าหลัก" (เทียบเท่าผู้ให?่บ้าน
    )
    ปกครองบ้านเมือง ๗ ปีผ่านไปด้วยความคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน


    หนานคำลือก็ได้เป็นหัวหน้านำราษฎรราว 10 คน
    เดินทางจากลับแลไปยังโยนกเพื่อกราบทูลให้พระเจ้าเรืองธิราช
    กษัตริย์องค์ที่ 21 ของโยนก
    ได้ทรงทราบถึงการตั้งหลักแหล่งทำมาหากินแห่งใหม่ของพวกตน
    และขอนิมนต์พระสงฆ์กลับไปลับแล เนื่องจากที่นั่นยังขาดพระสงฆ์
    พระเจ้าเรืองธิราชได้พระราชทาน พระสงฆ์จำนวน 6 รูป พระธรรม พระไตรปิฎก
    และเครื่องใช้สอยเกี่ยวกับศาสนพิธี ให้หนานคำลือนำกลับไปเมืองลับแล

    เมื่อกลับไปถึงได้สร้างวัดชื่อ
    วัดเก้าเง้ามูลศรัทธาขึ้นเป็นวัดแห่งแรกในเมืองลับแล
    (
    ปัจจุบันคือวัดใหม่ในตำบลฝายหลวง
    อาคารวัดเดิมอยู่ตรงบริเวณสนามโรงเรียน แต่ชำรุดหักพังลงหมดแล้ว)
    เรื่องราวอันเป็นเรื่องเล่าถึงความเป็นมาแต่หนหลังของเมืองลับแลยังไม่จบลงแค่นี้

    ยังมีสิ่งที่สืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบันอีกหลายเรื่อง
    http://www.geocities.com/ikbeki/story44.html</DIR></DIR>
     
  2. รักเสมอ

    รักเสมอ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2008
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +235
    ขอบคุณมากครับ
    สำหรับนิทาน และประวัติเรื่องราวแห่งเมืองลับแล
    ผมก็เชื่อว่ามีจริงครับ
    มีหลายแห่งด้วยในเมืองไทยเรานี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...