พิจารนาขันธ์ ด้วยไตรลักษณ์ คลายความยึดมั่นถือมั่น

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย albertalos, 23 สิงหาคม 2009.

  1. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ปริญเญยยสูตร
    <CENTER>ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้
    </CENTER>
    [๒๘๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้
    ความกำหนดรู้ และบุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.
    [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน?
    คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.(ขันธ์ทั้ง ๕)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้.
    [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนดรู้เป็นไฉน?
    (ความกำหนดรู้เพื่อ)ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความกำหนดรู้. (จึงควรกำหนดรู้ยิ่งในขันธ์ทั้ง ๕ ก็เพื่อความสิ้นไปดังกล่าว)
    [๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้กำหนดรู้แล้วเป็นไฉน?
    บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว ควรจะกล่าวว่าพระอรหันต์ กล่าวคือ ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว.​
    <CENTER>( พระไตรปิฎก เล่มที่๑๗/๒๘๙)
    </CENTER>
    ดังพุทธพจน์ที่ตรัสแสดงข้างต้นนี้ ขันธ์ ๕ จึงเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ด้วยความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งเป็นอย่างยิ่ง ดังจักแสดงขันธ์ ๕ ตลอดทั้งกระบวนธรรมคือความเนื่องสัมพันธ์เป็นเหตุปัจจัยกันของขันธ์ทั้ง ๕ โดยละเอียดเป็นลำดับขั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ในความเนื่องสัมพันธ์เป็นเหตุเป็นผลกัน หรือความเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันของขันธ์ทั้ง ๕ อย่างแจ่มแจ้ง ก็เพื่อยังประโยชน์ในการเจริญวิปัสสนาโดยการโยนิโสมนสิการในขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาทธรรม พระไตรลักษณ์ ฯลฯ.
    อนึ่งการโยนิโสมนสิการในขันธ์ ๕ นี้ ไม่ใช่เป็นไปในลักษณะการท่องจำหรือไล่เรียงในขันธ์ทั้ง ๕ ได้คล่องแคล่วแม่นยำแต่ประการใด แต่ต้องการให้เกิดความเข้าใจไล่เรียงความเป็นเหตุเป็นผล หรือความเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันจึงเกิดขึ้นของขันธ์ทั้ง ๕ อย่างมีเหตุ มีผล อันจะทำให้เข้าใจในสภาวธรรมของชีวิตหรือธรรมหรือธรรมชาติบางประการได้แจ่มแจ้งขึ้น จึงยังประโยชน์ถึงขั้นธรรมสามัคคี เกิดปัญญาถึงขั้นหูตาสว่างได้เป็นอัศจรรย์ ถ้าประกอบด้วยความเพียรในการพิจารณาโดยแยบคายอยู่เนืองๆเป็นอเนก ไม่ย่อหย่อน ดังมีคำกล่าวของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล เกี่ยวกับขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาทไว้น่าพิจารณา ดังนี้
    " เออ ก็ดีแล้วที่ได้ผล(ท่านกล่าวถึงเรื่องการปฏิบัติสมาธิ) พูดถึงความสุขในสมาธิมันก็สุขจริงๆ จะเอาอะไรมาเปรียบเทียบมิได้ แต่ถ้าติดอยู่แค่นั้น มันก็ได้แค่นั้นแหละยังไม่เกิดปัญญาอริยมรรค ที่จะตัด ภพ ชาติ ตัณหา อุปาทาน ให้ละสุขนั้นเสียก่อน แล้วพิจารณาขันธ์ ๕ ให้แจ่มแจ้งต่อไป " (จาก "อตุโล ไม่มีใดเทียม" หน้า ๔๙๕)
    ขันธ์ ๕ หรือเบญจขันธ์ องค์ประกอบสำคัญทั้ง ๕ ที่ทางพุทธศาสน์ถือว่า เป็นหตุคือสิ่งทั้ง ๕ ที่มาเป็นปัจจัยปรุงแต่งเป็น ชีวิต ขึ้น, เป็นเหตุปัจจัยที่เมื่อประชุมปรุงแต่งกันขึ้นจนเป็นสังขารคือสิ่งปรุงแต่งที่เรียกกันโดยสมมติว่า ชีวิต, อันประกอบด้วยขันธ์ที่หมายถึงฝ่ายหรือกองต่างๆ ดังนี้ รูปขันธ์, เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์ และมักเรียกกันทั่วไปสั้นๆว่า รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ
    กล่าวโดยย่อ ชีวิตเกิดขึ้นแต่เหตุคือขันธ์ทั้ง ๕ มาเป็นปัจจัยกันนั่นเอง
    ควรรู้เข้าใจอีกด้วยว่า ขันธ์ ๕ หรือชีวิตนี้ เมื่อเป็นเหตุปัจจัยประชุมปรุงแต่งกันขึ้นแล้วนั้น ยังต้องมีการประสานทำงานที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน หรือการเป็นปัจจัยแก่กันและกันระหว่างขันธ์หรือระหว่างกองทั้ง ๕ อยู่ตลอดเวลา ตราบเท่าที่ยังดำรงขันธ์คือชีวิตอยู่ ซึ่งพระองค์ท่านแบ่งขันธ์หรือชีวิตออกเป็นส่วนหรือเป็นกองทั้ง ๕ ที่มาประกอบกันเป็นเหตุปัจจัยกันจนเป็นชีวิตหรือสังขารตัวตนขึ้น ก็เพื่อยังประโยชน์ในการวิปัสสนาให้เกิดปัญญาจากการไปรู้เห็นตามความเป็นจริงที่เป็นไป เพื่อให้เกิดนิพพิทาญาณอันเป็นไปเพื่อคลายความกำหนัด(ตัณหา) จึงคลายความยึดมั่น(อุปาทาน) เพื่อความปล่อยวาง อันเป็นสุขยิ่ง
    ๑. รูปขันธ์ หรือรูป หมายถึง กองหรือส่วนของรูปร่างหน้าตา หรือร่างกาย หรือฝ่ายตัวตน รูปขันธ์ ถ้ายังไม่กระจ่างว่าเป็นอย่างไรกันแน่ ก็ให้นึกภาพของคนที่เพิ่งตายใหม่ๆที่มีร่างกายสมบูรณ์อยู่ยังไม่แตกสลาย นั่นแหละส่วนหรือกองของรูปหรือรูปขันธ์แท้ๆล้วนๆ ที่เมื่อยังไม่อิงหรือไม่เป็นเหตุปัจจัยประชุมร่วมกับขันธ์อื่นๆทั้ง ๔ ขันธ์ก็จะมีสภาพเป็นเพียงกลุ่มก้อนมายาของเหตุปัจจัยของธาตุทั้ง ๔ ซึ่งเป็นเพียง"สรีระยนต์" ที่นอนเป็นท่อนเป็นก้อนเฉยอยู่นั่นเอง, อายตนะภายในทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หรือทวาร ๖ อันคือประตูหรือช่องทางที่ใช้ติดต่อกับโลกภายนอกทั้ง ๖ ต่างก็ล้วนต้องแฝงอาศัยอยู่หรือเป็นส่วนหนึ่งของกองรูปขันธ์นี้นี่เอง (สมองก็เป็นส่วนหนึ่งของรูปขันธ์นั้น แต่ก็เป็นหทัยวัตถุ คือเป็นส่วนหนึ่งของใจหรือจิต คือเป็นวัตถุหรือเหตุปัจจัยอันหนึ่งของจิต แต่ก็ยังไม่ใช่จิต เพราะยังต้องประกอบด้วยเหตุอื่นๆ มาเป็นปัจจัยกันอีกด้วยนั่นเอง)
    พึงระวังสับสน ที่ในภายหน้าบางครั้ง เมื่อกล่าวถึงการทำงานประสานกันของขันธ์หรือก็คือกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ แล้ว มีคำว่า รูป ที่อาจหมายถึง สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จิตใช้เป็นอารมณ์คือเป็นที่กำหนดในขณะนั้น จึงอาจหมายถึงใน รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ทั้ง ๖ ใดๆก็ได้(คือสิ่งที่ถูกรู้หรือสัมผัสได้โดยอายตนะภายใน) จึงครอบคลุมได้ถึง รูปหรือภาพที่เห็นด้วยจักษุ หรืออาจหมายถึงเสียงที่ได้ยินนั้น หรือกลิ่นที่ได้ดมนั้น หรือรสที่ได้ลิ้มสัมผัสนั้นๆ ฯ. ได้เช่นกัน
    ๒. เวทนาขันธ์ การเสวยอารมณ์, ความรู้สึก, ความรู้สึกที่เกิดจากการรับรู้ในรสของอารมณ์(Feeling) คือความรู้สึกรับรู้ที่ย่อมเกิดขึ้นจากสิ่งที่จิตกำหนดหมาย หรือยึด หรือกระทบนั้นๆ จึงหมายถึง กองหรือหมวดหมู่ของชีวิตที่ทำหน้าที่ เสพเสวยในรสชาดของสิ่งต่างๆที่เป็นอารมณ์ กล่าวคือ ความรู้สึกที่ย่อมต้องเกิดขึ้น จากการเสพเสวยหรือรับรู้ในสิ่ง(อารมณ์)ต่างๆที่กระทบสัมผัส(ผัสสะ) พระองค์ท่านแบ่งความรู้สึก(Feeling)ของเวทนา ออกเป็น ๓ อันมี
    สุขเวทนา ความรู้สึก สุขสบาย ถูกใจ สบายใจ ชอบใจ จึงครอบคลุมทั้งฝ่ายกายและจิต หรือที่เรียกความรู้สึกชนิดนี้กันโดยทั่วไปว่า สุข นั่นเอง
    ทุกขเวทนา ความรู้สึก ลำบาก, ความรู้สึกเจ็บปวด, ความรู้สึกเป็นทุกข์, การเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย ไม่ถูกใจ ไม่ชอบใจ อันครอบคลุมทั้งกายและจิตเช่นกัน หรือที่เรียกความรู้สึกชนิดนี้กันโดยทั่วไปว่า ทุกข์ นั่นเอง
    อทุกขมสุขเวทนา ความรู้สึก ไม่สุขไม่ทุกข์ คือ เฉยๆ เรียกอีกอย่างว่า อุเบกขาเวทนา
    พระไตรปิฏกในภายหลัง พระอรรถกถาจารย์ได้จำแนกแตกธรรมออกเป็น ๕ ก็มี เพื่อแยกแยะให้เห็นเวทนา เป็นฝ่ายกายและฝ่ายจิตให้ชัดเจนขึ้น จึงได้จำแนกเพิ่มเติมเป็น สุข-สบายกาย๑ ทุกข์-ไม่สบายกาย๑ โสมนัส-สบายใจ๑ โทมนัส-ไม่สบายใจ๑ และอุเบกขา-เฉยๆ๑
    เวทนาในภาษาธรรม จึงไม่ใช่ความหมายในภาษาไทยหรือในทางโลก(โลกิยะ)ที่หมายถึง ความสงสาร, ความเจ็บปวด
    ๓. สัญญาขันธ์ หมายถึง ส่วนหรือกองของชีวิตที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ ความจำได้ ความทรงจำ ตลอดจนครอบคลุมถึงการหมายรู้ การกำหนดหมาย ปัญญา การประเมินข้อมูล ฯ. จึงย่อมเกิดจากการสั่งสม จดจำประมวลผลตั้งแต่อดีตหรือแต่อ้อนแต่ออกจวบจนปัจจุบัน อันย่อมใช้สมองส่วนหนึ่งในการบันทึกเก็บจำ ซึ่งย่อมมีข้อมูลอย่างมากมายมหาศาล จนเกินกว่าที่จำได้ทั้งปวงในขณะจิตหนึ่งๆ สัญญาหรือฝ่ายความจำได้,หมายรู้จึงต้องทำงานหรือเกิดขึ้นในลักษณะเกิดดับ..เกิดดับๆ...ดังนี้อยู่เสมอๆ กล่าวคือ เกิดคือจำขึ้นมาได้ แล้วก็ดับคือลืมลงไปนั่นเอง เป็นไปดังนี้เสมอๆ ดังเช่นผู้เขียนเอ่ยคำว่าแม่ ท่านก็เกิดสัญญาจำได้ในแม่ขึ้นมาทันที ตั้งอยู่ระยะหนึ่ง แล้วก็ดับไป จึงเกิดแล้วดับ เกิดดับๆๆ..ในลักษณาการนี้อยู่เสมอๆ, ดังนั้นสมองอันเป็นส่วนหนึ่งหรืออาศัยอยู่ในรูปขันธ์ จึงถูกจัดเป็นหทัยวัตถุอันเป็นเหตุปัจจัยอย่างหนึ่งของจิต แต่ก็อย่าเข้าใจผิดไปว่าจิตคือสมอง เพราะจิตก็ไม่ได้เกิดแต่เหตุคือสมองแต่อย่างเดียว เพราะจิตก็ยังเกิดแต่มีเหตุอื่นๆมาเป็นปัจจัยปรุงแต่งอีกเช่นกัน
    น่าสังเกตุว่าการเกิดคือชาติของสัญญาขันธ์หรือสัญญานั้น เป็นไปได้หลายลักษณะ ดังเช่น เจตนาด้วยตนเองขึ้นมาบ้าง๑ เกิดขึ้นเมื่อมีการผัสสะคือกระทบกับสิ่งนั้นๆคือสิ่งเร้าบ้าง๑ หรือแม้แต่ผุดลอยขึ้นมาเองบ้าง๑ ทั้ง ๓ ต่างล้วนเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติอย่างหนึ่งของชีวิต และจำเป็นยิ่งในการดำเนินชีวิตหรือดำรงขันธ์อีกด้วย ไม่มีเสียก็อยู่ไม่ได้ตามปกติเสียอีกด้วย
    ๔. สังขารขันธ์ หมายถึง กองหรือส่วนของผล ที่เกิดขึ้นจากขันธ์ต่างๆมาเป็นเหตุปัจจัยกัน กล่าวคือเกิดผลเป็นการกระทำต่างๆขึ้น กล่าวคือ เป็นสิ่งปรุงแต่งทางใจให้เกิดการกระทำ(กรรม)ทางกาย, วาจา, ใจ กล่าวคือ เกิดเจตนาที่จะกระทำหรือกรรมทางกาย วาจา ใจต่างๆขึ้นมา เช่นการกระทำทางกายทุกๆอย่าง เช่นเดิน นอน กิน นั่ง อุจจาระ ปัสสาวะ ฯ. ทางวาจาหรือวจีสังขาร เช่นการพูด การคุย การอุทานต่างๆ การด่าทอต่อว่า ฯ. หรือทางใจที่เรียกกันว่ามโนสังขารบ้าง จิตสังขารบ้าง เช่น ความคิด ความนึกต่างๆนาๆขึ้น อันล้วนย่อมป็น ผล ที่เกิดขึ้นจากการเป็นเหตุปัจจัยปรุงแต่งกันร่วมกับขันธ์อื่นๆ หรือจากการผัสสะต่างๆขึ้นนั่นเอง, อนึ่งพึงระวังความสับสนจากความเคยชินในภาษาไทย ที่มักใช้คำว่า สังขารในความหมายว่าสังขารกายหรือร่างกายด้วย
    ๕. วิญญาณขันธ์ ความรู้แจ้งในอารมณ์ พอที่จะกล่าวแสดงในแบบทางโลกให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นได้ว่า หมายถึงกองหรือหมวดหมู่ของระบบประสาททั้งปวงนั่นเอง กล่าวคือ วิญญาณมีหน้าที่ ในการรับรู้ คือรู้แจ้งในอารมณ์คืออายตนะภายนอกทั้งหลายที่จรหรือเกิดการกระทบนั้น ก็คือเป็นสิ่งที่ทำหน้าที่ดั่งระบบประสาทในการสื่อสารต่อเหล่าอายตนะภายนอกทั้งหลายที่จรมากระทบ และแม้แต่ถ่ายทอดข้อมูลต่างๆของชีวิตคือระหว่างขันธ์ต่างๆทั้ง ๕ ด้วยกัน กล่าวคือ ขันธ์ต่างๆล้วนมีการเชื่อมสื่อสารประสานสัมพันธ์หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างขันธ์ด้วยกัน และทั้งต่อเหล่าอายตนะภายนอกทั้งหลายที่จรมากระทบด้วย ก็ล้วนต้องอาศัยวิญญาณนี้นี่เอง
    การรู้แจ้งในอารมณ์ ของวิญญาณนั้น ต้องทำความเข้าใจกันเล็กน้อย การรู้แจ้งนี้ มิได้หมายถึงความรู้ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งทางด้านปัญญาแต่ประการใด เป็นเพียงแค่การรับรู้ ในภาพ ในเสียง ในกลิ่น ในรส ฯ.(อายตนะภายนอก)ที่มากระทบต่างๆเท่านั้น ยังไม่ประกอบไปด้วยความรู้,ความเข้าใจต่างๆใดๆที่หมายถึงปัญญาในสิ่งที่ไปกระทบนั้นๆ, และวิญญาณมักถูกเข้าใจแบบโลกิยะคือแบบโลกๆแต่ฝ่ายเดียว จึงมักถูกเข้าใจผิดด้วยมายาของจิตมาตั้งแต่เริ่มรู้ความ และด้วยตำนานเล่าขานที่ถ่ายทอดสืบต่อกันอย่างแรงกล้ามาอย่างช้านาน จนเป็นทิฏฐุปาทานและสีลัพพตุปาทานของปุถุชนกล่าวคือ เมื่อกล่าวถึงวิญญาณ มักจะเข้าใจในวิญญาณโดยนัยไปว่า เป็นดังเจตภูต หรือปฏิสนธิวิญญาณ ที่หมายถึงวิญญาณที่ลอยละล่องท่องเที่ยวหาที่เกิด หรือหมายถึง วิญญาณที่ท่องเที่ยวไปในภพน้อยใหญ่และปรภพในลักษณะสัมภเวสี หรือโอปปาติกะ หรือกายทิพย์ หรือเทวดา ฯ.
    วิญญาณในขันธ์ ๕ หรือปฏิจจสมุปบาทธรรม เป็นวิญญาณที่ต้องกล่าวกันอย่างโลกุตระหรือภาษาธรรม มิฉนั้นจะไม่สามารถเข้าใจในธรรมอย่างปรมัตถ์หรือโลกุตระได้เลย กล่าวคือเมื่อพิจารณาธรรมในลักษณะธัมมวิจยะอันจัดเป็นสัมมาทิฏฐิของอริยะอันควรปฏิบัติยิ่ง, วิญญาณนั้นหมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่ในการสื่อสารเชื่อมสัมพันธ์กันภายในขันธ์ทั้ง ๕ หรือระบบประสาทดังกล่าวข้างต้น ดังนั้นจึงเรียกชื่อของวิญญาณเฉพาะเจาะจงแตกต่างกันไปตามอายตนะภายในอันที่เป็นที่เกิดหรือแดนเกิด กล่าวคือในผู้ที่ยังดำรงขันธ์หรือชีวิตอยู่ วิญญาณย่อมเกิดขึ้นทุกครั้งเมื่อมีการกระทบกันของอายตนะภายนอกกับอายตนะภายใน เป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติของชีวิตหรือชีวิตตินทรีย์ที่เป็นปรกติ ที่ย่อมต้องเป็นไปเช่นนี้เองเป็นธรรมดา เป็นอสังขตธรรมอันเที่ยงแท้และทนต่อกาล อยู่อย่างนี้เอง จึงนำมาเขียนเป็นกระบวนธรรม เพื่อให้พิจารณาได้ง่าย ได้ดังนี้ว่า​
    อายตนะภายนอก [​IMG] อายตนะภายใน [​IMG] วิญญาณ
    จึงมีวิญญาณทั้งสิ้น ๖ แบบ ตามอายตนะภายในทั้ง ๖ ที่เป็นแดนเกิดนั่นเอง จึงเรียกรวมกันว่า วิญญาณ ๖ , การเรียกชื่ออย่างเฉพาะเจาะจงลงไปโดยสมมตินั้น เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังพระดำรัสที่ตรัสแสดงไว้ในฉฉักกสูตร หรือในมหาตัณหาสังขยสูตร ความดังนี้ว่า
    [๔๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย​
    วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ
    วิญญาณ อาศัยจักษุและรูปทั้งหลาย เกิดขึ้น(ชาติ) ก็ถึงความนับว่าจักษุวิญญาณ (ได้เกิดขึ้น กล่าวคือเกิดการรู้แจ้งในอารมณ์อันคือรูป หรือรับรู้ในรูป)
    วิญญาณ อาศัยโสตและเสียงทั้งหลาย เกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าโสตวิญญาณ (เกิดการรู้แจ้งในอารมณ์อันคือเสียง หรือรับรู้ในเสียง)
    วิญญาณ อาศัยฆานและกลิ่นทั้งหลาย เกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าฆานวิญญาณ (เกิดการรู้แจ้งในกลิ่น หรือรับรู้ในกลิ่น)
    วิญญาณ อาศัยชิวหาและรสทั้งหลาย เกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าชิวหาวิญญาณ (เกิดการรู้แจ้งในลิ้น หรือรับรู้ในลิ้น)
    วิญญาณ อาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลาย เกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ากายวิญญาณ (เกิดการรู้แจ้งในกาย หรือรับรู้ในกาย)
    วิญญาณ อาศัยมนและธรรมารมณ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ามโนวิญญาณ (เกิดการรู้แจ้งในธรรมารมณ์ หรือรับรู้ในธรรมารมณ์)
    เปรียบเหมือนไฟอาศัยเชื้อใดๆ ติดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยเชื้อนั้นๆ
    ไฟอาศัยไม้ ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟไม้
    ไฟอาศัยป่าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟป่า
    ไฟอาศัยหญ้าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟหญ้า
    ไฟอาศัยโคมัยติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟโคมัย
    ไฟอาศัยแกลบติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟแกลบ
    ไฟอาศัยหยากเยื่อติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟหยากเยื่อ ฉันใด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ
    ดังนั้นการโยนิโสมนสิการในขันธ์ ๕ หรือปฏิจจสมุปบาทธรรม หรือในธรรมใดอย่างปรมัตถ์หรือโลกุตระแล้ว วิญญาณย่อมต้องหมายถึงความเป็นวิญญาณ ๖ ดังพระสูตรข้างต้น อย่าได้ไปตีความไปในลักษณะของเจตภูต หรือปฏิสนธิวิญญาณที่ลอยละล่องแสวงหาที่เกิด หรือภูตผีปีศาจ หรือสัมภเวสี หรือโอปปาติกะ ดังความเข้าใจโดยทั่วๆไปอย่างโลกิยะ อันย่อมจะไม่สามารถโยนิโสมนสิการจนเกิดธรรมสามัคคคีให้แจ่มแจ้งในธรรมนั้นๆได้เลย กล่าวคือ ในผู้ที่ยังดำรงขันธ์หรือชีวิตอยู่ วิญญาณนั้นๆเกิด(ชาติ)ขึ้นจากเหตุปัจจัยของ อายตนะภายนอก กระทบกับ อายตนะภายใน ใดๆ ก็ย่อมเกิดวิญญาณของอายตนะภายในนั้นๆขึ้นเป็นธรรมดาหรือตถตา กล่าวคือย่อมเกิดวิญญาณตามอายตนะภายในนั้นๆคือ จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ หรือกล่าวได้ว่า จิตหนึ่งย่อมมีการเกิด(ชาติ)ขึ้นเป็นธรรมดา ในกิจนั้นๆ
    เมื่อพิจารณาโดยแยบคาย ก็จะพบความจริงยิ่งไปอีกว่า วิญญาณจึงมีสภาวะผลัดกันเกิดดับๆอยู่ตลอดเวลา เป็นอนัตตาไม่มีตัวตนแท้จริง เหมือนดั่งเงา กล่าวคือเมื่อมีเหตุปัจจัยครบ ก็เกิดขึ้น จึงเกิด(ชาติ)วิญญาณขึ้นเมื่อมีการกระทบกันของอายตนะภายนอกและภายใน และเป็นวิญญาณที่เกิดขึ้นเฉพาะกิจนั้นๆ แล้วก็ดับไป จริงหรือไม่จริง? (บางทีก็จำแนกแตกธรรมว่า จิต คือวิญญาณขันธ์ นี้นี่เอง)
    ขันธ์ทั้ง ๕ นี้ ทำงานประสานสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น กล่าวคือขันธ์ต่างๆอันเป็นคนละกอง คนละส่วนกันนั้น เมื่อจะสื่อสารติดต่อสัมพันธ์กันได้ แม้แต่การสื่อกับเหล่าอายตนะภายนอกคือ รูป รส กลิ่น ฯ. ก็ด้วยต้องอาศัยสื่อหรือตัวกลางเป็นสำคัญ ในขันธ์ ๕ หรือชีวิต สื่อหรือตัวกลางนั้นก็คือกอง วิญญาณ นี้นี่เอง เป็นสภาวธรรมของชีวิต กล่าวง่ายๆก็คือ มีชีวิตหรือขันธ์อยู่ได้ ก็เพราะกระบวนการทำงานของขันธ์ทั้ง ๕ นี้นี่เอง ที่ทำงานกันอย่างเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันตามหลักปฏิจจสมุปบันธรรม ซึ่งเมื่อขันธ์ใดแม้ขันธ์หนึ่งไม่ทำงานประสานสัมพันธ์เป็นเหตุปัจจัยกันเมื่อใด ก็เป็นเวลาของการอาพาธเจ็บป่วย แม้จนถึงกาละหรือความตายได้นั่นเอง อันอุปมาได้ดั่งรถ ที่ย่อมประกอบด้วยขันธ์ที่แปลว่ากองหรือส่วนต่างๆ ดังเช่น ส่วนตัวถัง ส่วนเครื่องยนต์ ส่วนระบบขับเคลื่อน ส่วนระบบล้อ ส่วนระบบเบรค ส่วนระบบไฟฟ้า ฯ. ที่เมื่อยังไม่เป็นเหตุปัจจัยปรุงแต่งหรือประกอบกันขึ้น ก็ยังไม่เรียกว่ารถ แต่เมื่อนำมาประกอบกัน กล่าวคือ เมื่อเป็นเหตุปัจจัยปรุงแต่งกันขึ้นแล้วจึง เกิดหรือชาติ สิ่งที่เรียกกันโดยสมมติทางโลกว่า รถ แต่ถ้าสิ่งที่ปรุงแต่งกันเหล่านั้นไม่ทำงานประสานสอดคล้องเนื่องสัมพันธ์กันอย่างดีงามเสียแล้ว รถ นั้นก็ย่อมไม่สามารถทำงาน คือย่อมแล่นไม่ได้ ที่เรียกกันโดยสมมติว่า รถเสีย รถดับ หรือรถตาย, ขันธ์ ๕ ก็เป็นไปเฉกเช่นนั้นเอง ถ้าขันธ์ทั้ง ๕ ไม่ทำงานประสานเนื่องสัมพันธ์กันอย่างถูกต้องดีงามก็ย่อมเป็นเวลาของการอาพาธเจ็บป่วย หรือตายนั่นเอง
    ด้วยความสำคัญยิ่งดังนี้ของขันธ์ทั้ง ๕ ดังกล่าว พระองค์ท่านจึงตรัสไว้ว่าขันธ์ ๕ เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ ตลอดจนเกี่ยวข้องพัวพันกับความรู้สึกสุขทุกข์โดยตรงอีกด้วย จึงแสดงกระบวนธรรมหรือกระบวนการทำงานของขันธ์ทั้ง ๕ โดยทั่วๆไปเป็นพื้นฐาน แสดงในลักษณะรูปแบบของกระบวนการเนื่องสัมพันธ์กันดังปฎิจจสมุปบาทธรรม หรือดังทางวิชาเคมีที่เล่าเรียนกันในทางโลก แล้วขอเรียกว่ากระบวนธรรม เหตุเพราะทำให้ง่ายต่อการพิจารณาไล่เรียงให้เห็นความจริงของขันธ์ทั้ง ๕ อย่างปรมัตถ์ เพื่อจักได้เกิดความแจ่มแจ้งในธรรมต่างๆในภายหน้า เพื่อใช้ไปในการวิปัสสนาเพื่อการดับทุกข์อย่างถูกต้อง (ชี้ที่เครื่องหมาย มีคำอธิบายประกอบปรากฏขึ้น)
    อายตนะภายนอก [​IMG] อายตนะภายใน [​IMG] วิญญาณ๖ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] สัญญา [​IMG] เวทนา [​IMG] สัญญา [​IMG] สังขารขันธ์ เกิดเจตนากระทำทางกายสังขาร(ทางกาย),วจีสังขาร(ทางวาจา),มโนสังขาร(ทางใจ)
    นี้เป็นกระบวนธรรมของการทำงานประสานเนื่องสัมพันธ์กัน หรือเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันของขันธ์ทั้ง ๕ โดยทั่วไป จนเกิดสังขารขันธ์หรือการกระทำต่างๆขึ้นของชีวิต โดยสมมติแบบย่นย่อดังข้างต้น
    ครานี้จะโยนิโสมนสิการโดยแยบคาย โดยยกตัวอย่างการทำงานแบบเฉพาะเจาะจงของอายตนะหนึ่งๆลงไป ดังเช่น ตา(จักษุ,จักขุ) อันเป็นอายตนะภายในและย่อมเป็นส่วนหนึ่งของรูปขันธ์หรือกาย ที่จะไปทำหน้าที่ในการรับรู้ใน รูป ที่หมายถึงอายตนะภายนอก อย่างเป็นไปโดยลำดับขั้น พึงพิจารณาโดยแยบคายตามความเป็นเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้นไปด้วย เพราะยังประโยชน์ยิ่งในภายหน้าทั้งต่อขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาทธรรม แม้แต่สังขารทั้งปวงในพระไตรลักษณ์ ฯ.
    อนึ่งพึงพิจารณาประกอบตามไปด้วยว่า โดยหลักใหญ่ใจความแล้วกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ดังที่จะกล่าวต่อไปนั้น เป็นไปในลักษณะธรรมชาติของชีวิตแท้ๆ ที่หมายถึงเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติของชีวิต จึงเที่ยงแท้และทนต่อทุกกาล เพราะความที่เป็นอสังขตธรรมนั่นเอง จึงหมายถึง การเกิดความเป็นเหตุปัจจัยกันโดยพื้นฐานดังนี้กับทุกๆคนหรือก็คือทุกๆขันธ์หรือชีวิตนั่นเอง จึงเกิดขึ้นและเป็นไปกับทุกคนบุคคลเขาเราเป็นธรรมดาหรือตถตา จริงหรือไม่? ดังเช่นเมื่อ
    ตา(อายตนะภายใน) เมื่อกระทบกับ รูป(อายตนะภายนอก) ย่อมต้องเกิดการรู้ใน รูป นั้นหรือเรียกกันว่า การรู้แจ้งในรูปนั้น หรือวิญญาณ เมื่อเป็นวิญญาณที่เกิดจากจักษุหรือตาเป็นปัจจัย จึงมีชื่อเรียกเฉพาะโดยสมมติตามที่ตกลงกันแล้วว่า จักษุวิญญาณ พิจารณาในอาการที่เกิดขึ้นนี้ ย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาในผู้มีชีวิตอยู่ จะไม่ให้เกิด ไม่ให้เห็น ย่อมไม่ได้ จึงเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติของชีวิตดังที่กล่าวข้างต้น กล่าวคือถ้าขันธ์หรือชีวิตยังดำรงอยู่ ย่อมต้องเกิดการเห็นในรูปนั้น อันเนื่องจากจักษุวิญญาณเป็นธรรมดา การไม่เห็นจะเกิดขึ้นได้เมื่อปิดตา(เช่นการสำรวม) ตาบอดหรืออายตนะนั้นๆไม่สมบูรณ์ หรือถึงกาละ(ตาย)แล้วเท่านั้นเอง ไม่เป็นอื่นไปได้ ที่เป็นดั่งนี้ได้ก็เพราะเนื่องมาจากเหตุปัจจัยไม่ครบองค์นั่นเอง​
    เมื่อนำมาเขียนแสดงสภาวธรรมหรือกระบวนธรรมที่เกิดขึ้นดังกล่าว ในแบบปฏิจจสมุปบันธรรมที่แสดงความเป็นเหตุปัจจัยที่เนื่องสัมพันธ์กันให้เกิดสิ่งอื่นขึ้น แต่เนื่องจากแสดงการเกิดดับๆๆ..ของขันธ์ ๕ ธรรมดา จึงย่อมไม่เป็นวงจรเหมือนดังวงจรปฏิจจสมุปบาทที่พาให้วนเวียนหรือเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏหรือกองทุกข์, ดังนั้นจึงแสดงในลักษณาการของสมการของกระบวนธรรม ก็ด้วยจุดประสงค์อย่างยิ่งเพื่อให้เห็นการดำเนินเกิดขึ้นและเป็นไปอย่างเป็นระบบเหมือนดังที่แสดงเป็นวงจรในปฏิจจสมุปบาทธรรมนั่นเอง ที่แสดงถึงมีเหตุจึงเนื่องหรือเป็นปัจจัยให้เกิดผลขึ้น เพื่อความสะดวกในการพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงในสภาวธรรมของชีวิตหรือขันธ์ ๕ ขั้นพื้นฐานอย่างปรมัตถ์เป็นที่สุด
    ดังนั้นจึงแสดงกระบวนธรรมหรือสภาวธรรมที่เกิดขึ้นของ ตา กระทบกับ รูป ที่กล่าวข้างต้น มาแสดงเป็นลำดับตั้งแต่เบื้องต้น ดังนี้
    ตา [​IMG] รูป [​IMG] จักษุวิญญาณ ย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาของชีวิต [​IMG]
    แล้วการประจวบกันครบของเหตุปัจจัยทั้ง ๓ อันมี อายตนะภายใน [​IMG] อายตนะภายนอก [​IMG] วิญญาณ ข้างต้น พระองค์ท่านเรียกในภาษาธรรมว่าผัสสะ กล่าวคือ อาการที่เหตุทั้ง ๓ ข้างต้นมาเป็นปัจจัยกันนั่นเอง ดังนั้น
    ตา [​IMG] รูป [​IMG] จักษุวิญญาณ จึงเรียกว่าเกิดการผัสสะ หรือกล่าวได้ว่า เกิดการกระทบสัมผัสที่ครบองค์ให้กระบวนธรรมของชีวิตดำเนินต่อไป
    จึงนำมาแสดงเขียนเป็นกระบวนธรรม ย่อลงไปอีกหน่อย ได้ดังต่อไปนี้
    ตา [​IMG] รูป [​IMG] จักษุวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG]
    ส่วนในอายตนะอื่นๆอีก ๕ ก็เป็นไปในลักษณะอาการเดียวกันทั้งสิ้น ดังนี้
    หู [​IMG] เสียง [​IMG] โสตวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG]
    จมูก [​IMG] กลิ่น [​IMG] ฆานวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG]
    ลิ้น [​IMG] รส [​IMG] ชิวหาวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG]
    กาย [​IMG] โผฏฐัพพะ [​IMG] กายวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG]
    มโน(ใจ) [​IMG] ธรรมารมณ์ [​IMG] มโนวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG]
    กล่าวคือ เกิดกระบวนธรรมของการกระทบกัน(ผัสสะ)เยี่ยงนี้อยู่เกือบตลอดเวลาที่ดำรงขันธ์หรือชีวิตอยู่ แล้วกระบวนธรรมหรือสภาวธรรมอันเป็นไปตามธรรมชาติ ก็ย่อมต้องดำเนินต่อเนื่องไปจนกว่าจะจบสิ้นกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ อุปมาดั่งลูกศร ที่ยิงออกจากแหล่งแล้ว จะไปค้างเติ่งอยู่กลางอากาศได้อย่างไร ย่อมต้องบรรลุถึงเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งจึงหยุดหรือจบสิ้นกระบวนความหนึ่งๆไปได้ กระบวนธรรมของจิตก็เป็นเฉกเช่นนั้นเอง จึงเกิดการดำเนินไปตามธรรมหรือธรรมชาติสืบเนื่องต่อไป กล่าวคือย่อมเกิดสัญญาหรือความจำได้ในรูปนั้นๆขึ้นมาเป็นธรรมดาของชีวิตอีกเช่นกัน ไม่ให้เกิดสัญญาการจำขึ้นมาในลักษณะควบคุมบังคับไม่ให้จำย่อมเป็นไปไม่ได้ กล่าวคือจึงจดจำได้ในรูปที่เห็นนั้นว่าเป็นอะไร! อย่างไร! เป็นอาทิ ดังเช่น ตา ไปกระทบกับ อาหาร (อาหารที่เห็นจัดเป็นอารมณ์ ณ ขณะนั้นของจิต จึงทำหน้าที่เป็นรูปในกระบวนธรรมของขันธ์ทั้ง ๕) จึงย่อมรู้ว่าเป็นอาหารอะไร อร่อยหรือไม่อร่อย เป็นไปตามสัญญาตนที่สั่งสมไว้นั่นเอง
    ตา [​IMG] รูป(อาหาร) [​IMG] จักษุวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] สัญญา(ย่อมจำได้ในอาหารนั้นว่าเป็นอาหาร พร้อมทั้งจำอะไรๆในอาหารนั้นได้ อร่อย ไม่อร่อย หวาน ขม อมเปรี้ยว ฯ.)
    เมื่อมีความจำได้ในอาหารนั้น จึงย่อมเกิดเวทนาหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการไปรับรู้ในอารมณ์หรือรูปที่เห็นนั้น เกิดขึ้นเป็นธรรมดา และก็เนื่องจากสัญญาความจำได้ในอาหารนั้น ที่เกิดขึ้นนี้นี่เอง จึงก่อให้เกิดความรู้สึกรับรู้หรือเสวยอารมณ์นั้นๆ(เวทนา)เป็นสุขเวทนา อันถูกใจ สบายใจ ด้วยจำได้ จึงเป็นสุขในอาหารที่ผัสสะนั้น หรืออาจเกิดทุกขเวทนาในอาหารที่เห็นนั้น เนื่องจากไม่ชอบ ไม่สบายใจ ด้วยจำได้ จึงเป็นทุกข์กับการผัสสะในอาหารนั้น หรืออาจเกิดอทุกขมสุขกับอาหารที่เห็นนั้น กล่าวคือเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์กับอาหารที่เห็นนั้น แต่จะไม่ให้เกิด ไม่ให้มีย่อมไม่ได้ เนื่องด้วยเป็นสภาวธรรมของชีวิตหรือธรรมชาติของชีวิตในการรับรู้สัมผัสต่อสิ่งต่างๆ จึงยิ่งใหญ่และต้องเป็นเช่นนี้เอง
    บางท่านอาจพิจารณาแล้วเข้าใจว่า บางครั้งเมื่อเกิดการผัสสะแล้ว อาจไม่เกิดเวทนาขึ้นก็ได้ แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ ตามความจริงอย่างปรมัตถ์แล้ว นั่นก็คืออทุกขมสุขเวทนาหรืออุเบกขาเวทนานั่นเอง แต่เพราะแผ่วเบา จึงคิดไปด้วยอวิชชาว่าไม่มีหรือไม่เกิดเวทนาขึ้น, ดังนั้นทุกครั้งที่มีการกระทบผัสสะล้วนต้องเกิดเวทนาขึ้นทุกครั้งทุกทีไป กล่าวคือ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง หรือเฉยๆบ้าง อันขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยอันสำคัญคือสัญญา, จึงนำมาเขียนเป็นกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ สืบต่อไปดังนี้ (ต้องการทราบรายละเอียดในเวทนา อันเป็นบาทฐานของเวทนานุปัสสนาเพิ่มเติม อ่านบท เวทนาในภายหลัง)
    ตา [​IMG] รูป(อาหาร) [​IMG] จักขุวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] สัญญา(จำได้) [​IMG] เวทนา ย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
    ส่วนการผัสสะในอายตนะอื่นๆ ก็เป็นไปในลักษณะเฉกเช่นเดียวกันทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้เองในพระไตรปิฎกจึงมักกล่าวถึงอายตนะทั้ง ๖ พร้อมกัน, ทั้งกล่าวเหมือนๆกัน, อยู่เนืองๆ, เป็นอเนก ก็เพราะเน้นแสดงการเกิดกระบวนธรรมที่เป็นไปในลักษณะอาการเดียวกันของอายตนะทั้ง ๖ นั่นเอง จึงเป็นไปดังนี้
    หู [​IMG] เสียง [​IMG] โสตวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] สัญญา(จำได้) [​IMG] เวทนา
    จมูก [​IMG] กลิ่น [​IMG] ฆานวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] สัญญา(จำได้) [​IMG] เวทนา
    ลิ้น [​IMG] รส [​IMG] ชิวหาวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] สัญญา(จำได้) [​IMG] เวทนา
    กาย [​IMG] โผฏฐัพพะ [​IMG] กายวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] สัญญา(จำได้) [​IMG] เวทนา
    พึงพิจารณาในกระบวนธรรมที่อาศัยอายตนะทั้ง ๕ โดยแยบคาย(โยนิโสมนสิการ) ให้จนเห็นความจริงยิ่งว่า เป็นไปดังนั้นจริงๆหรือไม่? เป็นอื่นไปได้ไหม?
    การพิจารณามาถึงตรงนี้แล้ว ขอให้พิจารณาโดยละเอียดและแยบคายหรือนำไปพิจารณาในขณะเจริญวิปัสสนาโดยการโยนิโสมนสิการ จนมั่นคงด้วยว่า กระบวนธรรมดังกล่าวข้างต้นนั้น ล้วนต้องเกิดขึ้นเช่นนี้เป็นธรรมดา จริงหรือไม่? กับทุกชีวิตหรือไม่? กล่าวคือ ถ้าเมื่อใดที่มีเหตุปัจจัยครบดังนี้ หมายถึง เมื่อเหตุปัจจัยยังไม่ครบก็ยังไม่เกิดการปรุงแต่งจนเป็นสังขารอันไม่เที่ยงขึ้นแต่อย่างใด แต่เมื่อใดก็ตามที่ปรุงแต่งกันแล้วคือมีเหตุเป็นปัจจัยกันครบบริบูรณ์ดังนี้แล้ว ย่อมต้องเกิดปรากฏการณ์ขึ้นดังข้างต้น มีความเที่ยงเป็นอย่างนี้เป็นธรรมดา คงทนต่อทุกกาล(อกาลิโก)ใช่ไหม เพราะเป็นอสังขตธรรม กล่าวคือเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติ หรือความเป็นธรรมชาติของชีวิตอย่างหนึ่งนั่นเอง? จึงย่อมต้องเป็นเช่นนี้เองเป็นธรรมดาหรือตถตา
    โดยอาจลองเริ่มพิจารณาจากกายก็ได้ เช่น กาย [​IMG] โผฏฐัพพะ กล่าวคือ ลองตีแขนแรงๆ จะเกิดทุกขเวทนาทุกครั้งทุกทีไป (ถ้าตีเบา ก็อาจเป็นอทุกขมสุขเวทนา) เป็นเช่นนี้จริงหรือเท็จประการใด? จะห้ามไม่ให้เกิดธรรมชาติของการเกิดความรู้สึก ที่ย่อมเกิดขึ้นจากการรับรู้หรือก็คือเวทนาไปตลอดกาลนานได้หรือไม่เมื่อเกิดการผัสสะกันขึ้นดังกล่าว? พิจารณาโดยแยบคายย่อมเห็นความจริง ยอมรับความจริง แล้วนำไปประกอบการพิจารณาในอายตนะอื่นๆ แล้วจะทราบความจริงบางประการอื่นๆแจ่มแจ้งขึ้นเป็นลำดับ
    (สภาวะที่กล่าวเรื่อง อสังขตธรรม ท่านอ่านแล้วอาจสับสนบ้างเป็นธรรมดา เพราะเป็นธรรมอันลึกซึ้งที่เกี่ยวข้องกับพระอนัตตา สามารถศึกษาโดยละเอียดได้ในบทพระไตรลักษณ์ และอนัตตา)
    แล้วพึงนำความรู้ความเข้าใจที่ควรพึงบังเกิดขึ้นนั้น มาพิจารณาในอายตนะที่ ๖ คือ ใจ เมื่อกระทบกับ ธรรมารมณ์ เช่นความนึกคิด
    มโน(ใจ) [​IMG] ธรรมารมณ์ [​IMG] มโนวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] สัญญา(จำได้) [​IMG] เวทนา
    ดังนั้น เมื่อมีความคิดนึกหรือธรรมมารมณ์ขึ้น ย่อมต้องกระทบกับใจ จึงย่อมต้องเกิดเวทนาต่างๆขึ้นเป็นธรรมดาและย่อมเป็นไปตามธรรมคือสัญญา คือเกิดสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง หรืออทุกขมสุขเวทนาบ้าง ตามสัญญาตน ดังนั้นจะไม่ให้เกิดทุกขเวทนาดังกล่าว เป็นไปได้ไหมหนอ?
    ดังนั้นถ้ามัวเมาคิดนึกปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านอยู่ ย่อมเกิดการผัสสะทุกครั้งที่คิดปรุง
    จึงยังให้เกิดทุกขเวทนาหลากหลายขึ้น เป็นธรรมดา
    และเมื่อเวทนาต่างๆเหล่าใดเหล่านั้นที่เกิดจากการมัวเมาปรุงแต่งอันใดอันหนึ่ง เป็นเหตุปัจจัยให้เกิด ตัณหา [​IMG] อุปาทาน
    ทุกขเวทนาธรรมดา อันเป็นธรรม หรือธรรมชาติของชีวิตหรือของโลก
    จึงย่อมกลับกลายเป็นเวทนูปาทานขันธ์ คือเวทนาที่ประกอบด้วยอุปาทาน อันแสนเร่าร้อนเผาลนวนเวียนยาวนานแท้จริง
    ควรพิจารณาดังนี้อยู่เสมอๆ ด้วยความเพียร โดยอเนก โดยแยบคาย จนกระทั่งบังเกิดความรู้ความเข้าใจคือเกิดธรรมสามัคคีใดๆขึ้นอย่างแจ่มแจ้ง อันท่านจักพึงรู้ได้ด้วยตนเอง ดังเช่นว่า อ๋อ..มันเป็นเช่นนี้เอง อันทำให้ทั้งปัญญาหูตาสว่างไสวอันเป็นปัจจัตตัง
    เวทนานี้นี่เอง ที่เกิดขึ้นแล้วทำให้รู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉยๆที่เกิดขึ้น กล่าวคือ ที่ว่ากันว่า มีความสุขเสียเหลือเกิน ก็คือ สุขเวทนานี้นี่เองที่ประกอบด้วยอุปาทาน ที่ว่ามีทุกข์แสนสาหัสก็คือ ทุกขเวทนานี้นี่เองที่ประกอบด้วยอุปาทาน และที่ว่าเฉยๆก็หมายถึง อทุกขมสุขเวทนานี่เอง
    เมื่อเกิดเวทนาหรือความรู้สึกรับรู้ที่เกิดขึ้นจากการผัสสะ เช่น ตาไปกระทบอารมณ์หรือก็คือรูปนั้นแล้ว ย่อมเกิดกระบวนธรรมหรือธรรมชาติที่ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องดำเนินต่อไป กล่าวคือ ย่อมเกิดสัญญาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง สัญญาในครั้งนี้ที่เกิดขึ้น เป็นไปในลักษณาการของการหมายรู้ หมายเข้าใจ หรือการกำหนดหมายใดๆในรูปนั้นขึ้นเป็นธรรมดา
    ตา [​IMG] รูป(อาหาร) [​IMG] จักขุวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] สัญญา(จำได้) [​IMG] เวทนา [​IMG] สัญญา(หมายรู้หมายเข้าใจ หรือกำหนดหมาย เช่น หมายสรุปว่า รสชาดน่าอร่อย น่ารับประทาน)
    เมื่อเกิดการกำหนดหมายขึ้นแล้ว กระบวนธรรมย่อมดำเนินต่อไป กล่าวคือ จนเกิดผลอันคือสังขารขันธ์ขึ้น เป็นการกระทำทางกาย วาจา หรือใจ
    ตา [​IMG] รูป(อาหาร) [​IMG] จักขุวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] สัญญา(จำได้) [​IMG] เวทนา [​IMG] สัญญา(หมายรู้) [​IMG] สังขารขันธ์ ทางกายเรียกว่ากายสังขาร ทางวาจาเรียกว่าวจีสังขาร ทางใจเรียกว่ามโนสังขาร(จิตสังขาร,จิตตสังขาร)
    ดังตัวอย่างนี้ จึงเกิดจิตสังขารหรือมโนสังขารด้วยการงึมงัมอยู่ในใจขึ้นว่า น่าอร่อยจัง...น่ากินจัง..ฯลฯ. หรืออาจร่วมด้วยวจีสังขารอีกด้วยก็ยังได้ แสดงโดยการเปล่งวาจาออกมาว่า "น่ากินจังนะ ขอกินเลยนะ" พร้อมๆกันนั้นก็อาจลงมือทานอาหารนั้นๆ(กายสังขาร) กล่าวคือ จึงเกิดสังขารขันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือแม้ทั้ง ๓ ขึ้น
    สังขารขันธ์หรือสิ่งปรุงแต่งทางใจให้เกิดการกระทำต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้ จึงเป็นผลหรือผลลัพธ์ของกระบวนธรรมของขันธ์ทั้ง ๕ ที่เป็นเหตุปัจจัยกัน และในฝ่ายสังขารขันธ์ ที่แยกออกเป็น ๓ คือ ทางกาย วาจา ใจ นั้นเป็นไปตามสัญเจตนาหรือเจตนาอันเป็นความคิดอ่านที่จะกระทำนั่นเอง กล่าวคือ ถ้าแรงเข้มเด่นชัดก็อาจแสดงออกมาทางกายหรือวาจา หรืออาจเกิดเพียงความคิด อันเนื่องสัมพันธ์กับสัญญาหมายรู้,หมายกำหนดที่เกิดขึ้น ตลอดจนเจตนานั่นเอง จึงแสดงเป็นกระบวนธรรมของสังขารขันธ์เองได้ดังนี้​
    <TABLE style="MARGIN-TOP: 2mm; LINE-HEIGHT: 1.8; FONT-FAMILY: Tahoma" width=718 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=210>
    กายสังขาร
    </TD><TD width=260>
    = กายสัญเจตนา [​IMG]
    </TD><TD width=87>
    กายทวาร [​IMG]
    </TD><TD width=133>
    กายกรรม
    </TD></TR><TR><TD width=210> สภาพปรุงแต่งการกระทําทางกาย
    </TD><TD width=260>= ความคิดอ่านที่จงใจแสดงออกทางกาย
    </TD><TD width=87> ทางกาย
    </TD><TD width=133> การกระทําทางกาย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE style="LINE-HEIGHT: 1.8; FONT-FAMILY: Tahoma" width=719 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=210> วจีสังขาร
    </TD><TD width=260>= วจีสัญเจตนา [​IMG]
    </TD><TD width=87> วจีทวาร [​IMG]
    </TD><TD width=134> วจีกรรม
    </TD></TR><TR><TD width=210> สภาพปรุงแต่งการกระทําทางวาจา
    </TD><TD width=260>= ความคิดอ่านที่จงใจแสดงออกทางวาจา
    </TD><TD width=87> ทางวาจา
    </TD><TD width=134> การกระทําทางวาจา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE style="LINE-HEIGHT: 1.8; FONT-FAMILY: Tahoma" width=719 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=210 height=37> มโนสังขาร,จิตสังขาร
    </TD><TD width=261 height=37>= มโนสัญเจตนา [​IMG]
    </TD><TD width=86 height=37> มโนทวาร [​IMG]
    </TD><TD width=134 height=37> มโนกรรม
    </TD></TR><TR><TD width=210> สภาพปรุงแต่งการกระทําทางใจ
    </TD><TD width=261>= ความคิดอ่านที่จงใจแสดงออกทางใจ(คิด)
    </TD><TD width=86> ทางใจ
    </TD><TD width=134> การกระทําทางใจ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    กล่าวคือ เกิดสัญเจตนาหรือเจตนาที่แต่งการกระทำ(กรรม)ขึ้น (ในการจำแนกแตกธรรม บางครั้งผู้เขียนใช้คำว่า มโนสังขารหรือจิตแทนคำว่าสัญเจตนาเลยก็มี) เพราะเจตนาหรือสัญเจตนาก็เป็นส่วนหนึ่งของสังขารขันธ์ เป็นความคิดอ่านของจิตที่เจตนาจะกระทำในทางกาย วาจา ใจ
    ตา [​IMG] รูป(อาหาร) [​IMG] จักขุวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] สัญญา(จำได้) [​IMG] เวทนา [​IMG] สัญญา(หมายรู้) [​IMG] สัญเจตนา [​IMG] การกระทำทางกาย วาจา ใจ
    แต่บางครั้งต้องการแสดงเน้นให้เห็น มโน หรือใจที่เป็นตัวกลางหรือจิตกลางให้เกิดการกระทำต่างๆขึ้น จึงเขียนแสดงดังต่อไปนี้ก็มี
    ตา [​IMG] รูป(อาหาร) [​IMG] จักขุวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] สัญญา(จำได้) [​IMG] เวทนา [​IMG] สัญญา(หมายรู้) [​IMG] มโนสังขาร(สั่งการ) [​IMG] สังขารขันธ์ทางกาย วาจา ใจ​
    แต่โดยทั่วไปผู้เขียน เขียนกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ โดยย่อ เป็นดังนี้
    ตา [​IMG] รูป(อาหาร) [​IMG] จักขุวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] สัญญา(จำ) [​IMG] เวทนา [​IMG] สัญญา(หมายรู้) [​IMG] สังขารขันธ์ [สัญเจตนา --> กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม]
    บางครั้งก็แสดงสัญญาเพียงครั้งเดียว โดยผู้อ่านต้องหมายรู้อยู่ในทีว่า ย่อมมีสัญญา(จำ) ดังข้างต้นแฝงอยู่โดยธรรม ก็เพื่อย่อย่นแสดงเพียง ๕ ขันธ์ล้วนๆถ้วนๆได้ดังนี้
    ตา [​IMG] รูป(อาหาร) [​IMG] จักขุวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] เวทนา [​IMG] สัญญา [​IMG] สังขารขันธ์
    จึงพึงเข้าใจว่า ล้วนมาจากกระบวนธรรมตามรายละเอียดข้างต้นทั้งสิ้น ที่แตกต่างกันบ้าง เกิดจากต้องการจำแนกแตกธรรมให้เห็นรายละเอียดในเรื่องหรือธรรมที่กล่าวเฉพาะนั้นๆให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้นเอง มิได้มีความผิดพลาดในการสื่อแต่อย่างใด
    นอกจาก ตา ที่กระทบ รูป แล้ว ในอายตนะอื่นๆที่เหลือ ล้วนเกิดขึ้นและเป็นไปในลักษณาการเดียวกัน แม้แต่ใจ กระบวนธรรมที่เกิดขึ้นจึงเป็นไปเหมือนกันดังนี้
    หู [​IMG] เสียง [​IMG] โสตวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] เวทนา [​IMG] สัญญา [​IMG] สังขารขันธ์ [คือ สัญเจตนา [​IMG] กรรม]
    จมูก [​IMG] กลิ่น [​IMG] ฆานะวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] เวทนา [​IMG] สัญญา [​IMG] สังขารขันธ์
    ลิ้น [​IMG] รส [​IMG] ชิวหาวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] เวทนา [​IMG] สัญญา [​IMG] สังขารขันธ์
    กาย [​IMG] โผฏฐัพพะ [​IMG] กายวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] เวทนา [​IMG] สัญญา [​IMG] สังขารขันธ์
    ใจ [​IMG] ธรรมารมณ์ [​IMG] มโนวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] เวทนา [​IMG] สัญญา [​IMG] สังขารขันธ์
    หรืออาจแสดงโดยละเอียดขึ้นอีกได้ดังนี้ กล่าวคือแสดงรายละเอียดของเวทนาที่เกิดได้ทั้งต่อกายและใจ, และสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นได้ทั้งทางกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
    เวทนาทางกาย ทางกาย
    ใจ [​IMG] ธรรมารมณ์ [​IMG] มโนวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] สัญญาจํา [​IMG] [​IMG] สัญญาหมายรู้ [​IMG] สัญเจตนา [​IMG] กรรม [​IMG] ทางวาจา
    เวทนาทางใจ ทางใจ
    และถ้าโยนิโสมนสิการโดยแยบคาย ย่อมเห็นได้ว่า อายตนะหรือทวารทั้ง ๖ ต่างล้วนดำเนินเกิดขึ้นและเป็นไปในลักษณาการเดียวกัน จึงเป็นไปโดยสรุปได้ดังนี้​
    อายตนะภายนอก [​IMG] อายตนะภายใน [​IMG] วิญญาณ๖ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] เวทนาต่อกายและใจ [​IMG] สัญญา [​IMG] สังขารขันธ์ กายสังขาร,วจีสังขาร,มโนสังขาร
    ในการปฏิบัติจึงต้องมศีลคือข้อประพฤติปฏิบัติ เพื่อการสำรวม สังวร ในอายตนะภายในหรือทวารทั้ง ๖ เพราะต่างล้วนยังให้เกิดทั้งเวทนา และสัญเจตนาหรือเจตนาปรุงแต่งทางใจ ที่ยังให้เกิดการกระทำต่างๆขึ้น เช่น จิตสังขารประเภทคิดปรุงแต่ง จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการปรุงแต่งจนเป็นอุปาทานทุกข์ขึ้นในที่สุด อันเป็นไปตามสภาวธรรมตามวงจรปฏิจจสมุปบาท
    เมื่อพิจารณาโดยแยบคายจะเห็นได้ว่า ตลอดเวลาที่ดำรงขันธ์ ๕ หรือชีวิตอยู่นั้น ขันธ์ทั้ง ๕ ต่างต้องทำงานเป็นเหตุปัจจัยเนื่องสัมพันธ์กันอยู่ตลอดเวลา เป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตยิ่ง ขาดขันธ์ใดขันธ์หนึ่งไปก็เหมือนดั่งท่อนไม้หรือตายไป นอกจากนั้นแล้วความสุขความทุกข์ทั้งหลายที่เกิดขึ้น ก็ล้วนเกี่ยวข้องพัวพันกับขันธ์ ๕ นี้อยู่ตลอดเวลา กล่าวคือถ้ามีกิเลสตัณหามาพัวพันในขันธ์ทั้ง๕ แล้ว ก็จะทำให้เกิดความทุกข์ขึ้นอีกชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่ทุกขเวทนาธรรมดาที่แค่เป็นทุกข์ตามธรรมชาตอีกต่อไป แต่เป็นทุกขเวทนาที่ประกอบด้วยอุปาทานอันแสนเร่าร้อนเผาลนกว่าทุกขเวทนาตามธรรมชาติ ที่เรียกความทุกข์ชนิดนี้ว่า ทุกข์อุปาทาน หรือเป็นการดำเนินไปตามปฏิจจสมุปบาทธรรม คือการเกิดขึ้นแห่งทุกข์นั่นเอง
    เมื่อเข้าใจในขันธ์ ๕ แจ่มแจ้ง เข้าใจความเป็นเหตุปัจจัย ตลอดจนความเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติที่ตถตา อันย่อมเป็นเช่นนั้นเอง ย่อมยังประโยชน์ยิ่งในการโยนิโสมนสิการในปฏิจจสมุปบาทธรรม เพราะความจริงแล้วปฏิจจสมุปบาทก็คือกระบวนธรรมโดยละเอียดของขันธ์ ๕ ที่แสดงการดำเนินเกิดขึ้นของทุกข์เป็นลำดับพร้อมทั้งแสดงการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ในลักษณะความเป็นเหตุปัจจัยกันดังขันธ์ ๕ ที่แสดงนี้ เพียงแต่ว่า การลำดับองค์ธรรมอาจมีสลับที่แตกต่างกันออกไปบ้าง ก็เพียงเพราะความเหมาะสมในการขยายความหรือจำแนกแตกธรรมนั้นๆ นั่นเอง แต่กฏของธรรมหรือสภาวธรรมชาติแล้วก็ย่อมเป็นเช่นเดียวกัน จึงเหมือนกันทุกประการ ดังเช่นในขันธ์ ๕ นี้มีกล่าวไว้ถึงสภาวธรรมที่ว่า การประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓ อันมี อายตนะภายนอก อายตนะภายใน วิญญาณ จึงเกิดการผัสสะ ในปฏิจจสมุปบาทธรรมก็เป็นเช่นเดียวกัน ยังดำรงกฏของธรรมชาติดังเดิมเพราะย่อมจริงแท้อยู่อย่างนั้น กล่าวคือ เมื่อมีเหตุครบคือ องค์ธรรมสังขาร(ทำหน้าที่เป็นอายตนะภายนอกนั่นเอง) กับสฬายตนะ(ก็คืออายตนะภายใน) และวิญญาณที่ย่อมเกิดขึ้นเมื่อองค์ธรรมสังขารเกิดขึ้นเป็นธรรมดาเหมือนดังในกรณีขันธ์ ๕ ดังนั้นก็ย่อมครบองค์ของการเป็นเหตุปัจจัยของการผัสสะเช่นกัน เพียงแต่การเรียงลำดับจัดแสดงย่อมแตกต่างกันไปตามความสลับซับซ้อนของธรรมหรือเพราะการจำแนกแตกธรรมบ้างเท่านั้นเอง แต่เมื่อพิจารณาโดยแยบคายด้วยความเพียรแล้วก็จะทำความเข้าใจได้เป็นที่สุดว่าเป็นด้วยเหตุปัจจัยหรือเหตุผลเดียวกันจริงๆนั่นเอง, ส่วนสัญญาในขันธ์ ๕ นั้น เมื่อไปอยู่ในปฏิจจสมุปบาทก็อยู่ในรูปของอาสวะกิเลส อันคือสัญญาอย่างหนึ่งเพียงแต่นอนเนื่องเกลือกกลั้วด้วยกิเลสนั่นเอง, ดังนั้นเมื่อทำความเข้าใจในขันธ์ ๕ แจ่มแจ้งดีแล้ว จึงยังประโยชน์ยิ่งในการเจริญวิปัสสนา ในการโยนิโสมนสิการปฏิจจสมุปบาทธรรม หรือแม้แต่พระไตรลักษณ์เพราะการเห็นความเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันเกิดขึ้นได้ชัดแจ้ง ตลอดจนสักกายทิฏฐิ ฯลฯ.
    ขันธ์ ๕ ตามที่กล่าวมานี้ จึงเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติของชีวิต หมายความว่าสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของชีวิตโดยธรรมชาติ จึงย่อมเกิดขึ้นและเป็นไปกับผู้มีขันธ์ ๕ ทุกผู้คน ทั้งในปุถุชนและในพระอริยเจ้า เป็นขันธ์ที่ใช้ในการดำรงคงอยู่และดำเนินไปในชีวิต แต่ความแตกต่างกันระหว่างปุถุชนและพระอริยะก็คือ ขันธ์ ๕ ในปุถุชนดังที่กล่าวมานี้มักถูกครอบงำด้วยอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นด้วยกิเลสให้เป็นไปตามความพึงพอใจของตัวตน จึงยังให้เกิดอุปาทานขันธ์ ๕ หรือขันธ์ทั้ง ๕ ที่ประกอบด้วยอุปาทาน จึงหมายถึง ขันธ์ทั้ง ๕ ที่เกิดขึ้นและดำเนินเป็นไปดังข้างต้นแต่ล้วนแอบแฝงด้วยกิเลสที่ต้องการให้เป็นไปตามความพึงพอใจของตัวตนเป็นสำคัญ เมื่อไม่สมหวังก็ยังให้เกิดความทุกข์ที่เรียกว่า ทุกข์อุปาทาน ที่แสนเร่าร้อนเผาลน อันเป็นการดำเนินไปตามวงจรของปฏิจจสมุปบาทธรรม กระบวนธรรมของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เมื่อสมหวังก็เป็นสุขแต่ย่อมเก็บจำเป็นอาสวะกิเลสโดยธรรมหรือธรรมชาติจึงย่อมก่อทุกข์อุปาทานในภายหน้าโดยอาการโหยหาอยากอีก จึงหนีไม่พ้นในที่สุด, ส่วนในพระอริยะนั้น ท่านเพียงดำรงอยู่ในขันธ์ ๕ ตามธรรมหรือธรรมชาติ มีก็เพียงแต่สุขเวทนาหรือทุกขเวทนาอันเป็นไปตามธรรมชาติเท่านั้น ที่แม้เป็นทุกขเวทนาหรือเป็นทุกข์แต่ก็ไม่ประกอบด้วยความเร่าร้อนเผาลน ส่วนสุขนั้นก็ไม่ติดเพลิน สุขทุกข์ที่ยังพึงเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามธรรมหรือธรรมชาติเท่านั้น ดังกระบวนธรรมขันธ์ ๕ ที่ได้กล่าวแสดงไปแล้วเป็นอเนกนั้น แต่ไม่ประกอบด้วยตัณหาแลอุปาทานอันแสนเร่าร้อนเผาลนเลยดังที่ดำเนินไปในปฏิจจสมุปบาทธรรมฝ่ายสมุทยวารหรือฝ่ายเกิดทุกข์เลย​
     
  2. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ความมีและไม่มีนั้น หรืออัตตา เกิดเพราะอะไร
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    กล่าวคือถ้ามีกิเลสตัณหามาพัวพันในขันธ์ทั้ง๕ แล้ว ก็จะทำให้เกิดความทุกข์ขึ้นอีกชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่ทุกขเวทนาธรรมดาที่แค่เป็นทุกข์ตามธรรมชาติอีกต่อไป แต่เป็นทุกขเวทนาที่ประกอบด้วยอุปาทานอันแสนเร่าร้อนเผาลนกว่าทุกขเวทนาตามธรรมชาติ ที่เรียกความทุกข์ชนิดนี้ว่า ทุกข์อุปาทาน หรือเป็นการดำเนินไปตามปฏิจจสมุปบาทธรรม คือการเกิดขึ้นแห่งทุกข์นั่นเอง
     
  4. Rupanama

    Rupanama สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +25
    อัตตาเกิด เพราะ ว่ายังไม่สามารถตัดสาย ปฏิจสมุปบาท

    ผมว่ามันทำยากมากน่ะ และที่ยากที่สุด คือทำตลอดเวลานี่แหละครับ

    ยากจริงๆ พยายามต่อไป สู้ต่อไป ทาเคชิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...