พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ ปัญญาวรรค สติปัฏฐานกถา

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย Kob, 27 เมษายน 2010.

  1. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,159
    ค่าพลัง:
    +19,888
    <CENTER>ปัญญาวรรค สติปัฏฐานกถา
    </CENTER><CENTER>สาวัตถีนิทานบริบูรณ์
    </CENTER> [๗๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นกายในกาย มี
    ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เป็นผู้
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต เป็นผู้
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
    อภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้แล ฯ
    [๗๒๗] ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไร ฯ
    ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกองธาตุดิน โดยความเป็นของ
    ไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็น
    ทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่
    พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด
    ไม่กำจัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดย
    ความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์
    ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญา
    ได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัด
    ได้ เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืนย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณา
    เห็นกายโดยอาการ ๗ นี้ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกการ
    พิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนา ด้วยความว่าธรรมทั้งหลาย
    ที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยความว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียว
    กัน ๑ ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำไปซึ่งความเพียร อันสมควรแก่ความที่ธรรม
    ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์มีกิจเป็นอันเดียวกันนั้น ๑ ด้วยความว่าเป็น
    ธรรมที่เสพ ๑ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกองอาโปธาตุ กองเตโช-
    *ธาตุ กองวาโยธาตุ กองผม กองขน กองผิว กองหนัง กองเนื้อ กองเอ็น
    กองกระดูก กองเยื่อในกระดูก โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดย
    ความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความ
    เป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา
    ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด
    ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละ
    นิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อ
    พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละ
    ความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้ เมื่อดับย่อมละสมุทัยได้
    เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายด้วยอาการ ๗ นี้
    กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น
    กายนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นกาย
    ในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็นธรรมที่
    เสพ ฯลฯ ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างนี้ ฯ
    [๗๒๘] ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่อย่างไร ฯ
    ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นของ
    ไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น
    เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อ
    สละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาด้วยอาการ ๗ นี้
    เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณา
    เห็นเวทนานั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณา
    เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็นธรรมที่
    เสพ ฯลฯ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขม-
    *สุขเวทนา จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เมื่อสละคืน
    ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาด้วยอาการ ๗ นี้ เวทนา
    ปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนา
    นั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นเวทนา
    ในเวทนาทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็นธรรมที่
    เสพ ฯลฯ ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่อย่างนี้ ฯ
    [๗๒๙] ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไร ฯ
    ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตมีราคะ โดยความเป็น
    ของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือ
    มั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ
    เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตด้วยอาการ ๗ นี้
    จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิต
    นั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นจิตในจิต
    ว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความเป็นธรรมที่เสพ
    ฯลฯ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตอันปราศจากราคะ จิตมีโทสะ
    จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็น
    มหรคต จิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่น
    จิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้น จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหา-
    *วิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณา
    เห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็น
    โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละ
    ความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตด้วยอาการ ๗ นี้ จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ
    สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสติและญาณนั้น
    เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นจิตในจิตว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่าเป็นธรรม
    ที่เสพ ฯลฯ ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างนี้ ฯ
    [๗๓๐] ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่อย่างไร ฯ
    ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เว้นกาย เวทนา จิตเสียแล้ว ย่อมพิจารณา
    เห็นธรรมทั้งหลายที่เหลือจากนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดย
    ความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็น
    สุข ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา
    ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด
    ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละ
    นิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อ
    พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม
    ละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้ เมื่อดับ ย่อมละ
    สมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม
    ทั้งหลายด้วยอาการ ๗ นี้ ธรรมทั้งหลายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย
    เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะ
    เหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายว่า สติปัฏฐาน-
    *ภาวนา ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนา ด้วยความว่า
    ธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยความว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจ
    เป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำไป ซึ่งความเพียรอันสมควรแก่
    ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกันนั้น ๑
    ด้วยความว่าเป็นธรรมที่เสพ ๑ ฯลฯ ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
    ทั้งหลายอยู่อย่างนี้ ฉะนี้แล ฯ

    <CENTER>จบสติปัฏฐานกถา ฯ
    </CENTER><CENTER>ที่มาของเนื้อหา http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=31&A=10710&Z=10811</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>[MUSIC]http://audio.palungjit.org/attachment.php?attachmentid=49611[/MUSIC]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>ที่มาของไฟล์เสียงอ่าน http://palungjit.org/threads/ทดลองอ่าน-พระไตรปิฎก-เล่มที่-๓๑-พระสุตตันตปิฎก-เล่ม-๒๓.4401/page-2#post31378</CENTER>
     
  2. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,669
    ค่าพลัง:
    +9,239
    [​IMG]

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    ขอนอบน้อมแด่พระธรรม และพระสงฆ์

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ


    [​IMG]

    ขออานิสงส์มหาธรรมทานจงมีไปสู่ทุกสรรพชิวิต
    ทุกดวงจิตทุกดวงวิญญาณได้รับรสพระธรรมแล้ว
    ลดมานะ ละทิฐิ ความหลงผิด ติดอวิชชา แล้วต่างมีจิตสว่างไสว
    มีดวงตาเห็นธรรมเกิดปัญญาญาณเป็นเครื่องรู้เฉพาะตนอันสูงสุดเทอญ


    นะโมพุทธานะ นิพพานะปัจจโยโหตุปูเชมิ
    ขออนุโมทนาค่ะ

    <!-- google_ad_section_end -->
     
  3. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]

    เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้
    เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้
    เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้
    เมื่อดับ ย่อมละ
    สมุทัยได้ เมื่อสละคืน
    ย่อมละความถือมั่นได้

    กราบมหาอนุโมทนา สาธุการค่ะ
     
  4. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...