ทายกและปฎิคาหกหมายความว่าอย่างไร?

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ปังปอนด์9, 4 กันยายน 2022.

  1. ปังปอนด์9

    ปังปอนด์9 สมาชิกใหม่ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2022
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +8
    ทายกและปฎิคาหกหมายความว่าอย่างไร?

    ในพระพุทธศาสนา ทานหรือการให้เป็นวิธีการทำบุญวิธีหนึ่ง
    การให้นั้นนอกจากเป็นการช่วยเหลือผู้อื่นแล้ว ยังเป็นการช่วยขัดเกลาจิตใจผู้ให้ให้บริสุทธิ์ผ่องใสได้ด้วย การให้แบ่งเป็น ๓ ประเภท ดังนี้

    -ให้วัตถุสิ่งของ เช่น เงิน อาหาร เสื้อผ้า รวมถึงการออกแรงกายช่วยเหลือผู้อื่นด้วย

    -ให้ความรู้ เช่น ช่วยทบทวนวิชาที่เพื่อนขาดเรียนเพราะเหตุจำเป็น ช่วยเตือนสติ ช่วยให้ข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น

    -ให้อภัย คือ ระงับความโกรธ ไม่ถือโทษเมื่อผู้ทำผิดโดยมีตั้งใจไม่อาฆาต และความตั้งใจงดเว้นไม่ประพฤติผิดศีล รักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์

    คุณสมบัติของผู้ให้ (ทายก) มีดังนี้

    6314904eff9f6d83c8981e5b_800x0xcover_GDeqK8MO.jpg
    ๑. ให้ทานแก่บุคคลที่ควรให้
    การให้ทานแก่คนที่ไม่ควรให้นั้น นอกจากจะไม่เป็นประโยชน์แล้วยังอาจเป็นโทษด้วย เช่น คนที่ดื่มเหล้าจนเมามายแล้วมาขอเงินเราเพื่อไปซื้อมาดื่มอีก

    อย่างนี้ไม่ควรให้ เพื่อนที่เล่นการพนันจนติดเป็นนิสัย มาขอเงินหรือขออาหารเราก็ไม่ควรให้ เพราะประพฤติตนไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม อีกทั้งยังไม่รู้จักประกอบสัมมาอาชีวะ หรือคนที่มีร่างกายแข็งแรงแต่มีความเกียจคร้าน วานให้เราช่วยยกของให้ เราก็ไม่ควรทำ แต่ถ้าเป็นคนเจ็บ ทุพพลภาพ คนชรา สตรีมีครรภ์ อย่างนี้เราควรทำให้ บุคคลเช่นไรที่เราควรให้ทานนั้น เราต้องใช้เหตุผลไตร่ตรองพินิจพิจารณาเป็นราย ๆ ไป

    ๒. ให้ในสิ่งที่ควรให้
    ของที่เราให้ทานนั้นต้องเป็นของบริสุทธิ์ และเราได้มาโดยชอบธรรม มิใช่ไปลักขโมยหรือฉ้อโกงเขามา และจะต้องไม่มีพิษมีภัย มีแต่ประโยชน์แก่ผู้รับ เช่น เราไม่ควรให้อาวุธหรือ ยาเสพติดแก่ใคร เพราะการให้สิ่งที่เป็นโทษแก่ผู้รับนั้น ไม่ถือว่าเป็นทาน แต่เป็นการทำร้ายมากกว่า

    ๓. ให้ด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์
    การให้ที่ดีจะต้องเกิดจากเจตนาที่บริสุทธิ์และเต็มใจให้ กล่าวคือ ก่อนให้ก็มีความยินดีที่จะให้และคิดว่าเป็นประโยชน์แก่ผู้รับ ขณะที่ให้ก็มีจิตใจผ่องใส ไม่คิดเสียดายหรือลังเลใจ และเมื่อให้ไปแล้ว

    คุณสมบัติของผู้รับ(ปฏิคาหก) มีดังนี้

    ๑.เป็นผู้ที่ไม่โลภอยากได้ของคนอื่น

    ๒.เป็นผู้ปราศจากโทสะ ในขณะที่มีผู้ให้สิ่งของ หรือวัตถุที่ให้น้อย

    ๓.ไม่เป็นผู้มีโมหะ คือ ความหลงผิดคิดไปต่างๆนานา อย่างที่ไม่เป็นประโยชน์

    68821.jpg
    ขอขอบคุณข้อมูลจากแหล่งอ้างอิง
    http://tayokpatikahok.blogspot.com/2014/01/blog-post.html?m=1

    ก็จบไปแล้วท่านผู้อ่านทุกท่านน่าจะได้ความรู้กันในเรื่องการปฏิบัติธรรม สามารถนำมาประยุกต์และปฏิบัติธรรมให้ดียิ่งๆขึ้นไปๆๆ
    ท่านใดนี่มีข้อสงสัยสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ที่ เว็บบอร์ดพระนิพพานเป็นชุมชนชาวพุทธ
    https://thenirvanalive.com/wp/

    ท่านใดที่สนใจแลกเปลี่ยนความรู้สามารถเข้ามาตั้งกระทู้ธรรมะกระทู้คำถาม และศึกษาข้อมูลกับเพื่อนๆในเว็บบอร์ดกันได้
    https://thenirvanalive.com/wp/community/
     

แชร์หน้านี้

Loading...