ร่วมบุญโดยเสด็จพระราชกุศลผ่านมูลนิธิพระดาบส

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย :::เพชร:::, 19 กรกฎาคม 2008.

  1. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    “… ขณะนี้ยังมีบุคคลอีกเป็นจำนวนมากที่มีความตั้งใจจริงมีศรัทธาขวนขวายหาความรู้ เป็นวิชาชีพใส่ตน แต่ประสบปัญหาไม่มีความรู้พื้นฐาน และไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอ ที่จะเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาวิชาชีพระดับต่างๆ ได้ หากมีช่องทางช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้ ให้มีความรู้วิชาชีพที่เขาปรารถนา ย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ …”<O:p</O:p

    กระแสพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


    คณะกรรมการกิตติมศักดิ์และคณะกรรมการบริหาร<O:p</O:p


    มูลนิธิพระดาบส <O:p</O:p

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ประธานกรรมการกิตติมศักดิ์ <O:p</O:p

    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
    รองประธานกรรมการกิตติมศักดิ์ <O:p</O:p

    พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์ ที่ปรึกษา<O:p</O:p
    พลอากาศตรี กำธน สินธวานนท์ ประธานกรรมการ<O:p</O:p
    นายอาสา สารสิน กรรมการ<O:p</O:p
    คุณหญิงวัลลีย์ พงษ์พานิช กรรมการ<O:p</O:p
    นายวีระ รอดเรือง กรรมการ<O:p</O:p
    นายแก้วขวัญ วัชโรทัย กรรมการ และเหรัญญิก<O:p</O:p
    นายเกษม วัฒนชัย กรรมการ และเลขาธิการ<O:p</O:p

    ประวัติความเป็นมาของมูลนิธิพระดาบส <O:p</O:p

    ความเป็นมา<O:p</O:p
    โครงการพระดาบสเป็นโครงการตามกระแสพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งขึ้นเมื่อปี 2518 มีวัตถุ ประสงค์เพื่อสนับสนุนผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ยังไม่มีอาชีพ และความรู้พื้นฐานเพียงพอที่จะเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาขั้นสูง หากแต่มีความยินดีสนใจใฝ่ศึกษาและมีความเพียรอย่างจริงจังให้ได้รับโอกาสฝึกวิชาชีพ และฝึกอบรมคุณธรรมศีลธรรมโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เขาเหล่านั้น ออกไปประกอบสัมมาอาชีวะ สร้างตนเอง ช่วยเหลือครอบครัว และ และประเทศชาติ
    <O:p</O:p
    เมื่อปี 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน กระแสพระราชดำริให้ดำเนินการทดลองเปิดหลักสูตรวิชาช่างไฟฟ้า วิทยุ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นทุนประเดิมในการดำเนินโครงการและต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตจดทะเบียนจัดตั้งเป็นมูลนิธิพระดาบสตามกฎหมายเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ . ศ . 2533 <O:p</O:p

    แนวคิดในการบริหาร <O:p</O:p
    • ดำเนินการในรูปแบบของการศึกษานอกระบบ
    • ไม่เป็นเชิงพาณิชย์ แต่เป็นการกุศลอย่างแท้จริง
    • ผู้เข้ารับการอบรม ไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ให้ปรนนิบัติครูอาจารย์ เป็นการตอบแทน <O:p</O:p

    หน่วยบริหาร <O:p</O:p
    • โรงเรียนพระดาบส
    • โครงการลูกพระดาบสจังหวัดสมุทรปราการ
    • สำนักงานมูลนิธิพระดาบส <O:p</O:p

    โรงเรียนพระดาบส<O:p</O:p

    เริ่มเปิดหลักสูตรวิชาชีพช่างไฟฟ้า วิทยุ โทรทัศน์ เมื่อปี 2519 ต่อมาได้เปิดหลักสูตรวิชาชีพช่างยนต์ (ปี 2521) หลักสูตรวิชาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์ (ปี 2543) หลักสูตรวิชาชีพการเกษตรพอเพียง (ปี 2544) และในปีการศึกษา 2547 เปิดหลักสูตรใหม่เพิ่มเติม 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิชาชีพช่างซ่อมบำรุง และหลักสูตรวิชาชีพผู้ดูแลงานบ้าน (หญิง) จนกระทั่งปัจจุบันมีผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนพระดาบสแล้ว จำนวน 589 คน
    <O:p</O:p
    ในปัจจุบันโรงเรียนพระดาบสเปิดสอนหลักสูตร 1 ปี ใน 6 หลักสูตรประกอบด้วย<O:p</O:p
    • หลักสูตรวิชาชีพช่างไฟฟ้า
    • หลักสูตรวิชาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์ ( คอมพิวเตอร์ )
    • หลักสูตรวิชาชีพช่างยนต์
    • หลักสูตรวิชาชีพการเกษตรพอเพียง
    • หลักสูตรวิชาชีพช่างซ่อมบำรุง
    • หลักสูตรวิชาชีพผู้ดูแลงานบ้าน <O:p</O:p

    การจัดการเรียนการสอนประกอบด้วย<O:p</O:p
    ดาบสอาสา คือ ครูอาจารย์อาสาสมัครที่ปฏิบัติหน้าที่โดย เสด็จพระราชกุศลตามโครงการนี้ เป็นผู้มีกุศลเจตนาที่จะถ่าย ทอดความรู้นี้ และประสบการณ์ ต่างๆ เป็นวิทยาทานโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น ต้องเป็นผู้ดำเนินชีวิตในทางที่ชอบเจริญด้วยพรหมวิหารธรรม<O:p</O:p

    ศิษย์พระดาบส คือ นักเรียนที่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจและมีความเพียร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงจำกัดเพศ วัย ศาสนา ถิ่นฐานที่อยู่ หรือวุฒิแต่อย่างใด เพียงอ่านออกเขียนได้ก็เพียงพอ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการอบรมสั่งสอนให้พัฒนาจิตใจแก่ศิษย์พระดาบส ได้แก่ การฝึกให้มีสติ ระลึกรู้ในศีลสำรวม ดำเนินชีวิตในทางที่ชอบที่ควร เป็นผู้มีศีลธรรม มีความประพฤติเรียบร้อยเป็นพลเมืองดี ควบคู่ไปกับความรู้ทางวิชาชีพด้วยปัจจุบันสามารถรับศิษย์พระดาบสประมาณ 150 คน ต่อปี <O:p</O:p

    โครงการลูกพระดาบสจังหวัดสมุทรปราการ <O:p</O:p
    ตั้งอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ บนเนื้อที่ 328 ไร่ เพื่อทำการเกษตร แบบผสมผสานในลักษณะพึ่งพาตนเอง ตามแนวพระราชดำริโดยดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรสามารถ สร้างรายได้เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน ของโรงเรียนพระดาบสและมูลนิธิพระดาบสตลอดจนเป็นสถานที่ฝึกอบรม ศึกษาดูงานของนักเรียนพระดาบส นักศึกษา เกษตรกร และประชาชนทั่วไป<O:p</O:p

    ท่านสามาถติดตามรายละเอียดในโครงการพระดาบสได้ตาม link นี้
    http://www.onec.go.th/coleg/dabot/dabot1.htm
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • king3.gif
      king3.gif
      ขนาดไฟล์:
      54.8 KB
      เปิดดู:
      83
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กรกฎาคม 2008
  2. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    การร่วมบุญโดยเสด็จพระราชกุศลนี้ท่านสามารถร่วมด้วยช่วยกันโดยโอนปัจจัยไปที่มูลนิธิพระดาบสได้โดยตรงตามเบอร์บัญชีด้านล่างนี้ตั้งแต่ ๑ สลึง ๒ สลึง ๑ บาท ๒ บาท ๑๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๑๐,๐๐๐ บาท หรือมากกว่านั้นก็ตามแต่กำลังศรัทธา ตามกำลังทรัพย์ ตามกำลังใจ และตามสบาย จากนั้นขอให้ท่านปฏิบัติดังนี้<O:p</O:p

    ๑) จดหมาย หรือโทรศัพท์แจ้งชื่อที่อยู่ของท่านให้กับเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิพระดาบสทราบความประสงค์ว่าท่านได้โอนเงินเพื่อสมทบทุนมูลนิธิพระดาบสจำนวนเงินเท่าไหร่ วันที่ท่านโอนเงิน และท่านต้องการจะขอรับใบอนุโมทนาบัตร หรือใบเสร็จรับเงินที่ทางมูลนิธิจะออกให้แก่ผู้บริจาคสมทบทุนมูลนิธิพระดาบสเพื่อสามารถจะนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษีนี้<O:p</O:p

    ๒) ทางมูลนิธิไม่มีส่วนรู้เห็นการมอบพระพิมพ์พระฤาษีวาสุเทพ และสุกกทันตฤาษี กรุลำพูนแต่ประการใด ดังนั้นท่านไม่จำเป็นต้องเอ่ยขอบูชาพระเครื่องนี้จากทางมูลนิธิแต่อย่างไร ขอให้แยกส่วนการดำเนินการ<O:p</O:p

    ๓) เมื่อท่านดำเนินการตามข้อ ๑ แล้ว และเข้าใจในข้อ ๒ แล้ว ขอให้ท่าน PM แจ้งชื่อที่อยู่ของท่านมาทาง PM ผม โดยที่"ท่านต้องดำเนินการ ๒ ไม่"ดังนี้<O:p</O:p

    -ไม่ต้องแจ้งจำนวนเงินที่ท่านทำบุญกับมูลนิธิพระดาบสกับผมแต่อย่างใด<O:p</O:p

    -ไม่ต้อง scan ใบ pay-in slip ให้ผมดูแต่อย่างใด<O:p</O:p

    ด้วยอานิสงค์การร่วมบุญโดยเสด็จพระราชกุศลผ่านมูลนิธิพระดาบสนี้ ขอให้ผู้ร่วมบุญเกาะกระแสบารมีกับองค์ในหลวงเป็นผู้ที่มีสุขภาพกายสุขภาพใจที่สมบูรณ์แข็งแรงไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรค ขอให้มีแสงสว่างแห่งปัญญาเห็นโอกาสทุกครั้งที่พบกับปัญหา และอุปสรรค






    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=615 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center bgColor=#ded321 colSpan=13 rowSpan=2>[​IMG]</TD><TD vAlign=top width=19 height=16><!--DWLayoutEmptyCell--></TD><TD width=14></TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#b6a90a rowSpan=11><!--DWLayoutEmptyCell--></TD><TD height=40></TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#ded321 colSpan=2 rowSpan=10>[​IMG]</TD><TD vAlign=center align=middle bgColor=#ffcc00 colSpan=10 height=23>หน้าแรก | พระราชดำริ | ประวัติ | โรงเรียนพระดาบส | สำนักงานมูลนิธิ | บริจาค</TD><TD vAlign=top width=58 bgColor=#ded321 rowSpan=10>[​IMG]</TD><TD></TD></TR><TR><TD width=42 height=20></TD><TD width=37></TD><TD width=39></TD><TD width=65></TD><TD width=33></TD><TD width=63></TD><TD width=72></TD><TD width=45></TD><TD width=42></TD><TD width=28></TD><TD></TD></TR><TR><TD height=21></TD><TD></TD><TD></TD><TD></TD><TD vAlign=center bgColor=#f7ef73 colSpan=2>
    การบริจาค​
















    </TD><TD></TD><TD></TD><TD></TD><TD></TD><TD></TD></TR><TR><TD height=13></TD><TD></TD><TD></TD><TD></TD><TD></TD><TD></TD><TD></TD><TD></TD><TD></TD><TD></TD><TD></TD></TR><TR><TD height=172></TD><TD vAlign=top colSpan=8>การบริจาคเงินเพื่อโดยเสด็จพระราชกุศล

    สมทบทุน มูลนิธิพระดาบสสามารถทำได้โดยวิธีดังต่อไปนี้

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1011249.JPG
      P1011249.JPG
      ขนาดไฟล์:
      230.5 KB
      เปิดดู:
      116
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กรกฎาคม 2008
  3. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    สมัยโบราณตั้งแต่ก่อนพุทธกาลการร่ำเรียนหนังสือตำรับตำราต้องเดินทางไปยังสำนักของพระฤาษี พระดาบสสายต่างๆผมจึงเห็นว่าการร่วมบุญนี้เหมือนให้แสงสว่างแห่งปัญญากับผู้คนที่องค์ในหลวงสงเคราะห์การร่วมบุญโดยเสด็จพระราชกุศลนี้จึงเป็นบุญที่มีอานิสงค์ที่สูงมาก ให้โอกาสผู้คนเหมือนสร้างโอกาสให้ตัวเราให้ความรู้ผู้คนก็เป็นปัจจัยให้เราเป็นผู้มีปัญญาโดยเฉพาะสามารถอบรมสั่งสอนให้เข้าถึงทางธรรมได้โดยง่าย มีทิพจักขุญาณแจ่มใส มองเห็นหนทางพระนิพพาน และมุ่งปฏิบัติจนกว่าจะเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน บุญโดยเสด็จพระราชกุศลก็เหมือนการเร่งบารมีเราเป็น ๒ เท่า ๓ เท่าหรือมากกว่านั้นตามกำลังใจของเรา กำลังใจมากก็ได้มาก กำลังใจน้อยก็ได้น้อย ซึ่งไม่ได้ไปเกี่ยวกับจำนวนเงินแต่อย่างใดหากกำลังบุญก็ไม่เพียงพอ อีกทั้งมองไปทางไหนก็ยังเห็นหนทางกรรมอีกมากมายแต่หากเกาะกระแสบุญบารมีขององค์พ่อหลวงย่อมรวดเร็วกว่าแน่นอนครับท่านสามารถร่วมบุญกับทุกโครงการโดยพระราชดำริได้ทุกโครงการไม่จำต้องเฉพาะมูลนิธิพระดาบสแห่งเดียวเท่านั้นครับแต่ครั้งนี้ ..พรรษานี้..เราจะสร้างบารมีด้านปัญญากัน ผมจึงเลือกมูลนิธิพระดาบสโดยนำพระเครื่องพระฤาษีวาสุเทพและสุกกทันตฤาษีของลำพูนอายุ ๕๐๐-๗๐๐ ปีมาให้ร่วมบุญกันเพียง ๖๐ องค์ ๖๐ ท่านเท่านั้น ท่านจะโอนปัจจัยไปเข้ามูลนิธิพระดาบสโดยตรงเท่าใดก็ได้ไม่ว่าจะเป็น ๑ สลึง.. ๒ สลึง.. ๑ บาท.. ๒ บาท.. หรือ ๑,๐๐๐บาท.. หรือ ๑๐,๐๐๐ บาท.. หรือมากกว่านั้น.. ผมก็จะมอบพระเครื่องนี้ให้เพียงท่านละ ๑ องค์ และแม้ว่าท่านจะร่วมบุญกี่ครั้งก็ตามก็สามารถรับสิทธิ์นี้ได้เพียง ๑ องค์เท่านั้นครับ อยากให้ตัดเรื่องความละโมบออกไปให้หมด อยากให้ทุกท่านรู้สึกว่าได้เกาะเกี่ยวกระแสบารมีของพระองค์ท่านมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ปัจจัยไม่ใช่องค์ประกอบที่สำคัญ เพียง ๑ สลึงหากท่านคิดจะให้ก็ถือว่าท่านให้แล้ว หัวใจสำคัญของงานบุญนี้คือ ละกิเลสความอยากได้ออกไปก่อนร่วมบุญนี้ ทำใจให้สะอาดตั้งใจว่าบุญครั้งนี้เป็นบุญที่ข้าพเจ้าได้ตั้งใจสละทรัพย์ที่หามาได้อย่างบริสุทธิ์ ตั้งใจร่วมบุญโดยเสด็จพระราชกุศลเพื่อมูลนิธิพระดาบสของพระองค์ท่าน ขอพระองค์ท่าน และทวยเทพเทวาที่ปกปักรักษาคุ้มครองพระองค์ได้โปรดโมทนาบุญโดยเสด็จพระราชกุศลนี้ องค์ประกอบของบุญนี้ก็จะครบถ้วนบริบูรณ์เพราะเหตุว่า

    ๑) บุคคลที่สละทรัพย์นี้มีกาย วาจา ใจที่บริสุทธิ์ทั้งก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้

    ๒) ทรัพย์ที่ท่านบริจาคเข้ามูลนิธิโดยตรงนี้เกิดจากความตั้งใจที่ท่านทำมาหาได้ด้วยความสุจริตจึงมีความบริสุทธิ์

    ๓) มูลนิธิพระดาบสได้ให้ความช่วยเหลือนี้มีวัตถุประสงค์ที่เอื้อประโยชน์เพื่อคนหมู่มากในลักษณะสาธารณประโยชน์เป็นไปตามกระแสพระราชดำริ

    ผู้ร่วมบุญโดยเสด็จพระราชกุศลจำนวน ๖๐ ท่านเพื่อสะดวกในการมอบพระฤาษีวาสุเทพ และสุกกทันตฤาษี
    องค์ที่ ๑ คุณ newcomer
    องค์ที่ ๒ คุณ huahin007
    องค์ที่ ๓ คุณ ดร.แอนดี้
    องค์ที่ ๔ พระวิภังค์
    องค์ที่ ๕ คุณ drmetta
    องค์ที่ ๖ คุณ ตั้งจิต
    องค์ที่ ๗ คุณ MEA
    องค์ที่ ๘ คุณ aries2947
    องค์ที่ ๙ คุณ naraiyana
    องค์ที่ ๑๐ คุณ natchapon
    องค์ที่ ๑๑ คุณ dragonn
    องค์ที่ ๑๒ คุณ kanpirom
    องค์ที่ ๑๓ คุณ ฟ้าคำรณ

    องค์ที่ ๑๔ คุณ chantasakuldecha
    องค์ที่ ๑๕ คุณ พุทธันดร
    องค์ที่ ๑๖ คุณ dragonlord

    องค์ที่ ๑๗ คุณ เหมียวม๊าว
    องค์ที่ ๑๘ คุณ specialized
    องค์ที่ ๑๙ คุณ 16
    องค์ที่ ๒๐ คุณ หม่อง
    องค์ที่ ๒๑ คุณ kwok
    องค์ที่ ๒๒ คุณ gnip
    องค์ที่ ๒๓ คุณ sira

    องค์ที่ ๒๔ คุณ guawn

    องค์ที่ ๒๕ คุณ khunsa
    องค์ที่ ๒๖ คุณ curio
    องค์ที่ ๒๗ คุณ my_mind
    องค์ที่ ๒๘ คุณ cococo
    องค์ที่ ๒๙ คุณ beyond_the_sea
    องค์ที่ ๓๐ คุณ ครึ่งชีวิต
    องค์ที่ ๓๑ คุณ PATCH-1
    องค์ที่ ๓๒ คุณ Pichet-m
    องค์ที่ ๓๓ คุณ narin96
    องค์ที่ ๓๔ คุณ Paravatee
    องค์ที่ ๓๕ คุณ Wuttichai
    องค์ที่ ๓๖ คุณ Pukky_Ka
    องค์ที่ ๓๗ คุณ r_alongkorn
    องค์ที่ ๓๘ คุณ หน้าใสใส
    องค์ที่ ๓๙ คุณ จันทร์ใฝ่ธรรม
    องค์ที่ ๔๐ คุณ ยุภาภรณ์
    องค์ที่ ๔๑ คุณ submit
    องค์ที่ ๔๒ คุณ ฤาษีน้อย
    องค์ที่ ๔๓ คุณ ศิริวีร์
    องค์ที่ ๔๔ คุณ นพคุณ
    องค์ที่ ๔๕ คุณ little_lucky
    องค์ที่ ๔๖ คุณ ong224
    องค์ที่ ๔๗ คุณ narongwate
    องค์ที่ ๔๘ คุณ chatchaic
    องค์ที่ ๔๙ คุณ stobs
    องค์ที่ ๕๐ คุณ เพชรรี
    องค์ที่ ๕๑ คุณ eakbordin
    องค์ที่ ๕๒ คุณ กริด99
    องค์ที่ ๕๓ คุณ tatra
    องค์ที่ ๕๔ คุณ แดง
    องค์ที่ ๕๕ คุณ manote
    องค์ที่ ๕๖ คุณ jirautes
    องค์ที่ ๕๗ คุณ caracciolo
    องค์ที่ ๕๘ คุณ อมรศิกานต์
    องค์ที่ ๕๙ คุณ atha
    องค์ที่ ๖๐ คุณ ตุ้มตุ้ย (วันที่ ๑๓ ส.ค. ๒๕๕๑)
    องค์ที่ ๖๑ คุณ hongsanart (ตั้งแต่ ๗ ส.ค. ๒๕๕๑)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1011251.JPG
      P1011251.JPG
      ขนาดไฟล์:
      196.5 KB
      เปิดดู:
      98
    • P1011252.JPG
      P1011252.JPG
      ขนาดไฟล์:
      184.7 KB
      เปิดดู:
      82
    • P1011253.JPG
      P1011253.JPG
      ขนาดไฟล์:
      197.3 KB
      เปิดดู:
      95
    • P1011254.JPG
      P1011254.JPG
      ขนาดไฟล์:
      200.9 KB
      เปิดดู:
      78
    • P1011255.JPG
      P1011255.JPG
      ขนาดไฟล์:
      200.9 KB
      เปิดดู:
      87
    • P1011256.JPG
      P1011256.JPG
      ขนาดไฟล์:
      184.8 KB
      เปิดดู:
      78
    • P1011257.JPG
      P1011257.JPG
      ขนาดไฟล์:
      193.8 KB
      เปิดดู:
      80
    • P1011258.JPG
      P1011258.JPG
      ขนาดไฟล์:
      179.2 KB
      เปิดดู:
      79
    • P1011259.JPG
      P1011259.JPG
      ขนาดไฟล์:
      199.9 KB
      เปิดดู:
      84
    • P1011260.JPG
      P1011260.JPG
      ขนาดไฟล์:
      185.6 KB
      เปิดดู:
      68
    • P1011261.JPG
      P1011261.JPG
      ขนาดไฟล์:
      192 KB
      เปิดดู:
      93
    • P1011262.JPG
      P1011262.JPG
      ขนาดไฟล์:
      189.5 KB
      เปิดดู:
      78
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2008
  4. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ผมเชื่อในเรื่องของ"แรงครู" ทำดีท่านย่อมอุปถัมภ์ค้ำจุนช่วยเหลือเราครับ ไม่อยากบอกเลยว่า หากประกาศทั่วไปในสาธารณะอาจจะไม่ได้มาถึงพวกเรา พวกดารานักแสดงก็จะเก็บกันไปคนละมากๆ แถมปัจจัยก็ไม่อั้นอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ใช่วัตถุประสงค์ครับ หากอยากจะรวย...

    พระพิมพ์นี้เป็นพิมพ์หนึ่งที่เป็นสัญญลักษณ์ของผู้ร่วมสร้างเมืองหริภุญไชย(ชัย)กับพระแม่จามเทวีมา ซึ่งผมเคยนำมาบอกบุญให้บูชากันองค์ละ ๒,๐๐๐ บาท ดังหลักฐานที่ปรากฎดังนี้ครับ ผมนำมามอบให้เป็นการร่วมบุญเฉพาะสำหรับผู้ประสงค์จะเร่งบารมีในช่วงเข้าพรรษานี้ครับ..

    <TABLE class=tborder id=post1034983 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">[​IMG] 13-03-2008, 09:12 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>#10 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>:::เพชร:::<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1034983", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งล่าสุด: วันนี้ 06:42 PM
    วันที่สมัคร: Jul 2006
    อายุ: 43
    ข้อความ: 4,366
    Groans: 20
    Groaned at 1 Time in 1 Post
    ได้ให้อนุโมทนา: 5,414
    ได้รับอนุโมทนา 47,035 ครั้ง ใน 4,483 โพส
    <IF condition="">
    </IF>พลังการให้คะแนน: 3298 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]








    </TD><TD class=alt1 id=td_post_1034983 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->องค์พระฤาษีวาสุเทพ และสุกกทันตฤาษี จำนวน ๓ องค์(หมดแล้ว)
    องค์พระฤาษีวาสุเทพ และสุกกทันตฤาษี จำนวนให้บูชาเพียง ๓ องค์ เพราะที่เหลือจะให้บูชาสมทบทุนมูลนิธิพระดาบสของในหลวงในวาระข้างหน้าอีกครั้งหนึ่ง เพื่อโดยเสด็จพระราชกุศล โดยสามารถโอนเงินเข้าไปที่มูลนิธิพระดาบสโดยตรงครับ

    เรามักจะได้รับข้อมูลบางอย่างที่เราเองก็เกิดไม่ทันสมัยการสร้าง องค์พระฤาษีที่จัดสร้างกันส่วนมาก มักจะได้รับการบอกเล่า บอกกล่าวว่า คือพระฤาษีนารอท ผมกลับมองตรงข้ามกับข้อมูลเหล่านี้ และต่อไปเพื่อนๆอาจจะเห็นผมพิมพ์ชื่อพระพิมพ์แปลกๆที่ฟังดูแล้วไม่คุ้นหูที่เซียนพระนำเสนอ แต่ผมจะวงเล็บไว้ให้ได้ทราบกันว่า วงการเขาเรียกว่าอะไร และที่สมเหตุสมผลนั้นควรเรียกว่าอะไร จะได้ไม่พากันเข้าป่า เข้ารก เข้าพง

    เรื่องราวจะสนุกมากครับ หากเพื่อนๆได้ติดตามในความเห็นที่ ๗-๙ เกี่ยวกับเรื่องราวของละโว้ และหริภุญไชย จากนั้นเราจะสามารถวิเคราะห์กันได้เองว่า ทำไมพระฤาษีองค์นี้ถึงมีนามว่า"พระฤาษีวาสุเทพ และสุกกทันตฤาษี" ทั้งหมดนี้ต้องขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ปู่ประถม อาจสาครที่กรุณาบันทึกเรื่องราวการวิเคราะห์พระพิมพ์สมเด็จเจ้าคุณกรมท่า และพระพิมพ์สกุลสมเด็จขึ้นมาเป็นพื้นฐานของการวิเคราะห์พระพิมพ์อื่นๆ

    มอบให้ ๑ องค์ เมื่อร่วมบุญ ๒,๐๐๐ บาท

    A1->คุณพุทธันดร
    A2->คุณhongsanart
    A3->คุณชวภณ

    <!-- / message --><!-- attachments -->





    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]







    </FIELDSET>






    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อีกทั้งการร่วมบุญนี้ก็ไม่ได้คิดถึงว่า ใครจะทำเท่าไหร่ ต้องได้ปัจจัยเท่าไหร่ ทุกสิ่งล้วนเป็นสิ่งที่ท่านพิจารณาเองตามฐานะ ตามกำลัง ผมเพียงทำหน้าที่มอบพระเครื่องดีๆให้เท่านั้น ผู้ที่เห็นคุณค่าจะทราบได้เองครับ..

    และขอโมทนาบุญกับเพื่อนทั้ง ๑๕ ท่านที่ได้ร่วมด้วยช่วยกันสนับสนุนงานบุญนี้ในการร่วมจัดส่งพระฤาษีวาสุเทพ และสุกกทันตฤาษีทั้ง ๖๐ องค์นี้ทาง EMS ให้ถึงมือผู้ร่วมบุญทั้ง ๖๐ ท่าน..
    ๑) คุณ aries2947
    ๒) คุณ ตั้งจิต
    ๓) คุณ dragonn
    ๔) คุณ newcomer
    ๕) คุณ kanpirom
    ๖) คุณ dragonlord
    ๗) คุณ kwok
    ๘) คุณ caracciolo
    ๙) คุณ chantasakuldecha
    ๑๐)คุณ guawn
    ๑๑)คุณ MEA
    ๑๒)คุณ pallop
    ๑๓)คุณ gnip
    ๑๔)คุณ พุทธันดร
    ๑๕)คุณ naraiyana
    ๑๖)คุณ narin96

    ท่านสามารถร่วมบุญกับในหลวงได้หลายทางด้วยกัน ไม่จำเป็นต้องร่วมบุญเพียงมูลนิธิพระดาบสแห่งเดียว ทั้งมูลนิธิชัยพัฒนา และอื่นๆอีกมากมาย และก็สามารถร่วมบุญกันได้ทุกเวลา การกำหนดมอบพระพิมพ์พระฤาษีวาสุเทพ และสุกกทันตฤาษีนี้เพียง ๖๐ องค์ เนื่องจากผมสามารถมอบพระพิมพ์เพื่อเป็นที่ระลึกสำหรับงานบุญโดยเสด็จพระราชกุศลนี้ได้เพียง ๖๐ ท่านเท่านั้น และหากท่านที่ร่วมบุญกับในหลวงเป็นท่านที่ ๖๑ เป็นต้นไป ผมก็เชื่อว่า แม้ไม่มีพระพิมพ์มอบให้ ท่านก็ยังคงเต็มใจร่วมบุญโดยเสด็จพระราชกุศลนี้ ท่านก็คงไม่เกิดความรู้สึกเสียดาย หรือเสียเปรียบ เนื่องเพราะหากท่านมีกำลังใจที่จะกระทำเมื่อไม่มีสิ่งตอบแทน หรือของที่ระลึก กำลังบุญจะสะอาด และได้อานิสงค์อย่างที่สุด เป็นประโยชน์กับตัวท่านเอง ซึ่งก็ได้เรียนให้ทราบแต่แรกแล้วว่า ขอให้ทำกำลังใจสละซึ่งความโลภ ความอยากได้ก่อนร่วมบุญนี้..

    มีเหตุการณ์หนึ่งที่ผมอยากบอกเล่าความรู้สึกให้ฟังกัน.. ผมเป็นผู้หนึ่งที่ได้ทันพบหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ทันหลวงพ่อเป่ายันต์เกราะเพชรเป็นครั้งสุดท้าย หลวงพ่อท่านทั้งเทศน์สอนกรรมฐานให้โดยตรง ท่านสอนเรื่องของการชำระหนี้สงฆ์ซึ่งผมเพิ่งจะเคยได้ยินจากสำนักนี้เป็นครั้งแรก ผมรู้จักการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลกล่าวถึงพระยายมราชให้เป็นพยานในการบำเพ็ญกุศล ผมได้ถวายสังฆทาน วิหารทาน ธรรมทาน และร่วมบุญทุกอย่างกับหลวงพ่อมาก่อน และท่านยังได้อาราธนานิมนต์ แนะนำ และนำพาลูกหลานไปกราบ ไปทำบุญทุกอย่างกับพระสุปฏิปัณโณเช่นหลวงปู่ฟื้น วัดสามพระยา หลวงปู่บุดดา ถาวโร หลวงปู่ครูบาชัยวงศาพัฒนา หลวงปู่ดาบส สุมโน อาศรมไผ่มรกต หลวงปู่เกี่ยว อุปเสณโณ เจ้าอาวาสวัดสระเกศ หลวงพ่อบุญรัตน์ วัดโขงขาว ฯลฯ นี่คือสิ่งที่หลวงพ่อได้มอบอภิญญาสมาบัติไว้ให้

    มาจนวันนี้ที่หลายๆท่านที่ไม่ทันได้พบหลวงพ่อฤาษีฯ ครูบาอาจารย์ที่องค์หลวงพ่อได้แนะนำ ท่านได้บอก ได้กล่าวว่าให้ไปพบ ให้ไปกราบองค์นั้น องค์นี้ให้ได้นั้น บัดนี้วันเวลาล่วงเลยมาจะ ๑๖ ปีแล้ว ได้แต่กล่าวด้วยความเสียดายที่ไม่ทันพบท่าน แม้แต่ว่าศิษย์ของหลวงพ่อที่ทันพบท่านก็ตามที ก็ยังบ่นถึงความไม่รักดีของตนเองในอดีต มีโอกาสได้พบ ได้รับคำแนะนำแต่กลับไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ และอื่นๆอีกมากมาย...

    ผมไม่อยากให้ในวันหนึ่งข้างหน้า เราจะเกิดความเสียดายแบบนี้กันอีก วันที่มีพระองค์ท่าน เรากลับไม่เคยใส่ใจ ไม่เคยรู้ว่าพระองค์ท่านเหนื่อยยากเพียงไร ซึ่งพระมหากษัตริย์รวมกันทั้งโลกก็ไม่มีพระองค์ใดอีกแล้วที่จะทรงงานสร้างสาธารณประโยชน์ได้มากมายขนาดนี้ เมื่อวันที่ยังความโศกเศร้ามาถึง อย่าได้กล่าวคำเสียดาย และรู้สึกเสียใจที่เรายังไม่ได้ทำสิ่งที่จะเป็นการสานพระปณิธานของพระองค์ท่าน และลองถามว่า เราทุกคนทำอะไรเพื่อพระองค์ท่านบ้างหรือยัง หากยัง ทำเถอะครับ.. ทำอะไรก็ได้ที่ท่านสบายใจ และพระองค์ท่านสบายใจ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2008
  5. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    คำขวัญ : จังหวัดลำพูน

    "พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวี ศรีหริภุญไชย(ชัย)"

    ประวัติ : เมืองลำพูน หรือ หริภุญไชยนั้น เป็นเมืองที่พระวาสุเทวฤาษี จากสำนักดอยสุเทพเมืองเชียงใหม่ และพระสุกกทันตฤาษี จากเมืองละโว้ เป็นผู้สร้างขึ้นครับ โดยทั้งสองเห็นพ้องต้องกันว่าควรสร้างเมืองตามแบบอย่างพระอนุสัษฏฤาษี ที่สร้างเมืองศรีสัชนาลัยโดยวางรูปสันฐานเมืองเป็นรูปเกล็ดหอยซึ่งทำให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง เมื่อพระอนุสัษฏฤาษีทราบเรื่องจึงนำเกล็ดหอยจากมหาสมุทรมาให้พระฤาษีทั้งสอง จากนั้นพระฤาษีทั้งสองก็ใช้ไม้เท้าขีดพื้นดินวงไปตามรูปเกล็ดหอย ก็เกิดเป็นกำแพงมูลดินและคูเมืองป้อมปราการขึ้นมาอย่างน่าอัศจรรย์ เหตุที่มีดินพูนขึ้นมานี้เองจึงได้ชื่อว่า "ลำพูน" และเมื่อพระฤาษี ทั้งสองสร้างเมืองเสร็จแล้วก็ให้อำมาตย์ไปทูลเชิญพระนางจามเทวี ราชธิดาพระเจ้ากรุงละโว้ ขึ้นมาครองเมือง ซึ่งขณะที่พระนางเดินทางมานั้นพระนางกำลังทรงพระครรภ์อยู่ ครั้นถึงเมืองลำพูนได้ไม่นาน ก็ทรงมีพระประสูติกาลพระกุมารฝาแฝด องค์พี่ทรงพระนามว่า "มหันตยศกุมาร" ส่วนองค์น้องทรง พระนามว่า "อนันตยศกุมาร"

    <?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shape id=_x0000_i1027 style="WIDTH: 15pt; HEIGHT: 12pt" alt="" type="#_x0000_t75"><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\com\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://travel.sanook.com/north/lumpoon/images/ic_buatong.gif"></v:imagedata></v:shape>อาณาเขต :

    ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดเชียงใหม่
    ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดลำปาง และตาก
    ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดเชียงใหม่
    ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดลำปาง

    จังหวัดลำพูน เป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดในภาคเหนือ มีเนื้อที่ 4,407 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็น ที่ราบ อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,800 ฟุต มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน 4 สาย คือ แม่น้ำปิง แม่น้ำกวง แม่น้ำทา และ แม่น้ำลี้

    จังหวัดลำพูนแบ่งการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ และ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองลำพูน, อำเภอป่าซาง, อำเภอบ้านโฮ่ง, อำเภอแม่ทา, อำเภอลี้, อำเภอทุ่งหัวช้าง และกิ่งอำเภอบ้านธิครับ<O:p</O:p
    http://travel.sanook.com/north/lumpoon/index.php<O:p></O:p>



    พระนางจามเทวี เชื่อกันว่าเป็นปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย ทรงเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าจักรพรรดิราช แห่งกรุงละโว้(ลพบุรี) ปีประสูติ ระยะเวลาครองราชย์ และปีสวรรคตของพระนางจามเทวี มีผู้บันทึกหรือวิเคราะห์ไว้ต่างกัน เช่น ชินกาลมาลีปกรณ์ ว่าครองราชย์ พ.ศ. ๑๒๐๕ ครองราชย์อยู่ ๗ ปี นายมานิต วัลลิโภดม สอบค้นว่าประสูติ เมื่อพ.ศ. ๑๑๖๖ ครองราชย์ พ.ศ. ๑๒๐๕ ครองราชย์อยู่ ๑๗ ปี สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๑๒๕๘ พระชันษาได้ ๙๒ ปี ตำนานฉบับที่นายสุทธวารี สุวรรณภาชน์ แปลและเรียบเรียง คือ ประสูติ พ.ศ. ๑๑๗๖ ครองราชย์ พ.ศ. ๑๒๐๒ สละราชสมบัติ พ.ศ. ๑๒๓๑ และสวรรคต พ.ศ. ๑๒๗๔ เป็นต้น

    <O:p</O:p
    พระนางจามเทวีเป็นผู้มีพระรูปโฉมงดงาม เป็นเบญจกัลยานี มีศีล และมีความสามารถ ทรงอยู่ในฐานะหม้าย เนื่องจากพระสวามี ซึ่งอยู่ในพงศาวดารเมืองหริภุญชัย ว่าเป็นเจ้าประเทศราชในเมืองรามัญ ตรงกับตำนานมูลศาสนาว่า คือเมืองรา หรือ เมืองรามได้มีศรัทธาบรรพชาเป็นเพศบรรพชิต พระเจ้าจักรพรรดิราชพระราชบิดา ทรงมีราชานุญาตให้พระนางจามเทวีซึ่งมีครรภ์ได้ ๓ เดือน เดินทางไปครองเมืองหริภุญไชย ตามคำเชิญของสุกกทันตฤาษี และวาสุเทพฤาษี ผู้ส่งนายคะวะยะเป็นทูตมาเชิญ
    <O:p</O:p

    พระนางจามเทวีได้นำพระสงฆ์ สมณะชีพราหมณ์ พ่อค้าวาณิช ช่างต่างๆ อย่างละ ๕๐๐ ประมาณกว่า ๗,๐๐๐ คน เดินทางโดยทางน้ำปิง (พิงค์) อย่างช้าๆ ตั้งเมืองเผยแผ่พระพุทธศาสนาตลอดเส้นทาง ใช้เวลาเดินทาง ๗ เดือน จึงเดินทางมาถึงเมืองหริภุญไชย เมื่อเสด็จมาถึงได้ ๗ วัน ก็ประสูติพระโอรสฝาแฝดชื่อ มหันตยศ และ อนันตยศ ต่อมาทรงได้เศวตไอยราเป็น คู่บารมีสีกายเผือกดั่งเงินยวงเรียกว่า ผู้ก่ำงาเขียว (ช้างเผือกงาเนียมหรือช้างเผือกงาดำ) จากเชิงดอยอ่างสลง (อ่างสรง) ในเขาลวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อพระโอรสมีพระชนม์ ๗ พรรษา พระนางจามเทวีได้สละราชสมบัติอภิเษกให้มหันตยศ ครองเมืองหริภุญไชย ส่วนอนันตยศ พระนางจามเทวีได้ให้นำผู้คนพลเมืองไปตั้งเมืองเขลางค์นครหรือลำปางในปัจจุบัน นับเป็นการขยายอาณาจักร และพุทธจักร ให้กว้างไกลออกไป ส่วนพระนางได้นุ่งขาวห่มขาว สมาทานเบญจศีล จนถึงวันสิ้นพระชนม์ ดังตำนานมูลศาสนาได้กล่าวว่าพระนางทรงสมาทานเบญจศีลอยู่เสมอทุกวันมิได้ขาด
    <O:p</O:p

    ในอุดมการณ์ทางด้านศาสนา ทรงเป็นแบบอย่างที่ดี ในการปฏิบัติธรรมให้เสนาอำมาตย์ราชมนตรี และประชาชนถือปฏิบัติเป็นอย่างดี ที่สำคัญยิ่งทรงเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองวัฒนาสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ และได้ทรงสร้างจตุรพุทธปราการเป็นพระอารามประจำจตุรทิศแห่งพระนคร เพื่อเป็นพุทธปราการปกป้องคุ้มครองพระนครให้พัฒนาสถาพรปราศจากภัยภิบัติต่างๆ ประชาชนทั่วไปเรียกว่า วัดสี่มุมเมือง ดังนี้


    อาพัทธาราม ปัจจุบันคือ วัดพระคง เป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศเหนือ
    อรัญญิกรัมมการาม ปัจจุบันเป็น วัดร้างดอนแก้ว ตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนชุมชนบ้านเวียงยองเป็นพุทธปราการ อารักขาประจำทางฝ่ายทิศตะวันออก
    มหาสัตตาราม ปัจจุบันคือ วัดสังฆาราม (ประตูลี้) เป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศใต้
    มหาวนาราม ปัจจุบัน คือ วัดมหาวันเป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศตะวันตก
    <O:p</O:p


    พระนางจามเทวีได้ทรงใช้กุศโลบายที่หลากหลายรูปแบบในการต่อสู้และชักจูงพวกละว้าให้หันมานับถือศาสนาพุทธโดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อสู้กับหัวหน้าเผ่าละว้า ขุนหลวงวิลังคะ ด้วยอิทธิฤทธิ์ของช้างผู้ก่ำงาเขียว ได้ขับไล่ข้าศึกละว้าหนีกระจัดกระจายไปอยู่ตามป่าเขา นอกจากนี้ทรงใช้กุศโลบายในการผสมกลมกลืนชาติพันธุ์กับท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม โดยการให้พระราชโอรสทั้งสองพระองค์อภิเษกสมรสกับธิดาสองคนของพญามิลักขะและได้สู่ขอธิดาสองคนของนายคะวะยะ ให้กับพระราชโอรสด้วย ถือได้ว่าทำให้ชนชาวละโว้และชนพื้นเมืองอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและสามารถเผยแพร่อุดมการณ์ทางศาสนาเข้าสู่ชนพื่นเมืองได้อย่างรวดเร็ว และได้ใช้กุศโลบายทางสันติธรรมและเมตตาธรรมเข้าต่อสู้จนชนะที่สุด โดยมีบางส่วนได้เข้ามา สวามิภักดิ์หันมาเลื่อมใสศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนาทำให้มีการผสมกลมกลืนทางชาติพันธุ์ สังคมเกิดความสงบสุขและพุทธศาสนาเจริญอย่างมั่นคงในอาณาจักรหริภุญไชยตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    http://lannamusic.advancewebservice.com/index.php?name=Forums&file=posting&mode=quote&p=3


    เมือง นครลพะ มีความเจริญรุ่งเรืองมากในทางพุทธศาสนา ราวพุทธศักราช ๙๔๕ พระเจ้าอโศกมหาราช ส่งพระสมณฑูตมาเผยแผ่ จากอินเดีย จึงเกิดสถาบันสงฆ์ขึ้นได้นำพระพูทธรูป พระเครื่อง ศิลปวัตถุต่างๆ พร้อมช่างฝีมือมาด้วยจึงเป็นแม่แบบในปัจจุบันได้แพร่กระจายสู่แคว้นต่างๆในประเทศไทยเราในปัจจุบัน

    แคว้นลพะหรือเมืองลพะ ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเขินและไทยลัวะปะปนบ้างภาษาใช้ภาษาไทยเขินหรือภาษาลานนาในปัจจุบัน ส่สวนใหญ่นับถือศาสนาพุทธมีพระสงฆ์และนักบวช ส่วนมากจะเป็นฤาษี ตั้งอยู่ที่บริเวณ บ้านวังไฮ ต.เวียงยองอ.เมือง จ.ลำพูน ในปัจจุบัน มีกษัตริย์ปกครองถึง ๑๐ รัชกาล ประมาณ พ.ศ.๙๐๐พระเจ้าสัจจวัตร รัชกาลที่ ๑ ได้สถาปนาเป็นกษัตริย์ปกครองแคว้นลพะโดยมีเมืองลพะเป็นเมืองหลวง (เป็นยุคก่อนหริภุญไชย) พระยาตะกะ รัชกาลที่ ๒ (พ.ศ.๙๔๐-๙๘๗) บ้านเมืองยุคที่เจริญรุ่งเรืองที่สุด มีพระสงฆ์ที่เป็นพระอรหันต์ ๙รูป พระเถระ อนุเถระ อุบาสก อุบาสิกา นักปราชญ์ ราชบัณฑิต ช่างฝีมือ อพยพมาจากเมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย มาที่เมืองลพะ ได้นำเอา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์และทรัพย์สมบัติอื่นๆของพระพุทธศาสนามาด้วย เช่น พระพุทธรูป พระเครื่องพระบรมสารีริกธาตุ พระอังคาร รางเหล็ก(ที่รองรับพระสรีระร่างของพระพุทธเจ้าตอนประชุมเพลิง)มาด้วย เส้นทางเรือผ่านทะเลเข้าสู่แม่นำเจ้าพระยา แยกขึ้นไปทางลำแม่น้ำปิง ได้สร้างพระประจำรัชกาลถือเป็นพระเครื่องชุดแรกของประเทศไทยปัจจุบัน คือสร้างเมื่อ เดือน ๖ ขึ้น ๖ ค่ำพ.ศ.๙๗๖ เป็นเนื้อดินและเนื้อชินมีตัวหนังสือลานนาหรือไทยเขินจารึกไว้ใต้ฐานพระเครื่อง ๒ แถวแถวบนระบุชื่อผู้สร้างคือ ตะกะ พะ ลพะ ส่วนแถวล่างระบุ วัน-เดือน-ปี ที่สร้าง คือ ๖๖๗๙ ๖ อ่านว่า เดือน ๖ ขึ้น ๖ ค่ำ พ.ศ.๙๗๖ สร้างโดยพระอรหันต์ที่มาจากอินเดียจะมีพระบรมสารีรกิธาตุที่เป็นธาตุรวม ธาตุ ๔ หรือ ธาตุ ๖และเหล็กไหลหรือรางเหล็กฯผสมอยู่ด้วย พบที่ กรุดอยไซ บ้านหนองไซ หมู่ที่ ๑๔ค.ป่าสัก อ.เมือง จ.ลำพูน เรียกชื่อว่า"พระเหล็กไหลดอยไซ"มีพระพุทธคุณสูงยิ่งต่อสละราชสมบัติออกบวชมอบอำนาจต่อกับพระโอรส, รัชกาลที่ ๓ พระยาธะมะนะขะชะแต่ปีพ.ศ.๙๘๗ ต่อมาได้สร้างพระเครื่อง พระบูชาประจำรัชกาล เช่น พระรอด พระคงปกครองเมืองถึง พ.ศ. ๑๐๒๗ รวม ๔๐ ปี ,รัชกาลที่ ๔ พระยาถะระ ปกครองเมืองตั้งแต่พ.ศ.๑๐๒๗-๑๐๘๐ รวม ๕๓ ปี ,รัชกาลที่ ๕ พระนางอะระพะ เป็นพระมเหสีของพระยาถะระเมื่อรัชกาลที่ ๔ สิ้นพระชนม์ไม่มีรัชทายาทสืบราชสมบัติแทนพระนางจึงสถาปนาฯปกครองเมือง ตั้งแต่พ.ศ.๑๐๘๐-๑๐๘๗ รวม ๗ ปี มีพระอรหันต์เกิดขึ้น ๖องค์ มีอุบาสกคนหนึ่งชื่อ"สัญชัย"ปฏิบัติธรรมได้สมาธิฌานอภิญญาขั้นสูงช่วงนั้นพระอรหันต์ได้ปรินิพพานไปหมดมีแต่อุบาสก"สัญชัย"เป็นที่เคารพของประชาชนทั่วไปจึงถูกเรียกชื่อใหม่ว่า"ฤาษีสัญชัย"(เป็นฤาษีพุทธองค์แรกเป็นต้นตระกูลของฤาษีพุทธในประเทศไทย) เสียชีวิต เมื่อ พ.ศ.๑๐๘๐พระนางอะระพะได้เอาพระธาตุของฤาษีสัญชัย มาเป็นส่วนผสมในการสร้างพระเครื่องพระบูชาประจำรัชกาล ผู้สร้างคือ สุกกทันตฤาษี เป็นลูกศิษย์ฤาษีสัญชัยขณะนั้นอายุได้ ๒๐ ปี แต่สำเร็จสมาธิฌาน อภิญญาขั้นสูงและได้สืบต่อเป็นเจ้าสำนักดอยไซ,รัชกาลที่ ๖ พระยาทะพะยะปกครองเมืองตั้งแต่พ.ศ.๑๐๘๗-๑๐๙๕ รวม ๘ ปี เป็นหลานรัชกาลที่ ๔ ,รัชกาลที่ ๗พระยาพะระมะนะ เป็นบุตรรัชกาลที่ ๖ ปกครองเมืองตั้งแต่ พ.ศ.๑๐๙๕-๑๑๒๐ รวม ๒๕ ปี ,รัชกาลที่ ๘ พระยาสะตะยะ เป็นบุตรรัชกาลที่ ๗ ปกครองเมืองตั้งแต่ พ.ศ.๑๑๒๐-๑๑๔๖รวม ๒๖ ปี สุกกทันตฤาษีได้เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ.๑๑๔๐ ได้ลูกศิษย์ชื่อ สุเทวฤาษี อายุ๒๐ ปี ได้สมาธิฌานอภิญญาขั้นสูง สืบต่อเป็นเจ้าสำนัก,รัชกาลที่ ๙ พระยาพะระปกครองเวมืองตั้งแต่ พ.ศ. ๑๑๔๖-๑๑๗๑ รวม ๒๕ ปี ,รัชกาลที่ ๑๐ พระยาสะณะตะระหรือพระสันตระ ปกครองเมืองลพะองค์สุดท้ายตั้งแต่ พ.ศ. ๑๑๗๑-๑๑๗๖ รวม ๕ ปีได้สร้างพระเครื่องพระบูชาประจำรัชกาล ผู้สร้างคือ ฤาษียะ ฤาษีวะ ๒ องค์ซึ่งเป็นลูกศิษย์ฤาษีสุเทวฤาษี เมืองลพะล่มสลายเมื่อ เดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ พ.ศ.๑๑๗๖ ระหว่างทำพิธีสร้างพระประจำรัชกาลเสนาอำมาตย์แตกความสามัคคีก่อการจลาจลทำลายเข่นฆ่ากันในพิธีจนตายหมด ส่วนที่เหลือก็อพยพไปที่อื่นถึง ๔ สาย ทางบก ๒ สายมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ คือที่เชียงแสน ส่วนทางทิศใต้คือ สุโขทัย ทางน้ำ ๒ สาย ล่องลำน้ำปิงจนถึงเมืองละโว้-อยุธยา และ ทราวดี-อู่ทอง สุพรรณบุรีในปี พ.ศ.๑๑๗๖ พระยาสันตระ ได้บุตรสาวคนหนึ่งเกิดก่อนวันสร้างพระประจำรัชกาล เพียง ๓ เดือน ระหว่างเกิดการจลาจลได้อยู่กับพระพี่เลี้ยงในวังไม่ได้มาเข้าร่วมพิธีด้วยฤาษียะและฤาษีวะซึ่งอยู่ในพิธีสร้างพระด้วยเห็นเหตุการณ์ไม่ดีจึงรีบเข้าวังช่วยเจ้าหญิงองค์น้อยหนีไปที่สำนักของสุเทวฤาษี ดอยไซ...และศิษย์อีกองค์คือฤาษีคะช่วยกันเลี้ยงดูโดยอ้างกับประชาชนทั่วไปว่า...เก็บได้จากดอกบัวหลวงในสระน้ำใกล้สำนัก...อยู่ด้วยที่สำนักดอยไซ...มีเสียงครหานินทาว่าเลี้ยงเด็กผู้หญิงไว้....จึงพามาอยู่ดอยอีกลูกหนึ่งทางทิศเหนือเพื่อให้ห่างจากฤาษีองค์อื่นๆที่ดอยไซ....ดอยลูกนี้เรียกว่า"ดอยติ"ในปัจจุบัน (อ.เมือง จ.ลำพูน) จนมีอายุ ๑๓ ปี จึง ให้ฤาษียะ ฤาษีวะ และฤาษีคะพาไปฝากเรียนศิลปะวิทยาการกับกษัตริย์ที่กรุงละโว้ เจ้าหญิงองค์น้อยนั้นก็คือ"พระนางจามเทวี องค์ปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย"นั่นเอง


    เรื่องราวเมืองลพะเริ่มประมาณ พ.ศ.๙๐๐ และสิ้นสุดเมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ พ.ศ.๑๑๗๖ รวมประมาณ ๒๗๖ ปี ก่อนสุเทวฤาษี และศิษย์ทั้ง ๓ ช่วยกันรวบรวมกอบกู้สร้างเมืองใหม่ตั้งชื่อว่า"เมืองหริภุญไชย"เรียบร้อยแล้วจึงให้ลูกศิษย์ฤาษี ๓ องค์ไปเป็นฑูตทูลขอพระนางจามเทวี ขณะนั้นเป็นพระราชธิดาบุญธรรมของกษัตริย์กรุงละโว้และเป็นมเหสีของพระยารามราชกษัตริย์ แห่งเมืองอโยธยามาขึ้นครองราชเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งเมืองหริภุญไชยเมื่อสุเทวฤาษีสิ้นบุญพระนางจามเทวีได้สร้างเจดีย์หรือกู่บรรจุอัฐิไว้ที่ดอยไซและสร้างกู่บรรจุอัฐิไว้ที่กลางเมืองหริภุญไชย ฤาษีคะได้ปกครองสำนักดอยไซสืบแทนจนหมดอายุขัยพระนางจามเทวีได้สร้างเจดีย์หรือกู่บรรจุอัฐิไว้ที่วัดพระคงฤาษี ส่วนฤาษียะและฤาษีวะ เมื่อสิ้นบุญอาจารย์ก็ได้มาอาศัยอยู่ที่บ้านดงป่าหวายใกล้กับเวียงหวาย ในเขตอ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน มีลูกศิษย์มาปฏิบัติธรรมจำนวนมากจนชาวบ้านเรียกบริเวณนี้ว่า "ดงฤาษี" เมื่อฤาษีทั้ง ๒ สิ้นบุญ พระนางจามเทวีและพระยามหันตยศ ก็ได้มาสร้างอนุสาวรีย์ของฤาษีทั้ง ๒เป็นรูปพระสงฆ์ยืน ปรางค์ถวายเนตร สูง ๙ ศอกตามความปราถนาที่ครองสมณเพศเป็นพระสงฆ์มาตั้งแต่ยังหนุ่มปรากฏเป็นหลักฐานมาจนถึงทุกวันนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กรกฎาคม 2008
  6. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ประวัติและตำนานวัดพระธาตุดอยน้อย

    สถานที่ตั้งและอาณาเขต

    วัดพระธาตุดอยน้อยตั้งอยู่บนเขาลูกหนึ่ง ทางทิศตะวันออก ของถนนสายเชียงใหม่ ฮอดห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ ๔๔ ก.ม. ตรงข้ามสำนักงานพัฒนาภาค ๓หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาจอมทอง จะมีทางแยกเข้าไปถึงยอดดอยห่างจากถนนใหญ่ ประมาณ,๕๐๐ เมตร บนยอดดอยนั้นก็เป็นที่ประดิษฐานพระเจดีย์ ซึ่งตามตำนานกล่าวว่าพระนางจามเทวีได้ทรงสร้างขึ้นเมื่อครั้งที่เสด็จมาครองเมืองลำพูนตามคำเชิญของสุเทวฤาษีประมาณ ปี พ.ศ.๑๒๐๑เมื่อนับมาถึงกระทั่งปัจจุบันนี้ (พ.ศ.๒๕๔๘) วัดพระธาตุดอยน้อยนี้ ก็สร้างมาแล้ว๑๓๔๗ ปี
    วัดพระธาตุดอยน้อย มีพื้นที่ทั้งสิ้น ประมาณ ๑๓๔ ไร่ ๓ งาน ๗ตารางวา
    ทิศตะวันตกและตะวันออก ยาวประมาณ ๑๓ เส้น
    ทิศเหนือและทิศใต้ยาวประมาณ ๗ เส้น
    ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ติดกับที่นา
    ทิศตะวันออกติดกับลำน้ำแม่ปิง

    ตำนานแห่งพระธาตุดอยน้อย

    ก่อนที่จะกล่าวถึงประวัติการสร้างพระเจดีย์ที่วัดพระธาตุดอยน้อยนั้น ก็ขอท้าวความถึงประวัติความเป็นมาของพระนางจามเทวีถึงสาเหตุที่มาสร้างวัดดอยน้อยนี้ เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจยิ่งขึ้นไปอีกจึงขอตัดเอาประวัติพระนางจามเทวี เฉพาะทรงอำลาเจ้าพระยาผู้เป็นพระราชบิดาแล้วออกเดินทาง ๆ เรือมาตามลำน้ำปิงเท่านั้นถ้าให้ลำดับแต่กำเนิดมานั้นก็จะเกินความต้องการของผู้อ่านเมื่อท่านพระฤาษีได้ทรงสร้างนครหริภุญไชย (ลำพูน) เสร็จแล้วท่านพระฤาษีทั้งสองก็ได้ไปปรึกษากันเพื่อคัดเลือกหาผู้จะมาเป็นใหญ่มาปกครองอาณาประชาราษฎร์ในนครหริภุญไชยนี้จึงได้ไปขอพระราชธิดาของพระเจ้าละโว้มหาราช (ลพบุรี) มีพระนามว่า จามเทวีมาปกครองนครหริภุญชัย เมื่อพระเจ้าละโว้มหาราชได้ทราบจากพระฤาษีก็ได้ให้พระราชธิดาจามเทวีทรงตัดสินพระทัยแล้วพระนางจามเทวีจึงได้เสด็จขึ้นไปกราบทูลลาพระเจ้าละโว้มหาราชกราบทูลขอพรเพื่อให้เป็นสิริมงคลให้มีความเจริญรุ่งเรืองแก่ตนเองในภายหน้าด้วยว่าข้าแต่พระราชบิดาเป็นเจ้าพระองค์มีความประสงค์ให้ข้าน้อยไปเป็นนางพญาอยู่เสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครหนขุนน้ำโพ้นแท้ข้าน้อยขอรับพระราชทานไปตามพระประสงค์ของพระราชบิดาในครั้งนี้ด้วยความพอใจของลูกเป็นอย่างยิ่งหาที่สุดมิได้
    แต่ทว่าข้าน้อยขอกราบพระราชทูลขอเอาสิ่งที่เป็นสิริมงคลไปด้วยเพื่อประกอบกิจให้เป็นประโยชน์ในภายหน้าเป็นต้นว่า

    (๑)ข้าน้อยขอพระมหาเถระที่ทรงปิฎก ประมาณ ๕๐๐ องค์
    (๒) หมู่ผ้าขาวทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในเบญจศีล ๕๐๐ คน
    (๓) บัณฑิต ๕๐๐ คน
    (๔) หมู่ช่างสลัก ๕๐๐คน
    (๕) ช่างแก้วแหวน ๕๐๐ คน
    (๖) พ่อเลี้ยง ๕๐๐ คน
    (๗) แม่เลี้ยง ๕๐๐คน
    (๘) หมู่หมอโหรา ๕๐๐ คน
    (๙) หมอยา ๕๐๐ คน
    (๑๐) ช่างเงิน ๕๐๐ คน
    (๑๑)ช่างทอง ๕๐๐ คน
    (๑๒) ช่างเหล็ก ๕๐๐ คน
    (๑๓) ช่างเขียน ๕๐๐ คน
    (๑๔)หมู่ช่างทั้งหลายต่าง ๆ ๕๐๐ คน
    (๑๕) พ่อเวียก (การงานหัวหน้าฝ่ายโยธา) ทั้งหลาย๕๐๐ คน


    เพื่อให้สำเร็จทั้งภายในและภายนอกอย่างแท้จริง พระยาละโว้มหาราชจึงจัดทุกสิ่งให้ตามความประสงค์ของพระนางจามเทวีทุกประการ
    เมื่อพระสุกกทันตเทวฤาษีนายคะวะยะไปแล้ว พระนางจามเทวีเข้าไปสั่งอำลาพระยา แล้วก็นิมนต์พระมหาเถระเจ้าจำนวน๕๐๐ รูป และชาวช่างทั้งหลาย อย่างละ ๕๐๐ คน ลงเรือบัวรมวลแล้ว เมื่อถึงเดือน ๑๒ แรม๘ ค่ำ วันอังคารของไทย เต่าสง้าติถี ๒๓ ตัว นาทีติถี ๑๔พระจันทร์จรณะเสด็จเข้าเที่ยวเทียมนักขัตตฤกษ์ตัวถ้วน ๖ ชื่ออาฒเทวดาปรากฎในเมถุนวาโยราคีนาทีฤกษ์ ๒๔ ตัว ยามตูดจ้าย พระนางเทวีมีบริวารอันมากก็ยาตราขึ้นมาตามกระแสน้ำแม่ระมิงค์ อันมีเจ้าสุกกทันตฤาษีนายคะวะยะ
    หากมาแล้วก่อนนาแลยักษ์ทั้งหลาย ๑,๐๐๐ ตน มีเทโดยักษ์เป็นประธานหากมาตามรักษา นางก็ขึ้นมาตั้งเมืองหนึ่งชื่อพระบาง แล้วขึ้นมาตั้งเมืองคนชิกเมืองปุรรัฎฐะ เมืองมุราณ เมืองเทพบุรี เมืองบางพละ เมืองราเสียดแล้วขึ้นมาถึงที่แห่งหนึ่งเป็นหาดเชี่ยวนักแห่งนั้นชื่อว่า หาดเชี่ยวแล้วมาถึงที่หนึ่งผ้าเปียกชุ่มด้วยน้ำนางว่าแม่เลี้ยงทั้งหลายเอาผ้าออกตากเสียให้แห้งนั้นแล้วนางก็ตั้งเมืองนั้นให้ชื่อว่า เมืองตากแห้ง” (ปัจจุบัน จ.ตาก) แล้วขึ้นมาที่หนึ่งรี้พลโยธาทั้งหลาย เป็นเอาเหงาหอดหิวนักจึงหื้อยั้งพักอยู่แลพิจารณาในท้องแห่งกูนี้ (คือ ครรภ์) จักเป็นฉันในวาจาอั้น ส่วนว่ารัศมีพระอาทิตย์อันรวมด้วยรัศมีน้ำต้องตนนางและไปต้องท้องดอยนั้น ปรากฎว่าเป็นรูปคนสามคนคือว่ารูปแห่งนางและลูกแห่งนางอันมียังในท้อง ๒ คน นางก็มีใจชื่นชมยินดียิ่งนักที่นั้นได้ชื่อว่า สามเงาหั้นแล นางขึ้นมาถึงเกาะอันหนึ่งแล้วนางก็ได้อาบน้ำทาขมิ้น ที่นั้นได้ชื่อว่า เกาะขมิ้นและถัดมานั้นนางได้มาถึงระหว่างดอยที่สุดแห่งแก่งทั้งหลายก็ได้มีหญิงผู้หนึ่งอันขึ้นมาด้วยกับนางก็มาเสียชีวิตเสียที่นั้นนางก็ได้เลิกซากส่งสการหญิงผู้นั้นเสีย นางก็มาดำหัวที่นั้นได้ชื่อว่าแก่งส้มป่อยนางก็มาถึงที่แห่งหนึ่งยิ่งร้อนกระหายมากนักจึงให้คนเอาเรือไปจอดอยู่เงื้อมผา อันหนึ่งมีใจอยากอาบน้ำ เลยได้ชื่อว่า ผาอาบนางต่อมาจนเท่าทุกวันนี้แล นางขึ้นมาถึงที่หนึ่งเห็นดอย กั้งน้ำเสียเหมือนจักไปไม่ได้นางใช้คนไปดูก็เห็นคลองเรือมีอยู่พอเห็นดอยลัดขวางแม้น้ำอยู่ นางจึงให้ช่างแต้ม (วาด) รูปช้างไว้ ที่นั่นได้ชื่อว่า ผาแต้มหั้นแล

    นางมาถึงแก่งอันหนึ่งเป็นอันใหญ่เชี่ยวแรงนักฟองน้ำอันไหลทุบตีกันและแตกเป็นดั่งพวงดอกไม้อันท่านหากร้อยเป็นสร้อยเป็นสายงามนักจึงได้ชื่อว่า แก่งสร้อยนางจิ่งตกเอาเชือกฝ้ายกับลัวะทั้งหลายอันอยู่บริเวณที่นั้นทั้งมวลเพื่อจักเอามาชักเรือขึ้นแก่ง เมื่อนั้นลัวะทั้งหลายก็เริ่มร่วมกันฝั้นเชือกฝ้ายได้๔ เส้น มาถวายหันแล เหตุนั้นจึงได้ชื่อว่า ๔ เส้นสันกลางเป็นลัวะต่อใหญ่ต่อหลวงกว่าลัวะทั้งหลายหั้นแลนางชักเรือขึ้นพ้นแก่งนั้นแล้วก็ให้ตั้งเมืองที่นั้น ชื่อว่า เมืองสร้อยและนางคราจากที่นั่น ขึ้นมาถึงที่หนึ่ง เต่าปลาทั้งหลายเบียดกันนักนางจิ่งตั้งเมืองนั้นชื่อ ปลาเต่าแลนางมาถึงที่หนึ่งราบเพียงงามใจพอนักจึงให้ตั้งบ้านอันหนึ่ง ริมแม่น้ำทรา จึงเรียกว่า บ้านทราแลนางขึ้นมาถึงที่หนึ่งซึ่งเมื่อพระพุทธเจ้ายังทรมาน โปรดเวไนยสัตว์พระพุทธเจ้าเหยียบก้อนหินหนึ่งไว้เป็นรอยพระบาทเพื่อไว้เป็นที่กราบไว้และบูชาแก่คนและเทวดาคณาทั้งหลาย นางขึ้นมาถึงที่นั่นแล้วไปสักการะบูชานมัสการพระบาทเจ้าที่นั่น นางก็ได้ตั้งชื่อเมืองนั้นว่า ฮอด” (ปัจจุบัน อ.ฮอด) นางออกจากที่นั้นมา จนถึงเมืองอังครัฎฐ ที่นั่นน้ำไหลมาหาวังอันหนึ่งเป็นอันบ่ายอันเหงี่ยง เอาเรือขึ้นก็สะแกงไป จึงเรียกว่าวังสะแกงหั้นแล

    กำเนิดวัดพระธาตุดอยน้อย

    ในวันแรม ๑๒ ค่ำ เดือนยี่ปีมะเส็ง พุทธศักราช ๑๒๐๑ พระนางจามเทวีพร้อมด้วยโยธาประชากรเริ่มเข้าสู่เขตดินแดนหริภุญชัย เนื่องจากลำน้ำระมิงค์ยามนี้ไหลเชี่ยวมากเมื่อขึ้นตามลำน้ำมาจะเห็นเนินข้างเขียวชะอุ่ม ก็ทรงอยากจะสร้างพระเจดีย์จักได้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อันนำมาจาก เมืองละโว้ก็ปรึกษากับปวงชนทั้งหลายที่มาด้วยกัน ต่างก็เห็นชอบด้วย จึงให้นายพรานธนูผู้ที่มีความรู้ในทางไตรเพท ตั้งสัจจะอธิษฐานยิงธนูเพื่อจักหาที่ประดิษฐานพระเจดีย์ เพื่อสถิตไว้ซึ่งพระบรมสารีริกธาตุเจ้านายขมังธนูรับพระราชโองการแล้วก็ยิงธนู ให้คนทั้งหลายตามดูยังที่ลูกธนูจักตกก็ปรากฎว่าลูกธนูตกลงยังดอยน้อย ริมฝั่งแม่น้ำระมิงค์ จึงให้หยุดพักไพร่พล ณสถานที่แห่งนั้น และทรงให้คนทั้งมวลสร้างพระเจดีย์ทำการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและขนานนามที่นั่นว่า ปะวีสิถะเจดีย์เมื่อวันเริ่มสร้างพระเจดีย์ ตรงกับวันขึ้น๒ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะเส็ง พุทธศักราช ๑๒๐๑พระองค์ทรงสร้างพระเจดีย์ทองคำบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและสร้างพระพุทธรูปเท่าพระองค์ หมู่เศรษฐีที่ติดตามมาก็ได้ทรงสร้างพระพุทธรูปไว้เป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งสิ่งของต่าง ๆ ที่มีค่าซึ่งนำมาจากเมืองละโว้ เป็นต้นว่า แก้ว แหวน เงิน ทอง สิ่งของที่พระนางจามเทวีและเศรษฐีนำมาเข้าบรรจุไว้ในพระเจดีย์แล้วได้ทรงสถาปนาให้ช่างก่อสร้างโขง เพื่อบรรจุพระเครื่องรางของขลังต่าง ๆแล้วก็สร้างพระพุทธรูปบรรจุไว้ในโขงแห่งนั้นหันหน้าพระพักตร์ไปทางทิศทั้งสี่ในคราวนั้นพระสงฆ์ที่เดินทางมากับพระนางจามเทวีก็ได้ทรงผูกพัทธสีมาเพื่อทำกิจของพระสงฆ์ ห่างจากพระเจดีย์ไปประมาณ ๕๐ เมตร ก็สร้างพระเจดีย์แล้วเสร็จในวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเส็ง พุทธศักราช ๑๒๐๑ ใช้เวลาการก่อสร้าง ๑ เดือน กับ๖ วัน เมื่อสร้างเสร็จแล้ว จึงได้ทรงเฉลิมฉลอง ๓ วัน ๓ คืนเสร็จแล้วนำเอาเครื่องราชสักการะต่าง ๆพร้อมกับเครื่องแห่พระธาตุเจ้าและสิ่งของที่ใช้กับพระธาตุเจ้าและสิ่งของที่ใช้กับพระธาตุอีกหลาย ๆ อย่าง ฯลฯ นำเข้าเก็บไว้ในถ้ำแล้วได้โอกาสหยาดน้ำ ให้ผ้าขาว ๔ ตน คือ ผ้าขาวเทียน ๑ ผ้าขาวตา ๑ ผ้าขาวคิม ๑พร้อมกับลูกหลาน ๔ ครัว กับบ้าน ๔ บ้าน ทั้งนาและหนองพร้อมกับสิ่งของที่มีศรัทธานำมาถวายเจดีย์ให้เป็นของผู้อยู่อุปัฎฐากรักษาพระเจดีย์องค์นี้ไปตามประสงค์ ต่อจากนั้นก็เดินทางต่อไปครองเมืองหริภุญไชย (ลำพูน)
    http://www.doilor.org/travel.php?id=68
    เรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างเมืองหริภุญไชย จากตำนานดังกล่าวนั้นหากวิเคราะห์ในเชิงการศึกษาจะเห็นว่าเมืองหริภุญไชยมีความสัมพันธ์กับหัวเมืองทางภาคกลาง คือเมืองละโว้การยอมรับและอัญเชิญพระนางจามเทวีให้ขึ้นไปครองราชสมบัติอาจจะเป็นเพราะว่าหัวทางภาคเหนือขาดบุคคลที่เหมาะสมจะเป็นกษัตริย์และอีกประการหนึ่งแสดงให้เห็นว่าเมืองละโว้มีความเจริญรุ่งเรืองและมีอิทธิพลทางการเมืองจนเป็นที่ยอมรับของชาวเมืองหริภุญไชยพระนางจามเทวีไม่ได้เสด็จขึ้นมาเพียงพระองค์เดียวหากแต่ได้นำคณะสงฆ์และนักปราชญ์ราชบัณฑิตขึ้นมาด้วยจำนวนหนึ่งซึ่งนักวิชาการได้วิเคราะห์ว่าน่าจะมีผลในด้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมขึ้นในเมืองหริภุญไชยอันมีผลให้บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็วในสมัยของพระนางจามเทวีจัดได้ว่าเป็นระยะเวลาแห่งการสร้างบ้านแปงเมืองมีการขยายบ้านเมืองออกไปอย่างกว้างขวาง ดังเช่นที่กล่าวในตำนานว่าเจ้าอนันตยศได้ไปสร้างเมืองเขลางค์ขึ้นเป็นเมืองคู่กับเมืองหริภุญไชยแสดงให้เห็นว่าหริภุญไชยไม่ใช่เป็นชื่อเมืองอย่างเดียว หากยังหมายถึงชื่อของแคว้น ๆหนึ่ง โดยมีเมืองหริภุญไชยเป็นศูนย์กลาง

    ในสมัยต่อมาหลักฐานในชินกาลมาลีปกรณ์ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองหริภุญไชยกับเมืองสุธรรมนครและเมืองหงสาวดีกล่าวคือเมื่อพระเจ้ากัมพลครองราชสมบัติได้เกิดเหตุอหิวาตกโรคขึ้นที่เมืองหริภุญไชยชาวเมืองได้อพยพหนีไปอยู่ที่เมืองสุธรรมนครและเมืองหงสาวดีเป็นเวลาหลายปีนอกจากนี้เมืองหริภุญไชยยังมีความสัมพันธ์กับเมืองมอญ ซึ่งปรากฏหลักฐานคือศิลาจารึกที่ใช้ภาษามอญจำนวน 7 หลักที่ลำพูนตัวอักษรมอญที่ใช้ในจารึกใกล้เคียงกับอักษรมอญที่เมืองพุกามในประเทศพม่ามีอายุระหว่าง พ.ศ.1628 - 1656 </B>

    ประวัติศาสตร์ของเมืองหริภุญไชยภายหลังรัชสมัยพระนางจามเทวีตามที่ปรากฏในเอกสารตำนานและศิลาจารึกรวมทั้งหลักฐานที่เป็นโบราณวัตถุสถานส่วนใหญ่จะกล่าวถึงกิจกรรมทางศาสนา เช่นการสร้างวัด การบูรณะเจดีย์การปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ การสร้างพระพุทธรูปการที่จารึกมีภาษาบาลีปนอยู่ด้วยแสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนาที่แพร่หลายอยู่ที่เมืองหริภุญไชยในสมัยนั้นน่าจะเป็นพุทธศาสนาหินยานนิการเถรวาทพระมหากษัตริย์ที่ทรงเอาใจใส่และทำนุบำรุงศาสนาตามที่ได้ระบุไว้ในตำนานคือพระเจ้าอาทิตยราชพระองค์ได้สร้างพระธาตุเจดีย์หลวงบรรจุพระบรมธาตุขึ้นกลางเมืองหริภุญไชยส่วนพระอัครมเหสีของพระองค์ พระนางปทุมวดีเทวี ก็ทรงสร้างสถูปชื่อสุวรรณเจดีย์

    เมืองหริภุญไชย อาจจะรวมไปถึงแคว้นหริภุญไชยมีความเจริญมากแห่งหนึ่งในบริเวณภาคเหนือตอนบน และมีความสัมพันธ์กับหัวเมืองอื่น ๆมาตลอดจนมีการยอมรับศิลปวัฒนธรรมจากแหล่งอื่นเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมที่เป็นของตนเองในขณะเดียวกันบริเวณภาคเหนือตอนบนยังมีเมืองที่เป็นอิสระที่มีชาวพื้นเมืองอาศัยมาแต่เดิมและได้พัฒนาขึ้นมาจนมีความเจริญทัดเทียมกับเมืองหริภุญไชย

    พระมหากษัตริย์ที่ครองเมืองหริภุญไชยสืบต่อจากพระนางจามเทวีมีมาหลายชั่วคนจนถึงกษัตริย์องค์สุดท้ายคือพญายีบา ก็ถูกพระเจ้ามังรายกษัตริย์ผู้ครองเมืองเชียงรายในแคว้นโยนก ยกมาตีในปีพ.ศ.1836 ตั้งแต่นั้นมาเมืองหริภุญไชยก็ถูกรวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับแคว้นโยนกและกลายเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นล้านนาที่มีพญามังรายเป็นปฐมกษัตริย์และมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเชียงใหม่นับเป็นการสิ้นสุดของเมืองหริภุญไชยที่มีอายุยืนยาวถึง 630 ปี

    เอกสารประกอบ
    กำธร ธิฉลาด ,ประวัติศาสตร์เมืองลำพูน
    ประวัติพระนางจามเทวี,เอกสารเผยแพร่วัดจามเทวีลำพูน
    จักรพงษ์คำบุญเรือง
    jakpong@chiangmainews.co.th.

    ลำพูนมีชื่อเดิมว่า หริภุญชัย หรือ หริภุญไชย "หริ" แปลว่า สมอ "ภุญไชย" แปลว่า ฉันเป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดในล้านนา จากการค้นคว้าทางด้านโบราณคดีในภาคเหนือตามโครงการโบราณคดีประเทศไทยของกรมศิลปากร นั้น มีการขุดพบหลักฐานหลายอย่าง เช่นโครงกระดูกมนุษย์ ภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ ภาชนะดินเผาลายเชือกทาบผสมลายเขียนสีแดงที่ส่วนคอและขอบปาก กำไลสำริด กำไลหิน กำไลแก้ว ลูกปัดแก้ว ขวานหินขัดเครื่องมือเหล็กและเตาเผา ที่บ้านวังไฮ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน บ้านสันป่าคาและบ้านยางทองใต้ จังหวัดเชียงใหม่

    เมืองหริภุญไชย สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1204 โดยวาสุเทพฤาษี (สุเทาฤาษี) เป็นผู้สร้างเพราะเห็นว่ามีชัยภูมิดีเป็นที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาประทับและได้รวบรวมชาวบ้านผู้คนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในละแวกน ั้นให้อยู่รวมกันและปรึกษากับสุกกทันตฤาษีผู้เป็นสหาย ให้หาผู้ที่เหมาะสมมาครองเมืองในที่สุด จึงตกลงขอพระนางจามเทวี พระธิดาของพระยาจักกวัติแห่งกรุงละโว้ (ลพบุรี)และเป็นพระมเหสีของเจ้าเมืองรามบุรย์ (อยู่ใกล้เมืองละโว้) มาครองเมืองหริภุญชัยซึ่งขณะนั้น พระนางจามเทวีทรงมีพระครรภ์ได้ 3 เดือน ระหว่างการเดินทางพระนางจามเทวีทรงสร้างพระอาราม ณบริเวณบ้านระมักและสร้างวัดกู่ระมักขึ้นเป็นแห่งแรก

    พระนางจามเทวีพร้อมด้วยบริวารได้เดินทางมาหริภุญชัย ใช้เวลานาน 7 เดือน พระนางทรงนำเอาพระแก้วขาว (เสตังคมณี) ซึ่งสร้างขึ้นที่เมืองละโว้ประมาณ พ.ศ. 700 มาด้วย (ปัจจุบันพระแก้วขาวองค์นี้ประดิษฐานอยู่ที่วัดเชียง มั่น จังหวัดเชียงใหม่)วาสุเทพฤาษี และสุกกทันตฤาษี พร้อมด้วยชาวเมืองได้อัญเชิญพระนางจามเทวีนั่งบนกองทองคำ (กองหญ้าแพรก) แล้วทำพิธีราชาภิเษก เมื่อ พ.ศ. 1206
    หลังจากพระนางจามเทวีครองเมืองได้ 7 วัน ก็ประสูติพระโอรสฝาแฝด 2 พระองค์ในวันเพ็ญเดือน 3 พระโอรสองค์ที่พระนามว่า "มหันตยศ" องค์น้องพระนามว่า "อนันตยศ"หรือ "อินทวระ" พระนางจามเทวีได้นำขนบธรรมเนียมประเพณีอารยธรรมต่าง ๆของละโว้เข้ามาเผยแพร่ และได้ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองให้ชาวเมืองดำรงตนยึดมั่นอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม ด้วยอำนาจบุญบารมีของพระนางจึงได้ช้างเผือกดั่งสีเงินยวง (ใสบริสุทธิ์) งาทั้งสองข้างมีสีเขียวเรียกว่า "ภู่ก่ำงาเขียว" (ช้างพลายผู้มีผิวกายเปล่งปลั่งและมีงาสีเขียว) จากเชิงเขาอ่างสลุงอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มาเป็นช้างพระที่นั่งคู่บารมี

    ต่อมาขุนวิลังคราช เจ้าเมืองลัวะ ยกทัพมาตีเมืองหริภุญไชยเพื่อชิงพระนางจามเทวีไปเป็นมเหสี เจ้ามาหันตยศ และเจ้าอนันตยศได้ทรงช้างบารมีของพระนางนำไพร่พลออกสู่รบขุนวิลังคราชเห็นรัศมีสีแดงลุกโพลงอยู่ปลายงาช้างเผือก ก็ตกใจกลัวตายหนีไปเมื่อช้างเผือกคู่บารมีได้ตายลงพระนางจึงนำซากช้างฝังไว้พร้อมซากม้าพระที่นั่งของพระโอรส ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า "กู่ช้าง กู่ม้า"

    เมื่อพระราชโอรสทั้ง 2 พระองค์ เจริญวัยขึ้น พระนางจามเทวีจึงสละราชสมบัติให้เจ้ามหันตยศครองเมืองหริภุญชัย และสร้างเมืองเขลางค์ (ลำปาง)ให้เจ้าอนันตยศไปครอง ส่วนพระนางก็บำเพ็ญศีลเจริญภาวนาปาวารณาอยู่ในร่มพระพุทธศาสนาตลอดมา จนมีพระชนมายุได้ 92 พรรษา จึงเสด็จสวรรคต พระเจ้ามหันตยศทรงจัดการพระศพมารดาด้วยการสร้างพระเมรุในป่าไม้ยางแ ห่งหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้กับอารามวัดมาลุวาราม (วัดสันป่ายางหลวงที่พระนางจามเทวีสร้างไว้)แล้วถวายพระเพลิง และสร้างสุวรรณจังโกฏิเจดีย์ บรรจุพระอัฐิหุ้มด้วยแผ่นทองคำพร้อมทั้งเครื่องประดับของพระราชมารดา ตลอดจนสร้างวัดขึ้นและขนานนามว่า "วัดจามเทวี" ต่อมายอดพระเจดีย์หักพังลงมา ชาวบ้านจึงเรียกว่า "วัดกู่กุด"สมัยของพระนางจามเทวี ได้ทะนุบำรุงบ้านเมืองทั้งด้านการปกครองและการศาสนาดังนี้

    ด้านการปกครอง
    พระนางจามเทวีวางระเบียบการปกครองเป็นแบบ เวียง วังคลัง นา ดังนี้
    1. แต่งตั้งพระพี่เลี้ยง พระนางเกษวดี เป็นผู้รักษาพระนครและเป็นแม่กองบูรณะพระนคร
    2. แต่งตั้งพระพี่เลี้ยง พระนางปทุมวดีเป็นผู้รักษากิจการต่าง ๆ ภายในพระราชวัง
    3. แต่งตั้งพระยาโชติกราชเศรษฐีเป็นขุนคลัง
    4. แต่งตั้งนักองค์อินทร์ เป็นพระยาโพสพ รักษาที่ดิน ไร่นาเกษตร

    ด้านการศาสนา
    พระนางจามเทวี ทางสร้างพระอาราม 4 ทิศ ขึ้นประจำจตุรทิศของพระนคร เพื่อเป็นพุทธปราการปกป้องคุ้มครองพระนครให้เจริญรุ่งเรืองปราศจากภัยพิบัติต่าง ๆ ดังนี้
    1. วัดอาพัทธราม (วัดพระคงฤาษี) เป็นพุทธปราการประจำทิศเหนือ
    2. วัดอรัญญิกรัมนการาม (วัดดอนแก้ว) เป็นพุทธปราการประจำทิศตะวันออก
    3. วัดมหาสัตตามราม (วัดประตูลี้)เป็นพุทธปราการประจำทิศใต้
    4. วัดมหาวนาราม (วัดมหาวัน)เป็นพุทธปราการประจำทิศตะวันตก<O:p</O:p<O:p</O:p
    ส่วนกำแพงเมืองหริภุญไชย ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นกำแพงเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยพระเมืองแก้ว พระองค์ทรงเห็นว่าตัวเมืองลำพูนนั้นกว้างขวางมาก เวลามีศึกศัตรูมาติดเมือง ยากจะป้องกันไว้ได้จึงให้รื้อกำแพงเมืองเก่าออก แล้วก่อกำแพงขุดคูเมืองใหม่ให้แคบกว่าเดิม
    หลังจากนั้น มีกษัตริย์ปกครองเมืองหริภุญชัยอีกหลายพระองค์รวมทั้ งสิ้น 47 พระองค์ คือ

    1. พระนางจามเทวี
    2. เจ้ามหันตยศ
    3. พระเจ้าดูบัญญาราช
    4. พระเจ้าอรุณโณทัย
    5. พระเจ้าสุวรรณมัญชนะ
    6. พระเจ้าสินิศระ
    7. พระเจ้าปทุมราช
    8. พระเจ้ากุลเทวะ
    9. พระเจ้ามิลักขะ
    10. พระเจ้ามิลักขะราช
    11. พระเจ้าโนกราช
    12. พระเจ้าพาลราช
    13. พระเจ้ากุตตราช
    14. พระยาเสละราช
    15. พระยากะมละ
    16. พระยาโยจะราช
    17. พระยาอัทรสัตตะ
    18. พระยาวิชิดทะจักรวรรตราช
    19. พระยากะมละ
    20. พระยาจุลเลระ
    21. พระยาเอกรุจักรวรรติราช
    22. พระยาสุเทวราช
    23. พระยาไชยะละราช
    24. พระยาลารยปาลนคร
    25. พระยาเสละ
    26. พระยาตาลราช
    27. พระยาชีลักกีราช
    28. พระยานันทุละ
    29. พระยาอินทวระ
    30. พระยาอาทิตย์ธรรมิกราช
    31. พระยารัตนะคะราช
    32. พระยาสัพพสิทธิ์ราช
    33. พระยาเชษฐราช
    34 . พระยาจักกะยะราช
    35. พระยาถวิลยะราช
    36. พระยากากะยะราช
    37. พระยาสิริปุญญราราช
    38. พระยาเวทะนะราช
    39. พระยาทกตัญญะราช
    40. พระยาไทยอำมาตยะ
    41. พระยาอำมาตปะนะ
    42. พระยาทาอามะ
    43. พระยาตาราชาละ
    44. พระยาโยทะ
    45. พระยาอ้าย
    46. พระยาเสต
    47. พระยายีบา

    ในปี พ.ศ. 2357 พระบามสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเจ้ารัตนหัวเมืองแก้ว (พระยาราชวงศ์คำฝั้น)เป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูนยุคใหม่ ซึ่งมีจำนวน 10 พระองค์ คือ

    1. เจ้าคำฝั้นพ.ศ. 2357 - 2358

    2. เจ้าศรีบุญมา พ.ศ. 2358 - 2370

    3. เจ้าน้อยอินทร (อิ่น) พ.ศ. 2370 - 2381

    4. เจ้าน้อยคำตัน พ.ศ. 2381 - 2384

    5. เจ้าน้อยธรรมลังกา พ.ศ. 2384 - 2386

    6. เจ้าน้อยไชยลังการ์ พ.ศ. 2386 - 2414

    7. เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ (เจ้าดาวเรือง) พ.ศ. 2414 - 2431

    8. เจ้าเหมพันธุ์ไพจิตร (เจ้าคำหยาด) พ.ศ. 2431 - 2438

    9. เจ้าอินทยงยศ (เจ้าน้อยอินทยงยศ) พ.ศ. 2438 - 2454

    10. เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ พ.ศ. 2454 - 2486

    เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย จึงให้ยุบเลิกตำแหน่งผู้ครองนครทั้งหมดไม่แต่งตั้งขึ้นใหม่อีก ระบบเจ้าผู้ครองนครจึงสิ้นสุดลงและเริ่มปกครองโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลาง<O:p</O:p
    http://www.lamphuncity.th.org/history.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กรกฎาคม 2008
  7. newcomer

    newcomer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,317
    ค่าพลัง:
    +3,934
    เรียน ท่านเพชร
    ขอร่วมบุญครับ โอนและโทรแจ้ง เจ้าหน้าที่ เรียบร้อยแล้ว ครับ
    โมทนาบุญกับทุกท่านครับ
     
  8. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ขอโมทนาด้วยครับ ขอให้เพื่อนๆที่ร่วมบุญนี้ได้โปรดขอรับใบอนุโมทนาบัตร หรือใบเสร็จรับเงินจากทางมูลนิธิพระดาบสด้วยนะครับ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนภาษีปี ๒๕๕๑ครับ
     
  9. chantasakuldecha

    chantasakuldecha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,331
    โมทนาบุญด้วยครับ
     
  10. MEA

    MEA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    150
    ค่าพลัง:
    +660
  11. ดร.แอนดี้

    ดร.แอนดี้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,403
    ค่าพลัง:
    +3,807
    ผมโอนเงินเข้าบัญชีมูลนิธิพระดาบสแล้วคืนนี้ (ทางInternet) ปกติจะทำบุญกับมูลนิธิชัยพัฒนาทุกเดือนอยู่แล้วครับ ครูบาอาจารย์สอนมาให้ทำบุญกับในหลวงครับ

    ขอโมทานาบุญกับทุกๆท่านด้วยครับ
     
  12. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ขณะนี้มีผู้ร่วมบุญกับในหลวงแจ้งเข้ามาในกระทู้ และ PM แจ้งชื่อที่อยู่ ๓ท่านครับ มอบพระฤาษีวาสุเทพ และสุกกทันตฤาษีตามลำดับการโอนสมทบเข้ามูลนิธิพระดาบสแจ้งชื่อที่อยู่มาทาง PM ครับ
    องค์ที่ ๑ คุณ newcomer
    องค์ที่ ๒ คุณ huahin007

    องค์ที่ ๓ คุณ ดร.แอนดี้
     
  13. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    โมทนาบุญโดยเสด็จพระราชกุศลด้วยครับ โอ๊ต
     
  14. drmetta

    drmetta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +752
    ได้ร่วมทำบุญกับมูลนิธิพระดาบสแล้ว โดยโอนเงินเข้า บช ๐๒๐-๒-๕๔๐๐-๔ ธไทยพานิชย์ แล้ว
     
  15. MEA

    MEA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    150
    ค่าพลัง:
    +660
    วันนี้ 20/7/2551 โอนเงินทำบุญกับมูลนิธิพระดาบสแล้ว แต่ยังติดต่อเจ้าหน้าที่ไม่ได้ไว้พรุ่งนี้จะติดต่อใหม่ครับ ขอโมทนาบุญร่วมกับทุกๆๆท่านครับ ขอบคุณพี่เพชรด้วยครับ
    ________________________________________________________

    พระวังหน้าหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก,สร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะ,ทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ<!-- / message -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กรกฎาคม 2008
  16. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
     
  17. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
  18. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
    ขอบคุณครับพี่ตั้งจิตครับ
    คิดเช่นนั้นเช่นกันแต่ลองโทรดูครับเผื่ออยู่ครับ
    น้องเอ
     
  19. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    อย่างนี้ต้องช่วยกันทำบุญกันมากๆนะครับ เจ้าหน้าที่เค้าจะได้ไม่มีเวลาพักเหนื่อย หากเขาพักไม่ได้เลยนี่แสดงว่ากำลังบุญมากันมาก มากจนไม่มีเวลาพัก...
     
  20. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    <TABLE class=tborder style="BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px" cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=tcat colSpan=2>ข้อความส่วนตัว: Re: ร่วมทำบุญกับมูลนิธิพระดาบส</TD></TR><TR><TD class=alt1>Recipients: พระวิภังค์

    </TD></TR></TBODY></TABLE><!-- post # --><TABLE class=tborder id=post cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid"><!-- status icon and date -->[​IMG] วันนี้, 09:13 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right></TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>:::เพชร:::<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_", true); </SCRIPT> </B>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งล่าสุด: วันนี้ 09:28 PM
    วันที่สมัคร: Jul 2006
    อายุ: 43
    ข้อความ: 4,491
    ได้ให้อนุโมทนา: 5,676
    ได้รับอนุโมทนา 48,308 ครั้ง ใน 4,608 โพส
    <IF condition="">
    </IF>พลังการให้คะแนน: 3311 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]



    </TD><TD class=alt1 id=td_post_ style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- icon and title -->Re: ร่วมทำบุญกับมูลนิธิพระดาบส </B>
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ พระวิภังค์
    ได้เข้าไปอ่านดูรายละเอียดของโครงการพระดาบสในการสร้างโอกาสทางการศึกษาแล้วก็รู้สึกยินดีนัก วันนี้เลยได้ทีร่วมบุญกับมูลนิธินี้เสียที โดยได้โอนเงินเข้าที่บัญชี 020-2-54900-4 ธ.ไทยพาณิชย์ จำนวนหนึ่ง จึงได้ PM มาแจ้งคุณเพชรเพื่อขอรับพระฤาษีวาสุเทพ และสุกกทันตฤาษี จำนวน 1 องค์

    ช่วยส่งที่

    พระเฉลิมชาติ
    xxxxxx

    ขอโมทนาบุญกับท่านด้วยจิตอันยินดี

    </TD></TR></TBODY></TABLE></B>
    ขอโมทนาบุญทุกประการกับพระคุรเจ้าด้วยครับ..พระเครื่องลำพูนจะดำเนินการจัดส่งรอบละ ๒๐ ท่าน อาจจะล่าช้านะครับ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>ขณะนี้มีผู้ร่วมบุญกับในหลวงแจ้งเข้ามาในกระทู้ และ PM แจ้งชื่อที่อยู่ ท่านครับ มอบพระฤาษีวาสุเทพ และสุกกทันตฤาษีตามลำดับการโอนสมทบเข้ามูลนิธิพระดาบสแจ้งชื่อที่อยู่มาทาง PM ครับ</B>
    องค์ที่ ๑ คุณ newcomer
    องค์ที่ ๒ คุณ huahin007
    องค์ที่ ๓ คุณ ดร.แอนดี้
    องค์ที่ ๔ พระวิภังค์
    องค์ที่ ๕ คุณ drmetta
    องค์ที่ ๖ คุณ ตั้งจิต
    องค์ที่ ๗ คุณ MEA
    องค์ที่ ๘ คุณ aries2947
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...