ทดลองอ่านอนิจจวรรค

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย vilawan, 3 มิถุนายน 2009.

  1. vilawan

    vilawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    836
    ค่าพลัง:
    +1,432
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐<O:p</O:p


    สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค<O:p</O:p


    พระสุตตันตปิฎก<O:p</O:p


    เล่ม ๑๐<O:p</O:p


    สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค<O:p</O:p


    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น<O:p</O:p


    อนิจจวรรคที่ ๑
    อัชฌัตติกอนิจจสูตร<O:p</O:p
    [๑]ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้<O:p</O:p
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา หูเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ จมูกเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ลิ้นเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ กายเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ใจเป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเราดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในหู ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจมูก ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในลิ้น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว
    กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
    จบสูตรที่ ๑
    </O:p

    อัชฌัตติกทุกขสูตร<O:p</O:p
    [๒]ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา หูเป็นทุกข์ ฯลฯ จมูกเป็นทุกข์ ฯลฯ ลิ้นเป็นทุกข์ ฯลฯ กายเป็นทุกข์ ฯลฯ ใจเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯลฯ <O:p</O:p
    จบสูตรที่ ๒<O:p</O:p

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อัชฌัตติกอนัตตสูตร
    [๓]ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น
    ท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
    นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา หูเป็นอนัตตา ฯลฯ
    จมูกเป็นอนัตตา ฯลฯ ลิ้นเป็นอนัตตา ฯลฯ กายเป็นอนัตตา ฯลฯ
    ใจเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญา
    อันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่านั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
    นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯลฯ ฯ
    จบสูตรที่ ๓

    พาหิรอนิจจสูตร
    [๔]ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
    สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรานั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในรูป ...ย่อมทราบชัด ... ฯ
    จบสูตรที่ ๔

    พาหิรทุกขสูตร
    [๕]ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
    สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
    สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ... ฯ

    จบสูตรที่ ๕

    พาหิรอนัตตสูตร
    [๖]ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่าน
    ทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรานั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
    เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ... ฯ<O:p</O:p
    จบสูตรที่ ๖

    อตีตานาคตปัจจุปันนานิจจสูตร
    [๗]ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง
    จะกล่าวไปไยถึงจักษุอันเป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ย่อมไม่มีเยื่อใยในจักษุที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินจักษุที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งจักษุที่เป็นปัจจุบัน หู จมูก ลิ้นกาย ใจที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง จะกล่าวไปไยถึงใจที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในใจที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินใจที่เป็นปัจจุบัน ย่อมปฏิบัติเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งใจที่เป็นปัจจุบัน ฯ
    จบสูตรที่ ๗

    อตีตานาคตปัจจุปันนทุกขสูตร
    [๘]ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ จะกล่าว
    ไปไยถึงจักษุที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่
    มีเยื่อใยในจักษุที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินจักษุที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติ
    เพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งจักษุที่เป็นปัจจุบัน หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    ที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ จะกล่าวไปไยถึงใจที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในใจที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินใจที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งใจที่เป็นปัจจุบัน ฯ<O:p</O:p
    จบสูตรที่ ๘

    อตีตานาคตปัจจุปันนานัตตสูตร
    [๙]ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา จะกล่าวไปไยถึงจักษุที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในจักษุที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินจักษุที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งจักษุที่เป็นปัจจุบัน หู จมูก ลิ้น กาย ใจที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา จะกล่าวไปไยถึงใจที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในใจที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินใจที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งใจที่เป็นปัจจุบัน ฯ
    จบสูตรที่ ๙

    พาหิรสูตร<O:p</O:p
    [๑๐]ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง<O:p</O:p
    จะกล่าวไปไยถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้<O:p</O:p
    ย่อมไม่มีเยื่อใยในรูปที่เป็นอดีต ย่อมไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งรูปที่เป็นปัจจุบัน เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง จะกล่าวไปไยถึงที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใย<O:p</O:p
    ในธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต ย่อมไม่เพลิดเพลินในธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคต ย่อม<O:p</O:p
    ปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน ฯ
    <O:p</O:p

    [๑๑]ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ จะกล่าวไปไยถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งรูปที่เป็นปัจจุบัน ฯลฯ ฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    [๑๒]ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา จะกล่าวไปไยถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งรูปที่เป็นปัจจุบัน เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา จะกล่าวไปไยถึงที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในธรรมารมที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน ฯ<O:p</O:p

    จบสูตรที่ ๑๐
    จบอนิจจวรรคที่ ๑
    ----------------------------------------------------<O:p</O:p
    รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
    ๑. อัชฌัตติกอนิจจสูตร ๒. อัชฌัตติกทุกขสูตร
    ๓. อัชฌัตติกอนัตตสูตร ๔. พาหิรอนิจจสูตร ๕. พาหิรทุกขสูตร
    ๖. พาหิรอนัตตสูตร ๗. อตีตานาคตปัจจุปันนานิจจสูตร
    ๘. อตีตานาคตปัจจุปันนทุกขสูตร<O:p</O:p
    ๙. อตีตานาคตปัจจุปันนานัตตสูตร ๑๐. พาหิรสูตร

    [music]http://audio.palungjit.org/attachment.php?attachmentid=26667[/music]<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2009
  2. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,159
    ค่าพลัง:
    +19,888
    ขออนุโมทนาค่ะคุณบี

    จากกระทู้นี้ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
    พี่กบเข้าไปช่วยเอาเนื้อหาลงให้ แล้ว

    ๑. อนิจจวรรค
    ๑. อัชฌัตติกอนิจจสูตร
    ๒. อัชฌัตติกทุกขสูตร
    ๓. อัชฌัตติกอนัตตสูตร
    ๔. พาหิรอนิจจสูตร
    ๕. พาหิรทุกขสูตร
    ๖. พาหิรอนัตตสูตร
    ๗. อตีตานาคตปัจจุปันนานิจจสูตร
    ๘. อตีตานาคตปัจจุปันนทุกขสูตร
    ๙. อตีตานาคตปัจจุปันนานัตตสูตร
    ๑๐. พาหิรสูตร

    ถ้าวรรคนี้มีพระสูตรสั้นๆ
    คุณบีรวมไฟล์เป็นไฟล์เดียวกันเลยดีไหม๊ค่ะ
    แล้วตั้งชื่อว่า 18-001 ๑. อนิจจวรรค
     

แชร์หน้านี้

Loading...