พุทธจริยาวัตร

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย yo09(), 24 กุมภาพันธ์ 2013.

  1. yo09()

    yo09() เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    296
    ค่าพลัง:
    +4,897
    ( จากหนังสือ " ดอกบัวน้อย " อันดับที่ ๑๔๔ )

    ตลอดเวลาแห่งการเทศนาสั่งสอนมหาชน รวมเวลา ๔๕ ปี
    พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีพุทธจริยาวัตร คือ ข้อประพฤติปฏิบัติกิจประจำ
    วัน ในการดำเนินชีวิตของพระองค์ ดังนี้

    * ตรวจสัตว์โลก *

    ยามเช้า จะทรงพิจารณาตรวจดูสัตว์โลกว่า ใครมีอุปนิสัยที่จะเห็นธรรม
    ได้ ก็จะเสด็จไปแสดงธรรมเทศนาโปรดเขา

    * เสด็จพระดำเนิน *

    - ทรงก้าวพระบาทเบื้องขวาก่อน
    - ไม่ทรงก้าวพระบาทให้ยาวนัก ให้สั้นนัก
    - ไม่ทรงพระดำเนินให้เร็วนัก ให้ช้านัก
    - ไม่ทรงพระดำเนินให้พระชานุ ( เข่า ) กระทบพระชานุ
    - ไม่ทรงพระดำเนินให้ข้อพระบาท ( ตาตุ่ม ) กระทบข้อพระบาท
    - ไม่ทรงพระดำเนินยกพระอุระ ( อก ) สูง
    - ไม่ทรงทอดพระอุระไปข้างหลัง
    - ไม่ทรงกระแทกพระอุระ
    - ไม่ทรงส่ายพระอุระ
    - ทรงพระดำเนินพระวรกายส่วนบนไม่แกว่งไกว
    - ไม่ทรงพระดำเนินด้วยกำลังพระวรกายทั้งหมด

    * ทอดพระเนตร *

    - ทรงทอดพระเนตรประมาณช่วงแอก ( ๓ เมตร )
    - ไม่ทรงแหงนดู
    - ไม่ทรงก้มดู
    - ไม่ทรงเหลียวดูขณะเสด็จพระดำเนิน
    - ถ้าจะเหลียวดู จะทรงหันไปทั้งพระวรกาย

    * เสด็จเข้าสู่ชุมชน *

    - ไม่ทรงยืดพระวรกาย
    - ไม่ทรงย่อพระวรกาย
    - ไม่ทรงห่อพระวรกาย
    - ไม่ทรงส่ายพระวรกาย

    * ประทับในละแวกบ้าน *

    - ไม่ทรงครั่นคร้าม
    - ไม่ทรงหวั่นไหว
    - ไม่ทรงขลาดกลัว
    - ไม่ทรงสะดุ้งพระโลมชาติ ( ขน ) ไม่ชูชัน
    - ทรงประทับอาสนะ ( ที่นั่ง ) ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก
    - ไม่ทรงนั่งพิงพระวรกาย
    - ไม่ทรงนั่งเท้าพระหัตถ์ ( เท้าแขน )
    - ไม่ทรงนั่งชันพระชานุ ( ชันเข่า )
    - ไม่ทรงนั่งยันพระหนุ ( ยันคาง )
    - ไม่ทรงนั่งซ้อนพระบาท
    - ไม่ทรงคะนองพระหัตถ์
    - ไม่ทรงคะนองพระบาท

    * บิณฑบาต *

    - ไม่ทรงชูบาตรขึ้นรับอาหาร
    - ไม่ทรงลดบาตรลงรับอาหาร
    - ไม่ทรงแกว่งบาตรรับอาหาร
    - ไม่ทรงจ้องบาตรรับอาหาร
    - ทรงรับข้าวสุกไม่น้อยนัก ไม่มากนัก
    - ทรงรับกับข้าวพอประมาณด้วยข้าวสุก

    * พิจารณาอาหาร *

    - ไม่ทรงฉันอาหารเพื่อเล่น
    - ไม่ทรงฉันเพื่อมัวเมา
    - ไม่ทรงฉันเพื่อประดับ
    - ไม่ทรงฉันเพื่อตกแต่ง
    - ทรงฉันเพียงเพื่อดำรงพระวรกายนี้ไว้
    - ทรงฉันเพื่อยังพระชนม์ชีพให้เป็นไป
    - ทรงฉันเพื่อป้องกันความลำบาก
    - ทรงฉันเพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ( ศาสนา )

    * ฉันภัตตาหาร *

    - ทรงทำคำข้าวทั้งข้าวสุก ทั้งกับข้าวพอประมาณกัน
    - ไม่ทรงฉันแต่อาหารอย่างเดียว แล้วเว้นกับข้าวที่ไม่ชอบ
    - ทรงเคี้ยวคำข้าวสองสามครั้ง แล้วทรงกลืน
    - ไม่มีข้าวเหลือในพระโอษฐ์ ( ปาก ) จึงทรงฉันคำใหม่
    - ทรงรู้รสอาหารได้ดี แต่ไม่ทรงติดในรส

    * ล้างบาตร *

    - ทรงฉันเสร็จแล้ว จึงทรงรับนำ้ล้างบาตร
    - ไม่ทรงชูบาตรขึ้นรับนำ้ล้างบาตร
    - ไม่ทรงลดบาตรรับนำ้ล้างบาตร
    - ไม่ทรงแกว่งบาตรรับนำ้ล้างบาตร
    - ไม่ทรงจ้องบาตรคอยรับนำ้ล้างบาตร
    - ทรงรับนำ้ล้างบาตรไม่น้อยนัก ไม่มากนัก
    - ไม่ทรงล้างบาตรเสียงดังขลุกๆ
    - ไม่ทรงหมุนบาตรล้าง
    - ทรงล้างบาตรเสร็จ ก็เป็นอันล้างพระหัตถ์เสร็จด้วย
    - ทรงเทนำ้ล้างบาตรไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก
    - ทรงเทนำ้ล้างบาตรไม่ให้กระเซ็น
    - ไม่ทรงวางบาตรที่พื้น
    - ทรงวางบาตรในที่ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก

    * หลังภัตกิจ *

    - ทรงอนุโมทนา ( แสดงความชื่นชมต่อผู้ทำบุญ )
    - ไม่ทรงติเตียนภัต ( อาหารที่ฉัน )
    - ไม่ทรงหวังภัตอื่น
    - ทรงชี้แจงอธิบายธรรมแก่บริษัทนั้นให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน(ถือปฏิบัติ)
    ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงในธรรม
    - เสร็จแล้วทรงลุกจากอาสนะ เสด็จไป

    * ลุกจากอาสนะ *

    - ไม่เสด็จไปเร็วนัก ช้านัก
    - ไม่ผลุนผลันเสด็จไป
    - ไม่ทรงจีวรสูงเกินไป ต่ำเกินไป
    - ไม่ทรงจีวรแน่นติดพระวรกายเกินไป
    - ไม่ทรงจีวรหลวมหลุดลุ่ย
    - ทรงจีวรไม่ให้ลมพัดแหวกได้ ฝุ่นละอองจึงไม่ติดพระวรกาย

    * ถึงอาราม *

    - ทรงล้างพระบาทด้วยพระบาท
    - ทรงประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระวรกายตรง
    - ทรงดำรงพระสติไว้เบื้องพระพักตร์
    - ทรงดำริประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน และประโยชน์แก่โลกทั้งปวง

    * ประทับที่อาราม *

    - ยามเย็น ทรงชี้แจงแสดงธรรมในบริษัท ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน
    ( ถือปฏิบัติ ) ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงในธรรม ด้วยพระสุรเสียงอัน
    ประกอบด้วย : -
    ๑. ความคุ้นเคย ( วิสสัฏโฐ ) ๒. รู้ได้ชัดเจน ( วิญาญยโย )
    ๓. ไพเราะ ( มัญชุ ) ๔. ฟังง่าย ( สวนีโย )
    ๕. กลมกล่อม ( พินทุ ) ๖. ไม่พร่า ( อวิสารี )
    ๗. ลุ่มลึก ( คัมภีโร ) ๘. กังวาน ( นินนาที )

    * จำวัด *

    - มัชฌิมยามแห่งราตรี ( 22.00-02.00 น. ) ทรงสำเร็จตถาคตไสยา
    ( การนอนอย่างพระพุทธเจ้า ) โดยทรงนอนเยี่ยงราชสีห์ (สีหไสยา)
    คือ ทรงนอนตะแคงข้างขวา ซ้อนพระบาท ( เท้า ) เหลื่อมพระบาท
    ทรงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุฌาน ( สภาวะจิตแน่ว-
    แน่สงบจากกิเลส ) ทั้ง ๔ มีสติสัมปชัญญะบริสุทธิ์อยู่ กำหนดจิตถึง
    การลุกขึ้นเอาไว้
    ________________________________
    จาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ " พุทธปริวิตกกถา " ข้อ ๑๐
    " " ๑๓ " พรหมายุสูตร " ข้อ ๕๘๙
    " " ๑๕ " สกลิกสูตร " ข้อ ๑๒๒
    " " ๑๘ " รถสูตร " ข้อ ๓๑๙
    " " ๒๑ " อาปัตติภยวรรค " ข้อ ๒๔๖

    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก thegreylotus.worldpress.com

    " นิพพานชาตินี้กันเถอะ "
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NARKA

    NARKA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,568
    ค่าพลัง:
    +4,560
    ไม่มีข้อค้านถ้าคัดลอกมาจากพระไตรปิฏก แต่จะขอเสริมว่า เช้าพระพุทธเจ้าจะบิณฑบาตร เที่ยงสอนฆาราวาส ค่ำสอนพระเณร เที่ยงคืนสอนเทวดา เช้าตรวจเวไนยสัตว์แล้วบิณฑบาตร
     

แชร์หน้านี้

Loading...