รูปฌาน และ อรูปฌาน สำคัญไหม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย santosos, 1 กรกฎาคม 2005.

  1. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    การสนใจปฏิบัติต้องตัดสินตัวเองจากภาคปฏิบัติของตัวเอง ไม่มีใครมาตัดสินให้ สนฺทิฏฺฐิโก เป็นผู้ตัดสินเอง คือผู้ปฏิบัตินั้นแลจะเป็นผู้รู้เองเห็นเอง จากธรรมที่ตนปฏิบัติได้มากน้อย นี้มันไม่มีทำยังไง แล้วหมดไปๆแล้วพระอานนท์ถามขึ้นมาว่า "นี่ไม่ใช่พระองค์ปรินิพพานแล้วเหรอ" พระอนุรุทธะตอบทันทีเลย "ยัง เวลานี้กำลังประทับอยู่ในสัญญาเวทยิตนิโรธ" คือดับสัญญา เวทนา อาการเหล่านี้ไม่ไหวติง นิ่ง สงบ จากนั้นก็ถอยออกมา เวลาถอยออกมาก็บอกว่าถอยออกมา นี่ละพระจิตที่บริสุทธิ์ นั่นละสูญไปไหน ถ้าสูญแล้วอะไรเดินไปหรือก้าวไปตามปฐมฌาน ทุติยฌาน พระจิตที่บริสุทธิ์ก้าวและถอยลงมา นี่ละเวลามีสมมุติอยู่มีสิ่งพาดพิงก็พูดได้ว่าพระจิตที่บริสุทธิ์นี้เวลานี้กำลังก้าวเข้าถึงนั้น ๆ ๆ พอเวลาลงมาจนกระทั่งปฐมฌาน แล้วเป็นพระจิตที่บริสุทธิ์ธรรมดาก็รู้ พอก้าวขึ้นที่สองถึงขั้นจตุตถฌาน ขึ้นไป แล้วจตุตถฌาณนี่เป็นรูปฌาน ทีนี้อากาสานัญจายตนะนั้นเป็นอรูปฌานไม่ไป พอออกจากนี้แล้วออกช่องกลางเลย ปฐมฌานก็ผ่านมาแล้ว อรูปฌานคือพวกอากาสานัญจายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะก็ไม่เข้า ผ่านออกไป

    รู้สึกไง คุยใน เอ็ม santosos@hotmail.com
    แล้วค่อยหาทางคุยเพิ่มต่อไป
     
  2. สายแก้ว

    สายแก้ว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +54
    กระบวนการปรินิพพาน
     
  3. สายแก้ว

    สายแก้ว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +54
    <TABLE width=440 border=1><TBODY><TR><TD width=430>
    ฌาน ๔ เป็นสมาธิ์บริสุทธิ์ผ่องแผ้วไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนเหมาะแก่การงาน

    พุทธดำรัส

    เธอละนิวรณ์ ๕ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งใจซึ่งทำปัญญาให้อ่อนกำลัง แล้วบรรลุฌาน ๔ เมื่อจิตเป็นสมาบริสุทธิ์ผ่องแผ้วไม่มีกิเลส เป็นจิตอ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวแล้วอย่างนี้เธอย่อมโน้มน้อมจิต ไปเพื่ออาสวักขยญาณ เธอย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้เหตุแห่งทุกข์ นี้ความดับแห่งทุกข์ นี้คือข้อปฎิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้จิตของเธอย่อมหลุดพ้น ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้วย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก นี้ซื่อว่าชัยชนะในชัยของเธอ

    โยทาชีวสูตร ที่ ๑

    ฌาน ๔ นำไปสู่พระนิพพาน

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้เพื่อความสิ้นไปเพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ (คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา) เหล่านี้แลฯ

    ฌานสังยุต มหา.สํ

    อินทรีย์ ๕ กับการบรรลุมรรคผล

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์

    วิตถารสูตรที่ ๑ มหา.สํ

    อินทรีย์ ๕ พึงเห็นได้ในฌาน ๔

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย ์ คือ สัทธาพึงเห็นได้ในองค์ ๔ แห่งโสดาบันอิทรีย์ คือ วิริยะ พึงเห็นได้ในสัมมัปปทาน ๔ อินทรีย์ คีอ สติพึงเห็นนได้ในสติปัฎฐาน ๔ อินทรีย์คือ สมาธิพึงเห็นได้ในฌาน๔

    ทัฎฐัพพสูตร มหา.สํ

    ทำอย่างไรจึงจะเข้าถึงแก่นพระศาสนา

    ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย บรรลุรูปฌาน ๔ บรรลุอรูปฌาน ๔ บรรลุสัญญาเวทยิทธินิโรธ อาสวะของภิกษุนั้นสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา แม้ธรรมนี้ก็ยิ่งกว่า ปราณีตกว่าญาณทัศนะ เราเปรียบบุคคลนี้ว่า เปรียบเหมือบุรุษที่ต้องการแก่นไม้ เมื่อถึงต้นไม้ใหญ่รู้จักว่าแก่น ตัดเอาแต่แก่นเท่านั้นถือเอาไป กิจที่ควรทำของบุรุษนั้น ก็จักสำเร็สประโยชน์ได้ดังนี้

    พรหมจรรย์นี้มิใช่มีลาภสักการะความสรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมด้วยศีลและสมาธิ แลญาณทัศนะเป็นอานิสงส์ พรหมจรรย์นี้้มีเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ความที่จิตพ้นวิเศษอันไม่กำเริบนี้แลเป็นประโยชน์ พรหมจรรย์นี้มีวิมุติเป็นแก่นสาร มีวิมุติเป็นที่สุดรอบ ๙

    จูฬสาโรปมสูตร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     

แชร์หน้านี้

Loading...