ปรัชญาโหราศาสตร์ เบื้องต้น ในคัมภีร์มรกต (อันนี้ เอาของเค้ามาให้อ่าน )

ในห้อง 'ดูดวง และ ทำนายฝัน' ตั้งกระทู้โดย namitta, 16 กันยายน 2011.

  1. namitta

    namitta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,061
    ค่าพลัง:
    +3,517
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center sizset="39" sizcache="0" jQuery1316185540045="65"><TBODY sizset="39" sizcache="0" jQuery1316185540045="64"><TR sizset="39" sizcache="0" jQuery1316185540045="63"><TD sizset="39" sizcache="0" jQuery1316185540045="62">จารึกมรกต : ที่มาของ ปรัชญามูลฐาน แห่ง โหราศาสตร์ [​IMG]
    โดย Pallas



    สิงหาคม 2549
    [​IMG]


    เมื่อเริ่มศึกษาโหราศาสตร์ยูเรเนียน อาจารย์จะเริ่มด้วยการอธิบายปรัชญามูลฐานของโหราศาสตร์เสมอ นั่นคือ “As Above, So Below” หรือ “สิ่งที่อยู่เบื้องล่างย่อมเหมือนสิ่งที่อยู่เบื้องบน” โดยในหนังสือ "อารัมภบทโหราศาสตร์ บทเรียนวิชาโหราศาสตร์ ตอนที่ 1" ของ พล.ต. ประยูร พลอารีย์ ได้ระบุว่าเป็นปรัชญาของท่าน เฮอร์เมส ทริสเมจิตุส โหราจารย์เมื่อกว่า 3,500 ปีก่อน ด้วยความความอยากรู้อยากเห็น

    จึงค้นคว้าดูว่า โหราจารย์ท่านนี้สอนไว้ว่าอย่างไร และด้วยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่ทันสมัยในยุคปัจจุบัน ทำให้สามารถค้นคว้าเรื่องนี้ได้โดยไม่ยากนัก จึงคิดว่าน่าจะนำมาถ่ายทอดให้นักโหราศาสตร์ที่สนใจถึงจุดกำเนิดของโหราศาสตร์ซึ่งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่ได้แยกเป็นโหราศาสตร์สายนะหรือนิรายนะ

    เฮอร์เมส ทริสเมจิตุส เป็นภาษากรีก มาจากการสนธิเทพเจ้าของกรีก คือ เฮอร์เมส และเทพเจ้าของอียิปต์คือ Thoth เข้าด้วยกัน โดยเทพเจ้าทั้งสองต่างก็เป็นเทพเจ้าแห่งการสื่อสารและความรู้ ดังนั้น ชื่อนี้จึงให้ความหมายในเชิงผู้ทรงภูมิปัญญา ประวัติของเฮอร์เมส ทริสเมจิตุสนั้นมีหลายตำนาน บ้างว่าเป็นบุตรของเทพเจ้า บ้างว่าเป็นนักบวชและนักปราชญ์สำคัญชาวอียิปต์ร่วมสมัยกับโมเสส โดยเป็นผู้สั่งสอนให้ความรู้แก่คนทั้งหลาย คำสอนของเฮอร์เมส ทริสเมจิตุสเป็นรากฐานการก่อกำเนิดปรัชญาสำนักเฮอร์เมติค ซึ่งคำสอนสำนักนี้มีอิทธิพลต่อศาสตร์สำคัญต่างๆ อย่างน้อย 3 ศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคกลาง ได้แก่ โหราศาสตร์ (Astrology), การเล่นแร่แปรธาตุ (Alchemy) และ พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ (Theurgy)

    คำสอนของเฮอร์เมส ทริสเมจิตุส ที่ปรากฎเป็นหลักฐานมาถึงปัจจุบันชิ้นหนึ่ง คือ จารึกมรกต (Emerald Tablet) ซึ่งเป็นจารึกที่มีเพียง 13 บรรทัด ปรัชญามูลฐานของโหราศาสตร์และสำนักเฮอร์เมติคที่ว่า “สิ่งที่อยู่เบื้องล่างย่อมเหมือนสิ่งที่อยู่เบื้องบน” เป็นการถอดความมาจากจารึกมรกตนี้โดยตรง จารึกนี้ไม่ปรากฎอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์เป็นเวลานานจนกระทั่งยุคกลาง เมื่อมีการแพร่หลายไปในหมู่นักเล่นแร่แปรธาตุจากชาวมุสลิม นักปราชญ์เชื่อว่าต้นกำเนิดของจารึกนี้เขียนด้วยภาษากรีก แต่สำเนาที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่เป็นภาษาอาหรับ นอกจากต้นกำเนิดที่ลึกลับแล้ว จารึกนี้ยังมีความน่าสนใจในแง่ที่ว่าผู้ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน ทั้งนักบวช นักวิทยาศาสตร์ นักโหราศาสตร์ต่างพยายามแปลและตีความ ตัวอย่างเช่น โรเจอร์ เบคอน (Roger Bacon), อ้ลเบอร์ตัส แมกนัส (Albertus Magnus), เซอร์ ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton), และอเลสเตอร์ ครอว์ลีย์ (Aleister Crowley)

    สำหรับบทความนี้ ผมขอนำสำนวนแปลเป็นภาษาอังกฤษของเซอร์ ไอแซค นิวตัน มาลง (โดยไม่มีการแก้ไขคำใดๆจากต้นฉบับ แม้ว่าบางคำดูเหมือนจะสะกดผิดหรือไม่ใช่ศัพท์ภาษาอังกฤษยุคปัจจุบัน) พร้อมขออนุญาตแปลในสำนวนของผมเองด้วยความเคารพ ดังนี้

    [1] Tis true without lying, certain & most true.
    ด้วยความสัตย์, อันปราศจากมุสา, ที่แน่นอนและเป็นจริงอย่างที่สุด

    * [2] That wch is below is like that wch is above & that wch is above is like yt wch is below to do ye miracles of one only thing.
    สิ่งที่อยู่เบื้องล่างย่อมเหมือนสิ่งที่อยู่เบื้องบน และสิ่งที่อยู่เบื้องบนย่อมเหมือนสิ่งที่อยู่เบื้องล่าง เพื่อสร้างอัศจรรย์ของความเป็นหนึ่งเดียว

    *[3] And as all things have been & arose from one by ye mediation of one: so all things have their birth from this one thing by adaptation.
    และเมื่อสิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้นเป็นและเกิดมาจากความเป็นหนึ่งเดียว มันจึงถือกำเนิดมาจากความเป็นหนึ่งเดียวนี้ด้วยการปรับเปลี่ยน

    [4] The Sun is its father, the moon its mother, the wind hath carried it in its belly, the earth its nourse.
    บิดาคือสุริยะ มารดาคือจันทรา วาตะก่อกำเนิด ธรณีทะนุถนอม

    [5] The father of all perfection in ye whole world is here.
    บิดาของความสมบูรณ์พร้อมในโลกอยู่ที่นี่

    [6] Its force or power is entire if it be converted into earth.
    พลังอำนาจจะเปี่ยมสมบูรณ์ เมื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพื้นพิภพ

    [7] Seperate thou ye earth from ye fire, ye subtile from the gross sweetly wth great indoustry.
    แยกพิภพจากไฟ แยกความเบาจากความแน่น ด้วยความอบอุ่นและการอุทิศตน

    [8] It ascends from ye earth to ye heaven & again it desends to ye earth and receives ye force of things superior & inferior.
    ความเป็นหนึ่งเดียวอุทัยจากพื้นพิภพสู่สรวงสวรรค์ อัสดงอีกครั้งสู่พื้นพิภพ และได้รับพลังจากสิ่งที่อยู่เบื้องบนและเบื้องล่าง

    [9] By this means you shall have ye glory of ye whole world & thereby all obscurity shall fly from you. Its force is above all force. ffor it vanquishes every subtile thing & penetrates every solid thing.
    เหตุนั้น ท่านจะครอบครองความรุ่งโรจน์ของโลก อุปสรรคจะมลายไปจากท่าน นี่คือพลังแห่งพลังทั้งมวล ซึ่งสามารถพิชิตทุกสิ่งที่บอบบาง และทะลุทลวงทุกอย่างที่แข็งแกร่ง

    [10] So was ye world created.
    ด้วยวิธีการนี้ โลกจึงถูกสร้างขึ้น

    [11] From this are & do come admirable adaptaions whereof ye means (Or process) is here in this.
    และนำมาสู่การปรับเปลี่ยนที่ยอดเยี่ยมด้วยวิธีการเช่นนี้

    [12] Hence I am called Hermes Trismegist, having the three parts of ye philosophy of ye whole world.
    ด้วยเหตุนี้ ข้าจึงถูกขนานนามว่า “เฮอร์เมส ทริสเมจิสต์” ผู้ยิ่งใหญ่ด้วยองค์สามแห่งปรัชญาของโลกทั้งมวล

    [13] That wch I have said of ye operation of ye Sun is accomplished & ended.
    สิ่งที่ข้าได้กล่าวในปฏิบัติการแห่งสุริยะสมบูรณ์แล้ว

    จากการค้นคว้าข้อมูลนี้ ทำให้ผมตระหนักถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของโหราศาสตร์มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะแตกแขนงความรู้ออกไปอย่างไร โหราศาสตร์ก็มีต้นกำเนิดมาจากที่เดียวกัน และที่สำคัญอยู่ภายใต้ปรัชญาเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้น ทำให้เราเห็นได้ชัดเจนว่า นักปราชญ์ที่แท้จริงย่อมไม่แยกโหราศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์ และศาสตร์ต่างๆออกจากกัน เพราะแท้จริงแล้ว ศาสตร์ทั้งหลายต่างก็อธิบายสิ่งเดียวกัน นั่นคือ ธรรมชาติ
    เอกสารอ้างอิง
    1. http://altreligion.about.com/library/weekly/aa121302a.htm
    2. http://www.sacred-texts.com/alc/emerald.htm
    3. http://en.wikipedia.org/wiki/Hermes_Trismegistus
    4. http://en.wikipedia.org/wiki/Emerald_Tablet
    5. http://www.templeofsolomon.org/Etablet.htg/emerald_tablet.htm
    6. http://www.katinkahesselink.net/his/Hermes-Trismegistus.htm



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เครดิต จาก

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กันยายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...