พระปุสสเถระทำนาย ภิกษุทั้งหลายในอนาคตฯ ก็จะพากันยินดีเงินทอง ไร่นาที่ดิน แพะ แกะฯลฯ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 11 กรกฎาคม 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๓๔๔/๔๔๗
    [๓๙๕] ฤาษีมีชื่อตามโคตรว่า ปัณฑรสะ ได้เห็นภิกษุเป็นอันมาก ที่น่าเลื่อมใส
    มีตนอันอบรมแล้ว สำรวมด้วยดี จึงได้ถามพระปุสสเถระว่า ในอนาคต
    ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จักมีความพอใจอย่างไร มีความประสงค์อย่างไร
    กระผมถามแล้วขอจงบอกความข้อนั้นแก่กระผมเถิด?
    พระปุสสเถระจึงกล่าวตอบด้วยคาถาเหล่านี้ ความว่า
    ดูกรปัณฑรสฤาษี ขอเชิญฟังคำของอาตมา จงจำคำของอาตมาให้ดี
    อาตมาจะบอกซึ่งข้อความที่ท่านถามถึงอนาคต คือในกาลข้างหน้า
    ภิกษุเป็นอันมากจักเป็นคนมักโกรธ มักผูกโกรธไว้ ลบหลู่คุณท่าน หัวดื้อ
    โอ้อวด ริษยา มีวาทะต่างๆ กัน จักเป็นผู้มีมานะในธรรมที่ยังไม่รู้ทั่วถึง
    คิดว่าตื้นในธรรมที่ลึกซึ้ง เป็นคนเบา ไม่เคารพธรรม ไม่มีความเคารพ
    กันและกัน ในกาลข้างหน้า โทษเป็นอันมากจักเกิดขึ้นในหมู่สัตวโลก
    ก็เพราะภิกษุทั้งหลายผู้ไร้ปัญญา จักทำธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วนี้
    ให้เศร้าหมอง ทั้งพวกภิกษุที่มีคุณอันเลว โวหารจัด แกล้วกล้า มี
    กำลังมาก ปากกล้า ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน ก็จักมีขึ้นในสังฆมณฑล
    ภิกษุทั้งหลายในสังฆมณฑล แม้ที่มีคุณความดี มีโวหารโดยสมควรแก่
    เนื้อความ มีความละอายบาป ไม่ต้องการอะไรๆ ก็จักมีกำลังน้อย
    ภิกษุทั้งหลายในอนาคตที่ทรามปัญญา ก็จะพากันยินดีเงินทอง ไร่นา
    ที่ดิน แพะ แกะ และคนใช้หญิงชาย จักเป็นคนโง่มุ่งแต่จะยกโทษ
    ผู้อื่น ไม่ดำรงมั่นอยู่ในศีล ถือตัว โหดร้าย เที่ยวยินดีแก่การทะเลาะ
    วิวาท จักมีใจฟุ้งซ่าน นุ่งห่มแต่จีวรที่ย้อมสีเขียวแดง เป็นคนลวงโลก
    กระด้าง เป็นผู้แส่หาแต่ลาภผล เที่ยวชูเขา คือมานะ ทำตนดั่งพระ
    อริยเจ้าท่องเที่ยวไปอยู่ เป็นผู้แต่งผมด้วยน้ำมัน ทำให้มีเส้นละเอียด
    เหลาะแหละ ให้ยาหยอดและทาตา มีร่างกายคลุมด้วยจีวรที่ย้อมด้วยสี
    งา สัญจรไปตามตรอกน้อยใหญ่ จักพากันเกลียดชังผ้าอันย้อมด้วยน้ำ
    ฝาดเป็นของไม่น่าเกลียด พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้หลุดพ้นแล้วยินดียิ่งนัก
    เป็นธงชัยของพระอรหันต์ พอใจแต่ในผ้าขาวๆ จักเป็นผู้มุ่งแต่ลาภผล
    เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม เห็นการอยู่ป่าอันสงัดเป็น
    ความลำบาก จักใคร่อยู่ในเสนาสนะที่ใกล้บ้าน ภิกษุเหล่าใดยินดีมิจฉา
    ชีพ จักได้ลาภเสมอๆ จักพากันประพฤติตามภิกษุเหล่านั้น (เที่ยวคบหา
    ราชสกุลเป็นต้นเพื่อให้เกิดลาภแก่ตน) ไม่สำรวมอินทรีย์ เที่ยวไป
    อนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลายจะไม่บูชาพวกภิกษุที่มีลาภน้อย จัก
    ไม่สมคบภิกษุที่เป็นนักปราชญ์มีศีลเป็นที่รัก จักทรงผ้าสีแดง ที่ชนชาว
    มิลักขะชอบย้อมใช้ พากันติเตียนผ้าอันเป็นธงชัยของตนเสีย บางพวก
    ก็นุ่งห่มผ้าสีขาวอันเป็นธงของพวกเดียรถีย์ อนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุ
    เหล่านั้นจักไม่เคารพในผ้ากาสาวะ จักไม่พิจารณาในอุบายอันแยบคาย
    บริโภคผ้ากาสาวะ เมื่อทุกข์ครอบงำ ถูกลูกศรแทงเข้าแล้ว ก็ไม่
    พิจารณาโดยแยบคาย แสดงอาการยุ่งยากในใจออกมา มีแต่เสียงโอด
    ครวญอย่างใหญ่หลวง เปรียบเหมือนช้างฉัททันต์ ได้เห็นผ้ากาสาวะ
    อันเป็นธงชัยของพระอรหันต์ ที่นายโสณุตระพราน นุ่งห่มไปในคราว
    นั้น ก็ไม่กล้าทำร้าย ได้กล่าวคาถาอันประกอบด้วยประโยชน์มากมาย
    ว่า ผู้ใดยังมีกิเลสดุจน้ำฝาด ปราศจากทมะและสัจจะจักนุ่งผ้ากาสาวะ
    ผู้นั้นย่อมไม่ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดคายกิเลสดุจน้ำฝาดออกแล้ว
    ตั้งมั่นอยู่ในศีลอย่างมั่นคง ประกอบด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นจึงสมควรจะ
    นุ่งห่มผ้ากาสาวะโดยแท้ ผู้ใดมีศีลวิบัติ มีปัญญาทราม ไม่สำรวมอินทรีย์
    กระทำตามความใคร่อย่างเดียว มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่ขวนขวายในทางที่ควร
    ผู้นั้นไม่สมควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดสมบูรณ์ด้วยศีล ปราศจาก
    ราคะ มีใจตั้งมั่น มีความดำริในใจผ่องใส ผู้นั้นสมควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ
    โดยแท้ ผู้ใดไม่มีศีล ผู้นั้นเป็นคนพาล มีจิตใจฟุ้งซ่าน มีมานะฟูขึ้นเหมือน
    ไม้อ้อ ย่อมสมควรจะนุ่งห่มแต่ผ้าขาวเท่านั้น จักควรนุ่งผ้าห่มผ้ากาสาวะ
    อย่างไร อนึ่ง ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายในอนาคต จักเป็นผู้มีจิตใจชั่ว
    ร้าย ไม่เอื้อเฟื้อ จักข่มขี่ภิกษุทั้งหลายผู้คงที่ มีเมตตาจิต แม้ภิกษุ
    ทั้งหลายที่เป็นคนโง่เขลา มีปัญญาทราม ไม่สำรวมอินทรีย์ กระทำ
    ตามความใคร่ ถึงพระเถระให้ศึกษาการใช้สอยผ้าจีวร ก็จักไม่เชื่อฟัง
    พวกภิกษุที่โง่เขลาเหล่านั้น อันพระเถระทั้งหลายให้การศึกษาแล้วเหมือน
    อย่างนั้น จักไม่เคารพกันและกัน ไม่เอื้อเฟื้อในพระอุปัชฌายาจารย์
    จักเป็นเหมือนม้าพิการไม่เอื้อเฟื้อนายสารถี ฉะนั้น ในกาลภายหลังแต่
    ตติยสังคายนา ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย ในอนาคต จักปฏิบัติอย่างนี้.
    ครั้นพระปุสสเถระแสดงมหาภัยอันจะบังเกิดขึ้น ในกาลภายหลังอย่างนี้แล้ว เมื่อจะ
    ให้โอวาทภิกษุที่ประชุมกัน ณ ที่นั้นอีก จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า
    ภัยอย่างใหญ่หลวงที่จะทำอันตรายต่อข้อปฏิบัติ ย่อมมาในอนาคตอย่างนี้
    ก่อน ขอท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ว่าง่าย จงพูดแต่ถ้อยคำที่สละสลวย
    มีความเคารพกันและกัน มีจิตเมตตากรุณาต่อกัน จงสำรวมในศีล
    ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวบากบั่นอย่างมั่นเป็นนิตย์ ขอท่าน
    ทั้งหลายจงเห็นความประมาท โดยความเป็นภัย และจงเห็นความไม่
    ประมาทโดยความเป็นของปลอดภัย แล้วจงอบรมอัฏฐังคิกมรรค เมื่อ
    ทำได้ดังนี้แล้ว ย่อมจะบรรลุนิพพานอันเป็นทางไม่เกิดไม่ตาย
     
  2. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    สมัยนี้เป็นอย่างนี้เยอะกันจริงๆ ศึกษาจากพุทธโอษฐ์จึงจะเป็นของจริง ถูกต้อง ให้ถึงมรรคผลนิพพานโดยไม่ไหวหวั่น มั่นคง เป็นหลักได้ สาธุๆๆ
     
  3. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    อยากให้นำไปโพสไว้หลายๆที่ กระทู้นี้ดีมากๆ
     
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ทั้งที่ลับและที่แจ้งก็ต้องรักษาพระธรรมวินัย

    ขณะที่เดินไปนั้นท่านอาจารย์มั่น ฯ เดินไปข้างหน้า ผู้เขียนเดินตามหลัง รู้สึกว่าท่านยังแข็งแรงมาก ขณะนั้นท่านอายุประมาณ ๗๔ ปีแล้ว ดูการเดินของท่านยังกระฉับกระเฉง ในขณะที่ผู้เขียนอายุ ๒๓ ปี รู้สึกว่าเป็นการแตกต่างกันมาก ประหนึ่งปู่กับหลานเอาทีเดียว เหนื่อยแล้ว แสงแดดก็กล้ามาก ร้อนจัด เป็นกลางทุ่ง เขาเรียกทุ่งนี้ว่า ทุ่งจำปานาแก เป็นทุ่งกว้างมาก ต้องใช้เวลาเดินหลายชั่วโมง คนแถบนี้กลัวกันนักเมื่อจะเดินข้ามทุ่งนี้

    มีต้นไม้อยู่ต้นหนึ่ง มีร่มเงาพอสมควร ท่านบอกว่าแวะเข้าไปพักที่นี่ก่อนเถอะ ผู้เขียนรีบเดินไปก่อนไปจัดที่ นำเอาอาสนะไปปูถวายให้ท่านนั่งสบาย ถวายน้ำดื่ม เรียบร้อยแล้ว ท่านก็พูดว่า

    “วิริยังค์ เหนื่อยบ่”

    “ไม่เหนื่อยเลยครับ” ผู้เขียนตอบ

    “ดีแล้ว” ท่านว่า “แต่การที่เธอมากับเรานี้มีความรู้สึกอย่างไร”

    “เป็นโชคชีวิตของกระผมที่สุดแล้วครับ” ผู้เขียนตอบ

    “เวลาเดินเธอตั้งใจอย่างไร” ท่านถาม

    “กระผมตั้งสติไว้ทุกระยะเลยครับ เพราะรู้ว่าได้เดินมากับท่านที่ทรงคุณธรรม”

    “เออดี” ท่านว่า แล้วท่านเล่าว่า

    “ทุ่งจำปานาแกนี้เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของคนในละแวกนี้ และนาแถบนี้ไม่ค่อยจะเสีย ดีทุก ๆ ปี แต่ระยะที่พวกเรามา เขาเก็บเกี่ยวกันหมดแล้ว ดูแต่ซังข้าวเป็นไร ซังใหญ่ ๆ ทั้งนั้น แสดงว่าข้าวงามมากปีนี้ ทำให้ผู้เขียนคิดในใจว่าท่านอาจารย์นอกจากท่านจะมีความรู้ในธรรมแล้ว งานชาวบ้านท่านก็ทราบเหมือนกัน แสดงว่าแม้ท่านจะอยู่ที่ไหน ท่านต้องศึกษาความเป็นอยู่ของท้องถิ่นนั้น ๆ มิใช่แต่จะก้มหน้าก้มตาสอนแต่การปฏิบัติธรรมอย่างเดียว

    ขณะผู้เขียน (ขออภัย) ได้ขออนุญาตเข้าป่าละเมาะเพื่อถ่ายอุจจาระ เมื่อเสร็จกิจแล้วกลับออกมา ทุก ๆ ระยะที่ผู้เขียนเข้าไปถ่ายอุจจาระและกลับ หาได้พ้นสายตาของท่านไม่ เมื่อกลับมานั่งอยู่ใต้โคนไม้นั้นแล้ว ท่านจึงพูดว่า

    “ทำไมไม่เอาน้ำไปชำระ”

    “ที่นี่เป็นป่า หาน้ำยากกระผม” ผู้เขียนตอบ

    “นี่แหละถือว่าผิดวินัย” ท่านพูดและได้พูดต่อไปว่า “การศึกษาพระวินัยนั้นสำคัญ บุคคลจะมาถือเลศอย่างนั้นอย่างนี้แล้วพากันปฏิบัติหลีกเลี่ยงพระวินัยหาควรไม่”

    “ในที่นี้เป็นที่ทุรกันดาร ควรจะรับยกเว้นพระวินัยข้อนี้ กระผม” ผู้เขียนตอบ

    “ไม่มีการยกเว้น ในเมื่ออยู่ในความสามารถ” ท่านพูด และพูดต่อไปว่า “ทั้งที่ลับและที่แจ้งก็ต้องรักษาพระธรรมวินัย ถ้าผู้ใดมาหาวิธีหลีกเลี่ยงพระธรรมวินัยแม้เล็กน้อย ผู้นั้นชื่อว่าทำลายตนเอง”

    ทำเอาผู้เขียนเสียวหลังขึ้นมาเลย นี่ก็นับว่าท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้สอนผู้เขียนทุกระยะเลยทีเดียว เหตุเช่นนี้ผู้เขียนนึกในใจว่าบุญของเราแท้ ๆ ที่ได้พระอาจารย์ผู้รับผิดชอบในตัวของเรา แม้แต่ในเวลาถ่ายอุจจาระ ท่านยังไม่ทอดทิ้ง ยังดูแลตลอดทุกอิริยาบถ ถ้ามีอาจารย์อย่างนี้ ไม่ได้ดี ก็ไม่รู้จะไปได้ดีอย่างไรอีก แล้ว

    คัดลอกมาจาก ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ฉบับสมบูรณ์
    พระญาณวิริยาจารย์ (พระอาจารย์วิริยังค์)
    เจ้าอาวาส วัดธรรมมงคล แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ
    ใต้สามัญสำนึก ๕

    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-mun/lp-mun-hist-02-05.htm
     
  5. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๑๑๓/๗๑๗
    เรื่องพระฉัพพัคคีย์
    [๑๐๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถ
    บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะ มีประการต่างๆ
    ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ถึง
    ความซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า?.
    ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาผู้ที่เป็นผู้
    มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพน-
    ทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์จึงได้ถึงการซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ เล่า?
    แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
    ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
    ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ
    เหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอถึงการซื้อ
    ขายด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ จริงหรือ?.
    พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
    ทรงติเตียน
    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น
    ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน พวกเธอจึงได้ถึงการซื้อ
    ขายด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ เล่า การกระทำของพวกเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ
    ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. โดยที่แท้ การกระทำ
    ของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่าง
    อื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
    ทรงบัญญัติสิกขาบท
    ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยาย ดั่งนี้แล้ว ตรัสโทษแห่ง
    ความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ
    ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ
    มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ
    ความเพียร โดยอเนกปริยาย, ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น
    แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ
    ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่ม
    บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดใน
    ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
    เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
    เพื่อถือตามพระวินัย ๑.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
    พระบัญญัติ
    ๓๘. ๙. อนึ่ง ภิกษุใดถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ, เป็น
    นิสสัคคิยปาจิตตีย์.

    เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
     
  6. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218
    สาธุ สาธุ สาธุ


    พระธรรมอันชอบแล้ว ดีแล้ว ถูกต้องแล้ว
     
  7. Tamjugg

    Tamjugg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2012
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,029
    ศาสนาจะตั้งอยู่ไม่ได้ ก็เพราะไม่ตั้งอยู่ในสิกขาบท เช่นศีล227
     

แชร์หน้านี้

Loading...