มีราคะ ตัณหา มากๆๆๆๆ พิจารณาอย่างไรจึงจะละได้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kengkenny, 13 พฤษภาคม 2009.

  1. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ชอบเรื่องนั้นมากมองเห็นอสุภะ บางทีก็เข้าใจ พอนานๆไปมันก็เป็นอีก เกิดความอยากขึ้นมาอีก และเชื่อว่าหลายๆท่านก็น่าจะเคยเป็น ยิ่งตอนเป็นวัยรุ่นยิ่งมากๆๆๆ หาวิธีแก้ยังไงก็ไม่หมดไปจากใจ ทำไงดีใครก็ได้บอกที

    รู้แล้วว่าไม่ดีแต่อยากรู้ว่าทำยังไงถึงจะทำให้น้อยลง เข้าใจจริงๆ ไม่ได้แกล้งเข้าใจ แล้ววันนึงก็จางหายไป แล้วจริงๆถ้าเข้าใจมันจะหายไปรึเปล่า? แต่เข้าใจอะไรล่ะ

    ขอบพระคุณ พระคุณเจ้าครับ แล้ววิปัสนา กับ สัญญา มันต่างกันยังไงครับ ถ้าจริงๆแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากสัญญา ทั้งสิ้น หรือถ้าเราไม่ยินดี ในสัญญานั้น ก็จะ ไม่เกิดสัญญานั้นครับ?

    กายคตานุสติ ก็คือให้เห็นกายตามสภาพความเป็นจริงใช่ไหมครับ เมื่อเห็นแล้วจะเห็นว่ามันเป็นของไม่สะอาด น่าสะอิดสะเอียน น่าขยะแขยง ใช่ไหมครับ ขอบพระคุณครับ

    เท่าที่ฟังดู คิดว่าต้องใช้เวลามากซึ่งเป็นสาเหตุให้พ่ายแพ้ต่อกิเลสนั้น แต่ทุกๆความเห็น ผมจะลองปฏิบัติและหวังว่าทุกท่านที่สนใจใฝ่ธรรมนี้จะไม่ท้อแท้ก่อน ทุกคนนะครับ

    ในกรณีเรื่องของ โยนิโส มนสิการ มันหมายถึงอะไรครับ และถ้าพิจารณาสัญญาอารมณ์ที่เกิดขึ้น ให้เป็น ทุกข์ อนิจจัง อนัตตา จะได้ไหมครับ
    ครั้งหนึ่งเคยใช้สมาธิที่เป็นไฟ พยายามเพ่งพิจารณาว่าไฟสามารถเผาผลาญได้ทุกสิ่ง เผาสังขารให้ดับ เหลือแต่เถ้าทุลี ต่อมาความรู้สึก หรืออารมณ์นั้นมันก็กลับมาอีก
    ยิ่งเวลาดู เห็นภาพ พวกนั้น แม้ว่าทุกอย่างที่เห็นตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการของกามราคะ เมถุนธรรม นั้นทุกๆครั้งจะเหมือนกันเพียงแต่ภาพที่ปรากฏนั้นมันเปลี่ยนไป แปลกมากที่รู้ทั้งรู้ว่ามันไม่มีอะไร แต่ใจมันยังรู้สึกเหมือนตกอยู่ในห้วงแห่งตัณหาราคะนั้น แต่บ่อยเข้า จึงรู้ว่ายิ่งดูยิ่งคิดมันก็ยิ่งเหมือนเดิม วนมาแล้วก็เวียนไป ต้องหาเหตุผลให้เจอเพื่อจะได้ไม่ใส่ใจมันอีก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤษภาคม 2009
  2. ศุภกร_ไชยนา

    ศุภกร_ไชยนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    627
    ค่าพลัง:
    +1,122
    ได้ยินมาว่าลองจิตนาการให้อวัยวะส่วนที่เราชอบผิดปกติไป ใหญ่ขึ้นเล็กลง แหว่ง อะไรประมาณนี้คับ แต่ผมก็ยากเช่นกัน ยังไม่หมดกิเลศก็สู้ต่อไป คือถ้าความรู้สึกแบบนั้นเกิดขึ้นมาก็ให้รู้อยู่ตลอดนะคับ

    รอคำตอบจากผู้รู้นะคับ


    ------------------------- คำตอบข้างบนเมื่อปี 2009

    ปัจจุบันได้รับคำตอบจากการปฏิบัติชัดเจน คือ อสุภกรรมฐานครับ สั้นๆ ปฏิบัติแล้วจะรู้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2012
  3. kungfuloma

    kungfuloma เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2009
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +1,011
  4. พระศุภกิจ ปภัสสโร

    พระศุภกิจ ปภัสสโร เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    2,015
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +11,166
    ...หลงกามลืมแก่ เพราะกามมันไม่แก่ตามกาย




    ให้เข้าใจว่ากิเลสมันย้อมใจเรามา นับแสน ๆล้าน ๆ ชาติ แม้พระอริยะเบื้องต้นก็ยังละกาม ตัณหาไม่ได้ เพียงเบาบาง ในพระโสดาบัน พระสกิทาคามี ยังบริโภคกาม มีโกรธ มีชอบ ชัง อยู่ครบ

    แต่ก็มิได้หมายความว่าจะไม่มีทางออก ขบวนการยับยั้งกามกิเลส มี 3 ทาง

    1.รักษาศีล เมื่อมีศีล อกุศลกามวิตกจะเบาบางเพราะเกิดร่วมกันได้ไม่สนิท

    2.สมาธิ กามดับในฌาณ 1-4

    3.พิจารณาเป็นวิปัสนา เมื่อปัญญาเกิดกามก็ดับ อย่าพิจารณาเป็นสัญญา หรือสูตรสำเร็จ มันไม่มีกำลังยับยั้งกิเลสได้

    จิตคุ้นเคยหลื้นใหลไปใน กาม เพราะมันชิน การจะถอดถอนมันย่อมทุกข์ ดุจบอกหนอนให้เลิกกินอุจจาระมากินพิซซ่า หนอนมันไม่เชื่อหรอกว่า พิซซ่าจะอร่อยกว่า เราดีกว่าหนอนที่อยากออกจากกาม

    เจริญพร
     
  5. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ให้เห็นตอนที่มันเกิด เมื่อมันตั้งขึ้นก่อตัวขึ้นท่าเราไม่ไปเกาะมันก้ล้มลงไปเอง ลองทำเฉพาะหน้าเลยอย่าไปฝืนแต่จงมองไห้เห็นความไม่เที่ยงของกาย จับกายคตานุสติ เรื่อยๆ
     
  6. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,646
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,019
    ต้องใช้วิธีเจริญอสุภะกรรมฐานครับ ตามนี้ครับผม อนุโมทนา

    <table width="616" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td>
    อสุภกรรมฐาน

    อสุภ แปลว่า ไม่สวย ไม่งาม กรรมฐาน แปลว่า ตั้งอารมณ์ไว้ให้เป็นการเป็นงาน
    รวมความแล้วได้ความว่า ตั้งอารมณ์เป็นการเป็นงานในอารมณ์ที่เห็นว่า ไม่มีอะไรสวยสดงดงาม
    มีแต่ความสกปรกโสโครก น่าเกลียดน่าสะอิดสะเอียน

    กำลังสมาธิของอสุภกรรมฐาน
    อสุภกรรมฐานทั้ง ๑๐ อย่างนี้ มีกำลังสมาธิเพียงปฐมฌานเป็นอย่างสูงสุด ไม่สามารถ
    จะทรงฌานให้มีกำลังให้สูงกว่านั้นได้ เพราะเป็นกรรมฐานที่มีอารมณ์ด้านพิจารณามากกว่า
    การเพ่ง ใช้อารมณ์จิตใคร่ครวญพิจารณาอยู่เป็นปกติ จึงทรงสมาธิได้อย่างสูงก็เพียงปฐมฌาน
    เป็นกรรมฐานที่มีอารมณ์คล้ายคลึงกับวิปัสสนาญาณมาก นักปฏิบัติที่พิจารณาอสุภกรรมฐาน
    จนทรงปฐมฌานได้ดีแล้ว พิจารณาวิปัสสนาญาณควบคู่กันไป จะบังเกิดผลรู้แจ้งเห็นจริงใน
    อารมณ์วิปัสสนาญาณได้อย่างไม่ยากนัก สำหรับอสุภกรรมฐานนี้เป็นสมถกรรมฐานที่ให้ผล
    ในทางกำจัด ราคจริตเหมือนกันทั้ง ๑๐ กอง คือค้นคว้าหาความจริงจากวัตถุที่มีชีวิตและไม่มี
    ชีวิต ที่นิยมชมชอบกันว่าสวยสดงดงามที่บรรดามวลชนทั้งหลายพากันมัวเมา หลงไหลใฝ่ฝัน
    ว่าสวยสดงดงามจนเป็นเหตุให้เกิดภยันตรายแก่ตน ลืมชีวิตความเป็นอยู่ของตน มอบหมาย
    ความรักความปรารถนาให้แก่วัตถุที่ตนหลงรัก เป็นการประพฤติที่ฝืนต่อกฎของความเป็นจริง
    เป็นเหตุของความทุกข์ที่ไม่รู้จักจบสิ้น กรรมฐานนี้จะค้นคว้าหาความจริงจากสรรพวัสดุต่างๆ
    ที่เห็นว่าสวยสดงดงามเอามาตีแผ่ให้เห็นเหตุเห็นผลว่า สิ่งที่สัตว์และคนหลงไหลใฝ่ฝันนั้น
    ความจริงไม่มีอะไรสวย ไม่มีอะไรงาม เป็นของน่าเกลียดโสโครกทั้งสิ้น กรรมฐานในหมวด
    อสุภกรรมฐานมีความหมายในรูปนี้ จึงเป็นกรรมฐานที่ระงับดับอารมณ์ที่ใคร่อยู่ในกามารมณ์
    เสียได้ ท่านที่เจริญกรรมฐานหมวดอสุภนี้ชำนาญเป็นพื้นฐานแล้ว ต่อไปเจริญวิปัสสนาญาณ
    จะเข้าถึงการบรรลุเป็นพระอนาคามีผลไม่ยากนัก เพราะพระอนาคามีผลเป็นพระอริยบุคคล
    ที่มีความสงบระงับดับความรู้สึกในกามารมณ์ได้เด็ดขาด ท่านที่เจริญกรรมฐานหมวดอสุภนี้
    ก็เป็นการเริ่มต้นในการเจริญฌานด้านที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกามารมณ์ ฉะนั้น นักปฏิบัติกรรมฐาน
    ที่มีความชำนาญในอสุภกรรมฐานจึงเป็นของง่ายในการเจริญวิปัสสนาญาณ เพื่อให้บรรลุเป็น
    อนาคามีผลและอรหัตตผล

    อสุภกรรมฐาน ๑๐ อย่าง
    อสุภกรรมฐาน ท่านจำแนกไว้เป็น ๑๐ อย่างด้วยกัน คือ
    ๑. อุทธุมาตกอสุภ คือ ร่างกายของคนและสัตว์ที่ตายไปแล้ว นับแต่วันตายเป็นต้นไป
    มีร่างกายขึ้นบวม พองไปด้วยลม ที่เรียกกันว่า ผีตายขึ้นอืดนั่นเอง
    ๒. วินิลกอสุภ เป็นร่างกายที่มีสีเขียว สีแดง สีขาว คละปนระคนกัน คือ มีสีแดงในที่
    มีเนื้อมาก มีสีขาวในที่มีน้ำเหลืองน้ำหนองมาก มีสีเขียวที่มีผ้าสีเขียวคลุมไว้ อาศัยที่ร่างกาย
    ของผู้ตายส่วนใหญ่ก็ปกคลุมด้วยผ้า ฉะนั้น สีเขียวตามร่างกายของผู้ตายจึงมีสีเขียวมาก ท่าน
    จึงเรียกว่า วินีลกะ แปลว่าสีเขียว
    ๓. วิปุพพกอสุภ เป็นซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลอยู่เป็นปกติ
    ๔. วิฉิททกอสุภ คือซากศพที่มีร่างกายขาดเป็นสองท่อนในท่ามกลาง มีกายขาด
    ออกจากกัน
    ๕. วิกขายิตกอสุภ เป็นร่างกายของซากศพที่ถูกสัตว์ยื้อแย่งกัดกิน
    ๖. วิกขิตตกอสุภ เป็นซากศพที่ถูกทอดทิ้งไว้จนส่วนต่าง ๆ กระจัดกระจายมีมือ
    แขน ขา ศีรษะ กระจัดพลัดพรากออกไปคนละทาง
    ๗. หตวิกขิตตกอสุภ คือซากศพที่ถูกสับฟันเป็นท่อนน้อยและท่อนใหญ่
    ๘. โลหิตกอสุภ คือซากศพที่มีเลือดไหลออกเป็นปกติ
    ๙. ปุฬุวกอสุภ คือซากศพที่เต็มไปด้วยตัวหนอนคลานกินอยู่
    ๑๐. อัฏฐิกอสุภ คือซากศพที่มีแต่กระดูก

    อสุภกรรมฐานนี้ท่านพระพุทธโฆษาจารย์เจ้า ได้พรรณนาไว้ในวิสุทธิมรรครวม
    เป็นอสุภที่มีอาการ ๑๐ อย่างตามที่กล่าวมาแล้ว

    </td></tr></tbody></table>
    .
     
  7. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,646
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,019
    อันนี้อีกอันครับ จขกท อ่านเเ้ล้วจะกระจ่างครับ อนุโมทนาอีกทีรอบสองครับ

    การพิจารณาอสุภ

    การพิจารณาอสุภทั้ง ๑๐ อย่างนี้ ท่านสอนให้พิจารณาเพื่อถือเอานิมิตโดยอาการ ๖ อย่าง
    ดังต่อไปนี้
    ๑. พิจารณาโดยสี คือให้กำหนดว่า ซากศพนี้เป็นร่างกายของคนดำหรือคนขาวหรือ
    เป็นร่างกายของคนที่มีผิวด่างพร้อย คือผิวไม่เกลี้ยงเกลา
    ๒. พิจารณาโดยเพศ อย่ากำหนดว่า ร่างกายนี้เป็นหญิงหรือชาย พึงพิจารณาว่าซากศพ
    นี้เป็นร่างกายของคนที่มีอายุน้อย มีอายุกลางคน หรือเป็นคนแก่
    ๓. กำหนดพิจารณาโดยสัณฐาน คือกำหนดพิจารณาว่า นี่เป็นคอ เป็นศีรษะ เป็นท้อง
    เป็นเอว เป็นขา เป็นเท้า เป็นแขน เป็นมือ ดังนี้เป็นต้น
    ๔. กำหนดโดยทิศ ทิศนี้ท่านหมายเอาสองทิศ คือ ทิศเบื้องบน ได้แก่ทางด้านศีรษะ
    ทิศเบื้องต่ำ ได้แก่ทางด้านปลายเท้าของซากศพ ท่านมิได้หมายถึงทิศเหนือทิศใต้ตามที่นิยม
    กัน ท่านให้สังเกตว่า ที่เห็นอยู่นั้นเป็นทางด้านศีรษะ หรือด้านปลายเท้า
    ๕. กำหนดพิจารณาโดยที่ตั้ง ท่านให้พิจารณากำหนดจดจำว่า ซากศพนี้ศีรษะวางอยู่
    ที่ตรงนี้ มือวางอยู่ตรงนี้ เท้าวางอยู่ตรงนี้ ตัวเราเอง เวลาที่พิจารณาอสุภนี้ เรายืนอยู่ตรงนี้
    ๖. กำหนดพิจารณาโดยกำหนดรู้ หมายถึงการกำหนดรู้ว่า ร่างกายสัตว์และมนุษย์นี้
    มีอาการ ๓๒ เป็นที่สุด ไม่มีอะไรสวยสดงดงามจริงตามที่ชาวโลกผู้มัวเมาไปด้วยกิเลสหลงใหล
    ใฝ่ฝันอยู่ ความจริงแล้วก็เป็นของน่าเกลียดโสโครก มีกลิ่นเหม็นคุ้ง มีสภาพขึ้นอืดพอง มีน้ำเลือด
    น้ำหนองเต็มร่างกาย หาอะไรที่จะพอพิสูจน์ได้ว่า น่ารักน่าชมไม่มีเลย สภาพของร่างกายที่พอ
    จะมองเห็นว่าสวยสดงดงาม พอที่จะอวดได้ก็มีนิดเดียว คือ หนังกำพร้าที่ปกปิดอวัยวะภายใน
    ทำให้มองไม่เห็นสิ่งโสโครก คือ น้ำเลือด น้ำหนอง ดี เสลด ไขมัน อุจจาระ ปัสสาวะ ที่ปรากฏ
    อยู่ภายใน แต่ทว่าหนังกำพร้านั้นใช่ว่าจะสวยสดงดงามจริงเสมอไปก็หาไม่ ถ้าไม่คอยขัดถูแล้ว
    ไม่นานเท่าใด คือไม่เกินสองวันที่ไม่ได้อาบน้ำชำระร่างกาย หนังที่สดใสก็กลายเป็นสิ่งโสโครก
    เหม็นสาบเหม็นสาง ตัวเองก็รังเกียจตัวเอง เมื่อมีชีวิตอยู่ก็เอาดีไม่ได้ พอตายแล้วยิ่งโสโครก
    ใหญ่ ร่างกายที่เคยผ่องใส ก็กลายเป็นซากศพที่ขึ้นอืดพอง น้ำเหลืองไหลมีกลิ่นเหม็นตลบไปทั่ว
    บริเวณ คนที่เคยรักกันปานจะกลืน พอสิ้นลมปราณลงไปในทันทีก็พลันเกลียดกัน แม้แต่จะเอา
    มือเข้าไปแตะต้องก็ไม่ต้องการ บางรายแม้แต่จะมองก็ไม่อยากมอง มีความรังเกียจซากศพ
    ซ้ำร้ายกว่านั้น เมื่ออยู่รักและหวงแหน จะไปสังคมสมาคมคบหา สมาคมกับใครอื่นไม่ได้ ทราบ
    เข้าเมื่อไรเป็นมีเรื่อง แต่พอตายจากกันวันเดียวก็มองเห็นคนที่แสนรักกลายเป็นศัตรูกัน กลัว
    วิญญาณคนตายจะมาหลอกมาหลอน เกรงคนที่แสนรักจะมาทำอันตราย ความเลวร้ายของ
    สังขารร่างกายเป็นอย่างนี้ เมื่อพิจารณากำหนดทราบร่างกายของซากศพทั้งหลายที่พิจารณา
    เห็นแล้ว ก็น้อมนึกถึงสิ่งที่ตนรัก คือคนที่รัก ที่ปรารถนา ที่เราเห็นว่าเขาสวยเขางาม เอา
    ความจริงจากซากอสุภเข้าไปเปรียบเทียบดู พิจารณาว่า คนที่เรารักแสนรัก ที่เห็นว่าเขาสวย
    สดงดงามนั้น เขากับซากศพนี้มีอะไรแตกต่างกันบ้าง เดิมซากศพนี้ก็มีชีวิตเหมือนเขา พูดได้
    เดินได้ ทำงานได้ แสดงความรักได้ เอาอกเอาใจได้ แต่งตัวให้สวยสดงดงามได้ ทำอะไร ๆ
    ได้ทุกอย่าง ตามที่คนรักของเราทำ แต่บัดนี้เขาเป็นอย่างนี้ คนรักของเราก็เป็นอย่างเขา เรา
    จะมานั่งหลอกตนเองว่า เขาสวย เขางาม น่ารัก น่าปรารถนาอยู่เพื่อเหตุใด แม้แต่ตัวเราเอง
    สิ่งที่เรามัวเมากาย เมาชีวิต หลงใหลว่า ร่างกายเราสวยสดงามวิไล ไม่ว่าอะไรน่ารักน่าชม
    ไปหมด ผิวที่เต็มไปด้วยเหงื่อไคล เราก็เอาน้ำมาล้าง เอาสบู่มาฟอก นำแป้งมาทา เอาน้ำหอม
    มาพรม แล้วก็เอาผ้าที่เต็มไปด้วยสีมาหุ้มห่อ เอาวัตถุมีสีต่างๆ มาห้อยมาคล้องมองดูคล้าย
    บ้าหอบฟางแล้วก็ชมตัวเองว่าสวยสดงดงาม ลืมคิดถึงสภาพความเป็นจริง ที่เราเองก็หอบเอา
    ความโสโครกเข้าไว้พอแรง เราเองเรารู้ว่าในกายเราสะอาดหรือสกปรก ปากเราที่ชมว่าปาก
    สวย ในปากเต็มไปด้วยเสลดน้ำลาย น้ำลายของเราเองเมื่ออยู่ในปากอมได้ กลืนได้ แต่พอ
    บ้วนออกมาแล้วกลับรังเกียจไม่กล้าแม้แต่จะเอามือแตะนี่เป็นสิ่งสกปรกที่เรามีหนึ่งอย่างละ

     
  8. BlueBlur

    BlueBlur เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,664
    ค่าพลัง:
    +1,570
    โมทนาครับ ต่อกันสู้ต่อไป กับสิ่งที่อยู่บนโลกใบนี้
     
  9. ritta

    ritta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    214
    ค่าพลัง:
    +228
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    การใช้ความคิดพิจารณา ก็คือ การเพ่งอารมณ์ หรือ อารัมณูปณิชฌาณ ซึ่งถือเป็นการ ทำ
    สมถะ สมาธิ มีผลให้เกิดความสงบชั่วคราว แต่อาจจะยาวนาน แต่ยังไงเสียก็เป็นสังขาร
    ธรรมอย่างหนึ่ง เป็นโลกียะปัญญา จึงทำให้เมื่อถึงเวลาหนึ่ง ก็จะหมดกำลัง สังขารนั้นก็จะ
    มีสภาพชรา และ มรณะ ไปตามเรื่อง แต่ถ้าขยันทำบ่อยๆ ก็จะทำให้เกิดความสืบเนื่อง
    ของสังขารธรรมชนิดเดียวกัน จนดูเหมือนว่า มันจะเที่ยง ทำให้เกิดความสงบต่อเนื่อง แล้ว
    ทำให้เข้าใจผิด เกิดความติดใจ ชอบใจในความสงบ เป็น นิกันติ อุปกิเลสแทรก

    ดังนั้น สมถะ เมื่อทำแล้ว จะต้องพิจารณาธรรมในอีกลักษณะหนึ่ง ที่เรียกว่า วิปัสสนา หรือ
    ลักขณูปณิชฌาณ ซึ่งเป็นการเห็นไตรลักษณ์ของสังขารธรรมชนิดต่างๆไปตามความเป็น
    จริง เช่น ตะกี้พิจารณาอสุภะมา ทำกายคตามา พิจารณาธาตุ4มา เกิดความสงบแล้ว ก็
    สังเกตุดูโดยไม่จงใจ พอกำลังของสมถะความสงบหมดลง เกิดจิตสัดส่ายไปในกาม ก็ให้
    ระลึกเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ตั้งอยู่ไม่ได้ ไม่อยู่ในบังคับบัญชา จะเกิดจะมี จะหาย จะ
    ไป จะมาล้วนเป็นไปของมันเอง ระลึกเห็นไปแบบนี้จะเรียกว่า ทำวิปัสนนา ต่อจาก สมถะ

    ซึ่งมาถึงตรงนี้ จขกท จะเห็นความเป็นจริงบางอย่าง เกี่ยวกับคำว่า พิจารณา หรือ สัญญา

    ตรงนี้แหละครับที่เรียกว่า กังขาทัศนวิสุทธิ คือ เกิดคำถามถามถึงการหลุดพ้นที่แท้จริงมัน
    เป็นอย่างไรกันแน่

    หากคิดพิจารณาไตรลักษณ์ในแบบวิปัสสนา แต่แล้วเรายังใช้ความคิด คิดเข้าไปอีก ก็จะ
    เหมือนทำ สมถะ เหมือนเดิม ดังนั้น การพิจารณาแบบวิปัสสนาต้องไม่ใช่การคิดแน่ๆ แต่
    เป็นการทำความรู้สึก ระลึกรู้ว่า มันมา มันไป มันอยู่ มันไม่อยู่ ระลึกรู้สั้นๆ แค่นั้น ไม่ต้อง
    คิดยาว ทำความรู้สึกตัวไว้

    พอสมาธิมันหาย จิตมันใฝ่ในกาม เรารู้ทันเป็นปัจจุบันแค่ไหน หรือว่า จมกามไปแล้วค่อย
    มาเห็นย้อนหลัง แบบนั้นเรียกว่า เผลอยาว แต่ถ้าจิตกำลังแส่ส่ายไปวิตกในกาม แล้วจิต
    เห็นอาการ วิตก วิจาร และเกิดสติระลึกได้ รู้สึกตัวขึ้นมาทันที แบบนี้เรียกว่า วิปัสสนา
     
  11. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เคยสอนอุบายวิธีไปแล้ว ว่า อย่าไปมองทั้งตัว

    ให้พิจารณาเฉพาะจุด เช่น ถ้าเป็นราคะเรื่องหญิงชาย ก็ให้มองลงไปเฉพาะจุด

    เช่นมองที่ฟัน ให้เห็นความน่าเกลียดของฟันผู้หญิง

    มองที่เหงื่อ มองที่ขน มองที่ผม ที่มันร่วงตามพื้น

    มองให้แตกออก อย่ามองรวม

    แล้วจะบันเทาได้

    อีกวิธีหนึ่ง
    มีคำกล่าวพระศาสดาคำหนึ่งว่า เมื่อจิตตั้งมั่นดีแล้ว ความเป็นหญิงจะมีความหมายอะไร

    นี่ คือ ทำจิตให้เป็นสมาธิให้ได้ แล้ว นิวรณ์ ตัวกามฉันทะ จะเบาไป ไม่กำเริบ จิตไม่หิวอารมณ์ เห็นแล้ววางเฉยได้เอง ด้วยจิตเป็นสมาธิ
     
  12. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    อ้างอิงคุณนิวรณ์...

    พอดีไปอ่านเจอในเว็บลานธรรมเสวนา ได้มีการนำเนื้อหาเรื่องวิปัสสนาภาวนาของสำนักปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่ง เห็นว่าตรงกับเรื่องที่ผมได้เคยลงเสนอกับหลายๆ ท่านไปโดยบังเอิญ หากอ่านแล้วจะเสริมสร้างสัมมาทิฐิเรื่องนี้ได้อย่างไรขอให้อ่านแล้วลองพิจารณาดูนะครับ

    คำว่า "วิปัสสนาภาวนา" ประกอบด้วยคำว่า "วิปัสสนา" กับคำว่า "ภาวนา" วิปัสสนาก็คือ "สัมมาทิฐิ" ความเห็นถูกต้อง ภาวนาก็คือ "สัมมาสังกัปปะ" ความพิจารณาถูกต้อง เพราะฉะนั้น การเจริญวิปัสสนาภาวนาจึงหมายถึงการเจริญปัญญาสองประการกล่าวคือสัมมาทิฐิกับสัมมาสังกัปปะนั่นเอง

    สัมมาทิฐิเป็นผู้เห็นจิต เจตสิก รูป ที่เกิด-ดับ เปลี่ยนแปลงไป ไม่อยู่ในอำนาจของใคร หรือบังคับบัญชาไม่ได้อยู่ เรียกว่า "เห็นสภาวะปรมัตถ์" สัมมาสังกัปปะเป็นผู้พิจารณาหรือชี้บอกว่า สิ่งที่สัมมาทิฐิเห็นอยู่นั้นเป็นอนัตตา บังคับบัญชามิได้

    การเจริญวิปัสสนาภาวนาจึงเป็นการฝึกฝนอบรมปัญญาสองประการนี้โดยเพียรอย่างต่อเนื่องยาวนาน ปัญญาสองประการเป็นผู้เห็นผู้พิจารณา จิต เจตสิก รูป (เน้นหนักลงไปที่จิต เพราะจิตเป็นใหญ่ เป็นประธาน) จิต เจตสิก รูป เป็นผู้ถูกเห็นถูกพิจารณา (ปัญญาสองประการเป็นผู้กระทำ จิต เจตสิกเป็นฝ่ายถูกกระทำ ถูกเห็น ถูกพิจารณา)

    วิปัสสนาภาวนาดังกล่าวนี้เป็นเหตุแห่งมรรคผลนิพพาน กล่าวคือเมื่อปฏิบัติไปอย่างนี้จนปัญญาทั้งสองมีกำลังเต็มร้อยเปอร์เซ็นแล้ว (อกาลิโก) จะก่อให้เกิดมรรคญาณขึ้นมาตัดกิเลส เมื่อมรรคญาณเกิดขึ้นมาตัดกิเลสแล้วก็เกิดผลคือความสงบเย็นแห่งกิเลส เป็นนิพพาน


    ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : http://portee.in.th/

    อ้างอิงเพิ่มเติม : http://palungjit.org/threads/การใช้ความคิดช่วยพิจารณาจัดว่าเป็นการเจริญวิปัสสนาหรือไม่.184867/


    การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาหากทำถูกตามพระพุทธเจ้าทรงสอนทั้งหมดแล้ว ไม่ใช่บางส่วน แม้เราไม่ได้รู้จักกันมาก่อน เช่น ไม่รู้จักสำนักวิปัสสนาภาวนาอนัตตาราม(ถ้ำวัว), หลวงพ่อทูล เป็นต้น แต่วิถีธรรม ความรู้ สภาวะ คำสอนเมื่อได้เริ่มปฏิบัติแล้ว ย่อมเกิดขึ้น เหมือนกัน รวมลงกันได้ ดุจดังแม่น้ำหลายสายมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำใหญ่ฉนั้น....

    ขอให้เจริญในธรรม
     
  13. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    มันเสพ (กาม) ไปตั้งแต่ตาเห็นรูปแล้ว (ไม่ต้องถึงกับกายเข้าไปสัมผัสก็ได้หรอก) แค่จ้องตากัน จ้องทีวี จ้องวีซีดี มันก็เสพไปตั้งแต่นั้น ตั้งแต่เริ่มคิดเริ่มพอใจแล้ว ถ้าไม่มีสติ ไม่ฝึกสติขึ้นมาให้รู้เท่าทันความพอใจพวกนั้น หลงเพลินไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวมันก็ถลำไปทั้งตัวนั่นเอง

    ในเบื้องต้นหน้าที่ของคนที่หวังความพ้นทุกข์จริง ๆ คือ ฝึกสติและสร้างกำลังจิตขึ้นมาให้ได้ก่อน สติดี กำลังจิตดี ขึ้นมาเมื่อไหร่ การบริหารจัดการกับความคิดต่าง ๆ จะง่ายขึ้นเอง


    สติ + กำลังจิต...สติ +กำลังจิต...สติ ++++...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2009
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ขึ้นชื่อว่า ปุถุชนคนมีกิเลส จะละกิเลส ตัณหา กาม ราคะ เลย มันเหลือวิสัย
    จะบรรเทาให้ลดลง ก็พอเป็นไปได้ตามสติปัญญา ของเก่ามันมีเพราะสะสมมานาน
    ของใหม่ก็อย่าไปเอามาเพิ่ม ก็ผ่อนหนักเป็นเบา ยังเป็นปุถุชน ก็พิจารณาตามศีล
    ศีล5 ศีล8 ตามกำลัง ถ้าไม่ผิดศีล ก็ถือว่าดีมากแล้ว ถ้าทำเกินกำลังมันจะมีโอกาสพังพาบ
    ลงมาได้ การถือศีลก็เป็นการฆ่ากิเลสไปในตัว มันห้ามใจไม่ให้ตามใจ กำลังใจก็มีขึ้นมาก
    ตามกันไปได้เหมือนกัน พอศีลมาสถิตย์อยู่ที่ใจแล้ว ใจมันรู้เองก็ไม่สร้างกิเลสมารบกวนตัว
    เอง กิเลสก็ลดลงได้เหมือนกัน

    ทีนี้ ปกติใจเรามันมีกิเลส ตัณหา ราคะ มันก็ปะทุเป็นกิจวัตร ของมัน เพราะมันไม่รู้ตัว
    ถ้าเราไม่หามาใส่เพิ่ม ไม่ไปดูหนัง ดูเนื้อ ดูสาว ดูคนอื่น ไม่ดูให้มายั่วกิเลสตน ก็ถือว่า
    ช่วยตัวเองไประดับหนึ่ง ไม่หาไฟมาใส่ตัวเอง ที่เหลือก็มีสติรู้ตัวไป มีกำหนัดเกิด ก็รู้ตัวไป
    มีความอยากเกิด ก็มีสติรู้ตัวไป มีราคะ เกิด ก็มีสติรู้ตัวไป อย่าไปทำอะไรผิดศีลธรรม ก็ถือ
    ว่าได้ช่วยตัวเองให้เกิดปัญญา รู้เท่าทันกิเลสตนเอง วิธีง่ายๆคือแค่รู้ตัวเองนี้แหละ จะทำให้
    จิตเกิดปัญญา มองเห็นพฤติกรรมของตัวเอง ก็ทำให้เราเข้าใจตัวเอง และรู้ว่าควรจัดการตัว
    เองอย่างไร มีสติก็เหมือนมีน้ำคอยดับไฟกิเลส ไฟตัณหา ไฟราคะ

    เราได้ยินมาว่า กามนี้จะละได้ เมื่อถึงภูมิ พระอนาคามี ถ้าเป็นปุถุชนยังละไม่ได้ แต่ก็มีวิธี
    คือ ใช้กำลังฌาณเข้าข่ม แต่มันละได้ไม่จริง พอหมดกำลังฌาณ ก็เกิดได้อีก
    หรือพวกที่ทำตัวเองให้เหมือนก้อนหิน ไม่มีความรู้สึก ก็ไม่รู้สึกรู้สาอะไร แต่เชื้อมันยังอยู่
    ถ้าพลาดพลั้งมันก็เกิดอีก หรือ ถ้าเผลอไปก้อนหินมันก็กลายเป็นคนมีความรู้สึกขึ้นมาอีกได้
    หรือ ตัดประสาทสัมผัสที่ทำให้เกิดตัณหาราคะ มันก็ตัดได้ที่กายเท่านั้น ใจมันก็ยังทำงาน
    เพียงแต่มันทำงานได้ไม่สมประกอบ กิเลสเกิดที่ใจแล้วหาทางออกทางกายไม่ได้ มัน
    อาจจะไประเบิดออกทางอื่นก็ได้เช่นโทสะ โมหะ ถ้าขาดสติ มันก็ปะทุได้แบบไม่รู้ตัว
    แต่ถ้ามีสติเราก็ยังรู้ทันก็หยุดระเบิดได้ หยุดการปะทุได้ด้วยสติ เพราะมีสติรู้ตัวเอง

    รู้ตัวว่าทำอะไร เพื่ออะไร
    รู้ตัวว่าอยู่ขั้นไหน ควรฝึกตนอย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์ตามขั้น ตามลำดับ ก็เหมือนเรา
    รู้ตัวว่าเดินขึ้นบันไดไปทีละขั้น ทำความสำเร็จไปทีละขั้น กำลังใจมันก็เพิ่มไปทีละชั้น
    เดินไปตรงทางเรื่อยๆ สักวันมันก็ถึงยอดเอง ถ้าข้ามขั้นมันก็เหนื่อยมากหน่อย แล้วก็มี
    โอกาสพลาดพลั้งตกบันไดเจ็บตัว หรือบางทีก็ถอยหลังเดินไปผิดทางอีก
     
  15. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ลำดับแรกเริ่มดู เริ่มเห็นรูปนามแล้ว ขั้นต่อไปก็ดูนิวรณ์ซิ ลองซิ ๆ คุณพี่^-^
     
  16. วิมุติมรรค

    วิมุติมรรค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    305
    ค่าพลัง:
    +1,754
  17. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    คราวนี้ ก็มาดูความกังขาที่คุณ ตรึกตรองอย่างแยบคาย(มนสิการ** - ไม่มีโยนิโส*)
    จึงเห็นเป็นคำถามนี้ขึ้นมากันต่อ ( จาด ID : นิวรณ์ )

    ก็ขออธิบายตรง สัญญา ให้ฟังเล่นๆ ว่า

    สัญญา นั้นมีการทำงานอยู่สองระดับใหญ่ที่พึงรู้สึกได้ทันที ไม่ต้องฝึกมาก เพียงวาง
    มุม(โยนิโส*) ให้ใจไปรู้สึก แล้วเอาความรู้สึกที่ได้มาใคร่ครวญ(มนสิการ**) ก็มาดูตัว
    อย่างกันที่ ประโยคยอดหิต "รสมะนาว"

    รสมะนาว เมื่อเราชิม จะเกิดการทำงานของสัญญา สองรอบ

    สัญญารอบแรก เป็นเพียงความรู้สึกในรสล้วนๆ ไม่มีคำบรรยาย ต่อให้บรรยาย
    ก็ทำไม่ได้ มันกึ่งพ้นสมมติ อนุโลมเรียกตรงนี้ว่า สมมติสัจจ คือ รู้แต่ว่ามันมี แต่ไม่
    สามารถบรรยายได้ว่าเป็นอย่างไร แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันไม่มี จึงเรียกรวมๆ
    ไปว่า สมมติสัจจ

    สัญญารอบที่สอง จะเกิดการให้ค่า ยินดี ยินร้าย หรือ กลาง เสียก่อน จึงปรากฏ
    สัญญาอีกกลุ่มตามมา ตรงนี้จะเป็น สัญญาที่เรียกชื่อได้เป็นชื่อๆ สามารถสื่อสาร
    กันได้ เป็นสมมติล้วนๆ ขึ้นกับ ชาติ ภาษา และ วัฒนธรรมกลุ่มชน เรียกอีกแบบ
    ว่า สมมติบัญญัติ

    เมื่อเอา สัญญา สองรอบไปพิจารณาเป็น รูป-นาม คนก็จะพลาด คิดว่ากำลังพิจารณา
    รูป-นาม โดยไปคิดว่า สัญญารอบแรกนั้นคือรูป และสัญญารอบที่สองคือนาม ซึ่งเข้า
    ใจผิด ภาวนาเห็นแบบนี้ให้ตายก็ไม่รู้เรือง ติดคิด ติดสัญญา เพราะมันเป็น นามล้วนๆ
    แต่การพิจารณาแบบนี้ จะให้ผลของความสงบได้ ก็ดีในแง่กดข่มกิเลส นิวรณ์

    * * * *

    อีกตัวอย่างหนึ่ง ซึ่งใกล้เคียง แต่ไม่ใช่เสียทีเดียว คือ การฟังภาษาต่างประเทศ หาก
    เป็นภาษาที่เรายังไม่ native(ใช้เป็นชีวิตประจำวัน) หรือ fluent(คล่องแคล่ว) ให้สังเกต
    ว่า เวลาเราฟัง เราจะพอรู้ๆอยู่เหมือนกันว่า เขาพูดอะไร แต่เราจะต้องอาศัยการแปล
    กลับเป็นภาษาไทยเสียก่อนจึงจะรู้เรื่อง

    สมมติว่า เราไปยึด ไปพอใจ ที่คิดพิจารณาแบบแปลความก่อน ก็จะเป็น พวกภาวนา เจริญ
    ภาษาต่างประเทศแบบติดคิด ไม่มีทางจะไปพูดกับฟรั่ง หรือ เจ้าของภาษาได้ มันไม่
    คล่องแคล้วว่องไวพอ จะเห็นเลยว่า เป็นเพราะยึดมั่นการแปลความเป็นภาษาไทยเอาไว้

    แต่ถ้าเราเคยไปตกระกำลำบากในต่างประเทศ ความรู้สึกที่ว่าเราต้องแปลเป็นไทยก่อน
    มันจะเด๋อด๋าทันที แล้วเราจะใช้ใจรับรู้สิ่งที่คนต่างชาติพูด แล้วเราก็ใช้ใจเราพูด โดย
    แทบไม่สนภาษาสมมติบัญญัติ จะมือไม้ อ้อๆ แอ้ๆ อึๆ อะๆ ใจสู่ใจมันจะรู้เรื่อง แล้วทำ
    ให้ไม่อดตาย แล้ว ร้อยละร้อย พอใช้ใจสื่อสารแล้ว ปลดภาระที่ยึดเหนี่ยวไปแล้ว มัน
    ทำให้เราเข้าใจภาษาใหม่ๆ ที่เป็นธรรมชาติ เข้าใจภาษาธรรมได้ในที่สุด และตามสถิติ
    คนที่ไปต่างประเสแบบงูๆปลาๆ หากอยู่ต่อเนื่อง 3 เดือนกลับมา จะพูดภาษาต่างชาติได้
    หากไป 2 ปี กลับมาจะพูดภาษาเดิมตนไม่ได้ เพราะชินกับการทิ้ง ไม่เกาะเกี่ยว ยึดมั่นถือ
    มั่นในตัวความคิด ภาษาคิดอีก

    จะเห็นว่า สัญญา มีสองรอบ รอบที่ให้ปัญญาได้คล่องที่สุด คือ สัญญาที่ผุดขึ้นรอบแรก

    แต่กระนั้น ตรงนี้ก็ไม่ใช่การรู้ รูป-นาม ซึ่งแปลว่า ยังไม่ใช่รู้ตามความเป็นจริง

    การรู้ตามความเป็นจริง จะต้องระลึกรู้ผ่านสัญญารอบแรกขึ้นไปให้ได้ เมื่อพ้นสัญญารอบ
    แรกไปได้ คราวนี้จะเหลือแต่ความรู้สึก เป็นสัมผัส เป็นอยาตนะ เป็นสฬายตนะ

    เมื่อทำความรู้สึก รับรู้ได้ตามลำดับ หากถึงสฬายตนะ พ้นอยานตนะขึ้นไปได้ ก็จะพ้น
    กามภพ ซึ่งก็หมายความว่า หากระลึกรู้ได้ไวขนาดนั้น มีสติไวขนาดนั้น มีสัมปชัญญะ
    ดีขนาดรู้สฬายตนะได้ตามจริง ก็สงสัยจะเป็นอนาคามีได้ แต่ก็ไม่แน่ เพราะศาสนา
    อื่นๆก็สามารถสอนให้เข้าถึงตรงจุดนี้ โดยที่ไม่ได้ผ่านมรรคผลอะไรก็ยังได้ ทั้งนี้ความ
    ต่างก็คือ ตัวสติที่เจริญ จะเป็นคนละตัวกัน .....(มาถึงตรงนี้ ก็ควรตั้งข้อสังเกตไว้ให้ดีๆ
    ว่า สติ แบบไหนที่มีต่างกัน ระหว่างศาสนาพุทธ กับ ศาสนาอื่นๆ )

    * * * *

    สรุป :

    วิปัสสนา กับ สัญญา ต่างกันแน่ๆ ที่คุณสงสัย ถูกต้องแล้ว ( แต่คำตอบจะให้ชัดนั้น ยังต้องภาวนาต่อ )

    การไม่ยินดี(รวมยินร้ายด้วย) ในสัญญา ที่มันผุดมาบอก มาพูด มากระซิบ จะทำให้เราเข้าถึงปรมัตถ์ธรรม(รูป จิต เจตสิก นิพพาน)
    ได้ลึกซึ้งขึ้น เหมือนกรณีราเข้าใจภาษาต่างประเทศ แต่กรณีนี้ เรากำลังเข้าใจ "ภาษาธรรม" จึงต้องรู้
    แล้วปล่อย ปล่อยแล้วจึงรู้ "วิปัสสนาเริ่มเมื่อพ้นคิด แต่ก็อาศัยคิดจึงรู้" (ว่าวิปัสสนามันอยู่ตรงไหน ลึก
    ซึ้ง สุขุมกว่าคิดมากสักแค่ไหน)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2009
  18. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    เวลาเราปฏิบัติธรรม ขอให้ยึดคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหลัก แล้วนำไปกระทำตาม ไม่รู้ ไม่แน่ใจ
    ขอให้หมั่นเรียนรู้ สอบถาม อย่าเอาคิดเอาหรือนำตรรถะตัวเองมาเทียบ แล้วสรุปตอบเอาว่าจะต้องเป็นอย่างนี้
    เพราะจะปฏิบัติผิดได้...

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
    วิตักกสูตร
    ว่าด้วยการตรึกในอริยสัจ ๔

    [๑๖๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าตรึกถึงอกุศลวิตกอันลามก คือ กาม-
    *วิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะวิตกเหล่านี้ ไม่ประกอบด้วย
    ประโยชน์ ไม่ใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความ
    ดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะตรึก พึงตรึกว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ
    นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะความตรึกเหล่านี้ ประกอบด้วยประโยชน์
    เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ
    ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำ
    ความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรคามินีปฏิปทา.

    จบ สูตรที่ ๗

    **************************

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
    อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
    ทิฏฐิสูตร

    [๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นผู้
    ปฏิบัติปฏิปทาอันไม่ผิด และเป็นอันปรารภเหตุ เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
    ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ เนกขัมมวิตก ๑ อพยาบาทวิตก ๑ อวิหิงสา
    วิตก ๑ สัมมาทิฏฐิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
    นี้แล เป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาอันไม่ผิด และเป็นอันปรารภเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ
    ทั้งหลาย ฯ

    จบสูตรที่ ๒

    ช่วยกันรักษาคำสอนของพระพุทธเจ้าเถิด...

    ขอให้เจริญในธรรม
     
  19. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ละไม่ได้ เพราะไม่พยายามที่จะละ เพราะติดตรง อุปธิ คือ ความเพลิน นี่เอง ความเพลินในโลก..

    สาธุครับ
     
  20. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    บางคนมีบุญญาบารมี สั่งสมปัญญามามาก พูดนิดเดียวก็เข้าใจ ทำได้เลย

    บางคนพูดแล้วพูดอีกก็ยังไม่เข้าใจ ทั้งนี้เพราะสั่งสมบารมีมาเท่ากัน อีกอย่างหนึ่ง บางทีอาจเพราะไม่มีวาสนาต่อกัน ทำให้ฟังกันไม่เข้าใจก็ได้

    เอาให้ดี ต้องได้แบบเจโตฯ ส่องใจเลย มองปั๊บให้รู้เลยว่า คนนี้สอนได้สอนไม่ได้ เหมือนที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านเคยกล่าวไว้ อย่างงั้นแน่นอน แต่ถึงไม่ได้ก็ให้แนวทางไว้ ไม่ถึงกับทอดทิ้งกัน สุดแล้วแต่เขาจะเอาไปพิจารณา ให้การทำได้ไม่ได้นั้นขึ้นอยู่ที่ตัวเขาเอง อย่าให้กลายเป็นขึ้นอยู่ที่ตัวเรา..นั่นแหละดีครับ.
     

แชร์หน้านี้

Loading...