ระดับอุปจาระสมาธิกายกับจิตแยกจากกันหรือยังคะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย M_Y, 2 ธันวาคม 2013.

  1. M_Y

    M_Y เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +220
    ตามหัวข้อเลยค่ะ รู้สึกสับสนระหว่างฌาน กับอุปจาระสมาธิค่ะ ว่าต่างกันยังไง
    ขอบคุณค่ะ
     
  2. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    สมาธิมี 3 ระดับ ขณิกะ อุปจาระ และอัปนา
    1. ขณิกะอยู่ที่ฌานที่ 1
    2. อุปจาระอยู่ที่ฌานที่ 2 และ 3
    3. อัปนาอยู่ระดับฌานที่ 4 เป็นต้นไปจนถึงฌานที่ 9 ครับ
    เจริญในธรรมครับ
     
  3. M_Y

    M_Y เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +220
    ขณิกสมาธิ เป็นสมาธิเพียงเล็กน้อย เช่น การอ่านหนังสือ ฯลฯ ไม่น่าจะเป็นฌานนะคะ
     
  4. M_Y

    M_Y เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +220
    อุปจาระสมาธิ กายกับจิตแยกออกจากกันหรือยังค่ะ
     
  5. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,430
    ค่าพลัง:
    +35,010
    แยกกันแล้วครับแบบชั่วคราว...แต่ว่ายังไม่เด็ดขาดเลยแบบชั่วคราวเหมือนกับระดับฌาน
    ลักษณะการแยกกันอยู่ในระดับที่ไม่สามารถควบคุมประสาทสัมผัส
    ของร่างกายได้ แต่ยังเชื่อมโยงร่างกายไว้ด้วยในขณะเดียวกัน
    อาการทั่วๆไปคล้ายครึ่งหลับครึ่งตื่น..เหมือนเราลืมตาดูและมองเห็นแต่หนังตาไม่ได้เปิด
    .และเป็นระดับที่เชื่อมเข้ากับความคิดที่เกิดจากตัวจิตได้ง่าย
    หากมีความคิดจากจุดนี้ความคิดจะกลายเป็นนิวิรณ์ที่จะทำให้
    จิตกลับมาเชื่อมกับกายทันทีในเสี้ยววินาที.อาการนี้บางคนเจอ
    แล้วใช้การกระตุ้นความรู้สึก
    หรือการฮึดนั่นหละครับเลยขยับร่างกายได้

    ลักษณะอาการพูดง่ายๆก็คือเราคิดที่จะขยับร่างกายได้แต่ร่างกายจะไม่สามารถ
    สามารถขยับได้ครับ.หรือคล้ายๆว่าใจไปแต่ร่างกายไม่ไปนั่นหละครับ
    .และในขณะที่แยกกันลักษณะนี้.จิตจะเกิดสภาวะ
    ความเป็นทิพย์ขึ้นมาได้ด้วย..ทำให้สามารถสัมผัสกับเรื่องราวต่างๆ
    ที่เป็นนามธรรมได้ด้วยเป็นปกติครับ..

    ปล.มีอะไรสงสัยมากกว่านี้ไหมครับ.​
     
  6. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    ไม่ขาดจากกันนะครับ

    อุปจารสมาธินั้น เป็นสมาธิที่มีความแน่วแน่ ต่อสิ่งหนึ่ง
    แค่เราภาวนาพุทโธ กำหนดตามลมหายใจ ไม่คิดเรื่องอื่นๆ
    นี่ก็คืออุปจารสมาธิแล้ว และแม้แต่การยิงปืน หรือชู้ตบาสก็เป็นอุปจารสมาธิ

    กายจะขาดความรู้สึกกับจิตได้นั้น ต้องเป็นอัปนาสมาธิ
    คือฌานระดับ จตุตถฌาน(ฌาน๔)เท่านั้นครับ

    สรุป อุปจารสมาธิคือสมาธิระดับฌาน ๑-๓
    และอัปปนาสมาธิคือสมาธิระดับฌาน ๔ ทั้งหมด (จตุตถฌานทั้งหมด,อรูปฌานก็เป็นจตุตถฌาน)
    ฌาน คือคำเรียกผู้ที่มีอาการของการทรงสมาธิ แบ่งระดับต่างๆกันนั่นเอง
    ฌาน ก็คือสมาธิ สมาธิก็คือฌาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2013
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ฌาน หรือ อัปนาสมาธิ จะเริ่มนับที่ ปฐมฌาน
    มีอัปนาสมาธิอย่างละเอียดในฌานที่4

    อุปจาระสมาธิยังไม่เรียก ว่า เป็นฌาน

    อุปจาระสมาธิ กายกับจิตยังไม่แยกออกจากกันครับ

    และอีกอย่างนึงในทางวิปัสนาญาณ

    แม้ในฌานที่4 แม้กายกับจิตจะแยกออกจากกัน
    ก็ยังไม่เรียกว่า แยกรูปแยกนามได้ หรือเรียกตามบาลีว่า รูปนามปริเฉท


    ทีนี้ สมาธินั้นมีสองอย่าง
    สมาธิที่เจริญตามพระพุทธศาสนา
    ที่เรียกว่า สัมมาสมาธิ
    รูปนามปริเฉท สามารถเกิดขึ้นได้
    แม้ อุปจาระสมาธิ ขณิกะสมาธิ และแม้อัปนาสมาธิก็เกิดขึ้นได้

    จะต่างจากสมาธิของกลางๆที่ทุกศาสนาทำได้

    งงป่ะครับ^^
     
  8. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,430
    ค่าพลัง:
    +35,010
    คุณ Tsukino2012 อาจจะยังเข้าคาดเคลื่อนอยู่ครับ..
    ยังไงลองค่อยๆทบทวนดูอีกรอบก็ได้..ข้อมูลในนี้ก็มี.
    เอ๊ะใจไหมครับ..ว่าทำสายอฐิษฐานจิตถึงต้องเข้าฌาน ๔
    ก่อนแล้วถอยกำลังมาอุปจารสมาธิเพื่อใช้เป็นทิพย์ของระดับนี้เพื่อ
    ให้เกิดผลในการอฐิษฐานและก่อนที่จะกลับเข้าอีกครั้ง.
    .กิริยาที่คุณเข้าใจเป็นระดับ ขนิกสมาธิและเลยไปปฐฌานครับ..
    ช่วงที่จิตไม่สามารถควบคุมประสาทสัมผัสของร่างกายได้
    คนเราจะขยับตัวได้อย่างไรครับ.คุณนึกอาการคนที่นอนๆอยู่
    แล้วเหมือนๆครึ่งหลับครึ่งตื่นดูครับ..ยังไงลองพิจารณาความเข้าใจดูอีกรอบ
    นะครับ.อย่าหาว่ามาเบรคหรืออะไรเลยนะครับ
    .​
     
  9. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090

    อาการขาดจากกาย วิญญาณทางอายตนะก็ต้องดับให้หมด
    และคงเหลือไว้แต่จิตอย่างเดียว
    คือ วิญญาณต่างตา หู จมูก ลิ้น กาย ต้องดับหมด
    แต่ถ้ายังไม่ถึงฌานที่ ๔ ไม่เรียกว่าขาดจากกัน
    เพราะเรายังรู้สึกถึงเสียง รู้สึกถึงสัมผัสทางกายได้อยู่บ้าง
    เพียงแต่ ตั้งแต่ฌานที่ ๑ ไล่ขึ้นมา ความรู้สึกจะค่อยๆเบาลง
    ในสภาวะฌานที่สอง ยังต้องผจญอยู่กับปีติ
    ตัวโยก น้ำตาไหล ขนลุก แต่อารมณ์วิตกวิจารดับไป ไม่ภาวนาในฌานนี้
    แต่หูก็ยังได้ยินเสียงรอบๆตัวได้อยู่ และเมื่อมีเสียงดังมากๆเกิดขึ้นเฉียบพลัน
    ก็ทำให้สมาธิถอยออกมาได้
    ฉะนั้น ภาวะจิตแยกกายจึงมีแค่ จตุตถฌานเท่านั้น

    ส่วนเรื่องของสภาวะอื่นๆที่คุณอาจเห็นว่าผมกล่าวไม่ตรงกับคุณ
    มันก็เป็นเรื่องของความเข้าใจส่วนตัว ที่ผู้ปฏิบัติจะได้เข้าไปรับรู้
    และในฌานที่ ๑ ในสภาวะที่มีนิมิตกสิณก็ดี
    หรือจะเป็นนิมิตจากอานาปานสติก็ดี
    ในภาวะฌานนั้น แม้จะหลับตา แต่ผมก็สามารถพูดคุยได้เป็นปรกติ
    โดยที่ยังทรงนิมิต และทรงอารมณ์ของฌาน ๑ เอาไว้ได้
    แต่พอเข้าฌานที่ ๒ จะไม่สามารถพูดคุยได้แล้ว
    แต่ถามว่าได้ยินเสียงไหม ได้ยิน แต่ถ้านำมาพิจารณา
    สมาธิจะถอยไปสู่ฌาน ๑
    ถ้าอ่านตามตำราจะเข้าใจว่าอุปจารสมาธิ ยังไม่ถึงฌาน
    แต่ในความเป็นจริง อุปจารสมาธิ คือฌานที่ยังเหลือวิญญาณทางอายตนะ
    อัปปนาสมาธิ คือสมาธิแน่วแน่ คือไม่หวั่นไหว แนบสนิท
    แม้ในฌาน ๓ เสียงยังเป็นเหตุให้ฌานถอยได้
    แต่ฌาน ๔ เป็นต้นไป ไม่ได้ยินเสียง ไม่รู้สัมผัส
    ถือว่าเป็นฌานที่มั่นคง จะถอนก็ถอนเพราะเราตั้งใจถอนเอง

    เรื่องสายอธิษฐาน ให้อธิษฐานก่อนเข้าฌาน ถอยฌาน เล่นฤทธิ์
    เป็นเรื่องของผู้ที่ได้คุณวิเศษแล้ว เป็นรูปแบบวิธีการถ่ายทอดความรู้
    ตนเองต้องลองปฏิบัติให้ถึงระดับนั้นเสียก่อนจึงจะเข้าใจ
    จะไปจำที่เขาเขียนไว้เอามากล่าว เอามาบึดมั่นก่อน
    โดยที่ยังไม่พิสูจน์ให้เห็นว่าตรงตามนั้น มิได้ครับ

    เอ๊ะใจไหมครับ..ว่าทำสายอฐิษฐานจิตถึงต้องเข้าฌาน ๔
    ก่อนแล้วถอยกำลังมาอุปจารสมาธิ


    ถอยกำลังมาสู่อุปจารสมาธิ หลวงพ่อก็เขียนไว้เพียงเท่านั้น
    ท่านก็ไม่ได้บอกว่า ถอยมาให้ไม่ถึงฌาน
    เพราะฌาน ๑ ก็สามารถสื่อสารได้ และยังเห็นนิมิตได้
    อุปจารสมาธิดังกล่าวก็อาจจะหมายถึงฌาน ๑
    ที่มีอารมณ์ขององค์ฌานครบถ้วนได้เหมือนกัน
    แต่ก็อาจจะไม่ถึงฌาน ๑ ได้เหมือนกัน
    จะรู้ได้ เฉพาะผู้ทดลองฝึกสมถะอย่างจริงๆจังๆเท่านั้นครับ
     
  10. M_Y

    M_Y เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +220
    ความทรงจำหายไปในช่วงอยู่ฌาน4 หรือเปล่าค่ะ พอดีตั้งกระทู้ถามในห้องอภิญญาxp ค่ะ มีใครเคยเกิดสภาวะความทรงจำหายไปชั่วขณะหนึ่งบ้างคะ
     
  11. M_Y

    M_Y เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +220
    ยิงปืน ชู้ดบาสไม่ใช่แค่ขณิกสมาธิหรอคะ อุปจาระสมาธิต้องลึกกว่านั้นนะคะ
     
  12. M_Y

    M_Y เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +220
    คำตอบของคุณเข้าใจค่ะ แต่ของคนอื่นยังงงๆอยู่เลย เจ้าของกระทู้เองก็ไม่ค่อยจะรู้เรื่องพวกนี้สักเท่าไรค่ะ
     
  13. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    อุปจาระสมาธิ เป็นเรื่องของกายทิพย์ออกมาซะมากกว่า
    เริ่มแต่ ฌาน สาม เป็นเรื่องของจิต ระดับนี้ จิตเริ่มจะออกจากกาย
    พอเข้าฌาน สี่ จิตแยกออกจากกายอย่างสมบูรณ์
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    คุณเจ้าของกระทู้

    สงสัยตัวเองไหมครับว่า ตกลง รู้ หรือ ไม่รู้

    เพราะ ดูๆไป ทั้งที่ เหมือนจะไม่รู้(จึงมาตั้งกระทู้ถาม) แต่ พอใครชี้อะไรมา
    ก็ซัดรหัสพ่อรหัสแม่ ทุกคนกลับได้หมด ว่า อย่างงั้น อย่างงี้

    อย่ากระนั้นเลย

    มาฟังอะไรที่แปลกๆ ที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน กัน บ้าง ดีกว่า ( รึเป่า มะรุนะ )

    คือ อยากจะบอกว่า หาก จขกท ยังอาศัย ความรู้เดิมๆ ก็ไอ้ความรู้เดิมๆ
    นั่นไม่ใช่เหรอที่ทำให้ งง เรือหาย จนกระทั่งต้องมา ชงกระทู้ถาม

    เอาละนะ ของแปลกมีแบบนี้

    ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และ อัปปณาสมาธิ มันก็ได้ทั้ง ฌาณ 1 - 9

    เน้นนะว่า 1 - 9 เป็น ขณิกะ ได้ ( คำพระ หรือ คำของหลวงพ่อฤาษี
    ท่านเรียกว่า " ฌาณกระจุ่มกระจิ๋ม " แล้ว ยก การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธน
    ของ พระสารีบุตร ว่า ชั่วเวลาดีดนิ้วดังเป๊าะ(ลัดนิ้วมือเดียว) จิตพระสารรบุตร
    เข้าออก สัญญาเวทยิตนิโรธน จำนวน แสนโกฏครั้ง ( เปรียบดัง ไฟติดดับ แสน
    ล้านครั้งใน 1 วินาที )

    ทำไมเป็นแบบนั้น

    ก็เพราะ สมาธิในพระพุทธศาสนา เขาเน้นที่ " ราคะดับ " ไม่ได้เน้น
    หูดับ หางดับ ตูดดับ ปัญญาดับ ติดว่างๆ เอาว่าง

    สมาธิในพระพุทธศาสนา เดินเหิน ตามปรกติ กินข้าวตามปรกติ ขี้ก็
    ปรกติ เยี่ยวก็ปรกติ แต่ ทุกขณะจิตนั้น ดับหมด !!

    ดับอะไร ดับ ราคะ สิคร้าบ อย่า ไปฟังธรรมแบบโง่ๆ ที่มุ่งดับ
    สัญญาบ้าง วิญญาณบ้าง เวทนาบ้าง สังขารบ้าง รูปบ้าง นั้นมัน
    เป็นการดับของพวกปัญญาอ่อน

    เราดับที่ ราคะ

    จะรู้ได้อย่างไรว่า ราคะดับ

    ต้องมีการพิจารณา เพียรเพ่ง กำหนดรู้ ราคะ เป็นเสียก่อน

    กายคตาสติ หรือ ลมหายใจ หรือ อะไรก็ตาม ที่เป็น กายคตาสติ เขา
    เอามาเป็นอุบายในการ เห็น ราคะ มันมีหรือไม่มี

    ฝึกการพิจารณา ราคะ ซึ่งจะอาศัย หากมีสติรู้เนื้อรู้ตัว กิน ขี้ อี้ นอน
    ก็มีสติ มีสัมปชัญญะรู้เนื้อรู้ตัว กายคตาสติมี อกุศลมันก็แทรกไม่ได้

    พออกุศลแทรกไม่ได้ ก็สาวไปหาเหตุ อ๋อ ราคะ ไม่มี

    ราคะมี ก็โทษะบ้าง โมหะบ้าง ไหลไปไหลมา

    แต่ถ้า ราคะมีก็รู้ ไม่มีก็รู้ ฝึกสติ เป็น คราวนี้ ............

    จิตไม่มีราคะ ชั่วขณะหนึ่ง จิตขณะนั้น เป็น ฌาณ ไปแล้ว 1 ขณะจิต
    [ ผู้ฝึกตน กับ ปุถุชน จะต่างกันตรง ที่ การยกพิจารณา ...ปุถุชน
    จึงไม่มี ฌาณ แฌณ ขณิโกะ ขณิกะ สมาธิอ่านหนังสือ ฯลฯ รหัสพ่อรหัสแม่
    ไม่ใช่ คนละเรื่อง !! -- เว้นแต่ อ่านหนังสือ เพื่อกำหนดรู้ราคะ ตัณหา หรือ
    ทุกขสัจจ ก็จะอีกเรื่องหนึ่ง]


    หากพิจารณา จิตไม่มีราคะได้อย่างต่อเนื่อง 2 ขณะจิต ก็จะเป็น อุปจาระ
    คือ วิถีจิตสองรอบ มันไม่มี ราคะเข้ามาแทรก

    หากพิจารณา จิตไม่มีราคะได้ 3 ขณะจิต ต่อเนื่อง จิตจะเริ่มรู้รสของ "ฌาณ"
    เพิ่มเติม ทำให้ น้อมเข้า น้อมออก น้อมอยู่ น้อมดับ ได้คล่องตัว เหมือน
    บริหารจิตให้มีกำลังได้ แต่ก็ยังไม่ใช่อัปณา มันจวนเจียนเต็มที

    ทำไม จวนเจียนๆ

    การฝึกในการพิจารณา เห็นการดับก็จะเพิ่ม จาก การเห็น กามวิตก
    ..มาเพิ่มการเห็น พยาบาทวิตก และ วิหิงสาวิตก เพิ่ม

    คราวนี้จิตก็จะปราศจาก วิตก 3 ....

    เมื่อ จิตปราศจาก ราคะ โทษะ เอา เหตุเพียงเท่านี้ เราก็สามารถ
    ที่จะ ทราบด้วยตัวเอง ยินยันได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้อง ถามใครที่ไหน
    เลยว่า จิตเราคล่องแคล้วใน ขณิกะ อุปจาระ หรือ อัปปณา หรือไม่

    ถ้าเก่งกว่านั้น ยังสามารถเอา อิทธิบาทมาเป็น สังวรณประธาน ทำให้
    ฝึกฌาณ(สมาบัติ) แฌณ ฮา เฮว เพื่อ กำหนดรู้ ตัณหาอันยิ่ง เพิ่มเติมได้อีก
    สำหรับคนที่ ฝีไม้ลายมือ มี

    เพราะอะไร

    เพราะ เป็นคนที่จิตผ่องแผ้ว ก็พร้อมจะ ยังกุศลให้ถึงพร้อม แล้วมันก็
    พร้อมจะน้อมไปสู่ ญาณทัศนะ ตามความเป็นจริง

    ไม่ใช่ มะงุมมะงาหรา ปิดหู ปิดตา ดับสัญญา ดับเวทนา ฯ ดับสติ ดับปัญญา เอา โง่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2013
  15. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เพิ่มเติม

    ใน อรรถกถา มีการกล่าวถึง พระจักขุบาล ซึ่ง สำเร็จด้วย " สุขวิปัสโก "
    เพราะท่านไม่มี ฤทธิ์ ไม่มีตาทิพย์ หูทิพย์ อะไรๆ อันเป็น ทิพย์ ทั้งหมด

    แถม ยังตาบอดมองไม่เห็น ท่านเดินป่า ตาบอด หกล้มจนเจ็บ ก็ยังอาศัย
    ท่า กระดื๊บไปกับพื้น เพื่อจะกลับไปอีกเมืองหนึ่ง

    ตอนนั้นท่านเป็น พระอรหันต์แล้ว แต่ กระดื๊บแบบนั้น ร้อนถึง พระอินทร์
    ต้องแปลกกายลงมาจูงมือเดิน โดยที่ พระจักขุบาลท่านไม่รู้

    อาศัย ความตามปรากฏ อรรถกถาจารย์ ก็ ฟันธง!! ว่า พระจักขุบาล
    เป็น สุขวิปัสโก ทำฌาณ ทำแฌณ ไม่ได้ 1000% แต่ สำเร็จอรหันต์(หน่าคร้าบ)

    แล้ว ข้อความที่กล่าวมาทั้งหมด ก็เพื่อจะบอกว่า

    ในอรรถกถาอีกนั่นแหละ ระบุว่า พระจักขุบาลสอนศิษย์จนสำเร็จอรหันต์ได้
    หลายคน แต่........

    เน้นนะว่า แต่

    แต่ทุกคนที่สำเร็จโดยมีพระจักขุบาลสอน กลับเป็น ปฏิสัมภิทาญาณ ทั้งหมด !!

    ดังนั้น

    ระวังไว้ด้วย

    ไอ้ประโยค ควายๆ ที่สอนกันว่า สุขวิปัสโก สอนคนให้สำเร็จ ฌาณ แฌณ
    สอนคนให้ได้ ฌาณส่งเดช 4 5 6 7 8 9 ไม่ได้เนี่ยะ

    ถ้าไม่ได้ ศิษยท่านทั้งหลาย จะไปเอา ปฏิสัมภิทาญาณ มาจากไหน !!?

    ********************************


    ทีนี้

    เจ้าของกระทู้ ใค่ครวญให้ดีๆ

    ที่ยกมาทั้งหมดนี่ ค่อนข้างแปลกหูสักหน่อย

    แต่ อยากให้ใคร่ครวญให้แยบคาย ว่า เอ้ย จริงแค่ไหนที่เน้น พิจารณาที่กิเลสดับ
    ไม่ใช่เรื่องพิจารณาหาสัญญาดับ เวทนาดับ วิญญาณดับ เด่นดวง ไม่เด่นดวง !!


    เชื่อว่า

    เจ้าของกระทู้ น่าจะมี ปฏิภาณไหวพริบ พิจารณาเรื่องเหล่านี้ได้อย่าง อาจหาญ ร่าเริง ในธรรม
    ได้ด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง [ ไม่ใช่ จำเขามาแล้วเอามา ใส่ไข่ ใส่สี ใสตัวหนา ตัวบาง ]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2013
  16. M_Y

    M_Y เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +220
    อ่านจนตาลายไปหมดเลย ขอบคุณทุกๆคำตอบนะคะ ได้ความรู้เยอะเลย
     
  17. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    ผมโพสว่ายิงปืนกับชู้ตบาสอยู่ในระดับอุปจารสมาธิ
    แล้วไปเกี่ยวอะไรกับขณิกสมาธิครับ
    อุปจารสมาธิก็ต้องลึกกว่านั้น
    แสดงว่าคุณเข้าใจสภาวะอุปจารสมาธิดีอยู่แล้วสินะครับ
    แล้วทำไมถึงไม่เข้าใจเรื่องสภาวะจิตตัดขาดกับกายล่ะครับ
    ถ้าคุณถามเพื่อหาคำตอบจริงๆ
    เพราะเราไม่รู้ ถึงถาม มิใช่หรือ
    ฉะนั้น ก็ต้องเปิดใจในคำตอบที่มีผู้ยื่นให้ให้มาก
    ผมตอบในฐานะของผู้ปฏิบัติเอง เห็นเอง รู้เอง
    รับรองได้ว่า ไม่ได้ไปจำตำรามาโพสแน่นอน
    จะเชื่อหรือไม่เชื่อ ก็เป็นดุลพินิจของคุณเองแล้วล่ะครับ
     
  18. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    แจ่มเลย...ท่าน จขกท

    นี่ถ้า ไม่ใช่คนมี ปฏิภาณ ไหวพริบ ป่านนี้ ด่าผม เปิดเปิง ไปแล้ว

    ดูไป ตรงนี้เลยหน่าคร้าบ

    จิตคุณไม่มี ราคะ ไม่ยึดติดทิฏฐิ ( ข้ามโอฆะคือ คลองความคิด ได้ ) [ เชิงปฏฺิบัติ พิจารณาราคะ ได้ 1 ขณะ ]

    ไม่มีโทษะ ขัดเคืองใจ ( ไม่กำเริบกลับ ) [ เชิงปฏฺิบัติ พิจารณาราคะ ได้ 2-3 ขณะต่อเนื่อง]

    แล้ว ถ้าคุณพิจารณาลงไป เห็น ความราบเรียบอยู่ส่วนหนึ่ง การไหวตัว
    หรือกระเพื่อม สว่าง หรือ มืด ก็อยู่อีกส่วนหนึ่ง แล้ว มี อีกส่วนหนึ่ง
    เห็น อาการทั้งสองนั้น แยกออกมาเป็นอีกส่วนหนึ่ง

    ถ้า ขันธ์5 มันกระจายตัว แยกกันทำงาน คนละส่วน โดยที่ ไม่มี ส่วนที่
    กำลังสังเกตุอาการของจิต อาการของขันธ์ กระโดดไป คว้า ส่วนใด
    ส่วนหนึ่งขึ้นมาเพราะ สงสัย ว่าอันไหนคือเรา อันไหนคือของๆเรา

    สติบริสุทธิอยู่ กับ จิต

    แบบนี้ ท่านพยากรณ์ได้ไหมครับว่า ฌาณ1-4 ท่านคล่องอยู่แล้ว หรือไม่คล่อง

    [ การเสพ สมาบัติ ยกไว้ก่อน รีบร้อนเอามา คว้าเป็นตน เป็นของๆตน มันจะ ชิงสุกก่อนห่าม ]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2013
  19. M_Y

    M_Y เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +220
    สภาวะความทรงจำหายไปเคยเกิดขึ้นมาแล้วจริงๆ จะบาปไหมเนี่ย โพสเรื่องที่ไม่น่าเชื่อ ป่าวหรอกค่ะที่ถามเพราะสงสัยไม่แน่ว่าสภาวะนั้นคืออะไรเท่านั้น

    เป้าหมายหลัก ก็คือการเจริญปัญญานั่นล่ะค่ะ เพื่อมรรคผลนิพพาน
     
  20. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ฌาน กับ อุปจาระสมาธิ ต่างกันครับ ดูองค์ประกอบฌานได้ครับ

    ในที่นี่ เปรียบเทียบกับ ปฐมฌาน ตามที่ จขกท ถามนะครับ

    องค์ของปฐมฌาน มี 5 คือ
    1.วิตก
    2.วิจาร
    3.ปิติ
    4.สุข
    5.เอกัคคตารมณ์

    แต่ อุปจาระสมาธิ นั้นมี 4
    1.วิตก
    2.วิจาร
    3.ปิติ
    4.สุข

    ใน 4 อย่างนี้ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...