พระผงหลวงปู่บุญวัดบ้านนาระยอง พระปิดตาลป.เจียง เนินหย่องระยอง.

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 17 สิงหาคม 2022.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    FB_IMG_1723456909397.jpg
    เหรียญปรกโพธิ์ รุ่น๒ หลวงพ่อเยี่ยม วัดเลาขวัญ กาญจนบุรี
    ประวัติพระครูกาญจนคุณาธาร (หลวงพ่อเยี่ยม สณฺหวาโจ)โดยสังเขป
    สถานะเดิม
    ชื่อ เยี่ยม นามสกุล ชาญวิทยา เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๔๖๔ ตรงกับ วันศุกร์ เดือน ๑๐ ปีระกา หมู่ที่ ๑ ตำบลเลาขวัญ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
    โยมบิดาชื่อ ทรัพย์ โยมมารดาชื่อ เพิ่ม มีพี่น้องท้องเดียวกัน ๖ คน คือ
    ๑. นางสำอาง พินิจนารถ
    ๒. พระครูกาญจนคุณาธาร
    ๓. นายหยวน ชาญวิทยา
    ๔. นางสาวกริ่ม ชาญวิทยา
    ๕. นายกรึก ชาญวิทยา
    ๖. นางเกลื่อม ศิลปพงษ์
    อุปสมบท
    เมื่อวันที่ ๑๗ เดือนพฤษภาคม ๒๔๘๔ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๗ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ พระอุโบสถหลังเก่า วัดจิกด่าน จำพรรษา ณ วัดเลาขวัญ ตำบลดอนแสลบ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
    พระอุปัชฌาย์ พระสมุห์ชาญ วัดหนองปลิง ตำบลดอนแสลบ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
    การศึกษา
    พ.ศ. ๒๔๗๙ จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนวัดเลาขวัญ (ปัจจุบันเป็นอนุบาลวัดเลาขวัญ)
    พ.ศ. ๒๔๙๕ สอบได้นักธรรมชั้นโท จากสำนักเรียนวัดเลาขวัญ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
    การปกครอง
    พ.ศ.๒๔๙๐ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดเลาขวัญ
    พ.ศ.๒๔๙๑ เป็นเจ้าอาวาสวัดเลาขวัญ
    พ.ศ.๒๔๙๕ เป็นพระอุปัชฌาย์
    พ.ศ.๒๕๑๑ เป็นเจ้าคณะตำบลเลาขวัญ
    พ.ศ.๒๕๒๐ เป็นเจ้าคณะอำเภอเลาขวัญ
    สมณศักดิ์
    พ.ศ.๒๕๑๓ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นตรีที่ พระครูกาญจนคุณาธาร
    พ.ศ.๒๕๑๗ เลื่อนเป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบลชั้นโท
    พ.ศ.๒๕๒๐ เลื่อนเป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอชั้นโท
    พ.ศ.๒๕๒๔ เลื่อนเป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก
    พ.ศ.๒๕๔๒ เลื่อนเป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอชั้นพิเศษ
    สมัยหลวงพ่อท่านยังอยู่ ท่านได้สร้างผลงานและเผยแพร่ ธรรมและพุทธศาสนา อย่างมากมายและเป็นประโยชน์ต่อเราชาวพุทธและคนทั่วไป หลายต่อหลายด้านทีเดียว เช่น ด้านการศึกษา ด้านพัฒนาชุมชนและฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ด้านจัดหาทุนทรัพย์ ด้านการสนับสนุนให้ความร่วมมือต่อหน่วยงานของรัฐ ด้านส่งเสริมและสร้างจิตสำนึกสังคม ฯลฯ จนชื่อเสียงและบารมีของท่านโด่งดังและมีลูกศิษย์เคารพรักไป หลายจังหวัด
    หลวงพ่อเยี่ยม ยังได้แสวงหาและศึกษาวิชาสมาธิคาถา ต่างๆ จากเกจิคณาจารย์ดังในยุคนั้นหลายต่อหลายท่าน และยังได้เดินทางไปแสวงธรรมสมาธิ ยังประเทศอินเดีย ทำให้หลวงพ่อท่านเป็นเกจิที่มีชาญสมาธิที่เป็นเลิศองค์หนึ่ง ทั้งยังมีบารมีสูงในด้านทานบารมี เมตตาบารมี ธรรมบารมี และอิทธิบารมี
    ท่านมรณะภาพละสังขาร
    วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๒ รวมอายุได้ ๗๙ ปี
    หลวงพ่อเยี่ยม ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้ลูกศิษย์หลายรุ่น และแต่ละรุ่นก็ล้วนมี อิทธิปฏิหารย์ และประสบการณ์ มากมาย จนเป็นที่เรื่องลือไปทั่วหลายจังหวัด
    วัตถุมงคล ที่เป็นที่นิยมได้แก่
    1.เหรียญรูปไข่ครึ่งองค์รุ่นแรก (เหรียญกิ่งอำเภอ) สร้างฉลอง
    สมณศักดิ์ชั้นตรี ปี พ.ศ. ๒๕๑๓
    - มีแต่เนื้อทองแดง สร้าง 3,000 เหรียญ ปัจจุบันแยกคร่าวๆไว้ 2 บล็อค(บล็อคธรรมดา และบล็อคสิบโท)
    2.เหรียญรุ่นสองนั่งใต้ต้นโพธิ์อินเดีย
    สร้างเป็นที่ระลึกครั้งไปนมัสการปูชนียสถาน ณ ประเทศอินเดีย
    ปี พ.ศ.๒๕๒๒
    - มีเนื้อเงิน และเนื้อเงินลงยา(ลงยาใหม่)
    - เนื้อทองแดง ทองแดงกะหลั่ยเงินและกะหลั่ยทองลงยา(ลงยาเดิม)
    จำนวนสร้างประมาณ 30,000
    3. เหรียญรูปไข่ครึ่งองค์รุ่นสาม(เหรียญครบรอบ ๗๐ ปี) สร้างครั้งงานทำบุญฉลองครบรอบอายุ ๗๐ ปี ในปี พ.ศ.๒๕๓๔
    - ตามที่ทราบมีเนื้อทองคำ จำนวน 3 เหรียญ
    - เนื้อเงิน จำนวน 3,300 เหรียญ
    แยกตอกโค๊ต ย ล่าง จำนวน 300 เหรียญ
    ตอกโค๊ต ย บน จำนวน 300 เหรียญ
    - เนื้อทองแดง จำนวน 20,000 เหรียญ
    4. เหรียญหยดน้ำ(หล่อฉีดรูปหยดน้ำ) สร้างครบรอบอายุ ๗๐ ปี
    รุ่นนี้มี พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก แต่ละพิมพ์มีสามเนื้อ
    - ทองคำใหญ่ จำนวน 4 เหรียญ
    - ทองคำเล็ก จำนวน 80 เหรียญ
    - เนื้อเงิน จำนวน 300 เหรียญ
    - เนื้อนวะ จำนวน (ใหญ่) 2,000 - (เล็ก) 3,000 เหรียญ
    5. รูปหล่อหลวงพ่อเยี่ยม สร้างครบรอบอายุ ๗๐ ปี
    รุ่นนี้มี พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก แต่ละพิมพ์มีสามเนื้อ
    - ทองคำใหญ่ สองสลึง จำนวน 100 องค์
    - ทองคำเล็ก หนึ่งสลึง จำนวน 160 องค์
    - เนื้อเงินใหญ่ จำนวน 300 องค์
    - เนื้อเงินเล็ก จำนวน 300 องค์
    - เนื้อนวะใหญ่ จำนวน 3,000 องค์
    - เนื้อนวะเล็ก จำนวน 5,000 องค์
    6. เหรียญรุ่นสุดท้ายนั่งใต้โพธิ์อินเดีย ปี ๒๕๔๑ จำนวนการสร้างไม่แน่ชัด ทันหลวงพ่อ และเป็นเหรียญที่แจกในงานศพหลวงพ่อ
    และต่อมาหลวงพ่อก็ได้สร้างวัตถุมงคลขึ้นอีกหลายรุ่น ได้แก่
    พระบูชา พระปิดตาเนื้อผง ล็อกเก็ตประดับเพชรพลอย รูปถ่าย เสื้อยันต์ ผ้ายันต์ สร้อยลูกประคำ ลูกอม ลูกนิมิต แหวน เป็นต้น
    วัตถุมงคลของหลวงพ่อล้วนแต่มีประสบการณ์แก่ผู้นำไปใช้ติดตัวทั้งดั่งที่เห็นชัดๆ กับตัวเองก็คือ ด้านคลาดแคล้ว เรื่องอุบัติเหตุยานพาหนะเป็นอันต้องรอดปลอดภัย เมตตาค้าขายก็เป็นดีสมกับ ชื่อหลวงพ่อเยี่ยมจริงๆ
    ข้อมูลอ้างอิง
    #จากเว็บไซต์วัดเลาขวัญ
    #หนังสือที่ระลึกงานฌาปณกิจหลวงพ่อเยี่ยม
    #คำบอกเล่าของคนเก่าคนแก่
    #ข้อมูลเดิมจากเพจหลวงพ่อเยี่ยม
    #ขอขอบคุณรูปถ่ายปี๒๕๐๗ของหมอแข้ววินเทจ
    ถ้ามีข้อมูลใดผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปขอให้ผู้ที่มีความรู้ช่วยชี้แนะปรับปรุงแก้ไขเพื่อเป็นแนวทางให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาสืบต่อไปครับ
    #บารมีหลวงพ่อเยี่ยม
    ขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    วัตถุมงคลท่านสร้างน้อยไม่กี่รุ่นแทบจะ 10 ปี 1 รุ่น และมีประสบการณ์เป็นที่กล่าวขานทุกรุ่น
    เหรียญรุ่น๒ ปรกโพธิ์หลวงพ่อเยี่ยมรุ่นมากประสบการณ์อีกรุ่น
    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20240812_171848.jpg IMG_20240812_171917.jpg
     
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    FB_IMG_1723469530174.jpg
    เหรียญทำบุญอายุครูบาอินวัดฟ้าหลั่ง
    พระครูวรวุฒิคุณ” หรือ “หลวงปู่ครูบาอิน อินโท” หรือ “ครูบาฟ้าหลั่ง-ฟ้าลั่น” อมตะมหาเถราจารย์แห่งนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ผู้สูงยิ่งด้วยศีล จริยาวัตร และพุทธาคม เชี่ยวชาญสรรพวิชาตามตำราโบราณล้านนา จนเป็นที่ประจักษ์ทั่วไป ดังคำกล่าวของบรรดาพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่ว่า
    “ขอเธอจงไปกราบครูบาอินที่เชียงใหม่และขอศึกษาวิชาจากท่านให้ดีๆ เถิด ท่านเป็นพระผู้เก่งกล้าสามารถมากจริงๆ” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร วัดโฆสิตาราม บ้านบ้านเเค ตำบลบางขุด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
    “ดีอยู่แล้ว ดีอยู่แล้ว พระของครูบาอิน ไม่ต้องเสกอะไรอีกแล้ว” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
    “จิตของครูบาอิน ประภัสสรยิ่งแล้ว” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อชม วัดโป่ง จังหวัดชลบุรี
    “ครูบาอิน ท่านมีจิตมีจิตบริสุทธิ์ผุดผ่องยิ่งเลยทีเดียว” เป็นคำกล่าวของครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
    “หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่งนั้น ดีที่หนึ่งเลย” เป็นคำกล่าวของหลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
    “ครูบาอินท่านเป็นพระสุปฏิปันโน ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบนะ” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อดาบส สุมโน อาศรมไผ่มรกต บ้านลูกกลอน ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
    ครูบาอิน อินโท
    อภิญญาอภินิหารพลังจิตตานุภาพ
    ของอมตะพระเถราจารย์เจ้าแห่งแผ่นดินล้านนา
    ในแวดวงผู้นิยมของขลังและวัตถุมงคล เรื่องที่เล่าสู่กันฟังก็คงหนีไม่พ้น อภินิหารหรือประสบการณ์วัตถุมงคลของครูบาอาจารย์ที่ตนเองเคารพนับถือ สำหรับพระครูวรวุฒิคุณ หรือ หลวงปู่ครูบาอิน อินฺโทเองก็เช่นกัน มีเรื่องราวประสบการณ์เกี่ยวกับองค์หลวงปู่และวัตถุมงคลของท่านที่เล่าสู่กันฟังอยู่อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ก็เป็นความเชื่อ ความเคารพศรัทธาส่วนบุคคล นำมาเผยแพร่เพื่อเป็นการลำลึกถึงเมตตาบารมีขององค์หลวงปู่ครูบาอิน โดยมิได้มุ่งหวังให้เกิดความเชื่อ ความเข้าใจที่ผิดๆ เกี่ยวกับอภิญญาอภินิหารในวัตถุมงคลของหลวงปู่ครูบาอินแต่อย่างใด
    ผู้ที่อยู่ในวงการพระ ต้องเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับพระเครื่องไม่ด้วยตนเอง ก็ฟังคนอื่นเขาเล่ามาอีกที ความเชื่อในเรื่องพระเครื่องบางครั้งอาจเป็นจุดกำเนิดให้ คนๆ หนึ่ง หันมาเก็บพระเครื่อง พระบูชา จนบางคนผันตัวเองไปเป็นนักนิยมพระ นักพระเครื่องตัวยงเลยก็มี ส่วนใหญ่ก็ด้วยความเชื่อแทบทั้งนั้น เรื่อราวอภินิหารมีอยู่คู่แผงพระด้วยเหตุนี้ทุกครั้งที่ฟังก็ต้องตั้งใจฟัง เอาสติเป็นตัวตัดสิน ว่ามีความเป็นจริงมากน้อยเพียงไร แล้วสิ่งที่เราได้รับรู้เหล่านั้น มีผลต่อการปฏิบัติดีปฏิบัติถูกของเราหรือไม่อย่างไร อย่าลืมว่า พระเครื่องวัตถุมงคลจะคุ้มกันหรือเอื้อผลในทางที่ดีต่อผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเท่านั้น
    สังเขปประวัติหลวงปู่
    พระครูวรวุฒิคุณ หรือ หลวงปู่ครูบาอิน อินโท (ครูบาฟ้าหลั่ง) มีชื่อเดิมว่า อิน เป็นบุตรของพ่อหนุ่ม แม่คำป้อ เขียวคำสุข ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๖ (ตรงกับวันเสาร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๓ เหนือ ปีเถาะ) ณ บ้านทุ่งปุย ตำบลยางคาม อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ หลวงปู่ครูบาอิน สืบเชื้อสายชาวลั๊วะจากผู้เป็นพ่อ ซึ่งเป็นกลุ่มชนส่วนใหญ่ของบ้านทุ่งปุยในขณะนั้น (ปัจจุบันอยู่ในเขต ตำบลสันติสุข อำเภอดอยหล่อ) ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ (ปีที่ครองราชย์ พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๕๓) โดยเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในขณะนั้นคือ เจ้าอินทรวโรรสสุริยวงษ์ (ครองเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๔๔-๒๔๕๒ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๕ คนด้วยกัน ครอบครัวของท่านมีอาชีพทำนา ทำไร่
    เมื่อสิ้นบุญพ่อหนุ่ม ครูบาอินท่านได้มาเป็นเด็กวัดทุ่งปุย และได้ บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๖๐ อายุได้ ๑๔ ปี โดยมีเจ้าอธิการยศ (ครูบามหายศ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ที่วัดทุ่งปุยและ เมื่ออายุ ๒๐ ปี ท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พันธสีมาวัดป่าลาน ตำบลยางคราม เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. อายุได้ ๒๐ ปี บริบูรณ์ ฉายาในตอนนั้นคือ พระอิน อินโท โดยมีครูบามหายศ วัดท่าวังพร้าว เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการกว้าง วัดสองแคว เป็นพระกรรมวาจารย์ และมีพระอธิการอ้าย วัดทุ่งปุย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้เล่าเรียนศึกษาปฏิบัติกรรมฐานกับครูบามหายศ จนต่อมาเมื่อตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดทุ่งปุยว่างลง ท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งปุย พ.ศ. ๒๔๘๕ และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลยางคราม พ.ศ. ๒๔๙๔ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌายะ พ.ศ. ๒๔๙๖
    ปีพ.ศ. ๒๕๐๕ ท่านได้รับนิมนต์มาเป็นประธานสร้างโรงเรียนวัดฟ้าหลั่ง และได้เป็นประธานบูรณะวัดร้างฟ้าหลั่งให้เจริญรุ่งเรือง มีเสนาสนะเป็นทีปฏิบัติศีลปฏิบัติธรรมของบรรดาศรัทธาญาติโยม จนได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูวรวุฒิคุณ”
    หลวงปู่ครูบาอิน เป็นพระสุปฎิปันโนโดยแท้ ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ มีสีลา จาระวัตร เป็นที่หน้าเลื้อมใสเป็นอย่างยิ่งแก่ศรัทธาประชาชนที่ได้เข้าสักการะกราบไหว้ แล้วจะอบอุ่นสบายใจ เป็นที่สุดจากคำบอกเล่าของบุคคลที่เข้านมัสการท่าน อีกทั้งท่านยังเชี่ยวชาญในสรรพวิชาพุทธาคม ซึ่งท่านก็ได้เมตตาปัดเป่าทุกข์ ให้แก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาและผู้เคารพสักการะที่เดินทางมากราบนมัสการท่านอยู่เสมอ

    นกระทั่งในปี พ.ศ.๒๕๔๓ ในวัยร่วมร้อยปี ท่านจึงเดินทางกลับมาพำนักที่วัดคันธาวาส (ทุ่งปุย) และเป็นกำลังสำคัญในการบูรณะ สร้างเสนาสนะให้แก่วัดทุ่งปุยโดยมีพระครูสุคนธ์บุญญากร เจ้าอาวาสวัดทุ่งปุยเป็นผู้คอยอุปัฏฐากดูแล แต่ด้วยวัยที่ชราภาพมาก สุขภาพร่างกายของท่านจึงร่วงโรยไปตามวัฏสังสาร
    วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๔๖ หลวงปู่ครูบาอินเข้าโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่เป็นครั้งสุดท้าย จนกระทั่งถึงวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๔๖ เวลา ๑๓.๑๕ น. อาการเริ่มทรุดลงเรื่อยๆ จนถึงเวลา ๑๙.๔๐ น. ท่านก็จากไปอย่างสงบ สิริรวมอายุ ๑๐๑ ปี พรรษา ๘๑
    หลังจากมรณภาพ คณะศรัทธาลูกศิษย์ลูกหา ได้จัดพิธีบำเพ็ญกุศล สวดพระอภิธรรม และบรรจุสรีระสังขารหลวงปู่ที่ไม่เน่าเปื่อย แห้งแข็งและปิดทองไว้จนเหลืองอร่ามในโลงแก้ว และจัดสถานที่ให้ศรัทธาสาธุชนได้กราบนมัสการบนกุฏิวรวุฒิคุณ วัดคันธาวาส (ทุ่งปุย) และได้จัดพิธีพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท ได้อย่างสมเกียรติ สมสมณะฐานะของท่าน ระหว่างวันที่ ๓๐ มกราคม-๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ณ เมรุชั่วคราว วัดคันธาวาส (ทุ่งปุย)
    วัตถุมงคลของหลวงปู่
    หลวงปู่ครูบาอิน ท่านไม่นิยมชมชอบให้ใครกล่าวอ้างถึงอิทธิฤทธิ์ของวัตถุมงคลที่ท่านได้อธิษฐานจิตปลุกเสก ถึงแม้จะมีข่าวประสบการณ์วัตถุมงคลของท่านอยู่เรื่อยๆ ไม่ว่าจะด้านแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุ มหาอุดกันปืน แคล้วคลาดปลอดภัย และผลด้านเมตตามหานิยม จนเป็นที่เคารพศรัทธาและแสวงหาของผู้นิยมวัตถุมงคล แต่หากมีใครมาเล่าให้ท่านฟังถึงประสบการณ์ต่างๆ เหล่านั้น ท่านก็จะกล่าวเพียงว่า เขาเหล่านั้นยังไม่หมดกรรม ยังไม่ถึงฆาต เป็นผลของการรักษาศีลปฏิบัติดีของคนๆ นั้น วัตถุมงคลของท่านเพียงแต่เตือนสติให้ไม่ประมาท และให้ปฏิบัติตนอยู่ในศีลในธรรมเท่านั้น แต่กระนั้นก็ตาม หลวงปู่ครูบาอินก็ได้รับการยอมรับนับถือในฐานะพระเกจิอาจารย์ที่สูงยิ่งด้วยศีล จริยาวัตร และเชี่ยวชาญสรรพวิชาพุทธาคมตามตำราโบราณล้านนา ได้รับนิมนต์เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลอยู่เสมอ และเมื่อท่านเข้าสู่วัยสูงอายุ ลูกศิษย์ลูกหาได้ขอให้ท่านงดรับกิจนิมนต์เดินทางไปร่วมพิธีพุทธาภิเษก แต่ก็ยังมีผู้นำเอาวัตถุมงคลมาขอให้ท่านเมตตาอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยววัตถุมงคลถึงที่วัดอยู่เนืองๆ ซึ่งท่านก็สนองจิตศรัทธาทำให้ด้วยความเมตตาเสมอมา
    นับตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง หลวงปู่ครูบาอินได้สร้างวัตถุมงคลเพื่อแจกจ่ายแก่ศรัทธาชาวบ้านที่หวังที่พึ่งทางใจ ตามตำหรับตำราที่ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนมา ควบคู่ไปกับการทำเทียนบูชาซึ่งเป็นธรรมเนียมของชาวล้านนา ไม่ว่าจะเป็นเทียนสะเดาะเคราะห์ รับโชค สืบชะตา หรือเทียนบูชาเพื่อปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ วัตถุมงคลของท่านในยุคแรกก็เป็นตะกรุดและยันต์ สร้างจากวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นยันต์โตน (ตะกรุดโทน) ยันต์ก๋าสะท้อน ยันต์กลุ่ม ยันต์คาดเอว เป็นต้น จวบจนกระทั่งในปี ๒๕๑๘ จึงได้มีลูกศิษย์ลูกหาจากกรุงเทพฯ ได้มาจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นแรกเป็นล็อคเก็ตพลาสติก และในปีถัดมาก็ได้จัดสร้างเหรียญรุ่นแรกถวายท่าน และมีการสร้างวัตถุมงคลเรื่อยมา
    วัตถุมงคลของหลวงปู่ครูบาอินส่วนใหญ่จะเป็นวัตถุมงคลที่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาทั้งฆาราวาส และบรรพชิตจัดสร้างมาถวายท่าน ทางวัดฟ้าหลั่งและวัดทุ่งปุย จึงไม่ได้มีการจดบันทึกรุ่นและจำนวนการสร้างไว้ให้ชัดเจน ข้อมูลที่ทราบเกี่ยวกับวัตถุมงคลของหลวงปู่ จึงอาศัยจากคำบอกเล่าของลูกศิษย์ผู้สร้างถวาย และจากการจดจำของพระเณรในวัด อีกทั้งวัตถุมงคลแม้จะมีมากมายหลายรุ่น แต่ละรุ่นก็มีจำนวนเพียงเล็กน้อย ตามกำลังศรัทธาของผู้ที่สร้างถวายเท่านั้น เมื่อสร้างเสร็จหลวงปู่ก็ได้เมตตาอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวแล้วก็แจกจ่ายแก่ผู้ที่มากราบนมัสการ ส่วนหนึ่งแบ่งให้เช่าบูชาเพื่อร่วมทำบุญสร้างเสนาสนะของทางวัด และร่วมทำบุญกับหลวงปู่ครูบาอินตามที่จะมีผู้มาขอเมตตาให้ท่านอุปถัมภ์งานบุญต่างๆ อยู่เนืองๆ
    กล่าวถึงการแจกพระของหลวงปู่ ผู้ที่เข้าไปกราบนมัสการท่านจะได้รับแจกวัตถุมงคลจากท่านไม่ใช่เพียงแค่ ๑ หรือ ๒ องค์ แต่ท่านมักจะให้ “เป็นกำ” ด้วยเหตุนี้ วัตถุมงคลแต่ละรุ่นที่ท่านแจกจึงใช้เวลาไม่นานก็หมดไปจากวัด
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญทำบุญอายุครูบาอินวัดฟ้าหลั่ง

    ให้บูชา 220 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)

    IMG_20240812_171657.jpg IMG_20240812_171809.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 สิงหาคม 2024
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    FB_IMG_1723481437066.jpg

    รูปหล่อหลวงปู่จันทาถาวโรสร้างโรงพยาบาลและผ้ายันต์
    เปรตเฝ้าวัด
    ปีนี้ท่านไม่ได้บอกว่าจำพรรษาที่ไหน แต่ได้เล่าต่อไปว่า ออกพรรษาแล้วไปแสวงวิเวกอยู่ที่ถ้ำจำปา บ้านกะลึง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ถ้ำนี้อยู่ในเขตวัดร้างโบราณสร้างสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ประมาณพ.ศ. ๒๐๙๐-๒๑๑๔.
    มีอยู่คืนหนึ่ง เดินจงกรมแล้วนั่งภาวนาจิตสงบเป็นสมาธิ นิมิตเห็นพระภิกษุ ๓ องค์ รูปร่างสูงใหญ่ประมาณ ๘ ศอกคนโบราณเดินเข้ามาหา และห่างออกไปมีแม่ชีอยู่หลายนางเดินไปเดินมาอยู่
    จิตบอกว่า พระ ๓ องค์และพวกแม่ชีที่เห็นนี้ เป็นพวกผีเปรตเฝ้าวัดร้างแห่งนี้แหละ !
    เปรตพระสูงใหญ่ทั้ง ๓ เข้ามาเอามือลูบขาซ้ายพระอาจารย์จันทา แล้วถามถึงอายุพรรษาพระอาจารย์จันทาบอกให้ทราบแล้วจึงถามว่า
    “พวกเราเป็นพระ มีจิตเดียวกัน ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้วอย่างน้อยต้องได้ไปอยู่สวรรค์ แต่เหตุใดพวกท่านจึงมาตกค้างอยู่วัดนี้ด้วยการเป็นเปรตวิสัย ?”
    เปรตพระได้เล่าให้ฟังว่า สมัยเป็นพระอยู่วัดนี้เมื่อร้อย ๆ ปีมาแล้ว ศีล ๒๒๗ ทำขาดเกือบหมด เหลืออยู่แต่ข้อปาราชิกเท่านั้นที่รักษาไว้ได้
    พูดง่าย ๆ ก็คือว่า ตอนเป็นพระได้ทำตัวเหมือนชาวบ้านเกือบทุกอย่าง มีอย่างเดียวที่ยังไม่ได้ทำคือ มีเมียหรือได้เสียกับเพศตรงข้าม
    พระอาจารย์จันทาได้เรียกพวกเปรตแม่ชีเข้ามาถาม ก็ทราบว่าพวกแม่ชีทำความชั่วมาแล้วเช่นเดียวกันกับพวกพระ ท่านได้ซักถามต่อไปว่า
    “เป็นเปรตพระ เปรตชีนี้มีทุกข์มากไหม ?”
    ตอบเป็นเสียงเดียวกันอย่างเศร้าหมองว่า มีทุกข์มาก อดอยากไม่ได้กินอะไรเลย หิวโหยอยู่ตลอดเวลา ดินฟ้าอากาศร้อนแห้งแล้งหาที่เย็นสบายไม่มี นอนก็ไม่ได้เพราะอากาศร้อนมาก ต้องเดินไปเดินมาอยู่ทั้งวันทั้งคืนมาเกือบสามร้อยปีแล้ว และยังไม่รู้ว่าจะต้องได้รับโทษทัณฑ์อะไรต่อไปอีก
    พระอาจารย์จันทาถามว่า
    “พวกเจ้าอยากจะพ้นไปจากภูมิเปรตวิสัยไหม ?”
    “อยากพ้นไปใจจะขาดอยู่แล้ว แต่ไม่รู้จักทำอย่างไร”
    เปรตพระและเปรตแม่ชีตอบเป็นเสียงเดียวกัน ท่านพระอาจารย์จันทาจึงกำหนดจิตถามพระธรรมว่า สมควรจะสงเคราะห์ช่วยเหลือเปรตพระ เปรตแม่ชีพวกนี้หรือไม่ เป็นประการใด ?
    เสียงพระธรรมตอบว่า เปรตพระและเปรตแม่ชีวัดนี้ เคยเป็นญาติกับพระอาจารย์จันทามาแล้วหลายร้อยชาติ วิบากกรรมบันดาลให้มาพบกันอีกในชาตินี้ สมควรที่พระอาจารย์จันทาจะช่วยเหลือพวกเขาให้พ้นไปจากสภาพเปรตวิสัย
    พระธรรมได้บอกต่อไปว่า ให้เปรตพระและเปรตแม่ชีรับพระไตรสรณคมน์และศีล ๕ แล้วให้หัดเดินจงกรมบริกรรมภาวนาพุทโธ ๆ ๆ และไหว้พระสวดมนต์ไปเรื่อย ๆ อย่าหยุด อย่าเกียจคร้าน ถ้าวันใดมีญาติโยมมาทำบุญกับพระอาจารย์จันทา ก็ให้บอกญาติโยมกรวดน้ำอุทิศกุศลให้เปรตพระและเปรตแม่ชีด้วย
    ท่านพระอาจารย์จันทาทราบแล้ว จึงได้ให้เปรตพระและเปรตแม่ชีรับพระไตรสรณคมน์และศีล ๕ จากนั้นได้สอนให้รู้จักการเจริญภาวนา การเดินจงกรมซึ่งพวกเปรตก็ปฏิบัติตามอย่างตั้งใจ
    ท่านได้เข้าสมาธิสอนเจริญภาวนาให้พวกเปรตกลุ่มนี้อยู่ตลอดหน้าแล้ง ๓ เดือน แม่ชีเปรตนางหนึ่งเข้ามากราบลาว่า
    “ท่านครูบา ดิฉันมีเวรกรรมน้อยกว่าผู้อื่น บัดนี้กรรมเวรหมดแล้ว จะมาขอลาไปเกิดที่บ้านกะลึงเจ้าค่ะ “
    ท่านพระอาจารย์จันทาได้ห้ามไว้ ไม่ให้ไปเกิดบ้านเดิม เกรงว่าจะไปพบกับพระเณรที่ชอบประพฤติชั่ว ละเมิดธรรมวินัยอีก เหมือนชาติก่อนแล้วจะตายมาเกิดเป็นเปรตอีก
    ท่านได้แนะนำ ให้ไปเกิดในอำเภอบ้านผือ ไปเกิดกับพ่อค้าใหญ่เจ้าของโรงสีที่มีจิตใจเลื่อมใสในพระกรรมฐาน หรือจะไปเกิดในเมืองอุดรธานีก็ได้ แต่ให้เลือกเกิดในตระกูลพ่อค้าอาเสี่ยใหญ่ที่มีจิตเลื่อมใสในพระกรรมฐาน
    ก่อนที่จะเกิดกับตระกูลใดให้ตั้งจิตภาวนาพุทโธ ธัมโม สังโฆ ให้แน่วแน่ แล้วอธิษฐานขอเกิดร่วมวงศ์ตระกูลกับเขา แล้วก็จะได้เกิดสมดังปรารถนา เปรตแม่ชีรับคำแล้วก็กราบอำลาไปเกิดใหม่
    จวนจะเข้าพรรษา พระอาจารย์จันทาได้บอกเปรตพระและเปรตแม่ชี ที่ยังไม่หมดเวรหมดกรรม ให้รีบเร่งเจริญภาวนาและรักษาศีล เพื่อช่วยตัวเองให้หลุดพ้นไปจากภพภูมิเปรตวิสัย ส่วนตัวท่านจะไปเข้าพรรษาอยู่กับหลวงปู่บัว สิริปุณโณ วัดบ้านหนองแซง อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
    ขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    รูปหล่อหลวงปู่จันทาถาวโรสร้างโรงพยาบาลและผ้ายันต์หลวงปู่ ให้บูชา 400 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)

    IMG_20240812_234642.jpg IMG_20240812_234710.jpg IMG_20240812_234742.jpg IMG_20240812_234812.jpg IMG_20240812_234841.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2024
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    FB_IMG_1723533439457.jpg FB_IMG_1723533489829.jpg

    เหรียญหล่อหลวงปู่บุญตาวัดคลองเกตุร่มเย็นเป็นสุขและเหรียญระฆัง
    หลวงปู่บุญตา
    กสิณไฟเหนือฟ้า
    พระครูสิริธัชสมาจารย์(หลวงปู่บุญตา วิสุทธสีโล) วัดคลองเกตุ อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี
    มีนามเดิมว่า บุญตา นามสกุล พาซื่อ โยมบิดาชื่อ นายอุด โยมมารดาชื่อ นางทุม พาซื่อ
    เกิดที่บ้านโนนสะคาม จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2449
    ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 4 ท่าน คือ
    1. นายอ้วน พาซื่อ
    2. นายรุณ พาซื่อ
    3. นางลา พาซื่อ
    4. หลวงปู่บุญตา วิสุทธสีโล
    เมื่ออายุได้ 3 ขวบ บิดาย้ายถิ่นฐานไปอยู่บ้านพระเสาร์ อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร
    ชีวิตในวัยเยาว์อายุ 12 ปี ได้ศึกษาภาษาไทย ณ วัดพระเสาร์ จนถึงชั้น ป. 3 จึงออกมาช่วยบิดามารดาทำนา
    จนกระทั่งอายุ 16 ปี บิดามารดาพาย้ายถิ่นฐานไปอยู่บ้านจาน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์
    และได้ย้ายไปอยู่บ้านหนองมะนาว ต.ขอนแก่น อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์
    จนอายุได้ 23 ปี มารดาก็เสียชีวิต ท่านจึงได้บวชหน้าไฟเพื่อทดแทนคุณมารดา
    ท่านอุปสมบทเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2472 ที่วัดหนองม้า ต.หนองฮะ อ.ศรีขรภูมิ จ.สุรินทร์
    โดยมีพระอธิการกลัด เจ้าอาวาสวัดสะเม็ด เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระอาจารย์กา วัดสะเม็ด เป็นพระกรรมวาจา
    พระอธิการเผือ วัดบ้านเครือ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ท่านได้รับฉายาว่า "วิสุทธสีโล" แปลว่า "ผู้มีศีลอันบริสุทธิ์"
    เมื่อบวชแล้วได้จำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์กลัด พระอุปัชฌาย์ในวัดสะเม็ด
    ได้เริ่มเรียนการปฏิบัติกัมมัฏฐานอย่างจริงจังกับผู้เป็นอุปัชฌาย์
    พร้อมกับเรียนพระปริยัติธรรมควบคู่ไปด้วยและก็สอบได้นักธรรมชั้นตรีในพรรษาแรก
    เมื่อจิตใจพึงพอใจอยู่กับความสงบประกอบกับหลวงปู่ท่านได้สมาธิแล้ว
    ก็ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายที่จะต้องอยู่กับสิ่งแวดล้อมแห่งผู้คน
    จึงขออนุญาตพระอาจารย์กลัดแสวงหาครูบาอาจารย์สอนวิชา
    โดยไปจำพรรษาที่วัดกลาง จังหวัดบุรีรัมย์
    เพราะทราบว่ามีครูบาอาจารย์ดีในวัดหลายองค์
    ท่านจึงได้ศึกษาวิชาต่างๆ หลายแขนงทั้งทางด้านปฏิบัติธรรม ด้านคาถาอาคม
    ไสยศาสตร์ แต่เนื่องจากวิชาอาคมต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นภาษาขอมท่านจึงคิดที่หาที่เรียนภาษาขอม
    จึงเดินทางไปยังวัดเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
    เรียนภาษาบาลีและอักขระขอม ใช้เวลาเรียนอยู่ 4 ปีเต็มจนแตกฉานในภาษาบาลีและอักขระขอม
    จบแล้วจึงไปจำพรรษาที่วัดพระเสาร์เป็นเวลา 3 พรรษา
    และท่านก็ปรารถนาจะกราบนมัสการพระธาตุพนม ซึ่งไม่เคยไปมาก่อน
    ท่านจึงออกเดินทางธุดงค์ไปยังวัดพระธาตุพนม ค่ำไหนก็ปักกลดที่นั่น
    ทำการสำรวจจิตใจด้วยตนเอง ทบทวนด้วยเรื่องของสังขารอยู่ในป่าทึบ
    จนกระทั่งถึงวัดพระธาตุพนม และอยู่ที่วัดพระธาตุพนม 7 วัน
    จากนั้นออกธุดงค์ต่อไปทางจังหวัดเชียงใหม่ไปพักอยู่วัดอุโมงค์
    เป็นวัดที่พระชาวศรีลังกามาสอนธรรมะ
    ท่านอยู่ที่นั่น 15 วัน ก็ธุดงค์ต่อไปทั่วภาคเหนือและภาคอิสาน
    ปี พ.ศ. 2474 หลวงปู่เดินธุดงค์อยู่เชียงใหม่
    ท่านทราบว่าเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) แสดงธรรมอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง
    ท่านดีใจมากที่จะได้พบพระสุปฏิปันโน
    และท่านก็ได้รับความเมตตาชี้แนะแนวทางธรรม
    หลังจากนั้นท่านจึงธุดงค์ไปวัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
    ไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเสาร์ กันตสีโล
    ซึ่งหลวงพ่อเสาร์ ท่านเชี่ยวชาญเรื่องปัฏฐวีกสิณ เตโชกสิณ อาโปกสิณ และวาโยกสิณ
    หลวงพ่อเสาร์ท่านได้เมตตาสอนปัฏฐวีกสิณให้
    โดยนำดินมาปั้นเป็นก้อนกลมๆ ขนาดเท่าหม้อใหญ่และขนาดขันน้ำ โดยมองให้เห็นอยู่อย่างนั้น
    แล้วลืมตามาเพ่งใหม่คือ การเพ่งดินเป็นอารมณ์ และในการฝึกนั้นจะมีพระมหาปิ่น ปญฺญาธโร
    และพระอาจารย์สิงห์ ขันตคยาโม เป็นผู้เข้มงวดในการฝึก
    จนกระทั่งหลวงปู่บุญตา เข้าถึงปฐวีกสิณอย่างรวดเร็วกว่าศิษย์ท่านอื่นๆ
    จากนั้นท่านจึงกราบลาหลวงพ่อเสาร์ และพระมหาปิ่น ธุดงค์มาทางจังหวัดลพบุรี
    และมาพักอยู่วัดพรหมมาสตร์ มาอยู่กับหลวงพ่อพุทธวรญาณได้ศึกษาธรรมะอยู่ 1 พรรษา
    จากนั้นจึงเดินทางเข้าไปกรุงเทพฯ ไปอยู่วัดมหาธาตุ
    พร้อมกับปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานกับพระเทพสิทธิมุนี ภาวนายุบหนอ พองหนอ
    เพ่งสติให้เป็นมหาสติปัฏฐาน ปฏิบัติได้ 2 เดือนเศษก็มีความชำนาญและช่ำชองอย่างรวดเร็ว
    ออกจากวัดมหาธาตุ ย้อนกลับไปยังจังหวัดนครสวรรค์
    ได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเดิม พุทธสโร แห่งวัดหนองโพ ได้ศึกษาวิชากับหลวงพ่อเดิมหลายอย่าง
    เช่น การสร้างมีดหมอเทพศาสตราตามตำรับเดิมแท้ ฯลฯ
    และท่านได้ไปเรียนวิชากับหลวงพ่อทองวัดเขากบ ซึ่งท่านมีชื่อเสียงในการเล่นแร่แปรธาตุ
    จากนั้นได้เข้าศึกษาพระธรรมที่วัดศรีษะเมือง หรือวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีชื่อเสียงทางปริยัติธรรม
    หลวงปู่บุญตาจึงได้ศึกษาจนสำเร็จนักธรรมชั้นโทและนักธรรมชั้นเอก
    ท่านอยู่ที่ในนครสวรรค์ 4 พรรษา จากนั้นก็กลับมาลพบุรี มาจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองบัว ต.คลองเกตุ
    อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส ในปี 2483
    ท่านอยู่ที่วัดหนองบัว 3 พรรษา จากนั้นจึงกลับไปเยี่ยมภูมิลำเนาเกิด โดยไปจำพรรษาที่วัดพระเสาร์
    เป็นเวลา 3 พรรษา จากนั้นก็กลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัวอีกครั้งหนึ่ง
    ในการอยู่วัดหนองบัวท่านก็ได้โน้มน้าวจิตใจของญาติโยมเข้าวัดปฏิบัติธรรม
    ควบคู่ไปกลับการสอนปริยัติธรรมให้กับพระภิกษุสามเณร
    รวมทั้งเป็นที่พึ่งของญาติโยมในภาวะเจ็บไข้ท่านก็ใช้พลังอำนาจทางจิตทำการรักษา
    รวมทั้งผู้ที่ถูกคุณไสยมนต์ดำ หลวงปู่สยบมาแล้วทั้งนั้น
    ชื่อเสียงด้านการสอนธรรมะและปฏิบัติธรรมของหลวงปู่ ทำให้ผู้ใหญ่ระดับสูงในอำเภอโคกสำโรง
    อาราธนานิมนต์ไปยังอารามแห่งใหม่
    ท่านอยู่วัดหนองบัวครั้งหลัง 3 พรรษา ปี 2492 ก็ได้รับคำสั่งให้ไปปกครองวัดสิงห์คูยาง
    ซึ่งอยู่ใจกลางชุมชนตลาดอำเภอโคกสำโรง ท่านพัฒนาวัดสิงห์คูยาง จนก้าวหน้า
    และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระครูสังฆรักษ์บุญตา พระฐานานุกรมของพระกิตติญาณมุนี
    (พระพุทธวรญาณ) เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี รวมระยะเวลาปกครองวัดสิงห์คูยาง 23 พรรษา
    ขณะที่ท่านพำนักอยู่วัดสิงห์คูยางนั้นท่านเดินทางสู่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
    เพื่อขอรับการฝึกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวทางของพระธรรมธีราชมุนี (โชดกญาณสิทธิ ป.ธ.9)
    ในรุ่นที่ 3 และได้รับการยกย่องจากพระเดชพระคุณ พระพิมลปัญญาว่า เป็นพระวิปัสสนาจารย์ชั้นเยี่ยม
    เพราะเข้าสมาธิได้เป็นที่ 1 สามารถทำให้ร่างกายไม่ไหวติงนานนับ ถึง 1 วัน 1 คืน
    ถึงขั้นมีผู้ทดสอบยกร่างของท่านจากที่เดิมไปที่แห่งใหม่ โดยที่ท่านั่งของท่านยังคงเดิมไม่ไหวติง
    เพราะหลวงปู่ท่านเข้าถึงสภาวะจิตขั้นสูงแล้ว
    วัดคลองเกตุ ต.คลองเกตุ อ.โคกสำโรง ถึงยุคเสื่อมโทรมร้างเจ้าอาวาส
    ชาวบ้านตำบลคลองเกตุได้พร้อมใจกันไปขอร้องท่านผู้ใหญ่ในอำเภอ
    ขออาราธนานิมนต์ไปปกครองวัดคลองเกตุไปเป็นหลักของชาวบ้านคลองเกตุ
    เพราะความศรัทธาที่มีต่อท่านตั้งแต่ครั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัว ซึ่งอยู่ในตำบลเดียวกัน
    คณะสงฆ์ผู้ใหญ่ได้สอบถามหลวงปู่ หลวงปู่ก็ตอบตกลงเพราะว่าวัดสิงห์คูยางเจริญแล้ว
    และอยู่กลางอำเภอ และเห็นว่าวัดคลองเกตุเงียบสงบ
    เหมาะแก่การเจริญภาวนา ปฏิบัติธรรม ท่านจึงตอบตกลงทันที
    วันที่ 25 มกราคม 2514 ขบวนชาวบ้านคลองเกตุ ได้จัดขบวนไปรับหลวงปู่ถึงวัดสิงห์คูยาง
    เพื่อไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดคลองเกตุ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
    หลวงปู่ท่านก็ได้ไปบริหารจัดการและพัฒนาจนเจริญก้าวหน้าจนเป็นวัดคลองเกตุในปัจจุบัน
    หลวงปู่บุญตาท่านมีความช่ำชองในการเพ่งกสิณไฟเป็นพิเศษ
    ถึงขนาดที่กำหนดจิตเสกพระให้แก่ผู้ศรัทธาเพียงชั่วอึดใจ
    พระที่ท่านเสกให้ถึงกับร้อนจัดขึ้นทันที
    และที่น่าอัศจรรย์คือมีผู้ห้อยพระของท่านถูกฟ้าผ่า แต่รอดตายได้อย่างปาฏิหารย์
    วัตถุมงคลของท่านทุกรุ่น ประสบการณ์เพียบ....เรื่องแคล้วคลาด ปลอดภัย โชคลาภ
    มีพูดคุยปากต่อปากของลูกศิษย์ของท่านไม่ขาดปากตลอดจนถึงปัจจุบันนี้
    และวัตถุมงคลของท่านไม่มีวางให้เห็นตามแผงพระทั่วไป เพราะลูกศิษย์เห็นจะเก็บไว้หมด
    นานๆ ทีจึงจะเห็นวัตถุมงคลของท่านออกมาให้เห็นตามตลาดพระบ้าง
    กสิณไฟเหนือฟ้า วาจาสิทธิ์
    ลูกศิษย์ของหลวงพ่อบุญตา ทั้งใกล้และไกลได้ประจักษ์ถึงคุณวิเศษของท่านคือ วาจาสิทธิ์
    ถ้อยคำที่ท่านพูดออกไปนั้นมักเป็นความจริงเสมอ จนได้รับการยกย่องว่า หลวงปู่บุญตาวาจาสิทธิ์
    หลวงปู่ท่านเป็นพระกัมมัฏฐานที่มีจิตใจสะอาดมองโลกในงแง่ดีเสมอ
    กายวาจาและจิตใจของท่านบริสุทธิ์จริงไม่มีการพลั้งเผลอขาดสติ
    จิตใจแน่วแน่อยู่ในพุทธคุณ วาจาที่กล่าวออกมาจึงบังเกิดความศักดิ์สิทธิ์
    เป็นที่รู้กันไม่ว่าหลวงปู่จะพูดอะไรก็เป็นไปอย่างนั้น จะทักใครให้อยู่ดีมีความสุข
    คนนั้นก็จะเป็นไปตามที่หลวงปู่พูด คนเกเรข่มเหงไม่ว่าผู้เฒ่าผู้เฒ่าผู้แก่ระรานเขาไปทั่ว
    เมื่อหลวงปู่ทราบก็จะสั่งสอนให้กลับเนื้อกลับตัวเสียใหม่
    ให้ปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ดีงามก่อนจะสาย หากคนนั้นรับปากแล้วไม่กระทำตามหรือดูหมิ่น
    ในคำสอนของหลวงปู่ก็จะต้องได้รับความวิบัติจนถึงหายนะไปในที่สุดดังที่ประจักษ์กันมาแล้ว
    คำพูดของท่านที่ลูกศิษย์ได้ยินเสมอคือ ช่างเขาเถอะ
    หลวงปู่ท่านเป็นผู้ที่ให้เสมอ ผู้ใดขออะไร ท่านก็มีแต่ให้ ท่านมักพูดน้อย
    วาจาไพเราะ ผิวพรรณผ่องใสงดงาม ผู้ที่เข้ามากราบท่าน พบท่านแล้วจะเกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง
    สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของท่านก็คือ การเพิ่มพลังกำลังใจให้แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยาก
    หรือที่ภาษาของชาวบ้านเรียกว่า ต่ออายุหรือต่อชะตา
    ชาวบ้านใกล้ไกลจะมาให้ท่านสงเคราะห์อยู่อย่างสม่ำเสมอ คนป่วยที่ว่าไม่น่ารอด
    ไปหาหมอไหนๆ ก็ส่ายหน้า แต่ถ้ามากราบนิมนต์ให้ท่านทำหรือแนะนำให้ไปปฏิบัติ
    ก็จะหายจากอาการที่เป็นอยู่ และจะดีขึ้นในวันต่อมา เป็นความมหัศจรรย์จริงๆ
    หลวงปู่ท่านจะอบรมสั่งสอนให้ศิษย์เป็นคนดีหนีทุกข์ยากได้สำเร็จ
    ดั่งคำพูดของท่านว่า "อาตมาเป็นพระภิกษุสงฆ์ บวชแล้วได้อาศัยอาหารของชาวบ้าน
    เลี้ยงตัวตนจึงนับด้วยพระคุณ ดุจทองคำอันมีค่า
    แต่ยังด้อยกว่าข้าวเพียงหนึ่งคำที่ฉันผ่านลำคอ
    ดังนั้น แม้เวลาใดขณะใดญาติโยมมาหา อาตมาก็ต้องต้อนรับขับสู้ด้วยจิตที่มีเมตตายินดี"
    หลวงปู่ท่านได้เมตตาอบรมความคิดคติธรรมคำพรประสิทธิ์แด่ลูกศิษย์ ดังนี้
    1. ให้ทำความสงบทางจิตใจ
    2. ให้ขยันหมั่นเพียร
    3. อย่าเกียจคร้านให้สร้างเนื้อสร้างตัวโดยเร็ว
    4. ให้ทำตัวเป็นคนดี จะได้หลุดพ้นความยากจนและความทุกข์
    5. มีให้เกินใช้ มีมากใช้น้อย
    6. ได้ให้เกินเสีย คือทำงานมีเงินควรเก็บไว้แต่เวลาใช้ก็อย่าใช้มากให้ประหยัด
    7. คบเพื่อนที่ดี เพื่อนที่แนะนำไปในทางที่ดี
    8. สวดมนต์ภาวนา สร้างกุศลเพื่อหลุดพ้นภพชาติ
    ขอให้ญาติโยมทุกคนหมั่นเจริญภาวนาหาเหตุผลแยกแยะความดีความชั่ว
    ดูให้ออกมองให้เห็นและหมั่นทำความดีรักษาศีล เจริญธรรม
    ชีวิตที่อับเฉาของญาติโยมก็จะดีขึ้นมีความสุขขึ้น
    เพราะพระธรรมย่อมนำความสุขสงบความร่มเย็นมาให้
    สมัยก่อนมีลูกศิษย์ได้ถามหลวงปู่บุญตาว่า ทำไมฟ้าจึงผ่าคนแล้วไม่ตายครับ
    หลวงปู่ตอบว่า ฟ้าคงจะทดลองบุญบารมีเขากระมัง
    ลูกศิษย์ท่านนั้นก็ถามว่า ทดลองบารมีใครหรือครับ
    หลวงปู่ตอบกลับไปว่า ลองสวดมนต์บ่อยๆ นั่งกัมมัฏฐานเรื่อยๆ นะ เดี๋ยวก็จะรู้เอง
    ลูกศิษย์คนนั้นก็ได้แต่รับปากว่า...ครับ...หลวงปู่...
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    ๒ องค์ ให้บูชา 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20240813_110707.jpg IMG_20240813_110729.jpg IMG_20240813_110749.jpg IMG_20240813_110818.jpg IMG_20240813_110847.jpg IMG_20240813_110638.jpg
     
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    ลพรวย-1024x1536 (1).jpg 126322951 (1).jpg
    พระสมเด็จหลวงพ่อรวยวัดตะโก ปี๒๕๔๑
    สืบทอดพุทธาคม
    หลังจากจบนักธรรมเอกแล้ว ท่านคิดว่าเพียงพอสำหรับด้านคันถธุระแล้ว เพราะพระที่อยู่ตามชนบทบ้านนอก พอที่จะรักษาพระธรรมวินัยเพศพรหมจรรย์ ให้รุ่งเรืองและเป็นนำสอนชาวบ้านบ้านได้แล้ว ท่านก็หันมาสนใจทางด้านวิปัสสนาธุระ โดยมองเห็นประโยชน์ในด้านการปฏิบัติ เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็ออกเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ ศึกษาเรียนพระกรรมฐานกับครู บาอาจารย์เก่งๆ ในยุคนั้น อาทิเช่น
    ๑. หลวงพ่อชื่น วัดภาชี อยุธยาฯ เชี่ยวชาญด้านวิปัสนากรรมฐาน ที่สืบทอดพุทธาคมมาจากหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ เป็นที่รู้จักกันดีในยุคนั้น ซึ่งมีศิษย์ที่ศึกษาวิชาจากหลวงพ่อกลั่นมากมาย อาทิเช่น หลวงพ่อใหญ่ หลวงพ่ออั้น หลวงพ่อเภา หลวงพ่อศรี หลวงปู่ดู่ และหลวงพ่อชื่น ศิษย์หลวงพ่อกลั่น ที่กล่าวถึงทั้งหมดนี้ ปัจจุบันได้มรณะภาพไปหมดแล้ว ซึ่งแต่ละองค์ล้วนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างดี
    ๒. หลวงพ่อแจ่ม วัดแดงเหนือ เชี่ยวชาญเวทมนต์คาถาอาคม ได้ถ่ายทอดสรรพวิชาให้หลวงพ่อรวยทุกอย่าง อาศัยความขยันหมั่นเพียรและความตั้งใจมุ่งมั่น จึงก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จนวิชาที่เล่าเรียนปฏิบัติเข้มขลังในพลังแห่งวิทยาคมสูงส่ง
    เป็นพระเกจิที่เปี่ยมเมตตาธรรมสูง มีความเป็นอยู่อย่างสมถะ เชี่ยวชาญสรรพเวทวิยาคม วัตถุมงคลเข้มขลังเปี่ยมพลังพุทธคุณมากประสบการณ์ แคล้วคลาดนิรันตราย และเมตตา มหานิยม โชคลาภ เป็นหนึ่ง
    คาถามหาลาภ
    สัมพุทธชิตา จะ สัจจานิ เกรัตสะ พระพุทธชิตา สัพพโส คุณะวิภา สัมปัตโต นะรุตตะโม มหาลาภัง ภวันตุ เม
    ขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระสมเด็จหลวงพ่อรวยวัดตะโกอุปถัมภ์โรงเรียนทอดผ่าป่าเพื่อการศึกษา
    ให้บูชา 170 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)

    IMG_20240813_201647.jpg IMG_20240813_201723.jpg IMG_20240813_201623.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 สิงหาคม 2024
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    get_auc1_img (24).jpeg 4-wm (2).jpg 5-wm.jpg
    เหรียญหลวงปู่ขาวหลัง หลังฉัตร
    ด้านหน้า เป็นรูปหลวงปู่ขาวหันข้าง
    ส่วนด้านหลังรูปฉัตร และด้านใต้มี ภาษาบาลีว่า
    “โลโก ปตฺถมฺภิกา เมตฺตา"
    เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก
    เหรียญรุ่นนี้ ถือว่าเป็นเหรียญอภิพิธียิ่งใหญ่ระดับประเทศ ผ่านการปลุกเสก 3 ครั้ง ดังนี้
    ครั้งที่ 1 :
    ปลุกเสกเดี่ยว โดย หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล และ หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง ใน ปี ๒๕๑๗
    ครั้งที่ 2 :
    เหรียญนี้ได้เข้าร่วมปลุกเสกกับ พระสมเด็จทรงจิตรลดา นางพญา (หลังอุณาโลม ) และ ( หลัง สก.) ณ พระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร ใน วันที่ 12 กรกฎาคม 2519 เป็น เวลา 7 วัน 7 คืน เกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสก มีดังนี้
    วันจันทร์ 5 ก.ค. 2519 เวลา 17.00 น.
    พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
    - สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ
    - พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดฉิมพลี
    - หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล
    - หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง
    -พระรัตนากรวิสทุธิ์ (หลวงปู่ดุลย์) วัดศรีบูรพาราม สุรินทร์
    -พระมหาวีระ (ฤษีลิงดำ ) วัดจันทาราม อุทัยธานี
    -พระอาจารย์จวน กุลเชฐโร วัดเจติยาคิรี สกลนคร
    -พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา) วัดหนองป่าพง
    -อาจารย์ตี๋ใหญ่ พระครูสมุทรธรรมสุนทร (หลวพ่อสุด) วัดกาหลง สมุทรสาคร
    -พระครูธรรมกิจโกศล (นอง) วัดทรายขาว ปัตตานี
    - หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
    - หลวงพ่อเมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ฯ นครราชสีมา
    - พระเทพวราลังการ(หลวงปู่ศรีจันทร์) วัดศรีสุทธาวาส จ.เลย
    - พระสุทธิสารโสภณ วัดศรีโพแท่น จ.เลย
    - หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี
    พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ เจริญพุทธมนต์ ๑๐รูป
    - สมเด็จพระวันรัต วัดสังเวชวิศยาราม
    - สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา
    - สมเด็จพระพุทธิวงศมุนี วัดเบญจมบพิธ
    - พระพรหมคุณากรณ์ วัดสระเกศ
    - พระธรรมวราลังการ วัดบุปผาราม
    - พระธรรมวิสุทธาจารย์ วัดพิชัยญาติการาม
    - พระธรรมธีรราชมหามุนี วัดปากน้ำ
    - พระราชสารมุนี วัดเขมาภิรตาราม
    - พระปริยัติเมธี วัดมกุฎกษัตริย์
    - พระอุดมศีลคุณ วัดบุรณศิริมาตยาราม
    วันอังคาร 6 ก.ค. 2519
    พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
    - พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    - หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี
    - พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม สกลนคร
    - หลวงพ่ออ่อนสี วัดพระงาม หนองคาย
    - หลวงพ่อมา วัดวิเวกอาศรม ร้อยเอ็ด
    - พระโพธิสังวรเถร (หลวงพ่อฑูรย์) วัดโพธินิมิต ธนบุรี
    - พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
    วันพุธ 7 ก.ค. 2519
    พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
    - พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    - พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม สกลนคร
    - พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
    - หลวงพ่ออ่อนสี วัดพระงาม หนองคาย
    - หลวงพ่ออ่อน วัดประชานิยม กาฬสินธุ์
    - หลวงปู่สี มหาวีโร วัดประชาคมฯ ร้อยเอ็ด
    - หลวงพ่อชา วัดศรีแก่งคร้อ ชัยภูมิ
    - หลวงพ่อชม วัดป่าบ้านบัวค่อม อุดรธานี
    - หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมคงคาคีรีเขต
    - หลวงพ่อมา วัดวิเวกฯ ร้อยเอ็ด
    วันพฤหัสบดี 8 ก.ค. 2519
    พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
    - พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    - พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
    - หลวงปู่สี มหาวีโร วัดประชาคมฯ ร้อยเอ็ด
    - หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมคงคาคีรีเขต
    - พระอาจารย์สาม วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์
    - หลวงพ่อจ้อย วัดสุวรรณประดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี
    - หลวงพ่อบุญรักษ์ วัดคงคาวดี สิชล นครศรีธรรมราช
    - หลวงพ่อเหรียญ วัดป่าอรัญญบรรพต หนองคาย
    - พระอาจารย์บัวพา วัดป่าพระสถิต หนองคาย
    วันศุกร์ 9 ก.ค. 2519
    พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
    - พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    - พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
    - หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาละวัน นครราชสีมา
    - หลวงพ่อโชติ วัดภูเขาแก้ว อุบลฯ
    - หลวงพ่อพั่ว วัดบ้านนาเจริญ อุบลฯ
    - พระอาจารย์สมชาย วัดเขาสุกิม จันทบุรี
    - หลวงพ่อจันทร์(อายุ ๑๐๒ปี) วัดนามะตูม ชลบุรี
    วันเสาร์ 10 ก.ค. 2519
    พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
    - สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ
    - พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    - หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
    - หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
    - หลวงพ่อเก็บ วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
    - หลวงพ่อสนิท วัดศีลขันธาราม อ่างทอง
    - หลวงพ่อซ้วน วัดลาดใต้ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
    วันอาทิตย์ 11 ก.ค. 2519
    พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
    ตอนกลางวัน (เวลา 13.00 - 1600 น.) หลวงปู่ธูป วัดสุทรธรรมทาน(วัดแค) กทม. นั่งปรกบริกรรมภาวนาเดี่ยว 4 ชั่วโมงเต็ม
    ตอนค่ำ
    - สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ
    - พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    - หลวงพ่อซ้วน วัดลาดใต้ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
    - พระอาจารย์ผ่อง วัดสามปลื้ม กทม.
    - หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ ธนบุรี
    - หลวงพ่อสา วัดราชนัดดา กทม.
    - พระครูสงัด วัดพระเชตุพนฯ กท
    ในวันที่ 12 ก.ค. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเจิมและสุหร่าย สมเด็จนางพญา ส.ก.และพระสมเด็จอุณาโลม ในเวลา 16.00 น. ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรฯ
    รายนามพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์เจริญชัยมงคลคาถา ๑๐ รูป
    - สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดราชผติการาม
    - พระสาสนโสภณ วัดเทพศิรินทราวาส
    - พระพุทธพจน์วราภรณ์ วัดราชบพิธ
    - พระญาณวโรดม วัดบวรราชนิเวศ
    - พระธรรมปาโมกข์ วัดราชประดิษฐ์
    - พระธรรมเสนานี วัดพระเชตุพนฯ
    - พระธรรมวราภรณ์ วัดนรนาทสุนทริการาม
    - พระเทพวราภรณ์ วัดบุรณศิริมาตยาราม
    - พระเทพปัญญากวี วัดราชาธิวาส
    - พระเทพกวี วัดบวรฯ
    ครั้งที่ 3 :
    ปลุกเสกพร้อมสมเด็จนางพญา ณ พระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร วันที่๙ - ๑๒ เมษายน พ.ศ ๒๕๒๒
    รายนามพระอาจารย์ที่อาราธนามานั่งบริกรรมภาวนา
    - พระเทพวราลังการ (ศรีจันทร์) วัดศรีสุทธาวาส จ เลย
    - พระราชสังวราภิมณท์ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    - พระราชธรรมวิจารย๋ (หลวงปู่ธูป) วันสุนทรธรรมทาน
    - พระราชสังสรวิสุทธิ์ (บุญเลิศ) วัดราชสิทธาราม
    - พระภาวนาวิมลเถร (สิริ) วัดชนะสงครม
    - พระวิสุทธิสารเถร (ถิร) วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
    - พระรัตนากรวิสทุธิ์ (หลวงปู่ดุลย์) วัดศรีบูรพาราม สุรินทร์
    - พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา) วัดหนองป่าพง
    - พระณาญโพธิ (หลวงพ่อเข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม
    - พระชินวงศาจารย์ (พุธ) วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา
    - พระโพธิสังวรเถร (ไพฑูรย์ ) วัดโพธินิมิตร ธนบุรี
    - พระอุดมวิสุทธิเถร (อาจารย์วัน) วัดถ้าอภัยดำรง สกลนคร
    - พระสุนทรธรรมภาณี (หลวงพ่อเเพ) วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
    - พระครูเกษมธรรมานันท์ (เเช่ม) วัดดอนยายหอม
    - พระครูสมุทรธรรมสุนทร (หลวพ่อสุด) วัดกาหลง สมุทรสาคร
    - พระครูโกวิทสมุทรคุณ (หลวงพ่อเนื่อง) วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
    - พระครูธรรมกิจโกศล (นอง) วัดทรายขาว ปัตตานี
    - พระครูสุจิตตานุรักษ์ (จวน) วัดหนองสุ่ม สิงห์บุรี
    - พระครูสังวรธรรมมานุวัตร (หลวงพ่อพล) วัดหนองคณที สระบุรี
    - พระครูถาวรวิทยาคม (เพิ่ม) วัดสรรเพชณ์ นครปฐม
    - พระมหาวีระ (ฤษีลิงดำ ) วัดจันทาราม อุทัยธานี
    - พระอาจารย์สี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม ร้อยเอ็ด
    - พระอาจารย์เหรียญ มหาปุญโญ วัดมหาสมณกิจภาวนา
    - พระอาจารย์พัฒน์ สุขกาโม วัดทับซ้าน สกลนคร
    - พระอาจารย์เเบน ธนากโร วัดธรรมเดจีย์ สกลนคร
    - พระอาจารย์จวน กุลเชฐโร วัดเจติยาคิรี สกลนคร
    - พระอาจารย์ฟัก สนติธมโม วัดเขาสามผาน จันทบุรี
    - พระอาจารย์สาม อกิญจโน วัดไตรวิเวก สุรินทร์
    - พระครูปลัดไพบูลย์ สุมังคโล วัดรัตนาราม พะเยาว์
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    ให้บูชา 320 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)
    IMG_20240814_103102.jpg IMG_20240814_103135.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 สิงหาคม 2024
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    วันนี้จัดส่ง
    1723632169792.jpg
    ขอบคุณครับ
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    FB_IMG_1723593585330.jpg FB_IMG_1723593581764.jpg

    สาริกาครูบาสร้อย
    "สาริกา คะวา คะวัง เมตตะจิตตัง จิตตะเมตตา มหาลาโภ ธะนัง มะ มะ"
    #นกสาริกาครูบาสร้อย วัดมงคลคีรีเขตร์ จ.ตาก นกสาริกาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของภาคเหนือก็ว่าได้เครื่องรางชนิดนี้เรียกว่า นกสาริกาคู่ เป็นของขลังที่ใช้เสริมเสน่ห์ เมตตา โชคลาภ พูดคนชอบ พูดคนหลง พูดคนเชื่อ เพื่อเสริมเสน่ห์ เมตตาให้กับตนเอง ส่งเสริมเงินทอง โชคลาภทวีคูณพุทธคุณ สาริกาหรือสาริกาลิ้นทอง เป็นของขลังที่ใช้เสริมเสน่ห์ เมตตา โชคลาภ พูดอะไรใครก็ชอบ พูดอะไรใครก็หลง พูดอะไรใครก็เชื่อ เรามักได้ยินข่าวคนดังๆ คนมีหน้าที่การงานดี มักจะไปลงคาถาสาริกา หรือสาริกาลิ้นทอง เพื่อเสริมสร้างเสน่ห์ เมตตาให้กับตนเองเพื่อที่จะได้มีงาน มีคนนิยมชมชอบสนับ สนุนผลงาน ให้มีเงินทองนั้นเองและที่สำคัญให้โชคดี ครูบาสร้อย ขันติสาโร ชาวบ้านแถบใกล้เคียง หรือต่างจังหวัดที่เคยมากราบท่านจะทราบดีว่าท่านเป็นพระที่มีอาคมขลังมากรูป หนึ่ง
    #เผยแผ่บารมีครูบา
    #ประวัติครูบาสร้อยขันติสาโร วัดมงคลคีรีเขตร์ (พระครูนิมมานการโสภณ)
    #ครูบาสร้อย ขันติสาโร หรือ #พระครูนิมมานการโสภณ วัดมงคลคีรีเขตร์ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก พระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่มีวิทยาคมรูปหนึ่งภาคเหนือ
    เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๘ ก.ย. ๒๔๗๒ ตรงกับวันขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะเส็ง พื้นที่เขตตำบลละหานทราย อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
    เมื่อ อายุได้ ๗ ขวบ โยมมารดาของท่านได้ถึงแก่กรรม ท่านได้มาอยู่ในความดูแลของคุณยาย ซึ่งคุณยายของท่านชอบเข้าวัดฟังธรรมตามวิถีชีวิตชนบท และมักพาท่านไปด้วยเสมอ ทำ ให้ท่านได้ใกล้ชิดกับวัดมาตลอด
    เมื่อเรียนจบชั้นประถม ๔ เด็กชายสร้อยจึงได้ขออนุญาตคุณยายบรรพชาที่วัดชุมพร มีหลวงพ่อมั่น เป็นพระอุปัชฌาย์
    หลังจากนั้น ได้ถวายตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อมั่น ฝึกบริกรรมด้วยการนับลูกประคำเป็นการฝึกสมาธิ เรียนวิทยาคมต่างๆ ควบคู่ไปกับการปฏิบัติสมาธิด้วย
    อยู่กับหลวงพ่อมั่น จวบจนอายุ ๒๒ ปี จึงได้อุปสมบท มี หลวงพ่อมั่น เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทอง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อสุต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา ขันติสาโร
    หลังจากบวช หลวงพ่อสุขได้กล่าวชวนไป อยู่ด้วย ซึ่งส่วนตัวมีความเลื่อมใสศรัทธาและประสงค์ขอเรียนวิทยาคมจากหลวงพ่อสุข
    ใน ช่วงต้นหลวงพ่อสุขได้เน้นหนักในเรื่องการปฏิบัติกัมมัฏฐาน ในพรรษาถัดมา หลวงพ่อมั่น ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านได้มรณภาพลง ท่านจึงได้กลับไปจัดงานถวายหลวงพ่อมั่น เสร็จสิ้นแล้วจึงกลับมายังวัดหลวงพ่อสุขดังเดิม
    หลวงพ่อสุข ได้เริ่มสอนวิชาต่างๆ แก่ท่าน วิชาที่สำคัญ คือ การตรวจดูบุญวาสนา เพื่อช่วยในการรักษาโรคภัยต่างๆ
    พ.ศ.๒๔๙๗ ครูบาสร้อยได้ขอลาหลวงปู่สุขเข้าสู่กรุงเทพมหานคร โดยจุดหมายคือ วัดมหาธาตุฯ ด้วยขณะนั้นขึ้นชื่อในเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านได้อยู่ศึกษาเป็นเวลา ๗ เดือน จึงลาพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ) ผู้สอนท่านกลับคืนยังบุรีรัมย์ เมื่อญาติโยมได้รู้ข่าวการกลับมาของท่าน จึงได้ต้อนรับและนิมนต์ให้ท่านอยู่ที่วัดกลางนา
    แต่หลังจากออกพรรษา ท่านได้ตัดสินใจออกธุดงค์ ถือรุกขมูลลัดเลาะไปตามจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ ต่อไปยังอุบลราชธานี จนยาวไปถึงนครพนม ข้ามไปยังฝั่งลาวแล้วข้ามกลับมายังมุกดาหาร ต่อเรื่อยไปจนเข้าสู่เทือกเขาภูพาน เขตสกลนคร เรื่อยไปจนเข้าหล่มสักเข้าพิษณุโลก ซึ่งช่วงนี้ท่านหลงป่าอยู่ จนทะลุออกมายังอุตรดิตถ์
    จากการหลงป่าครั้งนี้ ท่านจึงเปลี่ยนมาเดินโดยใช้เส้นทางรถไฟช่วย ล่วงได้ ๗ วัน ท่านก็ถึงดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ได้มีโอกาสพบ 'หลวงปู่แหวน สุจิณโณ' พระสายปฏิบัติชื่อดัง และได้ขอศึกษาข้อธรรมต่างๆ
    หลวงปู่แหวนท่าน เน้นไปทางอสุภกัมมัฏ ฐาน ซึ่งช่วงนี้ท่านได้พบกับข้อธรรมที่ลึกซึ้งมาก ขึ้น จากนั้นท่านได้กราบลาหลวงปู่แหวน ออกธุดงค์ถือรุกขมูลไปจนถึงแม่สะเรียง พักที่วัดศรี บุญเรือง
    ท่าน ตั้งใจจะไปที่แม่ฮ่องสอน แต่ด้วยติดกาลพรรษา จึงได้อยู่จำพรรษาที่วัดศรีบุญเรือง จนล่วงกาลพรรษา ท่านจะออกเดินทางต่อ พอดีได้ทราบจากญาติโยมว่าที่ท่าสองยางมีวัดร้างอยู่
    ท่านได้ไปดูสถานที่แห่งนั้น พบว่าเงียบสงบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม จึงได้ตกลงใจสร้างวัดมงคลคีรีเขตร์
    ครูบาสร้อยได้พัฒนาวัดมงคลคีรีเขตร์ จนเจริญรุ่งเรืองเป็นที่รู้จักของญาติโยมและคณะศรัทธา จนท่านได้รับการขนานนามว่า เทพเจ้าแห่งท่าสองยาง
    วัตถุมงคลของครูบาสร้อยมีจัดสร้างขึ้นมาก มายทั้งพระเครื่องและเครื่องรางของขลัง โดยเฉพาะประเภทเหรียญ ที่ได้รับความนิยมจากบรรดาเซียนพระและนักสะสมพระเครื่องเป็นอย่างยิ่ง คือ เหรียญครูบาสร้อย รุ่นสุริยุปราคา ปี ๒๕๓๘
    เหรียญครูบาสร้อย เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านแคล้วคลาดปลอดภัย
    นอกจากนี้ ชาวบ้านในแถบพื้นที่ใกล้เคียง ที่เคยเดินทางไปกราบนมัสการท่าน จะรู้ดีว่าท่านเป็นพระภิกษุที่มากด้วยเมตตา นอกจากให้เข้าพบโดยง่ายแล้ว ยังชอบแจกวัตถุมงคล กระบอก ยาอันศักดิ์สิทธิ์ ภายในมีของดีบรรจุอยู่คือ สีผึ้ง ชานหมาก เกศา ว่าน พระสีวลีองค์จิ๋ว ชาวกะเหรี่ยง พม่า และชนเผ่าต่างๆ นับถือและชื่นชอบกันมาก
    กระบอกยา ศักดิ์สิทธิ์ เป็นวัตถุมงคลอีกชนิดหนึ่ง ที่สร้างชื่อเสียงให้กับครูบาสร้อยเป็นอย่างมาก ท่านจะนำหลอดยานี้แจกให้กับลูกศิษย์อยู่เสมอ มีพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม
    ครูบาสร้อยได้ละสังขารอย่างสงบ เมื่อวันที่ ๑๙ ธ.ค. ๒๕๔๑ สิริอายุ ๖๙ พรรษา ๔๗
    ขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    ๑ในบรรดาวัตถุมงคลที่นิยมเล่นหากันที่สุด ของนิตยสารศักดิ์สิทธิ์สร้างติดทำเนียบ ยอดนิยม สากล
    ให้บูชา 950 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20240814_070821.jpg IMG_20240814_070844.jpg IMG_20240814_070749.jpg
     
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    1723660424794.jpg
    พระผงประทับสัตว์ขี่ปลาหลังยันต์ณ ฉัพพรรณรังสีพระผงรูปเหมือนเสมาปลอดโรคและรูปถ่ายหลวงพ่อเมี้ยนยันต์ณฉัพพรรณรังสี ๓ องค์
    เกิดนิมิตรประหลาดกับหลวงพ่อเมี้ยน สองปีเต็มที่ตำรามาอยู่กับหลวงพ่อเมี้ยน ได้รับการบูชาอย่างสม่ำเสมอ จนในคืนวันหนึ่งหลวงพ่อเมี้ยนก็เกิดนิมิตประหลาด ในนิมิตนั้น.....มีพระภิกษุวัยชราครองจีวรงดงามเดินเข้ามาหาที่หน้ากุฏิของหลวงพ่อเมี้ยน ขณะนั้นท่านกำลังนั่งดูตำราอยู่ พอมาถึงพระรูปนั้นก็นั่งลงต่อหน้า แล้วกล่าวว่า "เธอเป็นคนดี มีกตัญญูต่อบูรพาจารย์ ฉันจึงต้องมาหาเธอในคืนนี้ ฉันชื่อ "รอด" เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดประดู่ (วัดประดู่ทรงธรรม) เมื่อก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา ฉันได้เล่าเรียนตำรานี้แล้วทรงตำราไว้ กระทั้งกรุงศรีอยุธยาแตก ตำรานี้จึงได้ถูกขนย้ายออกมาพร้อมกับฉัน จนได้ตกทอดมาถึงเธอ ฉันจะมามอบยันต์ประจำตัวของฉันให้เธอหนึ่งตัว อยู่ในสมุดข่อยนั่นแหละ แต่ฉันจะสอนเคล็ดลับให้ "
    จากนั้นหลวงพ่อรอด (เสือ) ก็ได้สอนการเขียนอักขระที่เรียกว่า "นะฉัพพรรณรังสี" อันเป็นสุดยอดของยันต์ทางเมตาตามหานิยม แคล้วคลาด หลวงพ่อรอดได้สอนวิชาทั้งหมดให้ในนิมิต จนในที่สุดหลวงพ่อเมี้ยนก็จดจำได้
    พอรุ่งเช้าขึ้นมาหลวงพ่อตื่นจากจำวัดแล้วยันต์นั้นก็ติดตาหลวงพ่ออยู่ หลวงพ่อได้เอาดินสอเขียนยันต์ทั้งหมดไว้ในกระดาษและถือว่าเป็นยันต์ครูของหลวงพ่อ ตั้งแต่ได้ นะฉัพพรรณรังสีมาแล้วหลวงพ่อบอกว่ารู้สึก อักขระทั้งหลายที่ได้เล่าเรียนไว้ผนึกกันเป็นหนึ่งเดียวและสมาธิก็มั่นคงและมีกำลังกล้าแข็งขึ้น
    ในงานพุทธาภิเศกที่วัดบางนมโคประมาณปี ๒๕๓๖ มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังจากทั่วประเทศมาเข้าร่วมพิธี ในพิธีนั้น ก็ปรากฏว่ามีเกจิมีชื่อจากประจวบฯ เจ้าของปลัดขิกที่โด่งดังได้รับนิมนต์มาร่วมพิธีด้วยเช่นกัน และมาถึงตอนใกล้จะถึงเวลาฤกษ์เสกพอดี ท่านพูดออกมาว่า " วันนี้ขอลองวิชากับพระอยุธยาหน่อย" ปรากฎว่าหลวงพ่อองค์นั้นท่านใช้กสินไฟในช่วงที่นั่งปลุกในโบสถ์ ทำให้บริเวณพิธีอากาศร้อนมากๆ ทำให้เวลาผ่านไปพระเกจิอาจารย์ที่เข้ามาร่วมพิธีเหงื่อแตกเกือบทุกองค์ บางองค์เริ่มทนอากาศร้อนไม่ไหวก็เริ่มทยอยออกจากโบสถ์ จนกระทั่งเวลาผ่านไปประมาณ ๑ ชั่วโมงเหลือพระเกจิอยุธยาไม่กี่องค์ กับหลวงพ่อชื่อดังจากประจวบฯ และเมื่อเวลาผ่านไปอากาศก็ยิ่งร้อนขึ้น ทำให้บางองค์ต้องลุกออกจากโบสถ์เหลือหลวงพ่อเมี้ยน กับหลวงพ่อชื่อดัง จากประจวบฯ เพียง 2 องค์จนกระทั่งปลุกเสกเสร็จ หลวงพ่อจากประจวบฯ ยกมือไหว้หลวงพ่อเมี้ยนและกล่าวว่าผมยอมหลวงพ่อแล้วครับ มีศิษย์ของท่านที่ไปด้วยเห็นความผิดปกติ เลยถามหลวงพ่อว่าทำไมหลวงพ่อถึงไม่มีเหงื่อออกเลย หลวงพ่อเมี้ยนท่านตอบว่า "ไม่รู้จักเมี้ยนซะแล้ว เมี้ยนลูกศิษย์หลวงพ่อจงนะ" (เข้าใจว่าหลวงพ่อจงท่านเก่งอาโปกสินมาก ขนาดพ่อท่านคล้ายยังยอมรับท่านเลยครับ
    .............
    พระผงพิมพ์ขี่ ปลา ของหลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา อยุธยา ปี ๒๕๓๗ พระตามแบบ พิมพ์ของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคที่หลวงพ่อเมี้ยนได้ไปเรียนวิชากับหลวงพ่อปาน เนื้อหามวลสาร ว่าน๑๐๘ชนิด ผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเห ผงมหาราช ผงรักผงทองจากองค์หลวงพ่อมงคลบพิตร ผงลูกอม หลวงพ่อปาน วัดบางนมโคฯลฯว่าน๑๐๘ชนิด ผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเหและผงมหาราช ที่ท่านลบขึ้นเองทุกขั้นตอนครับ
    #เรื่องเก่ามาเล่าใหม่#
    #พระผงพิมพ์ทรงครุฑของหลวงพ่อเมี้ยน# [โปรดใช้วิจารณญาณ]
    #ระยะเผาขนแต่ไม่เข้า#
    เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙ มีคุณสุภาพสตรีท่านหนึ่ง อาชีพของเธอแม่ค้าขายของอยู่ที่ตลาดไท จังหวัดปทุมธานี เธอเคยมากราบนมัสการหลวงพ่อเมี้ยนด้วยความเคารพนับถือในองค์หลวงพ่อบ่อยๆ และทุกครั้งเธอมักจะมาคุยประจำกับผู้เขียน [พระครูโพธิธรรมารักษ์ ทองหล่อ ฐานวณฺโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ (ปัจจุบันนี้ยังมีชีวิตอยู่เป็นพระอาวุโสอยู่วัดโพธิ์) องค์ต่อจากหลวงพ่อเมี้ยน] ผู้เขียนไม่เคยถามชื่อเสียงนามของเธอ เพราะตามปกติผู้เขียนจะไม่ทำความสนิทสนมกับใครนอกจากผู้ที่รู้จักและคุ้นเคยจริงๆ เธอเล่าให้ฟังว่าเธอถูกคนร้ายจ่อยิงในระยะเผาขนแต่ยิงไม่เข้า เพราะเธอแขวน #พระผงพิมพ์ทรงครุฑของหลวงพ่อเมี้ยน# อยู่เป็นประจำ พระเนื้อผงชุดนี้มีเป็นชุด ๖ องค์ ๖ พิมพ์ ทรงขี่ครุฑ ทรงขี่ไก่ ทรงขี่หนุมาน ทรงขี่นก ทรงขี่เม่น ทรงขี่ปลา (พระเนื้อผงชุดนี้ด้านหลังเป็นยันต์ครูของท่านคือ "นะฉัพพรรณรังสี" ทั้ง ๖ พิมพ์) เหมือนกับพระพิมพ์ของ "หลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค ตำบลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระเนื้อผงชุดนี้สร้างถวายหลวงพ่อเมี้ยน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยท่านพระมหายุวชน วัดน้อยนางหงส์ กรุงเทพมหานคร (ปัจจุบันนี้ท่านเป็น #พระครูศรีปริยัติอุเทศ# เจ้าอาวาสวัดลานสัก รองเจ้าคณะอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี)
    ประวัติ หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา บางบาล จ.อยุธยา
    #ชีวประวัติ
    หลวงพ่อเมี้ยน พุทฺธสิริ หรือ พระครูพุทธสิริวัฒน์ อดีตเจ้าอาวาส วัดโพธิ์กบเจา บางบาล จ.อยุธยา ท่านมีนามเดิมว่า เมี้ยน นามสกุล เกิดโภคทรัพย์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะเส็ง (ตรงกับปี พ.ศ. 2460) ที่บ้านหาดทราย หมู่ 9 ต.กบเจา อ.บางบาล จ.อยุธยา เป็นบุตรของ นายแก้ว และ นางทองม้วน เกิดโภคทรัพย์ มีพี่น้องร่วมอุทร 8 คน
    หลวงพ่อท่าน เป็นคนใฝ่รู้ใฝ่เรียนมาตั้งแต่เด็ก (ปล. เรียกว่า เป็นคนแก่เรียนเอามากๆเลยครับ) หลวงพ่อท่านจะชอบศึกษา ค้นคว้า อยู่ตลอดเวลา อีกทั้ง เนื่องจากบิดาของท่านเป็นหมอยากลางบ้าน ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ยาแผนโบราณต่างๆ ทำให้หลวงพ่อท่าน ได้รับความรู้ ความเข้าใจ ด้านสมุนไพร และ ตัวยาแผนโบราณต่างๆ เพียงอายุยังน้อย เพราะท่านจะออกตาม บิดาท่าน ไปรักษา ผู้คนอยู่บ่อยๆ ไม่เพียงแต่ ด้านการแพทย์ ที่ท่านใฝ่ศึกษา และเรียนรู้ แต่ท่านยังชอบศึกษาหลักพระธรรม อีกด้วย (ปล. คงเป็นเพราะ ด้วยนิสัยส่วนตัว ของท่านเป็นคนใจดี มีเมตตา ชอบช่วยเหลือผู้คนอยู่แล้ว) ภายหลัง ท่านมีโอกาสได้บรรพชาเป็นสามเณร โดยได้รับการศึกษาภาษาบาลี ที่วัดดาวดึงษาราม ธนบุรี สอบได้ชั้นมูล 2 และสอบได้นักธรรมชั้นตรี ต่อมาท่านได้สึกออกมา เพื่อช่วยงานที่บ้านอยู่พักนึง จนกระทั่งพออายุครบบวช ท่านจึงได้ทำการอุปสมบท ที่วัดโพธิ์กบเจา บางบาล จ.อยุธยา ในปี พ.ศ. 2481 โดยมี พระครูปุ้ย วัดธรรมโชติการาม (วัดขวิด) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการหลิ่ว วัดพิกุลโสคันธ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์, พระครูหลิ่ม วัดโพธิ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า " พุทฺธสิริ "
    เมื่อบวชเป็นพระแล้ว หลวงพ่อท่านก็ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัย และปฏิบัติในทางพระกรรมฐาน จนมีจิตใจมั่นคงต่อ พระพุทธศาสนา หลังการบวชได้ 7 พรรษา หลวงพ่อก็ได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้เป็น เจ้าอาวาสวัดโพธิ์กบเจา แทนเจ้าอาวาสองค์ก่อน ที่มรณภาพลง หลวงพ่อท่าน ได้ทำหน้าที่ของท่าน เป็นอย่างดี โดย ท่านเป็นศูนย์รวมจิตใจ ที่ยึดมั่น และที่พึ่งของชาวบ้าน เรื่อยมา
    จวบจน กาลเวลาที่ชาวบ้านได้สูญเสีย ร่มโพธิ์ ร่มไทร ที่พวกเค้า เชิดชู เคารพ รัก และศรัธทายิ่ง ของพวกเค้าไป ในวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2541 หลวงพ่อได้มรณภาพลงด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 81 ปี 60 พรรษา
    #การศึกษาพุทธคม
    นี่คือตำนานบทสำคัญ ของ อมตะเถระแห่งเมืองกรุงเก่า ผู้เป็นเจ้าตำรับ 5 ม. (น้ำมัน น้ำมนต์ มีดหมอ ไม้ครู ชานหมาก) อันโด่งดัง เนื่องด้วยท่านเป็น พระคงแก่เรียน อยู่แล้วเป็นทุนเดิม จึงทำให้ หลวงพ่อท่าน มักจะศึกษา หาข้อมูล ความรู้ อยู่เรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นสรรพวิชา อาคมต่างๆ ที่ได้เล่าได้เรียนมาจาก สุดยอดคณาจารย์ที่โด่งดังตลอดกาลอย่าง "พระทองคำ" หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ, หลวงพ่อห่วง วัดบางยี่โท, หลวงพ่ออินทร์ วัดเกาะหงษ์ ฯลฯ จนเป็นที่ยอมรับ และกล่าวขาน เรื่อยมา
    ในส่วนของ ยันต์ " นะฉัพพรรณรังษี " ซึ่งเป็นยันต์ประจำองค์ ยันต์ตัวเก่งของหลวงพ่อนั้น การได้มาก็ไม่ธรรมดา ตามประวัติขณะที่ท่านกำลังเจริญกรรมฐานนั้น ได้ปรากฎ " ภิกษุชรา " รูปหนึ่ง มาบอกวิธีการเขียนยันต์ " นะฉัพพรรณรังษี " ตัวนี้ พร้อมทั้งวิธีการเรียก การเสก ครบถ้วนทุกอย่าง ซึ่งต่อมาท่านจึงได้ทราบว่า พระภิกษุชรารูปนั้น ก็คือ " หลวงพ่อรอด (เสือ) แห่งวัดประดู่ทรงธรรม " นั้นเอง หลังจากนั้น ท่านจึงได้ใช้ยันต์ " นะฉัพพรรณรังษี " ในการปลุกเสกวัตถุมงคลมาโดยตลอด
    #วัตถุมงคล
    ในส่วนของวัตถุมงคล ของหลวงพ่อท่าน แต่ละรุ่น แต่ละยุคสมัย มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ มีจุดเด่นในเรื่องของพุทธศิลป์ ความสวยงาม และ เข้มขลัง ด้วยพิธีการโบราณ ดั่งเดิม
    ช่วงเวลาการสร้างวัตถุมงคล ของหลวงพ่อท่าน แบ่งได้ โดยสังเขป ดังนี้
    1. ปี พ.ศ. 2490-2505 (พระผงยุคแรก พระขุนเผ่น,พระผงพุทธรักษา)
    2. ปี พ.ศ. 2510 (เหรียญปั้มพุทธรักษารุ่นแรก)
    3. ปี พ.ศ. 2520-2524 (เหรียญรุ่นแรก, เหรียญกตัญูญ, เหรียญทรงเต่าหลังยันต์เกราะเพชร)
    4. ปี พ.ศ. 2530 (เหรียญ 70 ปี โพธิ์รอบ ทั้ง กลม-ไข่, พระรูปหล่อรุ่นแรก)
    5. ปี พ.ศ. 2534 (เหรียญนะโม, เหรียญหล่อหน้าใหญ่, เหรียญพระกริ่งพุทธรักษา ศิษย์สายวัดสุทัศน์ฯสร้างถวาย)
    6. ปี พ.ศ. 2535 (พระกริ่งช่อฟ้า, เหรียญหล่อช่อฟ้าเต็มองค์, มีดหมอรุ่นแรก ศิษย์สายวัดสุทัศน์ฯสร้างถวาย)
    7. ปี พ.ศ. 2536 (ชุดพระกริ่ง-พระชัย และรูปหล่อ มโหสถ, ชุดพิธีเสาร์5 พญาวัน เหรียญเศรษฐี เหรียญเมตา พระกริ่ง-พระชัย พ่อครูนั่งยอง ปรกตัวหนอน พระรูปหล่อ ศิษย์สายวัดสุทัศน์ฯสร้างถวาย) (ชุดเหรียญไตรมาส 36 ออกวัดโพธิ์ฯ)
    8. ปี พ.ศ. 2537 (พระชุดสิริวัฒน์ พระกริ่งอะระหัง เหรียญหล่อยันต์กลับ เหรียญหล่อเกลียวเชือด เหรียญหล่อพัดยศ เหรียญหล่อพ่อครู เหรียญหล่อพระราหู เหรียญนั่งพาน ศิษย์สายวัดสุทัศน์ฯสร้างถวาย) (พระนาคปรกใบมะขามรุ่นแรก, เหรียญหล่อปลอดโรค-ปลอดภัย ศิษย์สายวัดสุทัศน์ฯสร้างถวาย)
    9. ปี พ.ศ. 2539 ( พระกริ่ง 79, พระชุด "บุญนิธิ" ที่ตอกโค๊ด "บุญนิธิ" ทั้งหมด ศิษย์สายวัดสุทัศน์ฯสร้างถวาย)
    10. ปี พ.ศ. 2540 (ท้าวเวสสุวรรณ, เหรียญแจกทาน ศิษย์สายวัดสุทัศน์ฯสร้างถวาย) (เหรียญชุด 80 ปี ออกวัดโพธิ์ฯ)

    ---ในส่วนของพุทธคุณ และประสบการณ์ จะเห็นเด่นชัด ในรื่องของ โชคลาภ เมตตา ค้าขาย และ เรื่องคงกระพัน ชาตรี มหาอุตม์ หยุดลูกกระสุน (ปล. อันนี้กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้วครับ สำหรับคนในพื้นที่ ที่แขวนพระของหลวงพ่อ
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระผงประทับสัตว์ขี่ปลาหลังยันต์ณ ฉัพพรรณรังสีพระผงรูปเหมือนเสมาปลอดโรคและรูปถ่ายหลวงพ่อเมี้ยนยันต์นะฉับพลันรังสี ๓ องค์
    บูชา 350 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20240815_010941.jpg IMG_20240815_010916.jpg IMG_20240815_010705.jpg IMG_20240815_010730.jpg IMG_20240815_010809.jpg IMG_20240815_010835.jpg IMG_20240815_010855.jpg
     
  11. Karoonsur

    Karoonsur Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    398
    ค่าพลัง:
    +227
    จองครับ
     
  12. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    FB_IMG_1723665010201.jpg FB_IMG_1723665157148.jpg FB_IMG_1723665162518.jpg FB_IMG_1723665159751.jpg

    พระผงรูปเหมือนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม จ.ปทุมธานี ปี
    2539 จัดสร้างโดย หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท รุ่นแรก
    พระเนื้อผงผสมว่านพิมพ์รูปเหมือนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จัดสร้างและอธิษฐานจิตปลุกเสกโดย หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม จ.ปทุมธานี เมื่อปีพ.ศ.2539
    หลวงปู่เจี๊ยะท่านเป็นพระที่หลวงปู่มั่น เคยกล่าวให้คณะศิษย์ฟังว่า..."ท่านเจี๊ยะ ท่านเป็นพระผู้ดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง"... ซึ่งฉายานี้ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นผู้กล่าวถึงหลวงปู่เจี๊ยะ และหลวงปู่มั่นท่านมีความเมตตาต่อหลวงปู่เจี๊ยะเป็นอย่างมาก ถึงขนาดที่ว่าหลวงปู่มั่นท่านได้ยกฟันของตัวท่านเอง(ซึ่งหลุดออกมา)ให้กับหลวงปู่เจี๊ยะเก็บไว้
    พระผงรุ่นนี้หลวงปู่เจี๊ยะท่านได้รวบรวมเอาผงมวลสารพระรุ่นเก่าๆ ว่านยาสมุนไพรต่างๆที่ท่านได้เก็บ
    รวบรวมไว้มาจัดสร้างเป็นพระพิมพ์พระอาจารย์มั่น ผู้เป็นครูอาจารย์ใหญ่ของหลวงปู่เจี๊ยะ
    มีผงมวลสารสุดยอดว่าน เพราะหลวงปู่เจี๊ยะท่านเก่งในเรื่องสมุนไพรว่านยายิ่งนัก
    "ยาส้ม"ของท่านที่ได้รับการถ่ายทอดจากหลวงปู่ฝั้น อาจาโร แสดงฤทธานุภาพปราบมะเร็งและไวรัสลงตับลงกระเพาะมาอย่างฉกาจฉกรรจ์ สารพัดโรคหายหมด
    สิ้น เมื่อพบกับยาส้มที่หลวงปู่เจี๊ยะแจกเป็นทานออกไป
    พระผงหลวงปู่มั่นรุ่นนี้จากคำบอกเล่าของบรรดาลูกศิษย์หลวงปู่เจี๊ยะ เชื่อขนมกินได้เรื่องคงกระพันชาตรี เพราะองค์เสกคือ หลวงปู่เจี๊ยะและท่านได้เคยนำลวดแหลมมาแทงแขนท่านดูขณะกำพระอยู่ ปรากฎว่าเหล็กแหลมนั้นไม่สามารถแทงเข้าผิวหนังที่แขนของท่านได้อย่างน่าอัศจรรย์ ปรากฏเพียงรอยยางบอนเท่านั้น
    ท่านเล่า แล้วก็ถามว่า
    ..."รู้ไหมเพราะอะไร"...
    ลูกศิษย์ซึ่งใกล้ชิดหลวงปู่เรียนว่า..."เพราะหลวงปู่ใส่ว่านสบู่เลือดผสมลงไปในพระ"...(ว่านนี้มีสรรพคุณทางอยู่คงชะงัดนัก)
    ท่านมองหน้าลูกศิษย์นิ่งก่อนจะอุทานเสียงดังว่า
    ..."เออ ! ไอ้เปี๊ยกมันรู้เว้ย"...
    พบเจอ ถือเป็นวัตถุมงคลในยุคต้นๆที่หลวงปู่เจี๊ยะได้จัดสร้างเอาไว้ครับ
    ขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระผงรูปเหมือนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม จ.ปทุมธานี ปี
    ๒๕๓๙ จัดสร้างโดย หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท รุ่นแรก
    ให้บูชา 350 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20240815_010532.jpg IMG_20240815_010559.jpg
     
  13. Karoonsur

    Karoonsur Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    398
    ค่าพลัง:
    +227
    จองครับ
     
  14. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    หลวงพ่อฮวด-กัณฑโว-วัดหัวถนนใต้-อ.ท่าตะโก-จ.นครสวรรค์-2.jpg FB_IMG_1708317636971.jpg FB_IMG_1708317639617.jpg FB_IMG_1708317630521.jpg FB_IMG_1708317626289.jpg
    เหรียญหลวงพ่อฮวดวัดหัวถนนใต้นครสวรรค์
    หลวงปู่บอกกับลูกศิษย์คนสนิทว่า เหรียญนี้ปลุกเศกได้ดีที่สุด ขลังที่สุดตั้งแต่มีมา
    พระอาจารย์ของหลวงพ่อ
    หลวงพ่อฮวด ได้เริ่มศึกษาเล่าเรียนวิทยาคมครั้งแรก จากหลวงพ่อคล้าย ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อ (หลวงพ่อคล้ายเป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อเดิมไ ด้สร้างเหรียญทวิภาคีร่วมกัน เมื่อคราวหลวงพ่อเดิม-หลวงพ่อคล้าย ช่วยสร้างอุโบสถ วัดพนมรอก เมื่อปี พ.ศ. 2483 ) หลวงพ่อฮวดได้ศึกษาวิทยาคมเพิ่มเติมกับหลวงพ่อเดิม ซึ่งหลวงพ่อมีความใกล้ชิดกับหลวงพ่อเดิม เนื่องจากหลวงพ่อเดิมได้มาช่วยพัฒนาวัดในเขตท่าตะโก หลายวัด เช่น การพัฒนา วัดทำนบ,วัดหนองไผ่,วัดเขาล้อ,วัดดอนคา,วัดโคกมะขวิด,วัดพนมรอก,วัดหนองหลวง,วัดหัวถนนเหนือ (เหตุที่หลวงพ่อเดิมได้มาช่วยพัฒนาวัดในเขตอำเภอท่าตะโกมาก เนื่องจาก บ้านหนองโพ-หัวหวายเป็นเขตติดต่อกับบ้านหนองหลวง-หัวถนน) หลายๆครั้ง หลวงพ่อเดิมได้รับกิจนิมนต์ไปยังที่ใด มักจะชวนหลวงพ่อฮวดร่วมเดินทางไปด้วยเสมอ หลวงพ่อฮวดนับว่าเป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ผู้สืบทอดสายพุทธาคมมาจากหลวงพ่อเดิม เทพเจ้าแห่งเมืองสี่แคว หรือเมืองมังกร ในปัจจุบัน หลังจากนั้นหลวงพ่อฮวดได้เล่าเรียนวิทยาคมกับอีกหลายพระอาจารย์ตามความชำนาญของแต่ละท่าน เช่นการเรียนวิชาทำตะกรุด กับ หลวงพ่อพุฒอำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง, การเรียนทำน้ำมนต์ กับ หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรืออยุธยา , การเรียนทำผงเมตตามหานิยมโชคลาภจากหลวงพ่อศักดิ์ วัดวังกระโดนใหญ่อำเภอไพศาลี นครสวรรค์
    มรณภาพแล้วศพไม่เน่าเปื่อย
    หลวงพ่อฮวดได้มรณภาพลงเมื่อ วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 เวลา 08.47 น. ที่วัดหัวถนนใต้ สิริอายุ 88 ปี พรรษาที่ 68 คณะกรรมการวัดได้บรรจุร่างของท่านไว้ในโลงแก้ว เป็นที่น่าอัศจรรย์เพราะว่าศพไม่เน่าเปื่อย ทั้งที่เป็นโลงแก้วธรรมดาไม่ได้เป็นสูญญากาศ ทุกปีในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะมีการเปิดโลง เพื่อทำการเปลี่ยนผ้าสบง-จีวร ปัจจุบันศพตั้งไว้บนจตุรมุขวิหาร
    ศิษยานุศิษย์แสดงความกตัญญูสร้างจตุรมุขวิหาร
    ศิษยานุศิษย์มีมติให้จัดสร้างจตุรมุขวิหาร ถวายท่านเพื่อเป็นที่ตั้งศพ เป็นที่สิงสถิตย์ดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ และเพื่อให้สาธุชนทั่วไปได้มาสักการะกราบไว้บูชา โดยคณะศิษยานุศิษย์ได้จัดสร้าง พระเครื่องรุ่นกตัญญูคราวทำบุญครบ 100 วัน ทำพิธีพุทธาภิเศก เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2535 โดยนิมนต์เกจิอาจารย์ 16 องค์ เช่น หลวงพ่อฮวด วัดดอนโพธิ์ทอง ,หลวงพ่อดี วัดพระรูป ,หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก,หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ ฯลฯ ศิษยานุศิษย์ได้กำหนดจัดงานบรรจุศพหลวงพ่อไว้บนจตุรมุขวิหารระหว่างวันที่ 11-13 เมษายน พ.ศ. 2539 โดยได้ประกอบพิธีบรรจุศพเมื่อ เวลา 21.09 น. วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2539
    จัดสวดพระอภิธรรมถวายทุกวัน
    เวลาประมาณ 18.00 น. ของทุกวัน จะมีพระสงฆ์สี่รูป สวดอภิธรรมถวายให้กับหลวงพ่อฮวด ณ จตุรมุขวิหาร โดยมีศิษย์ท่านหนึ่งรับผิดชอบในเรื่องค่าใช้จ่ายนับเป็นเวลาไม่ต่ำกว่าสิบปีแล้ว
    พระของชาวบ้าน
    ด้วยศีลจารวัตรที่ดี เคร่งครัดพระธรรมวินัย เป็นพระนักพัฒนา เก่งในทางเวทวิทยาคม มีเมตตาบารมี เป็นที่ยอมรับกันไปทั่ว จนกระทั่งชาวบ้านตั้งสมญานามให้กับท่านว่า "พระของชาวบ้าน"
    ขอบคุณเว็บไซต์ www.luangpohhuad.com
    เหรียญรุ่นสร้างโรงพยาบาล ปี2534 เป็นเหรียญที่หลวงปู่บอกกับลูกศิษย์คนสนิทว่า เหรียญนี้ปลุกเศกได้ดีที่สุด ขลังที่สุดตั้งแต่มีมา หลวงปู่ท่านทำสมาธิในระหว่างปลุกเศกจนดับไปชั่วขณะ ซึ่งหมายถึงท่านทำสมาธิถึงขั้นสูงจนจิตว่าง และมีคณาจารย์ระดับสุดยอดร่วมนั่งปรก อีก15รูป รวมทั้งหมด16รูป ร่วมกันเผยแผ่บารมีหลวงปู่ฮวดร่วมกันครับพี่น้อง
    ขอบคุณโบว์ชัวร์ของเฮียธนะสิทธิ์ สุวรรณ์นพชัยครับ

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    มีหลายหนังสือหลายเล่ม กล่าวคำพูดหลวงพ่อเดิมว่า "เมื่อสิ้นฉันแล้ว วิชาและของดีของฉัน อยู่ที่วัดหัวถนนใต้"
    หลวงปู่บอกกับลูกศิษย์คนสนิทว่า เหรียญนี้ปลุกเศกได้ดีที่สุด ขลังที่สุดตั้งแต่มีมา
    ให้บูชา 320 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20240816_043852.jpg IMG_20240816_043635.jpg
     
  15. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    วันนี้จัดส่ง
    1723805767156.jpg
    ขอบคุณครับ
     
  16. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    luangpoo1_pic01.jpg
    ผ้ายันต์ยุคต้นหลวงปู่ม่นธัมมจิณโณ วัดเนินตามาก ชลบุรี ขนาดประมาณ 11×11 นิ้ว
    หลวงปู่ม่น ท่านเป็นพระเกจิดัง อีกท่านหนึ่งของชลบุรี สมัยก่อนท่านดังมาก เรื่องแก้คุณไสย ไล่ผี ถ้าไปรักษาที่ไหนไม่หาย มาหาท่านแล้วหายทุกราย ขนาดหลวงพ่อเอียตอนท่านอายุมากแล้ว มีคนมาให้ท่านไล่ผีที่สิงในร่างคน ท่านยังแนะนำให้ไปหาหลวงปู่ม่นเลย หลวงปู่ม่นท่านเป็นพระที่มีเมตตาสูงมาก ขนาดชาวบ้านมาตามจับหมาที่ไปกัดเป็ดชาวบ้านและหนีมาอยู่ข้างกุฏิท่าน จะเอาไปยิงทิ้ง พอมาขออนุญาตท่านเพื่อไปจับหมา พร้อมกับเล่าเรื่องให้ท่านฟัง ท่านบอกว่า เดี๋ยว... แล้วท่านก็เอาข้าวให้หมากิน พอชาวบ้านเอาหมาออกไปพ้นเขตวัด แล้วเอาปืนมายิงหมา ปรากฏว่ายิงยังไง ก็ยิงไม่ออก กระสุนด้านทุกนัด เลยต้องกลับมาขอขมาท่าน แล้วก็เลยเลิก ไม่ยิงหมาแล้ว ให้อภัยมัน... สำหรับวัตถุมงคลที่ท่านอธิษฐานจิต มีประสบการณ์ทุกรุ่น ไม่เว้นแม้แต่ภาพถ่ายของท่าน เคยมีคนเอาภาพถ่ายของท่านไปผูกคอไก่ แล้วลองยิงห่างแค่ 2 ฟุต ยังยิงไม่โดนเลย ยิงยังไงก็ไม่โดนครับ
    หลวงปู่ม่น ท่านเป็นพระเกจิดัง อีกท่านหนึ่งของชลบุรี สมัยก่อนท่านดังมาก เรื่องแก้คุณไสย ไล่ผี ถ้าไปรักษาที่ไหนไม่หาย มาหาท่านแล้วหายทุกราย ขนาดหลวงพ่อเอียตอนท่านอายุมากแล้ว มีคนมาให้ท่านไล่ผีที่สิงในร่างคน ท่านยังแนะนำให้ไปหาหลวงปู่ม่นเลย หลวงปู่ม่นท่านเป็นพระที่มีเมตตาสูงมาก ขนาดชาวบ้านมาตามจับหมาที่ไปกัดเป็ดชาวบ้านและหนีมาอยู่ข้างกุฏิท่าน จะเอาไปยิงทิ้ง พอมาขออนุญาตท่านเพื่อไปจับหมา พร้อมกับเล่าเรื่องให้ท่านฟัง ท่านบอกว่า เดี๋ยว... แล้วท่านก็เอาข้าวให้หมากิน พอชาวบ้านเอาหมาออกไปพ้นเขตวัด แล้วเอาปืนมายิงหมา ปรากฏว่ายิงยังไง ก็ยิงไม่ออก กระสุนด้านทุกนัด เลยต้องกลับมาขอขมาท่าน แล้วก็เลยเลิก ไม่ยิงหมาแล้ว ให้อภัยมัน... สำหรับวัตถุมงคลที่ท่านอธิษฐานจิต มีประสบการณ์ทุกรุ่น ไม่เว้นแม้แต่ภาพถ่ายของท่าน เคยมีคนเอาภาพถ่ายของท่านไปผูกคอไก่ แล้วลองยิงห่างแค่ 2 ฟุต ยังยิงไม่โดนเลย ยิงยังไงก็ไม่โดนครับ
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    ให้บูชา 350 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20240816_205918.jpg
     
  17. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    FB_IMG_1723884063772.jpg



    พระไพรีพินาศหลวงปู่ท่อนปี๒๕๕๔
    หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน ต.นาอ้อ อ.เมือง จ.เลย เป็นพระเถราจารย์สายกัมมัฏฐาน ที่มีความเชี่ยวชาญด้านจิตตภาวนา การเทศนา และวิทยาคมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท่านที่คอยอบรมสอนสั่งสาธุชนให้ปฏิบัติตาม ด้วยกุศโลบายอันแยบคาย ในการเทศนา ให้ผู้ฟังนำไปขบคิดพินิจพิจารณาด้วยปัญญา ครั้งหนึ่งท่านได้มีโอกาสพบหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า และได้รับโอวาทอันทรงคุณค่าอย่างหาที่เปรียบมิได้ จากหลวงปู่มั่น ให้เร่งทำความเพียร มิให้ประมาท ชีวิตนี้อยู่ได้ไม่นานก็ต้องตาย
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระไพรีพินาศหลวงปู่ท่อนปี๒๕๕๔
    ให้บูชา 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20240817_152228.jpg IMG_20240817_152258.jpg IMG_20240817_152201.jpg
     
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    1599-5e42.jpg
    เหรียญหลวงปู่เครื่องวัดวัดเทพสิงหารต.นายูง อ.นายูง จ.อุดรธานีกองทัพภาคที่ ๒ สร้างถวาย
    “วัดเทพสิงหาร” ต.นายูง อ.นายูง จ.อุดรธานี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2410 โดยท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย แต่ผู้ที่เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก คือ หลวงปู่เครื่อง ธมฺมจาโร
    ภิกษุ 6 แผ่นดิน
    หลวงปู่เครื่อง ธมฺมจาโร ท่านเกิดเมื่อปีพุทธศักราช 2410 ที่บ้านนาหมี ตำบลนายูง เพราะเกิดแต่ปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และถึงกาลมรณภาพในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ด้วยอายุยืนยาวถึง 112 ปี จึงได้ชื่อว่าภิกษุ 6 แผ่นดิน
    “คน ที่ไม่เคยฆ่าสัตว์ แต่เคยเฆี่ยนตีสัตว์ จะมีอายุยืน และมีโรคเบียดเบียน ส่วนคนที่ไม่เคยฆ่าสัตว์ ไม่เคยเฆี่ยนตีสัตว์ ทั้งอายุยืน และไม่มีโรค” (หลวงปู่หล้า เขมปัตโต วัดภูจ้อก้อ อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร)
    หลวงปู่ เครื่อง เกิดเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ (พุทธศักราช 2410) มรณภาพเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พุทธศักราช 2523 เป็นภิกษุอายุยืนที่สุดในภิกษุสายกัมมัฏฐานศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺตเถร ทั้งปวง
    บ้านเกิดบ้านป่า
    บ้าน นายูง สมัยท่านเกิดคือบ้านป่าที่แท้จาริง มองดูนายูงทุกวันนี้ก็มีรอยป่าดิบให้นึกเห็นภาพ ต้นไม้ที่หายไปให้เอาปีเดือนคูณเข้า ภาพป่าดงดิบก็จะชัดเจนสมบูรณ์จนเยือกหนาว
    สมัยที่ท่านเกิด คือสมัยของเด็กบ้านป่า ไม่ใช่สมัยพระเถรในตอนปลายชีวิตจึงไม่จำเป็นต้องพรรณนาถึงความกันดาร ลำบาก หรือคับแค้นแห่งการดำรงชีวิตคนบ้านป่า-ไม่ว่าไหนๆ ก็เหมือนกันทั้งสิ้น
    อุปสมบทครั้งที่ 1 (ก่อนเบียด)
    บวช ครั้งแรกอายุ 21 ปีเต็ม เข้าใจว่าท่านบวชตามประเพณีนิยม พรรษาเดียวก็มีอันได้สึกออกมาสมรสกับ “นางสาวนาค ลุนทอง” ชาวหมู่บ้านเดียวกัน เรียกว่าบวชก่อนเบียด
    อนิจจังกับการครองเรือน
    หลวง ปู่เครื่อง ขณะดำรงเพศฆราวาสในชีวิตครองเรือนกับนางนาค ก็มีอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปรากฏขึ้น บุตรชาย-หญิงทั้งสองคนเสียชีวิตตั้งแต่ยังเล็กไปด้วยกัน (ไม่ทราบสาเหตุของการตายท่านไม่ได้เล่าไว้) ต่อมานางนาคผู้เป็นมารดาผู้พิลาปร่ำรำพันหาลูกทั้งสองคนไม่สร่าง ก็ตรอมใจตายตามไปอีกคน เสียลูก เสียเมีย และเสียขวัญอย่างใหญ่หลวงแล้ว
    ทุกข์ ที่ส่งมอบโดยมือของอนิจจังกับอนัตตา คือสิ่งที่ท่านรับมือไม่อยู่ ถึงกับเตลิดเปิดเปิงไปอย่างคนที่สิ้นไร้ความหมายแห่งชีวิต เหมือนถูกพายุใหญ่ชัดไปไกลจนถึงเมืองลาว ไปเพื่อให้ลืม หรือเพื่อให้จำก็ไม่มีใครรู้จัก นอกจากตัวท่านเอง
    อุปสมบทครั้งที่ 2
    เบื่อหน่ายเป็นเหตุผลเดียวที่ท่านบอกเพื่อบวชในครั้งที่ 2
    สถานที่บวช - วัดศรีสะเกษ แขวงเมืองเวียงจันทน์
    อุปัชฌาย์ - พระครูแก้ว
    พระกรรมวาจาจารย์ - พระอาจารย์เถิง
    พระอนุสาวนาจารย์ - พระอาจารย์คำ
    บวช แล้วก็ได้อยู่ศึกษาทั้งวิชาอาคมและการเจริญวิปัสสนากรรมฐานอย่างจริงจังกับ พระอุปัชฌาย์อาจารย์คือ พระครูแก้ว ผู้เป็นสหายของเจ้ามหาชีวิตลาว เจ้าศรีสว่างวงศ์ เป็นเวลา 3 ปีเต็มกับการพำนักจำพรรษากับพระครูแก้ว ท่านจึงได้กราบลาออกหาความวิเวกตามลำพัง
    ชีวิตวิเวก
    พระ ธุดงค์คล้ายนกขมิ้นหลงรัง ค่ำไหนนอนไหน เป็นเรื่องที่ไม่ต้องกำหนดหมายเดินหน้าไปเรื่อยๆ ในป่าเขาลาว ตอนเหนือสุดของป่าเขาแห่งเมืองเวียงจันทน์ ท่านพบผีตองเหลืองกลุ่มหนึ่งโดยบังเอิญ
    “พวกนี้ไม่นุ่งผ้า พอเห็นหลวงปู่ก็ตกใจ พากันซุบซิบอยู่พักหนึ่งแล้วกรูเข้ามาล้อมกรอบหลวงปู่ มีไม้แหลมแทนหอกคนละด้าม ทำท่าจะพุ่งหอกแทงหลวงปู่ ต้องยืนนิ่งๆหลับตาลงเสีย แล้วเร่งภาวนา แผ่เมตตาให้พวกเขา”
    หลวงปู่เล่าชวนให้ระลึก
    กิริยา ที่หลวงปู่ไม่คิดหนี หากแต่ยืนนิ่งหลับตา เป็นของแปลกที่ผีตองเหลืองกลุ่มนั้น (ประมาณ 10 คน) ไม่เคยเห็นที่คิดจะทำร้ายก็รีรอก่อน แล้วก็พาลสงสัย เข้ามาเขย่าตัวหลวงปู่เพราะเห็นว่ายืนนิ่งเฉยเกินไป
    ท่านลืมตาขึ้น ส่งภาษามือ ทั้งโบกห้ามและชี้ไปที่หอกไม้ พวกผีตองเหลืองจึงเข้าใจ และส่งหอกให้หลวงปู่ด้ามหนึ่ง ท่านปฏิเสธที่จะรับไว้ พวกนั้นจึงดึงมือหลวงปู่ จูงท่านไปสู่ที่พัก และหาอาหารมาถวาย
    แม้เป็นเวลาวิกาลท่านก็รับอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ป่าไว้ในบาตร บางทีจะถนอมไมตรีกันไว้ก่อน ที่ท่านรับแล้วฉันมีเพียงน้ำเท่านั้น
    ไม่ได้อบรมธรรม แต่สอนอารยธรรม
    คืน นั้นท่านนั่งขัดสมาธิบนหินก้อนหนึ่ง มีผีตองเหลืองทั้งหมดนั่งล้อม คืนประวัติศาสตร์แห่งอารยธรรม ท่านสอนให้พวกนั้นรู้จู้กเอาใบไม้มาปิดอวัยวะที่เปลือยล่อนจ้อนเป็นครั้งแรก ทายสิครับว่าพวกนั้นเชื่อหรือไม่ ต่อไปใบไม้สวยๆ ก็จะเป็นแฟชั่นของผีตองเหลืองเผ่านี้ดอกกระมัง
    กลับบ้านเกิด
    นานเนในป่าเขา ยาวไกลแห่งสองเท้าย่ำ
    ท่านคิดถึงบ้านเกิด
    ขณะ นั้นบิดาของท่านคือ หลวงศักดาธรรมเรือง อายุปูนแก่มากแล้ว กำลังถือศีลเป็นชีปะขาวในบ้านนายูง บ้านเกิด ท่านก็กลับมา และได้ตั้งสำนักวิปัสสนาขึ้นในที่ลุ่มข้างเนินเขาเตี้ย ๆ ติดกับหมู่บ้าน (ปัจจุบันคือสถานที่ตั้งสถานนีอนามัยตำบลนายูง)
    อาคันตุกะสำคัญ
    ใน ปีพุทธศักราช 2439 ภิกษุอาคันตุกะรูปหนึ่งธุดงค์มาถึง และเข้าพำนักในสำนักวิปัสสนาของหลวงปู่เครื่อง ภิกษุอาคันตุกะท่านนี้มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันกับหลวงปู่เครื่อง แต่ศักดิ์ศรีและฐานะของท่านยิ่งใหญ่เกินประมาณ ท่านคือ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺตเถร
    พระอาจารย์มั่นได้ธุดงค์มาที่บ้านนายูง หลวงปู่เครื่องจึงได้อยู่ปฎิบัติธรรมกับท่าน
    พระ อาจารย์มั่นได้เสนอแนะให้หลวงปู่เครื่องจัดหาสถานที่ตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นใหม่ เพื่อให้อยู่ในสถานที่สูงกว่าเดิม หลวงปู่เครื่องเห็นด้วยและลงมือปฏิบัติด้วยกัน วัดเทพสิงหารจึงอุบัติขึ้นในบัดนั้น

    ธุดงค์สู่เมืองนักปราชญ์
    4 ปีในการพำนักอยู่ด้วยกันของทั้งสองท่านในวัดเทพสิงหาร นับเป็นเวลามากมายสำหรับนักปฏิบัติสองคนจะได้แลกเปลี่ยนข้อธรรม และแสดงอุปนิสัยแก่กันจนเป็นที่พอใจแก่กัน ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่จะได้ออกเดินทางไกลร่วมกันสักครั้งหนึ่ง พระอาจารย์มั่นกับหลวงปู่เครื่อง ออกธุดงค์สู่เมืองอุบลราชธานี
    สำเร็จลุน
    ถึง อุบลฯ หลวงปู่เครื่องได้แยกทางกับพระอาจารย์มั่นมุ่งหน้าต่อไปทางทิศตะวันออกสู่ อำเภอโขงเจียม ตะวันออกสุดแดนสยาม ข้ามเขตแดนประเทศเข้าสู่แผ่นดินลาว เป้าหมายคือ สำเร็จลุน ขณะนั้นสำเร็จลุนมีอุโฆษแห่งชื่อชนิดไม่ที่กั้นไว้ได้เป็นผู้ที่ถูกประมวล ไว้ด้วยความลี้ลับ อภินิหาร และฉกาจแห่งขลังอย่างไม่มีใครระบือเท่า ขณะนั้นท่านพำนักอยู่วัดเขาแก้ว แขวงเมืองจำปาศักดิ์ ซึ่งนั่นคือที่ซึ่งหลวงปู่เครื่องเดินออกไปหา
    ฝากตัวเป็นศิษย์
    หลวง ปู่เล่าว่าได้อยู่ศึกษาวิชาอาคมและปฏิบัติธรรมกับสำเร็จลุนเป็นเวลา 3 ปี ได้เห็นอภินิหารของท่านมากมาย เช่นบางครั้งลงจากเขาไปบิณฑบาตที่หมู่บ้าน พอจะกลับ สำเร็จลุนหายตัวไปเฉยๆ เมื่อท่านกลับถึงวัดก็พบสำเร็จลุนนั่งรอฉัน
    นี่เป็นเรื่องแปลกที่พบเห็นบ่อยที่สุด
    สำเร็จ ลุนมักอยู่ในถ้ำตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืนเว้นแต่บิณฑบาตเท่านั้นจึงจะ ออกมา หลวงปู่เครื่อง ก็เป็นศิษย์อีกคนหนึ่งที่ไม่ใคร่จะพูดถึงสำเร็จลุนผู้เป็นอาจารย์ เหมือนคนอื่นๆที่ไม่อยากพูด
    ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น คำถามนี้ผมยังหาคำตอบที่แน่ชัดไม่ได้
    พระอาจารย์เสาร์
    เมื่อสำเร็จลุนเห็นว่าหลวงปู่เครื่องพอจะเอาตัวรอดได้แล้ว จึงแนะนำให้ท่านไปหา พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล สหธรรมิกของสำเร็จลุน เคยอยู่ปฏิบัติธรรมด้วยกันบนภูเขาควาย ท่านให้เหตุผลว่า “การยึดติดอยู่กับครูบาอาจารย์ ไม่มีทางพ้นทุกข์ได้ ไม่อาจพบยอดธรรมอันวิเศษโดยง่าย อาจาร์คือผู้ชี้ทางเดินให้แค่นั้น” 3 ปี กับสำเร็จลุนก็สิ้นสุดลง
    ท่องไพรฉบับธุดงค์
    สำเร็จ ลุนไม่ประสงค์ให้หลวงปู่เครื่องยึดติดอยู่กับครูบาอาจารย์ ชะเนาะขันเกลียวระหว่างศิษย์กับอาจารย์ก็คลาย อิสรภาพของศิษย์ก็อุบัติขึ้น แต่ความโดดเดี่ยวอ้างว้างกลับเข้ามาครอบงำแทน แม้คำแนะนำเชิงคำสั่งให้หลวงปู่เครื่องไปหาพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล จะยังก้องในหู ทว่าเสียงเพรียกแห่งป่าดงพงพียังร่ำให้ท่านก้าวเข้าไปหา สมบัติอันล้ำค่าของนักปฏิบัติรอท่านค้นเอาอยู่ในนั้น
    ยังก่อนพระอาจารย์เสาร์
    ต้องป่าวิเวกเป็นปัจจุบันเท่านั้น
    เมื่อ ออกจากพระอาจารย์สำเร็จลุนแล้ว ท่านได้วิเวกไปทางแขวงวังเวียงที่ยังคงขึ้นอยู่กับจำปาศักดิ์ พื้นที่ทั้งหลายเป็นป่าดงดิบ ห้อมล้อมหนาแน่นและกว้างไกล จนเป็นเหตุให้ท่านต้องวนเวียนอยู่ในป่าแถบนั้นเป็นเวลานานถึง 2 ปี เหมือนว่าหลงป่า และมีป่าเป็นที่เลี้ยงชีพ มีผลไม้ป่าบรรเทาความหิวและเติมกำลังให้เดินหน้าไปได้ไม่จอดสนิทกับที่
    ข้อ เท็จจริงของป่าเมืองลาวนั้น ถ้าผู้ไม่รู้จักคุ้นเคยกับเส้นทางที่ทอดแทรกไปป่าที่เชื่อมหมู่บ้านหรือ เมืองทั้งเมืองเอาไว้ สภาวะของคนหลงป่าย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย
    คำพูดที่ว่า “ป่าดงดิบ” มันเป็นคำพูดที่ง่ายเกินไป แต่ความเป็นจริงแล้วมันยิ่งใหญ่เกินประมาณ อย่างเช่นพื้นที่ป่าเขาแถบริมโขงด้านโขงเจียม หรือศรีเมืองใหม่ ถ้าเดินออกไปไม่ถูกทิศ บอกได้ว่าทั้งเดือนหรือทั้ง 3 เดือน คุณจะไม่มีวันพบบ้านเรือนผู้คนเลย
    ป่าดงดิบก็ดูจะเบาไปหน่อยเมื่อเปรียบกับน้ำหนักป่าเมืองลาวที่แท้จริง
    บ้านชาวไทยเขินกับผีเฮี้ยน
    ใน วันหนึ่งในระหว่าง 2 ปี ที่ท่านวนเวียนในป่าแขวงวังเวียง ท่านเดินเท้าถึงภูพระมอม ซึ่งที่นั่นมีหมู่บ้านป่าซุกตัวอยู่แห่งหนึ่ง เป็นหมู่บ้านของพวกไทยเขิน หมู่บ้านใหญ่พอสมควร ถึงกับมีวัดสวยงามเก่าแก่อยู่ประจำด้วย พวกชาวบ้านได้นิมนต์หลวงปู่เครื่องอยู่จำพรรษา ซึ่งท่านก็รับ เนื่องจากว่าแม้เป็นวัดงดงามเก่าแก่ แต่กลับไม่มีพระเณรอยู่ประจำแต่อย่างใด
    ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
    ไม่มีกุลบุตรใดในหมู่บ้านนี้มีศรัทธาหรืออย่างไร
    ไม่มีชาวบ้านคนไหนเอาใจใส่บำรุงพระเณรให้อยู่ได้รึ
    คำตอบคือไม่ใช่
    จิต หรือใจหรืออะไรที่นึกรู้ได้นั้น บอกหลวงปู่ว่านี่คือวัดเฮี้ยนที่เอาเป็นเอาตายแก่พระเณรที่มาอยู่อาศัยจน กระทั่งอยู่ไม่ได้ หรือพากันตายไปเอง
    ที่นึกรู้ก็เป็นว่านึกรู้ได้ถูกต้อง เมื่อชาวบ้านสารภาพว่า ที่นี่ได้มีผีดิบอาละวาดมาเนิ่นนานแล้ว
    4 เดือนที่ผ่านมา มีคนตายเพราะผีดิบ 40 คน
    ผีดิบไม่ใช่ผีสุก
    ผีสุกคือผีที่ถูกเผา ผีดิบคือผีที่ฝังดิน ไม่ใช่ผีอย่างท่านเคาน์แดร็กคิวล่า หรอกครับ
    คาถาปราบ
    หลวง ปู่เล่าว่าระหว่างพำนักที่วัดแห่งนั้น ท่านเจริญพระคาถาขันธปริตรจนได้ผลดี ผีเฮี้ยนหรืออะไรที่ทำให้คนตายไม่มีสาเหตุก็จางหาย ความร่มเย็นเป็นสุขก็คืนกลับมาสู่หมู่บ้านและวัดแห่งนั้นอีกครั้งหนึ่ง
    หนีพระอาจารย์เสาร์ไม่พ้น
    ออก พรรษาแล้วท่านก็ออกจากป่าที่เรียกว่าหลงอยู่ 2 ปีได้สำเร็จ ท่านสามารถจับทิศทางการเดินธุดงค์ได้โดยไม่สะเปะสะปะอย่างเก่า และคราวนี้ท่านเดินขึ้นเหนือมุ่งสู่เวียงจันทน์
    “ขึ้นเวียงจันทน์ก็มีโอกาสได้พบพระธุดงค์จากเมืองไทยหลายท่าน และหนึ่งในจำนวนพระไทยที่ได้พบก็คือพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล”
    น่าเสียดายที่ไม่มีรายละเอียดของการอยู่กับพระอาจารย์เสาร์ แต่เมื่อแยกจากพระอาจารย์เสาร์แล้ว ชีวิตธุดงค์ของหลวงปู่ก็ดำเนินต่อไป

    30 ปีในเมืองลาว
    หลวง ปู่เครื่องแทบจะเป็นพระลาวไปแล้ว เมื่อรวมยอดเวลาทั้งหมดที่ท่านโคจรอยู่ในแผ่นดินลาวนับได้ 30 ปี ถ้าไม่มีสงครามอินโดจีน ท่านคงจะอยู่ที่นั่นนานกว่านี้ ระหว่างสงครามท่านเดินทางกลับประเทศไทย ขณะนั้นอายุของท่านปาเข้าไปถึง 60 ปีแล้ว และได้ใช้ชีวิตธุดงค์ต่อไปในประเทศไทย เดินออกไปทั่วภาคอีสาน ล่องลงจนถึงกรุงเทพฯ ตลอดเวลาที่สงครามดำเนินอยู่ จนกระทั่งสงครามสงบ แผ่นดินลาวก็กวักมือเรียกท่านให้เดินเข้าไปหาอีกครั้ง
    ภูเงี้ยว
    กลับ เข้าเมืองลาวครั้งนี้ท่านขึ้นภูเงี้ยว ท่านเล่าว่าสัณฐานของภูเงี้ยวเป็นภูเขาสูงชัน ทรงสี่เหลี่ยม มีถ้ำมากมาย และมีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมหาศาล แต่แปลกที่ไม่มีกลิ่นของขี้ค้างคาวปรากฏเลย
    หมู่บ้านประหลาด
    ที่ เหลือเชื่อยิ่งขึ้นคือท่านพบหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่เชิงภูเงี้ยว มีครอบครัวชาวบ้านอยู่รวมกันราว 10 หลังคาเรือน คนทั้งหมดไม่ว่าหญิงชาย เด็กหรือคนหนุ่มสาว หรือคนชราล้วนตาบอดกันหมด แม้บอดตาแต่ไม่บอดใจ พวกเขาทราบว่าท่านเป็นพระธุดงค์ ก็พากันดีใจ ขอนิมนต์ท่านเทศนาโปรดเป็นการใหญ่ อิ่มเอิบทั่วกันในกลางป่าแห่งนั้น
    “หลวง ปู่ถามไถ่สาเหตุที่พวกเขาตาบอด ก็ได้ความว่าเมื่อก่อนต่างมีอาชีพฆ่าสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์อยู่ในเมือง ต่อมาเกิดโรคระบาด เป็นตาแดงกันทั้งหมด
    รักษาไม่หาย จนกระทั่งตามองไม่เห็น”
    เมื่อ ตาบอดแล้วก็เป็นปัญหาในการอยู่ร่วมกับสังคม ทางการลาวจึงจัดที่อยู่ให้ และฝึกสอนอาชีพจักสานและงานฝีมือให้ได้ทำอยู่ที่นั่นเป็นที่เวทนาแก่หลวงปู่ ยิ่ง
    กลับวัดเทพสิงหาร
    หลวง ปู่เครื่องใช้ชีวิตในเมืองลาวคราวนี้นานถึง 10 ปี จนกระทั่งอายุดได้ 73 ปี จึงเดินทางกลับเมืองไทย สู่บ้านเกิด บ้านนายูง เข้าสู่วัดเทพสิงหารอีกครั้ง และอยู่อย่างมั่นคงที่นี่ไม่หนีไปไหนอีก อยู่เป็นหลักชัยแห่งการประพฤติปฏิบัติให้ชาวพุทธแถบนั้นยึดเหนี่ยวเป็น ตัวอย่างสืบไป
    พระอุโบสถวัดเทพสิงหาร
    พระอุโบสถวัดเทพสิงหาร อ.นายูง จ.อุดรธานี
    หลวงปู่เครื่อง ธมฺมจาโร กับหลวงปู่แหวน สุจิณโณ
    หลวง ปู่เครื่องกับหลวงปู่แหวนแห่งดอยแม่ปั๋ง ทั้งสองท่านรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เคยพบกันและเคยพำนักด้วยกันแต่ครั้งต่างยังโคจรอยู่ในแผ่นดินลาว และเมื่อพรากจากกันแต่คราวนั้นก็ไม่ได้พบกันอีกจนกระทั่งวันที่ 23 ก.พ. 2520 เวลาบ่ายโมงตรง คณะของหลวงปู่เครื่องก็ได้เดินทางขึ้นดอยแม่ปั๋ง ทำให้การพบกันครั้งนี้มีความหมายและความน่ารักน่าอบอุ่นปรากฏขึ้นอีก บทสนทนาต่อจากนี้ถอดออกจากเทปบันทึกเสียง มีหลายท่านได้ฟังและได้อ่านมักกล่าวแสดงความชื่นชมว่าน่ารักมาก สำหรับภิกษุชรา 2 ท่าน ได้ฟื้นความหลังกัน
    หมายเลข 1 จะแทนตัวหลวงปู่แหวน
    หมายเลข 2 จะแทนตัวหลวงปู่เครื่อง
    1. “อายุเท่าใดแล้ว อายุล่วงไปกี่ปี”
    2. “ร้อยกว่า”
    1. “ร้อยเท่าใด”
    2. “ร้อยเก้า”
    1. “ร้อยเก้าหรือ”
    2. “จะร้อยสิบเต็มในวันที่ 11 พฤษภาคมที่จะถึงนี้”
    1. “สาธุ มาคนเดียวก้อ หูยังยินก้อ ตายังดีอยู่เนาะ”
    2. “หูยังดี ตายังดีอยู่”
    1. “อันนี้ตาเทียม ตาจริงมัวหมดแล้ว” ปู่แหวนชี้ที่แว่นตาของท่านเอง
    2. “มาจำพรรษาที่นี่นานหรือยัง”
    1. “ได้สิบสี่ปี สิบห้าปีแล้วเน้อ”
    อาจารย์หนูกล่าวย้ำ “มาอยู่ที่นี่ได้สิบห้าปีแล้ว”
    พระราชสิทธาจารย์ “หลวงปู่แหวนนี่อยู่มาหลายที่ เมื่อก่อนอยุ่บ้านเต่าเห่โน่น หลวงปู่แหวนเป็นพระลูกวัด ส่วนอาจารย์หนูเป็นเจ้าอาวาส”
    อาจารย์หนู “ทหารเขาเอาคนหนุ่มมาเป็น คนแก่ไม่เอา”
    2. “คนแก่เป็นทหารไม่ได้นะ”
    1. “จำเป็นต้องเป็นเจ้าปู่เจ้าตาต่อไป” และกล่าวต่อไปอีกว่า “ปู่หม่อน ปู่หม่อน” (หมายถึงปู่ทวด)
    1. “แต่เดิมอยู่บ้านใดก้อ”
    2. “บ้านนายูง”
    1. “บ้านผือ บ้านนายูงนี้ก้อ”
    2. “ใช่แล้ว”
    1. “บ้านนายูง บ้านน้ำซึม เคยไป”
    หลวงปู่เครื่องเอะอะว่า “นึกว่าใคร จำได้แล้ว”
    1. “มีบ้านนาหมี นายูง นาต้องเน้อ แต่เดิมเป็นป่ามืดน้อ”
    2. “จำได้อยู่ เคยไปอยู่ร่วมกัน แต่มันนานมาแล้ว”
    1. “เมื่อปี 2461 อยู่จำพรรษาบ้านคำต้องเน้อ สมัยนั้นเป็นป่าดง คนไปฆ่าสัตว์กันมาก เดี๋ยวนี้จึงมาเกิดเป็นคนเต็มบ้านเต็มเมือง”
    2. “ขอนั่งตามสบายนะ”
    1. “เอ้า, นั่งตามสบาย เหยียดแข้ง เหยียดขาให้สบายเน้อ”
    2. “ไม่ไปเยี่ยมบ้านบ้างหรือ”
    1. “ไปเยี่ยมแต่ปี 2461 บรรดาญาติโยมมาตามเอาที่บ้านนาหมีนายูง ไปอยู่สามวันมีคนมาเยี่ยมเจ็ดแปดสิบหมู่บ้านจึงอยู่ต่อไปอีก ถึงเดือน 7 ขึ้น 3 ค่ำ ขอลาศรัทธาญาติโยมทุกๆ คนเน้อ ลาครั้งนี้ไม่มีกำหนดเน้อ” หลวงปู่แหวนกล่าวต่อไปอีกว่า “ตั้งแต่นั้นมาไม่ได้ไปอีกเลย”
    พระราชสิทธาจารย์ “มีลูกหลานมาเยี่ยมบ้างไหม”
    1. “มีเหมือนกันแต่จำเขาบ่ได้” แล้วหันมาถามหลวงปู่เครื่องว่า “เคยไปเรียนหนังสือกับอาจารย์หงษ์ อาจารย์สิวที่บ้านลาเขาใหญ่ อุบลฯ บ้างหรือไม่”
    2. “เคยไปอยู่สี่ห้าปี”
    1. เมื่อแต่ก่อนเคยไปเหมือนกัน ครูบาอาจารย์เอาหนังสือไส่หลังช้างมามากเน้อ”
    พระเจ้าอยู่หัวเสด็จเยี่ยม
    เมื่อ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2519 พระเจ้าอยู่หัวเสด็จเยี่ยมพสกนิกรที่บ้านน้ำทรง ต.นางัว อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี หลวงปู่เครื่องได้เข้าเฝ้ารับเสด็จพระเจ้าอยู่หัว และกราบบังคมทูลความประสงค์จะก่อสร้างพระอุโบสถ วัดเทพสิงหาร พระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถวายพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 28,000 บาท เป็นทุนเริ่มต้นในการก่อสร้างพระอุโบสถ บรรดาข้าราชบริพารร่วมกันถวายเพิ่มเติมอีก 35,000 บาท ภายหลังพระอุโบสถสร้างสำเร็จ พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร.” ไว้ประดิษฐานที่หน้าบันพระอุโบสถด้วย
    อภินิหาร
    กำนัน สุรชาติ ชำนาญศิลป์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จ.อุดรธานี เล่าว่า เคยถูกผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) กลุ่มหนึ่งจากภูซาง ใกล้อำเภอน้ำโสม จับตัวไปเรียกค่าไถ่ ตอนกลางคืนผกค.หลับยาม ก็พยายามดิ้นรนเพื่อให้หลุดจากเชือกที่พันธนาการตนเอง แต่ก็ดิ้นไม่หลุด จนเหนื่อยและอยากจะหลับไป ก่อนหลับได้อธิษฐานขอบารมีหลวงปู่เครื่องให้ช่วย จนกระทั่งในที่สุดก็หลับไปด้วยความเหนื่อยอ่อน
    พอลืมตาตื่นในวันรุ่ง ขึ้นเชือกที่พันธนาการหลุดออกหมด ผกค. หายตัวไปหมด ไม่ทราบว่าใครมาช่วยหรือ ผกค. เกิดเปลี่ยนใจอย่างไร พอลงจากภูซางได้ก็รีบบึ่งไปกราบหลวงปู่เครื่อง และถวายตัวเป็นศิษย์แต่นั้นมา
    มรณภาพ
    วัน ที่ 26 พฤศจิกายน 2523 หลวงปู่เครื่องได้มรณภาพลง ในขณะมีอายุได้ 112 ปี ปัจจุบันอัฐิธาตุของท่านประดิษฐานอยู่ที่วัดเทพสิงหาร ศิษย์หรือใครก็ตามสามารถไปนมัสการได้ทุกวัน...
    โอวาทธรรม
    “จิต มนุษย์มีพลังมหาศาล จะทำอะไรก็มักสำเร็จ ก็เพราะมีดวงจิตที่เป็นกำลังสำคัญ จิตดวงเดียวสำคัญที่สุด…จิตมันบอกลักษณะไม่ได้ แต่มันก็มีความรู้สึกอยู่ภายใน…เว้นแต่ว่ามนุษย์เกิดมาแล้ว จะเอาดีหรือเอาชั่วเท่านั้น มันเป็นขั้นตอนอยู่ตรงนี้ถ้าเอาดีก็ต้องได้ของดีมาประดับตัวแน่นอน…”
    “มนุษย์ ควรเจริญด้วยธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่ผู้มีปกติในข้อวัตรปฏิบัติธรรม คือ ความดีมีศีลธรรมนั้นเองจะช่วยได้…”
    ข้อมูลจากนิตยสารศักดิ์สิทธิ์
    โดย...อำพล เจน
    http://www.suankhung.com/index.php?l...6598&Ntype=
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    บูชา 170 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20240817_180453.jpg IMG_20240817_180518.jpg
     
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    หลวงพ่อทวดนวล เทวธมฺโม (พระครูวิบูลย์สมณวัตร) เป็นเจ้าอาวาส รุ่นที่ 3 ของวัดตุยง สำหรับพระเครื่องรุ่นนี้ จัดสร้างโดยหลวงพ่อดำ เจ้าอาวาส รุ่นที่ 5 ท่านได้นำพระภิกษุสามเณร พร้อมกับชาวบ้านเดินทาง ไปหาว่านต่าง ๆ บนภูเขา หลังจากใช้เวลาหาว่านที่ภูเขาทรายขาว (น้ำตกทรายขาวเป็นที่ท่องเที่ยว และรัชกาลที่ 5 ทรงเคยเสด็จประพาส และใกล้กับวัดช้างให้) ค้นหาอยู่นานถึง 7 วัน 7 คืนก็ยังไม่สามารถหาว่านได้ครบจำนวน 120 ชนิด ทั้งหมดจึงเดินทางไปหาทีภูเขาตาชีเพิ่มเติม จนกระทั่งได้ว่านครบทั้ง 120 ชนิด รวมไปถึงเกสรดอกไม้ 120 ชนิด และเครื่องยาสมุนไพร 120 ชนิด รวมไปถึง คดไม้ผูกใบลาน คนทีดำ กากยาคนธรรพ์ ว่านศักดิ์สิทธิ์ 108 ชนิด ผงพุทธคุณผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงตรีนิสิงเห และผงแก่นไม้ขนุนที่กลายเป็นหิน ที่หลวงพ่อดำ ท่านเก็บรักษาเอาไว้และปลุกเสกอยู่นานหลายปี โดยมีชาวบ้านช่วยกันบดมวลสารทั้งหมดให้เข้ากัน หลังจากนั้นได้ใช้น้ำผึ้งรวง และกล้วยหอมเป็นเครื่องผสมผง เพื่อให้จับตัวกันแน่น สำหรับพิธีในการจัดสร้างนั้น หลวงพ่อทวดนวลได้เข้าประทับทรงแล้วบอกให้ทำในพระอุโบสถ โดยไม่อนุญาตให้ฆราวาสเข้าไปยุ่งอย่างเด็ดขาด โดยเริ่มกดพิมพ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2505 – 2507 (รวมเวลา 3 ปี) จนกระทั่งวันเสาร์ 5 เดือน 5 ขึ้น 5 ค่ำ ปี 2507 หลวงพ่อดำได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์ จากวัดต่าง ๆ ทั่วภาคใต้จำนวน 120 รูป อาทิ พระอาจารย์ทิมวัดช้างให้ (กล่าวกันว่า พระอาจารย์ทิม ได้อัญเชิญวิญญาณหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด เข้าประทับทรงในการนี้ด้วย) ดังนั้นจึงย่อมบันดาลคุณานุภาพป้องกันภัยต่างๆ ได้ 120ประการเท่ากำลังส่วนผสม สามารถอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาดจากภัยศัตราวุธทุกชนิด บันดาลเสน่ห์เมตตามหานิยม เจริญด้วยลาภยศเดชานุภาพมาก เป็นมหาลาภทางค้าขายหรือการเสาะแสวงหาโชคลาภ นอกจากนั้น พระเครื่องยังช่วยรักษาโรคบางอย่างได้อีกด้วย
    ประกอบพิธีพุทธาภิเษก วันเสาร์ 5 เดือน 5 ขึ้น 5 ค่ำ ปี 2507 หลวงพ่อดำได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์ จากวัดต่าง ๆ ทั่วภาคใต้จำนวน 120 รูป อาทิ
    พระอาจารย์ทิมวัดช้างให้ (กล่าวกันว่า พระอาจารย์ทิม ได้อัญเชิญวิญญาณหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด เข้าประทับทรงในการนี้ด้วย)
    พ่อท่านหมุน วัดเขาแดงตะวันออก
    หลวงพ่อแสง วัดคลองน้ำเจ็ด
    พ่อท่านเส้ง วัดแหลมทราย
    พ่อท่านบุญ วัดไม้แก่น
    หลวงพ่อแดง วัดเชิงเขา
    หลวงพ่อแดง วัดศรีมหาโพธิ์
    พระอาจารย์นองวัดทรายขาว
    หลวงพ่อฉิ้น ยะลา
    หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง
    พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา
    หลวงพ่อเขียว วัดหรงบน
    หลวงปู่จันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ
    หลวงพ่อมุ่ย วัดบางบูชา
    หลวงพ่อแก่น วัดทุ่งเหลือ เป็นต้น
    พระอาจารย์ร่วมกันสวด 7 ตำนาน 12 ตำนาน ตลอดถึงพระสูตรต่าง ๆ ที่นับถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ หลังจากสวดมนต์ก็ได้ทำพิธีพุทธาภิเษก จนดึก โดยมีพระเกจิอาจารย์นั่งล้อมวัตถุมงคลชนิดที่ไม่มีช่องว่างเลย เสร็จแล้วจึงปิดพระอุโบสถ ในวันที่สองและวันที่สามก็ทำเช่นนี้ จนครบ 3 วัน ก่อนจะแจกให้ประชาชนไปบูชา
    วิธีใช้ (คัดลอกจาก ใบฝอยวิธีใช้พระเครื่องหลวงพ่อทวดนวล เทวธมโม วัดตุยง ปี พ.ศ.2507)
    จัดดอกไม้ธูปเทียนหมากพลูอย่างละ3 ทำจิตให้สงบไหว้พระสวดมนต์เริ่มด้วย “นะโมพุทธัง ฯลฯ อิติปิโสสวากขาโต สุปติปันโน” เสร็จแล้วน้อมจิตประกาศคุณ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา ครูบาอาจารย์ รวมทั้งคุณอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ทั่วสากลโลก แล้วระลึกถึงหลวงพ่อทวด บริกรรมพระคาถาปลุกเสกบูชา 3ครั้ง ดังนี้
    “ เทวาหะติ อิสิชะนาติ สันนิปะติตา ยะโก ละกะละ มะอะอุ นะโมโพธิสัตโต เทวะธัมโม ชะนาติ อิติภะคะวา อาคันทิมายะ นะโมโพธิสัตโต สัมมาสัมพุทธัสสะ “
    เมื่อท่านปรารถนาให้หลวงพ่อทวดโปรดอย่างใด พึงบนบานได้ตามความประสงค์ในเมื่อสิ่งนั้นเป็นการสุจริต หากผู้ใดนำไปใช้ในทางทุจริต นอกจากหลวงพ่อทวดจะไม่ช่วยเหลือแล้ว กลับจะบันดาลให้เกิดโทษเสียอีก จึงควรระวังให้มาก
    หากท่านจำเป็นต้องเดินทางไกลเพื่อธุรกิจ หรือหาโชคลาภ ให้ภาวนาพระคาถา “ กะ ละ มะ อุ “ พร้อมกับระลึกถุงคุณแห่งหลวงพ่อทวดนวล เทวธัมโม ท่านจะไปดีมาดี มีลาภ แคล้วคลาดภยันตรายทั้งปวง
    พระเครื่องนี้ยังใช้ทางบำบัด รักษาโรค, ถูกยา ถูกคุณไสย ถูกผี หรือเนื่องจากที่อยู่อาศัยมีอาเพศ พระภูมิเจ้าที่รบกวนให้โทษ ให้เอาพระเครื่องนี้ทำน้ำพระพุทธมนต์กินและประพรมบ้าน ความเดือดร้อนต่างๆจะสิ้นไป ใช้แก้โรคมะเร็ง ให้เอาผักหัก (ทองพันชั่ง)๑ ดอกกะพึง(พลับพลึง)๑ หนักอย่างละ3บาท หัวไพล๑ ใบยาจีน๑ หนักอย่างละ 5บาท ตำน้ำยัน แล้วเอาพระเครื่องนี้แช่ประมาณ 15นาที จึงกิน หากใช้แก้โรคหอบไอให้เอาพระแช่น้ำมะนาวกิน หากจำเป็นรีบด่วนหาอะไรไม่ทัน จะใช้น้ำธรรมดาก็ได้ ถ้าใช้แก้พิษสัตว์กัดต่อย เอาพระแช่น้ำมะนาวกับน้ำเสลดพังพอน กินและทา ถูกผีใช้ ให้เอาใบหนาด๑ ลำผีพ่าย๑ ผักเสี้ยนผี๑ ตำน้ำยันหรือต้มก็ได้ ก่อนกินให้เอาพระแช่ลงเสียก่อนจึงจะกิน หากถูกยาพิษให้เอาหัวไพล๑ รากขี้กา๑ หัวกะทือ๑ บัวบก๑ กระดูกห่าน๑ บอระเพ็ด๑ หญ้าตีนกา๑ ตำเป็นน้ำยัน ก่อนกินแช่พระเสียก่อน
    การใช้ทุกกรณีดังกล่าว ต้องปลุกเสกบริกรรมด้วยพระคาถาที่กล่าวไว้ข้างต้นเสียก่อนทุกครั้ง
    วัดมุจลินทวาปีวิหาร
    ๑๗ มีนาคม ๒๕๐๗
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    ให้บูชา 800 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20240817_173225.jpg IMG_20240817_173248.jpg IMG_20240817_173134.jpg

    .....
     
  20. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,781
    ค่าพลัง:
    +21,343
    เหรียญพระรอดนิรันตราย วัดพันอ้น จ.เชียงใหม่ ปีพ.ศ.๒๕๑๒
    พิธีเดียวกันกับ พระกริ่งเอกาทศรถและ รูปหล่อครูบาศรีวิไชย
    จัดสร้างขึ้นโดยท่านพระครูศรีปริยัติยานุรักษ์( ครูบาไฝ )เจ้าอาวาสวัดพันอ้นในขณะนั้น
    อ.ไสว สุมมโน เจ้าพิธี ในการจัดสร้างวัตถุมงคลโดยท่านเจ้าคุณไฝ แต่ละพิธี
    มักจะมีพระเกจิอาจารย์ที่ มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพบูชาของคนทั่วไปเดินทางมาร่วมเสมอ
    แม้บางครั้งมิได้กำหนดเอาไว้ว่าจะต้อง นิมนต์ท่านใดบ้าง
    จึงมีพระเกจิอาจารย์ดังๆในสมัยนั้นมาร่วมปลุกเสกถึง ๑๙ รูปด้วยกัน
    และหลังจากพิธีปลุกเสกแล้วยังมีการสวดมนต์สมโภชน์
    โดยคณาจารย์เช่น เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัดอีกรวม ๑๐๘ รูป
    ใช้เวลาสวดมนต์ถึง ๒ วัน ๒ คืนเต็มๆโดยผลัดเปลี่ยนกันโดยไม่ได้หยุดพิธี
    รายนาม พระเกจิอาจารย์ ๑๙ รูปมี ดังนี้
    ๑.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์วัดสามพระยา ก.ท.ม.
    ๒.สมเด็จพุฒาจารย์( เสงี่ยม )วัดสุทัศน์ ก.ท.ม.
    ๓.พระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดา
    ๔.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม
    ๕.หลวงพ่อบุญส่ง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
    ๖.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี
    ๗.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
    ๘.หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นครราชศรีมา
    ๙.พระธรรมโมลี วัดพระธาตุหริภุญชัย ลำพูน
    ๑๐.ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน
    ๑๑.ครูบาชัยวงศา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ลำพูน
    ๑๒.ครูบาอินทจักร วัดน้ำบ่อหลวง เชียงใหม่
    ๑๓.ครูบาวัง วัดบ้านเด่น ตาก
    ๑๔.ครูบาคำแสน วัดสวนดอก เชียงใหม่
    ๑๕.ครูบาคำแสนน้อย วัดดอนมูล เชียงใหม่
    ๑๖.ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี เชียงใหม่
    ๑๗.ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง เชียงใหม่
    ๑๘.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ก.ท.ม
    ๑๙.ครูบาไฝ วัดพันอ้น เชียงใหม่
    โดยมีนายช่างเกษม มงคลเจริญ เป็นผู้ ออกแบบ และ แกะบล๊อค
    ตำนาน การสร้าง พระรอด
    ณ ที่วัดมหาวัน วัดสําคัญแห่งนี้ พระแม่เจ้าจามเทวีโปรด ให้พระฤษี ๕ ตนเป็นเจ้าพิธีในการสร้างพระรอด อันมี พระฤษีนารอด, พระฤษีนาลัย, พระะฤษีตาวัว, พระฤษีตาไฟ และ ฤษีบรรลัยโกฏ เป็นผู้จัดสร้าง ร่วมด้วยพระฤษีอีก ๑๐๘ ตน มาช่วยกันสร้างพระรอด
    โดยพระฤษีคณะผู้จัดสร้างดังกล่าวแล้ว ได้พากันเดินทาง ฝ่าดงป่าเขาเพื่อแสวงหาว่านยาร้อยแปดของทนสิทธิ์ คือเป็น ของดี ของอาถรรพ์ มีอิทธิฤทธิ์ในตัวเอง เช่น เหล็กไหล และ อื่นๆ อีกมากมาย เพื่ออานิสงส์ให้พระรอดที่สร้างขึ้นนี้ไว้ ป้องกันภยันตรายอันจักเกิดอริราชศัตรูยกกองทัพมาย่ํายี และเป็นขวัญกําลังใจแก่ข้าราชบริพารและทหารกล้าทั้งหลาย ยิ่งไปกว่านั้นยังบรรจุไว้ในกรุในสถูปเจดีย์เพื่อได้สืบพระ ศาสนาอีกด้วย โดยบรรดาท่านผู้สร้างซึ่งเป็นพระฤษีเหล่านี้ นั้น ได้บําเพ็ญพรตสร้างตบะเพื่อเผาผลาญกิเลสทั้ง ๔ กอง คือ ความรัก ความโลภ ความโกรธ และความหลง เพื่อการหลุดพ้น เช่นเดียวกับที่เราพากันนั่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน แต่การสร้าง บะของพระฤษีนั้นเป็นพิธีข่มกิเลสโดยการทรมานด้วย กรรมวิธีที่รุนแรงต่างๆ เช่น นั่งภาวนาอยู่ในที่แดดร้อนแรง
    ถึงฝนจะตกก็หาได้สะทกสะท้านไม่กระทําด้วยความเพียรเพื่อ ให้กิเลสเบาบาง ประมาณว่าความเพียรเป็นเครื่องเผาผลาญ กิเลส ด้วยการประพฤติปฏิบัติดังนี้ บรรดาพระฤษีจึงมีอํานาจ จิตที่แกร่งกล้าเป็นสามารถสุดประมาณ ดังจะเห็นได้จากการ สร้างพระเครื่องจากกรุที่สําคัญๆ อย่างเช่น พระผงสุพรรณ และพระเครื่องอื่นๆ ในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี, พระเนื้อดิน เนื้อชิน จากเมืองกําแพงเพชร พระอันโด่งดังก็จัด สร้างโดยพระฤษีอีกเช่นกัน ดังมีใจความละเอียดปรากฏอยู่ใน หนังสือที่เคยตีพิมพ์อย่างแพร่หลายอยู่แล้ว
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    ให้บูชา 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20240818_193913.jpg IMG_20240818_193846.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2024

แชร์หน้านี้

Loading...