พระพุทธเจ้าตรัสสอน เหตุที่ทําให้สามีภรรยาเจอกันอีกทั้งในชาตินี้และชาติหน้า

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย ธัชกร, 18 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    [​IMG]



    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬามฤคทายวัน​

    ใกล้บ้านสุงสุมารคีระ แคว้นภัคคะ ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่ง​

    แล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของนกุลบิดาคฤหบดี แล้ว​

    ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้งนั้นแล คฤหบดีผู้นกุลบิดาและคฤหปตานี​

    ผู้นกุลมารดา เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควร​

    ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว คฤหบดีผู้นกุลบิดาได้กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นับแต่เวลาที่ตระกูลนำคฤหปตานีผู้นกุลมารดาซึ่งยังเป็น
    สาวมา เพื่อข้าพระองค์ผู้ยังเป็นหนุ่ม ข้าพระองค์มิได้รู้สึกจะประพฤตินอกใจ
    คฤหปตานีผู้นกุลมารดาแม้ด้วยใจเลย ที่ไหนจะประพฤตินอกใจด้วยกายเล่า ข้า
    พระองค์ทั้งสองปรารถนาพบกันและกันทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ แม้คฤหป-
    *ตานีผู้นกุลมารดา ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นับแต่
    เวลาที่ตระกูลนำหม่อมฉันซึ่งยังเป็นสาวมา เพื่อคฤหบดีผู้นกุลบิดาซึ่งยังเป็นหนุ่ม
    หม่อมฉันมิได้รู้สึกจะประพฤตินอกใจคฤหบดีผู้นกุลบิดาแม้ด้วยใจเลย ที่ไหนจะ
    ประพฤตินอกใจด้วยกายเล่า หม่อมฉันทั้งสองปรารถนาพบกันและกันทั้งใน
    ปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรคฤหบดีและคฤหปตานี ถ้าภรรยาและสามี
    ทั้งสอง หวังจะพบกันและกันทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพไซร้ ทั้งสองเทียว
    พึงเป็นผู้มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน
    ภรรยาและสามีทั้งสองนั้น ย่อมได้พบกันและกันทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ ฯ
    ภรรยาและสามีทั้งสองเป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของ
    ผู้ขอ มีความสำรวม เป็นอยู่โดยธรรม เจรจาคำที่น่ารักแก่
    กันและกัน ย่อมมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีความผาสุก
    ทั้งสองฝ่ายมีศีลเสมอกัน รักใคร่กันมาก ไม่มีใจร้ายต่อกัน
    ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ทั้งสองเป็นผู้มีศีลและวัตร
    เสมอกัน ย่อมเป็นผู้เสวยกามารมณ์ เพลิดเพลินบันเทิงใจ
    อยู่ในเทวโลก ฯ​


    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
    อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
    สมชีวิสูตรที่ ๑​



    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภรรยาและสามี​

    ทั้งสองพึงหวังพบกันและกันทั้งในปัจจุบัน และในสัมปรายภพ ทั้งสองเทียวพึง
    เป็นผู้มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน
    ภรรยาและสามีทั้งสองนั้น ย่อมได้พบกันและกันทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ ฯ
    ภรรยาและสามีทั้งสองเป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของ
    ผู้ขอ มีความสำรวม เป็นอยู่โดยธรรม เจรจาคำที่น่ารักแก่
    กันและกัน ย่อมมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีความผาสุก ทั้ง
    สองฝ่ายมีศีลเสมอกัน รักใคร่กันมาก ไม่มีใจร้ายต่อกัน
    ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ทั้งสองเป็นผู้มีศีลและวัตรเสมอ
    กัน ย่อมเป็นผู้เสวยกามารมณ์ เพลิดเพลินบันเทิงใจอยู่ใน
    เทวโลก ฯ​


    สมชีวิสูตรที่ ๒​





    <CENTER><BIG>อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ปุญญาภิสันทวรรคที่ ๑</BIG> <CENTER class=D></CENTER><CENTER class=D>๕. สมชีวิสูตรที่ ๑</CENTER><CENTER class=D></CENTER></CENTER>



    <CENTER>อรรถกถาปฐมสมชีวสูตรที่ ๕ </CENTER>
    พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสมชีวสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :- ​




    บทว่า เตนฺปสงฺกมิ ความว่า ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปหาเพื่ออะไร?
    ตอบว่า เพื่อทรงอนุเคราะห์. แท้จริง พระตถาคตเมื่อเสด็จไปแว่นแคว้นนั้น ย่อมเสด็จไปเพื่อทรงสงเคราะห์คนทั้งสองนี้เท่านั้น.
    ได้ยินว่า นกุลบิดาได้เป็นบิดาของพระตถาคตมาแล้ว ๕๐๐ ชาติ เป็นปู่ ๕๐๐ ชาติ เป็นอา ๕๐๐ ชาติ. แม้นกุลมารดาก็ได้เป็นมารดามา ๕๐๐ ชาติ เป็นย่า ๕๐๐ ชาติ เป็นน้า ๕๐๐ ชาติ คนเหล่านั้นได้ความรักเพียงดังบุตร จำเดิมแต่เวลาตนเห็นพระศาสดา จึงเข้าไปหาแล้วเกิดเป็นโสดาบันด้วยปฐมทัสนะ (การเห็นครั้งแรก) เหมือนแม่โคเห็นลูกโคแล้วติดในลูกโค ร้องอยู่ว่า หนฺตาต หนฺตาต ดังนี้. ในนิเวศน์เขาจึงได้จัดอาสนะไว้ถวายแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นประจำ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จเข้าไปหาเพื่อนอนุเคราะห์คนเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้.
    บทว่า อติจริตา ได้แก่ ประพฤตินอกใจ.

    บทว่า อภิสมฺปรายญฺจ ได้แก่ และในโลกหน้า.
    บทว่า สมสทฺธา ได้แก่ เป็นผู้เสมอ เป็นเช่นเดียวกันด้วยศรัทธา.
    แม้ในศีลเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. ​




    <CENTER>

    จบอรรถกถาปฐมสมชีวสูตรที่ ๕


    </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>[​IMG]
    </CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2010

แชร์หน้านี้

Loading...