วิธีดูพระอรหันต์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 22 พฤษภาคม 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕
    ๒. ปฏิสัลลานสูตร
    [๑๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปุพพารามปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา
    ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น ประทับ
    นั่งอยู่ภายนอกซุ้มประตู ลำดับนั้นแลพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    ถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ก็สมัยนั้น
    ชฎิล ๗คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎก ๗ คน และปริพาชก ๗ คนมีขน
    รักแร้และเล็บงอกยาว หาบบริขารหลายอย่าง เดินผ่านไปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
    พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทอดพระเนตรเห็นชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎก
    ๗ คน และปริพาชก ๗ คนเหล่านั้น ผู้มีขนรักแร้และเล็บงอกยาว หาบบริขารหลายอย่าง
    เดินผ่านไปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วทรงลุกจากอาสนะ ทรงกระทำผ้าห่มเฉวียงบ่า
    ข้างหนึ่งแล้วทรงคุกพระชานุมณฑลเบื้องขวาลงที่แผ่นดิน ทรงประนมอัญชลีไปทางที่ชฎิล ๗ คน
    นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎก ๗ คน และปริพาชก ๗ คนแล้วทรงประกาศ
    พระนาม ๓ ครั้งว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าคือ พระเจ้าปเสนทิโกศล ข้าแต่ท่าน
    ผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าคือพระเจ้าปเสนทิโกศล ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าคือพระเจ้า
    ปเสนทิโกศล ลำดับนั้นแล เมื่อชฎิล ๗คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎก ๗ คน
    และปริพาชก ๗ คนเหล่านั้นหลีกไปแล้วไม่นาน พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้า
    พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านเหล่านั้น เป็นคนหนึ่ง
    ในจำนวนพระอรหันต์หรือในจำนวนท่านผู้บรรลุอรหัตตมรรคในโลก ฯ
    [๑๓๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรเป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม
    ทรงครองฆราวาสอันคับคั่งด้วยพระโอรสและพระมเหสีอยู่ ทรงใช้สอยผ้าแคว้นกาสีและจันทน์อยู่
    ทรงทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องประเทืองผิวอยู่ ทรงยินดีเงินและทองอยู่ ยากที่จะทรง
    ทราบได้ว่า ท่านเหล่านี้เป็นพระอรหันต์ หรือว่าท่านเหล่านี้บรรลุอรหัตตมรรค ฯ
    ๑. ดูกรมหาบพิตร ศีล พึงทราบได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน และศีลนั้นแลพึงทราบได้โดย
    กาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย เมื่อมนสิการพึงทราบได้ ไม่มนสิการไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญา
    พึงทราบได้ ผู้มีปัญญาทรามไม่พึงทราบ ฯ
    ๒. ความเป็นผู้สะอาด พึงทราบได้ด้วยการปราศรัย และความเป็นผู้สะอาดนั้นแล
    พึงทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย มนสิการพึงทราบได้ ไม่มนสิการไม่พึงทราบ
    ผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญาทรามไม่พึงทราบ ฯ
    ๓. กำลังใจ พึงทราบได้ในเพราะอันตราย และกำลังใจนั้นแลพึงทราบได้โดยกาลนาน
    ไม่ใช่โดยการนิดหน่อย มนสิการพึงทราบได้ ไม่มนสิการไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญาพึงทราบได้
    ผู้มีปัญญาทรามไม่พึงทราบ ฯ
    ๔. ปัญญา พึงทราบได้ด้วยการสนทนา ก็ปัญญานั้นแลพึงทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่
    โดยการนิดหน่อย มนสิการพึงทราบได้ ไม่มนสิการไม่พึงทราบผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญา
    ทรามไม่พึงทราบ ฯ
    [๑๓๔] ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญไม่เคยมีมา
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรเป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม ทรง
    ครองฆราวาสอันคับคั่งด้วยพระโอรสและพระมเหสีอยู่ ทรงใช้สอยผ้าแคว้นกาสีและจันทน์อยู่
    ทรงทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องประเทืองผิวอยู่ ทรงยินดีเงินและทองอยู่ ยากที่จะรู้
    ได้ว่า ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ หรือว่าท่านเหล่านี้บรรลุอรหัตตมรรค ดูกรมหาบพิตร
    ศีล พึงทราบได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน และศีลนั้นแลพึงทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาล
    นิดหน่อย มนสิการพึงทราบได้ ไม่มนสิการไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญาทราม
    ไม่พึงทราบ ความเป็นผู้สะอาด พึงทราบได้ด้วยการปราศรัยและความเป็นผู้สะอาดนั้นแล
    พึงทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อยมนสิการพึงทราบได้ ไม่มนสิการไม่พึงทราบ
    ผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญาทรามไม่พึงทราบ กำลังใจ พึงทราบได้ในเพราะอันตราย และ
    กำลังใจนั้นแลพึงทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย มนสิการพึงทราบได้ ไม่มนสิการ
    ไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญาทรามไม่พึงทราบ ปัญญาพึงทราบได้ด้วยการสนทนา
    และปัญญานั้นแลพึงทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยนิดหน่อยมนสิการพึงทราบได้ ไม่
    มนสิการไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญาทรามไม่พึงทราบ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    พวกราชบุรุษปลอมตัวเป็นนักบวชเที่ยวสอดแนมของหม่อมฉันเหล่านี้ ตรวจตราชนบทแล้วกลับมา
    พวกเขาตรวจตราก่อน หม่อมฉันจักตรวจตราภายหลัง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ พวกเขา
    ลอยธุลีและมลทินแล้ว อาบดีแล้ว ไล้ทาดีแล้ว ปลงผมและหนวดแล้ว นุ่งผ้าขาวผู้อิ่มเอิบ
    พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนอยู่ ฯ
    ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลา
    นั้นว่า
    บรรพชิตไม่ควรพยายามในบาปกรรมทั่วไป ไม่ควรเป็นคนใช้ของผู้อื่น
    ไม่ควรอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่ ไม่ควรแสดงธรรมเพื่อประโยชน์แต่ทรัพย์นั้นๆ ฯ
    จบสูตรที่ ๒
     

แชร์หน้านี้

Loading...