ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 28 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๑๖๓/๔๖๒
    ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
    [๗๑๒] ดูกรพรหมทัตตกุมาร ความเกษมสำราญ ภิกษาหารหาได้ง่าย และ
    ความเป็นผู้สำราญกายนี้ ไม่พึงมีตลอดกาลเป็นนิตย์ เมื่อประโยชน์ของ
    ตนสิ้นไป ท่านอย่าเป็นผู้ล่มจมเสียเลย เหมือนเรือแตก คนไม่ได้
    ที่พึ่งอาศัย ต้องจมอยู่ในท่ามกลางทะเล ฉะนั้น.
    [๗๑๓] บุคคลทำกรรมใด ย่อมมองเห็นกรรมนั้นในตน ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้
    ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผล
    เช่นนั้น.
     
  2. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

    "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" นี้เป็นความจริง อันไม่ตาย คือ ไม่รู้จักเปลี่ยนแปลง
    แม้จะมีคนในสมัยหนึ่ง เกิดระแวงว่า
    ทำไม คนทำชั่ว กลับร่ำรวยเร็ว
    คนทำดี กลับยากจนลง หรือเป็นอยู่ด้วยความยากลำบากก็ตาม
    ความจริง ก็ยังคงเป็นความจริงว่า "ทำดีได้ดี, ทำชั่วได้ชั่ว"
    อยู่ตามเดิม ไม่โยกคลอน.

    ทำดีได้ดีแน่ เพราะมันดี อยู่ที่ตัวการกระทำนั่นเอง และมันดีเสร็จแล้วตั้งแต่เมื่อทำ
    แต่ที่มันจะได้เงินหรืออื่นๆ ด้วยหรือไม่ นั่นเป็นอีกส่วนหนึ่ง
    แม้ทำชั่ว ก็เป็นอย่างเดียวกัน มันชั่วอยู่ที่ตัวการกระทำนั่นเอง
    ไปทำเข้า มันก็ชั่ว มาเสร็จแล้ว ตั้งแต่เมื่อทำ จะได้เงินด้วยหรือไม่ นั่นอีกส่วนหนึ่ง
    ฉะนั้น "ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว" โดยไม่มีทางหลีกไปทางไหนพ้น.

    ทำดีได้ดี และถ้าได้เงินมาด้วย มันก็เป็น "เงินดี"
    ทำชั่วได้ชั่ว และถ้าได้เงินมาด้วย มันก็เป็น "เงินชั่ว"
    เงินดี ทำเจ้าของให้เป็นเจ้าของที่ดี เย็นอกเย็นใจ
    เงินชั่ว ทำเจ้าของให้เป็น "ปีศาจ ผู้สูบเลือดมนุษย์"
    ฉะนั้น แม้จะได้เงินมามาก ด้วยการทำชั่ว
    ก็มีแต่จะยิ่งทำเจ้าของให้เป็น "ปีศาจ" มากยิ่งขึ้น ตามส่วนนั่นเอง.

    ฉะนั้น ความจริง คงหนีความจริงไปไม่พ้น ว่า
    "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" อยู่จนตลอดกัลปาวสาน เป็นอย่างน้อย.

    ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๓

    คัดจาก หนังสือ ชุมนุมข้อคิดอิสระ พุทธทาสภิกขุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...