พระนิพพาน คือ ........

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อวตาร., 31 มีนาคม 2011.

  1. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    <CENTER> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER></CENTER><CENTER>ปุพพโกฏฐกสูตร</CENTER><CENTER>พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้า</CENTER>
    [๙๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปุพพโกฏฐกะ ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาแล้ว ตรัสว่า

    [๙๘๔] ดูกรสารีบุตร เธอเชื่อหรือว่า สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด วิริยินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.
    [๙๘๕] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ไม่ถึงความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นพึงถึงความเชื่อต่อชนเหล่าอื่น ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็แลอมตะนั้นชนเหล่าใดรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อมตะนั้น ข้าพระองค์รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้วพิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ข้าพระองค์จึงหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่าสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.
    [๙๘๖] พ. ดีละๆ สารีบุตร ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น พึงถึงความเชื่อต่อชนเหล่าอื่นในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็แล อมตะนั้น ชนเหล่าใดรู้แล้ว เห็นแล้วทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.​

    <CENTER>จบ สูตรที่ ๔</CENTER>


    </PRE>
     
  2. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314
    พระนิพพานในระดับจิตนี้ คือ ....



    นิพพานัง ปรมัง สุขัง

    พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
     
  3. สปาต้า

    สปาต้า Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +46
    อ้าวพระนิพพาน ยังมีสุขอย่างยิ่งหรือ เห็นมีคนบอกว่า
    พระนิพพานเป็นอนัตตา ว่างเปล่า ไม่มีไม่มี 555
     
  4. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314
    นิพพานัง ปรมัง สุขัง

    พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง


     
  5. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    คือความพอดีของจิต พอดี ไม่มีนิยามต่อ เพราะมันพอดีๆๆๆๆ
     
  6. lnwมาร

    lnwมาร สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +0
    พระนิพพาน นั้นอยู่แค่ปลายจมูก นั่งๆนอนๆ เด๋วก็ถึง พระนิพพาน
     
  7. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    คำว่า "อมตะ" ตรงนี้เป็นคำบาลี ในปุราณจะใช้ในความหมายคือ ถึงที่สุด หรือ ถึงเส้นชัย
    "สุดขอบ สุดเขตแดน" อันนี้ให้หมายถึงพ้นเหนือขึ้นไปอีก ไม่ได้แปลว่า ไปยืนตรงเส้นสุด
    ขอบหรือจุดสุดเขต

    แต่ "อมตะ" ของพี่ไทย เราโดนหนังช่อง 7 กล่อมหัวทุกวัน ว่าเป็นเรื่อง คงกระพัน
    ไม่ตาย

    ทำให้ "อมตะ" ในพุทธวัจนะเดิมผิดเพี้ยน

    มีพุทธวัจนะ บทหนึ่งสั้นๆกว่าวว่า

    "การให้ธรรมทาน ถือว่าให้อมตะ"

    เมื่อเอาพุทธภาษิตนี้มาวิจัย ก็จะเข้าถึงความเรียบง่าย ความหมายเดิมของพุทธวัจนะได้

    คอมมอนเซ็นต์ง่ายๆ แค่การทำธรรมทาน กล่าวธรรมให้ผู้อื่นฟัง ซื้อหนังสือธรรมะให้ผู้
    อื่นได้อ่าน ทานแค่นี้จะทำให้ เป็นอมตะคงกระพันไม่ตายแบบหนังช่อง7 ได้หรือ ก็เห็นๆ
    อยู่ว่าท้ายที่สุดก็ตายทุกรูปทุกนาม

    ดังนั้น

    การให้ธรรมทาน คือ การให้ที่ยิ่งใหญ่ การให้สิ่งที่ไม่มีสิ้นสุด เป็นการให้ที่ถือว่า
    ไร้พรหมแดน ดีสุดๆ

    ซึ่งก็จะไปสอดคล้องกับ

    ธรรมะทานัง ทานะทานัง ชินาติ คือ การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง

    จะเห็นว่า สองพุทธภาษิต หากแปลแบบดั้งเดิม ไม่เผลอแปลแบบหนังช่อง7
    ความสอดคล้องของธรรมจะมี

    หากเป็นดังนี้ ก็ขออนุญาติ สลับคำให้ดู

    [๙๘๖] พ. ดีละๆ สารีบุตร ด้วยว่า"ธรรมทาน"นั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบไม่
    กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น พึงถึงความเชื่อต่อชนเหล่าอื่น
    ใน"ธรรมทาน"นั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
    ย่อมหยั่งลงสู่"ธรรมทาน" มี"ธรรมทาน"เป็นเบื้องหน้า มี"ธรรมทาน"เป็นที่สุด

    อันนี้ง่ายๆคือ คนใดไม่เคยฟังธรรม เมื่อได้ฟังธรรมก็จะศรัทธาเข้ามา และก็จะสามารถ
    ให้ธรรมทานได้ต่อเนื่องกันไป

    ก็แล "ธรรมทาน"นั้น ชนเหล่าใดรู้แล้ว เห็นแล้วทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็น
    แล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นหมดความเคลือบแคลงสงสัย ใน"ธรรมทาน"นั้นว่า สัทธินทรีย์
    ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมหยั่งลงสู่ "ธรรมทาน"
    มี "ธรรมทาน" เป็นเบื้องหน้า มี"ธรรมทาน"เป็นที่สุด.

    อันนี้ง่ายๆคือ คนใดเคยฟังธรรมแล้ว เข้าใจแล้ว ก็จะเชื่อมั่นในการทำธรรมทาน
    ให้สืบเนื่องต่อไป

    แปลอีกทีคือ

    เมื่อก่อนปุถชนจะมีความเชื่อว่า จะไปฟังธรรมทำไม ฟังแล้วคงไม่ได้อะไร แต่ครั้น
    มาฟังธรรมดูสักครั้ง ก็จะพบว่าตัวเองเปลี่ยนแปลงได้ ก็ด้วยการมาฟังธรรม ธรรมดาๆ
    นี้แหละ แต่ตัวเองจะรู้ว่า ฟังแล้วจิตมันน้อมไปปฏิบัติได้ จึงเชื่อมั่นว่า หากกระทำ
    "ธรรมโฆษณ์" เอาไว้ เดี๋ยวมันจะมี คนที่ได้สดับ จะค่อยทะยอยเดินเข้ามาอย่างตน
    จนถึงที่สุดได้ แล้วก็ทำการ "ธรรมโฆษณ์" ต่อไปอีก ไม่มีที่สุดคืออมตะ

    ซึ่งก็สอดคล้องกับ การอันตรธานของศาสนา จะมีขึ้นก็ต่อเมื่อ ไม่มีการทำ"ธรรมทาน"
    กล่าวคือ หากไม่เหลือพยัญชนะ หรือ วลีใดๆ อันเกิดจาก นวัตถุศาสน (สุตะ เคยยะ เวทัลละ ฯ)
    ปรากฏอยู่บนโลก เมื่อนั้น การเข้าถึง นิพพาน เป็นอันหมด จบพุทธันดร ( แต่นิพพาน
    ยังมีอยู่ รอให้คนมาแจ้ง แล้วนำมากล่าวเป็นธรรมทาน ในพุทธันดรถัดๆไป ถัดๆไป ถัดๆไป....)

    พุทธวัจนะ หรือคำสอน นั้นแหละ ตัวแสดงอมตะ(ไม่มีขอบเขต ไม่มีหยุดยั้ง) ไม่ได้หมาย
    ถึง คน หรือ หมา แมว ที่ไหนคงกระพันชัดชาตรี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 เมษายน 2011
  8. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314
    นิพพานัง ปรมัง สุขัง

    พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง


    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
    อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต อภิญญาวรรคที่ ๖

    [๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกำหนดรู้ไว้ก็มี ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงละ เสียก็มี ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงให้เจริญก็มี ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึง กระทำให้แจ้งก็มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกำหนดรู้ เป็นไฉน อุปาทานขันธ์ ๕ นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกำหนดรู้ไว้ ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงละเสียเป็นไฉน คือ อวิชชา และภวตัณหา นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงละเสีย ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงให้เจริญเป็นไฉน คือ สมถะและวิปัสสนา นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญา แล้วพึงให้เจริญ ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกระทำให้แจ้งเป็นไฉน คือ วิชชา และวิมุตติ นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกระทำให้แจ้ง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล ฯ

    [๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนริยปริเยสนา การแสวงหาอันไม่ประเสริฐ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ตนเองเป็นผู้ มีชราเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาสิ่งที่มีชราเป็นธรรมดานั่นเอง ๑ ตนเองเป็นผู้มี พยาธิเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาสิ่งที่มีพยาธิเป็นธรรมดานั่นเอง ๑ ตนเองเป็นผู้มี มรณะเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาสิ่งที่มีมรณะเป็นธรรมดานั่นเอง ๑ ตนเองเป็น ผู้มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา นั่นเอง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนริยปริเยสนา ๔ ประการนี้แล

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยปริเยสนา การแสวงหาอย่างประเสริฐ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ตนเองเป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีชรา เป็นธรรมดาแล้ว ย่อมแสวงหานิพพานอันไม่มีชรา เป็นแดนเกษมจากโยคะ อย่างเยี่ยม ๑ ตนเองเป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีพยาธิเป็นธรรมดา แล้ว ย่อมแสวงหานิพพาอันไม่มีพยาธิ เป็นแดนเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ๑ ตนเองเป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีมรณะเป็นธรรมดาแล้ว ย่อม แสวงหานิพพานอันไม่ตาย เป็นแดนเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ๑ ตนเองเป็นผู้มี ความเศร้าหมองเป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดาแล้ว ย่อมแสวงหานิพพานอันไม่เศร้าหมอง เป็นแดนเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยปริเยสนา ๔ ประการนี้แล ฯ
     
  9. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
    ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา

    ในเมื่อยังไม่มีใครเคยเห็นพระนิพพาน การตอบปัญหาพระนิพพานจึงได้แต่คำตอบที่เลื่อนลอย ต้องอาศัยความเชื่อของแต่ละบุคคล เช่น กระทู้ พระนิพพานจากคำครูอาจารย์ แต่นั่น ก็ยังต้องขึ้นอยู่กับผู้เข้าไปเชื่ออีก จะเชื่อ หรือไม่เชื่อ ฉนั้น ลองมาตอบปัญหาที่หัวข้อธรรมข้างต้นนี้ก่อนดีกว่าไหม...

    ถามว่า...สัพเพธรรมมา อนัตตา ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา

    1.ท่านทั้งหลาย อนัตตา แปลว่าอะไร?...อนัตตาของผู้ถาม แปลว่า "ไม่ใช่ตัวตน"อนัตตาของท่านทั้งหลายแปลว่าอะไร? หมายความว่า ถ้าคำแปลยังไม่เหมือนกัน ย่อมได้คำตอบที่ไม่ไปในทิศทางเดียวกันได้จ้า...นั่นคือ เสียเวลาคุยกันจ้า...

    2.ถามอีกต่อไปว่า..."อนัตตา" มีตัวตนอยู่หรือไม่?เมื่อตอบคำถามนี้ได้แล้ว จึงค่อยไปเรียนเรื่อง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่งต่อนะจ๊ะๆ ...อ่ะๆ ๆ ๆ





     

แชร์หน้านี้

Loading...