ร่วมทำบุญบูชา ตะกรุดพ่อสมหวังบรรจุธาตุพระปัจเจก(ขอทรัพย์พระปัจเจก) พ่ออาจารย์พล

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย คุรุปาละ, 12 ตุลาคม 2014.

  1. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,100
    ค่าพลัง:
    +16,525
    เห็นตะกรุดแล้วก็ขอร่วมเกมส์ด้วยคนนะครับ ปกติผมสวดชินบัญชรทุกวัน ชัยน้อย เมตตาพรหมวิหารภาวนา แล้วก็ท่องคาถาภาวนาทำสมาธิ

    สำหรับประวัติครูบาอาจารย์ที่นับถือก็มีหลายองค์แต่วันนี้จะพูดถึงสมเด็จโตนะครับ
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว 7 ปี) เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จุลศักราช 1150 เวลาพระบิณฑบาต (ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331) ณ บ้านไก่จ้น (บ้านท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ[6] จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    มารดาบิดาของท่านเป็นใครไม่ทราบแน่ชัด มีผู้กล่าวประวัติของท่านในส่วนนี้แตกต่างกันไปหลายฉบับ เช่น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อนางงุด บุตรของนายผลกับนางลา ชาวนาเมืองกำแพงเพชร[หรือฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อเกตุ คนท่าอิฐ อำเภอบางโพอย่างไรก็ดีมารดาของท่านนั้นเป็นชาวเมืองเหนือ (คำเรียกในสมัยอยุธยา)เพราะทุกแหล่งอ้างอิงกล่าวตรงกันว่ามารดาของท่านเป็นชาวเมืองเหนือแต่ได้ลงมาทำมาหากินแถบภาคกลางในช่วงหลัง

    สำหรับบิดาของท่านนั้น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่าท่านเป็นโอรสนอกเศวตฉัตรของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งทรงพระยศเป็นเจ้าพระยาจักรี ส่วนฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล และฉบับของตรียัมปวายกล่าวว่าท่านเป็นโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และแม้ในฉบับของตรียัมปวายจะมีข้อสันนิษฐานเพื่อยืนยันหลายข้อ แต่อย่างไรก็ตาม ประวัติทั้งสองฉบับกล่าวตรงกันเพียงว่า ข้อสันนิษฐานว่าด้วยบิดาของท่านนั้นเป็นเพียงเรื่องเล่าซึ่งชาวบ้านในสมัยนั้นกล่าวและเชื่อกันโดยทั่วไป

    เมื่อถึงวัยพอสมควรแล้ว ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. 2343 ต่อมาปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดและเมตตาสามเณรโตเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอายุครบอุปสมบทปี พ.ศ. 2350 จีงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนาคหลวง อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีฉายานามในพุทธศาสนาว่า "พฺรหฺมรํสี"เนื่องจากเป็นนาคหลวงจึงเรียกว่า "พระมหาโต" มานับแต่นั้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้รับพระมหาโตไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์

    ท่านมีอุปนิสัยทำสิ่งใดตามความพอใจของตน ไม่ถือเอาความนิยมขอผู้อื่นเป็นหลักและไม่ปรารถนายศศักดิ์หรือลาภสักการะใดๆ แม้ได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนแตกฉาน ก็ไม่ยอมเข้าสอบเปรียญธรรม ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงตั้งท่านเป็นพระราชาคณะ แต่ท่านไม่ยอมรับ จึงคงเป็นพระมหาโตมาตลอดรัชกาล

    ต่อมากล่าวกันว่า พระมหาโตได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และได้สร้างปูชนียสถานในที่ต่างๆ กัน เช่น สร้างพระพุทธไสยาศน์ไว้ที่วัดสตือ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างพระพุทธรูปหลวงพ่อโต วัดไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นต้น ซึ่งปูชนียสถานทุกแห่งที่ท่านสร้างจะมีขนาดใหญ่โตสมกับชื่อของท่านอยู่เสมอ การจะสร้างปูชนียสถานขนาดใหญ่เช่นนี้ล้วนแต่ต้องใช้ทุนทรัพย์และแรงงานจำนวนมากในการก่อสร้างจึงจะทำได้สำเร็จ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความศรัทธาและบารมีของท่าน ซึ่งเป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนในย่านที่ท่านได้ธุดงค์ผ่านไปอย่างชัดเจน
    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดปรานพระมหาโตเป็นอย่างยิ่ง ในปี พ.ศ. 2395 พระองค์จึงได้พระราชทานสมณศักดิ์พระมหาโตเป็นครั้งแรก เป็นพระราชาคณะที่ "พระธรรมกิติ" และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ขณะนั้นท่านอายุ 65 ปี โดยปกติแล้วพระมหาโตมักพยายามหลีกเลี่ยงการรับพระราชทานสมณศักดิ์ แต่ด้วยเหตุผลบางประการ ทำให้ท่านต้องยอมรับพระราชทานสมณศักดิ์ในที่สุด อีก 2 ปีต่อมา (พ.ศ. 2397) ท่านจึงได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ที่ "พระเทพกระวี" หลังจากนั้นอีก 10 ปี (พ.ศ. 2407) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นสมเด็จพระราชาคณะที่ "สมเด็จพระพุฒาจารย์" มีราชทินนามตามจารึกในหิรัญบัฏว่า
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ อเนกสถานปรีชา วิสุทธศีลจรรยาสมบัติ นิพัทธุตคุณ สิริสุนทรพรตจาริก อรัญญิกคณิศร สมณนิกรมหาปรินายก ตรีปิฎกโกศล วิมลศีลขันธ์ สถิต ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พระอารามหลวงฯ

    สมณศักดิ์ดังกล่าวนี้นับเป็นสมณศักดิ์ชั้นสูงสุดและเป็นชั้นสุดท้ายที่ท่านได้รับตราบจนกระทั่งถึงวันมรณภาพ คนทั่วไปนิยมเรียกท่านว่า "สมเด็จโต" หรือ "สมเด็จวัดระฆัง" ส่วนคนในยุคร่วมสมัยกับท่านเรียกท่านว่า "ขรัวโต"

    ราวปี พ.ศ. 2410 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้มาเป็นประธานก่อสร้างปูชนียวัตถุครั้งสุดท้ายที่สำคัญของท่าน คือ พระพุทธรูปหลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย) ที่วัดอินทรวิหาร (ในสมัยนั้นเรียกว่า วัดบางขุนพรหมใน) ทว่าการก่อสร้างก็ยังไม่ทันสำเร็จ โดยขณะนั้นก่อองค์พระได้ถึงเพียงระดับพระนาภี (สะดือ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ได้มรณภาพบนศาลาเก่าวัดบางขุนพรหมใน ณ วันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2415 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิริรวมอายุได้ 84 ปี อยู่ในสมณเพศ 64 พรรษา เป็นเจ้าอาวาสครองวัดระฆังโฆสิตารามได้ 20 ปี

    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นพระเกจิเถราจารย์ที่เป็นที่เคารพนับถือนอกจากด้านคาถาอาคมแล้ว ท่านยังได้ดำรงตนเป็นผู้สมถะ มักน้อยสันโดษ ไม่ปรารถนาลาภยศ การแสดงออกของท่านตามบันทึกหลักฐานในสมัยหลัง มักบันทึกถึงความเป็นพระเถระผู้มีเมตตา ดำรงศีลาจารวัตรเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของคนทั่วไป อย่างไรก็ตาม เอกสารที่บันทึกประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ไว้เป็นหมวดหมู่ชั้นเก่าสุด คือเอกสารฉบับของมหาอำมาตย์ตรีพระยาทิพยโกษา (สอน โลหนันท์) ซึ่งเป็นฉบับที่รวบรวมโดย ม.ล.พระมหาสว่าง เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ที่รวบรวมขึ้นในปี พ.ศ. 2473 ไม่ได้บันทึกคำสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ไว้เป็นหมวดหมู่ เพียงแต่กล่าวถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในช่วงชีวิตของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ต่างกรรมต่างวาระกัน ตามที่ผู้รวบรวมได้บันทึกมาจากปากคำผู้มีชีวิตร่วมสมัยกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เท่านั้น

    อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันได้ปรากฏมีคำสอนต่าง ๆ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นคำสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ที่เป็นที่นิยมนับถือกันทั่วไป โดยไม่มีการอ้างอิงที่มาที่แน่ชัด เช่น

    "บุญเราไม่เคยสร้าง...ใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า ..."

    "ลูกเอ๋ย ก่อนที่จะเข้าไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือบารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่ไปเที่ยวขอยืมมาจนพ้นตัว...เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมดไม่มีอะไรเหลือติดตัว...แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า...หมั่นสร้างบารมีไว้...แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง...จงจำไว้นะ... เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้... ครั้นเมื่อถึงเวลา... ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่...จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลยจะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • S__8151141.jpg
      S__8151141.jpg
      ขนาดไฟล์:
      71.4 KB
      เปิดดู:
      157
  2. คุณว่าน

    คุณว่าน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +63
    คนแจกมาเล่นด้วย แล้วจะให้รางวัลยังไงอะครับ
     
  3. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,100
    ค่าพลัง:
    +16,525
    ก็ไม่เห็นผิดปกตินะ ถ้าติดตามกันบ้างคำถามเช่นนี้ไม่น่าจะมี เพราะทุกคนจะรู้ว่าทุกครั้งที่เล่นเกมส์ท่านจะจับฉลากให้ตลอด ที่ผมเล่นคืออ่านผ่านๆตาเห็นยังไม่มีใครลงประวัติสมเด็จโตโดยละเอียด หรือเราข้ามไปก็ไม่ทราบก็เลยอยากเอามาลง แต่ปกติผมจะไม่เคยเล่นเฉยๆเอางี้ก็แล้วกันผมจะไม่นับชื่อตัวเองลงไปด้วยโอเคนะ

    * ใจจริงอยากจะเอาประวัติครูอาจารย์ที่นับถืออีกหลายองค์เลยมาลงเพราะจุดประสงค์เราบอกไว้แต่แรกว่าอยากให้อ่านกัน ประโยชน์มันเกิดตรงนี้ ตรงที่ได้อ่านการปฏิบัติได้อ่านวัตรและปฏิปทาคำสอนของครูบาอาจารย์ นี่ถือเป็นประโยชน์สูงสุดของเกมส์ที่ใครอ่านตีความได้แค่ไหน เข้าใจแค่ไหนก็เป็นประโยชน์แก่ตัวเค้า ส่วนของรางวัลแจกที่ผ่านมาเราก็แจกมาหลายสิบครั้งไม่เคยมีปัญหาอะไร ใครไม่ได้ก็รอเล่นเกมส์ใหม่รอบต่อไป มันง่ายแค่นั้นจริงๆถ้าจะทำความเข้าใจวัตถุประสงค์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤษภาคม 2016
  4. chukit1967

    chukit1967 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2015
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +218
    ภาวนา พุทโธตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เกิดความคิด ๆ เกิดจากกิเลสเป็นตัวการ
    15สิงหาคม 2548 หลวงตามหาบัว
    อ่านประวัติหลวงตาฉบับเต็ม “ญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์” คลิกอ่านได้ที่นี่
    ดาวน์โหลด E-Book “ญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์” ดูในคอมพิวเตอร์
    ดาวน์โหลด E-Book “ญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์” ดูในห้องสมุด( IPhone, Ipad)
    ดาวน์โหลด E-Book “ญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์” (ดูใน apps Iphone, Ipad)

    กำเนิด ในครอบครัวชาวนาผู้มีอันจะกิน ณ บ้านตาด อุดรธานี

    วันเกิด ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๖

    นาม บัว โลหิตดี

    พี่น้องทั้งหมด ๑๖ คน

    สมัยเด็ก เคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โดยได้ร่วมทำบุญตักบาตรกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ

    วัยหนุ่ม เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว ขยันขันแข็ง ทำงานอะไรทำจริงๆ จังๆ เป็นที่ไว้วางใจของพ่อแม่ในการงานทั้งปวง

    คู่ครอง เดิมไม่เคยคิดจะบวช เพราะอยากมีครอบครัว แต่มักมีอุปสรรคให้แคล้วคลาดทุกทีไป

    เหตุที่บวช เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี พ่อแม่ขอร้องให้บวชตามประเพณีอยู่หลายครั้ง ท่านก็ทำเฉย ๆ ตลอดมา ไม่ตอบรับหรือปฏิเสธแต่อย่างใด ในครั้งสุดท้ายนี้ ด้วยความปรารถนาอย่างแรงกล้า หวังพึ่งใบบุญจากการบวชของลูกให้ได้ ถึงกับทำให้พ่อแม่น้ำตาร่วง ครั้งนี้ท่านรู้สึกสะเทือนใจและเห็นใจพ่อแม่มาก จึงตัดสินใจ และยอมบวชตามประเพณี เพื่อตอบแทนพระคุณพ่อแม่ โดยตั้งใจไว้ในตอนต้นนี้ว่า จะบวชเพียงระยะสั้น ๆ เท่านั้น

    วันบวช ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ณ วัดโยธานิมิตร อุดรธานี

    พระอุปัชฌาย์ ชื่อ ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์(จูม พันธุโล) วัดโพธิสมภรณ์

    เคารพพระวินัย ด้วยเดิมมีนิสัยจริงจัง จึงบวชเพื่อเอาบุญกุศลจริง ๆ และตั้งใจรักษาสิกขาบทวินัยน้อยใหญ่อย่างเคร่งครัด ในพรรษาแรกท่านได้ตั้งสัจอธิษฐานว่า ในการทำวัตรเช้า-เย็นรวมและการบิณฑบาต จะไม่ให้มีวันใดขาดเลย และท่านก็ทำได้ตามที่ตั้งคำสัตย์ไว้

    เรียนปริยัติ เมื่อได้เรียนหนังสือทางธรรม ตั้งแต่นวโกวาท พุทธประวัติ ประวัติพระสาวกอรหันต์ ที่ท่านมาจากสกุลต่าง ๆ ตั้งแต่พระราชา เศรษฐี พ่อค้า จนถึงประชาชน หลังจากฟังพระพุทธโอวาทแล้ว ต่างก็เข้าบำเพ็ญเพียรในป่าเขาอย่างจริงจัง เดี๋ยวองค์นั้นสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในป่า เดี๋ยวองค์นี้สำเร็จในเขา ในเงื้อมผา ในที่สงบสงัด ท่านก็เกิดความเชื่อเลื่อมใสขึ้นมา อยากจะเป็นพระอรหันต์ พ้นจากทุกข์ทั้งปวงในชาตินี้อย่างพระสาวกท่านบ้าง

    สงสัย ช่วงเรียนปริยัติอยู่นี้ มีความลังเลสงสัยในใจว่า หากท่านดำเนินและปฏิบัติตามพระสาวกเหล่านั้น จะบรรลุถึงจุดที่พระสาวกท่านบรรลุหรือไม่ และบัดนี้จะยังมีมรรคผลนิพพานอยู่ เหมือนในครั้งพุทธกาลหรือไม่

    ตั้งสัจจะ ด้วยความมุ่งมั่นอยากเป็นพระอรหันต์บ้าง ท่านจึงตั้งสัจจะไว้ว่า จะขอเรียนบาลีให้จบแค่เปรียญ ๓ ประโยคเท่านั้น ส่วนนักธรรมแม้จะไม่จบชั้นก็ไม่เป็นไร จากนั้นจะออกปฏิบัติกรรมฐานโดยถ่ายเดียว จะไม่ยอมศึกษาและสอบประโยคต่อไปเป็นอันขาด

    เรียนจบ ท่านสอบได้ทั้งนักธรรมเอก และเปรียญ ๓ ประโยคในปีที่ท่านบวชได้ ๗ พรรษา ณ วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ และสถานที่แห่งนี้เอง เป็นที่แรกที่ท่านได้มีโอกาสพบเห็นท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งต่อมา ได้กลายเป็นพระอาจารย์องค์สำคัญที่สุดในชีวิตของท่าน

    ออกปฏิบัติ เมื่อเรียนจบมหาเปรียญแล้ว แม้จะมีพระมหาเถระในกรุงเทพฯ สนับสนุนให้ท่านเรียนต่อในชั้นสูง ๆ ขึ้นไปก็ตาม แต่ด้วยท่านเป็นคนรักคำสัตย์ยิ่งกว่าชีวิต ดังนั้นเมื่อมีโอกาส ท่านจึงเข้ากราบลาพระผู้ใหญ่ และออกปฏิบัติกรรมฐานอย่างจริงจัง โดยมุ่งหน้าไปทางป่าเขาแถบจังหวัดนครราชสีมา แล้วเข้าจำพรรษาที่อำเภอจักราช นับเป็นพรรษาที่ ๘ ของการบวช

    พากเพียร ท่านเร่งความเพียรตลอดทั้งพรรษา ไม่ทำการงานอื่นใดทั้งนั้น มีแต่ทำสมาธิภาวนา-เดินจงกรมอย่างเดียวทั้งวันทั้งคืน จนจิตได้รับความสงบจากสมาธิธรรม

    มุ่งมั่น แม้พระเถระผู้ใหญ่ท่านอุตส่าห์เมตตาตามมาสั่งให้กลับเข้าเรียนบาลีต่อที่กรุงเทพฯอีก แต่ด้วยความมุ่งมั่นและตัดสินใจเด็ดขาดแล้ว ที่จะพ้นทุกข์ให้ได้ภายในชาตินี้ ท่านจึงหาโอกาสปลีกตัวออกปฏิบัติได้อีกวาระหนึ่ง

    จิตเสื่อม จากนั้นท่านกลับไปบ้านเกิดของท่าน เพื่อทำกลดไว้ใช้ในการออกวิเวกตามป่าเขา จิตที่เคยสงบร่มเย็น จึงกลับเริ่มเสื่อมลง ๆ เพราะเหตุที่ทำกลดคันนี้นี่เอง

    เสาะหา..อาจารย์ เดือนพฤษภาคม ๒๔๘๕ เดินทางไปขออยู่ศึกษากับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เหตุการณ์บังเอิญกุฏิที่พักเพิ่งจะว่างลงพอดี ท่านพระอาจารย์มั่นจึงเมตตารับไว้ และเทศน์สอนตรงกับปัญหาที่เก็บความสงสัยฝังใจมานานให้คลี่คลายไปได้ว่า ดินฟ้าอากาศแร่ธาตุต่างๆ เขาเป็นของเขาเอง เขาไม่ได้เป็นมรรคผลนิพพาน เขาไม่ได้เป็นกิเลส กิเลสจริง ๆ มรรคผลนิพพานจริง ๆ อยู่ที่ใจ หากกำหนดจิตจ่อด้วยสติที่ใจแล้ว จะเห็นความเคลื่อนไหวของทั้งธรรม ทั้งกิเลสในใจ ขณะเดียวกันจะเห็นมรรคผลนิพพานไปโดยลำดับ

    ปริยัติ..ไม่เพียงพอ จากนั้นท่านพระอาจารย์มั่นเมตตาแนะต่อว่า ธรรมที่เรียนมาถึงขั้นมหาเปรียญมากน้อยเพียงใด ยังไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้ได้ แต่กลับจะเป็นอุปสรรคต่อการภาวนา เพราะอดจะเป็นกังวลและนำธรรมที่เรียนมานั้น มาเทียบเคียงไม่ได้ในขณะที่ทำใจให้สงบ และยังจะกลายเป็นสัญญาอารมณ์คาดคะเนไปที่อื่น จนกลายเป็นคนไม่มีหลักได้

    ดังนั้น เพื่อให้สะดวกในเวลาทำความสงบหรือจะใช้ปัญญาคิดค้น ให้ยกธรรมที่เรียนมานั้นขึ้นบูชาไว้ก่อน ต่อเมื่อถึงกาลอันสมควร ธรรมที่เรียนมาทั้งหมด จะวิ่งเข้ามาประสานกันกับด้านปฏิบัติ และกลมกลืนกันได้อย่างสนิท

    โหมความเพียร จากการได้ศึกษากับผู้รู้จริง ได้รับอุบายต่าง ๆ มากมาย และหักโหมความเพียรเต็มกำลัง ชนิดนั่งสมาธิภาวนาตลอดรุ่งถึง ๙ คืน ๑๐ คืนโดยเว้น ๒ คืนบ้าง ๓ คืนบ้าง ทำให้ก้นของท่านระบมจนถึงกับแตกพอง เลอะเปื้อนสบงเลยทีเดียว แต่จิตใจที่เคยเสื่อมนั้น กลับเจริญขึ้น ๆ จนสามารถตั้งหลักได้

    จริงจัง ท่านถูกจริตกับการอดอาหาร เพราะทำให้ท่านตัวเบา การภาวนาง่ายสะดวก และจิตใจเจริญขึ้นได้ดี จึงมักงดฉันอาหารติดต่อกันเป็นเวลานาน คราวหนึ่งท่านออกวิเวกแถบป่าใกล้หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ชาวบ้านไม่เห็นท่านออกบิณฑบาตนานจนผิดสังเกต ถึงขนาดหัวหน้าหมู่บ้านต้องตีเกราะเรียกประชุมกัน ด้วยลือกันว่า ไม่ใช่ท่านตายแล้วหรือก็เคยมี

    นักรบธรรม ท่านไม่เห็นแก่การกินการนอนมากไปกว่าผลแห่งการปฏิบัติธรรม ดังนั้นในช่วงบำเพ็ญเพียร สภาพร่างกายของท่าน จึงเป็นที่น่าตกอกตกใจแก่ผู้พบเห็นอย่างมาก แม้ท่านพระอาจารย์มั่นเอง เห็นท่านซูบผอมจนผิดสังเกต ชนิดหนังห่อกระดูก ทั้งผิวก็ซีดเหลืองเหมือนเป็นดีซ่าน ท่านถึงกับทักว่า "โฮ้ ทำไมเป็นอย่างนี้ล่ะ" แต่ด้วยเกรงว่าลูกศิษย์จะตกใจและเสียกำลังใจ ท่านพระอาจารย์มั่นก็กลับพูดให้กำลังใจในทันทีนั้นว่า "มันต้องอย่างนี้ซิ จึงเรียกว่า นักรบ" ท่านเคยเล่าถึงความมุ่งมั่นในการต่อสู้กับกิเลส เพื่อจะเอาแพ้เอาชนะกันว่า "ถ้ากิเลสไม่ตาย เราก็ต้องตาย จะให้อยู่เป็นสองระหว่างกิเลสกับเรานั้น ไม่ได้"

    ปัญญาก้าวเดิน ด้วยความมุ่งมั่นจริงจังดังกล่าว ทำให้จิตใจของท่าน ได้หลักสมาธิแน่นหนามั่นคง ท่านทรงภาวะนี้นานถึง ๕ ปี ไม่ขยับก้าวหน้าต่อ ท่านพระอาจารย์มั่นจึงให้อุบายอย่างหนักเพื่อให้ออกพิจารณาทางด้านปัญญา ทั้งทางอสุภะ(ซากศพ) กระทั่งถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งส่วนหยาบ ส่วนกลาง และส่วนละเอียด จนสามารถรู้เรื่องรู้ราว ฆ่ากิเลสตัวนั้นได้ ตัดกิเลสตัวนี้ได้โดยลำดับ ๆ ในช่วงนี้ท่านมีความเพลิดเพลินในความเพียรเพื่อฆ่ากิเลส ชนิดเดินจงกรมไม่รู้จักหยุด ตั้งแต่เช้าหลังจังหันจนกระทั่งปัดกวาดในตอนบ่าย ไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อย

    สิ้น..อาจารย์ ท่านพระอาจารย์มั่นได้มรณภาพลง เมื่อ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๒ ณ วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร ยังความเศร้าสลดสังเวชใจแก่ท่านอย่างเต็มที่ ด้วยรู้สึกว่าหมดที่พึ่งทางใจแล้ว จากนั้นท่านพยายามปลีกตัวจากหมู่เพื่อน อยู่ป่าเขาตามลำพัง แต่มุ่งอยู่กับความเพียรตลอด สติแนบแน่นกับจิตเป็นอัตโนมัติด้วยภาวนามยปัญญา
     
  5. pom1967

    pom1967 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    214
    ค่าพลัง:
    +317
    โอม นะมัส เจ ปิตามาตา ศิวะ กาลิกา มา มา ๆ ๆ ๆ (ได้องค์พญางั่งนั่งแพะของพ่ออาจารย์พลมาคล้องคอ)ซินแสทักว่า มีองค์ศิวะมาติดตามคุ้มครองอยู่ ทำให้รู้ในสิ่งที่ไม่น่ารู้ ทำนองสัมผัสที่ 6 ครับ
    ประวัติพระศิวะ
    พระศิวะ (คนไทยเรียกว่า พระอิศวร) เป็นบิดาของ พระพิฆเนศ มีชายาคือ พระแม่อุมาเทวี พระศิวะทรงเป็นมหาเทพผู้เป็นใหญ่ในจักรวาล หนึ่งใน ตรีมูรติ หรือ 3 มหาเทพสูงสุดแห่งศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ)

    พระองค์ทรงประทานพรวิเศษให้แก่ผู้หมั่นกระทำความดี และยึดมั่นในศีลธรรม หากผู้ใดประพฤติเพื่ออุทิศถวายแก่พระองค์แล้วปรารถนาสิ่งวิเศษใดๆ พระองค์ก็จะประทานพรนั้นๆให้ แต่เมื่อได้พรสมปรารถนาแล้ว วันหน้าหากกระทำผิดไปจากความดีงาม ผู้นั้นจะเกิดวิบัติในชีวิต พระศิวะเทพจะเป็นผู้ทำลายทันที!!

    มีความเชื่อกันว่าพระศิวะนั้น สามารถช่วยปัดเป่ารักษาเยียวยาอากาศเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆ ได้อย่างมหัศจรรย์นัก!! หากผู้ใดที่เจ็บป่วยหรือต้องการขอพรให้คนในครอบครัวหายเจ็บไข้ได้ป่วย
    ถ้ากระทำการบวงสรวงบูชาและขอพรจากพระศิวะ ก็มักปรากฏว่าความเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นถูกปัดเป่าให้หายไปได้โดยสิ้นในเร็ววัน

    พระองค์เป็นเทพที่จะคอยขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ห่างไกล และทำให้เกิดความดีงามเป็นศิริมงคลเกิดขึ้น ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ด้วยเช่นกัน

    พระศิวะผู้เป็นบิดาแห่งพระพิฆเนศและเป็นสวามีแห่งพระแม่อุมาเทวี
    ครอบครัวพระศิวะ พระพิฆเนศ พระแม่อุมาเทวี / image from hinduyuva.org
    พระศิวะ นั้นเป็นเทพที่จะอำนวยพรประทานความ
    อุดมสมบูรณ์ให้แก่ผู้ที่มีอาชีพเลี้ยงวัว เลี้ยงม้า หรือเลี้ยงแกะ และอาชีพที่เกี่ยวกับการเกษตรทั้งปวง ก็จะมีความสำเร็จและมีความสมบูรณ์พูนสุข หากบวงสรวงบชาพระศิวะ...

    นอกจากบทบาทความสำคัญโดยรวมที่กล่าวมาแล้วนั้น อีกบทบาทหนึ่งที่เด่นชัดแยกออกไป จากบทบาทของการเป็นมหาเทพ ผู้ทรงมีพระมหากรุณา ประทานพรแก่มวลมนุึ์ษย์นั้น พระศิวะยังทรงเป็นเทพแห่งคีตา คือเป็นเทพเจ้าแห่งการดนตรี และการร่ายรำ ระบำฟ้อนอีกด้วย

    พระศิวะ ผู้เป็นพระเป็นเจ้าแห่งการทำลายล้าง พระองค์เปี่ยมไปด้วยอำนาจ พระพักตร์ของพระองค์แสดงให้เห็นว่าเป็นทั้งชาย เป็นทั้งหญิง เป็นทั้งผู้ใจดี เป็นทั้งผู้ดุร้าย จากชิ้นฝุ่นธุลี ไปจนถึงภูเขาหิมาลัย จากมดตัวเล็กๆ ไปจนถึงช้างตัวใหญ่ จากมนุษย์ไปจนถึงพระเป็นเจ้า อะไรก็ตามที่เราสามารถเห็นได้นั้น เป็นรูปแบบของพระศิวะทั้งหมด

    ใน คัมภีร์อุปนิษัท ของฮินดู การท่องคำในพระคัมภีร์ส่วนมากมีคำว่า "ศิโวมฺสวหะ" (ข้าคือศิวะ) หมายความว่า บุคคลผู้มีสติปัญญาทุกๆคน ควรพิจารณาถึงตัวเอง และสิ่งทั้งหลายของสากลโลกเป็นรูปแบบของพระศิวะทั้งสิ้น เมื่อคิดระลึกได้อย่างนี้แล้ว ผู้นั้นก็จะเข้าถึงความสุขความสงบ

    กำเนิดของพระศิวะนั้น ปรากฏเป็นเรื่องที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละยุคดังนี้
    ยุคพระเวท
    เรื่องก็มีอยู่ว่า พระพรหม นั้น เกิดความรำคาญอกรำคาญใจเป็นอย่างยิ่งนัก ที่พระเสโทหรือเหงื่อผุดซึมทั่วพระวรกาย และยังไหลรินย้อยลงทั่วบริเวณพระพักตร์อีกด้วย ในวันอันร้อนอ้าวเช่นนั่น พระพรหมทรงบำเพ็ญภาวนา เพิ่มตบะบารมีให้แกร่งกล้าอย่างมุ่งมั่น เมื่อรู้สึกว่าถูกรบกวนด้วยเหงื่อเช่นนั้น ก็จึงได้นำเอาไม้ไปขูดๆ ที่บริเวณพระขนงหรือคิ้ว โดยมิได้ระมัดระวังองค์นัก คมของไม้นั้นจึงได้บาดบริเวณพระขนงของพระองค์ จนกระทั่งปรากฏพระโลหิตผลุดซึมออกมา และหยาดหยดลงบนกองเพลิงเบื้องหน้าของพระองค์นั้นเอง

    ทันทีที่พระโลหิตหยาดหยดลงในเปลวเพลิง ก็พลันเกิดเป็นเทพบุตรองค์หนึ่ง จุติขึ้นมาในเปลวเพลิงนั้น ทันทีที่ถือกำเนิดขึ้นมาเบื้องหน้าพระองค์ เทพบุตรผู้งดงามองค์นี้ก็ได้ร้องไห้ พลางขอให้พระองค์ประทานนามให้แก่ตน ซึ่งพระพรหมได้ประทานให้ถึง 8 นามด้วยกันดังนี้

    ภพ สรรพ ปศุบดี อุดรเทพ มหาเทพ รุทร อิศาล อะศะนิ

    หลังจากนั้น เทพองค์นี้ก็มีชื่อเสียง เป็นที่นับถือของมนุษย์ทั่วไป โดยส่วนใหญ่แล้วบรรดามวลมนุษย์จะนับถือบูชาเทพบุตรองค์นี้ ในนามของ พระรุทร อันเป็นชื่อ หนึ่งใน 8 นาม ซึ่งนามรุทรนี้มีความหมายแปลได้ว่า ร้องไห้ สำหรับนามอื่นๆ อีก 7 นามนั้นยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายเท่าไรนัก

    ว่ากันว่าพระรุทรเทพบุตรที่มีชื่ออันแปลว่าร้องไห้นี้ เป็นมหาเทพที่มีความยิ่งใหญ่เกรียงไกร มีอำนาจบารมีค่อนข้างสูงนักในยุคพระเวทนี้ และยังเป็นเทพที่มนุษย์ทุกผู้ทุกนามนิยมนับถือบูชากันอย่างจริงจัง โดยนับถือให้พระรุทรเป็นเทพผู้ทำลายล้าง คือทำลายสิ่งที่เลวร้ายให้สะอาดบริสุทธิ์ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง แล้วให้พระพรหมสร้างสิ่งที่ดีงามขึ้นใหม่
     
  6. Akkra1978

    Akkra1978 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    255
    ค่าพลัง:
    +1,490
    วันนี้ผมได้สวดมนต์ บทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย บทชัยมงคลคาถา (พาหุงมหากา) พระคาถาชินบัญชร และคาถาเงินล้านครับ

    ประวัติครูบาอาจารย์ที่ผมนับถือ

    พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)

    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านมีนามเดิมว่าพุธ อินทรหา ท่านเกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 หมู่บ้านชนบท ตำบลหนองหญ้าเซ้ง อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี เป็นบุตรคนเดียวของบิดามารดา ครอบครัวมีอาชีพทำนาทำไร่ ในช่วงอายุได้ 4 ขวบ บิดามารดาได้ถึงแก่กรรม ท่านจึงย้ายมาอยู่กับญาติพี่น้องที่หมู่บ้านโคกพุทรา ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

    ในช่วงวัยเยาว์ท่านได้ออกศึกษาหาความรู้ ในโรงเรียนประชาบาลวัดไทรทอง ท่านได้เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จึงได้ลาออกมาแล้วบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ. 2479 เมื่อมีอายุได้ 15 ปีที่วัดอินทร์สุวรรณ บ้านโคกพุทรา ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โดยมีท่านพระครูวิบูลย์ธรรมขันธ์เจ้าคณะอำเภอสว่างแดนดินเป็นพระอุปัชฌาย์ และท่านพระครูโพธิภูมิไพโรจน์เป็นพระบรรพชาจารย์

    หลังจากบรรพชาแล้ว ท่านก็อาศัยอยู่กับท่านพระครูโพธิภูมิไพโรจน์นั่นเอง ท่านได้รับเมตตา จากพระอาจารย์ให้ได้ศึกษาทางด้านปริยัติธรรมด้วย และในพรรษาแรกนี้เองสามเณรพุธสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี และเริ่มรับการฝึกอบรมด้านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจากท่านพระอาจารย์เสาร์เป็นครั้งแรก ต่อมาในปีพ.ศ. 2483 ท่านพระอาจารย์เสาร์ได้พาหลวงพ่อไปฝากตัวเป็นศิษย์พระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ) ณ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งหลวงพ่อได้จำพรรษาเรื่อยมาจนอายุครบบวช 21 ปี จึงได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 ณ วัดแห่งนี้หลวงพ่อได้ปฏิบัติศาสนกิจช่วยงานพระศาสนาตลอดมา และในช่วงสงครามแปซิฟิกท่านได้อพยพกลับไปจำพรรษาที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี และท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดแห่งนั้นจนถึงปีพ.ศ. 2489 ระหว่างนั้นท่านได้อาพาธอย่างหนัก ต่อมาท่านได้พบกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร และท่านก็ได้ช่วยรักษาโดยการให้เพ่งถึงอาการ 32 โดยให้พิจารณาถึงความตายให้มากที่สุด ทั้งยังคอยให้กำลังใจกับท่านตลอดเวลา จนกระทั่งเมื่อปีพ.ศ. 2513 ท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าสาละวัน ในระยะเวลาที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส ท่านปฏิบัติกิจของสงฆ์อย่างไม่หยุดยั้ง และทำหน้าที่เป็นวิทยากรบรรยายธรรม สร้างคุณประโยชน์ต่อศาสนามากมาย และได้สร้างโรงเรียนราชอุปถัมภ์ สร้างอาคารให้เด็กนักเรียน มอบทุนสนับสนุนการก่อตั้งมูลนิธิของโรงเรียนตลอดจนหน่วยงานราชการต่างๆ นอกจากนี้ท่านยังช่วยจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ให้กับโรงพยาบาลเสมอๆ อีกทั้งยังมอบทุนสนับสนุนการก่อสร้างตึกสงฆ์อาพาธโรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครราชสีมา รวมทั้งมอบทุนสนับสนุนการก่อตั้งมูลนิธิของโรงพยาบาลต่างๆอีกด้วย

    หลวงพ่อพุธท่านได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 รวมสิริอายุได้ 78 ปี

    ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/พระราชสังวรญาณ_(พุธ_ฐานิโย)
     
  7. พลานุภาพ

    พลานุภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +248
    สวดอิติปิโส และ ภาวนาพุทธโธ ครับ
    พระพุทธเจ้าประสูติเมื่อวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ณ สวนลุมพินีวันใต้ต้นสาละ มีพระนามเดิมว่า สิทธัตถะ เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางสิริมหามายา เมื่อพระองค์ประสูติพระองค์ทรงเจ้าชายสิทธัตถะทรงดำเนินด้วยพระบาท 7 ก้าว และมีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับพระบาท พร้อมเปล่งพระวาจาว่า "เราเป็นเลิศที่สุดในโลก ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของเรา" แต่หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะประสูติกาลได้แล้ว 7 วัน พระนางสิริมหามายาก็สิ้นพระชนย์ เมื่อพระองค์มีอายุได้ 8 พรรษาพระองค์ได้เรียนจบทุกหลักสูตรในสำนักครูวิศวามิตร แล้วก็ทรงอยู่ในปราสาท 3ฤดูที่พระบิดาทรงสร้างไว้ให้ เมื่อพระองค์อายุได้ 16 พรรษาพระองค์ได้อภิเษกสมรสกับพระนางพิมพาจนเมื่อมีพระชนมายุ 29 พรรษา พระนางพิมพาได้ให้ประสูติพระราชโอรส มีพระนามว่า "ราหุล" ซึ่งหมายถึง "บ่วง" พระองค์ทรงเบื่อในปราสาทสามฤดูจึงชวนสารถีพาออกไปเที่ยวที่อุทธยานและพระองค์ทรงได้พบกับเทวฑูตทั้ง 4 คือเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงคิดว่านี้แหละคือธรรมชาติของโลก พระองค์จึงออกผนวชเพื่อหาทางพ้นทุกข์ พระองค์เริ่มการพ้นทุกข์จากการอดอาหาร กลั้นหายใน กัดลิ้น แต่พระองค์ก็พบว่าไม่ใช่ทางดับทุกข์พระองค์จึงเลิกทำแล้วบำเพ็ญเพียรจนเห็นธรรม 4 หมวดหรืออริยสัจ4แล้วพระองค์จึงตรัสรู้แล้สแสดงธรรมเทศนากัณฑ์แรกคือ "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร"ตลอดระยะเวลา 45 พรรษา ที่พระองค์ก็ได้แสดงธรรมให้กับสาวกของพระองค์และทรงปรินิพพานเมื่อวันขึ้น15ค่ำเดือน6รวมพระชนม์ 80 พรรษา และวันนี้ถือเป็นการเริ่มต้นของพุทธศักราช.....
     
  8. sereenon

    sereenon เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,725
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +7,931
    สวดเมตตาใหญ่ค่ะ

    ประวัติหลวงปู่สังวาลย์ เขมโก

    นามเดิมท่านคือสังวาลย์ นามสกุล จันทร์เรือง เกิดเมื่อ จันทร์ เดือน 4 ปีมะโรง (2459) ที่บ้านหนองผักนาก สามชุก สุพรรณบุรี บรรพบุรุษท่านมีอาชีพทำนา แต่โยมบิดาท่านเป็นผู้ที่ได้นำภาพยนตร์มาฉายในอำเภอสามชุกเป็นคนแรก

    อุปสมบทครั้งแรก เมื่ออายุครบบวช แต่ด้วยความที่ท่านเป็นคนไม่รู้หนังสือ บทสวดมนต์บางบท ท่านต้องจำจากที่แม่ชีสวดกัน ท่านจึงสวดมนต์ได้แค่อิติปิโส ฯ พาหุง ฯ แม้แต่นะโมก็ต้องต่อเอา ด้วยเหตุนี้ท่านจึงต้องลาสิกขาบท ทั้งๆ ที่ไม่อยากจะลาเลย

    ชีวิตสมรส ท่านสมรสกับแม่บาง เมื่ออายุ 26 ปี ในปี 2448 แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน ท่านยึดอาชีพทำนาแต่ด้วยเหตุที่ท่านมีสุขภาพไม่ค่อยจะแข็งแรงเท่าไรนัก บางครั้งขณะที่ทำงานเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมา ท่านก็ต้องผลัดกันไถนาโดยอาศัยห้างนาเป็นที่พัก รอจนไข้ลดจึงได้ออกมาทำนาเป็นปรกติ บางทีก็ทำนาไม่ได้ ต้องให้ภรรยาท่านเป็นคนทำ ท่านจึงรับหน้าที่ เป็นผู้ช่วยหุงหาอาหารให้ภรรยาเท่านั้นเอง ท่านได้ทนทุกข์ทรมานกับโรคภัยถึง 2 ปี โดยในระหว่างนั้นท่านได้รับคำแนะนำจากแม่ชีจินตนา ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ให้ทำกรรมฐานเผื่อว่าโรคจะหาย

    ความที่ท่านมีโรคภัยนี้เอง จึงได้เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ท่านได้เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร เห็นภัยที่เกิดจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ขึ้นมา ท่านเล่าให้ฟังว่า ครั้งหนึ่งแม่บางไม่สบาย ท่านก็ได้ช่วยดูแลตามประสาสามี ธรรมดาของคนป่วยย่อมจะต้องมีความอิดโรยเป็นธรรมดาและช่วยตัวเองไม่ได้ ท่านจึงช่วยตักน้ำราดศีรษะให้แม่บาง พอน้ำราดลงบนเส้นผม ไอระเหยที่โดนเส้นผมนั้น ส่งกลิ่นชวนให้น่ารังเกียจ เนื่องจากไม่ได้ทำความสะอาดมาเป็นเวลานาน ทำให้ท่านเกิดสลดสังเวชใจเป็นอย่างยิ่งว่า ร่างกายของคนเรานี้เป็นสิ่งที่ไม่น่ายินดี เป็นรังแห่งโรค เป็นที่เกิดแห่งทุกข์

    ครั้งหนึ่งท่านได้เดินผ่านกระจกเงาบานใหญ่ ซึ่งสามารถมองเห็นได้ทั้งตัว แทนที่ท่านจะมองเห็นเป็นรูปร่างของตัวท่าน ท่านกลับเห็นเป็นอสุภนิมิต มีโครงกระดูกขึ้นแทน ด้วยตัวท่านเป็นผู้ฝึกทำกรรมฐานอยู่เสมอ จึงทำให้จิตใจที่ได้รับการฝึกฝนอยู่ย่อมเกิดปัญญาเกิดความรู้เห็นขึ้น มีญาณทัศนะปรากฏขึ้น ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ท่านเห็นภัยในสังขารยิ่งขึ้นและเกิดความเบื่อหน่ายที่จะครองเรือนอีกต่อไป การสละจาการครองเรือนจึงได้เกิดขึ้น

    ท่านได้บอกกับแม่บาง ให้รู้ถึงความตั้งใจอันแน่วแน่ที่ท่านจะไปสู่ธรรมวินัยของพระบรมศาสดา เพื่อที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์ให้จงได้ ในการจะออกบวชในครั้งนี้ท่านก็ได้ให้พ่อห่วง ผู้เป็นบิดา ให้บอกกับลูกหนี้ทั้งหมดที่เป็นหนี้เป็นสินกับบิดาของท่าน ให้มาประชุมพร้อมกัน และท่านได้ขอร้องพ่อห่วงให้ยกเลิกสัญญาที่ลูกหนี้ทั้งหลายได้กระทำกับบิดาของท่าน ด้วยการฉีกเอกสารทิ้งทั้งหมด นับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นในการให้ทาน อันเป็นที่น่าปีติยินดีอย่างยิ่ง

    หลังจากนั้นท่านได้ทำมหาทานอีกครั้ง ด้วยการบอกภรรยาว่า จะขอออกบวชอีกครั้ง ให้แม่บางหาสามีใหม่ได้

    การบวชครั้งที่ 2 เมื่อท่านอายุได้ 35 ปี ณ วัดนางบวชอำเภอเดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี เมื่อเวลา 14.45 น. ของวันที่ 27 เมษายน 2494 โดยมี พระครูแขก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์ทองย้อย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการไสว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่าเขมโก

    เมื่อท่านอุปสมบทแล้ว ก็ได้เข้าไปปฏิบัติธรรม ณ ป่าช้าวัดบ้านทึง สามชุก ท่านได้อาศัยอยู่ในป่าช้าโดยมีหลวงพ่อมหาทอง โสภโณ ซึ่งเป็นเสมือนครูบาอาจารย์ เป็นผู้ปฏิบัติ ผู้อาวุโส อยู่ด้วย ท่านเป็นผู้มีความรู้ทางด้านปริยัติได้ดีท่านหนึ่ง และท่านได้เป็นผู้แปลข้อศีลที่ว่า การไม่ยินดีรับเงินและทองเพื่อเป็นของตน หรือให้ผู้อื่นเก็บไว้เพื่อตน นับแต่นั้นมาหลวงพ่อสังวาลย์ก็ไม่มีปัจจัยแม้แต่สตางค์แดงเดียว และที่พระอาจารย์มหาทองท่านได้สอนหลวงพ่ออีกคือ

    สมาธิ ภิกฺขเว ภาเวย สมาธิโต ยถาภูตํ ปชานาติ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลายพึงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิดเพราะจิตที่เป็นสมาธินั้น ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง

    เพียงประโยคนี้เท่านั้น ที่ท่านถือเป็นแนวทางปฏิบัติ มุ่งมั่นกระทำความเพียร อยู่ในป่าช้าตลอดเวลา 5 ปี

    ปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัตินี้เองทำให้ท่านรู้เห็นตามความเป็นจริง โดยท่านได้ยึดหลักธุดงควัตรตลอดเวลา

    หลังจากที่ท่านพระอาจารย์มหาทองได้ละสังขารแล้วท่านจึงได้ออกจากป่าช้า แต่ท่านก็มิได้ละเลยหรือทอดธุระในภาคปฏิบัติเลยแม้แต่น้อย โดยท่านจะนึกถึงคำของอาจารย์ที่ว่า นักปฏิบัติจะทิ้งการปฏิบัติไม่ได้ จนกว่าจะหมดลมท่านเองก็เป็นเช่นนั้น เมื่อท่านมาอยู่วัดทุ่งสามัคคีธรรม และไปสร้างวัดป่าน้ำตกเขมโก ที่ ด่านช้าง สุพรรณบุรี ท่านก็จะสั่งสอนและเจริญสมาธิภาวนาอยู่เสมอมิได้ขาดเลย

    ในระยะเริ่มแรกท่านมีอุปสรรคมากเพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ บางคนถึงกับเข้ามาทำร้ายและขัดขวางการเผยแพร่ธรรมทุกรูปแบบ แต่ในที่สุดท่านก็สามารถฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ และเผยแพร่ธรรมให้ทุกคนรู้จักประพฤติปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้าได้อย่างกว้างขวาง มีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความสนใจในการปฏิบัติธรรม เข้าห้องกรรมฐานปฏิบัติตามหลักมหาสติปัฏฐาน 4 ที่หลวงพ่อแนะนำสั่งสอนได้เป็นอย่างดี หลวงพ่อจึงมีศิษยานุศิษย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ทั้งในประเทศและต่างประเทศมากมาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤษภาคม 2016
  9. ออนเนอร์

    ออนเนอร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +258
    สวดพระชินบัญชร และบทพระจักรพรรดิ์ตามที่ปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน


    ประวัติพระราชธรรมเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร)

    เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล ถ.สุขุมวิท ๑๐๑ ซ.ปุณณวิถี แขวงบางจาก เขตพระโขนง กทม

    อุปสมบท ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๗๘ ณ วัดสุทธิจินดา ต.โพธิ์กลาง อ.เมือง จ.นครราชสีมา

    พระราชธรรมเจติยาจารย์ เดิมชื่อ วิริยังค์ บุยฑีย์กุล เป็นบุตรขุนเพ็ญภาษชนารมย์ กับนางมั่น บุญฑีย์กุล (อุบาสิกามั่น ถึงแก่กรรม พ.ศ. ๒๕๒๐) เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๗ มกราคม ๒๔๖๓ ณ สถานีรถไฟปากเพรียว จังหวัดสระบุรี ต่อมาย้ายมาตั้งหลักฐานที่บ้านใหม่สำโรง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมามีพี่น้อง ๗ คน

    ก่อนบวช

    วันหนึ่งขณะที่ท่าน มีอายุประมาณ ๑๓ ปี เพื่อนผู้หญิงคนหนึ่ง ชวนให้ไปวัดเป็นเพื่อน ขณะที่รอเพื่อนไป ต่อมนต์ (ท่องบทสวดมนต์) กับพระอาจารย์กงมา ท่านก็รออยู่ด้วยความเบื่อหน่ายเพราะไปตั้งแต่ ๒ ทุ่มกลับเที่ยงคืน จะกลับบ้านเองก็ไม่ได้ เพราะเส้นทางเปลี่ยวและกลัวผี ได้แต่คิดอยู่ในใจว่า “ตั้งแต่นี้ต่อไปไม่มาอีกแล้ว ๆ ๆ ” ไม่ช้าก็เกิดความสงบขึ้น ตัวหายไปเลย เบาไปหมด เห็นตัวเอง มี ๒ ร่าง ร่างหนึ่งเดินลงศาลาไปยืนอยู่ที่ลานวัด มีลมชนิดหนึ่ง พัดหวิวเข้าสู่ใจ รู้สึกเย็นสบายเป็นสุขอย่างยิ่ง ถึงกับอุทานออกมาเองว่า “คุณของพระพุทธศาสนา มีถึงเพียงนี้เทียวหรือ” แล้วเดินกลับไปที่ร่าง กลับเข้าตัว พอดีเป็นเวลาเลิกต่อมนต์ จึงเล่าให้กับ พระอาจารย์กงมาฟัง พระอาจารย์ก็ว่า “เด็กนี่ เรายังไม่ได้สอนสมาธิให้เลยทำไม จึงเกิดเร็วนัก ” ตั้งแต่นั้นมาก็จึงเรียนรู้เกี่ยวกับการทำสมาธิ

    อยู่มาวันหนึ่งท่าน ทำงานหนักเกินตัวจึงล้มป่วยเป็นอัมพาต บิดาพยายามหาหมอมารักษา แต่ก็รักษาไม่ได้ แพทย์แผนปัจจุบันบอกว่า หมดหวังในการรักษา ท่านได้แต่นอนอธิษฐานอยู่ในใจว่า
    ” ถ้ามีผู้ใดมารักษาให้หาย จากอัมพาตได้ จะอุทิศตน เพื่อพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น ”
    ไม่นานก็ปรากฏว่ามีชีปะขาวหนวดรุงรังตนหนึ่ง มาถามบิดาของท่านว่า
    “จะรักษาลูกให้เอาไหม”
    บิดาก็บอกว่า “เอา”
    ชีปะขาวก็เดินมาหาท่านซึ่งนอนอยู่ พร้อมทั้งกระซิบถามว่า
    “อธิษฐานดังนั้นจริงไหม”
    ท่านก็ตอบว่า “จริง”
    จึงให้พูดให้ได้ยินดัง ๆ หน่อย ท่านก็พูดให้ฟัง ชีปะขาวก็เอาไพลมา เคี้ยว ๆ แล้วก็ พ่นใส่ตัวของท่านจนเหลืองไปหมด แล้วก็จากไป เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น ปรากฏว่าท่านรู้สึกว่าจะ กระดิกตัวได้ ทดลองลุก ขึ้นเดินก็ทำได้เป็นที่อัศจรรย์ใจ

    ๗ โมงเช้า ปรากฏว่าชีปะขาว มายืนหลับตาบิณฑบาตอยู่ ที่ประตูบ้าน ท่านจึงนำอาหารจะไปใส่บาตร ชีปะขาว กลับขอให้ท่านพูดถึงคำ อธิษฐานของท่านให้ฟัง เมื่อพูดแล้ว จึงยอมรับบาตร แล้วบอกให้ท่านไปหาที่ ใต้ต้นมะขาม วัดสว่างอารมณ์ เมื่อไปถึงชีปะขาวก็ให้พูดคำอธิษฐาน ให้ฟังอีก แล้วก็พาเดินไปหลังวัด คว้าเอา มีดอันหนึ่งออกไปตัดหางควาย มาชูให้ดู แล้วก็ต่อหางคืนไปใหม่ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น พร้อมกับถาม ว่า
    “ลุงเก่งไหม”
    ท่านก็ตอบว่า “เก่ง”
    ลุงจะสอนคาถาให้ แต่ต้องท่องทุกวัน เป็นเวลา ๑๐ ปีจึงใช้ได้ ท่านก็ได้เรียนคาถานั้น แล้วก็บอกว่าพรุ่งนี้ให้ เตรียมใส่บาตร วันรุ่งขึ้นปรากฏว่า ไม่พบ ตาชีปะขาวแล้ว ตั้งแต่นั้นมาท่านก็ไม่ เคยพบกับตาชีปะขาวอีกเลย

    ในร่มกาวพัสตร์

    เมื่ออายุประมาณ ๑๕ ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ก็ได้บวชเป็นผ้าขาว บรรพชาเมื่อ ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๗๘ ณ วัดสุทธิจินดา ต.โพธิ์กลาง อ.เมือง จ.นครราชสีมา โดยพระธรรมฐิติญาณ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบรรพชาได้ ๑๐ วัน ก็ตามพระอาจารย์กงมาออกธุดงค์ ตามป่าเขา ลำเนาไพร เพื่อแสวงหาที่วิเวก เมื่อพบที่สงบ ก็จะหยุดอยู่ทำความเพียร แม้บางครั้งอดอาหารกันอยู่หลายวัน บางครั้งเจอสัตว์ร้าย เจออันตราย หรือหนทางอันยาวไกล เช่นในบางวันเดินธุดงค์ข้ามเขาเกือบ ๕๐ กิโลเมตร ก็ไม่ย่อท้อ โดยถือคติที่ว่ารักความเพียร รักธรรมะมากกว่าชีวิต ครั้งหนึ่งเมื่อออกจากดงพญาเย็น พบโจรกลุ่ม หนึ่งมีอาวุธครบมือมาล้อมไว้ พระอาจารย์กงมาได้เทศน์ สั่งสอนโจร มีอยู่ตอนหนึ่งเทศน์ว่า
    ” พวกเธอเอ๋ย แม้พวกเธอจะมาหาทรัพย์ ตลอดถึง การผิดศีลของพวกเธอนั้น ก็เพื่อเลี้ยงชีวิตนี้เท่านั้น แต่ชีวิตนี้ก็ไม่ใช่ของ พวกเธอเลย มันจะสิ้นกัน ไม่รู้วันไหน เป็นเช่นนี้ทุกคน ถึงพวกเธอ จะฆ่าไม่ฆ่าเขาก็ตาย เธอก็เหมือนกัน มีความดีเท่านั้นที่ใคร ๆ ฆ่าไม่ตาย อย่างเรานี้จะตายเมื่อไหร่ก็ไม่อนาทรร้อนใจ เพราะความดีเราทำมามากแล้ว ”
    ปรากฏว่าพวกโจรวางมีด วางปืนทั้งหมด น้อมตัวลงกราบพระอาจารย์กงมาอย่าง นอบน้อม หัวหน้าโจรมอบตัว เป็นศิษย์ และได้บวชเป็น ตาผ้าขาวถือศีล ๘ เดินธุดงค์ไปด้วยกัน จนกระทั่งหมดลมหายใจ ในขณะทำสมาธิ

    ในวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๔๘๔ ท่านมีอายุ ๒๑ ปี ได้อุปสมบท ณ วัดทรายงาม (อุทกสีมากลางทะเล) บ้านหนองบัว อ.เมือง จ.จันทบุรี โดยพระปัญญาพิศาลเถระ (หนู) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาทองสุข สุจิตโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    หลวงพ่อได้เดินธุดงค์ติดตามพระอาจารย์กงมาไปในที่ต่าง ๆ เป็นเวลา ๘ ปี วันหนึ่ง พระอาจารย์กงมาก็พาท่านเดินธุดงค์จากจังหวัดจันทบุรีไปจังหวัดสกลนคร เพื่อไปพบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลวงพ่อวิริยังค์ได้รับเลือกให้เป็นอุปัฎฐากอยู่ ๔ ปี ได้เดินธุดงค์ร่วมกับพระอาจารย์มั่น เรียนธรรมะ อันลึกซึ้ง ได้จดคำสอนของหลวงปู่มั่นบางตอนไว้ (ปกติท่านห้ามผู้ใดจดเด็ดขาด เมื่ออ่านให้ท่านฟังภายหลัง ท่านกลับรับรองว่าใช้ได้) ต่อมาท่านได้เผยแพร่คำสอนนี้แก่สาธารณะชน ในหนังสือที่ชื่อว่า “มุตโตทัย”

    ผลงานของพระราชเจติยาจารย์
    ๑. สร้างวัด ๑๒ แห่งในประเทศไทย
    ๒. สร้างวัดไทยในประเทศแคนาดา ๖ แห่ง
    ๓. สร้างวิทยาลัยสงฆ์ ๒ แห่ง
    ๔. สร้างสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)ที่จังนครราชสีมา
    ๕. สร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๓๐๐๐ กว่าแห่งทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายที่ ๗๐๐๐ แห่ง
    ๖. สร้างโรงพยาบาลจอมทอง
    ๗. สร้างที่ว่าการอำเภอจอมทอง
    ๘. สถาบันประถมศึกษาจอมทอง
    ๙. สร้างพระมหาเจดีย์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย วัดธรรมมงคล
    ๑๐. สร้างพระหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก วัดธรรมมงคล
    ๑๑. สร้างสถาบันพลังจิตตานุภาพในประเทศไทยและประเทศแคนาดา ด้วยเวลาเพียง ๕ ปีสำหรับประเทศไทย สามารถผลิตครูได้กว่า ๒,๐๐๐ คน และ ๒ ปีกว่า สำหรับประเทศแคนนาดา โดยหลวงพ่อได้บินไปสอนเองเป็นภาษาอังกฤษ ผลิตครูที่เป็นชาวต่างชาติล้วน ๆ ในรุ่นแรกมีผู้สนใจเรียนเพียง ๒๔ คน โดย ๒๔ คนที่ได้บอกต่อกันทำให้รุ่นที่สองเพิ่มเป็น ๒๐๐ กว่าคน และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกรุ่น จนปัจจุบันได้ ๗ รุ่นแล้ว ได้ครูสมาธิกว่า ๒,๐๐๐ คนแล้ว เมื่อนักศึกษาครูสมาธิชาวแคนนาดา เรียนจบภาคทฤษฎี หลวงพ่อก็จะพามาธุดงค์ที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ทุกปี ปัจจุบันมีศูนย์สอนครูสมาธิอยู่ ๖ แห่งในแคนนาดาคือ ที่ เอ็ตมอนตัน แคลการี แองการา โตรอนโต แวนคูเวอร์ ฟอร์ดแมคเคอรี ซึ่งกำลังจะเปิดเพิ่มอีก ๑๐ แห่ง

    นับว่าหลวงพ่อได้เสียสละเพื่อประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา และส่วนรวมโดยมิได้เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยแม้อายุจะ ๘๒ ปีแล้ว

    สมณศักดิ์

    พ.ศ. ๒๕๐๗ ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกที่ พระครูญาณวิริยะ
    พ.ศ.๒๕๑๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระญาณวิริยาจารย์ (ฝ่ายวิปัสสนา)
    พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชธรรมเจติยาจารย์ (ฝ่ายวิปัสสนา)

    ผลงานการสร้างวัด

    วัดที่ ๑ ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ สร้างวัดบ้านห้วยแตน ตำบลหนองเหียน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ขณะอายุได้ ๒๔ ปี
    วัดที่ ๒ ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ สร้างวัดวิริยพลาราม บ้านเต่างอย อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
    วัดที่ ๓ ปี พ.ศ. ๒๔๘๙-๙๑ สร้างวัดมณีคีรีวงค์ (กงษีไร่) จังหวัดจันทบุรี
    วัดที่ ๔ ปี พ.ศ. ๒๔๙๒-๙๕ สร้างวัดดำรงธรรมมาราม อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรีให้เป็นที่ธุดงค์วิปัสสนากัมมัฏฐาน
    วัดที่ ๕ ปี พ.ศ. สร้างวัดสถาพรพัฒนา (วัดหนองชิ่ม) ตำบลหนองชิ่ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นแหล่งบำเพ็ญสมณธรรมอย่างสงบร่มเย็น
    วัดที่ ๖ ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ สร้างวัดธรรมมงคล สุขุมวิท ๑๐๑ พระโขนง กรุงเทพฯ เป็นวัดแรกที่อยู่ในกรุงเทพนี้เนื้อที่ทั้งหมด ๓๒ ไร่ มีกุฏิบำเพ็ญสมาธิภาวนา ๙ หลัง ศาลาการเปรียญ ศาลาเมรุฌาปนกิจสถาน อุโบสถ และที่สำคัญที่สุดคือ พระมหาเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มีความสวยสดงดงามตามศิลปไทยวิจิตระการตาหาชมได้ยาก สิ้นงบประมาณรวมร้อยล้านบาท มีพระภิกษุสงฆ์พำนักอยู่กว่า ๕๐๐ รูป และมีโรงเรียนอนุบาล อบรมสอนหนังสือให้แก่นักเรียนกว่า ๕๐๐ คน
    วัดที่ ๗ ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ สร้างวัดผ่องพลอยวิริยาราม สุขุมวิท ๑๐๕ (ลาซาล) พระโขนง กรุงเทพฯ มีเนื้อที่ทั้งหมดรวม ๑๐ ไร่ มีกุฏิบำเพ็ญสมาธิภาวนา ๖๐ หลัง ศาลาการเปรียญ อุโบสถ หอระฆัง และอื่นๆ
    วัดที่ ๘ ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ สร้างวัด สิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนานิคม) ซอยเสนานิคม๑ ถนนพหลโยธิน ลาดพร้าว กรุงเทพฯ มีกุฏิ ๔๐ หลัง ศาลาปฏิบัติธรรมโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรม อุโบสถ มีพระสงฆ์ ๔๐๐ รูป
    วัดที่ ๙ ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ สร้างวัดหนองกร่าง วิทยาลัยสงฆ์กำแพงแสน ตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม มีกุฏิ ๘๐ หลัง ศาลาการเปรียญ มีอาคารเรียน ๓ หลัง อุโบสถ ๒ ชั้น มีพระภิกษุสงฆ์-สามเณรศึกษาอยู่ปัจจุบัน ๒๐๐ รูป
    วัดที่ ๑๐ ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ สร้างวัดอมาตยาราม (เขาอีโต้) จังหวัดปราจีนบุรี มีเนื้อที่ทั้งหมด ๖๐ ไร่ มีศาลาการเปรียญ กุฏิที่พัก อุโบสถ ฯลฯ
    วัดที่ ๑๑ ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ สร้างวัดแก้วพิทักษ์เจริญธรรม สุขุมวิท๑๐๓ (อุดมสุข) พระโขนง กรุงเทพฯ มีศาลาการเปรียญ กุฏิที่พัก โรงครัว บ่อน้ำ อุโบสถ
    วัดที่ ๑๒ ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ สร้างวัดชูจิตรธรรมมาราม วิทยาลัยสงฆ์วังน้อย จังหวัดอยุธยา (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย) มีเนื้อที่ทั้งหมด ๑๐๘ ไร่ มีพระภิกษุ-สามเณรศึกษาอยู่ ๕๐๐ รูป


    ประวัติการสร้างวัดพุทธศาสนาไทยในประเทศแคนาดา
    คัดลอกจาก http://www.moe.go.th/tsssc/wat/can_data.htm
    ปี ๒๕๓๐ พระราชธรรมเจติยาจารย์ (วิริยังค์ สิรินธโร) เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล ได้เดินทางไปประเทศแคนาดาเป็นครั้งแรกกับคุณชัยยศ และคุณรัตนา สมบุญธรรม ซึ่งครั้งนั้นมีงานแสดงสินค้านานาชาติที่เมืองเอ็ดมันตัน ขณะที่อยู่เมืองเอ็ดมันตันได้มีคุณดำเกิง คงคา เป็นผู้ดูแล หลังจากงานแสดงสินค้านานาชาติเสร็จแล้วคุณดำเกิงก็ได้พาไปเมืองแคนการี่และ ที่แบมป์ ทำให้พระราชธรรมเจติยาจารย์ ชอบสถานที่เหล่านี้มากเพราะมีภูเขาป่าไม้เหมือนกับเมืองหิมพานต์ หลังจากนั้นก็ได้เดินทางต่อไปที่เมืองแวนคูเวอร์ ได้พบกับคุณประเสริฐ และคุณแหม่ม อุทกภาชก์ซึ่งทั้ง ๒ สามีภรรยาได้มาอยู่ที่เมืองแวนคูเวอร์หลายสิบปีแล้ว รู้จักคนไทยมากได้ประชุมชาวไทย-ลาว มีผู้มาร่วมทำบุญจำนวนมากได้ปรารภประสงค์จะมีวัดไทยในครั้งนั้น ในการเดินทางมาครั้งนี้พระราชธรรมเจติยาจารย์ได้ถือโอกาสสำรวจหยกที่ได้ข่าว ว่าประเทศแคนาดามีหยกเขียวและมีเหมืองหยกด้วย เนื่องจากพระราชธรรมเจติยาจารย์มีความตั้งใจจะสร้างพระพุทธรูปด้วยหยก และต้องการสร้างองค์ใหญ่ที่สุด เมื่อเดินทางมาสำรวจหยกในครั้งนั้นไม่พบว่ามีหยกก้อนใหญ่ที่มีคุณภาพดี ท่านจึงได้จองหยกไว้กับเจ้าของเหมืองหยกว่า ถ้าพบหยกก้อนใหญ่ไม่ต่ำกว่า ๗ ฟุต ก็ให้รีบบอกไปด้วย

    พ.ศ. ๒๕๓๔ พระราชธรรมเจติยาจารย์ พร้อมกับคุณชัยยศ สมบุญธรรม ได้เดินทางมาที่เมืองแวนคูเวอร์เพื่อมารับหยกเขียวก้อนใหญ่ที่สุดในโลก น้ำหนัก ๓๒ ตัน เป็นหยกที่มีคุณภาพดีนำมาประเทศไทยทำการแกะสลักพระพุทธรูปซึ่งเป็นปฏิมากรรม หยกเขียวใหญ่ที่สุดในโลก ได้รับการต้อนรับจากประชาชนชาวไทยทั่วประเทศมาร่วมช่วยสร้างองค์พระหยกจน สำเร็จ

    พ.ศ. ๒๕๓๖ ชาวไทย-ลาว ในประเทศแคนาดามีศรัทธาในพระพุทธศาสนามีความประสงค์ที่จะให้มีวัดพุทธไทย ขึ้น จึงได้รวมตัวกันก่อตั้งสมาคมพระพุทธศาสนา ต้องการที่จะให้มีความอบอุ่นทางใจ เนื่องได้จากประเทศมานาน ประสงค์ให้มีวัดพระพุทธศาสนาขึ้นในท้องที่เพื่อศูนย์กลางปฏิบัติศาสนกิจอัน เป็นที่พึ่งทางใจ ทั้งนี้เพราะมารำลึกถึงว่าพวกเราเป็นพุทธบริษัทและมีความวิตกกังวลถึงลูก หลานต่อไปข้างหน้าหากไม่มีวัด เด็ก ๆ เหล่านี้ก็จะต้องเข้านับถือศาสนาอื่นเพราะลูกหลานของเขาก็จะเพิ่มมากขึ้น เป็นจำนวนพัน จำนวนหมื่น หากมีวัดพุทธสาสนาก็จะทำให้อนาคตของเด็ก ๆ ที่เป็นลูกหลานของเขาเป็นพุทธบริษัท ซึ่งจะเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนามายังประเทศแคนาดานี้ทางหนึ่งด้วย ชาวไทย-ลาวในประเทศแคนาดาจึงตั้งใจอย่างมั่นคงที่จะมีวัดไทยในประเทศนี้ให้ จงได้

    พระราชธรรมเจติยาจารย์ เห็นความตั้งใจจริงของพุทธบริษัทจึงได้สนับสนุนโดยการบอกบุญไปยังพุทธบริษัท ในประเทศไทย ก็ได้รับความศรัทธาอย่างกว้างขวางช่วยบริจาคเงินเป็นจำนวนมากจนสามารถสร้าง วัดขึ้นมาเพียง ๓ ปี สร้างได้ถึง ๖ วัดตามเมืองใหญ่ต่าง ๆ ดังนี้คือ เมืองแวนคูเวอร์ เมืองโตรอนโต เมืองออตตาวา เมืองเอ็ดมันตัน เมืองแคนการี่ และที่น้ำตกไนแองการ่า ซึ่งต้องใช้ปัจจัยถือ ๙๐ ล้านกว่า ซึ่งเป็นปัจจัยจำนวนมากทีเดียว แต่ได้รับความร่วมมือจากทั้งชาวแคนาดาและชาวไทยในประเทศไทยจนสำเร็จได้

    การเกิดขึ้นของวัดในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศแคนาดานั้นนับเป็นผลดีมากใน การ เผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ เพราะว่าในประเทศนี้ยังไม่เคยมีวัดพุทธไทยและยังเป็นการเผยแผ่หลักธรรมของ พระพุทธศาสนาให้แพร่หลาย การสร้างวัดนั้นมิใช่ง่ายมีความยากลำบากมากต้องใช้ความสามารถสูงทั้งด้าน ภาษา วัฒนธรรมตลอดถึงปัจจัย ทั้งบุคคลากร หากไม่ใช้ความตั้งใจจริงพร้อมทั้งการเสียสละอย่างสูงแล้วจะทำให้สำเร็จไม่ ได้เลย แต่ทั้งนี้ในประเทศแคนาดานำโดยพระราชธรรมเจติยาจารย์ได้ดำเนินการอย่างมี ประสิทธิภาพประกอบด้วยความตั้งใจจริงของท่านพร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนจาก พุทธศาสนิกชนทั้งในประเทศแคนาดาและประเทศไทยจึงทำให้บังเกิดผลอย่างรวดเร็ว และจะเป็นผลต่อไปในอนาคตซึ่งจะประเมินค่ามิได้

    ขณะนี้มีการทำประโยชน์มากมายตามวัดต่าง ๆ เช่น ประชาชนได้มาบำเพ็ญกุศลตามประเพณีนิยม มีการจำศีลภาวนาตักบาตรทำบุญ การบำเพ็ญกุศลในวันสำคัญคือวิสาขบูชา มาฆบูชา อาสาฬหบูชา เข้าพรรษา ออกพรรษา วันตรุษ วันสงกรานต์ วันขึ้นปีใหญ่ วันลอยกระทง เป็นต้น โดยเฉพาะที่วัดญาณวิริย ๒ ที่โตรอนโต พระภิกษุที่นี่ก็ได้รับอาราธนา ให้ไปสอนผู้ถูกคุมขัง ณ ที่เรือนจำเป็นประจำและที่วัดญาณวิริยา ๑ ที่แวนคูเวอร์ ได้มีนักเรียน นักศึกษาชาวแคนาดามาฝึกหักทำสมาธิจำนวนมิใช่น้อย นอกจากนั้นยังได้แก้ข้อสงสัยในพระพุทธศาสนาให้แก่ชาวต่างชาติให้เข้าใจข้อ เท็จจริง นับเป็นประโยชน์มากในการสร้างวัดไทยในประเทศแคนาดา การดำเนินงานด้านเผยแผ่พระพุทธศาสนากำลังได้ผลระยะสั้นและระยะยาว อยู่ที่การเสียสละของพระภิกษุผู้ที่มาประจำและผู้ที่สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง คือพระเถระทั้งหลายพร้อมทั้งพุทธศาสนิกในประเทศไทย เมื่อได้รับความสนับสนุนเพื่อให้กำลังใจพร้อมทั้งปัจจัยสี่ ความอบอุ่นในการดำเนินงานแล้ว คาดว่าในอนาคตจะทำให้ประเทศนี้มีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทย-ลาว-เขมร-ญวน-จีน ที่มาตั้งรกรากอยู่ในประเทศแคนาดาเองเพิ่มขึ้นจนเป็นความหวังที่จะให้พุทธ ศาสนาเป็นปึกแผ่นในประเทศนี้.

    แหล่งข้อมูล : เว็บไซต์พุทธะ
     
  10. ShamanKinGG

    ShamanKinGG เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    143
    ค่าพลัง:
    +381
    วันนี้สวดบทบูชาพระรัตนตรัย บทถวายพรพระ ชัยมงคลคาถาและคาถาพระจักรพรรดิ์

    ขอยกประวัติหลวงปู่ทวดมาให้อ่านกันนะครับ

    ประวัติหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด

    เมื่อหลายร้อยปีมาแล้วหัวเมืองทางภาคใต้ของประเทศไทยเล่าลือ กันมาว่าได้มีพระภิกษุสงฆ์ ทรงสมณศักดิ์ขั้นสมเด็จถึง ๔ องค์ ด้วยกัน คือ
    ๑ . สมเด็จเจ้าเกาะยอ
    ๒ . สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่
    ๓ . สมเด็จเจ้าจอมทอง
    ๔ . สมเด็จเจ้าพะโคะ

    ในที่นี้ ขอกล่าวเฉพาะตำนานสมเด็จเจ้าพะโคะโดยตรง ตามตำนาน กล่าวไว้ว่า สมเด็จเจ้าพะโคะองค์ นี้ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชมุนี สามีรามคุณูปมาจารย์ จากสมเด็จพระมหาธรรมราชาสมัยพระองค์ ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และกล่าวไว้ว่าสมเด็จเจ้าพะโคะ ชาตะ วันศุกร์ เดือน ๔ ปีมะโรง ตรงกับ พ . ศ . ๒๑๒๕ บิดาชื่อหู มารดาชื่อนางจันทร์ มีอายุมากแล้ว จึงคลอดบุตรเป็นชาย ชื่อเจ้าปู่ และได้คลอดบุตรคนนี้ที่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระ ( อ . จะทิ้งพระ จ . สงขลา เวลานี้ )

    ตาหู นางจันทร์ เป็นคนยากจน ได้อาศัยอยู่กับคฤหบดีผู้หนึ่งไม่ปรากฏ นาม สองสามีภริยาเป็นผู้มั่นอยู่ ในศีลธรรม เมื่อนางจันทร์ออกจากการอยู่ไฟ เนื่องในการคลอดบุตรแล้ว วันหนึ่งนางจันทร์ อุ้มลูกน้อยพร้อมด้วยสามีออกไปทุ่งนา เพื่อช่วยเก็บเกี่ยวข้าวให้แก่เจ้าของบ้านที่ได้มาอาศัยอยู่ครั้นถึงทุ่งนาได้เอา ผ้าผูกกับต้นหว้า ซึ่งขึ้นอยู่ใกล้กัน ทำเป็นเปลให้ลูกนอน แล้วพากันลงมาเก็บ เกี่ยวข้าวต่อไป ขณะสองสามีภรรยาเก็บเกี่ยวข้าวอยู่ชั่วครู่ นางจันทร์ เป็นห่วงลูก ได้เหลียวมามองที่เปล ปรากฏว่ามีงูบองตัวโตผิดปกติ ได้ขดตัวรอบรัวเปลที่ เจ้าปู่นอน สองสามีภริยาตกใจร้องหวีดโวยวายขึ้น เพื่อนชาวนาที่เกี่ยวข้าวอยู่ใกล้เคียงก็รีบพากันวิ่งมาดู แต่ก็ไม่มีใครสามารถจะช่วยอะไรได้งูใหญ่ตัวนั้นเห็น คนเข้าใกล้ก็ชูศีรษะขึ้นส่งเสียงขู่คำรามดังอย่างน่ากลัว จึงไม่มีใครกล้าเข้าไป ใกล้เปลนั้นเลย

    ฝ่ายนายหูนางจันทร์ผู้มั่นอยู่ ในบุญกุศล ยืนนิ่งพินิจพิจารณาอยู่ปรากฏว่างูใหญ่ ตัวนั้นมิได้ทำอันตรายแก่ บุตรน้อยของตนเลย จึงเกิดความสงสัย ว่างูบองใหญ่ตัวนี้น่าจะเกิดจากเทพนิมิตบันดาล คิดดังนั้นแล้วก็พากันหา ดอกไม้และเก็บรวงข้าวเผาเป็นข้าวตอกนำมาบูชา และกราบไหว้งูใหญ่พร้อม ด้วยกล่าวคำสัตย์อธิษฐาน ขอให้ลูกน้อยปลอดภัย ในชั่วครู่นั้นงูใหญ่ก็คลายขนดลำตัวออกจากเปล อันตรธานหายไปทันที นายหูนางจันทร์ และเพื่อนพา กันเข้าไปดูทารกที่ในเปล ปรากฏว่าเจ้าปู่ยังนอนหลับเป็นปกติ แต่มีแก้วดวงหนึ่ง วางอยู่ที่คอในที่ลุ่มใต้ ลูกกระเดือก แก้วดวงนั้นมีสีแสงรุ่งเรืองเป็น รัศมีหลากสี สองสามีภริยาจึงเก็บรักษาไว้คหบดีเจ้าของบ้านทราบความ จึงขอแก้วดวงนี้ ไว้เป็นกรรมสิทธิ์ ตาหูนางจันทร์ก็จำใจมอบให้คหบดีผู้นั้น เมื่อได้แก้วพระยางูมาไว้เป็นสมบัติของตนแล้ว ก็รู้สึกพอใจ ต่อมาไม่นานได้เกิดการวิปริต ให้ความ เจ็บไข้ได้ทุกข์แก่ คหบดีและครอบครัวขึ้นอย่างรุนแรงผิดปกติ จนไม่มีทาง แก้ไขได้จนถึงที่สุดคหบดีเจ้าของบ้านจึงคิดว่าเหตุร้ายที่เกิดขึ้นครั้งนี้ คงจะเป็นเพราะยึดเอาดวงแก้วพระยางูนั้นไว้จึงให้โทษ และเกรงเหตุร้าย จะลุกลามยิ่ง ๆ ขึ้น จึงตัดสินใจคืนแก้วดวงนั้นให้สองสามีภริยากลับคืนไป ต่อมาภายในบ้านและครอบครัวของคหบดีผู้นั้นก็ได้อยู่เย็นเป็นสุขตามปกติ ขณะที่นายหูนางจันทร์ ได้ครอบครองแก้ววิเศษอยู่นั้น ปรากฏว่าเจ้าของบ้าน ก็มีความเมตตาสงสารไม่ใช้งานหนัก การทำมาหากินเลี้ยงชีพก็จำเริญรุ่งเรือง ขึ้นเป็นลำดับ อยู่สุขสบายตลอดมา

    เมื่อกาลล่วงนานมาจนเจ้าปู่อายุ ๗ ปี บิดามารดาได้นำไปถวาย สมภารจวงให้เรียนหนังสือ ณ วัดดีหลวง เด็กชายปู่ศึกษาเล่าเรียนมีความ เฉลียวฉลาดยิ่งกว่าเพื่อนคนใด ๆ เมื่อเด็กชายปู่มีอายุ ๑๔ ปี สมภารจวงผู้เป็น อาจารย์ ได้บวชให้เป็นสามเณร ต่อมาท่านอาจารย์ ได้นำไปฝากท่านพระครู สัทธรรมรังษี ให้เรียนหนังสือมูลกัจจายน์ ณ วัดสีหยัง ( วัดสีคูยัง อ . ระโนด เวลานี้ )

    สามเณรปู่เรียนมูลกัจจายน์ อยู่ กับท่านพระครูสัทธรรมรังษี ซึ่งท่าน มาจากกรุงศรีอยุธยา ทางคณะสงฆ์ให้ เป็นครูสอนวิชามูลฯ ทางหัวเมืองฝ่ายใต้ใน สมัยนั้น มีพระภิกษุสามเณรได้ศึกษาเล่าเรียนกันมา สามเณรปู่มีสติปัญญา เฉลียวฉลาดส่อนิสัยปราชญ์ มาแต่กำเนิด ได้ศึกษาเล่าเรียนวิชามูลฯ อยู่ไม่นานก็สำเร็จ เป็นที่ชื่นชอบของพระอาจารย์ เป็นอย่างมาก

    เมื่อสามเณรปู่เรียนจบวิชามูลฯ แล้ว ได้กราบลาพระอาจารย์ไปเรียน ต่อยังสำนักพระครูกาเดิม ณ วัดสีมาเมือง เมืองนครศรีธรรมราช เมื่อครบอายุ บวช พระครูกาเดิมผู้ เป็นอาจารย์ จัดการอุปสมบทให้เป็นภิกษุในพุทธศาสนา ทำญัติอุปสมบทให้ฉายาว่า " สามีราโม " ณ สถานที่คลองแห่งหนึ่งโดยเอาเรือ ๔ ลำ มาเทียบขนานเข้าเป็นแพ ทำญัติ ต่อมาคลองแห่งนั้น มีชื่อเรียกกันว่า คลองท่าแพ จนบัดนี้

    พระภิกษุปู่ เรียนธรรมอยู่สำนักพระครูกาเดิม ๓ ปี ก็เรียนจบชั้น ธรรมบทบริบูรณ์ พระภิกษุปู่ได้ กราบลาพระครูกาเดิมจากวัดสีมาเมืองกลับ ภูมิลำเนาเดิม ต่อมาได้ขอโดยสารเรือสำเภาของนายอินทร์ลงเรือที่ท่าเมือง จะทิ้งพระไปกรุงศรีอยุธยา พระนครหลวงเพื่อศึกษาเล่าเรียนธรรมเพิ่มเติมอีก เรือสำเภาใช้ใบแล่นถึงเมืองนครศรีธรรมราช นายอินทร์ เจ้าของเรือได้นิมนต์ขึ้นบก ไปนมัสการพระบรมธาตุตามประเพณีของชาวเรือเดินทางไกล ซึ่งได้ปฏิบัติกันมาแต่กาลก่อน ๆ เพื่อขอความสวัสดีต่อการเดินทางทางทะเล แล้วพากันมาลงเรือสำเภาที่คลองท่าแพ เรือสำเภาใช้ใบออกสู่ทะเลหลวง เรียบร้อยตลอดมาเป็นระยะทาง ๓ วัน ๓ คืน วันหนึ่งท้องทะเลฟ้าวิปริต เกิดพายุฝนตก

    มืดฟ้ามัวดินคลื่นคะนองเป็นบ้าคลั่ง เรือจะแล่นต่อไปไม่ได้จึงลดใบทอดสมอสู่คลื่นลมอยู่ ๓ วัน ๓ คืน จนพายุร้ายสงบเงียบลงเป็นปกติ แต่เหตุการณ์บนเรือสำเภาเกิดความเดือดร้อนมาก เพราะนํ้าจืดที่ลำเลียงมา หมดลง คนเรือไม่ มีนํ้าจืดดื่มและหุงต้มอาหาร นายอินทร์ เจ้าของเรือเป็นเดือด เป็นแค้นในเหตุการณ์ครั้งนั้น หาว่าเป็นเพราะพระภิกษุปู่อาศัยมา จึงทำให้เกิด เหตุร้าย ซึ่งตนไม่เคยประสบเช่นนี้มาแต่ก่อนเลย ผู้บันดาลโทสะย่อมไม่รู้จัก ผิดชอบฉันใด นายเรือคนนี้ก็ฉันนั้น เขาจึงได้ไล่พระภิกษุปู่ลงเรือ ใช้ให้ลูกเรือ นำไปขึ้นฝั่ง หมายจะปล่อยท่านไปตามยถากรรม ขณะที่พระภิกษุปู่ลงนั่งอยู่ในเรือเล็ก ท่านได้ยื่นเท้าลงเหยียบนํ้าทะเลแล้วบอกให้ลูกเรือคนนั้นตักนํ้าขึ้นดื่มกินดู ปรากฏว่านํ้าทะเลที่เค็มจัดตรงนั้นแปรสภาพเป็นนํ้าที่มีรสจืดสนิท ลูกเรือคนนั้น จึงบอกขึ้นไปบนเรือใหญ่ให้เพื่อนทราบ พวกกลาสีบนเรือใหญ่จึงชวนกันตัก นํ้าทะเลตรงนั้นขึ้นไปดื่มแก้กระหายพากันอัศจรรย์ในอภินิหารของพระภิกษุหนุ่ม องค์นี้ยิ่งนัก ความทราบถึงนายอินทร์เจ้าของเรือ จึงได้ดื่มนํ้านั้นพิสูจน์ดู ปรากฏว่านํ้าทะเลที่จืดนั้น มีบริเวณอยู่ จำกัดเป็นวงกลม ประมาณเท่าล้อเกวียน นอกนั้น เป็นนํ้าเค็มตามธรรมชาติของนํ้าทะเลจึงสั่งให้ลูกเรือตักนํ้าในบริเวณนั้น ขึ้นบรรจุภาชนะไว้บนเรือจนเต็ม นายอินทร์ และลูกเรือได้ประจักษ์ในอภินิหาร ของท่านเป็นที่อัศจรรย์ เช่นนั้น ก็เกิดความหวาดวิตกภัยพิบัติที่ตนได้กระทำไว้ต่อท่าน จึงได้นิมนต์ ให้ท่านขึ้นบนเรือใหญ่แล้วพากันกราบไหว้ขอขมาโทษตาม ที่ตนได้กล่าวคำหยาบต่อท่านมาแล้ว และถอนสมอใช้ใบแล่นเรือต่อไปเป็น เวลาหลายวันหลายคืนโดยเรียบร้อย

    เมื่อเรือสำเภามาถึงกรุงศรีอยุธยา เข้าจอดเทียบท่าเรียบร้อยแล้ว นายอินทร์ได้ นิมนต์ท่าน ให้ท่านเข้าไปในเมือง แต่ท่านไม่ยอมเข้าเมือง ท่านปรารถนาจะอยู่ ณ วัดเอกเมือง เพราะเห็นเป็นที่เงียบ สงบดี แต่ในที่สุดได้ไป อาศัยอยู่ ณ วัดราชานุวาส ซึ่งตั้งอยู่ นอกกำแพงเมือง ขณะนั้นพระมหา ธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยา

    ในสมัยนั้น ประเทศลังกาอันมีพระเจ้าวัฏฏะคามินีครองราชเป็น เจ้าแผ่นดิน มีพระประสงค์อยากจะได้กรุงศรีอยุธยาไว้ใต้พระบรมเดชานุภาพ แต่พระองค์ไม่มีพระประสงค์จะก่อสงครามให้เกิดรบราฆ่าฟันกันและกัน ให้ประชาชนข้าแผ่นดินเดือดร้อน จึงมีนโยบายอีกอย่างหนึ่งที่สามารถจะเอาชนะ ประเทศอื่นโดยการท้าพนัน พระองค์จึงตรัสสั่งให้ พนักงานพระคลัง เบิกจ่ายทองคำในท้องพระคลังหลวง มอบให้แก่นายช่างทองไปจัดการหลอมหล่อ เป็นตัวอักษรเท่าใบมะขามจำนวน ๘๔ , ๐๐๐ เมล็ด แล้วมอบให้แก่พราหมณ์ ผู้เฒ่า ๗ คน พร้อมด้วยข้าวของอันมีค่าบรรทุกลงเรือสำเภา ๗ ลำ พร้อมด้วย พระราชสาสน์ ให้แก่พราหมณ์ ทั้ง ๗ นำลงเรือสำเภาใช้ใบแล่นไปยังกรุงศรีอยุธยา เมื่อเรือสำเภาจอดท่ากรุงศรีอยุธยาเรียบร้อยแล้ว พราหมณ์ ทั้ง ๗ ได้พากัน เข้าเฝ้าสมเด็จพระมหาธรรมราชาถวายสาสน

    ่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงไทยทรงอ่านพระราชสาสน์ความว่า พระเจ้ากรุงลังกาขอท่าพระเจ้ากรุงไทยให้ทรงแปลพระธรรมในเมล็ดทองคำ และเรียบเรียงตามลำดับให้เสร็จภายใน ๗ วัน ถ้าแปลและเรียบเรียงได้ทัน กำหนดพระเจ้ากรุงลังกาขอถวายข้าวของอันมีค่าทั้ง ๗ ลำเรือสำเภาเป็น บรรณาการแก่พระเจ้ากรุงไทย แต่ถ้าพระเจ้ากรุงไทยแปลเรียงเมล็ดทองคำ ไม่ได้ตามกำหนด ให้พระเจ้ากรุงไทยจัดการถวายดอกไม้ เงินและทองส่งเป็น บรรณาการแก่กรุงลังกาทุก ๆ ปี ตลอดไป

    เมื่อพระองค์ทรงทราบพระราชสาสน์ อันมีข้อความดังนั้น จึงทรงตรัส สั่งนายศรีธนญชัยสังฆการี เขียนประกาศนิมนต์ พระราชาคณะ และพระภิกษุสงฆ์ ผู้ทรงคุณวุฒิทั่วประเทศ ให้เข้ามาแปลธรรมในพระมหานครทันกำหนด เมื่อได้ประกาศไปแล้ว ๖ วัน ก็ไม่มีใครสามารถแปลเรียบเรียงเมล็ดทองคำนั้นได้พระองค์ทรงปริวิตกเป็นยิ่งนัก และในคืนวันนั้นพระองค์ทรงสุบินนิมิตว่ามี พระยาช้างเผือกผู้มาจากทิศตะวันตก ขึ้นยืนอยู่กับพระแท่นในพระบรมมหา ราชวัง ได้เปล่งเสียงร้องก้องดังได้ยินไปทั่วทั้งสี่ทิศ ทรงตกพระทัยตื่นบรรทม ในยามนั้น และทรงพระปริวิตกในพระสุบินนิมิตเกรงว่าประเทศชาติจะเสีย อธิปไตย และเสื่อมเสียพระบรมเดชานุภาพ ทรงพระวิตกกังวลไม่เป็นอันจะ บรรทมจนรุ่งสาง

    เมื่อได้เสด็จออกยังท้องพระโรง สั่งให้โหรหลวงเข้าเฝ้าโดยด่วน และทรงเล่าพระสุบินนิมิตให้โหรหลวงทำนาย เพื่อจะได้ทรงทราบว่าร้ายดี ประการใด เมื่อโหรหลวงทั้งคณะได้พิจารณาดูยามในพระสุบินนิมิตนั้นโดย ละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ก็พร้อมกันกราบถวายบังคมทูลว่า ตามพระสุบินนิมิตนั้น จะมีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งมาจากทิศตะวันตกอาสาเรียงและแปลพระธรรมได้สำเร็จ พระบรมเดชานุภาพของพระองค์จะยั่งยืนแผ่ไพศาลไปทั่วทั้งสี่ทิศ เมื่อ พระองค์ทรงทราบแล้วก็คลายพระปริวิตกลงได้บ้ าง
    ด้วยเดชะบุญบันดาลในเช้าวันนั้น บังเอิญศรีธนญชัยไปพบพระภิกษุปู่ ที่วัดราชานุวาส ได้สนทนาปราศัยกันแล้วก็ทราบว่าท่านมาจากเมืองตะลุง ( พัทลุงเวลานี้ ) เพื่อศึกษาธรรม ศรีธนญชัยเล่าเรื่องพระเจ้ากรุงลังกาท้าพนันให้แปลธรรม แล้วถามว่าท่านพอจะช่วยแปลได้ไหม พระภิกษุปู่ตอบว่า ถ้าไม่ลอง ก็ไม่รู้ ศรีธนญชัยจึงนิมนต์ ท่านเข้าเฝ้า ณ ที่ประชุมสงฆ์ ขณะที่พระภิกษุปู่ถึง ประตูหน้าพระวิหาร ท่านยํ่าเท้าก้าวขึ้นไปเหยียบบนก้อนหินศิลาแลง ทันทีนั้น ศิลาแลงได้หักออกเป็นสองท่อนด้วยอำนาจอภินิหารเป็นที่อัศจรรย์ ยิ่งนัก เมื่อเข้าไปในพระวิหาร พระมหากษัตริย์ ตรัสสั่งพนักงานปูพรมให้ท่านนั่งในที่อัน สมควร แต่ก่อนท่านจะเข้านั่งที่แปลพระธรรมนั้น ท่านได้แสดงกิริยาอาการ เป็นปัญหาธรรม ต่อหน้าพราหมณ์ ทั้ง ๗ กล่าวคือ ท่าแรกท่านนอนลงในท่า สีหะไสยาสน์ แล้วลุกขึ้นนั่งกายตรงแล้วกะเถิบไปข้างหน้า ๕ ที แล้วลุกขึ้นเดินเข้า ไปนั่งที่อันสมควร พราหมณ์ ผู้เฒ่าทั้ง ๗ เห็นท่านแสดงกิริยาเช่นนั้นเป็นการ ขบขันก็พากันหัวเราะและพูดว่า นี่หรือพระภิกษุที่จะแปลธรรม

    ของพระบรม ศาสดา ทำไมจึงแสดงกิริยาอย่างเด็กไร้เดียงสา พราหมณ์พูดดูหมิ่นท่านหลาย ครั้ง ท่านจึงหัวเราะ และถามพราหมณ์ว่า ประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของท่าน ท่านไม่เคยพบเห็นกิริยาอาการเช่นนี้บ้างหรือ " พราหมณ์เฒ่าฉงนใจก็นิ่งอยู่ต่าง นำบาตรใส่เมล็ดทองคำเข้าประเคนท่านทันที

    เมื่อพระภิกษุปู่รับประเคนบาตรจากมือพราหมณ์มาแล้วท่านก็นั่ง สงบจิตอธิษฐานแต่ในใจว่า ขออำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์ และอำนาจ ผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อน และอำนาจเทพยดาอันรักษาพระนคร ตลอดถึงเทวดาอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรม ช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบันดาลจิตใจให้สว่างแจ้ง ขจัดอุปสรรค ที่จะมาขัดขวาง ขอให้แปลพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์สำเร็จสม ปรารถนาเถิด ครั้นแล้วท่านควํ่าบาตรเททองเรี่ยราดลงบนพรม และนั่งคุยกับ พราหมณ์ตามปกติ

    ด้วยอำนาจบารมีอภินิหารของท่านที่ได้จุติลงมาโปรดสัตว์ ใน พระพุทธศาสนาประกอบกับโชคชะตาของประเทศชาติที่จะไม่เสื่อมเสียอธิปไตย เทพยดาเจ้าทั้งหลายจึงดลบันดาล เรียบเรียงเมล็ดทองคำตามลำดับตัวอักษร โดยเรียบร้อยในเวลานั้น ชั่วครู่นั้นท่านก็ได้เหลียวกลับมาลงมือเรียบเรียง และแปลอักษรในเมล็ดทองคำจำนวน ๘๔ , ๐๐๐ เมล็ด เป็นลำดับโดยสะดวก และไม่ติดขัดประการใดเลย นับว่าโชคชะตาของประเทศชาติยังคงรุ่งเรืองสืบไป

    ขณะที่พระภิกษุปู่เรียงและแปลอักษรไปได้มากแล้ว ปรากฏว่าเมล็ด ทองคำตัวอักษรขาดหายไป ๗ ตัว คือ ตัว สํ วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ ท่านจึงทวง ถามเอาที่พราหมณ์พราหมหณ์ ทั้ง ๗ คนยอมจำนน จึงประเคนเมล็ดทองคำ ที่ตนซ่อนไว้ นั้นให้ท่านแต่โดยดี ปรากฏว่าพระภิกษุปู่แปลพระไตรปิฎกใน เมล็ดทองคำสำเร็จบริบูรณ์ เป็นการชนะพราหมณ์ ในเวลาเย็นของวันนั้น และทันใดนั้นก็ได้ยินเสียงดนตรีปี่พาทย์ ประโคม พร้อมเสียงประชาชนโห่ร้อง ต้อนรับชัยชนะเสียงดังสนั่นหวั่นไหวทั่วพระนครศรีอยุธยาเป็นการฉลองชัย

    สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงพระโสมนัสยินดีเป็นที่ยิ่ง จึงทรงตรัสสั่ง ถวายราชสมบัติให้พระภิกษุปู่ครอง ๗ วัน แต่ท่านไม่ยอมรับ โดยให้เหตุผลว่าท่าน เป็นสมณเพศไม่สมควรที่จะครองราชสมบัติ อันผิดกิจของสมณควรประพฤติ พระองค์ก็จนพระทัย แต่ประสงค์อันแรงกล้าที่จะสนองคุณความดีและความ ชอบอันใหญ่ยิ่งให้แก่ท่านในครั้งนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ทรงแต่งตั้งให้พระภิกษุปู่ดำรงสมณศักดิ์ทรงพระราชทานนามว่า " พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ " ในเวลานั้น

    พระภิกษุปู่ หรือพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ได้ประจำพรรษาอยู์ ณ วัดราชานุวาส ศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่ เป็นเวลาหลายปีด้วยความสงบร่มเย็น เป็นสุขตลอดมา ครั้งหนึ่งในพระมหานครศรีอยุธยาเกิดโรคระบาดขึ้นร้ายแรงคือ อหิวาตกโรค ประชาราษฎร์ล้มป่วยเจ็บตายลงเป็นอันมาก ประชาชนพลเมือง เดือดร้อนเป็นยิ่งนัก สมัยนั้นหยูกยาก็ไม่มี นิยมใช้รักษาป้องกันด้วยอำนาจ คุณพระศรีรัตนตรัย พระเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตกกังวลมาก เพราะไม่มีวิธีใดจะช่วย รักษาและป้องกันโรคนี้ได้และทรงระลึกถึงพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ขึ้นได้จึงตรัสสั่งให้ศรีธนญชัยไปนิมนต์ ท่านเข้ามาเฝ้า ทรงปรารภในเรื่องทุกข์ร้อน ของพลเมืองที่ได้รับทุกข์ยากด้วยโรคระบาดอยู่ขณะนี้ ท่านจึงทำพิธีปลุกเสก นํ้าพระพุทธมนต์ แล้วนำไปประพรมให้แก่ประชาชนทั่วพระนคร ปรากฏว่า โรคระบาดได้ทุเลาเหือดหายไปในไม่ช้า ประชาชนได้รับความร่มเย็นเป็นสุข ตลอดมา ในหลวงทรงพระปรีดาปราโมทย์ เป็นอันมาก ทรงเคารพเลื่อมใสใน องค์ ท่านอย่างยิ่ง วันหนึ่งได้ทรงตรัสปรารภกับท่านว่า ต่อไปนี้หากพระคุณเจ้า มีความปรารถนาสิ่งอันใด ขอนิมนต์ แจ้งให้ทราบความปรารถนานั้น ๆ จะทรง พระราชทานถวาย ขอพระคุณเจ้าอย่าได้เกรงพระทัยเลย

    การล่วงมานานประมาณว่า พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์มีวัยชราแล้ว วันหนึ่งท่านได้เข้าเฝ้าถวายพระพรทูลลาจะกลับภูมิลำเนาเดิม พระองค์ ทรงเกรงใจท่านไม่กล้านิมนต์ขอร้องแต่อย่างใด ได้พระราชทาน อนุญาตตามความปรารถนาของท่าน

    เมื่อพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ กลับภูมิลำเนาเดิม ครั้งนั้น ปรากฏมีหลักฐานไว้ว่าท่านเดินกลับทางบกธุดงค์ โปรดสัตว์เรื่อยมา เป็น เวลาช้านาน จึงถึงวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ ตามแนวทางที่ท่านเดินและพัก แรมที่ใด ต่อมาภายหลังสถานที่ท่านพักแรมนั้นเกิดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนในถิ่นนั้นได้ทำการเคารพบูชามาถึงบัดนี้ คือปรากฏว่าขณะที่ท่านพักแรมอยู่ที่บ้านโกฏิในอำเภอปากพนัง เมื่อท่านเดินทางจากไปแล้วภายหลัง ประชาชนยังมีความเคารพเลื่อมใสท่านอยู่มาก จึงได้ชักชวนกันขุดดินพูน ขึ้นเป็นเนินตรงกับที่ท่านพักแรมไว้เป็นที่ระลึกรอบ ๆ เนินดินนั้นจึงเป็นคูนํ้า ล้อมรอบเนิน และสถานที่แห่งนี้ต่อมาก็เกิดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จนถึงบัดนี้

    เมื่อท่านเดินทางมาถึงหัวลำภูใหญ่ในอำเภอหัวไทรในเวลานี้ เป็นสถานที่มีหาดทรายขาวสะอาด ต้นลำภูแผ่กิ่งก้านสาขาร่มเย็นสบาย ท่านจึง พักแรมอาศัยต้นลำภูนั้น ทำสมาธิวิปัสสนา ประชาชนในถิ่นนั้นได้พร้อมใจ กันมากราบไหว้บูชา และฟังท่านแสดงธรรมอันเป็นหลักควรปฏิบัติของ พระพุทธศาสนา ต่อมาประชาชนเพิ่มความเลื่อมใสศรัทธาแรงกล้า จึงพร้อม ใจกันสร้างศาลาถวายขึ้นหลังหนึ่ง แต่ท่านก็ได้จากสถานที่นี้ไปแล้ว ต่อมาภายหลังไม่นานศาลาหลังนี้เกิดเป็นศาลาศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนชาวบ้านถิ่นนั้น และถิ่นใกล้เคียง จึงชักชวนกันมาทำพิธีสมโภชศาลาศักดิ์สิทธิ์หลังนั้นเป็น การระลึกถึงท่าน ถือเอาวันพฤหัสบดีเป็นวันพิธีชักชวนกันทำขนมโค มาบวงสรวง สมโภชทุก ๆ วันพฤหัสฯ เป็นประจำเป็นประเพณีมาจนกระทั่งบัดนี้

    เมื่อท่านจากหัวลำภูใหญ่เดินทางมาถึงบางค้อนท่านได้หยุดพักแรม พอหายเมื่อยล้าแล้วก็เดินทางต่อไปจนถึงวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ หลังจากที่ท่านจากไปแล้วสถานที่บางค้อนก็เกิดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ปรากฏมาจนบัดนี้

    พระราชามุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ หรือพระภิกษุปู่กลับถึงวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะครั้งนี้ ประชาชนชื่นชมยินดีแซ่ซ้องสาธุการต้อนรับท่านเป็นการใหญ่ ประชาชนได้พร้อมกันขนานนามท่านขึ้นใหม่ เรียกกันว่า " สมเด็จพะโคะ " ตั้งแต่นั้นมาจนบัดนี้ ต่อมาวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ อันเป็นชื่อเดิมก็ถูกเรียก ย่อ ๆ เสียใหม่ว่า " วัดพะโคะ " จนบัดนี้

    ตามตำนานกล่าวไว้ว่า วัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะนี้มีพระอรหันต์ ๓ องค์เป็นผู้สร้างขึ้น คือ
    ๑ . พระนามไรมุ้ย
    ๒ . พระมหาอโนมทัสสี
    ๓ . พระธรรมกาวา

    ต่อมาพระมหาอโนมทัสสี ได้เดินทางไปประเทศอินเดีย อัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุพระบรมศาสดากลับมา พระยาธรรมรังคัล เจ้าเมืองจะทิ้งพระในสมัยนั้น มีความเลื่อมใสศรัทธา จัดการก่อสร้างพระเจดีย์ องค์ ใหญ่สูงถึง ๒๐ วา ขึ้นถวาย แล้วทำพิธีสมโภชบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายในเจดีย์ องค์นั้น และคงมีปรากฏอยู่ จนบัดนี้

    ขณะที่สมเด็จเจ้าพะโคะ หรือพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ได้หยุดพักผ่อนนานพอสมควร ท่านได้ตรวจดูเห็นปูชนียสถานและกุฏิวิหาร เก่าแก่ได้ชำรุดทรุดโทรมลงไปมาก ควรจะบูรณะซ่อมแซมเสียใหม่ท่านจึงได้ เดินทางเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยา เข้าเฝ้าสมเด็จพระมหาธรรมราชาอีกวาระหนึ่ง ( ในตำนานมิได้กล่าวไว้ว่าท่านไปทางบกหรือไปทางนํ้า ) เมื่อได้สนทนาถาม สุขทุกข์กันแล้วท่านก็ทูลถวายพระพรพระองค์ ตามความปรารถนาที่จะบูรณะ และปฏิสังขรณ์วัดให้พระองค์ทรงทราบ ครั้นได้ทรงทราบจุดประสงค์ ก็ทรงศรัทธาเลื่อมใสร่วมอนุโมทนาด้วย จึงตรัสสั่งให้พระเอกาทศรถพระเจ้าลูกยาเธอ จัดการเบิกเงินในท้องพระคลังมอบถวาย และจัดหาศิลาแลงบรรทุกเรือสำเภา ๗ ลำ พร้อมด้วยนายช่างหลวงหลายนาย มอบหมายให้ท่านนำกลับไปดำเนินงาน ตามความปรารถนาปรากฏว่าท้านได้ทำการบูรณะซ่อมแซมและปลูกสร้าง ( วัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ ) อยู่หลายปีจึงสำเร็จบริบูรณ์
    สมเด็จเจ้าพะโคะเข้าไปเฝ้าสมเด็จพระมหาธรรมราชายังกรุงศรี อยุธยาครั้งนี้ ปรากฏว่าพระองค์ทรงเลื่อมใสเคารพต่อท่านเป็นยิ่งนัก ได้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานที่ดินนาถวายแก่ท่านเป็นกัลปนา ขึ้นแก่ วัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ จำนวน ๙๐ ฟ้อน พร้อมด้วยประชาราษฎรที่อาศัยอยู่ ในเขตที่ดินนั้น มีอาณาเขตติดต่อ โดยถือเอาวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ เป็นศูนย์กลาง ดังนี้
    ๑ . ทางทิศเหนือ ตั้งแต่แหลมลุมพุกเข้ามา
    ๒ . ทางทิศใต้ ตั้งแต่แหลมสนเข้ามา
    ๓ . ทางทิศตะวันออก จรดทะเลจีนเข้ามา
    ๔ . ทางทิศตะวันตก จรดทะเลสาบเข้ามา

    ขณะที่สมเด็จเจ้าพะโคะ กลับจากกรุงศรีอยุธยาได้ประจำพรรษาอยู่ ณ วัดพะโคะ ครั้งนี้คาดคะเนว่าท่านมีอายุกาลถึง ๘๐ ปีเศษ อยู่มาวันหนึ่งท่าน ถือไม้เท้าศักดิ์สิทธิ์ประจำตัว ไม้เท้านี้มีลักษณะคดไปมาเป็น ๓ คด ชาวบ้าน เรียกว่าไม้เท้า ๓ คด ท่านออกจากวัดมุ่งหน้าเดินไปยังชายฝั่งทะเลจีน และขณะที่ท่านเดินเล่นรับอากาศทะเลอยู่นั้น ได้มีเรือโจรสลัดจีนแล่นเรียบชายฝั่งมา พวกโจรจีนสลัดเห็นสมเด็จเดินอยู่ คิดเห็นว่าเป็นคนประหลาด เพราะท่านครองสมณเพศ พวกโจรจึงแวะเรือเข้าขึ้นฝั่งนำเอาท่านลงเรือไป เมื่อเรือโจรจีนออกจากฝั่งไม่นานเหตุมหัศจรรย์ก็ปรากฏขึ้น คือเรือลำนั้น จะแล่นต่อไปไม่ได้ต้องหยุดนิ่งอยู่กับที่ พวกโจรจีนได้พยายามแก้ไขจน หมดความสามารถ เรือก็ยังไม่เคลื่อน จึงได้จอดเรือนิ่งอยู่ ณ ที่นั้นเป็นเวลา หลายวันหลายคืน ที่สุดนํ้าจืดที่ลำเรียงมาบริโภคในเรือก็ได้หมดสิ้น จึงขาดนํ้าจืดดื่มและหุงต้มอาหาร พากันเดือดร้อนกระวนกระวายด้วยการกระหายนํ้าเป็นอย่างยิ่ง สมเด็จท่านสังเกตเหตุการณ์ความเดือดร้อนของพวกเรือ ถึงขึ้นที่สุดแล้ว ท่านจึงเหยียบกาบเรือให้ตะแคงตํ่าลงแล้วยื่นเท้าเหยียบ ลงบนผิวนํ้าทะเล ทั้งนี้ย่อมไม่พ้นความสังเกตของพวกโจรจีน เมื่อท่านยกเท้าขึ้น จากพื้นนํ้าทะเลแล้ว ก็สั่งให้พวกโจรจีนตักนํ้าตรงนั้นมาดื่มชิมดู พวกจีน แม้จะไม่เชื่อก็จำเป็นต้องลองเพราะไม่มีทางใดจะช่วยตัวเองได้แล้ว ก็ปรากฏว่านํ้าทะเลเค็มจัดที่ตรงนั้นแปรสภาพเป็นนํ้าจืด เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก พวกโจรสลัดจีนได้เห็นประจักษ์ ในคุณอภินิหารของท่านเช่นนั้น ก็พากันหวาดเกรง ภัยที่จะเกิดแก่พวกเขาต่อไป จึงได้พากันกราบไหว้ขอขมาโทษ แล้วนำท่านล่องเรือ ส่งกลับขึ้นฝั่งต่อไป

    เมื่อสมเด็จเจ้าพะโคะขึ้นจากเรือเดินกลับวัด ถึงที่แห่งหนึ่ง ท่านหยุดพักเหนื่อย ได้เอาไม้เท้า ๓ คด พิงไว้กับต้นยางสองต้นอันยืนต้นคู่เคียงกัน ต่อมาต้นยางสองต้นนั้นสูงใหญ่ขึ้น ลำต้นและกิ่งก้านสาขาเปลี่ยนสภาพ จากเดิมกลับคด ๆ งอ ๆ แบบเดียวกับรูปไม้เท้าทั้งสองต้น ประชาชนในถิ่นนั้น เรียกว่า ต้นยางไม้เท้ายังมีปรากฏอยู่ ถึงเวลานี้

    สมเด็จเจ้าพะโคะ หรือพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ครองสมณเพศประจำพรรษาอยู่ วัดพะโคะ เป็นที่พึ่งของประชาราษฎร์มีความร่มเย็น เป็นสุข ได้ช่วยการเจ็บไข้ได้ทุกข์บำรุงสุข เทศนาสั่งสอนธรรมของพระพุทธองค์ ประดุจร่มโพธิ์ ร่มไทรของปวงพุทธศาสนิกชนตลอดมา

    เรื่องตอนนี้ได้รับความกรุณาจากพระอุปัชฌาย์ดำ ดิสฺสโร สำนักวัด ศิลาลอย อำเภอจะทิ้งพระ เป็นผู้เล่าต่อกันมา โดยท่านพระครูวิริยานุรักษ์ วัดตานีรสโมสรบันทึกมาให้ผู้เขียน ความดังต่อไปนี้

    ในสมัยสมเด็จเจ้าพะโคะ พำนักอยู่วัดพะโคะครั้งนั้น ยังมีสามเณร น้อยรูปหนึ่ง เข้าใจว่าคงอาศัยอยู่ วัดใดวัดหนึ่ง ในท้องที่อำเภอหาดใหญ่เวลานี้ สามเณรรูปนี้ได้บวชมาแต่อายุน้อย ๆ ได้ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดมีความขยัน หมั่นเพียรก่อแต่การกุศลในพระพุทธศาสนาและตั้งจิตอธิษฐานจะขอพบ พระศรีอริยะอย่างแรงกล้า อยู่มาคืนวันหนึ่งมีคนแก่ถือดอกไม้เดินเข้ามาหา แล้วประเคนดอกไม้ส่งให้แล้วบอกว่า นี่เป็นดอกไม้ทิพย์ไม่รู้จักร่วงโรย พร้อมกับ กล่าวว่า พระศรีอริยะโพธิสัตว์นั้น ขณะนี้ได้จุติลงมาเกิดในเมืองมนุษย์ เพื่อโปรด สัตว์ ในพระพุทธศาสนา สามเณรเจ้าจงถือดอกไม้ทิพย์นี้ออกค้นหาเถิด หากผู้ ใดรู้จักกำเนิดของดอกไม้นี้แล้ว ผู้นั้นแหละเป็นองค์พระศรีอริยะที่จุติมา เจ้าจงพยายามเที่ยวค้นหาคงจะพบ เมื่อกล่าวจบแล้วคนแก่นั้นก็อันตรธาน หายไปทันที

    สามเณรน้อยมีความปิติยินดีเป็นยิ่งนัก วันรุ่งเช้าจึงกราบลาสมภาร เจ้าอาวาส ถือดอกไม้ทิพย์ เดินออกจากวัดไป สามเณรเดินทางตรากตรำ ลำบากไปทั่วทุกหนทุกแห่ง ก็ไม่มีใครทักถามถึงดอกไม้ทิพย์ที่ตนถืออยู่นั้นเลย แต่สามเณรก็พยายามอดทนต่อความเหนื่อยยากตรากตรำกรำแดดกรำฝน เป็นเวลาช้านาน

    วันหนึ่งต่อมา สามเณรน้อยเดินทางเข้าเขตวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ ในเวลาใกล้จะมืดคํ่าเป็นวันขึ้น ๑๕ คํ่า พระจันทร์เต็มดวงส่งรัศมีจ้าไปทั่วท้องฟ้า และเป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์ลงทำสังฆกรรมในโบสถ์ สามเณรถือดอกไม้ทิพย์เดินเข้าไปยืนอยู่ ริมประตูโบสถ์รอคอยพระสงฆ์ที่จะมาลงอุโบสถ พอถึงเวลา พระภิกษุทั้งหลายก็เดินทะยอยกันเข้าโบสถ์ ผ่านหน้าสามเณรไปจนหมด ไม่มีพระภิกษุองค์ ใดทักถามสามเณรเลย
    เมื่อพระสงฆ์เข้านั่งที่ในโบสถ์ เรียบร้อยแล้ว สามเณรจึงเดินเข้าไป นมัสการถามพระสงฆ์เหล่านั้นว่า วันนี้พระมาลงอุโบสถหมดทุกองค์แล้วหรือ พระภิกษุตอบว่า ยังมีสมเด็จอยู่อีกองค์วันนี้ไม่มาลงอุโบสถ สามเณรทราบดังนั้น ก็กราบลาพระสงฆ์เหล่านั้น เดินออกจากโบสถ์ มุ่งตรงไปยังกุฏิของสมเด็จเจ้าฯ ทันที ครั้นถึงสามเณรก็คลานเข้าไปใกล้ ก้มกราบนมัสการท่านอยู่ตรงหน้า สมเด็จเจ้า สมเด็จเจ้าเห็นดอกไม้ในมือของสามเณรถืออยู่ จึงถามว่า " สามเณร นั่นดอกมณฑาทิพย์เป็นดอกไม้เมืองสวรรค์ผู้ ใดให้เจ้ามา " สามเณรรู้แจ้งใจตาม ที่นิมิต จึงคลานเข้าไปใกล้ ก้มกราบที่ฝ่าเท้า แล้วประเคนถวายดอกไม้ทิพย์ นั้น แก่สมเด็จเจ้าฯ ทันที เมื่อสมเด็จเจ้าฯ รับประเคนดอกไม้ทิพย์ จากสามเณรน้อยแล้ว ท่านได้สงบอารมณ์อยู่ชั่วครู่มิได้พูดจาประการใด แล้วลุกขึ้นเรียก สามเณร เดินตรงเข้าในกุฏิปิดประตูลงกลอน แล้วเงียบหายไปในคืนนั้น มิได้ร่องรอยแต่อย่างใดเหลือไว้ให้พิสูจน์จนเวลาล่วงเลยมาถึงบัดนี้ประมาณ สามร้อยปีแล้ว

    การหายตัวไปของสมเด็จเจ้าพะโคะครั้งนั้น ประชาชนเล่าลือกันว่าท่านได้สำเร็จสู่สวรรค์ ไปเสียแล้วด้วยอำนาจบุญบารมีอภินิหารท่านแรงกล้าตามที่กล่าวเล่าลือกันเช่นนี้ เพราะมีเหตุอัศจรรย์ปรากฏขึ้นในคืนนั้นว่าบน อากาศบริเวณวัดพะโคะ ได้มีดวงไฟโตขนาดเท่าดวงไต้ส่งรัศมีสีต่าง ๆ เป็น ปริมณฑล ดังพระจันทร์ ทรงกลดลอยวนเวียนรอบบริเวณวัดพะโคะ ส่องรัศมี สว่างจ้าไปทั่วบริเวณวัด เมื่อดวงไฟดวงนั้นลอยวนเวียนอยู่ครบสามรอบ แล้ว ลอยเคลื่อนไปทางทิศอาคเนย์ เงียบหายมาจนกระทั่งบัดนี้

    วันรุ่งขึ้นประชาชนมาร่วมประชุมกันที่วัด และต่างคนต่างก็เข้าใจ ว่าสมเด็จเจ้าฯ ท่านสำเร็จสู่สวรรค์ ไป จึงได้พากันพนมมือขึ้นเหนือศรีษะพร้อมกับ เปล่งเสียงว่าสมเด็จเจ้าพะโคะหายไปเสียแล้วเจ้าข้าเอย

    เมื่อสมเด็จเจ้าพะโคะได้หายไปจากวัดพะโคะครั้งนั้น สมเด็จเจ้าฯ ท่านได้ทิ้งของสำคัญไว้ให้ เป็นที่สักการบูชาของประชาชนตลอดมาคือ
    ๑ . ดวงแก้วที่พระยางูใหญ่ ให้ครั้งเป็นทารกอยู่ ในเปล ๑ ดวง และสมภารทุก ๆ องค์ของวัดพะโคะได้เก็บรักษาไว้จนถึงบัดนี้ ปรากฏแก้วดวงนี้ ไม่มีใครกล้านำออกจากบริเวณวัดพะโคะ เพราะเกรงจะเกิดภัย
    ๒ . ก่อนที่สมเด็จเจ้าฯ จะหายไป ปรากฏว่าท่านได้ขึ้นไปทำสมาธิ อยู่บนชะง่อนผาบนภูเขาบาท ได้เอาเท้าซ้ายเหยียบลงบนลาดผาลึกเป็นรอยเท้า เป็นที่สักการะบูชาของประชาชนมาจนกระทั่งบัดนี้ ( ท่านพระครูวิสัยโสภณ วัดช้างไห้ได้ไปนมัสการมาแล้ว )

    เรื่องต่อไปนี้ ไดรับความกรุณาจาก ท่านพระครูวิสัยโสภณ ( ท่าน อาจารย์ทิม ธมฺมธโร ) เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ บูรณะ ( วัดช้างไห้ ) ข้าพเจ้าบันทึก เรียบเรียงและเพิ่มเติมตามที่ได้สืบทราบมาดังต่อไปนี้

    สมัยที่สมเด็จเจ้าพะโคะ ได้หายไปจากวัดพะโคะ ตำบลชุมพล อำเภอจะทิ้งพระ จังหวัดสงขลา ครั้งนั้นได้มีพระภิกษุชรารูปหนึ่ง ปรากฏตัว ขึ้นที่เมืองรัฐไทรบุรีเวลานี้ พระภิกษุรูปนี้เป็นปราชญ์ ทางธรรม และเชี่ยวชาญ ทางอิทธิอภินิหารเป็นยอดเยี่ยม ชาวเมืองไทรบุรีมีความเคารพเลื่อมใสมาก ซึ่งสมัยนั้นคนมลายูในเมืองไทรบุรีนับถือศาสนาพุทธ ต่อมาท่านก็ได้เป็นสมภาร เจ้าวัดแห่งหนึ่งในเมืองนั้น
    มีเรื่องชวนคิดอยู่ว่า พระภิกษุชรารูปนี้ไม่มีประชาชนคนใดจะทราบ ได้ว่า ท่านชื่ออยางไร ภูมิลำเนาเดิมอยู่ ที่ไหน ก็ไม่มีใครซักถาม จึงพากันขนาน นามเรียกกันว่า " ท่านลังกา องค์ท่านดำ " ท่านปกครองวัดด้วยอำนาจธรรม และอภินิหารอย่างยอดเยี่ยมเป็นที่พึ่งทางธรรมปฏิบัติและการเจ็บไข้ได้ทุกข์ของประชาชน ด้วยความเมตตาธรรม ประชาชนเพิ่มความเคารพ เลื่อมใสท่านตลอดถึงพระยาแก้มดำ เจ้าเมืองไทรบุรีสมัยนั้น และท่านมีความสุข ตลอดมา ( ท่านลังกาองค์นี้จะเป็นสมเด็จเจ้าพะโคะใช่ หรือไม่ ขอให้ท่านพิจารณาต่อไป )

    เมื่อข้าพเจ้าผู้เขียนยังหนุ่ม ๆ หรือประมาณ ๔๕ ปีมาแล้ว ได้อ่านหนังสือตำนานเมืองปัตตานี ซึ่งรวบรวมโดยคุณพระศรีบุรีรัฐ ( สิทธิ์ ณ สงขลา ) นายอำเภอชั้นลายคราม ของอำเภอยะรัง เรียบเรียง มีข้อความตอนหนึ่งว่า สมัยนั้นพระยาแก้มดำ เจ้าเมืองไทรบุรี ปรารถนาจะหาที่ชัยภูมิดีสร้างเมือง ให้เจ๊ะสิดี น้องสาวครอบครอง เมื่อโหรหาฤกษ์ยามดีได้เวลา ท่านเจ้าเมืองก็เสี่ยง สัตย์อธิษฐานปล่อยช้างตัวสำคัญคู่บ้านคู่ เมืองออกเดินป่า หรือเรียกว่าช้าง อุปการเพื่อหาที่ชัยภูมิดีสร้างเมือง ท่านเจ้าเมืองก็ยกพลบริวารเดินตาม หลังช้างนั้นไป เป็นเวลาหลายวัน วันหนึ่งช้างได้เดินไปหยุดอยู่ ณ ที่ป่าแพ่งหนึ่ง ( ที่วัดช้างให้เวลานี้ ) แล้วเดินวนเวียนร้องขึ้น ๓ ครั้ง พระยาแก้มดำถือเป็นนิมิต ที่ดีจะสร้างเมือง ณ ที่ตรงนี้ แต่น้องสาวตรวจดูแล้วไม่ชอบ พี่ชายก็อธิษฐาน ให้ช้างดำเนินหาที่ใหม่ต่อไป ได้เดินทางรอนแรมอีกหลายวัน เวลาตกเย็นวันหนึ่ง ก็หยุดพักพลบริวาร ทางน้องสาวถือโอกาสออกจากที่พักเดินเล่น บังเอิญขณะนั้นมีกระจงสีขาวผ่องตัวหนึ่ง วิ่งผ่านหน้านางไป นางอยากจะได้กระจงขาวตัวนั้น จึงชวนพวกพี่เลี้ยงวิ่งไล่ล้อมจับกระจงตัวนั้น ได้วิ่งวกไปเวียนมาบนเนินทราย อันขาวสะอาดริมทะเล ( ที่ตำบลกิเซะเวลานี้ ) ทันใดนั้นกระจงก็ได้อันตรธาน หายไป นางเจ๊ะสิดีรู้สึกชอบตรงที่นี่มาก จึงขอให้พี่ชายสร้างเมืองให้

    เมื่อพระยาแก้มดำปลูกสร้างเมืองให้น้องสาว และมอบพลบริวาร ให้ไว้พอสมควรเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ชื่อเมืองนี้ว่า เมืองปะตานี ( ปัตตานี ) ขณะนั้นพระยาแก้มดำเดินทางกลับมาถึงภูมิประเทศที่ช้างบอกให้ครั้งแรก ก็รู้สึก เสียดายสถานที่ จึงตกลงใจหยุดพักแรมทำการแผ้วถางป่า และปลูกสร้างขึ้นเป็น วัดให้ชื่อว่า วัดช้างให้ มาจนถึงบัดนี้ ต่อมาพระยาแก้มดำ ก็ได้มอบถวายวัดช้างให้แก่ท่านลังกาครอบครองอีกวัดหนึ่ง
    ผู้เขียนขอกล่าวนอกเรื่องเพียงเล็กน้อย เพื่อผู้ที่ยังไม่ทราบว่า สมัย โบราณกาลนานมานั้น คนมลายูนับถือศาสนาพุทธ พระยาแก้มดำคนมลายู จึงได้สร้างวัดช้างให้ขึ้น ผู้เขียนจึงขออ้างถึงหนังสือของพระยารัตนภักดี ซึ่งกล่าว ไว้ ในหนังสือเรื่อง ปัญหาดินแดนไทยกับมลายู ซึ่งท่านพิมพ์แจกในการกุศล หน้า ๘ บรรทัดที่ ๑๖ ในหนังสือเล่มนั้นกล่าวอ้างตามประวัติศาสตร์ ไว้ว่า พ . ศ . ๑๓๐๐ กษัตริย์ ครองกรุงศรีวิชัย แห่งปาเล็บบังมีอานุภาพแผ่ อาณาเขตเข้ามาถึงแหลมมลายู ปกครองแผ่นดินส่วนหนึ่งถึงอำเภอไชยา ได้นำลัทธิพระพุทธศาสนาเข้ามาสั่งสอนในแหลมมลายูและได้ก่อสร้างปูชนีย์ฯ ทางพระพุทธศาสนาไว้หลายแห่งซึ่งยังปรากฏอยู่จนบัดนี้ ตามประวัติศาสตร์ มลายูกล่าวว่ามีผู้พบศิลาจารึก แผ่นหนึ่งที่นครศรีธรรมราช จารึกว่าเมื่อ พ . ศ . ๑๓๑๘ เจ้าเมืองศรีวิชัยได้มาก่อ พระเจดีย์องค์หนึ่งที่นครศรีธรรมราช และที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกแห่ง หนึ่งเกี่ยวกับโบราณวัตถุ คือ พระพุทธไสยาสน์ ในถํ้าแห่งภูเขา ( วัดหน้าถํ้า ) ตำบลหน้าถํ้า อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา คาดคะเนว่าได้สร้างไว้ในสมัย พระเจ้ากรุงศรีวิชัย ระหว่าง พ . ศ . ๑๓๑๘ - ๑๔๐๐ ต่อมาก็ได้ปฏิสังขรณ์ เพิ่มเติมซึ่งยังคงปรากฏอยู่ จนกระทั่งบัดนี้ องค์พระยาวถึง ๘๑ ฟุต ๑ นิ้ว ขนาดใหญ่ วัดโดย รอบองค์พระ ๓๕ ฟุต และตามตำนานของคุณพระศรีบุรีรัฐกล่าวไว้ว่าสมัย หลายร้อยปีมาแล้ว คนมลายูนับถือศาสนาพุทธ แต่ได้มาเปลี่ยนนับถือศาสนา อิสลามเสียภายหลัง ผู้เขียนได้อ้างตำนานของท่านผู้มีเกียรติทั้งสองมายืนยัน พอสมควรแล้ว ก็ขอย้อนกลับไปวัดช้างให้อีก

    ทำให้ชวนคิดว่า วัดที่ท่านลังกาอยู่ ถึงเมืองไทรบุรีระยะทางที่จะมา วัดช้างให้ก็ไกลมาก ทางเดินก็มีแต่ป่าและภูเขาแสนจะทุรกันดาร ท่านลังกา มีวัยชราภาพมากแล้วจะเดินไปเดินมาไหวหรือ แต่ผู้เฒ่าผู้แก่ เล่าต่อ ๆ กันมา ว่าท่านลังกาเดินทางไปมาระหว่างวัดทั้งสองนี้ เดินทางเวลาแรมเดือนแบบ ธุดงค์ ขณะที่ท่านเดินทางนั้น พบที่ใดเหมาะก็พักแรมหาความวิเวก เพื่อทำสมาธิ ภาวนาใช้เวลาพักนาน ๆ เช่นภูเขาถํ้าหลอด ในกิ่งอำเภอสะบ้าย้อย ก็ปรากฏว่า มีสิ่งที่ควรเชื่อถือได้ว่า ท่านเป็นผู้ทำไว้แต่ครั้งเดินทางพักแรม จากนั้นก็ปรากฏ อยู่บนเพิงหินบนภูเขาตังเกียบ เทือกภูเขานํ้าตำทรายขาว ทางทิศตะวันออก ของลำธารนํ้าตก มีพระพุทธรูปแกะด้วยไม้ตำเสาแบบพระยืนสององค์ชาวบ้าน ตำบลทรายขาว เรียกพระพุทธรูปนี้ว่า หลวงพ่อตังเกียบเหยียบนํ้าทะเลจืด เขาคาดคะเนกันว่า พระพุทธรูปสององค์นี้ท่านลังกาเป็นผู้สร้างสมัยที่เดินทาง และอาศัยพักอยู่ หลวงพ่อสององค์นี้เล่าลือกันว่าศักดิ์สิทธิ์นัก และเป็นที่สักการะ บูชาของชาวบ้านในถิ่นนั้นมาถึงบัดนี้ ผู้เขียนได้ขึ้นไปนมัสการแล้ว )

    พระภิกษุชราองค์นี้ ท่านอยู่เมืองไทรบุรี เขาเรียกว่าท่านลังกา เมื่อท่านมาอยู่วัดช้างให้ ชาวบ้านเรียกว่าท่านช้างให้เป็นเช่นนี้ตลอดมา

    ขณะที่ท่านลังกาพำนักอยู่ที่วัดในเมืองไทรบุรี วันหนึ่งอุบาสกอุบาสิกา และลูกศิษย์ อยู่พร้อมหน้า ท่านได้พูดขึ้นในกลางชุมนุมนั้นว่า ถ้าท่านมรณภาพ เมื่อใดขอให้ช่วยกันจัดการหามศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ ด้วย และขณะ หามศพพักแรมนั้น ณ ที่ใดนํ้าเน่า ( นํ้าเหลือง ) ไหลลงสู่พื้นดินที่ตรงนั้นจงเอา เสาไม้แก่นปักหมายไว้ ต่อไปข้างหน้าจะเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่มาไม่นานเท่าไร ก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชรา คณะศิษย์ผู้เคารพในตัวท่านก็ได้จัดการตามที่ท่าน สั่งโดยพร้อมเพรียงกัน เมื่อทำการฌาปนกิจศพท่านเสร็จเรียบร้อยแล้ว คณะศิษย์ผู้ ไปส่งได้ขอแบ่งเอาอัฐิของท่านแต่ส่วนน้อย นำกลับไปทำสถูปที่วัด ณ เมือง ไทรบุรี ไว้เป็นที่เคารพบูชาตลอดมาจนบัดนี้

    ที่มา Untitled Document
     
  11. คุณว่าน

    คุณว่าน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +63
    ก็ไม่ได้ว่าอะไรค้าบ แค่สอบถามเฉยๆ
     
  12. Osue

    Osue เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +199
    ร่วมเล่นเกมส์ แจกตะกรุดนารายณ์พลิกแผ่นดิน

    เช้าตั้งใจไปทำบุญที่วัดป่าที่เพื่อนแนะนำมา (ยังไม่เคยไป) ไปถึงพบว่าที่วัดยังไม่มีโบสถ์ มีแต่ศาลาอเนกประสงค์ ไม่พบพระ แต่จิตก็ไม่ได้เศร้านะ เลยตระเวนไหว้พระตามวัดต่างๆ
    สวดมนต์เหมือนทุกวันคือ
    1.บูชาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา ครูบาอาจารย์ (ตามแบบบ้านสามัคคีวิสุทธิ)
    2.พระคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า
    3.พระคาถาพระเจ้า ๑๖ พระองค์
    4.พระคาถาชินบัญชร (หัวใจ)
    5.พระคาถาปัจเจกพุทธเจ้า
    6.พระคาถากรณียเมตตาสูตร (หัวใจ)

    ศรัทธาในคำสอนของครูบาอาจารย์หลายท่านที่ปฏิบัติดีตามแนวทางของพระศาสดา
    แต่เอาที่เกิดทันท่าน และได้สัมผัสมาแล้ว . .


    หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

    เกิด พ.ศ. ๒๔๙๕ ณ บ้านดอกไม้ ต.บ้านบาตร อ.ป้อมปราบศัตรูพ่าย จังหวัดพระนคร

    การศึกษา ชั้นประถมศึกษาตอนต้น ณ โรงเรียนสุริยวงศ์, ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ณ โรงเรียนวัดพลับพลาชัย, ชั้นมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนโยธินบูรณะ, ปริญญาตรีและโท ณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สจว.รุ่นที่ ๕๗

    การทำงาน ลูกจ้าง กอ.รมน. (๒๕๑๘-๒๕๒๑), เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ๓-๗ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (๒๕๒๑-๒๕๓๕), ผู้ชำนาญการ ๘-๑๐ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (๒๕๓๕-๒๕๔๔)

    การศึกษาธรรม นักธรรมตรี, ศึกษาอานาปานสติตามคำสอนของท่านพ่อลี ธัมมธโรตั้งแต่ ๒๕๐๒, ศึกษากรรมฐานจากครูบาอาจารย์สายวัดป่าหลายรูป ตั้งแต่ ๒๕๒๕​ อาทิ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หลวงพ่อพุธ ฐานิโย หลวงปูเทสก์ เทสรังสี หลวงปู่สิม พุทธาจาโร หลวงปู่บุญจันทร์ จันทวโร และหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ เป็นต้น, อุปสมบทครั้งแรกในสมัยที่ยังเป็นนักศึกษา ณ วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี โดยมีหลวงพ่อปัญญา นันทภิกขุเป็นพระอุปัชฌาย์, อุปสมบทครั้งที่ ๒ ณ วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ (๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๔) โดยมีพระราชวรคุณ (สมศักดิ์ ปณฑิโต) เป็นพระอุปัชฌาย์

    สถานที่จำพรรษา ๕ พรรษาแรกจำพรรษาอยู่ ณ สวนโพธิญาณอรัญวาสี อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ของท่านพระอาจารย์สุจินต์ สุจิณโณ และพรรษาที่ ๖ ณ สวนสันติธรรม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โดยความเห็นชอบของพระอุปัชฌาย์

    งานเขียน วิมุตติปฏิปทา (๒๕๔๒-๒๕๔๔ ก่อนอุปสมบท), วิถีแห่งความรู้แจ้ง (๒๕๔๕), ประทีปส่องธรรม (๒๕๔๗), ทางเอก (๒๕๔๙), วิมุตติมรรค (๒๕๔๙) และแก่นธรรมคำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล (๒๕๕๑)

    ที่มา : เรื่องเรียบง่ายและธรรมดาที่เรียกว่าธรรมะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤษภาคม 2016
  13. uit

    uit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +351
    วันนี้สวดมนต์ บท พระมหาจักรพรรดิ์ อิติปิโส ชินบัญชร ธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร ฯลฯ

    ประวัติหลวงปู่พระครูเทพโลกอุดร

    หลวงปู่ใหญ่เมตตาเล่าประวัติของท่านให้แม่(มณีจันทร์ เลิศหิรัญปัญญา)ได้บันทึกไว้ มีดังนี้.....
    บิดาของหลวงปู่พระครูเทพโลกอุดร มีนามว่า โกเมน มารดามีนามว่า พิราศ ท่านมีบุตร 2 คน คือ ท่านพระครูธรรมเทพโลกอุดร และน้องสาว ชื่อ ทิพย์ยะติ หลวงปู่ใหญ่ท่านเล่าว่า ก่อนที่ท่านจะถือกำเนิด มี ท่านพระเทพศันกัลป์ยะ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของบิดา ได้เดินทางธุดงค์มาจากทางเขาพันสน ปัจจุบันอยู่ในประเทศศรีลังกา ท่านมาพักอยู่ที่บ้านของบิดา บิดามารดาของหลวงปู่ใหญ่ ท่านเป็นคนมีศีลมีธรรม ท่านได้จัดทำพิธีไหว้ครู(ก็คือ ท่านพระเทพศันกัลป์ยะ) ในวันนั้น ก็บังเอิญที่หน้าบ้านของบิดาหลวงปู่ใหญ่ ก็ได้มีดอกบัวผุดขึ้นมาจากสระน้ำ เป็นดอกบัวสีแดง พระอาจารย์พูดขึ้นว่า "ดอกบัวนั้นน่ะ แสดงให้รู้ว่า จะมีผู้มีบุญญาธิการมาเกิด เมื่อบวชจะได้เป็นพระอรหันต์" พระอาจารย์ได้บอกให้บิดาของหลวงปู่ใหญ่ จัดทำพิธีเตชะวา(คือ การทำพิธีบวงสรวงเทพยดา) พระอาจารย์จะเป็นผู้ทำพิธีให้ เครื่องบวงสรวงก็มี ขันน้ำ 1 ขัน มะพร้าวผ่าซีก 1 ลูก จุดธูป 16 ดอก และท่านได้ทำพิธีรวมธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อธาตุทั้ง 4 รวมกัน ก็เป็นอากาศธาตุ วันที่ท่านทำพิธีนั้น ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง ซึ่งถือเป็นวันดี และเป็นวันที่หลวงปู่พระครูเทพโลกอุดร ได้ถือกำเนิดขึ้น ในวันนั้น ก็ยังมีเหตุการณ์เกิดขึ้นอีก นั่นก็คือ ดอกบัวที่อยู่ในสระนั้น ได้บานขึ้นมา บิดาของหลวงปู่ ได้อุ้มหลวงปู่ ที่เพิ่งถือกำเนิดออกมา ไปวางไว้ในดอกบัว ทันใดนั้น ดอกบัวก็ได้พลันหุบลง ห่อตัวหลวงปู่เอาไว้ บิดาของหลวงปู่ เห็นดังนั้นก็ตกใจ กลัวว่าดอกบัวจะไม่ยอมบานออก เพื่อให้หลวงปู่ได้ออกมา พระเทพศันกัลป์ยะ จึงได้พูดกับบิดาของหลวงปู่ว่า ให้ทำพิธีเวทุตา(คือ การทำพิธีขอขมาดอกบัว) บิดาของหลวงปู่ได้ยินดังนั้น ก็จัดแจงทำพิธีกรรมขอขมาขึ้น โดยได้นำเอา ดอกดาวเรือง ดอกกุหลาบ ดอกทะลิ และของไหว้ตามประเพณี พร้อมธูป 16 ดอก มาก้มกราบขอขมาดอกบัว และได้กล่าวคำขอขมาว่า "ข้าพเจ้าได้ทำผิดพลาด หรือกล่าวล่วงเกินสิ่งใดๆต่อท่านดอกบัว ข้าพเจ้านั้น ไม่มีเจตนา ข้าพเจ้าขอขมาท่านด้วยเทอญ ข้าพเจ้า ขอตั้งสัจจะว่า เมื่อบุตรชายของข้าพเจ้าเติบโต ข้าพเจ้าจะให้บวชเรียน เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป และข้าพเจ้าจะไม่ทำผิดต่อท่านอีก โปรดอภัยให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ" การขอขมาของบิดาเป็นผลสำเร็จ ดอกบัวได้บานออกมา บิดาก็อุ้มหลวงปู่ออกมาจากดอกบัว!!!.....

    หลวงปู่ใหญ่ท่านเล่าว่า พออายุได้ 18 ปี ดอกบัวที่อยู่ในสระน้ำหน้าบ้านนั้น ก็บานขึ้นมาอีกครั้ง!! แต่ครั้งนี้ ไม่เหมือนกับทุกครั้ง เพราะครั้งนี้ มีลำแสงไฟสว่างพวยพุ่งออกมาจากเกสรดอกบัว ลำแสงนั้น ฟุ้งขึ้นมาหลายๆดวงพร้อมกัน !!! (เหมือนกับเราจุดพลุในปัจจุบันนี้) ความหมายที่ท่านดอกบัวบอก ก็คือ ถึงเวลาแล้วที่บิดาจะต้องให้หลวงปู่บวชเรียน บิดาก็ได้จัดเตรียมของบูชาดอกบัว เพื่อทำพิธีบอกกล่าว ว่าจะนำบุตรชายเข้าทำพิธีบวชเรียนแล้ว ตามที่ได้กล่าวให้สัจจะเอาไว้เมื่อครั้งก่อน ตอนนั้น บิดามารดาของหลวงปู่ ได้จัดเตรียมของบวชให้ ก็มีผ้าขาว 1 ผืน ผ้าจีวรที่พระมารดาเป็นผู้ทอผ้าเอง 1 ผืน มีดอกดาวเรือง ดอกมะลิ ดอกกุหลาบ ผลไม้ นมแพะ 1 แก้ว น้ำ 1 ขัน น้ำผึ้ง 1 ขวด ตั้งไว้อยู่ที่โต๊ะบูชา การบวชในครั้งนี้ มีพระเทพศันกัลป์ยะ เป็นครูอุปัชฌาย์ของหลวงปู่ หลวงปู่ท่านเล่าว่า ตอนที่ท่านบวชนั้น ได้บอกกล่าวกับดอกบัวว่า "ขอได้โปรด ท่านดอกบัวเอ๋ย ข้าพเจ้าจะขอลาท่าน เพื่อบวชเรียน เพื่อที่จะสร้างบารมี และบำรุงพระพุทธศาสนา ขอให้ท่านดอกบัวโปรดเมตตาในตัวข้าพเจ้าด้วยเทอญ ถ้าบุญวาสนาของข้าพเจ้ามี ที่จะได้บวชรับใช้พระพุทธศาสนาต่อไปข้างหน้า ก็ขอให้ข้าพเจ้าได้บวชอย่างไม่มีอุปสรรคอันใดเลย ข้าพเจ้าขอตั้งสัจจะวาจา และสัญญาว่า ข้าพเจ้าจะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา จะไม่ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมเสียเป็นอันขาด ข้าพเจ้าจะเผยแผ่พระพุทธศาสนา ให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าต่อไป ขอจงได้โปรดอนุญาตให้ข้าพเจ้าได้บวชด้วยเทอญ ข้าพเจ้าจะทำตามคำสัตย์จริงทุกประการ สาธุ สาธุ สาธุ "

    เมื่อหลวงปู่อธิษฐานเสร็จ ก็ได้บังเกิดปาฏิหาริย์ขึ้น ดอกบัวได้กลับหดลงไปเรื่อยๆ และปรากฎมีอัญมณีสีแดงผุดออกมาจากข้างในดอกบัว อัญมณีสีแดงนั้น ก็คือ พลอยสีแดง พุ่งออกมาตกอยู่ในมือของหลวงปู่ ดอกบัวนั้น ก็ได้หดหายไป ไม่มีร่องรอยของดอกบัวเหลือออีกเลย!! หลวงปู่ จึงตัดสินใจบวชตามเจตนา ส่วนอัญมณีสีแดงนั้น หลวงปู่ก็ได้นำติดตัวไว้เสมอ (หลวงปู่ใหญ่ท่านได้เล่าว่า พลอยสีแดงนั้น ท่านจะมอบให้กับคนที่ต้องสืบทอดพุทธศาสนาต่อไป และท่านก็กำหนดไว้แล้วว่า "ให้เก็บไว้ให้ดีนะ จะทำเป็นแหวนใส่ก็ได้ ปู่ให้เจ้าแล้ว" แต่แม่ก็ขอยืนยันอีกครั้งว่า แม่ไม่แน่ใจว่า ใช่พลอยที่หลวงปู่ครองอยู่หรือเปล่า? แม่ไม่ทราบได้ และก็ไม่กล้าที่จะถามด้วย คิดอยู่อย่างเดียวว่า ไม่ว่าอะไรที่หลวงปู่ท่านให้ จะเป็นก้อนหิน ก้อนกรวด ก็เป็นของดีทั้งนั้น!!.....

    ตอนหลวงปู่บวชเรียนใหม่ๆ ท่านได้เล่าว่า ก็ตื่นเต้นอยู่ ครูอุปัชฌาย์ของท่าน สอนวิชาต่างๆให้ พาธุดงค์ สอนธรรมะ สอนวิธีการเดินธุดงค์ ถ่ายทอดวิชาให้จนหมดแล้ว ก็ดูว่า เราสามารถเอาตัวรอดได้แล้ว ท่านก็ให้หลวงปู่ไปศึกษาธรรมต่อที่ประเทศทิเบตอีก เพราะที่ทิเบตนั้น เป็นแหล่งศึกษาธรรมชั้นยอด เป็นนิกายมหายาน ซึ่งผู้ที่มาปฏิบัติ จะต้องเคร่งครัดต่อระเบียบวินัยเป็นอย่างมาก ตอนนั้นหลวงปู่อายุได้ 23 ปี มีพระสหายที่สนิทสนมกันมาก คือ ท่านพระนามาตะ และหลวงปู่ก็ได้มาพบกับ พระเทพยะโสนะ ซึ่งเป็นพระสหายเก่าของท่าน พระเทพยะโสนะ ท่านก็ได้มาศึกษาธรรมที่ประเทศทิเบต และจะต้องไปเผยแผ่ธรรมต่อไปเหมือนกัน หลวงปู่อยู่ศึกษาธรรมที่ทิเบตหลายปี เรียนจนธรรมนั้น ได้เข้าไปถึงจิตวิญญาณ จิตสามารถรับรู้ได้เอง ในเรื่องของพลังและอิทธิฤทธิ์(จนเป็นที่เลื่องลือกัน ในหมู่พระที่เรียนธรรมด้วยกัน ทุกรูปจึงเรียกหลวงปู่ว่า"พระเทพมุนียะ" ซึ่งหมายถึง นามแห่งรูปธรรม

    หลังจากที่เรียนจบแล้ว ต่างก็แยกย้ายกันกลับถิ่นฐานเดิม เมื่อต่างคนต่างได้วิชามาแล้ว มีพระธรรมอยู่ในจิตวิญญาณแล้ว พระอาจารย์(ก็คือ ท่านพระเทพศันกัลป์ยะ)ได้ทำการคัดเลือกให้ไปเผยแผ่พุทธศาสนาตามทวีปต่างๆ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มๆละ 5 รูป เพราะที่ไปเรียนวิชากันมา มีทั้งหมด 10 รูป ใน 10 รูปนี้ มีพระสหายที่สนิทของหลวงปู่ด้วย คือ ท่านพระนามาตะ พระอาจารย์เป็นผู้คัดเลือกเอง ว่ารูปไหนควรจะไปทางทิศใด ท่านได้ทำพิธีคัดเลือกประมาณตี 1 ตอนสวดมนต์ทำวัตรตามปกติ แล้วจะเข้ากรรมฐานต่อ ช่วงที่เข้ากรรมฐานนั้น พระอาจารย์จะเป็นคนคัดเลือก โดยท่านจะประกาศชื่อของแต่ละรูป ซึ่งแบ่งเป็น 2 สาย เพื่อจะได้เดินทางแยกย้ายไปเผยแผ่ ในคณะของหลวงปู่นั้น ก็มี 5 รูป แต่ไม่มีพระสหายคนสนิทของหลวงปู่ร่วมอยู่ในคณะด้วย คือ ท่านพระนามาตะ ในคณะของหลวงปู่มีชื่อ ดังนี้.-

    1.พระเทพมุนียะ(หลวงปู่ใหญ่ หรือหลวงปู่ใหญ่พระครูเทพโลกอุดร นามเดิมของท่าน คือ พระครูธรรมโลกอุดร เพราะตอนบวชท่านได้ฉายานามนี้)

    2.พระเทพยะโสนะ

    3.พระเทพศรีอุตตระ

    4.พระเทพภิริยะญาณี

    5.พระเทพธรรมภูริ.....

    คณะของหลวงปู่ เลือกที่จะเดินทางมาประเทศสยาม(หมายถึงประเทศไทย) การเดินทางต้องรอนแรมมาตามป่าเขา เพราะเป็นป่าทึบมาก สัตว์ป่าก็มีเยอะ เป็นป่าที่มีแต่ความอุดมสมบูรณ์ การเดินทางมาเผยแผ่ธรรมนั้น ระหว่างการเดินทาง มีอุปสรรคมากมาย โดนผีหลอกบ้าง โดนพรางตาบ้าง มีอยู่ครั้งหนึ่ง หาแหล่งน้ำไม่เจอ ตอนแรกคณะของหลวงปู่ทุกรูป ก็ไม่ได้คิดอะไร เดินหาจนเหนื่อย ได้ยินเสียงน้ำไหลใกล้ แต่ก็หาลำน้ำไม่พบสักที เล่นเอาเหนื่อยไม่อยากเดินหาแล้ว จึงหยุดนั่งหลับตาดู ว่าเสียงน้ำมาจากทางไหน? พอนั่งหลับตาสักพักก็เห็น ลำน้ำไม่ได้อยู่ไกลจากตัวเราเลย ที่มองไม่เห็นก็เพราะไม่ได้ทำพิธีบอกกล่าว ขอเจ้าป่าเจ้าเขา จึงได้จัดแจงกันทำพิธีขอขมาเจ้าป่าเจ้าเขา นึกถึงครูบาอาจารย์ให้ท่านช่วยเหลือ ปรากฏว่าน้ำก็ผุดมาให้เห็นในทันที!!! น้ำใสสะอาดมาก ได้ดื่ม ชำระร่างกายกันจนเรียบร้อย ก็พากันปักกรดเพื่อปฏิบัติธรรมแผ่เมตตา ช่วยเหลือพวกเขาที่อยู่บริเวณนั้น 1 คืน รุ่งเช้าพากันเดินทางต่อ จนในที่สุด คณะของหลวงปู่ก็เดินทางมาถึงประเทศสยาม

    ถึงเขตประเทศสยามแล้ว จึงทำพิธีขอขมาเจ้าป่าเจ้าเขา ให้ท่านได้คุ้มครองคณะของหลวงปู่ให้ปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นตามถ้ำ ตามต้นไม้ หรือพื้นดิน เมื่อทำพิธีขอขมาเรียบร้อยแล้ว ทุกอย่างก็สะดวกขึ้นมาก ไม่ทุลักทุเลเหมือนทางที่ผ่านๆมา คณะของหลวงปู่เดินทางมาเรื่อยๆ จนเห็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ต้นหนึ่งอยู่กลางป่า หลวงปู่และคณะ ตกลงกันว่า จะพักที่ใต้ต้นโพธิ์นี้ ทุกคนพักกันหายเหนื่อยแล้ว พระเทพยะโสนะ ท่านได้พูดขึ้นเป็นเชิงปรึกษาว่า "เราควรที่แยกย้ายกันไปแต่ละแห่งตามทิศที่พวกท่านปรารถนา เพื่อจะได้เผยแผ่ธรรมะได้หลายๆแห่ง" ทุกรูปต่างเห็นดีด้วย จึงเตรียมตัวแยกย้ายกันไปตามภาคต่างๆ ส่วนหลวงปู่เอง ขอเลือกมาทางภาคอีสาน เมื่อเลือกที่จะมาทางภาคอีสานแล้ว ก็ได้เดินทางรอนแรมมาเรื่อยๆ จนถึงเมืองลพบุรี......

    เมื่อมาถึงเมืองลพบุรี ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดพรหมรังสี สมัยนั้น เมืองลพบุรียังเป็นป่าอยู่ และวัดพรหมรังสียังเป็นป่ารกร้าง มีถ้ำอยู่ถ้ำหนึ่ง หลวงปู่ก็ได้พักที่นั่น อยู่เมืองลพบุรีไม่นาน ก็เดินทางต่อไปเรื่อยๆ จนมาถึงเมืองชัยภูมิ(แต่ก่อนเมืองชัยภูมิ ยังอยู่ในเขตเมืองเลยในอดีต) ตรงที่เป็นถ้ำวัวแดงอยู่ทุกวันนี้ แต่ก่อนเขาแถบนี้ยาวมาก มีอาณาเขตติดต่อกันหลายจังหวัด ในคราวแรกหลวงปู่เดินผ่านเขาลูกนี้ไปแล้ว แต่ไปๆมาๆ ก็เดินกลับมาที่เขาลูกนี้อีก จนได้พบกับคณะของหลวงปู่ครบทั้ง 5 รูปที่เขาวัวแดงนี้ ซึ่งจะว่าเป็นการบังเอิญก็ใช่เหตุ ทุกคนต่างแปลกใจเหมือนกันหมด จึงพากันสำรวจเขาวัวแดงลูกนี้ พบว่ามีถ้ำเยอะมาก จึงตกลงกันว่า จะเอาเขาวัวแดงนี้ล่ะ เป็นจุดเผยแพร่ธรรมะ หลวงปู่ท่านเล่าว่า ท่านเดินทางมาถึงประเทศสยาม จนได้มาอยู่ที่เขาวัวแดง(ถ้ำวัวแดงในปัจจุบันนี้) ในปีพ.ศ.1865 ท่านได้พูดขึ้นกับคณะของท่านว่า "ในเมื่อเราได้มารวมตัวกัน ณ ที่นี้แล้ว และที่นี่ก็มีถ้ำมากมายเหลือเกิน พวกเราจงเอาที่นี่แหละ เป็นที่เผยแผ่ธรรมะจะดีที่สุด"

    สิ้นเสียงหลวงปู่ ก็ได้มีเสียงบรรดาผู้คนและสรรพสัตว์ทั้งหลาย ตลอดจนรุกขเทวดา เมืองบังบด ไปจนถึงนางไม้เจ้าป่าเจ้าเขา มาคอยต้อนรับเป็นอย่างดี เทวดาทำการอัญเชิญนิมนต์"พระเทพยะโสนะ" ขึ้นบำเพ็ญอยู่ที่"ถ้ำแสงจันทร์" ส่วน"หลวงปู่ใหญ่"ท่านเทวดาได้นิมนต์เชิญขึ้นบำเพ็ญอยู่ที่"ถ้ำสะอาด""พระเทพศรีอุตตระ" ท่านนิมนต์เชิญขึ้นบำเพ็ญอยู่ที่"ถ้ำประทุนและถ้ำน้ำ" แต่ส่วนมาก มักชอบอยู่ที่"ถ้ำน้ำ" "พระเทพภิริยะญาณี"ท่านนิมนต์เชิญขึ้นบำเพ็ญที่"ถ้ำเจ็ดห้อง" ส่วน"พระเทพธรรมภูริ" ท่านนิมนต์เชิญขึ้นบำเพ็ญที่"ถ้ำสะดือ" เป็นอันว่า คณะของหลวงปู่ใหญ่ ก็ได้ไปบำเพ็ญตามถ้ำต่างๆ ตามที่เทวดาได้นิมนต์เชิญ.....
    ทีนี้ทุกคนคงจะเข้าใจแล้วนะว่า หลวงปู่พระครูเทพโลกอุดรนั้น มีนามว่า"พระเทพมุนียะ" นามเดิมของหลวงปู่ใหญ่นั้น ในหมู่เพื่อนของท่าน มักชอบเรียกกันว่า"พระครูธรรมเทพโลกอุดร" คำว่า"โลกอุดร" นี้มีความหมาย คือ "โลกแห่งการหลุดพ้น" หรือบางคนจะเรียกว่า"ความเหนือโลก"นั่นเอง

    หลวงปู่ท่านยังเล่าต่ออีกว่า ประมาณหลังเที่ยงคืนทุกวัน คณะของหลวงปู่ จะนัดพบกันที่"ถ้ำสะอาด" เพื่อแลกเปลี่ยนสนทนาธรรมกัน เวลาสนทนาธรรม หลวงปู่ใหญ่จะเคี้ยวหมากไปด้วย มือก็จะถือ"ลูกแก้ว"เล่นไปด้วย ลูกแก้วของหลวงปู่ใหญ่นั้น สามารถเปลี่ยนสีได้(พูดถึงลูกแก้วแล้ว แม่จะเล่าให้ฟังนะ ลูกศิษย์เก่าๆ ที่ได้ลูกแก้วจากหลวงปู่ ที่มีคนนำมาถวายท่าน หลวงปู่ท่านได้ส่งญาณมาที่สังขารของแม่ และลงคาถาปลุกเสกลูกแก้ว ทุกคนที่ได้ลูกแก้วไป ก็จะเปลี่ยนสี บางคนเป็นสีขาวใสสะอาด บางคนเป็นสีฟ้า สีเขียวมรกตบ้าง สวยงามมาก ทั้งๆที่ตอนรับกับหลวงปู่นั้น ลูกแก้วก็ยังเป็นสีขาวธรรมดา ส่วนของแม่นั้น ได้มา 2 ลูก ลูกหนึ่งเป็นสีรุ้ง อีกลูกหนึ่งเป็นสีเขียว) หลวงปู่ใหญ่และคณะ มักจะสนทนาธรรมกันจนถึงตี 3 หลวงปู่ใหญ่ท่านได้พูดถึง"พระเทพธรรมภูริ"ว่า ท่านชอบนั่งหลับตาเวลาสนทนาธรรมกัน ท่านจะเป็นคนเยือกเย็น ทำตัวสบายๆ เวลาท่าน"พระเทพยะโสนะ"ถามอะไร ก็จะหลับตาตอบไปยิ้มไป พระเทพธรรมภูริเก่งหลายเรื่อง มีอิทธิฤทธิ์มาก ชอบเอากล้วยน้ำว้าติดไม้ติดมือมาฝากเป็นประจำ สำหรับ"พระเทพศรีอุตตระ" ท่านมีอภิญญา มีใจเป็นธรรม มีคุณธรรมประจำใจ "พระเทพศรีภิริยะญาณี" ท่านมีของศักดิ์สิทธิ์ มีอิทธิฤทธิ์หลายอย่าง พระเทพแต่ละองค์ ต่างก็มีของดี และมีอิทธิฤทธิ์ทุกรูป...

    "เอาละลูกเอ๋ย ทีนี้เจ้าก็ได้รู้แล้วว่า ที่มาที่ไปเป็นอย่างไร ลูกจงเขียนไป หลวงปู่อนุญาตเจ้าแล้ว"

    หลวงปู่ท่านเมตตาเล่าประวัติย่อๆ ที่มาที่ไปให้แม่ได้ฟัง และดลใจให้แม่เขียน เพราะปกติแม่จะเขียนหนังสือไม่ค่อยถูกต้อง จะต้องให้ณีคอยบอกคอยเรียบเรียงแก้ไขให้ มีอยู่ตอนหนึ่ง หลวงปู่ใหญ่ท่านเล่าว่า ท่านจะเดินทางไปพบท่านพระเทพยะโสนะ ที่ถ้ำแสงจันทร์ ระหว่างทางได้พบกับช้างพลายป่า กำลังตกมันบ้าคลั่งอยู่ เดินเข้ามาทำร้ายหลวงปู่ หลวงปู่ก็เลยแผ่เมตตา และได้คุยกับเจ้าช้างพลายเชือกนั้น จนเจ้าช้างพลายสงบลง และเดินจากไป นอกจากนั้น หลวงปู่ ก็ยังเจองูอีก งูนี้เห็นหลวงปู่ก็เลื้อยหลีกหนีไป บางตัวก็หดตัวเลย หลวงปู่ท่านเล่าไปก็ยิ้มไป

    หลวงปู่มีเมตตาต่อลูกศิษย์มาก ท่านได้เผยความในใจของท่านว่า "อยากให้ลูกศิษย์ทุกๆคนเป็นคนดี อยู่ในศีลในธรรม อยากให้ลูกศิษย์ตั้งใจปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง และสำเร็จทุกๆคน อยากให้ลูกศิษย์ รู้ถึงกฎแห่งกรรม จะได้ตั้งใจบำเพ็ญศีลภาวนา เพื่อให้ชีวิตรุ่งเรืองทั้งปัจจุบันและอนาคตข้างหน้า อยากให้ลูกศิษย์ทุกๆคน ช่วยเผยแผ่ธรรมะออกไป ให้กว้างไกล เพื่อพระพุทธศาสนาจะได้เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆขึ้นไปอีก"

    ท่านพูดเสมอว่า "เพื่อพุทธศาสนิกชนชาวสยาม และเพื่อพุทธศาสนาแล้ว ท่านยอมที่จะเหนื่อย ยอมที่จะทำการทุกอย่างที่จะเผยแผ่พระธรรมให้มากที่สุด เพราะท่านอยากให้สรรพสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ มีชีวิตอันมีความสุขกายสุขใจ ดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข"!!....
     
  14. GreenWall

    GreenWall เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +388
    วันวิสาขบูชานี้ สวดมนต์
    - พระคาถาชินบัญชร
    - พระคาถาพาหุงมหากา
    - พระคาถากรณียเมตตสูตร
    - พระคาถาอิติปิโสเท่าอายุ+1
    - พระคาถาบูชาสมเด็จองค์ปฐม
    - พระคาถาคาถามหาจักรพรรดิ์
    - คําไหว้บารมี 30 ทัศ

    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    ครูบากฤษดา สุเมโธ

    อัตชีวประวัติ พอสังเขป

    พระกฤษดา สุเมโธ เดิมอาศัยอยู่ที่บ้านห้วยม่วง เลขที่ ๕๗ หมู่ ๓ ต.ห้วยยาบ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน บิดาชื่อนายอุทัย มารดาชื่อนางถิรนันท์ นามสกุล เอกกันทา

    ในช่วงที่มารดาอุ้มท้องก่อนกำหนดคลอดหนึ่งวัน ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ ตรงกับวันพระ ในตอนใกล้รุ่ง มารดาฝันว่าได้ลูกแก้วมณีมีความสดใสสวยงามมากลอยเข้ามาหา แล้วมารดาก็รับแก้วมณีดวงนั้นไว้ในอก พอสะดุ้งตื่น มารดาก็เริ่มมีอาการปวดท้องเล็กน้อย จนถึงกำหนดคลอดอีกวันหนึ่ง ซึ่งตรงกับ วันศุกร์ที่ ๗ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๖ (ใต้) แต่เป็นเดือน ๘ ของทางเหนือ เวลา ๒๓.๐๐ น. โยมมารดา ได้ถือกำเนิดทารกเพศชาย มีผิวผรรณ วรรณะเหลืองสุก คล้ายดอกจำปา โดยมีญาติผู้ใหญ่ของท่านเป็นผู้ทำคลอดในบ้านของท่าน โดยผู้ใหญ่ท่านนี้ชื่อว่า พ่อน้อยยืน พันกับ ปัจจุบันท่านยังมีชีวิตอยู่ ด้วยในช่วงนั้น จะหารถไปส่งโรงพยาบาลในตัวจังหวัดก็ลำบาก รถยนต์ก็ไม่ค่อยมี หนทางก็ไกลหลายสิบกิโลเมตร บวกกับว่าในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ทางเหนือเริ่มมีฝนตก ทำให้ลำบากมากในการที่จะไปโรงพยาบาล ในวันที่ท่านคลอดก็เกิดฝนตกหนักมาก ฟ้าแลบฟ้าร้อง มีลมกรรโชกแรงมาก และตอนนั้น ในหมู่บ้านยังไม่มีไฟฟ้าใช้กัน ต้องจุดตะเกียงน้ำมันก๊าด หรือไม่ก็เทียนไข เพื่อส่องสว่างในยามค่ำคืน

    หลังจากที่ท่านคลอดมาแล้ว โยมบิดาได้ตั้งชื่อว่า เด็กชายกฤษดา เพราะถือฤกษ์ที่มารดาฝันว่าได้แก้ว และในช่วงที่คลอดเกิดฝนตกหนักพอดี หลังจากท่านคลอดและอาบน้ำอุ่นแล้ว ฝนก็อันตธานหยุดตก เป็นอัศจรรย์ ท่านเป็นทารกที่คลอดง่าย ไม่ร้องไห้เหมือนเด็กคนอื่น และที่น่าแปลกตรงที่ว่า ลายฝ่าเท้าของท่าน มีรูปคล้ายดอกบัวตูม และรูปหอยสังข์ซ้อนกันอยู่อย่างเห็นได้ชัดเจนมาก โดยเฉพาะรูปหอยสังข์ และรูปดอกบัวตูมที่ฝ่าเท้าด้านขวาเห็นจนถึงปัจจุบัน โยมบิดาจึงได้ตั้งชื่อท่านตามนิมิตดังกล่าวมา

    หลังจากที่ท่านได้เจริญเติบโต เป็นเด็กที่มีความขยัน กตัญญู และมีความคิดเฉลียวฉลาด เรียนรู้อะไรได้เร็ว ตลอดถึงการพูดจาเหมือนผู้ใหญ่ ช่างเจรจา อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นที่เอ็นดูสำหรับผู้พบเห็น แต่เป็นเด็กที่เลี้ยงยากมาก ในด้านของสุขภาพ ท่านไม่สบายบ่อยมาก ท่านได้ศึกษาชั้นประถมต้นที่โรงเรียนวัดห้วยยาบ และช่วงนั้นก็เริ่มมีใจรักในพระศาสนา ด้วยที่ว่าคุณปู่เป็นคนชักชวนให้ตามไปทำบุญ รักษาศีล ในช่วงเข้าพรรษา ทางเหนือจะนิยมนอนวัดกัน เพื่อจะประกอบการถือศีลภาวนา ครั้งแรกที่ได้ไปทำบุญกับคุณปู่ ตอนที่นั่งในพระวิหาร พิจารณามองพระประธาน ดูองค์ท่านสง่างามมาก เหมือนท่านยิ้มให้ จึงเกิดปิติความศรัทธาหลายอย่าง ทุกครั้งที่ไปวัด ท่านชอบมองพระประธานนาน ๆ เสมอ และอยากจะบวชในบวรพุทธศาสนา และมีอีกอย่างหนึ่งในช่วงที่เป็นเด็กได้ศึกษาวิชาทางสมุนไพรและสรรพวิชาเหมือนกับคุณปู่ เพราะว่าท่านเป็นหมอพื้นบ้าน เป็นที่นับหน้าถือตาของคนในหมู่บ้านนั้น และหมู่บ้านใกล้เคียง เกี่ยวกับการรักษาโรคต่างๆ ได้

    หลังจากนั้นที่ได้ศึกษาจากโรงเรียนชั้นประถมจนจบแล้ว ตอนนั้นอายุได้ ๑๓ ปี ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรภาคฤดูร้อนที่พัทธสีมาวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) ต.ห้วยยาบ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๒ เวลา ๑๓.๐๐ น. โดยมีพระครูโสภณรัตรสาร เจ้าคณะอำเภอบ้านธิ เป็นพระอุปปัชฌาจารย์ และหลังจากได้รับการบรรพชาแล้วก็จำพรรษาอยู่วัดห้วยยาบและช่วงนั้นก็ได้ศึกษานักธรรมบาลีจากสำนักเรียน โรงเรียนโสภณวิทยาทั้งแผนกสามัญและปริยัติควบคู่กันไป จนครบหนึ่งปี สำหรับการที่อยู่จำพรรษาวัดห้วยยาบ และแล้วในปี ๒๕๓๓ ก็ได้มาจำพรรษาวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) เพื่อสะดวกในการศึกษาเล่าเรียนต่างๆ เพราะต้องขึ้นรถประจำทางมาโดยตลอด ในปีนี้เอง ได้พบกับครูบาอินตา อินทปัญโญ วัดห้วยไซใต้ ต.ห้วยขาบ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน ในตอนคารวะช่วงปีใหม่เมือง คือมองเห็นท่านและเกิดความศรัทธาอย่างบอกไม่ถูก ชึ่งท่านก็เป็นพระอาวุโสที่มีอายุพรรษาสูงมากในอำเภอและพอเคยได้ยินกิตติศัพท์ความสามารถของครูบาอินตา มาจากคุณปู่และชาวบ้านมาบ้างแล้ว จึงถือโอกาสแวะเวียนไปมาบ่อยๆ จนเป็นที่คุ้นเคยกับครูบาอินตา ซึ่งท่านก็ให้ความรักและเอ็นดูดุจลูกหลานมาโดยตลอด ท่านอบรบสั่งสอนทุกด้าน โดยเน้น สมถภาวนา ในด้านการนับลูกประคำและแนวทางการกำหนดลมหายใจเข้าออก นอกจากนั้นยังได้เริ่มเรียนอักขระล้านนาควบคู่ไปด้วย ตลอดถึงบทสวดและคำภีร์ต่างๆ ของล้านนาที่ได้มาจากพ่อน้อย พ่อหนาน อาจารย์ต่างๆ ที่พอมีอยู่ในสมัยนั้น ไม่เข้าใจสิ่งใดหรือติดขัดเรื่องใด หลวงปู่ครูบาอินตาท่านได้แนะนำบอกกล่าวจนเข้าใจตลอดมา จึงเป็นเหตุให้ผูกพันท่านมากเป็นพิเศษ จะว่าไปแล้วในสมัยตอนเป็นเณรอยู่วัดห้วยไซเสียส่วนมาก แต่ก็ได้ไปกลับวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) อยู่เป็นประจำ เพราะต้องช่วยงานทั้งสองวัด มิให้ขาดตกบกพร่องใดๆ

    การศึกษาเป็นไปอย่างต่อเนื่องหลายอย่าง และฝึกเรียนเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก โดยเฉพาะกัณฑ์กุมาร กัณฑ์มัทรี เทศน์ได้ไพเราะมาก ถือว่ามีชื่อเสียงมากในสมัยที่ยังเป็นสามเณร มีกิจนิมนต์เทศน์ทั่วภาคเหนือ จนกระทั่งท่านมีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ พร้อมที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา โดยมีพระอุปปัชฌาย์ คือ พระครูโสภณรัตรสาร เจ้าคณะอำเภอบ้านธิ พระกรรมวาจารย์ คือพระสิงห์คำ ขันติโก (มรณภาพ) และ พระอนุสาวนาจารย์ คือพระอธิการวิลา อัคคจิตโต เจ้าคณะตำบลห้วยยาบ (ลาสิกขา) อุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) ต.ห้วยยาบ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน ตรงกับวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๙ เวลา ๑๕.๓๘ น. โดยพระอุปปัชฌาย์ให้ฉายาทางพระภิกษุว่า "สุเมโธ" ซึ่งแปลว่า เป็นผู้มีความรู้ดี หลังจากที่ได้อุปสมบทแล้วไม่นาน เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันในสมัยนั้นก็ได้ลาสิกขาไป ซึ่งเป็นเหตุให้หน้าที่ทุกๆ อย่างภายในวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) ตกแก่ท่าน ท่านต้องรับผิดชอบทั้งหมด ตั้งแต่อายุ ๒๐ ปี พรรษาแรกหลังจากอุปสมบท โดยทำหน้าที่รักษาการแทนเจ้าอาวาสมาโดยตลอด จนถึงอายุครบ ๒๕ ปี พรรษาที่ ๕ ทางจังหวัดได้แต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส จนถึงปัจจุบัน และได้เทศน์สั่งสอนพุทธศาสนิกชนทั้งหลายตลอดมา รวมถึงได้พัฒนาถาวรวัตถุ เสนาสนะต่างๆ ภายในวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) และวัดวาอารามใกล้เคียง ที่มีขอให้ท่านเป็นประธานในการก่อสร้างถาวรวัตถุมากมายหลายวัด ต่างตำบลต่างอำเภอ ออกไปจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีทุกประการ ซึ่งในแต่ละครั้งต้องใช้ทุนทรัพย์ในการก่อสร้างหลายล้านบาท แต่ท่านมิได้ย่อท้อแต่ประการใด พร้อมทั้งพัฒนาทั้งในด้านจิตใจให้ความรู้ด้านธรรมะแก่สาธุชนทั่วไปโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ พัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาในด้านถาวรวัตถุ สิ่งก่อสร้างต่างๆ อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

    ที่มา: อัตชีวประวัติพระกฤษดา สุเมโธ
     
  15. mm1150

    mm1150 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +249
    สวด ชินบัญชร ครับ
    ประสัตหลวงพ่อสดวัดปากน้ำ เจ้าของวิชาธรรมกาย


             เจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี (สด) ท่านเกิดวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๒๗ ตรงกับวันศุกร์ แรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีวอก ฉศก จุลศักราช ๑๒๔๖ ณ บ้านสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี บ้านตำบลนี้อยู่ฝั่งใต้ ตรงกันข้ามกับวัดสองพี่น้อง เป็นบุตรนายเงิน นางสุดใจ มีแก้วน้อย สกุลของท่านทำการค้าขาย มีพี่น้องร่วมมารดาบิดา ๕ คน คือ:)

    ๑. นางตา เจริญเรือง

    ๒. เจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี (สด มีแก้วน้อย)

    ๓. นายใส มีแก้วน้อย

    ๔. นายผูก มีแก้วน้อย

    ๕. นายสำรวย มีแก้วน้อย

             ญาติพี่น้องของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำแทบทุกคนนั้น คนสุดท้องตายก่อนแล้วเลื่อนมาตามลำดับชั้น คนโตหัวปีตายทีหลังแทบทุกคน เช่นพี่น้องหลวงพ่อวัดปากน้ำคนที่ ๕ ตายก่อนแล้วถึงคนที่ ๔ คนที่ ๓ แล้วตัวหลวงพ่อสด อันดับที่ ๓ นั้นเพิ่งตายก่อนหลวงพ่อสดไม่ถึงเดือน คล้ายกับว่าจะรักษาระเบียบแห่งการตายไว้ มัจจุราชไม่ยอมให้ลักลั่นเป็นการผิดระเบียบ จนบัดนี้เหลือแต่คนที่ ๑

    การศึกษาเมื่อเยาว์วัย

             เรียนหนังสือวัดกับพระภิกษุน้าชายของท่าน ณ วัดสองพี่น้อง เมื่อพระภิกษุน้าชายลาสิกขาบทแล้ว ได้มาศึกษาอักขรสมัย ณ วัดบางปลา อ.บางเลน จ.นครปฐม ในปกครองของพระอาจารย์ทรัพย์ เพราะชาติภูมิของบิดาอยู่ที่บางปลา ปรากฏว่าหลวงพ่อเรียนได้ดีสมสมัย และการศึกษาขั้นสุดท้ายของเด็กวัดในสมัยนั้น ก็คือเขียนอ่านหนังสือขอมได้คล่องแคล่ว อ่านหนังสือพระมาลัยซึ่งเขียนเป็นอักษรขอมเป็นบทเรียนขั้นสุดท้าย อ่านกันไปคนละหลาย ๆ จบ จนกว่าจะออกจากวัด ซึ่งจะเรียกกันสมัยนี้ว่าจบหลักสูตรการศึกษาก็ได้ การศึกษาของหลวงพ่อวัดปากน้ำอยู่ในลักษณะนี้ ท่านมีนิสัยจริงมาแต่เล็ก ๆ คือตั้งใจเรียนจริง ๆ ไม่ยอมอยู่หลังใคร

    การอาชีพ

             เมื่อเสร็จการศึกษาแล้ว ออกจากวัดช่วยมารดาบิดาประกอบอาชีพเกี่ยวแก่การค้าขาย โดยซื้อข้าวบรรทุกเรือต่อล่องมาขายให้แก่โรงสีในกรุงเทพฯ บ้าง ที่นครชัยศรีบ้าง เมื่อสิ้นบุญบิดาแล้ว ได้รับหน้าที่ประกอบอาชีพสืบต่อมา ท่านเป็นคนรักงานและทำอะไรทำจริง ทั้งขยันขันแข็ง อาชีพการค้าจึงเจริญโดยลำดับ ทั้งวงศ์ญาติก็อุปการะ แทบจะพูดได้ว่าการค้าไม่ต้องลงทุนอะไรมากนัก เพราะว่าตีราคาข้าวเปลือกตกลงราคากันแล้วขนข้าวลงเรือโดยยังไม่ต้องชำระเงินก่อน เมื่อขายข้าวแล้วจึงชำระเงินกันได้ อันเกี่ยวแก่การเชื่อใจกัน ท่านประกอบอาชีพนี้ตลอดมา จนปรากฏในยุคนั้นว่า เป็นผู้มีฐานะดีคนหนึ่ง

             ท่านเป็นคนมีนิสสัยชอบก้าวหน้า มุ่งไปสู่ความเจริญ ท่านพบกับญาติหรือคนชอบพอแล้วถามถึงการประกอบอาชีพ ถ้าทราบว่าผู้ใดเจริญขึ้นก็แสดงมุทิตาจิต เมื่อทราบว่าทรงตัวอยู่หรือทรุดลงท่านก็จะพูดว่า หากินอย่างไก่ หาได้ไม่มีเก็บ อย่างนี้ต้องจนตาย ควรหาอุบายใหม่

             เมื่ออายุ ๑๙ ปี ระหว่างที่ทำการค้าอยู่นั้น ความคิดอันประกอบด้วยความเบื่อหน่ายเกิดแก่ท่าน เป็นทั้งนี้ก็น่าจะลำบากใจอันเกี่ยวแก่อาชีพ เพราะต้องเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงทำงานเลี้ยงมารดา และรับผิดชอบในกิจการต่าง ๆ โดยเกิดธรรมสังเวชขึ้นในใจว่า การหาเงินเลี้ยงชีพนั้นลำบาก บิดาของเราก็หามาอย่างนี้ ต่างไม่มีเวลาว่างกันทั้งนั้น ถ้าใครไม่รีบหาให้มั่งมีก็เป็นคนชั้นต่ำ ไม่มีใครนับหน้าถือตา เข้าหมู่เพื่อนบ้านก็อับอายไม่เทียมหน้าเขา บุรพชนต้นสกุลก็ทำมาอย่างนี้เหมือนกัน จนถึงบิดาเราและตัวเราในบัดนี้ ก็คงทำอยู่อย่างนี้ ก็บัดนี้บุรพชนทั้งหลายได้ตายไปหมดแล้ว แม้เราก็จักตายเหมือนกัน เราจะมัวแสวงหาทรัพย์อยู่ทำไม ตายแล้วเอาไปไม่ได้ บวชดีกว่า เมื่อได้โอกาสท่านได้จุดธูปเทียนบูชาพระ อธิษฐานว่า "ขอเราอย่าได้ตายเสียก่อนเลย ขอให้ได้บวชเสียก่อน เมื่อบวชแล้วจะไม่ลาสิกขา ขอบวชไปจนตลอดชีวิต" นี้ท่านบอกว่าเริ่มอธิษฐานมาตั้งแต่อายุ ๑๙ ปี

             หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ท่านเล่าต่อไปว่า เมื่อตกลงใจบวชไม่สึกแล้ว จิตคิดเป็นห่วงมารดาเกิดขึ้น จึงขะมักเขม้นทำงานสะสมทรัพย์เพื่อให้มารดาเลี้ยงชีพไปจนตลอดชีวิต เมื่อจะเทียบราคาเงินในบัดนี้กับสมัยก่อน ๕๐ ปีที่ล่วงมานั้น ไกลกันมาก เพราะเมื่อก่อน ๕๐ ปี กล้วยน้ำว้า ๑๐๐ หวี เป็นราคา ๕๐ สตางค์ สมัยก่อนใช้อัฐ เรียกว่า ๑๐๐ ละ ๒ สลึง บางคราว ๑๐๐ เครือ ต่อเงิน ๒.๕๐ บาท เพราะเงินจำนวนชั่งที่หลวงพ่อสด วัดปากน้ำหาให้มารดานั้น ก็ย่อมมีราคาสูงสุดในสมัยนั้น และย่อมเป็นน้ำเงินที่อาจเลี้ยงชีวิตจนตายได้จริง ถ้าหากน้ำเงินไม่มีราคาต่ำลงเช่นปัจจุบันนี้ แต่ก็ประหลาดที่มารดาของท่านมีอายุยืนมาจนถึงยุคกล้วยน้ำว้าหวีละบาทกว่า

    อุปสมบท

             เดือนกรกฎาคม ๒๔๔๙ ต้นเดือน ๘ ท่านได้อุปสมบท เวลานั้นอายุย่างเข้า ๒๒ ปี บวช ณ วัดสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี มีฉายาว่า จนฺทสโร พระอาจารย์ดี วัดประตูศาล อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เป็นพระอุปัชฌายะ พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินฺทโชโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์โหน่ง อินฺทสุวณฺโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ คู่สวด อยู่วัดเดียวกัน คือวัดสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่วัดสองพี่น้อง ๑ พรรษา ปวารณาพรรษาแล้ว เดินทางมาจำพรรษา ณ วัดพระเชตุพน กรุงเทพฯ เพื่อเล่าเรียนพระธรรมวินัยต่อไป

             การศึกษาของภิกษุสามเณรสมัยนั้น การเรียนบาลีต้องท่องสูตรก่อน เมื่อท่องจบสูตรเบื้องต้นแล้ว จึงเริ่มจับเรียนมูล เริ่มแต่เรียนสนธิขึ้นไป หลวงพ่อวัดปากน้ำเริ่มต้นโดยวิธีนี้แล้ว เรียน นาม สมาส ตัทธิต อาขยาต กิตก์ แล้วเริ่มขึ้นคัมภีร์ จับแต่พระธรรมบทไป ท่านเรียนธรรมบทจบทั้ง ๒ บั้น เมื่อจบ ๒ บั้นแล้วกลับขึ้นต้นใหม่ เรียนมงคลทีปนีและสารสังคหะคามความนิยมของสมัย จนชำนาญและเข้าใจและสอนผู้อื่นได้

             เมื่อกำลังเรียนอยู่นั้น ท่านต้องพบกับความลำบากมาก สมัยนั้นเรียนกันตามกุฏิ ต้องเดินไปศึกษากับอาจารย์ตามวัดต่าง ๆ เมื่อฉันเช้าแล้วข้ามฟากไปเรียนที่วัดอรุณราชวราราม กลับมาฉันเพลที่วัด เพลแล้วไปเรียนวัดมหาธาตุ ตอนเย็น ไปเรียนที่วัดสุทัศน์บ้าง วัดสามปลื้มบ้าง กลางคืนเรียนที่วัดพระเชตุพน แต่ไม่ได้ไปติด ๆ กันทุกวัน มีเว้นบ้าง สลับกันไป

             สมัยที่ท่านศึกษาอยู่นั้น กำลังนิยมใช้หนังสือขอมที่จารลงในใบลาน และนักเรียนที่ไปขอศึกษากับอาจารย์นั้น บทเรียนไม่เสมอกันต่างคนต่างเรียนตามสมัครใจ กล่าวคือบางองค์เรียนธรรมบทบั้นต้น บางองค์เรียนบั้นปลาย ยิ่งนักเรียนมาก หนังสือที่เอาไปโรงเรียนก็เพิ่มจำนวนขึ้น เช่นนักเรียน ๑๐ คน เรียนหนังสือกันคนละผูก นักเรียนที่ไปเรียนนั้นก็ต้องจัดหนังสือติดตัวไปครบจำนวนนักเรียน เป็นทั้งนี้ก็เพราะนอกจากเรียนตามบทเรียนของตนแล้วเอาหนังสือไปฟังบทเรียนของคนอื่นด้วย ช่วยให้ตนมีความรู้กว้างขวางขึ้น ฉะนั้นปรากฏว่านักเรียนต้องแบกหนังสือไปคนละหลายผูก แบกจนไหล่ลู่ คือว่าหนังสือเต็มบ่า

             หลวงพ่อวัดปากน้ำ เป็นนักเรียนประเภทดังกล่าว ท่านพยายามไม่ขาดเรียน แบกหนังสือข้ามฟากลงท่าประตูนกยูงวัดพระเชตุพนไปขึ้นท่าวัดอรุณฯ เข้าศึกษาในสำนักนั้น ท่านเล่าให้ฟังว่าลำบากอยู่หลายปี ความเพียรของท่านจนชาวประตูนกยูงเกิดความเลื่อมใสได้ปวารณาเรื่องภัตตาหาร คืออาราธนาท่านรับบิณฑบาตเป็นประจำและขาดสิ่งใดขอปวารณา ระยะนี้ท่านเริ่มมีความสุขขึ้น เรื่องภัตตาหารมีแม่ค้าขายข้าวแกงคนหนึ่งจัดอาหารเพลถวายเป็นประจำ แม่ค้าคนนี้ชื่อนวม เมื่อหลวงพ่อย้ายมาวัดปากน้ำ แม่ค้าผู้นี้ทุพพลภาพลงเพราะความชราขาดผู้อุปการะ ท่านได้รับตัวมาอยู่วัดปากน้ำได้อุปการะทุกวิถีทาง เมื่อสิ้นชีวิตก็ได้จัดการฌาปนกิจศพให้ หลวงพ่อว่าเป็นมหากุศล เมื่อเราอดอยาก อุบาสิกานวมได้อุปการะเรา ครั้นอุบาสิกานวมยากจน เราได้ช่วยอุปถัมภ์ ที่สุดต่อที่สุดมาพบกันจึงเป็นมหากุศลอันยากที่จะหาได้ง่าย ๆ

             ท่านเดินทางไปศึกษาในสำนักต่าง ๆ อยู่หลายปี ครั้นต่อมามีผู้เลื่อมใสในตัวท่านมากขึ้น พวกข้าหลวงในวังกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม ซึ่งชาวบ้านใกล้เคียงเรียกว่า วังพระองค์เพ็ญ เลื่อมใสในท่าน เวลาเพลช่วยกันจัดสำรับคาวหวานมาถวายทุกวัน นับว่าเป็นกำลังส่งเสริมให้สะดวกแก่การศึกษาเป็นอย่างดี เมื่อได้กำลังในด้านส่งเสริมเช่นนี้ หลวงพ่อจึงจัดการตั้งโรงเรียนขึ้นที่วัดพระเชตุพน โดยใช้กุฏิของท่านเป็นโรงเรียน สมัยนั้นโรงเรียนวัดพระเชตุพนมีหลายแห่ง ใครมีความสามารถก็ตั้งได้ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำสมัยนั้น ท่านได้พระมหาปี วสุตตมะ เปรียญ ๕ ประโยคเป็นครูสอน โดยท่านจัดหานิตยภัตถวายเอง มหาปี วสุตตมะ ผู้นี้มาจากวัดมหาธาตุ จังหวัดพระนคร ติดตามพระสมเด็จพุฒาจารย์ (เข้ม ธมฺมสโร) มา เมื่อคราวสมเด็จฯ จากวัดมหาธาตุมาเป็นเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน ท่านตั้งโรงเรียนเองและเข้าศึกษาด้วยตนเอง ด้วยเรียนขึ้นธรรมบทใหม่ ท่านว่าฟื้นความจำทบทวนให้ดีขึ้น มีภิกษุสามเณรเข้าศึกษา ๑๐ กว่ารูป

             ต่อมาการศึกษาทางบาลีเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยม ทางคณะสงฆ์จัดหลักสูตรการศึกษา เริ่มให้เรียนไวยากรณ์ วัดพระเชตุพนดำเนินตามแนวนั้น และได้รวมการศึกษาเป็นกลุ่มเดียวกัน การศึกษาตามแบบเก่าต้องยุบตัวเองเพื่อให้เข้ายุคไวยากรณ์ โรงเรียนที่กล่าวถึงนี้ก็ระงับไป

             หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ได้ตั้งใจศึกษาจนเข้าใจตามหลักสูตรนั้น ๆ แต่ไม่ได้แปลในสนามหลวง แม้การสอบเปลี่ยนจากแปลด้วยปากมาเป็นสอบด้วยการเขียนตอบ ท่านก็ไม่ได้สอบ เพราะการเขียนของท่านไม่ถนัดมากนักและอีกประการหนึ่งท่านไม่ปราถนาด้วย แต่สำหรับผู้อื่นแล้วท่านส่งเสริมและให้กำลังใจ โดยพูดเสมอว่าการศึกษานั้นเปลี่ยนชีวิตผู้ศึกษาให้สูงกว่าพื้นเดิม คนที่มีการศึกษาดีจะได้อะไรก็ดีกว่า ประณีตกว่าผู้อื่น คนมีวิชาเท่ากับได้สมบัติจักรพรรดิ ใช้ไม่หมด
     
  16. คุรุปาละ

    คุรุปาละ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    6,100
    ค่าพลัง:
    +16,525
    คุยกันยามเช้า

    ก็มากล่าวอรุณสวัสดิ์กัน ช่วงนี้ใครจะถามอะไรก็ PM กันเข้ามาได้เลยนะครับ สำหรับเครื่องมงคลก็ติดจองหมดแล้วทุกรายการ หลายๆรายการที่รอโอนอยูเป็นยอดของเก่่าก็มี เช้านี้ก็คุยกันสบายๆ

    สำหรับเรื่องของแจกนั้น คราวหน้าจะเป็นรูปหล่อหลวงปู่ทวดพิมพ์เตารีดขนาดห้อยคอไม่หนักมากองค์ไม่ใหญ่กำลังดี ถ้าใครอยากได้หลวงปู่ทวดพิมพ์เตารีดของพ่ออาจารย์ท่าน ก็ต้องติดตามเล่นเกมส์กันงวดหน้านะครับ ไม่มีให้บูชาเอาไว้แจกอย่างเดียว ไม่รู้จะสมควรมั๊ยถ้าผมจะบอกว่าเห็นแล้วน่ารักมากเลย สำหรับหลวงปู่ทวดท่านเป็นพระนิรันตรายและมีคุณครอบจักรวาล ด้วยกำลังแห่งพระมหาโพธิสัตว์อันจะได้ตรัสรู้ในอนาคตกาล พระหลวงปู่ทวดที่มีญาณของพระองค์ท่านจึงเป็นพระที่มีอภินิหาริย์มากขอได้ไหว้รับพูดเช่นนั้นก็ได้ หลายๆคนจะรู้จักหลวงปู่ทวดแค่ว่าเป็นพระนิรันตราย ห้อยติดคอไม่ตายโหงบ้าง ไม่มีอุบัติเหตุบ้าง เราจะรู้กันอยู่แค่นี้ ไม่ได้รู้ว่าท่านสั่งสมบารมีพุทธภุมิมาสูงเพียงไหนและท่านเป็นใคร เราจึงนิยมแสวงหาพระหลวงปู่ทวดไว้ห้อยเพื่อให้ตัวเองนั้นรอดปลอดภัยเวลาขับขี่รถยนตร์เท่านั้น แต่อยากจะบอกอีกอย่างว่าความจริงจะใช้ทางเมตตามหานิยมก็ได้ มหาอุตม์คงกระพันก็ได้ คือใช้ได้ครอบจักรวาล เพราะเป็นญาณของพระมหาโพธิสัตว์ เมื่อท่านมาสถิตย์อยู่แล้วจะขอสิ่งใด บนบานศาลกล่าวอะไรย่อมทำได้เต็มที่ พระโพธิสัตว์มีหน้าที่โดยตรงคือสงเคราะห์สัตว์ ขนถ่ายสัตว์ออกจากความทุกข์อยู่แล้วอันนี้ก็ต้องทำความเข้าใจกันใหม่ ใครที่อยากบูชาท่านลังกาดำก็ล้างคอรอไว้ได้เลย งวดหน้าไม่สิ้นเดือนนี้ก็ต้นเดือนหน้าแล้วกัน จะกำหนดเวลาให้เล่นเกมส์สองสามวันแบบนี้อีกที แต่ต้องเป็นเกมส์ที่เกี่ยวกับหลวงปู่ทวดเท่านั้น พระมีจำนวนจำกัด ติดตามดีๆ

    ในส่วนของเครื่องมงคลที่หลายๆคนถามเข้ามาว่าจะออกเมื่อไหร่สำหรับพระมหาบุรุษกัลกี ก็อยากให้รอติดตาม ไม่ใช่ว่าเราจะกั้กของไว้เอาให้เฉพาะคนที่โทรมาคุยก่อนแต่เพราะเราอยากจะรอเปิดจองทีเดียวดีกว่าให้บูชากันเรื่อยๆ ถึงเวลาจองทีไม่มีของพอกับความต้องการเนื่องจากท่านสร้างน้อยอยู่แล้ว ยิ่งด้านหลังท่านฝังเหรียญหล่อครูพระอินทร์ทรงช้างไอยราพรตด้านบน กับด้านล่างที่ฝังนางแม่พระธรณีด้วย เอาเพียงแค่ได้ยินว่ามีพระอินทร์ทรงช้างประมุขแห่งทวยเทพกับแม่พระธรณีที่เป็นใหญ่ทั้งเบื้องบนและเบื้องล่างหลายๆท่านก็เร่งให้เราลงจนปวดหัวแล้ว เอาไว้หลังงานแจกตะกรุดนารายณ์พลิกแผ่นดินวาระนี้ ส่งของเสร็จไม่มีอะไรวุ่นวายแล้ว สัญญาว่าผมค่อยลงให้ แล้วจะพิมพ์มวลสารแบบละเอียดเอาว่าตกร้อยชนิดเลย ซ้ำจะลงประวัติให้ครบ ยาวหน่อยอย่าบ่นกันนะเอาว่าต้องอ่านแล้วขยี้ตากันเลยงวดนี้

    อีกเรื่องหนึ่งอันนี้ไม่อยากให้ปฏิบัติกันผิด สำหรับการคาดการใช้เครื่องมงคล แน่นอนว่าถ้าเป็นพระ หลายๆท่านย่อมรู้อยู่แล้วว่าใช้ห้อยคอกัน แต่ตะกรุด อันนี้แหละที่สำคัญบางอย่างก็ลงเอวได้ บางอย่างก็ควรห้อยไว้ที่คอห้ามต่ำกว่าเอวควรสอบถามและศึกษากันให้ดีก่อนที่จะนำไปคาดไปใช้ โดยเฉพาะตะกรุดที่บรรจุดวงชะตาหรือมีคุณทางด้านหนุนดวง จำเป็นที่จะต้องบูชาติดตัวอย่างยิ่ง จะเอาไปวางไว้เฉยๆหรือไว้กับพระประธานที่เรากราบไหว้มันก็จะไม่เห็นผลเท่าที่ควรจะเป็น ที่สำคัญเลยคือต้องห้อยคอไม่สมควรพกต่ำ เวลาถอดเก็บก็ต้องวางไว้ในที่สูงเพราะเป็นดวงชะตาของเราเองจะวางตกต่ำเรี่ยราดไม่ได้ อันนี้มีคนถามกันเข้ามาบ่อยและส่วนใหญ่จะพลาดทำกันผิดประจำ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤษภาคม 2016
  17. pom1967

    pom1967 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    214
    ค่าพลัง:
    +317
    คาถาขุนแผนมนต์พระลอ มนต์ที่หลวงพ่อคูณเรียกญาติโยมไปทำบุญที่วัดมากมายหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่
    ประวัติ
    หลวงพ่อคูณ เกิดในชื่อและนามสกุลทางโลกคือ คูณ ฉัตร์พลกรัง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2466[1] ตรงกับแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน ที่บ้านไร่ หมู่ที่ 6 ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรชายคนโตของบุญ (บิดา) และทองขาว (มารดา) ซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกร มีพี่น้องร่วมบิดามารดาสามคนคือ

    พระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทโธ)
    คำมั่น วงษ์กาญจนรัตน์ (เป็นหญิง)
    ทองหล่อ เพ็ญจันทร์ (เป็นหญิง)
    โยมบิดามารดาของหลวงพ่อคูณ เสียชีวิตลงขณะที่ลูกทั้งสามยังเด็ก เด็กชายคูณกับน้องสาวทั้งสอง จึงอยู่ในความอุปการะของน้าสาว สมัยที่เด็กชายคูณมีอายุราว 6-7 ขวบ เข้าเรียนหนังสือกับพระอาจารย์เชื่อม วิรโธ, พระอาจารย์ฉาย และพระอาจารย์หลี ทั้งภาษาไทย และภาษาขอม นอกจากนี้พระอาจารย์ทั้งสาม ยังอบรมสั่งสอนคาถาอาคม เพื่อป้องกันอันตรายต่าง ๆ ให้ด้วย เด็กชายคูณจึงมีความรู้ในวิชาไสยศาสตร์มาแต่บัดนั้น[1]

    อุปสมบท[แก้]
    คูณ ฉัตร์พลกรัง อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดถนนหักใหญ่ ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2487[1] ปีวอก อุปัชฌาย์ให้ฉายาว่า ปริสุทฺโธ หลังจากนั้น หลวงพ่อคูณฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อแดง วัดบ้านหนองโพธิ์ ตำบลสำนักตะคร้อ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา หลวงพ่อแดง เป็นพระนักปฏิบัติทางด้านคันถธุระ และวิปัสสนาธุระอย่างเคร่งครัด ทั้งเป็นพระเกจิอาจารย์ ที่เรืองวิทยาคมเป็นอย่างยิ่ง จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คน และลูกศิษย์เป็นอย่างมาก

    หลวงพ่อคูณอยู่ปรนนิบัติรับใช้ หลวงพ่อแดงมานานพอสมควร หลวงพ่อแดงจึงพาหลวงพ่อคูณไปฝากตัวเป็น ลูกศิษย์หลวงพ่อคง พุทธสโร ซึ่งหลวงพ่อทั้งสองรูปนี้เป็นเพื่อนกัน ต่างให้ความเคารพซึ่งกันและกัน เมื่อมีโอกาสได้พบปะ มักแลกเปลี่ยนธรรมะ ตลอดจนวิชาอาคมแก่กันเสมอ เวลาล่วงเลยมานานพอสมควร กระทั่งหลวงพ่อคงเห็นว่า ลูกศิษย์ของตนมีความรอบรู้ ชำนาญการปฏิบัติธรรมดีแล้ว จึงแนะนำให้ออกธุดงค์จาริก ไปตามป่าเขาลำเนาไพร ฝึกปฏิบัติธรรมเบื้องสูงต่อไป ระยะแรกหลวงพ่อคูณธุดงค์จาริก อยู่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา จากนั้นจึงจาริกไกลออกไป กระทั่งถึงประเทศลาว และประเทศกัมพูชา มุ่งเข้าสู่ป่าลึก เพื่อทำความเพียรให้เกิดสติปัญญา เพื่อการหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา และอุปาทานทั้งปวง

    หลังจากที่พิจารณา เห็นสมควรแก่การปฏิบัติแล้ว หลวงพ่อคูณจึงออกเดินทางกลับสู่ประเทศไทย เดินข้ามเขตแดนทางจังหวัดสุรินทร์ สู่จังหวัดนครราชสีมา กลับสู่ถิ่นเกิดที่บ้านไร่ จากนั้นจึงเริ่มดำริให้ก่อสร้างวัด ให้เป็นถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา โดยเริ่มสร้างพระอุโบสถเมื่อ พ.ศ. 2496 นอกจากนั้น หลวงพ่อคูณยังดำริให้สร้างกุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ขุดสระน้ำไว้เพื่ออุปโภคและบริโภค ทั้งจัดสร้างโรงเรียนวัดบ้านไร่ เพื่อการศึกษาของเยาวชนละแวกนี้อีกด้วย
     
  18. PeacE123

    PeacE123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    3,179
    ค่าพลัง:
    +2,485
    วันวิสขบูชา ผมสวดมต์
    1.ไตรสรณาคมน์ - อาราธนาศีล 5
    2.คาถาหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่
    3.บทขอขมาพระ
    4.บทมหาจักรพรรดิ
    5.อธิฐานสัพเพ

    ประวัติพระอาจารย์ วรงคต วิริยะธโร ( หลวงตาม้า )
    วัดพุทธพรหมปัญโญ (วัดถ้ำเมืองนะ) ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่


    ชาติภูมิ
    พระอาจารย์วรงคต วิริยะธโร มีชาติกำเนิดในสกุล สุวรรณคุณ เดิมชื่อ นายวรงคต สุวรรณคูณเกิดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 บ้านเดิมอยู่ที่ อำเภอนรนิวาส จังหวัด สกลนคร โยมบิดาชื่อ นายวันดี โยมมารดาชื่อนาง โสภา ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 3 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 2 ของครอบครัว

    สู่เพศพรหมจันทร์
    หลวงตาม้าท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ดู่และท่านได้อยู่ฝึกกรรมฐานกับหลวงปู่ดู่ในเพศฆราวาสเป็นเวลาเกือบ 20 ปีแต่ก่อนที่หลวงปู่ดู่ท่านจะมรณภาพไปไม่นานนั้นหลวงปู่ท่านก็ได้สั่งให้หลวงตาม้าท่านบวช
    ท่านได้เข้าพิธีบรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2531 เวลา 10.06 น. ตรงกับวันอาทิตย์ ณ วัดพุทไธสวรรค์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีพระครูภัทรกิจ (หลวงพ่อหวล) และเจ้าอาวาสวัดพุทไธสวรรค์ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระครูสุนทรธรรมนิเทศ (บุญส่ง) เป็นพระกรรมาจารย์ และมีพระครูพิจิตรกิจจาทร (เสน่ห์) เป็นพระอนุศาสนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ?วรงคต วิริยะธโร?

    บำเพ็ญสมณธรรม
    พอออกพรรษาแรกท่านได้ไปกราบหลวงพ่อหวลเพื่อขออนุญาติออกธุดงค์ เมื่อหลวงพ่อหวลอนุญาติแล้ว ท่านก็ไปกราบหลวงปู่ดู่ที่วัดสะแก คืนนั้นไม่มีใครอยู่เลยที่กุฎิหลวงปู่ดู่ มีเพียงหลวงปู่และหลวงตาเท่านั้น ท่านเลยกราบลาหลวงปู่ดู่คืนนั้น หลวงปู่ดู่ท่านได้เทศสอนหลวงตาและบอกกับหลวงตาม้าในครั้งนั้นด้วยว่า
    "จำไว้ไม่ว่าแกไปไหนเหรออยู่ที่ไหนข้าก็อยู่ด้วย
    แกเอาพระองค์นี้ไป(พระรูปหล่อเหมือนหลวงปู่ดู่)หากเองสงสัย
    อะไรในการปฎิบัติให้แกถามเอากับพระองค์นี้"
    หลวงปู่ดู่ท่านให้พระปูนรูปเหมือนหลวงปู่ดู่ 1 องค์ หลวงปู่ดู่ท่านยังเมตตาให้เงินติดตัวท่านมาอีก 500 บาท พร้อมทั้งของใช้สำหรับสงฆ์ พร้อมกับสั่งให้ท่านขึ้นไปอยู่ที่ภาคเหนือเพราะเหตุผลบางอย่าง พอตอนเช้าหลวงปู่ดู่ท่านได้ให้พระในวัดสะแก นำปิ่นโตข้าวมาให้หลวงตาเพราะทราบว่าท่านไม่ได้ออกบิณฑบาตร เพราะเตรียมธุดงค์ขึ้นเหนือ
    หลวงตาม้าท่านได้ธุดงค์รอนแรมอยู่เป็นเวลานานตามภาคเหนือของประเทศไทยตั้งแต่เมื่อประมาณเกือบ 20 กว่าปีก่อนท่านได้ธุดงค์แวะภาวนาตามถ้ำต่างๆเรื่อยไปในส่วนเรื่องราวการธุดงค์ของท่านหลวงตาม้านี้สนุกและพิศดารมาก อยู่มาวันหนึงท่านได้มาพักอยู่ที่พระธาตุจอมแจ้ง หรือพระธาตุจอมกิตติ พอท่านมาถึงท่านได้ตั้งจิตอธิษฐานกลางแจ้งเลยว่า ท่านอยากจะหาสถานที่ที่สงบท่านต้องการจะเก็บตัวสัก พอเช้าวันรุ่งขึ้นมีผู้เฒ่าชราผู้หนึงมาบอกท่านว่าที่เมืองนะ มีถ้ำน่าอยู่แห่งหนึง ท่านบอกว่าถ้าไม่เจอะผู้เฒ่าผู้นี้ท่านคงไปอยู่ที่พระบาท 4รอยแทน ท่านได้ธุดงค์ไปเรื่อยตามญาณหลวงปู่ดู่ไปจนเจอเข้า กับถ้ำแห่งหนึงซึ่งชาวบ้านแถวนั้นเรียกว่าถ้ำเมืองนะซึ่งตรงกับที่ผู้เฒ่าผู้นั้นมาบอก พอท่านถึงถ้ำเมืองนะแล้วท่านจึงได้บำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่ที่ถ้ำแห่งนี้ และได้ส่งข่าวมาทางหลวงปู่ดู่
    เวลาผ่านไปจนเข้าปี 2533 หลวงตาม้าท่านได้ทราบว่าหลวงปู่ดู่ท่านได้ละสังขารแล้วท่านจึงได้เดินทางกลับไปยังจังหวัดอยุธยา หลังจากงานพระราชทานเพลิงศพของหลวงพ่อดู่ ได้ผ่านไปเรียบร้อยแล้วหลวงตาท่านก็ได้เดินทางกลับไปยังถ้ำเมืองนะ
    ท่านได้อยู่ภาวนาอย่างเงียบๆในถ้ำนั้นเป็นเวลานับ 10 ปีโดยมีชาวบ้านในละแวกนั้นซึ่งเป็นชาวไทยและชาวไทยใหญ่คอยอุปัฐฐากท่านตลอดมาหลวงตาม้าท่านเมตตามากการปฎิบัติของท่านในตอนแรกเป็นไปเพื่อหลุดพ้นในชาตินี้แต่หลังจากที่ท่านภาวนาไปท่านได้รับกระแสพุทธภูมิเก่าของท่านเข้าที่จิตจนทำให้ท่านเกิดความเมตตาสงสารและอฐิษฐานจิตต่อเพื่อฉุดช่วยให้สัตว์ทั้งหลายทั่วทั้ง 3 โลกธาตุมีที่พึ่งมีร่มโพธิ์ร่มไทรนับว่าเป็นเมตตาอันนับประมาณมิได้ของท่านจนถึงวันหนึ่งท่านก็ได้เริ่มออกสังคมและเริ่มสร้างวัดขึ้นที่นั้นและสั่งสอนลูกศิษย์เรื่อยมาจนถึงบัดนี้ ปฎิปทาของท่านหลวงตาเป็นการบำเพ็ญแนวโพธิสัตว์และลูกศิษย์หลายๆคนได้ประจักษ์ถึงบารมีท่านในด้านพุทธภูมิมาแล้วทั้งนั้น นับว่าท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีญาณบารมีแก่กล้าและเมตตาอันล้นเหลือ มากรูปหนึ่งในปัจจุบันที่สั่งสอนคนให้เดินบนเส้นทางแห่งธรรมะ และท่านยังเป็นผู้ที่สืบทอดวิชาต่างๆของหลวงปู่ดู่ในปัจจุบันอีกด้วย ทั้งด้านการภาวนาเปิดโลก และ ด้านการสร้างพระเครื่อง ซึ่งท่านได้เมตตาสั่งสอนถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์ในปัจจุบัน เพื่อนำไปช่วย มนุษย์และภูมิทั้งหลาย ตลอดถึงความสงบแก่จิตและการอยู่เย็นเป็นสุขของผู้ปฎิบั
     
  19. pisut168

    pisut168 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2009
    โพสต์:
    915
    ค่าพลัง:
    +1,961
    เริ่มสวดด้วยบท ขอขมาพระรัตนไตร ถวายพรพระ ไตรสรณคม อารทนาศีล พุทธคุณ3ห้อง พาหุง มหากา ธรรมจักร จบด้วยบทแผ่เมตตาครับ

    ประวัติพ่อแม่ครูอาจารย์ หลวงปู่สอ พันธุโล และพระพุทธรูปคู่บารมี หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ วัดป่าหนองแสง จ.ยโสธร

    ชาติภูมิ
    หลวงปู่สอ พันธุโล นามสกุล ขันเงิน ท่านเกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 8 ปีระกา ตรงกับวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2464 ที่บ้านทุ่งมน ตำบลทุ่งมน อำเภอลุมพุก ( คำเขื่อนแก้ว ) จังหวัดอุบลราชธานี ( ปัจจุบันคือจังหวัดยโสธร ) บิดาชื่อนายตา ขันเงิน มารดาชื่อนางขอ ขันเงิน มีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน 2 คน เป็นชายทั้งหมด คนแรกคือ หลวงปู่สอ พันธุโล คนที่สองคือ นายหมอ ขันเงิน ปัจจุบันอยู่ที่บ้านเดื่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย หลวงปู่สอ พันธุโล สมัยที่ท่านเป็นฆราวาสนั้นเป็นคนที่ชอบสนุกสนาน ร่าเริง เข้ากับหมู่คณะได้ทุกคน ขณะเดียวกันก็ยังเป็นคนที่ค่อนข้างจะมีความสามารถในการกล่าวกลอนสด ( ผญา ) ของคนอีสาน เป็นที่ชอบใจของผู้ฟังทำให้คนแปลกใจว่าทำไรหลวงปู่ จึงมีความสามารถมากเช่นนั้นจริงๆ ที่หลวงปู่สอ เรียนจบเพียงชั้น ป.3 แต่ถึงท่านจะชอบสนุกสนานรื่นเริง นิสัยประจำตัวอย่างหนึ่งของท่านที่มีอยู่โดยตลอด คือ ความอดทน ความขยันหมั่นเพียรซึ่งนับว่าเป็นคุณสมบัติอันสำคัญยิ่งที่ส่งผลให้การทำความเพียรของท่านในภายหลังจากอุปสมบทแล้วมีความเด็ดเดียวมั่นคงและเจริญก้าวหน้าไปโดยลำดับ

    สาเหตุแห่งการออกบวช
    ความคิดครั้งแรกก่อนแต่งงานท่านคิดว่าชีวิตจะมีความสุขมีความราบรื่น แต่สุดท้ายก็คิดได้ตามหลักสัจจะธรรม ว่าการมีครอบครัวเป็นการทำให้หมดอิสรภาพแทบทุกอย่าง ต้องแบกภาระมากมายจิตใจก็หมกมุ่นอยู่แต่ในเรื่องของฆราวาสวิสัยในกิจการงานจนไม่มีเวลาเป็นของตนเอง ชีวิตมีแต่ความทรมานเร่าร้อนเหมือนนั่งอยู่บนกองไฟ ความรู้สึกเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับฆราวาสโดยทั่วไปมากนัก นอกจากผู้มีบุญบารมีเก่าที่เคยสั่งสมมาในอดีตชาติเท่านั้น หลวงปู่ได้ตัดสินใจบอกความประสงค์ของท่านต่อภรรยาว่าท่านปรารถนาจะออกบวช เพราะรู้สึกเบื่อหน่ายต่อการครองเรือนแต่ภรรยาของท่านก็ไม่เห็นด้วย เนื่องจากอยู่ในระหว่างการสร้างเนื้อสร้างตัว และลูกก็เล็กอยู่ หลวงปู่ไม่ละความพยายามเมื่อมีโอกาสก็ขออนุญาตออกบวชอยู่เสมอ จนภรรยาของท่านต้องยินยอมแต่มีข้อแม้ว่าต้องออกบวชเพียง 15 วันเท่านั้น
    การบวชครั้งแรก
    ในปี พ.ศ.2496 ขณะอายุของหลวงปู่ได้ 32 ปี ท่านได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เป็นครั้งแรก ณ พัทธสีมา วัดสร่างโศรก ( วัดศรีธรรมาราม ) ตำบลในเมือง อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระครูปลัดบุญสิงห์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสังฆ์รักษ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาสาย เป็นอนุสาวนจารย์ ได้รับฉายาว่า พันธุโล หลวงปู่สอ พันธุโล ได้เล่าว่าท่านมีความสุขใจ และมีความพอใจมากที่ได้บวชสมความตั้งใจ ทำให้มีความปลอดโปร่ง เหมือนบุคคลที่เป็นโรคแล้วหายจากโรค เหมือนบุคคลที่ถูกขุมขังแล้วหลุดพ้นจากที่คุม ขังจิตใจมีความสงบเยือกเย็น มองเห็นชีวิตแห่งการบวชเป็นทางที่จะแสวงหาความสุขได้อย่างแท้จริง ในการบวชครั้งนี้ หลวงปู่สอ ท่านพยายามที่จะทำตามกำหนดเวลาของภรรยาคือ บวช 15วัน แต่ในขณะที่บวชอยู่นั้นมีความรู้สึกสบายกายสบายจิต คิดว่าจะบวชให้นานที่สุด และท่านก็ได้ขอผัดผ่อนภรรยาเรื่อยมา สุดท้ายเมื่อครบ 15วัน ท่านก็ไม่ได้สึกตามที่ภรรยากำหนดไว้ จึงทำให้ท่านได้อยู่ในเพศพรหมจรรย์ และปฏิบัติธรรมเพื่อความสงบสันติแห่งใจเรื่อยมาถึง 2 พรรษา ในปี พ.ศ.2496 ซึ่งเป็นพรรษาแรก หลวงปู่สอ ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านหนองแสง ตำบลสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ ( ปัจจุบันอยู่วัดป่าบ้านนาคูณ ) เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้แนะนำ สั่งสอนข้อวัตรปฏิบัติ ตลอดถึงในการอบรมด้านสมาธิภาวนา

    ความเป็นมาหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์
    พระพุทธสิริสัตตราช(หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์) องค์จริงนั้น เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกหล่อสัมฤทธิ์โบราณ ตามการสันนิษฐานของกรมศิลปากรมีอายุประมาณ 800 ปีเศษ มีพุทธลักษณะคล้ายศิลปะเชียงแสน หรือเวียงจันทร์ ขนาด ฐานกว้างประมาณ 10 นิ้ว สูงประมาณ 15 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 10 กิโลกรัม พุทธลักษณะพิเศษ คือ เป็นพระพุทธรูปที่มี งูใหญ่ 7 ตัว 7 หัว แผ่คลุมองค์พระ ซึ่งไม่เหมือนกับพระพุทธรูปปางนาคปรกโดยทั่วไปที่มีพญานาค 1 ตัว 7 หัวบ้าง 5 หัวบ้าง พระพุทธรูปลักษณะนี้มีอยู่ 2 องค์ องค์หนึ่งอยู่ในเจดีย์นครปฐม อีกองค์หนึ่งอยู่กับ พระครูภาวนากิจโกศล (หลวงปู่สอ พันธุโล) วัดป่าบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร

    ขณะที่หลวงปู่สอ พันธุโล จำพรรษา และฝึกสมาธิอยู่ที่วัดป่าบ้านตาด ได้นิมิตเห็นงูใหญ่สีทองเลื้อยเข้ามาในกุฏิ แล้วดันตัวท่านลอยขึ้นไป ขดลำตัวเป็นวงกลมซึ่งเป็นนิมิตเริ่มต้นที่จะได้มาซึ่งพระพุทธสิริสัตตราช (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์) องค์จริงในช่วงพรรษาที่ 2 ต่อมาในพรรษาที่ 6 ขณะทำสมาธิได้ยินเสียงปรากฎในตัวท่านว่า สิ่งที่ปรากฎกับในพรรษาที่ 2 นั้นจะเป็นเครื่องหมายของท่าน ในพรรษาที่ 8 จะตกทอดลงมาจากอากาศ หรือบางทีอาจจะมีคนเขาเก็บไว้แล้วนำมาถวายในวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9

    พอล่วงเข้าพรรษาที่ 8 ตรงกับวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ท่านกำลังนึกถึงนิมิตที่เกิดขึ้นกับท่าน ในช่วงพรรษาที่ 2 และ พรรษาที่ 6 อยู่ว่าอะไรหนอคือสิ่งที่เราจะได้รับ ขณะนั้นท่านได้เห็นคนแต่งชุดเขียว มีผ้าเคลียบ่าสีเขียว ใส่กำไลแขน ในมือถือพิณสามสายมาด้วย สงสัยว่าจะเป็นพระจันทร์ และได้ยินเสียง พูดเบา ๆ ว่า กำลังมานะ กำลังมา...ไม่นานก็เห็นรถบรรทุกวิ่งเข้ามาจอดในบริเวณวัดมีโยมผู้ชาย ถือห่อผ้าขาวและโยมผู้หญิงถือขันดอกไม้ตรงมาที่กุฏิหลวงปู่ และได้ถวายห่อผ้าขาวแก่หลวงปู่ สิ่งที่ปรากฎในนิมิตภาพที่ปรากฎต่อหน้าหลวงปู่ คือ พระพุทธรูปโสภณปางนาคปรกมีลักษณะแปลกกว่าที่เคยเห็น คือ มีนาค 7 ตัว 7 หัว ขนาดของพระพุทธรูป หน้าตักประมาณ 9 นิ้ว สูงประมาณ 15 นิ้ว ผิวออกคล้ำเป็นมัน ซึ่งโยมผู้ชายได้เล่าให้ฟังว่า พระพุทธรูปองค์นี้ไม่ทราบว่ามาจากไหน เป็นของโยมพ่อและโยมพี่ชาย จนกระทั่งตกมาถึงตนซึ่งหลังแต่งงานแล้ว ภรรยาของตน มักได้ยินว่าบ่อย ๆ ว่า พระพุทธรูปองค์นี้มิใช่ของเราให้ไปถวายพระอาจารย์วัดป่า พระพุทธสิริสัตตราช จึงตกเป็นสมบัติของหลวงปู่สอ สืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้

    หลวงปู่สอได้ทำพระพุทธรูปองค์นี้ไปให้พระอาจารย์มหาบัวดู ท่านพิจารณาแล้วท่านว่า เป็นของดีแท้ๆ รักษาให้ดีๆ หลวงปู่ขาวก็เช่นเดียวกัน ท่านบอกว่าเป็นของดีจริงๆ พอตกกลางคืนจะมีแสงปรากฎสว่างรุ่งเรือง ออกมาจากองค์พระ มีอยู่คืนหนึ่งช้างป่ามาที่กุฏิของท่าน สามารถมองเห็นช้างป่าได้จากแสงสว่างของพระพุทธรูปองค์นี้ หลวงปู่ฝั้น ก็บอกว่าของดีจริง ๆ รักษาไว้ให้ดีนะ ร้อยองค์พันองค์ ก็ไม่มีองค์หนึ่งนะที่เกิดจากสมาธิอย่างนี้

    มีอยู่ครั้งหนึ่ง หลวงปู่สอท่านถวายนาม เรียกท่านว่าหลวงพ่อนาค เพราะเห็นว่ามีนาค 7 ตัว 7 หัวบ้าง ต่อมา หลวงปู่สอ ได้ยินเสียง พูดขึ้นมาเบา ๆ ว่า เราไม่ได้ชื่อนาคนะ เราคือสัจจธรรม ให้เรียกเราว่า หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ อายุ 800 ปีเศษ แต่ไม่ยอมบอกว่ามาจากที่ไหน และใครเป็นผู้สร้าง บอกแต่เพียงว่ามาอยู่ในประเทศไทยครั้งแรกที่นครปฐม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 8p.jpg
      8p.jpg
      ขนาดไฟล์:
      169.7 KB
      เปิดดู:
      156
  20. PALA 5

    PALA 5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2014
    โพสต์:
    293
    ค่าพลัง:
    +822
    ปกติผมสวดมนต์ด้วยบท
    -บทกราบพระรัตนตรัย บทไตรสรณคมน์ บทถวายพรพระ (อิติปิโส)
    -พระคาถามหาทิพยมนต์แห่งคณะพระโลกอุดร
    -พระคาถามหาจักรพรรดิ์
    -บทกะระณียะเมตตะสุตตัง

    ประวัติ หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างให้

    สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวด เป็นที่รู้จักของชาวไทยทุกภูมิภาคในฐานะพระศักดิ์สิทธิ์ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์และอภิญญาแก่กล้าจนได้สมญาว่า “หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” ประวัติอันพิสดารของท่านมีเล่าสืบกันมาไม่รู้จบสิ้น ยิ่งนานวันยิ่งซับซ้อนและขยายวงกว้างออกไปกลายเป็นความเชื่อความศรัทธาอย่างฝังใจ

    หลวงปู่ทวดเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ เรื่องราวต่อไปนี้ผู้เขียนได้รวบรวมจากหนังสืออ้างอิงหลายเล่มทั้งที่เป็นตำนานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หนังสือและเอกสารต่างๆ พอจะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า หลวงพ่อทวดคือใคร เกิดในสมัยใดและได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาไว้อย่างไรบ้าง เพื่อเป็นคติเตือนใจแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป

    ทารกอัศจรรย์

    เมื่อประมาณสี่ร้อยปีที่ผ่านมาในตอนปลายรัชสมัยของพระมหาธรรมราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา ณ หมู่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระตรงกับวันศุกร์ เดือนสี่ ปีมะโรง พุทธศักราช 2125 ได้มีทารกเพศชายผู้หนึ่งถือกำเนิดจากครอบครัวเล็กๆ ฐานะยากจนแร้นแค้น แต่มีจิตอันเป็นกุศล ชอบทำบุญสุนทานยึดมั่นในศีลธรรมอันดี ปราศจากการเบียดเบียนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ทารกน้อยผู้

    นี้มีนายว่า “ปู” เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ในขณะเยาว์วัย ทารกผู้นั้นยังความอัศจรรย์ให้แก่บิดามารดาตลอดจนญาติพี่น้องทั้งหลาย ด้วยอยู่มาวันหนึ่งมีงูตระบองสลาตัวใหญ่มาขดพันอยู่รอบเปลที่ทารกน้อยนอนหลับอยู่ และงูใหญ่ตัวนั้นไม่ยอมให้ใครเข้ามาใกล้เปลที่ทารกน้อยนอนอยู่เลย จนกระทั่งบิดามารดาของเด็กเกิดความสงสัยว่า พญางูตัวนั้นน่าจะเป็นเทพยดาแปลงมาเพื่อให้เห็นเป็นอัศจรรย์ในบารมีของลูกเราเป็นแน่แท้ จึงรีบหาข้าวตอกดอกไม้และธูปเทียนมาบูชาสักการะ งูใหญ่จึงคลายลำตัวออกจากเปลน้อย เลื้อยหายไป ต่อมาเมื่อพญางูจากไปแล้ว บิดามารดาทั้งญาติต่างพากันมาที่เปลด้วยความห่วงใยทารก ก็ปรากฏว่าเด็กชายปูยังคงนอนหลับอยู่เป็นปกติ แต่เหนือทรวงอกของทารกกลับมีดวงแก้วดวงหนึ่งมีแสงรุ่งเรืองเป็นรัศมีหลากสี ตาหู นางจันทร์จึงเก็บรักษาไว้ นับแต่บัดนั้นฐานะความเป็นอยู่การทำมาหากินก็จำเริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับอยู่สุขสบายตลอดมา

    สามีราโม

    เมื่อกาลล่วงมานานจนเด็กชายปูอายุได้เจ็ดขวบ บิดาได้นำไปฝากสมภารจวง วัดกุฏิหลวง (วัดดีหลวง) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือเด็กชายปูมีความเฉลียวฉลาดมาก สามารถเรียนหนังสือขอมและไทยได้อย่างรวดเร็ว ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็บรรพชาเป็นสามเณรและบิดาได้มอบแก้ววิเศษไว้เป็นของประจำตัว ต่อมาสามเณรปูได้ไปศึกษาต่อกับสมเด็จพระชินเสน ที่วัดสีหยัง (สีคูยัง) ครั้นอายุครบอุปสมบทจึงได้เดินทางไปศึกษาต่อที่นครศรีธรรมราช ณ สำนักพระมหาเถระปิยทัสสี ได้ทำการอุปสมบทมีฉายาว่า “ราโม ธมฺมิโก” แต่คนทั่วไปเรียกท่านว่า “เจ้าสามีราม” หรือ “เจ้าสามีราโม” เจ้าสามีรามได้ศึกษาอยู่ที่วัดท่าแพ วัดสีมาเมือง และวัดอื่นๆ อีกหลายวัด เมื่อเห็นว่าการศึกษาที่นครศรีธรรมราชเพียงพอแล้วจึงขอโดยสารเรือสำเภาเดินทางไปกรุงศรีอยุธยา ขณะเดินทางถึงเมืองชุมพร เกิดคลื่นทะเลปั่นป่วน เรือไม่สามารถแล่นฝ่าคลื่นลมไปได้ต้องทอดสมออยู่ถึงเจ็ดวัน ทำให้เสบียงอาหารและน้ำหมดบรรดาลูกเรือตั้งข้อสงสัยว่าการที่เกิดเหตุอาเพศในครั้งนี้เพราะเจ้าสามีราม จึงตกลงใจให้ส่งเจ้าสามีรามขึ้นเกาะและได้นิมนต์ให้เจ้าสามีรามลงเรือมาด ขณะที่นั่งอยู่ในเรือมาดนั้น ท่านได้ห้อยเท้าแช่ลงไปในทะเลก็บังเกิดอัศจรรย์น้ำทะเลบริเวณนั้นเป็นประกายแวววาวโชติช่วง

    เจ้าสามีรามจึงบอกให้ลูกเรือตักน้ำขึ้นมาดื่มก็รู้สึกว่าเป็นน้ำจืด จึงช่วยกันตักไว้จนเพียงพอ นายสำเภาจึงนิมนต์ให้ท่านขึ้นสำเภาอีก และตั้งแต่นั้นมาเจ้าสามีรามก็เป็นชีต้นหรืออาจารย์สืบมา

    เมื่อถึงกรุงศรีอยุธยา ก็ได้ไปพำนักอยู่ที่วัดแค ศึกษาธรรมะที่ วัดลุมพลีนาวาส ต่อมาได้ไปพำนักอยู่ที่วัดของสมเด็จพระสังฆราช ได้ศึกษาธรรมและภาษาบาลี ณ ที่นั้นจนเชี่ยวชาญจึงทูลลาสมเด็จพระสังฆราชไปจำพรรษาที่วัดราชนุวาส เมื่อประมาณ พ.ศ. 2149 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ

    รบด้วยปัญญา

    กระทั่งวันหนึ่งถึงกาลเวลาที่ชื่อเสียงของหลวงปู่ทวดหรือเจ้าสามีรามจะระบือลือลั่นไปทั่วกรุงสยาม จึงได้มีเหตุพิสดารอุบัติขึ้นในรัชสมัยของพระเอกาทศรถ กล่าวคือ สมัยนั้นพระเจ้าวัฏฏะคามินี แห่งประเทศลังกา ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรแหลมทองทางภาคใต้ คิดแก้มือด้วยการท้าพนันแปลธรรมะ และต้องการจะแผ่พระบรมเดชานุภาพมาทางแหลมทอง ใคร่จะได้กรุงศรีอยุธยามาเป็นประเทศราช แต่พระองค์ไม่ปรารถนาให้เกิดศึกสงครามเสียชีวิตแก่ประชาชนทั้งสองฝ่าย จึงทรงวางแผนการเมืองด้วยสันติวิธี คิดหาทางรวบรัดเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้นด้วยสติปัญญาเป็นสำคัญ เมื่อคิดได้ดังนั้น พระเจ้ากรุงลังกาจึงมีพระบรมราชโองการสั่งให้พนักงาน ท้องพระคลังเบิกจ่ายทองคำบริสุทธิ์แล้วให้ช่างทองประจำราชสำนักไปหล่อ ทองคำเหล่านั้นให้เป็นตัวอักษรบาลีเล็กเท่าใบมะขาม ตามพระอภิธรรมทั้งเจ็ดคัมภีร์ จำนวน 84,000 ตัว จากนั้นก็ทรงรับสั่งให้พราหมณ์ผู้เฒ่าอันมีฐานะเทียบเท่าปุโรหิตจำนวนเจ็ดท่านคุมเรืองสำเภาเจ็ดลำบรรทุกเสื้อผ้าแพรพรรณ และของมีค่าออกเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับปริศนาธรรมของพระองค์

    เมื่อพราหมณ์ทั้งเจ็ดเดินทางลุล่วงมาถึงกรุงสยามแล้วก็เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นของกษัตริย์ตนแก่พระเจ้าเอกาทศรถ มีใจความในพระราชสาส์นว่าพระเจ้ากรุงลังกาขอท้าให้พระเจ้ากรุงสยามทรงแปลและเรียบเรียงเมล็ดทองคำตามลำดับให้เสร็จภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับพระราชสาส์นนี้เป็นต้นไป ถ้าทรงกระทำไม่สำเร็จตามสัญญาก็จะยึดกรุงศรีอยุธยาให้อยู่ใต้พระบรมเดชานุภาพของพระองค์ และทางกรุงสยามจะต้องส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองอีกทั้งเครื่องราชบรรณาการแก่กรุงลังกาตลอดไปทุกๆ ปีเยี่ยงประเทศราชทั้งหลาย

    พระสุบินนิมิต

    เมื่อพระเอกาทศรถทรงทราบความ ดังนั้น จึงมีพระบรมราชโองการให้สังฆการีเขียนประกาศนิมนต์พระราชาคณะและพระเถระทั่วพระมหานคร ให้กระทำหน้าที่เรียบเรียงและแปลตัวอักษรทองคำในครั้งนี้ แต่ก็ไม่มีท่านผู้ใดสามารถเรียบเรียงและแปลอักษรทองคำในครั้งนี้ได้จนกาลเวลาลุล่วงผ่านไปได้หกวัน ยังความปริวิตกแก่พระองค์และไพร่ฟ้าประชาชนต่างพากันโจษขานถึงเรื่องนี้ให้อื้ออึงไปหมด

    ครั้นราตรีกาลยามหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้าพระบรรทมทรงสุบินว่า ได้มีพระยาช้างเผือกลักษณะบริบูรณ์เฉกเช่นพระยาคชสารเชือกหนึ่ง ผายผันมาจากทางทิศตะวันตก เยื้องย่างเข้ามาในพระราชนิเวศน์แล้วก้าวเข้าไปยืนผงาดตระหง่านบนพระแท่นพลางเปล่งเสียงโกญจนาทกึกก้องไปทั่วทั้งสี่ทิศ เสียงที่โกญจนาทด้วยอำนาจของพระยาคชสารเชือกนั้นยังให้พระองค์ทรงสะดุ้งตื่นจากพระบรรทม

    รุ่งเช้าเมื่อพระองค์เสด็จออกว่าราชการ ได้ทรงรับสั่งถึงพระสุบินนิมิตประหลาดให้โหรหลวงฟังและได้รับการกราบถวายบังคมทูลว่า เรื่องนี้หมายถึงชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์และพระบรมเดชานุภาพจะแผ่ไพศาลไปทั่วสารทิศเป็นที่เกรงขามแก่อริราชทั้งปวง ทั้งจะมีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งจากทางทิศตะวันตก มาช่วยขันอาสาแปลและเรียบเรียงตัวอักษรทองคำปริศนาได้สำเร็จ พระเจ้าอยู่หัวได้ฟังดังนั้นจึงค่อยเบาพระทัย และรับสั่งให้ข้าราชบริพารทั้งมวลออกตามหาพระภิกษุรูปนั้นทันที

    อักษรเจ็ดตัว

    ต่อมาสังฆการีได้พยายามเสาะแสวงหาจนไปพบ “เจ้าสามีราม” ที่วัดราชานุวาส และเมื่อได้ไต่ถามได้ความว่าท่านมาจากเมืองตะลุง (พัทลุงในปัจจุบัน) เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย สังฆการี จึงเล่าความตามเป็นจริงให้เจ้าสามีรามฟังทั้งได้อ้างตอนท้ายว่า “เห็นจะมีท่านองค์เดียวที่ตรงกับพระสุบินของพระเจ้าอยู่หัว จึงใคร่ขอนิมนต์ให้ไปช่วยแก้ไขในเรื่องร้ายดังกล่าวให้กลายเป็นดี ณ โอกาสนี้” ครั้นแล้วเจ้าสามีรามก็ตามสังฆการีไปยังที่ประชุมสงฆ์ ณ ท้องพระโรง พระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้พนักงานปูพรมให้ท่านนั่งในที่อันควร พราหมณ์ทั้งเจ็ดคนได้ประมาทเจ้าสามีรามโดยว่า เอาเด็กสอนคลานมาให้แก้ปริศนา เจ้าสามีรามก็แก้คำพราหมณ์ว่า กุมารเมื่ออกมาแต่ครรภ์พระมารดา กี่เดือนกี่วันจึงรู้คว่ำ กี่เดือนกี่วันจึงรู้นั่ง กี่เดือนกี่วันจึงรู้คลาน จะว่ารู้คว่ำแก่ หรือจะว่ารู้นั่งแก่ หรือจะว่ารู้คลานแก่ ทำไมจึงว่าเราจะแก้ปริศนาธรรมมิได้ พราหมณ์ก็นิ่งไปไม่สามารถตอบคำถามท่านได้ จากนั้นจึงรีบนำบาตรใส่อักษรทองคำเข้าไปประเคนแก่เจ้าสามีราม

    ท่านรับประเคนมาจากมือพราหมณ์แล้วนั่งสงบจิตอธิษฐานว่า “ขออำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อนและอำนาจเทพยดาที่รักษาพระนครตลอดถึงเทวดาอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบันดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่จะมาขัดขวาง ขอให้แปลพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าสำเร็จสมปรารถนาเถิด” ท่านรับประเคนมาจากมือพราหมณ์แล้วนั่งสงบจิตอธิษฐานว่า “ขออำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อนและอำนาจเทพยดาที่รักษาพระนครตลอดถึงเทวดาอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบันดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่จะมาขัดขวาง ขอให้แปลพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าสำเร็จสมปรารถนาเถิด”

    ครั้นแล้วท่านก็คว่ำบาตรเทอักษรทองคำเริ่มแปลปริศนาธรรมทันที ด้วยอำนาจบุญญาบารมี กฤษดาภินิหารของท่านที่ได้จุติลงมาเป็นพระโพธิสัตว์โปรดสัตว์ในพระพุทธศาสนา กอปรกับโชคชะตาของประเทศชาติที่จะไม่เสื่อมเสียอธิปไตย เดชะบุญญาบารมีในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทพยาดาทั้งหลายจึงดลบันดาลให้ท่านเรียบเรียงและแปลอักษรจากเมล็ดทองคำ 84,000 ตัว เป็นลำดับโดยสะดวกไม่ติดขัดประการใดเลย

    ขณะที่ท่านเรียบเรียงและแปลอักษรไปได้มากแล้ว ปรากฏว่าเมล็ดทองคำตัวอักษรขาดหายไปเจ็ดตัวคือ ตัว สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ ท่านจึงทวงถามเอาที่พราหมณ์ทั้งเจ็ด พราหมณ์ทั้งเจ็ดก็ยอมจำนวน จึงประเคนเมล็ดทองคำที่ตนซ่อนไว้นั้นให้ท่านแต่โดยดี ปรากฏว่าท่านแปลพระไตรปิฎกจากเมล็ดทองคำสำเร็จบริบูรณ์เป็นการชนะพราหมณ์ในเวลาเย็นของวันนั้น

    พระราชมุนี

    สมเด็จพระเอกาทศรถทรงพระโสมนัสยินดีเป็นที่ยิ่ง ทรงมีรับสั่งถวายราชสมบัติให้แก่เจ้าสามีรามให้ครอง 7 วัน แต่ท่านก็มิได้รับโดยให้เหตุผลว่าท่านเป็นสมณะ พระองค์ก็จนพระทัยแต่พระประสงค์อันแรงกล้าที่จะสนองคุณความดีความชอบอันใหญ่ยิ่งให้แก่ท่านในครั้งนี้ จึงพระราชทานสมณศักดิ์ให้เจ้าสามีรามเป็น “พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์” ในเวลานั้น พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์หรือหลวงพ่อทวดได้ไปจำพรรษาอยู่ ณ วัดราชานุวาส ศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่เป็นเวลาหลายปี ด้วยความสงบร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา

    โรคห่าเหือดหาย

    ต่อจากนั้น กรุงศรีอยุธยาเกิดโรคห่าระบาดไปทั่วเมือง ประชาราษฎรล้มป่วยเจ็บตายลงเป็นอันมาก ประชาชนพลเมืองเดือดร้อนเป็นยิ่งนัก สมัยนั้นหยูกยาก็ไม่มี นิยมใช้รักษาป้องกันด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยพระเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตกกังวลมากเพราะไม่มีวิธีใดจะช่วยรักษาและป้องกันโรคนี้ได้ ทรงระลึกถึงพระราชมุนีฯ มีรับสั่งให้อำมาตย์ไปนิมนต์ท่านเจ้าเฝ้า ท่านได้ช่วยไว้อีกครั้งโดยรำลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัยและดวงแก้ววิเศษ แล้วทำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมแก่ประชาชนทั่วทั้งพระนคร โรคห่าก็หายขาดด้วยอำนาจ คุณความดีและคุณธรรมอันสูงส่ง ทำให้พระเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อนสมณศักดิ์ท่านขึ้นเป็นพระสังฆราชมีนามว่า “พระสังฆราชคูรูปาจารย์” และทรงพอพระราชหฤทัยในองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับทรงมีรับสั่งว่า “หากสมเด็จเจ้าฯ ประสงค์สิ่งใด หรือจะบูรณะวัดวาอารามใดๆ ข้าพเจ้าจะอุปถัมภ์ทุกประการ”

    กลับสู่ถิ่นฐาน

    ครั้นกาลเวลาล่วงไปหลายปี สมเด็จเจ้าฯได้เข้าเฝ้า ถวายพระพรทูลลาจะกลับภูมิลำเนาเดิม พระองค์ทรงอาลัยมาก ไม่กล้าทัดทานเพียงแต่ตรัสว่า “สมเด็จอย่าละทิ้งโยม” แล้วเสด็จมาส่งสมเด็จเจ้าฯ จนสิ้นเขตพระนครศรีอยุธยา

    ขณะที่ท่านรุกขมูลธุดงค์ สมเด็จเจ้าฯ ได้เผยแผ่ธรรมะไปด้วยตามเส้นทาง ผ่านที่ไหนมีผู้เจ็บป่วยก็ทำการรักษาให้ ตามแนวทางที่ท่านเดินพักแรมที่ใดนั้น ที่นั่นก็เกิดเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนในถิ่นนั้นได้ทำการเคารพสักการะบูชามาถึงบัดนี้ ได้แก่ที่บ้านโกฏิ อำเภอปากพนัง ที่หัวลำภูใหญ่ อำเภอหัวไทร และอีกหลายแห่ง

    สมเด็จเจ้าพะโคะ

    ต่อจากนั้น ท่านก็ได้ธุดงค์ไปจนถึงวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ อันเป็นจุดหมายปลายทาง ประชาชนต่างซึ่งชื่นชมยินดีแซ่ซ้องสาธุการต้อนรับท่านเป็นการใหญ่ และได้พร้อมกันถวายนามท่านว่า “สมเด็จเจ้าพะโคะ” และเรียกชื่อวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะว่า “วัดพะโคะ” มาจนบัดนี้ สมเด็จเจ้าฯ เห็นวัดพระโคะเสื่อมโทรมมาก เนื่องจากถูกข้าศึกทำลายโจรกรรม มีสภาพเหมือนวัดร้างสมเด็จเจ้าฯ กับท่านอาจารย์จวง คิดจะบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพะโคะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ ยินดีและอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง โปรดให้นายช่างผู้ชำนาญ 500 คน และทรงพระราชทานสิ่งของต่างๆ และเงินตราเพื่อการนี้เป็นจำนวนมาก ใช้เวลาประมาณ 3 ปี จึงแล้วเสร็จ สิ่งสำคัญในวัดพะโคะหรือ พระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งพระอรหันต์นามว่าพระมหาอโนมทัสสีได้เป็นผู้เดินทางไปอัญเชิญมาจากประเทศอินเดียสมเด็จเจ้าฯ ได้จำพรรษาเผยแผ่ธรรมที่วัดพะโคะอยู่หลายพรรษา

    เหยียบน้ำทะเลจืด

    ขณะที่สมเด็จเจ้าฯ จำพรรษาอยู่ ณ วัดพะโคะ ครั้งนี้คาดคะเนว่า ท่านมีอายุกาลถึง 80 ปีเศษ อยู่มาวันหนึ่งท่านถือไม้เท้าศักดิ์สิทธิ์ประจำตัวไม้เท้านี้มีลักษณะคดไปมาเป็น 3 คด ชาวบ้านเรียกว่า “ไม้เท้า 3 คด” ท่านออกจากวัดมุ่งหน้าเดินไปยังชายฝั่งทะเลจีน ขณะที่ท่านเดินพักผ่อนรับอากาศทะเลอยู่นั้น ได้มีเรือโจรสลัดจีนแล่นเลียบชายฝั่งมา พวกโจรจีนเห็นท่านเดินอยู่คิดเห็นว่าท่านเป็นคนประหลาดเพราะท่านครองสมณเพศ พวกโจรจึงแวะเรือเทียบฝั่งจับท่านลงเรือไป เมื่อเรือโจรจีนออกจากฝั่งไม่นาน เหตุมหัศจรรย์ก็ปรากฏขึ้น คือ เรือลำนั้นแล่นต่อไปไม่ได้ต้องหยุดนิ่งอยู่กับที่ พวกโจรจีนพยายามแก้ไขจนหมดความสามารถเรือก็ยังไม่เคลื่อน จึงได้จอดเรือนิ่งอยู่ ณ ที่นั้นเป็นเวลาหลายวันหลายคืน ในที่สุดน้ำจืดที่นำมาบริโภคในเรือก็หมดสิ้น จึงขาดน้ำจืดดื่มและหุงต้มอาหารพากันเดือดร้อนกระวนกระวายด้วยกระหายน้ำเป็นอย่างมาก สมเด็จเจ้าฯ ท่านเห็นเหตุการณ์ความเดือดร้อนของพวกโจรถึงขั้นที่สุดแล้ว ท่านจึงเหยียบกราบเรือให้ตะแคงต่ำลงแล้วยื่นเท้าเหยียบลงบนผิวน้ำทะเลทั้งนี้ย่อมไม่พ้นความสังเกตของพวกโจรจีนไปได้

    เมื่อท่านยกเท้าขึ้นจากพื้นน้ำทะเลแล้วก็สั่งให้พวกโจรตักน้ำตรงนั้นมาดื่มชิมดู พวกโจรจีนแม้จะไม่เชื่อก็จำเป็นต้องลองเพราะไม่มีทางใดจะช่วยตัวเองได้แล้ว แต่ได้ปรากฏว่าน้ำทะเลเค็มจัดที่ตรงนั้นแปรสภาพเป็นน้ำจืดเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก พวกโจรจีนได้เห็นประจักษ์ในคุณอภินิหารของท่านเช่นนั้น ก็พากันหวาดเกรงภัยที่จะเกิดแก่พวกเขาต่อไป จึงได้พากันกราบไหว้ขอขมาโทษแล้วนำท่านล่องเรือส่งกลับขึ้นฝั่งต่อไป

    เมื่อสมเด็จเจ้าฯ ขึ้นจากเรือเดินกลับวัด ถึงที่แห่งหนึ่งท่านหยุดพักเหนื่อย ได้เอา “ไม้เท้า 3 คด” พิงไว้กับต้นยางสองต้นอันยืนต้นคู่เคียงกัน ต่อมาต้นยางสองต้นนั้นสูงใหญ่ขึ้น ลำต้นและกิ่งก้านสาขาเปลี่ยนไปจากสภาพเดิกกลับคดๆ งอๆ แบบเดียวกับรูปไม้เท้าทั้งสองต้น ประชาชนในถิ่นนั้นเรียกว่าต้นยางไม้เท้า ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งปรากฏอยู่ถึงทุกวันนี้

    สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงปู่ทวดครองสมณเพศและจำพรรษาอยู่ที่วัดพะโคะ เป็นที่พึ่งของประชาราษฎร์มีความร่มเย็นเป็นสุข ได้ช่วยการเจ็บไข้ได้ทุกข์ บำรุงสุข เทศนาสั่งสอนธรรมของพระพุทธองค์ ประดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงพุทธศาสนิกชนตลอดมา

    สังขารธรรม

    หลังจากนั้นหลายพรรษา สมเด็จเจ้าฯ หายไปจากวัดพะโคะเที่ยวจาริกเผยแผ่ธรรมะไปหลายแห่ง จากหลักฐานทราบว่าท่านได้ไปพำนักที่เมืองไทรบุรี ชาวบ้านเรียกท่านว่า “ท่านลังกา” และได้ไปพำนักที่วัดช้างไห้ ชาวบ้านเรียกท่านว่า “ท่านช้างให้” ดังนี้ ท่านได้สั่งแก่ศิษย์ว่าหากท่านมรณภาพเมื่อใด ขอให้ช่วยกันจัดการหามศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ด้วย ขณะหามศพพักแรมนั้น ณ ที่ใดน้ำเหลืองไหลลงสู่พื้นดิน ที่ตรงนั้นให้เอาเสาไม้แก่นปักหมายไว้ต่อไปข้างหน้าจะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่มาไม่นานเท่าไร ท่านก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชรา ปวงศาสนิกก็นำพระศพมาไว้ที่วัดช้างให้ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี สถานที่ที่สมเด็จเจ้าฯ เคยพำนักอยู่ หรือไปมา นับได้ดังนี้ วัดกุฎิหลวง วัดสีหยัง วัดเสมาเมือง นครศรีธรรมราช กรุงศรีอยุธยา วัดพะโคะ วัดเกาะใหญ่ วัดในไทรบุรี และวัดช้างให้

    ปัจฉิมภาค

    สมเด็จเจ้าฯ ในฐานะพระโพธิสัตว์หน่อพระพุทธภูมิ ผู้ทรงศีลวิสุทธิทรงธรรมและปัญญาญาณอันล้ำเลิศ กอปรด้วยกฤษดาภินิหารและปาฏิหาริย์ไม่ว่าท่านจะพำนักอยู่สถานที่ใด ที่นั่นจะเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไม่ว่าท่านจะจาริกไป ณ ที่ใด ก็จะมีคนกราบไหว้ฟังธรรม หลักการปฏิบัติของท่านเป็นหลักสำคัญของพระโพธิสัตว์คือช่วยเหลือประชาชนและเผยแพร่ธรรมะให้ชาวโลกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีความเคารพเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ สมดังคำว่า “พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ” ตลอดไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...