เรื่องเด่น สุดทึ่ง! พบกระบวนการยุติธรรมเยาวชนและครอบครัวนิวซีแลนด์ สอดรับกับคำสอนของพระพุทธเจ้า

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 9 กรกฎาคม 2021.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    0b887-e0b89ee0b89ae0b881e0b8a3e0b8b0e0b89ae0b8a7e0b899e0b881e0b8b2e0b8a3e0b8a2e0b8b8e0b895e0b8b4.jpg

    วันศุกร์ ที่ 09 กรกฎาคม พ.ศ. 2564, 11.42 น.

    คณาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมรับฟังเรียนรู้แลกเปลี่ยน “ความรู้กฎหมายเยาวชนและครอบครัวในประเทศนิวซีแลนด์” พบกระบวนการยุติธรรมเยาวชนและครอบครัวในประเทศนิวซีแลนด์สอดรับกับคำสอนของพระพุทธเจ้า


    วันศุกร์ที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๔ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ฝ่ายสื่อสารหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า คณาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมรับฟังเรียนรู้แลกเปลี่ยน “ความรู้กฎหมายเยาวชนและครอบครัวในประเทศนิวซีแลนด์” ประเด็นเกี่ยวกับ ความเป็นมาของระบบยุติธรรมสำหรับเยาวชนในประเทศนิวซีแลนด์ หลักการภายใต้พระราชบัญญัติ Orange Tamariki บทบาทของเจ้าพนักงานตำรวจในการยุติคดีก่อนขึ้นสู่ศาลและในการดำเนินคดีในศาล บทบาทผู้พิพากษาในศาลเยาวชน ศาลชนพื้นเมืองและแนวทางการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูที่ใช้ในกระบวนการพิจารณา การแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กเยาวชนที่กระทำผิด บทบาทของการประชุมกลุ่มครอบครัว การแก้ไขบำบัดฟื้นฟูและการมีส่วนร่วมของชุมชน สิทธิของผู้เสียหายในคดีเยาวชน แนวโน้มสถิติคดีและลักษณะของเยาวชนที่กระทำผิด และแผนงานการพัฒนาในอนาคต

    เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร สรุปสาระสำคัญว่า ระบบยุติธรรมของเยาวชนจะต้องเน้นป้องกันมากกว่าแก้ไขเยียวยา ถ้ามีการกระทำผิดพลาดจะต้องเน้นฟื้นฟูเยียวยา ให้สามารถมาใช้ชีวิตในสังคมได้ปกติสุข ถือว่าเป็นการลงทุนในเยาวชนที่คุ้มค่าที่สุด เราต้องไม่ใช้ไม้แข็งกับเด็กเยาวชน ตั้งแต่เริ่มต้นแต่ควรหาทางสาเหตุว่าทำไมเยาวชนจงทำผิดพลาดทำไมเยาวชนจึงตัดสินใจเช่นนั้น จึงพยายามปรับการใช้ชีวิตเด็กเยาวชน เพราะจากการศึกษามีปัญหาด้านสื่อสารในเด็กเยาวชน การกระทำรุนแรงในครอบครัว มีการล่วงละเมิดทางเพศ โดยผลการศึกษา ๘๐ เปอร์เซ็นต์ เด็กผ่านประสบการณ์ความรุนแรงจากครอบครัว และสังคม ส่งผลให้เด็กเยาวชนกระทำความผิด รวมเด็กเยาวชนไม่อยากอยู่ในระบบการศึกษาก่อให้เกิดการใช้สารเสพติด

    ระบบยุติธรรมในเด็กเยาวชนจะทำในฝั่งศาลไม่ได้ จะต้องใช้กระบวนการอื่นๆ เข้ามาช่วย เช่น นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ รวมถึงอาสาสมัครต่างๆ ยุติธรรมเยาวชนจะต้องให้ชุมชนเข้ามีส่วนร่วมทุกมิติ มีการประชุมกลุ่มครอบครัว โดยนำบุคคลที่เกี่ยวข้องมาพูดคุยหาทางออกร่วมกันอย่างสันติ ศาลจะใช้เมื่อสุดโต่งจริงๆเท่านั้น กระบวนการศาลจะมีความชัดเจนว่าเรื่องใดบ้างจะเข้าสู่ศาล แต่จะให้ชุมชนแก้ปัญหา ศาลจะเป็นขั้นสุดท้ายเท่านั้นในการลงโทษ โดยหัวใจสำคัญมิใช่การลงโทษเด็ก แต่เป็นการแก้ไขเยียวยาเด็กเยาวชนเราควรแก้ปัญหาจากรากเหง้า เป็นการป้องกันที่ดีที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้มีการกระทำผิดซ้ำ ต้องค้นหารากเหง้าของปัญหาอย่าแท้จริง จะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เพื่อเข้ามาช่วยอย่างจริงจัง เราต้องมาช่วยมิใช่มาบังคับหรือการลงโทษ จะต้องยกศาลเป็นพื้นที่ในการแก้ปัญหามิใช่เพียงลงโทษเท่านั้น พยายามเน้นช่วยกันหาทางออกของปัญหาสำหรับศาลเยาวชน การแก้ปัญหาของเยาวชนจะต้องสร้างการมีส่วนร่วมกับทุกฝ่าย ศาลต้องมองตนเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน พยายามดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของเยาวชนอย่างแท้จริง

    เครื่องมือสำคัญในการแก้ปัญหาและป้องกันในอนาคตคือ “การประชุมกลุ่มครอบครัว” ซึ่งคนเข้ามาช่วยอาจจะเป็นบุคคลภายนอกที่อยู่ในชุมชน ว่าการเด็กแสดงออกต่างๆ อาจจะมาชุมชนที่มีการส่งต่อความรุนแรงมาเรื่อยๆ แบบยาวนาน เวลามีปัญหาคนในชุมชนต้องเข้ามาช่วยกันหาทางออก เพื่อนำเสนอแนวทางอื่นๆ ในการหาทางออก มิใช่เข้ามาตัดสินหรือมีมติใดๆ การประชุมกลุ่มครอบครัวทำให้คนได้แสดงความคิดเห็น มีการรับฟังกันอย่างจริงจัง พยายามหาทางออกร่วมกันเป็นแนวทางที่เหมาะสมสำหรับทุกคน แต่ระบบราชการอยากจะเป็นอุปสรรคในการการประชุมกลุ่มครอบครัว เพราะอาจจะมองการลงโทษเท่านั้น แต่แท้จริงการประชุมกลุ่มครอบครัวจะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่รากเหง้าอย่างแท้จริง

    เราต้องดึงผู้เสียหายเข้ามามีส่วนร่วมด้วย จะต้องคุ้มครองผู้เสียหาย ศาลเยาวชนเราเน้นให้คนทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ ซึ่งผู้เสียหายถ้าเข้ามาจะมีส่วนร่วมจะเป็นสิ่งที่ดีมาก ผู้ก่อเหตุและผู้เสียหายเข้ามาร่วมฟื้นฟูเยียวยาจะลดการกระทำผิดซ้ำ สร้างกระบวนการสำนึกผิด ว่าเหตุใดจึงต้องตัดสินใจกระทำผิดเช่นนั้น จะต้องสร้างความปลอดภัยทั้งสองฝ่ายรวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง การประชุมกลุ่มครอบครัวให้สำเร็จจะต้องมีการคุ้มครองความปลอดภัย เน้นการทำงานที่ชุมชนร่วมแก้ปัญหา การทำงานร่วมกันจะต้องมองไปถึงรากเหง้าของปัญหาเพื่อแก้ปัญหาระบบยุติธรรม แม้เราจะมีความแตกต่างทางวัฒนธรรม หน่วยงานภารกิจต่างกันสามารถทำงานร่วมกันได้ แต่จะต้องมีเป้าหมายร่วมกัน ศาลทำงานแบบเดิมไม่ได้อีกแล้ว จะต้องมีการปรับตัว เราต้องเน้นการป้องกันมากกว่าแก้ไข ศาลจะต้องรับใช้ชุมชนทำงานร่วมกับชุมชนโดยมีข้อตกลงร่วมในอนาคตของชาติหมายถึง “เด็กเยาวชน” จะต้องมีการตัดสินใจต้องไม่ใช่มาจากภาครัฐ แต่ต้องเป็นการตัดสินใจของการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการป้องกัน แก้ไข เยาวชน เพราะศาลเยาวชนมิใช่พื้นที่ชี้เป็นชี้ตาย แต่ต้องเป็นพื้นที่ในการแก้ไขและเยียวยา ควรเน้นประโยชน์สูงสุดของเด็กเยาวชนเป็นสำคัญ โดยการจับคุมเพื่อคุมขังไม่ได้ปัญหาแต่เราจะเน้นการป้องอย่างไร ศาลต้องเป็นพื้นที่ในการพูดคุยหาทางออกสำหรับเยาวชนมิใช่การลงโทษ สิ่งสำคัญคือ “การป้องกันจึงเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด” ถ้าไม่มีการป้องกันที่ดีจะนำไปสู่การกระทำผิดในสิ่งที่เป็นผู้ใหญ่ ถือว่าเป็นการส่งต่อจากเยาวชนถึงผู้ใหญ่ เราจึงควรให้ความสำคัญของเด็กเยาวชนในการพัฒนาเด็กอย่างเป็นระบบ แม้แต่ปัจจุบันศาลผู้ใหญ่เราพยายามหาทางออกมิใช่การลงโทษเช่นกัน เพราะที่ผ่านมาเด็กเยาวชนอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีความรุนแรง จึงนำไปสู่การกระทำที่ผิดพลาดจะต้องช่วยกันป้องกัน

    เลขาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร ในฐานะอาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา จึงสะท้อนว่า “กระบวนการยุติธรรมเยาวชนและครอบครัวในประเทศนิวซีแลนด์สอดรับกับคำสอนของพระพุทธเจ้า” ทำให้สะท้อนกระบวนการยุติธรรมเยาวชนและครอบครัวในประเทศไทยด้วย โดยสามารถแบ่งออก ๔ ประเด็น

    ๑) มุ่งแก้ไขที่รากเหง้า สอดรับกับหลักพุทธสันติวิธีคือ อริยสัจ ปัญหา สาเหตุ วิธีการแก้ เครื่องมือ โดยทางคำสอนทางพระพุทธศาสนาจะมุ่งแก้ปัญหาที่สาเหตุของปัญหา อะไรคือสาเหตุของปัญหาอย่างแท้จริงเข้าไปแก้ปัญหานั่นอย่างเป็นระบบ

    ๒) ประชุมกลุ่มครอบครัว สอดรับกับหลักพุทธสันติวิธีคือ อปริหานิยธรรม ธรรมที่นำไปสู่ความสามัคคี ด้วยการหมั่นประชุมพูดคุยเพื่อหาทางออก สร้างการรับฟังบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อหาทางออกอย่างสันติ

    ๓) สร้างส่วนร่วมของชุมชน สอดรับกับหลักพุทธสันติวิธีคือ ธรรมาภิบาล ในมิติของการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน พยายามมองหาจุดร่วมในการหาทางออก โดยดึงบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามาร่วมแก้ปัญหาร่วมกัน

    ๔) เน้นการป้องกัน สอดรับกับหลักพุทธสันติวิธีคือ ปธาน ๔ สังวรปธานเป็นการป้องกันไม่ให้เด็กเยาวชนกระทำผิดพลาดด้วยการพัฒนาด้านกายภาพ พฤติภาพ จิตตภาพ และปัญญาภาพ ให้มีความเข้มแข็ง มุ่งพัฒนาครอบครัวให้เป็นต้นแบบที่ดี ไม่ใช้ความรุนแรงแต่พยายามให้วิธีการสานเสวนาหาทางออกในครอบครัว รวมถึงการพัฒนาให้สังคมเป็นสังคมที่ดี

    ๕) ศาลผู้ใหญ่ สอดรับกับหลักพุทธสันติวิธีคือ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี กรณีผู้ใหญ่ทำผิดพลาดจึงมีกฎหมายที่เอื้อให้เกิดการพูดคุยกันก่อนฟ้อง คือ พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.๒๕๖๒ นำไปสู่การพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.๒๕๖๒ และตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนทั่วประเทศ เพื่อเป็นการป้องกันคดีขึ้นสู่ศาล แต่ยังเป็นการป้องกันที่ยังมารากเหง้าที่แท้จริงคือ การกระทำผิด จะต้องพัฒนาคนในสังคมในมิติที่สามารถป้องกันการกระทำผิดซ้ำ

    จากการวิจัยเรื่อง “รูปแบบการพัฒนาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี” ของหลักสูตรสันติศึกษา มจร สะท้อนความสำคัญว่า ที่ผ่านมากระบวนการยุติธรรมแบบฟ้องร้องสร้างข้อจำกัดความเจ็บปวด แต่การไกล่เกลี่ยเป็นกระบวนการยุติธรรมทางเลือกที่ดีสามารถฟื้นฟูความสัมพันธ์และช่วยเหลือเยียวยาในมิติของความยุติธรรม เมื่อเกิดความขัดแย้งต้องมีการฟื้นฟูความสัมพันธ์และช่วยเหลือเยียวยาในมิติของความยุติธรรม มีประเด็น ๔ มิติ ประกอบด้วย ๑) หลักการสำคัญและแนวปฏิบัติในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีการช่วยเหลือเยียวยาผู้เกี่ยวข้อง และได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง ๒) กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ๓) งานยุติธรรมชุมชน ๔) งานยุติธรรมเด็กและเยาวชน จึงมีการเปรียบเทียบกระบวนการยุติธรรมกระเเสหลัก (Conventional Criminal Justice) กับ กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) ประกอบด้วย

    ๑) กระบวนยุติธรรมกระแสหลัก หรือ กระบวนการยุติธรรมแบบฟ้องร้อง : Litigation ฟ้องร้องต่อศาลเพื่อไต่สวนชี้ขาดข้อพิพาท กระทำผิดละเมิดต่อรัฐ มีการละเมิดกฎหมาย มีการลงโทษผู้กระทำผิดตามหลักกฎหมาย มุ่งแก้แค้นทดแทน สร้างความข่มขู่ยับยั้ง และตัดโอกาสไม่ให้กระทำผิดอีก รูปแบบการของรัฐ ด้วยการล้างแค้น มุ่งล้างแค้น กักขัง จำคุก ประหารชีวิต ละเลยทางด้านจิตใจ ถือว่าเป็นแนวทางอำนวยความยุติธรรมดั้งเดิมตามคติว่า ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ใช้เวลานาน มีผู้ตั้งคำถามว่ากระบวนการยุติธรรมกระแสหลักให้ความสำคัญกับคนน้อยเกินไป แต่อำนาจรัฐควบคุมเพื่อมิให้มีการกระทำความผิด สามารถควบคุมอาชญากรรมได้

    ๒) กระบวนยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ หรือ ยุติธรรมทางเลือก การกระทำผิดอาญาเป็นการทำลายสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคลและความสมานฉันท์ในสังคม การกระทำผิดอาญาก่อให้เกิดผลกระทบความเสียหายจึงจำเป็นต้องมีการเยียวยา หรือ ฟื้นฟู: Restore ความเสียหายหรือผลกระทบจากการกระทำความผิดให้ทุกฝ่ายที่ได้รับผลร้าย ซึ่งรวมถึงผู้เสียหาย หรือ เหยื่ออาชญากรรม ผู้กระทำผิดและชุมชนเพื่อให้มีการชดใช้: Restitution การแก้ไขฟื้นฟู: Rehabilitation และการกลับเข้าสู่สังคม:Reintegration มุ่งเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมมากกว่าอดีต ผู้กระทำผิดไม่ถูกตีตราจากสังคม ลดปริมาณคดี กระบวนการยุติธรรมทางเลือก: Alternative Dispute Justice เริ่มจากทุกฝ่ายตกลงใจที่จะเข้าสู่กระบวนการ ประกอบด้วย

    ๑) การเจรจา:Negotiation เป็นการคุยกันเอง ๒) การไกล่เกลี่ย: Mediation มีคนกลางไกล่เกลี่ย ๓) อนุญาโตตุลาการ : Arbitration มีคนชี้ขาด ตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.๒๕๖๒ ใน ๖ หมวด ๗๒ มาตรา กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ มุ่งการฟื้นฟู ผู้ถูกกระทำ หรือ ผู้เสียหาย คืนสู่สภาพปกติ ด้วยการให้โอกาสผู้กระทำ ได้สำนึก ขอโทษ พร้อมชดใช้เยียวยาค่าเสียหาย มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ โดยเป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล เหยื่อไม่ถูกกีดกันออกจากกระบวนการยุติธรรม

    จึงมีการเกิดของยุติธรรมชุมชน เป็นกระบวนการที่กระทำในชุมชนระดับรากหญ้า ชุมชนต้องมีส่วนร่วมหรือเป็นหุ้นส่วน ทำให้สะท้อนถึง การเยียวยา: Remedy การเยียวยาอย่างเป็นผล การชดเชยกลับคืนสู่สภาพเดิม สินไหมทดแทน บำบัดฟื้นฟูสภาพ การทำให้พอใจ และประกันว่าจะไม่เกิดขึ้นอีก ความขัดแย้งจึงนำไปสู่ข้อจำกัดความเจ็บปวด ทำให้คิดวิธีการล้างแค้นเชิงสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการของรัฐเป็นเครื่องมือ ด้วยการใช้กระบวนการยุติธรรมแบบหลักแบบฟ้องร้อง แต่กระบวนการไกล่เกลี่ยนับว่าเป็นกระบวนการยุติธรรมทางเลือกที่ดี เพราะฟื้นฟูความสัมพันธ์ช่วยเหลือเยียวยาในมิติของความยุติธรรม

    ดังนั้น ยุติธรรมสำหรับเยาวชนจะต้องมีการประชุมกลุ่มครอบครัว เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีการกระทำผิดซ้ำ จึงร้องขอหยุดการใช้ไม้แข็งกับเด็กเยาวชน แต่จงการลงทุนในเยาวชนให้มากที่สุด เน้นกระบวนการป้องกันมากกว่าแก้ไข เพราะการขึ้นศาลเป็นฟางเส้นสุดท้ายศาลถือว่าขั้นตอนสุดท้ายสำหรับเด็กเยาวชนแล้ว ศาลจะต้องรับใช้ชุมชนมีข้อตกลงร่วมในอนาคตของชาติหมายถึง เยาวชน มิใช่การตัดสินใจมาจากภาครัฐเท่านั้นชุมชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วม ทำให้กระบวนการยุติธรรมเยาวชนและครอบครัวในประเทศนิวซีแลนด์สอดรับกับคำสอนของพระพุทธเจ้า และมีความหวังมองถึงกระบวนการยุติธรรมเยาวชนและครอบครัวในประเทศไทย


    ขอขอบคุณที่มา

    https://www.banmuang.co.th/news/education/241342
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 กรกฎาคม 2021

แชร์หน้านี้

Loading...