ทดลองอ่าน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย siamesecat2005, 8 มิถุนายน 2009.

  1. siamesecat2005

    siamesecat2005 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    2,304
    ค่าพลัง:
    +292
    สวัสดีค่ะ แคทมาส่งการบ้านค่ะ ^^
    อ่านผิดพลาดอย่างไรขออภัยด้วยนะคะ ^^"
    ขอความอนุเคราะห์ช่วยแนะนำด้วยค่ะ ไม่ได้อ่านนานแล้วค่ะ
    เสียงเหมือนไม่ค่อยมีแรงค่ะ
    ขอบพระคุณในคำแนะนำทุกท่านค่ะ ขอบคุณมาก ๆๆ เลยค่ะ ^^

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
    พระสุตตันตปิฎก
    เล่ม ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    มาติกา
    ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณ [ญาณอันสำเร็จ
    มาแต่การฟัง] ๑ ปัญญาในการฟังธรรมแล้ว สังวรไว้ เป็นสีลมยญาณ [ญาณ
    อันสำเร็จมาแต่ศีล] ๑ ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี เป็นภาวนามยญาณ
    [ญาณอันสำเร็จมาแต่การเจริญสมาธิ] ๑ ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรม
    ฐิติญาณ [ญาณในเหตุธรรม] ๑ ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนอดีต
    ส่วนอนาคตและส่วนปัจจุบันแล้วกำหนดไว้ เป็นสัมมสนญาณ [ญาณในการ
    พิจารณา] ๑ ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรมส่วนปัจจุบัน
    เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ [ญาณในการพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม]
    ๑ ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็นวิปัสสนาญาณ
    [ญาณในความเห็นแจ้ง] ๑ ปัญญาในการปรากฏโดยความเป็นภัย เป็นอาทีนวญาณ
    [ญาณในการเห็นโทษ] ๑ ปัญญาในความปรารถนาจะพ้นไปทั้งพิจารณาและวางเฉย
    อยู่ เป็นสังขารุเบกขาญาณ ๑ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิต
    ภายนอก เป็นโคตรภูญาณ ๑ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์
    และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ๑ ปัญญาในการระงับประโยค
    เป็นผลญาณ ๑ ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ
    ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุติญาณ ๑ ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุม
    ในขณะนั้น เป็นปัจจเวกขณญาณ ๑ ปัญญาในการกำหนดธรรมภายใน เป็น
    วัตถุนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งวัตถุ] ๑ ปัญญาในการกำหนดธรรม
    ภายนอก เป็นโคจรนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งโคจร] ๑ ปัญญาในการ
    กำหนดจริยา เป็นจริยานานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งจริยา] ๑ ปัญญา
    ในการกำหนดธรรม ๔ เป็นภูมินานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งภูมิ] ๑
    ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ เป็นธรรมนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งธรรม]
    ๑ ปัญญาที่รู้ยิ่ง เป็นญาตัฏฐญาณ [ญาณในความว่ารู้] ๑ ปัญญาเครื่องกำหนดรู้
    เป็นตีรณัฏฐญาณ [ญาณในความว่าพิจารณา] ๑ ปัญญาในการละ เป็น
    ปริจจาคัฏฐญาณ [ญาณในความว่าสละ] ๑ ปัญญาเครื่องเจริญ เป็นเอกรสัฏฐญาณ
    [ญาณในความว่ามีกิจเป็นอันเดียว] ๑ ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง เป็นผัสสนัฏฐญาณ
    [ญาณในความว่าถูกต้อง] ๑ ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอัตถปฏิสัมภิทา-
    *ญาณ ๑ ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ปัญญา
    ในความต่างแห่งนิรุติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ปัญญาในความต่างแห่ง
    ปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ๑


    -------

    ปัญญาในความต่างแห่งวิหารธรรม เป็น
    วิหารัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมเครื่องอยู่] ๑ ปัญญาในความต่างแห่งสมาบัติ
    เป็นสมาปัตตัฏฐญาณ [ญาณในความว่าสมาบัติ] ๑ ปัญญาในความต่างแห่งวิหาร
    สมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ [ญาณในความว่าวิหารสมาบัติ] ๑ ปัญญา
    ในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ให้ฟุ้งซ่าน เป็น
    อานันตริกสมาธิญาณ [ญาณในสมาธิอันมีในลำดับ] ๑ ทัสนาธิปไตย ทัสนะมี
    ความเป็นอธิบดี วิหาราธิคม คุณเครื่องบรรลุ คือวิหารธรรมอันสงบ และปัญญา
    ในความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอันประณีต เป็นอรณวิหารญาณ
    [ญาณในวิหารธรรมอันไม่มีกิเลสเป็นข้าศึก] ๑ ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ
    ด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ ด้วยความระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖
    และด้วยสมาธิจริยา ๙ เป็นนิโรธสมาปัตติญาณ [ญาณในนิโรธสมาบัติ] ๑ ปัญญา
    ในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว เป็น
    ปรินิพพานญาณ ๑

    ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการตัดขาด
    โดยชอบและในนิโรธ เป็นสมสีสัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมอันสงบและธรรม
    อันเป็นประธาน] ๑ ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนา สภาพต่างๆ และเดช
    เป็นสัลเลขัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมเครื่องขัดเกลา] ๑ ปัญญาในความ
    ประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เป็นวิริยารัมภญาณ ๑ ปัญญาในการ
    ประกาศธรรมต่างๆ เป็นอรรถสันทัสนญาณ [ญาณในการเห็นชัดซึ่งอรรถธรรม] ๑
    ปัญญาในการสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นหมวดเดียวกันในการแทงตลอดธรรมต่างกัน
    และธรรมเป็นอันเดียวกัน เป็นทัสนวิสุทธิญาณ ๑ ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏ
    โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น เป็นขันติญาณ ๑ ปัญญาในความถูกต้องธรรม
    เป็นปริโยคาหนญาณ [ญาณในความย่างเข้าไป] ๑ ปัญญาในการรวมธรรม
    เป็นปเทสวิหารญาณ [ญาณในวิหารธรรมส่วนหนึ่ง] ๑ ปัญญาในความมีกุศลธรรม
    เป็นอธิบดีเป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยปัญญาที่รู้ดี] ๑ ปัญญา
    ในธรรมเป็นเหตุละความเป็นต่างๆ เป็นเจโตวิวัฏฏญาณ [ญาณในการหลีกออก
    จากนิวรณ์ด้วยใจ] ๑ ปัญญาในการอธิษฐาน เป็นจิตตวิวัฏฏญาณ [ญาณในความ
    หลีกไปแห่งจิต] ๑ ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า เป็นญาณวิวัฏฏญาณ [ญาณใน
    ความหลีกไปด้วยญาณ] ๑ ปัญญาในความสลัดออก เป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณ
    [ญาณในความหลีกไปแห่งจิตด้วยวิโมกข์] ๑

    ---------

    ปัญญาในความว่าธรรมจริง
    เป็นสัจจวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยสัจจะ] ๑ ปัญญาในความ
    สำเร็จด้วยการกำหนดกาย [รูปกายของตน] และจิต [จิตมีญาณเป็นบาท]
    เข้าด้วยกัน และด้วยสามารถแห่งความตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญา [สัญญาประกอบด้วย
    อุเบกขาในจตุตถฌานเป็นสุขละเอียด] และลหุสัญญา [สัญญาเบาเพราะพ้นจาก
    นิวรณ์และปฏิปักขธรรม] เป็นอิทธิวิธญาณ [ญาณในการแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ]
    ๑ ปัญญาในการกำหนดเสียงเป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียวด้วยสามารถการ
    แผ่วิตกไป เป็นโสตธาตุวิสุทธิญาณ [ญาณอันหมดจดแห่งโสตธาตุ] ๑ ปัญญา
    ในการกำหนดจริยาคือ วิญญาณหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต
    ๓ ประเภท และด้วยสามารถแห่งความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เป็น
    เจโตปริยญาณ [ญาณในความกำหนดรู้จิตผู้อื่นด้วยจิตของตน] ๑ ปัญญาในการ
    กำหนดธรรมทั้งหลายอันเป็นไปตามปัจจัย ด้วยสามารถความแผ่ไปแห่งกรรม
    หลายอย่างหรืออย่างเดียว เป็นบุพเพนิวาสานุสสติญาณ [ญาณเป็นเครื่อง
    ระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้] ๑ ปัญญาในความเห็นรูปเป็นนิมิตหลายอย่าง
    หรืออย่างเดียว ด้วยสามารถแสงสว่าง เป็นทิพจักขุญาณ ๑ ปัญญาในความ
    เป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔ เป็นอาสวักขยญาณ
    [ญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย] ๑ ปัญญาในความกำหนดรู้ เป็น-
    *ทุกขญาณ ๑ ปัญญาในความละ เป็นสมุทยญาณ ๑ ปัญญาในความทำให้แจ้ง เป็น
    นิโรธญาณ ๑ ปัญญาในความเจริญ เป็นมรรคญาณ ๑ ทุกขญาณ [ญาณ
    ในทุกข์] ๑ ทุกขสมุทยญาณ [ญาณในเหตุให้เกิดทุกข์] ๑ ทุกขนิโรธญาณ
    [ญาณในความดับทุกข์] ๑ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ [ญาณในข้อปฏิบัติ
    เครื่องให้ถึงความดับทุกข์] ๑ อรรถปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ
    ๑ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ๑ อินทริยปโรปริยัติญาณ
    [ญาณในความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย] ๑ อาสยานุสยญาณ
    [ญาณในฉันทะเป็นที่มานอนและกิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย] ๑ ยมก
    ปาฏิหิรญาณ [ญาณในยมกปาฏิหาริย์] ๑ มหากรุณาสมาปัตติญาณ ๑
    สัพพัญญุตญาณ ๑ อนาวรณญาณ ๑
    ญาณเหล่านี้รวมเป็น ๗๓ ญาณ ในญาณทั้ง ๗๓ นี้ ญาณ ๖๗
    [ข้างต้น] ทั่วไปแก่พระสาวก ญาณ ๖ [ในที่สุด] ไม่ทั่วไปด้วยพระสาวก
    เป็นญาณเฉพาะพระตถาคตเท่านั้น ฉะนี้แล ฯ
    จบมาติกา


    ที่มา ?Ð䵃?Ԯ???ը
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...