วันปุพพเปตพลีวันสารท” ชาวปักษ์ใต้เรียกว่า วันทำบุญเดือนสิบ, วันสารทเดือนสิบ, วันรับส่งตายาย,

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ปังปอนด์9, 11 กันยายน 2022.

  1. ปังปอนด์9

    ปังปอนด์9 สมาชิกใหม่ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2022
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +8
    วันปุพพเปตพลีวันสารท” ชาวปักษ์ใต้เรียกว่า วันทำบุญเดือนสิบ, วันสารทเดือนสิบ, วันรับส่งตายาย,

    วันสารท” ชาวปักษ์ใต้เรียกว่า วันทำบุญเดือนสิบ, วันสารทเดือนสิบ, วันรับส่งตายาย, วันชิงเปรต หรือวันรับเปรต ส่งเปรต เป็นประเพณี ทำบุญที่เกิดจากความเชื่อว่าบรรพบุรุษของตนที่ล่วงลับไปแล้ว บางพวกก็ไปสู่ที่ดีที่ชอบ บางพวกไปสู่ที่ชั่วได้รับทุกข์ทรมานต่าง ๆ นานา และได้รับความอดอยากอย่างแสนสาหัสอีกด้วย ญาติพี่น้องที่อยู่ข้างหลังจึงต้องทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้เรียกว่า “บุพเปตพลี

    631c577b4723d75aa0363d14_800x0xcover_PO7hIjf3.jpg
    ขอขอบคุณข้อมูลจากเพจวัดพัฒนาราม
    พระอารามหลวง
    ผู้มีบาปมีกรรมต้องไปทนทุกข์ทรมานเป็น เปรต อยู่ในอบายภูมิ พญายมบาลผู้ทำหน้าที่ลงทัณฑ์ในยมโลก จะได้ปลดปล่อยเปรตเหล่านี้ให้มาเยือนโลก เยี่ยมลูกเยี่ยมหลาน พร้อมทั้งรับส่วนบุญที่ลูกหลานทำบุญอุทิศให้ ชาวบ้านจะทำบุญวันสารทเดือนสิบ ปีละ 2 ครั้ง คือครั้งแรกในวันวันขึ้น 15 ค่ำ หรือ แรม 1 ค่ำ เดือน 10 ขึ้นอยู่กับประเพณีปฏิบัติ เป็นวันรับตายาย หรือวันรับเปรต และอีกครั้งหนึ่งในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันส่งตายาย หรือวันส่งเปรต เพราะเป็นวันครบกำหนด ที่เปตชนจะต้องกลับสู่ยมโลก

    ก่อนจะถึงวันทำบุญ ชาวบ้านจะต้องเตรียมทำขนมเดือนสิบ ซึ่งเป็นขนมที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการทำบุญ วันสารทเดือนสิบหรือทำบุญรับเปรตส่งเปรตโดยเฉพาะ เรียกว่า “ขนมตายาย” ซึ่งมีอยู่หลายอย่าง แต่ขนมที่สำคัญประจำเทศกาลที่จะขาดเสียมิได้มีอยู่ 5 อย่าง คือ 1. ขนมลา 2. ขนมดีซำหรือขนมเจาะหู 3. พอง 4. ขนมบ้า 5. ขนมกงหรือขนมไข่ปลา ขนมทั้ง 5 นี้ ทำขึ้นตามความเชื่อและ จินตนาการเกี่ยวข้องกับเปรตโดยเฉพาะ ดังนี้

    631c5786d376224beafc2546_800x0xcover_T2ikQ3zw.jpg
    ขอขอบคุณข้อมูลจากเพจวัดพัฒนาราม
    พระอารามหลวง
    1.ขนมลา แทนเครื่องนุ่งห่มแพรพรรณ

    1. ขนมดีซำ แทนเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย
    2. ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพสำหรับผู้ล่วงลับใช้ล่องข้ามห้วงมหรรณพ
    3. ขนมบ้า แทนสะบ้าใช้เล่นในงานเทศกาลสงกรานต์
      5.ขนมกง หรือ ขนมไข่ปลา แทนเครื่องประดับ
      นอกจากขนมตายายที่สำคัญ 5 ชนิดนี้แล้วชาวบ้านอาจจะทำขนมอย่างอื่นๆ อีก เช่น ขนมเทียน ยาหนม (กะละแม) ต้ม ปัด เป็นต้น
    ชาวบ้านจะทำขนมต่างๆ ที่ใช้ทำบุญในวันสารทเดือนสิบเหล่านี้ เพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่ญาติพี่น้อง และบุคคลที่เคารพนับถือ ตลอดถึงเพื่อนบ้านส่วนขนมที่จะนำไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนก็จะจัดแบ่งแยกเอาไว้ต่างหาก

    อีกส่วนหนึ่งก็จะนำไปถวายพระภิกษุสงฆ์ ชาวบ้านบางบ้านก็อาจจะนำมารวมกันจัดทำเป็น “หมฺรับ” หรือ สำรับ คือ อาหารหรือข้าวของที่จัดเป็นชุด เพื่อใช้ถวายพระ ข้างใน “หมฺรับ” จะบรรจุด้วยอาหารแห้ง ผลหมากรากไม้ หรือสิ่งของอย่างอื่นๆ เช่น ข้าวสาร หอม กระเทียม พริก เกลือน้ำตาล กะปิ ปลาเค็ม เนื้อเค็ม กล้วย อ้อย มะพร้าวส้มโอ ไต้ เข็มเย็บผ้า ด้าย ธูป เทียน ฯลฯ บางบ้านก็ใช้ยางพาราที่เป็นแผ่นรองไว้ที่ก้นหรือข้างๆ หมฺรับ ก็มีส่วนด้านนอกก็ใช้ขนมตายาย 5 ชนิด

    631c578e64d69fbb9f35d8d7_800x0xcover_Iod1SAkV.jpg
    ขอขอบคุณข้อมูลจากเพจวัดพัฒนาราม
    พระอารามหลวง
    ดังกล่าวประดับประดาโดยทำโครงเป็นยอดสูงมียอดแหลมคล้ายเจดีย์ปิดคลุมหมฺรับด้วยแผ่นขนมลา ห้อยด้วยขนมเจาะหูและขนมอื่นๆ ปักประดับด้วยธงทิวหรือทำเป็นพุ่มเงิน ช่วยกันตกแต่งหมฺรับให้สวยงามรวมกันเป็นหมฺรับของหมู่บ้าน เสร็จแล้วก็แห่แหนนำไปวัด บางแห่งก็มีการประกวดหมฺรับกันด้วย

    ท่านใดที่สนใจแลกเปลี่ยนความรู้สามารถเข้ามาตั้งกระทู้ธรรมะกระทู้คำถาม และศึกษาข้อมูลกับเพื่อนๆในเว็บบอร์ดกันได้
    https://thenirvanalive.com/wp/community/

    ขอขอบคุณข้อมูลจากเพจวัดพัฒนาราม
    พระอารามหลวง


    68821-1024x1024.jpg
    Edit
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...