พระคาถามหาเสน่ห์

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย กัณฑะกะ, 3 ตุลาคม 2011.

  1. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
    ตั้งนะโม3จบ แล้วภาวนา พระคาถามหาเสน่ห์ ดังนี้

    พุทโธ จับจิต ธัมโม จับใจ สังโฆ รักใคร่
    พุทโธ มามา ธัมโม มามา สังโฆ มามา
    นะเมตตา โมเห็นหน้ารักสนิท พุทจับจิต ธามิให้กำจัด
    ยะกระหวัดจิต......ชื่อนาม(ของคนที่เรารัก) ......รักอย่าละ
    ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระนัง คัจฉามิ ฯ
     
  2. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
    ประวัติพระพุทธเจ้า : ชีวิตในวัยเด็ก

    เจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษาเล่าเรียนจนจบศิลปศาสตร์ทั้ง 18 ศาสตร์ ในสำนักครูวิศวามิตร และเนื่องจากพระบิดาไม่ประสงค์ให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็นศาสดาเอกของโลก จึงพยายามทำให้เจ้าชายสิทธัตถะพบเห็นแต่ความสุข โดยการสร้างปราสาท 3 ฤดู ให้อยู่ประทับ และจัดเตรียมความพร้อมสำหรับการราชาภิเษกให้เจ้าชายขึ้นครองราชย์

    เมื่อมีพระชนมายุ 16 พรรษา ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางพิมพา หรือยโสธรา พระธิดาของพระเจ้ากรุงเทวทหะซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพระมารดา จนเมื่อมีพระชนมายุ 29 พรรษา พระนางพิมพาได้ให้ประสูติพระราชโอรส มีพระนามว่า "ราหุล" ซึ่งหมายถึง "บ่วง"
     
  3. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
    ประวัติพระพุทธเจ้า : บำเพ็ญทุกรกิริยา

    หลังจากทรงผนวชแล้ว พระองค์มุ่งไปที่แม่น้ำคยา แคว้นมคธ ได้พยายามเสาะแสวงทางพ้นทุกข์ ด้วยการศึกษาค้นคว้าทดลองในสำนักอาฬารดาบส กาลามโครตร และอุทกดาบส รามบุตร แต่เมื่อเรียนจบทั้ง 2 สำนักแล้ว ทรงเห็นว่านี่ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์

    จากนั้นพระองค์ได้เสด็จไปที่แม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม และทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ด้วยการขบฟันด้วยฟัน กลั้นหายใจและอดอาหาร จนร่างกายซูบผอม แต่หลังจากทดลองได้ 6 ปี ทรงเห็นว่านี่ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา และหันมาฉันอาหารตามเดิม ด้วยพระราชดำริตามที่ท้าวสักกเทวราชได้เสด็จลงมาดีดพิณถวาย 3 วาระ คือดีดพิณสายที่ 1 ขึงไว้ตึงเกินไปเมื่อดีดก็จะขาด ดีดพิณวาระที่ 2 ซึ่งขึงไว้หย่อน เสียงจะยืดยาดขาดความไพเราะ และวาระที่ 3 ดีดพิณสายสุดท้ายที่ขึงไว้พอดี จึงมีเสียงกังวานไพเราะ ดังนั้นจึงทรงพิจารณาเห็นว่า ทางสายกลางคือไม่ตึงเกินไป และไม่หย่อนเกินไป นั่นคือทางที่จะนำสู่การพ้นทุกข์

    หลังจากพระองค์เลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ทำให้พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยา มหานามะ อัสสชิ ที่มาคอยรับใช้พระองค์ด้วยความคาดหวังว่าเมื่อพระองค์ค้นพบทางพ้นทุกข์ จะได้สอนพวกตนให้บรรลุด้วย เกิดเสื่อมศรัทธาที่พระองค์ล้มเลิกความตั้งใจ จึงเดินทางกลับไปที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ตำบลสารนาถ เมืองพาราณสี
     
  4. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
    ประวัติพระพุทธเจ้า : ตรัสรู้



    ประวัติพระพุทธเจ้า

    ครานั้นพระองค์ทรงประทับนั่งขัดสมาธิ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ อุรุเวลาเสนานิคม เมืองพาราณสี หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และตั้งจิตอธิษฐานด้วยความแน่วแน่ว่าตราบใดที่ยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ก็จะไม่ลุกขึ้นจากสมาธิบัลลังก์ แม้จะมีหมู่มารเข้ามาขัดขวาง แต่ก็พ่ายแพ้พระบารมีของพระองค์กลับไป จนเวลาผ่านไปในที่สุดพระองค์ทรงบรรลุรูปฌาณ คือ ครานั้นพระองค์ทรงประทับนั่งขัดสมาธิ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ อุรุเวลาเสนานิคม เมืองพาราณสี หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และตั้งจิตอธิษฐานด้วยความแน่วแน่ว่าตราบใดที่ยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ก็จะไม่ลุกขึ้นจากสมาธิบัลลังก์ แม้จะมีหมู่มารเข้ามาขัดขวาง แต่ก็พ่ายแพ้พระบารมีของพระองค์กลับไป จนเวลาผ่านไปในที่สุดพระองค์ทรงบรรลุรูปฌาณ คือ

    ยามต้น หรือปฐมยาม ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ สามารถระลึกชาติได้

    ยามสอง ทางบรรลุจุตูปปาตญาณ (ทิพยจักษุญาณ) คือ รู้เรื่องการเกิดการตายของสัตว์ทั้งหลายว่าเป็นไปตามกรรมที่กำหนดไว้

    ยามสาม ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ หรือกิเลส ด้วยอริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค และได้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นศาสดาเอกของโลก ซึ่งวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ขณะที่มีพระชนม์ 35 พรรษา


    ประวัติพระพุทธเจ้า : แสดงปฐมเทศนา

    หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาธรรมที่พระองค์ตรัสรู้มาเป็นเวลา 7 สัปดาห์ และทรงเห็นว่าพระธรรมนั้นยากต่อบุคคลทั่วไปที่จะเข้าใจและปฏิบัติได้ พระองค์จึงทรงพิจารณาว่า บุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวกอย่าง บัว 4 เหล่า ที่มีทั้งผู้ที่สอนได้ง่าย และผู้ที่สอนได้ยาก พระองค์จึงทรงระลึกถึงอาฬารดาบสและอุทกดาบส ผู้เป็นพระอาจารย์ จึงหวังเสด็จไปโปรด แต่ทั้งสองท่านเสียชีวิตแล้ว พระองค์จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 ที่เคยมาเฝ้ารับใช้ จึงได้เสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

    ธรรมเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงธรรมคือ "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" แปลว่าสูตรของการหมุนวงล้อแห่งพระธรรมให้เป็นไป ซึ่งถือเป็นการแสดงพระธรรมเทศนาครั้งแรก ในวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งตรงกับวันอาสาฬหบูชา

    ในการนี้พระโกณฑัญญะได้ธรรมจักษุ คือดวงตาเห็นธรรมเป็นคนแรก พระพุทธองค์จึงทรงเปล่งวาจาว่า "อัญญาสิ วตโกณฑัญโญ" แปลว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้ว ท่านโกณฑัญญะ จึงได้สมญาว่า อัญญาโกณฑัญญะ และได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา โดยเรียกการบวชที่พระพุทธเจ้าบวชให้ว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"

    หลังจากปัญจวัคคีย์อุปสมบททั้งหมดแล้ว พุทธองค์จึงทรงเทศน์อนัตตลักขณสูตร ปัญจวัคคีย์จึงสำเร็จเป็นอรหันต์ในเวลาต่อมา


    ประวัติพระพุทธเจ้า : การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

    ต่อมาพระพุทธเจ้าได้เทศน์พระธรรมเทศนาโปรดแก่ยสกุลบุตร รวมทั้งเพื่อนของยสกุลบุตร จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด รวม 60 รูป

    พระพุทธเจ้าทรงมีพระราชประสงค์จะให้มนุษย์โลกพ้นทุกข์ พ้นกิเลส จึงตรัสเรียกสาวกทั้ง 60 รูป มาประชุมกัน และตรัสให้พระสาวก 60 รูป จาริกแยกย้ายกันเดินทางไปประกาศศาสนา 60 แห่ง โดยลำพัง ในเส้นทางที่ไม่ซ้ำกัน เพื่อให้สามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ในหลายพื้นที่อย่างครอบคลุม ส่วนพระองค์เองได้เสด็จไปแสดงธรรม ณ ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม

    หลังจากสาวกได้เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในพื้นที่ต่างๆ ทำให้มีผู้เลื่อมใสพระพทุธศาสนาเป็นจำนวนมาก พระองค์จึงทรงอนุญาตให้สาวกสามารถดำเนินการบวชได้ โดยใช้วิธีการ "ติสรณคมนูปสัมปทา" คือ การปฏิญาณตนเป็นผู้ถึงพระรัตนตรัย พระพุทธศาสนาจึงหยั่งรากฝังลึกและแพร่หลายในดินแดนแห่งนั้นเป็นต้นมา
     
  5. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
    ประวัติพระพุทธเจ้า : เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน



    ประวัติพระพุทธเจ้า


    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์และแสดงพระธรรมเทศนา ตลอดระยะเวลา 45 พรรษา ทรงสดับว่า อีก 3 เดือนข้างหน้าจะปรินิพพาน จึงได้ทรงปลงอายุสังขาร ขณะนั้นพระองค์ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวลาสี แคว้นวัชชี โดยก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน 1 วัน พระองค์ได้เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะทำถวาย แต่เกิดอาพาธลง ทำให้พระอานนท์โกรธ แต่พระองค์ตรัสว่า "บิณฑบาตที่มีอานิสงส์ที่สุด มี 2 ประการ คือ เมื่อตถาคต (พุทธองค์) เสวยบิณฑบาตแล้วตรัสรู้ และปรินิพพาน" และมีพระดำรัสว่า "โย โว อานนท ธมม จ วินโย มยา เทสิโต ปญญตโต โส โว มมจจเยน สตถา" อันแปลว่า "ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยอันที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว"

    พระพุทธเจ้าทรงประชวรหนัก แต่ทรงอดกลั้นมุ่งหน้าไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธุ์ปรินิพพาน โดยก่อนที่จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานนั้น พระองค์ได้อุปสมบทแก่พระสุภัททะปริพาชก ซึ่งถือได้ว่า "พระสุภภัททะ" คือสาวกองค์สุดท้ายที่พระพุทธองค์ทรงบวชให้ ในท่ามกลางคณะสงฆ์ทั้งที่เป็นพระอรหันต์ และปุถุชนจากแคว้นต่างๆ รวมทั้งเทวดา ที่มารวมตัวกันในวันนี้

    ในครานั้นพระองค์ทรงมีปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย สังขารทั้งปวงมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา พวกเธอจึงทำประโยชน์ตนเอง และประโยชน์ของผู้อื่นให้สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" (อปปมาเทน สมปาเทต)

    จากนั้นได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ใต้ต้นสาละ ณ สาลวโนทยาน ของเหล่ามัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 รวมพระชนม์ 80 พรรษา และวันนี้ถือเป็นการเริ่มต้นของพุทธศักราช
     
  6. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
  7. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
    คาถาป้องกันผี
    ช่องของ witsanutripprasert - YouTube

    นะโมพุทธายะ มะพะ ทะนะ ภะ กะ สะ จะ
    สัพเพทวาปีสาเจวะ อาฬะวะกาทะโยปิยะ
    ขัคคัง ตาละปัตตัง ทิสวา สัพเพยักขา
    ปะลายันติ สักกัสสะ วะชิราวุธัง
    เวสสุวัณณัสสะ คะธาวุธัง
    อะฬะวะกัสสะ ทุสาวุธัง
    ยะมะนัสสะ นะยะนาวุธัง
    อิเมทิสวา สัพเพยักขา ปะลายันติ
    (ใช้สวดภาวนาเมื่อเกิดความกลัวผีขึ้นมา วิญญาณจะไม่มารบกวนเข้าใกล้
     
  8. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
    คาถาป้องกันงู
    ปะถะมังพันธุ กังชาตัง ทุติยังทัณฑะ เมวะจะ
    ตะติยังเภทะกัญเจวะ จะตุตถังอังกุ สัมภะวัง
    ปัญจะมังสิระสังชาตัง นะงู นะกาโร โหติสัมภะโว
    (ใช้ภาวนาเมื่อต้องเข้าป่า ที่รก หรือแม้แต่เมื่อขณะพบเจองู จะทำให้คุณปลอดภัย)
     
  9. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
    คาถาชนะมาร
    นะโม พุทธายะ โมคคัลลานัญ จะมหาเถโร อิทธิมันโต อานุภาเวนะ เชยยะสิทธิเม
    (ใช้สวดภาวนาเพื่อให้เอาชนะจากคนไม่ดีได้)
    ช่องของ witsanutripprasert - YouTube
     
  10. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
    คาถาสะเดาะเคราะห์

    นะโมเม โรเตโข สัพพะเทวานัง
    สัพพะพุทธา นุภาเวนะ สัพพะธัมมา นุภาเวนะ สัพพะสังฆา นุภาเวนะ
    พระเคราะหะ จะเทวะดา สุริยัง วันทัง ปะมุญจะกะ สะสิภูมโบ จะเทวานัง
    พุทโธ ลามัง ถะวิสสะติ ชีโว สุโก จะ มหาลาถัง สัพพะทุกขัง วินาสสันติ
    (กราบ ๓ ครั้งแล้วกล่าวว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ สวดอย่างนี้ ๗ วัน)
    ช่องของ witsanutripprasert - YouTube
     
  11. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
    คาถาเสกขี้ผึ้ง
    มทุจิตตัง สุวามุปขัง
    ทิตสวานิมามัง ปิยังมะมะ
    เมตตา ชิวหายะมะ ทุรัง
    ทะตวาจาจัง สุตทังสุตตะวา
    สัพเพชะนาพะ หุชะนาอิตถีชะนา
    สัมมะนุนะ พรามมะนา นุนะ
    ปะสังสันติ
    (ใช้ภาวนากับขี้ผึ้งหรือลิปสติก จะทำให้คนรักเชื่อฟัง)
    www.youtube.com/witsanutrippraert
     
  12. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
    หลวงพ่อคูณให้พร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • - YouTube.mp4
      ขนาดไฟล์:
      2.2 MB
      เปิดดู:
      241
  13. ttt2010

    ttt2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,754
    ค่าพลัง:
    +905
    อนุโมทนาสาธุ บุญนี้ ขอยกให้กับท่านเจ้าของกระทู้และผู้ร่วม ที่เผยแผ่เนื้อหา บทความที่เป็นประโยชย์ทั้งหลายด้วยเทอญ...
    ttt2010 ศิษย์พระอาจารย์บุญยง อภิลาโส ภิกขุ

    _____________________________________________________
    บอกบุญแหล่งทำบุญ
    เปิดดวง พิธีกรรมแก้ดวงชะตา (สำนักสงฆ์พรหมรังศรี)
    กฐินสามัคคีปฐมฤกษ์เบิกชัย ที่พักสงฆ์พรหมรังศรี
    ท่องวัดและศาสนสถานที่สำนักสงฆ์พรหมรังศรี<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  14. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
    คาถาเงินล้าน
    นาสังสิโม
    พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ
    พรหมา จะ มหาเทวา อะภิลาภา ภะวันตุ เม
    มหาปุญโญ มะหาลาโภ ภะวันตุ เม มิเตพาหุหะติ
    พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย
    วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา
    วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมานะ พุทธัสสะ สวาโหม
    สัมปะติจฉามิ
    เพ็งเพ็ง พาพา หาหา ฤาฤา
     
  15. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
    ฝึกสติจนเป็นมหาสติ ขั้นจางคลายจากทุกข์และดับสนิทแห่งทุกข์
    คลิกขวาเมนู
    มหาสติ ในการดับทุกข์ในทางปฎิบัติ หมายถึงการมีสติ รู้เท่าทันและเข้าใจอย่างถูกต้อง(สัมมาปัญญา)ในกายบ้าง ในเวทนาบ้าง ในจิตสังขารบ้าง(เช่นความคิด,คิดนึกปรุงแต่ง,เจตสิก) ในธรรมบ้าง อยู่เนืองๆเป็นอเนก, ฝ่ายเวทนาหรือจิต(จิตสังขาร)เมื่อมีสติรู้เท่าทันแล้ว ต้องปล่อยวางโดยการอุเบกขา(ในโพชฌงค์ ๗) กล่าวคือเป็นกลาง วางทีเฉย แม้จะรู้สึกเป็นสุข,เป็นทุกข์,หรือไม่สุขไม่ทุกข์(คือเวทนา)ตามธรรม(สิ่ง)ที่เกิดอย่างไรก็ตามที ด้วยการไม่เอนเอียง ไม่แทรกแซง ไม่ปรุงแต่ง ไม่พัวพันไปในเรื่องนั้นๆ ไม่ทั้งในทางดีหรือชั่ว คือ ถูกก็ไม่ ผิดก็ไม่, ดีก็ไม่ ชั่วก็ไม่ หมายถึงไม่ไปยึดมั่นหมายมั่นแม้ในดีชั่ว บุญบาป เป็นสภาพที่เรียกได้ว่า เหนือบุญเหนือบาป เหนือดีเหนือชั่ว หรือเหนือกรรมนั่นเอง จนเกิดความชำนาญอย่างยิ่งยวด อันเกิดแต่การสั่งสมอบรมประพฤติปฏิบัติอย่างถูกต้องนั่นเอง เกิดการประสานกันอย่างกลมกลืนอย่างลงตัวในที่สุด ก็จะเกิดมหาสติขึ้น กล่าวคือมีสติอยู่เสมอโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่มันเกิดมันทำของมันเองโดยธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นมาแต่การสั่งสมอย่างดีเลิศหรือเชี่ยวชาญชำนาญยิ่ง จนเคยชินยิ่ง อันเป็นสภาวธรรมอย่างหนึ่งของชีวิตนั่นเอง จึงยิ่งใหญ่

    กล่าวคือเกิดการกระทำตามที่ได้สั่งสมอบรมไว้ด้วยความเพียร และอย่างถูกต้อง จนสามารถกระทำเองได้โดยอัติโนมัติ เป็นเหมือนดั่งสังขารในปฏิจจสมุปบาท เพียงแต่มิได้เกิดแต่อวิชชา แต่เกิดจากวิชชาหรือวิชา ดังเช่น การอ่านหนังสือออก ขอให้โยนิโสมนสิการโดยแยบคายจะเห็นได้ว่า เมื่อตากระทบตัวอักษร จะเกิดการอ่านออกโดยอัติโนมัติ จะอ่านไม่ออกก็เป็นไปไม่ได้ เพราะเป็นสังขารอันอบรม สั่งสม ปฏิบัติไว้ด้วยความเพียรมาแต่ครั้งเล่าเรียนนั่นเอง จึงเป็นอาการมหาสติอย่างหนึ่ง เพียงแต่เป็นมหาสติแบบประโยชน์ทางโลก มิได้เป็นมหาสติที่นำพาให้จางคลายจากทุกข์ หรือดับทุกข์อันเป็นสุขอย่างยิ่ง

    ดังตัวอย่างกระบวนธรรม ที่เกิดจากการอ่าน เช่น หนังสือที่เกี่ยวกับข่าวที่ไม่ดี ไม่ถูกใจ

    ตา รูปคือตัวหนังสือ จักษุวิญญาณ ผัสสะ สัญญาจำ เข้าใจถึงความหมาย เกิดเวทนา ความรู้สึก รับรู้ตามความหมายที่เห็นนั้น จึงเกิดทุกขเวทนา สัญญาหมายรู้ คิด สรุปรู้ข้อมูลทั้งหมดที่อ่าน มโนวิญญาณหรือสัญเจตนา จึงเกิดสังขารขันธ์ เช่น จิตตสังขาร(ทางใจ) - จิตหดหู่ หรือ จิตคิดวนเวียนปรุงแต่งสืบต่อไป จึงวนเวียนอยู่ในกองทุกข์นั่นเอง (คืออาการที่เกิดวนเวียนเป็นวงจรในองค์ธรรมชรา ในปฏิจจสมุปบาท ที่ขันธ์ทั้ง ๕ ที่เกิดขึ้นวนเวียนต่อมานั้น ล้วนประกอบด้วยอุปาทาน จึงเป็นทุกข์อุปาทานอันร้อนแรงยิ่ง)

    ตัวอย่างดังข้างต้นนี้ จึงแสดงสังขารของการอ่านหนังสือออก อันเป็นสังขารที่เป็นไปในลักษณาการของมหาสติ เมื่อเห็นคือกระทบแล้วย่อมเกิดกระบวนธรรมต่างๆดังข้างต้น โดยไม่ต้องเจตนา เป็นไปโดยสภาวธรรมดังมหาสตินั่นเอง ที่ย่อมต้องเข้าใจในตัวหนังสือนั้นเป็นธรรมดาที่ไม่ธรรมดา ส่วนในตอนท้ายคือสังขารขันธ์นั้นก็แสดงอาการดั่งมหาสติอีกอย่างหนึ่ง แต่เป็นฝ่ายให้เกิดทุกข์อย่างยิ่งยวด คือ จิตสังขารที่มีอาการฟุ้งซ่าน คิดนึกปรุงแต่ง คิดวนเวียนในทุกข์ ด้วยเป็นความสั่งสมเคยชินด้วยอวิชชา จึงสั่งสมมาแต่ช้านาน แต่อ้อนแต่ออก นานจนไม่รู้ว่าสักกี่ภพ กี่ชาติมาแล้ว จึงหยุดการคิดวนเวียนปรุงแต่งคือหยุดฟุ้งซ่านไม่ได้ ด้วยเป็นสังขารที่สั่งสมมาช้านานด้วยอวิชชา จึงเกิดทุกขเวทนาที่ประกอบด้วยอุปาทานกระทบอยู่ตลอดเวลาราวกับเป็นชิ้นเป็นเรื่องเดียวกัน ทั้งๆที่ทุกขเวทนานั้นเกิดขึ้นในสภาวะเกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับๆๆ....จากการคิดปรุงหรือฟุ้งซ่านไม่หยุดหย่อนราวกับต่อเนื่องกันไป โดยไม่รู้ตัว ทั้งควบคุมไม่ได้เพราะทั้งไม่เคยรู้ทั้งไม่เคยฝึกฝนปฏิบัตินั่นเอง จนยิ่งเร่าร้อนยิ่งขึ้นไป ทั้งยาวนานยิ่ง

    ลองโยนิโสมนสิการในการขี่จักรยาน การว่ายนํ้า บุคลิกต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นสังขารที่ได้สั่งสม อบรม ประพฤติ ปฏิบัติมาแต่อดีตทั้งสิ้น จึงเป็นไปดังเช่นเดียวกับสังขารในปฏิจจสมุปบาทเพียงแต่มิได้เป็นสังขารที่เกิดจากอวิชชาอันนำพาให้เกิดทุกข์ เป็นเพียงสังขารทางโลกอย่างหนึ่ง หรือก็คือขันธ์ ๕ ธรรมดาๆที่ฝึกฝนมาแล้วอย่างลงตัวคือชำนาญยิ่งและใช้ในการดำเนินขันธ์หรือชีวิตอันมิได้ก่อทุกข์โทษภัย และบางอย่างก็จำเป็นยิ่งในการดำรงขันธ์หรือชีวิต โยนิโสมนสิการดูความยิ่งใหญ่ของสภาวธรรมหรือธรรมชาติ(คล้ายดั่งสังขารในปฏิจจสมุปบาท)นี้ ที่เมื่อเกิดขึ้นลงตัวได้แล้ว จดจำได้ไม่สามารถลบเลือนไปได้จนกว่าแตกดับไป และสามารถกระทำเองได้โดยแทบไม่ต้องเจตนา(สัญเจตนา)ทั้งๆที่แท้จริงแล้วมีเจตนา หรือเรียกได้ว่ากระทำไปเองโดยอัติโนมัตินั่นเอง กล่าวคือมันเกิดมันทำของมันเอง ดั่งเช่น ถ้าฝึกฝนสั่งสมจนว่ายนํ้าเป็นอย่างลงตัวแล้ว แม้ไม่ได้ว่ายมา ๒๐ ปี แต่เมื่อตกนํ้าก็สามารถทำได้เองในทันทีโดยอัติโนมัติ, การขี่จักรยาน การอ่านหนังสือ การพูด บุคคลิกท่าทาง ฯลฯ. เราต้องการสังขารในลักษณะเยี่ยงนี้ไปในการดับไปแห่งทุกข์เช่นกัน ที่เรียกกันภาษาธรรมทั่วๆไปได้ว่า มหาสติ นั่นเอง กล่าวคือ ต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องด้วย และอย่างเป็นมหาสติ กล่าวคือถ้าไม่ถูกต้องก็ย่อมกลายเป็นสังขารในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง

    สำหรับนักปฏิบัติ มีสังขารอีกอย่างหนึ่งที่เป็นอาการของมหาสติ แต่เป็นฝ่ายก่อให้เกิดทุกข์ในภายหน้า จึงไม่จัดว่าเป็นมหาสติ คืออาการของ จิตส่งในหรือจิตส่องใน ไปในกายหรือจิต เป็นอาการของมหาสติฝ่ายก่อให้เกิดทุกข์อย่างยิ่งยวดอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นจากการติดเพลินหรือติดสุขในฌานหรือสมาธิ จึงกระทำอยู่เสมอๆทั้งโดยรู้ตัวและโดยไม่รู้ตัว จึงควบคุมบังคับไม่ให้ไม่ทำไม่ได้ เหตุเกิดขึ้นเพราะความสงบความสุขที่เกิดขึ้นแต่สมาธิหรือองค์ฌานต่างๆเป็นเครื่องล่อลวงให้เข้าไปติดเพลิน มักขาดการเจริญวิปัสสนา จึงไปติดเพลินโดยไม่รู้ตัว จึงถวิลหาสังขารของสมาธิหรือฌานอยู่เสมอๆแม้ในวิถีจิตปกติธรรมดา โดยอาการจิตส่งในไปสังเกตุกายหรือจิตเพื่อเสพรส ในที่สุดกายและจิตย่อมแปรปรวนเป็นทุกข์ด้วยวิปัสสนูปกิเลส อันเกิดขึ้นเพราะเหตุที่ว่าสังขารของสมาธิและฌานก็ไม่เที่ยงด้วยอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นเอง จิตส่งในจึงเป็นสังขารที่ควรรีบแก้ไขอย่างยิ่งยวด ก่อนที่จะเป็นสังขารดังมหาสติอย่างผิดๆอย่างยิ่งยวด ด้วยเหตุดั่งนี้นี่เอง จึงจัดรูปราคะและอรูปราคะอันเกิดแต่มิจฉาฌานสมาธิเพราะติดเพลินหรือนันทิเป็นหนึ่งในสังโยชน์ขั้นละเอียด ที่ละได้ยากยิ่งนัก

    สติรู้เท่ารู้ทันกาย เวทนา จิต ธรรม เรียกว่า มหาสติ เป็นไปเพื่อการดับทุกข์

    สติรู้เท่าทันในหน้าที่การงาน เรียกว่า สั่งสมจนเชี่ยวชาญชำนาญยิ่ง เป็นไปเพื่อประโยชน์ทางโลกๆ

    สติรู้ในกิเลสที่ผุดขึ้นมา(อาสวะกิเลส)และประกอบด้วยอวิชชา คือสังขารกิเลส ในองค์ธรรมสังขารในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง ล้วนเป็นไปเพื่อทุกข์อันเร่าร้อน

    สติ ควรระลึกรู้เท่าทันระดับใด ที่ยังผลยิ่ง
     
  16. กัณฑะกะ

    กัณฑะกะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +10
    คาถาบูชาพญานาค

    ตั้ง นะโมฯ 3 จบ *** นะติตัง พญามะ นาคายะ อภินัง นาคา สาธุโนภันเต ยะมะ ยะมะ*** คาถาอัญเชิญพญานาค ตั้งนะโม 3 จบ นะมามิ ลิละ สาเข ปัตถะ ละปะ ธัมเม สะคะลับตี สะเยตานาคะ ลาเชนะยะปิสะโตฯ พระคาถาถวายการสักการะบูชา เอหิสังคัง ปิโยนาคะ สุปันนานัง มะยัง ถ้าจะกราบไหว้เป็นองค์ๆก็ได้ครับ กายะ วาจะ จิตตัง อะหังวันทา (ชื่อพระนามอย่างเช่น องค์ วาสุกรีนาคราช,อนันตนาคราช,ภุชงค์นาคราช,นาคาธิบดีศรีสุทโธ,) วิสุทธิเทวาปูเชมิ ถ้าเป็นองค์นางพญานาคี ก็เปลี่ยนเป็น นางพญานาคิณีศรีปทุมมา วิสุทธิเทวีปูเชมิ อย่างเช่น กายะ วาจะ จิตตัง อะหังวันทา วาสุกรีนาคราช วิสุทธิเทวาปูเชมิ หรือ กายะ วาจะ จิตตัง อะหังวันทา นาคาธิบดีศรีสุทโธ วิสุทธิเทวาปูเชมิ หรือ กายะ วาจะ จิตตัง อะหังวันทา นางพญานาคิณีศรีปทุมมา วิสุทธิเทวีปูเชมิ คาถาบูชาอีกบทหนึ่ง นาคเทวะ ปรี ตา ภวันติหะ คานติมาปโนติ เวน วิภี สัมศานติ โลก มา สาทยะ โมทเต ศาศติช สมาช หรือแบบย่อ ก็ คัด สะ มะ อุ มะ 9 จบ
    ช่องของ witsanutripprasert - YouTube
     
  17. กัณฑกะ

    กัณฑกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    595
    ค่าพลัง:
    +1,427
    มหาสติปัฏฐาน ๔

    ฟังธรรมได้ืที่ ช่องของ witsanutripprasert - YouTube

    เป็นการปฏิบัติที่พระองค์ท่านตรัสว่าเป็นทางสายเอก(เอกายนมรรค) เมื่อปฏิบัติอย่างดีงามย่อมทำให้โพชฌงค์องค์แห่งการตรัสรู้บริบูรณ์ กล่าวคือย่อมทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์ถึงที่สุด ดังที่ตรัสแสดงไว้อย่างแจ่มแจ้งในกุณฑลิยสูตร ในการศึกษาการปฏิบัติทั้งหลายไม่ว่าในทางโลกหรือทางธรรมก็ตามที ต่างล้วนต้องเรียนรู้ให้เข้าใจจุดประสงค์เสียก่อน กล่าวคือ ต้องมีปัญญาหรือวิชชาเป็น พื้นฐานบ้างเสียก่อน จึงเริ่มลงมือปฏิบัติ จึงถูกต้องดีงาม อันจักยังผลให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างถูกต้องแนวทาง ดังนั้นจึงควรมีความเข้าใจด้วยการศึกษาธรรมให้เข้าใจจุดประสงค์อย่างถูก ต้องด้วย เพราะเป็นที่นิยมปฏิบัติกันโดยไม่ศึกษาให้ดีงามเสียก่อน เริ่มต้นปฏิบัติก็มักเพราะเป็นทุกข์กำลังรุมเร้า หรือด้วยความเป็นพุทธศาสนิกชนที่ได้ยินได้ฟังมาอยู่เนืองๆ ก็เริ่มปฏิบัติอานาปานสติหรือสติปัฏฐาน ๔ โดยไม่มีความรู้ความเข้าใจเลย ดังนั้นแทนที่เป็นการฝึกสติ,ใช้สติชนิดสัมมาสติ กลับกลายเป็นการฝึกการใช้มิจฉาสติจึงได้มิจฉาสมาธิแบบผิดๆอันให้โทษ จีงเกิดขึ้นและเป็นไปตามพุทธพจน์ข้างต้น จึงอุปมาเหมือนการเรียนเคมี โดยไปปฏิบัติในห้องปฏิบัติการเสียเลย ด้วยเข้าใจว่าไปเรียนไปศึกษาจากการปฏิบัติโดยตรงคงยังให้เกิดความรู้ความเข้าใจขึ้นเอง ด้วยเหตุดั่งนี้เอง จึงเกิดอุบัติเหตุการระเบิดขึ้นได้ด้วยความไม่รู้หรืออวิชชานั่นเอง จึงสมควรอย่างยิ่งที่ต้องมีการเรียนรู้ให้เข้าใจจุดประสงค์เป็นพื้นฐานบ้างเสียก่อน จะได้ดำเนินไปอย่างถูกต้องแนวทางสมดังพุทธประสงค์ คือสัมมาสติที่เป็นไปเพื่อการดับทุกข์ อันเป็นสุขยิ่ง

    สติ ปัฏฐาน ๔ จึงเป็นการฝึกสติใช้สติ สมดังชื่อ ที่หมายความว่า การมีสติเป็นฐาน ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งสติ ซึ่งเมื่อเกิด สัมมาสติขึ้นแล้ว ย่อมยังให้เกิดจิตตั้งมั่นอันคือสัมมาสมาธิร่วมด้วยโดยธรรมหรือธรรมชาติ แล้วนำทั้งสัมมาสติและสัมมาสมาธินั้นไปดำเนินการพิจารณาในธรรมคือเจริญ วิปัสสนา ในธรรมทั้งหลายดังที่แสดงในธัมมานุปัสสนา หรือธรรมอื่นใดก็ได้ตามจริต สติ ปัญญา มิได้จำกัดแต่เพียงในธรรมานุปัสสนาเท่านั้น

    อานาปานสติ เป็นการฝึกสติใช้สติิ โดยการใช้ลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ ที่หมายถึงเครื่องกำหนด กล่าวคืออยู่ในอารมณ์คือลมหายใจเข้าและออกอย่างมีสติระลึกรู้เท่าทันหรือพิจารณาเป็นจุดประสงค์สำคัญ แต่กลับนิยมนำไปใช้เป็นอารมณ์ในการวิตกเพื่อให้จิตสงบเพื่อการทำฌานสมาธิเสียแต่ฝ่ายเดียวเป็นส่วนใหญ่หรือทุกครั้งไปเนื่องด้วยอวิชชาด้วยความไม่รู้ จึงไม่ได้สนใจการเจริญวิปัสสนาให้เกิดนิพพิทา,ให้เกิดปัญญาเลย โดยปล่อยให้เลื่อนไหลหรือสติขาดไปอยู่แต่ในความสงบสุขสบายอันเกิดแต่ภวังค์ของฌานหรือสมาธิระดับประณีตแต่ฝ่ายเดียวหรือเสมอๆ เพราะฌานสมาธินั้นยังให้เกิดความสุข ความสงบ ความสบายอันเกิดขึ้นจากภวังค์ และการระงับไปของกิเลสในนิวรณ์ ๕ เป็นระยะเวลาหนึ่ง ตลอดจนนิมิตต่างๆที่เกิดขึ้นจากฌานสมาธิล้วนตื่นตาตื่นใจ อย่างเห็นได้ชัดและรวดเร็วเมื่อปฏิบัติได้ผลขึ้น จึงเกิดการติดเพลิน(นันทิ)โดยไม่รู้ตัว ในที่สุดความตั้งใจที่ฝึกสัมมาสติอันเป็นมรรคองค์ที่ ๗ จึงกลับกลายเป็นมิจฉาสติไปโดยไม่รู้ตัว จึงได้มิจฉาสมาธิร่วมไปโดยไม่รู้ตัวอีกด้วย

    หรือนิยมเข้าใจกันทั่วๆไปโดยนัยๆว่า ปฏิบัติสมถสมาธิ หรือปฏิบัติอานาปานสติ หรือปฏิบัติสติติดตามอริยาบถ ก็เพียงพอเป็นการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ อันดีงามแล้ว และก็ทำอยู่แต่อย่างนั้นอย่างเดียวนั่นเอง เช่นนั่งแต่สมาธิแต่ขาดการเจริญวิปัสสนา, ดังนั้นการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ จึงควรดำเนินประกอบด้วยการเจริญวิปัสสนาให้เกิดปัญญาหรือความเข้าใจตามความเป็นจริงอย่างถูกต้อง เพราะไม่เช่นนั้นก็ย่อมดำเนินและเป็นไปดังพุทธดำรัสที่ตรัสแสดงไว้ข้างต้น

    ทางสายเอก มหาสติปัฏฐาน4

    สติปัฏฐาน ๔ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ, หรือข้อปฏิบัติที่ใช้สติเป็นประธานหรือหลัก ในการกำหนดระลึกรู้หรือพิจารณาสิ่งทั้งหลาย ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงของธรรม(ธรรมชาติ)นั้นๆ โดยไม่ถูกครอบงําด้วยความยินดียินร้าย(ตัณหา)ที่ทําให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริงตามอํานาจของกิเลสตัณหา หรือกล่าวได้ว่าสติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งสติ จุดประสงค์เพื่อฝึกสติ และใช้สตินั้นพิจารณาและรู้เท่าทันใน กาย เวทนา จิต และธรรม เพื่อให้เกิดนิพพิทาความ คลายกำหนัดความยึดความอยากจากการไปรู้ตามความเป็นจริงของสิ่งนั้นๆ จึงคลาย ตัณหา จึงเป็นไปเพื่อนําออกและละเสียซึ่งตัณหาแลอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น ในกิเลสด้วยความพึงพอใจหรือสุขของตัวของตนเป็นสำคัญ ที่มีในสันดานของปุถุชนอันก่อให้เกิดความทุกข์โดยตรงด้วยเป็นสมุทัยเหตุแห่งทุกข์, พระองค์ท่านแบ่ง สติปัฏฐาน ๔ ออกเป็น ๔ หมวดใหญ่ด้วยกัน คือ

    ๑. กายานุปัสสนา การมีสติในกายเป็นอารมณ์ คือมีสติกําหนดพิจารณากาย ให้เห็นกายในกาย คือเห็นตามความเป็นจริงของกาย เช่น "เป็นเพียงการประชุมกันของเหตุปัจจัยอันมีธาตุ ๔ ดิน นํ้า ลม ไฟ" (อ่านรายละเอียดในไตรลักษณ์) หรือการเกิดแต่เหตุที่เป็นของสกปรกปฏิกูลโสโครกประกอบหรือเป็นปัจจัยกันขึ้น(ทวัตติงสาการ) หรือการพิจารณาส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อให้เกิดนิพพิทา อันล้วนเป็นไปการระงับหรือดับตัณหาแลอุปาทานโดยตรงทั้งสิ้น
    ฟังธรรมได้ืที่ ช่องของ witsanutripprasert - YouTube
     
  18. กัณฑกะ

    กัณฑกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    595
    ค่าพลัง:
    +1,427
    คาถาขับไล่สิ่งชั่วร้าย
    มะโทรัง อะตะระโร เวสะวะโน นะหากปิ ปิสาคะตาวาโหมิ
    มหายักขะ เทพะอนุตะรัง เทพะดา เทพะเอรักขัง ยังยังอิติ เวสะวะนัน
    ภูตัง มหาลักชามะนง มะภูอารักขะ นะพุททิมะมัตตะนัง กาลปะติทิศา
    สัพเพยักขา ปะลายัตตะนิ

    ใช้ท่องกับน้ำบริสุทธิ์แล้วนำมาประพรมให้ทั่วสถานที่นั้นๆ จะช่วยแก้อาถรรพ์ต่างๆ ณ ที่นั้นได้
     
  19. กัณฑกะ

    กัณฑกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    595
    ค่าพลัง:
    +1,427
    <TABLE id=AutoNumber1 style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="99%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="100%">คาถาอัญเชิญพระเครื่อง </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="100%">พุทธัง อาราธนานัง รักษา ธัมมัง อารธนานัง รักษา สังฆัง อาราธนานัง รักษา </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="100%"> </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="100%">ใช้สวดภาวนากับพระเครื่องก่อนออกจากบ้าน พระจะคุ้มครองเป็นสิริมงคลกับตัวเอง </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width="100%"><HR color=#ffccff SIZE=1></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. กัณฑกะ

    กัณฑกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    595
    ค่าพลัง:
    +1,427
    พระสิวลีผู้เป็นเลิศด้านโชคลาภ
    พระสิวลี ตามตำนานเป็นหนึ่งในพระอรหันต์ สมัยพุทธกาลที่มีบุญบารมีมาก สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงยกย่อง พระสิวลี ว่า “เป็นเลิศทางโชคลาภ อุดมไปด้วยโภคทรัพย์” ไม่ว่า พระสิวลี จะเดินทางไปแห่งหนตำบลใด มักจะมีเทวดาคอยติดตามดูแลปรนนิบัติรับใช้อยู่ตลอดเวลา
    ตั้งแต่ท่านถือปฎิสนธิในครรภ์ ก็ได้เกิดลาภสักการะแก่ พระมารดาเป็นอันมาก มีคนนำเอาเครื่องบรรณาการถึง 500 อย่าง มาถวายทุกเช้าทุกเย็น จนเป็นที่เลื่องลือมากในกรุงโกลิยะ
    หากท่านทั้งหลายผู้หวังในโชคลาภ ทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง จงนำ “ถุงพระสิวลีดูดทรัพย์” ไปแขวนยังร้านค้าหรือนำไปไว้ในที่เก็บทรัพย์ ถุงพระสิวลีจะช่วยดูดให้ทรัพย์ให้มีมากขึ้น ทำมาค้าขายดี
    ขออานุภาพบารมีของ พระสิวลี จงดลบรรดาลให้ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้มีโภคทรัพย์ อุดมไปด้วยลาภ

    “กินไม่หมด จนไม่เป็น”

    ให้ระลึกพระคาถาว่า นะชาลีติ ในขณะค้าขาย การค้าจะดียิ่งขึ้น
    คาถาบูชาพระสีวลี
    สีวะลี จะ มะหาเถโร เทวะตานะปูชิโต โสระโห
    ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
    สีวะลี จะ มะหาเถโร ยักขาเทวาภิปูชิโต โสระโห
    ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
    สีวะลี เถระคุณัง เอตัง โสตถิ ภะวันตุ เมฯ
     

แชร์หน้านี้

Loading...