สุริยุปราคา 19 มีนาคม 2550

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 16 มีนาคม 2007.

  1. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@hotmail.com)


    สองสัปดาห์หลังเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงเมื่อคืนวันมาฆบูชา เช้าวันจันทร์ที่ 19 มีนาคม 2550 จะเกิดสุริยุปราคาบางส่วน มองเห็นได้ในประเทศไทย เอเชียใต้ บางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก รวมทั้งบางส่วนของมลรัฐอะแลสกาในทวีปอเมริกาเหนือ
    สุริยุปราคามีโอกาสเกิดขึ้นได้ในวันเดือนดับเมื่อดวงจันทร์โคจรมาอยู่ตรงกลางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์พร้อมกับทอดเงาตกลงบนพื้นผิวโลก เงาดวงจันทร์มีสองส่วนคือเงามืดกับเงามัว คนบนพื้นโลกส่วนที่อยู่ใต้เงามัวจะมองเห็นดวงอาทิตย์แหว่ง แต่หากอยู่ใต้เงามืดจะเห็นดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บังมิดดวงเรียกว่าสุริยุปราคาเต็มดวง สำหรับประเทศไทยเคยเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงล่าสุดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2538
    สุริยุปราคาที่จะเกิดในวันที่ 19 มีนาคม เป็นสุริยุปราคาบางส่วน หมายความว่าเงามืดของดวงจันทร์ไม่ได้ตกกระทบพื้นผิวโลก คงมีแต่เงามัวเท่านั้นที่พาดผ่านผิวโลก หากมองในภาพกว้างสุริยุปราคาครั้งนี้เริ่มต้นเวลา 7.38 น. ตามเวลาประเทศไทย เมื่อเงามัวของดวงจันทร์เริ่มแตะผิวโลกบริเวณนอกชายฝั่งด้านตะวันออกของอินเดีย จากนั้นเกิดสุริยุปราคามองเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุด (88%) ที่รัสเซียในเวลา 9.32 น. แล้วไปสิ้นสุดสุริยุปราคาในเวลา 11.25 น. อันเป็นจังหวะที่เงามัวหลุดออกจากผิวโลกในทะเลนอกชายฝั่งด้านทิศเหนือของอะแลสกา
    สำหรับประเทศไทย สุริยุปราคาบางส่วนครั้งนี้มองเห็นได้เกือบทั่วประเทศยกเว้นจังหวัดชายแดนภาคใต้ บริเวณที่เห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุดคือด้านตะวันตกเฉียงเหนือของภาคเหนือ ยิ่งอยู่ในละติจูดสูงมากเท่าใดก็ยิ่งเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากเท่านั้น ส่วนเวลาที่เกิดปรากฏการณ์ก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เช่น กรุงเทพฯ เห็นตั้งแต่เวลา 7.47 - 8.57 น. ดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุดในเวลา 8.21 น. ด้วยสัดส่วน 16% จังหวัดอื่น ๆ บางจังหวัดสามารถดูได้จากตาราง ส่วนจังหวัดที่ไม่แสดงในตารางอาจคาดคะเนได้จากข้อมูลของจังหวัดใกล้เคียงที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน
    <CENTER>[​IMG]
    ดวงอาทิตย์ที่มองเห็นได้จากที่ต่าง ๆ ขณะถูกบังมากที่สุด</CENTER>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width=440 border=1><TBODY><TR><TH class=tablehead colSpan=7>ขั้นตอนการเกิดสุริยุปราคาบางส่วน 19 มีนาคม 2550</TH></TR><TR bgColor=#e7e7e7><TD align=middle rowSpan=2>สถานที่</TD><TD align=middle rowSpan=2>เริ่มเกิด</TD><TD align=middle colSpan=3>บังลึกที่สุด</TD><TD align=middle rowSpan=2>สิ้นสุด</TD></TR><TR bgColor=#e7e7e7><TD align=middle>เวลา</TD><TD align=middle>สัดส่วนที่บัง</TD><TD align=middle>มุมเงย</TD></TR><TR><TD>กรุงเทพฯ</TD><TD align=middle>7.48 น.</TD><TD align=middle>8.21 น.</TD><TD align=middle>16%</TD><TD align=middle>28&deg;</TD><TD align=middle>8.57 น.</TD></TR><TR><TD>กาญจนบุรี</TD><TD align=middle>7.46 น.</TD><TD align=middle>8.21 น.</TD><TD align=middle>17%</TD><TD align=middle>27&deg;</TD><TD align=middle>8.58 น.</TD></TR><TR><TD>กำแพงเพชร</TD><TD align=middle>7.46 น.</TD><TD align=middle>8.25 น.</TD><TD align=middle>23%</TD><TD align=middle>27&deg;</TD><TD align=middle>9.07 น.</TD></TR><TR><TD>ขอนแก่น</TD><TD align=middle>7.49 น.</TD><TD align=middle>8.27 น.</TD><TD align=middle>19%</TD><TD align=middle>31&deg;</TD><TD align=middle>9.07 น.</TD></TR><TR><TD>จันทบุรี</TD><TD align=middle>7.51 น.</TD><TD align=middle>8.21 น.</TD><TD align=middle>12%</TD><TD align=middle>29&deg;</TD><TD align=middle>8.52 น.</TD></TR><TR><TD>ฉะเชิงเทรา</TD><TD align=middle>7.48 น.</TD><TD align=middle>8.22 น.</TD><TD align=middle>15%</TD><TD align=middle>28&deg;</TD><TD align=middle>8.57 น.</TD></TR><TR><TD>ชัยนาท</TD><TD align=middle>7.46 น.</TD><TD align=middle>8.24 น.</TD><TD align=middle>19%</TD><TD align=middle>28&deg;</TD><TD align=middle>9.03 น.</TD></TR><TR><TD>เชียงราย</TD><TD align=middle>7.46 น.</TD><TD align=middle>8.31 น.</TD><TD align=middle>29%</TD><TD align=middle>28&deg;</TD><TD align=middle>9.16 น.</TD></TR><TR><TD>เชียงใหม่</TD><TD align=middle>7.45 น.</TD><TD align=middle>8.29 น.</TD><TD align=middle>28%</TD><TD align=middle>27&deg;</TD><TD align=middle>9.15 น.</TD></TR><TR><TD>ตรัง</TD><TD align=middle>7.59 น.</TD><TD align=middle>8.12 น.</TD><TD align=middle>2%</TD><TD align=middle>25&deg;</TD><TD align=middle>8.25 น.</TD></TR><TR><TD>ตาก</TD><TD align=middle>7.45 น.</TD><TD align=middle>8.26 น.</TD><TD align=middle>24%</TD><TD align=middle>27&deg;</TD><TD align=middle>9.08 น.</TD></TR><TR><TD>นครนายก</TD><TD align=middle>7.48 น.</TD><TD align=middle>8.23 น.</TD><TD align=middle>16%</TD><TD align=middle>29&deg;</TD><TD align=middle>8.59 น.</TD></TR><TR><TD>นครราชสีมา</TD><TD align=middle>7.49 น.</TD><TD align=middle>8.24 น.</TD><TD align=middle>17%</TD><TD align=middle>30&deg;</TD><TD align=middle>9.01 น.</TD></TR><TR><TD>นครศรีธรรมราช</TD><TD align=middle>7.56 น.</TD><TD align=middle>8.13 น.</TD><TD align=middle>4%</TD><TD align=middle>26&deg;</TD><TD align=middle>8.31 น.</TD></TR><TR><TD>บุรีรัมย์</TD><TD align=middle>7.50 น.</TD><TD align=middle>8.25 น.</TD><TD align=middle>16%</TD><TD align=middle>31&deg;</TD><TD align=middle>9.01 น.</TD></TR><TR><TD>ประจวบคีรีขันธ์</TD><TD align=middle>7.48 น.</TD><TD align=middle>8.18 น.</TD><TD align=middle>12%</TD><TD align=middle>27&deg;</TD><TD align=middle>8.49 น.</TD></TR><TR><TD>พระนครศรีอยุธยา</TD><TD align=middle>7.47 น.</TD><TD align=middle>8.22 น.</TD><TD align=middle>17%</TD><TD align=middle>28&deg;</TD><TD align=middle>8.59 น.</TD></TR><TR><TD>ภูเก็ต</TD><TD align=middle>7.55 น.</TD><TD align=middle>8.12 น.</TD><TD align=middle>4%</TD><TD align=middle>24&deg;</TD><TD align=middle>8.29 น.</TD></TR><TR><TD>ระยอง</TD><TD align=middle>7.49 น.</TD><TD align=middle>8.20 น.</TD><TD align=middle>13%</TD><TD align=middle>28&deg;</TD><TD align=middle>8.52 น.</TD></TR><TR><TD>ราชบุรี</TD><TD align=middle>7.47 น.</TD><TD align=middle>8.21 น.</TD><TD align=middle>16%</TD><TD align=middle>27&deg;</TD><TD align=middle>8.56 น.</TD></TR><TR><TD>สุราษฎร์ธานี</TD><TD align=middle>7.53 น.</TD><TD align=middle>8.14 น.</TD><TD align=middle>6%</TD><TD align=middle>25&deg;</TD><TD align=middle>8.36 น.</TD></TR><TR><TD>อุบลราชธานี</TD><TD align=middle>7.52 น.</TD><TD align=middle>8.26 น.</TD><TD align=middle>15%</TD><TD align=middle>33&deg;</TD><TD align=middle>9.02 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    สุริยุปราคาเป็นปรากฏการณ์ที่ห้ามดูด้วยตาเปล่า ต้องมีแว่นกรองแสงหรือแผ่นกรองแสงที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับส่องดูดวงอาทิตย์และอาจใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีแผ่นกรองแสงปิดบังหน้ากล้อง นอกจากนี้เรายังสามารถหลีกเลี่ยงอันตรายจากแสงอาทิตย์โดยสังเกตปรากฏการณ์ด้วยวิธีทางอ้อม เช่น ฉายภาพดวงอาทิตย์ผ่านกล้องโทรทรรศน์หรือกล้องสองตาลงบนฉากรับภาพ แล้วดูดวงอาทิตย์ที่ปรากฏบนฉาก แต่ควรเฝ้าระวังอย่าให้เด็กหรือผู้ที่ไม่รู้มองเข้าไปในกล้อง
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    วัสดุกรองแสงที่ไม่ปลอดภัยและควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ กระจกรมควัน แว่นกันแดด กระดาษห่อลูกอม แผ่นดิสเก็ต ฟิล์มเอกซ์เรย์ ฟิล์มถ่ายรูป ฯลฯ อย่านำมาใช้ดูดวงอาทิตย์ แม้ว่าวัสดุเหล่านี้จะมีความสามารถในการกรองแสงย่านแสงขาว แต่รังสีอินฟราเรดสามารถทะลุผ่านได้และจะเป็นอันตรายต่อดวงตา
    สำหรับผู้ที่ไม่มีแผ่นกรองแสงหรือทัศนูปกรณ์อื่น อาจใช้วัสดุง่าย ๆ ในบ้านมาช่วยในการสังเกตสุริยุปราคาโดยใช้หลักการของกล้องรูเข็ม สิ่งที่ต้องมีคือกระจกเงาบานเล็ก กระดาษขนาดใหญ่กว่ากระจก มีดคัตเตอร์หรือกรรไกร และเทปกาว
    วิธีทำคือ นำกระดาษมาเจาะรูเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1 เซนติเมตร (อาจใช้มีดกรีดโดยตรงหรือพับกระดาษแล้วใช้กรรไกรตัด) จากนั้นนำไปปิดบานกระจกด้วยเทปกาว เวลาใช้งานให้นำกระจกไปสะท้อนแสงอาทิตย์ให้แสงตกบนผนังสีอ่อนหรือฉากรับภาพสีขาวที่อยู่ภายในบ้าน ภาพที่เห็นบนฉากจะเป็นดวงกลมซึ่งเป็นภาพสะท้อนของดวงอาทิตย์
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    เมื่อเกิดสุริยุปราคา ดวงกลมที่เห็นบนฉากจะแหว่งตามลักษณะดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า ขนาดของดวงอาทิตย์บนฉากแปรผันตามระยะห่างระหว่างกระจกกับฉากรับภาพ โดยที่ระยะหนึ่งเมตรจะได้ภาพดวงอาทิตย์ขนาดประมาณ 9 มิลลิเมตร ดังนั้นที่ระยะห่าง 10 เมตร จะได้ภาพดวงอาทิตย์ขนาด 9 เซนติเมตร วิธีนี้ทำให้เราสามารถสังเกตสุริยุปราคาได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นอันตรายต่อดวงตา แต่พึงระวังอย่าให้ใครที่เดินผ่านไปมามีโอกาสหันมามองแสงอาทิตย์ที่สะท้อนออกมาจากกระจก
    หลังจากปีนี้ประเทศไทยจะมีโอกาสสังเกตสุริยุปราคาบางส่วนอีกครั้งในเย็นวันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม 2551 ซึ่งจะเกิดในเวลาไม่นานก่อนดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้า

    [​IMG]

    [​IMG]

    http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/200703pse.html
     
  2. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,134
    ค่าพลัง:
    +62,441
    ใกล้ถึงแล้วสุริยุปราคาของปีหมูไฟแล้ว (แต่ครั้งนี้บัง 20 % เองครับ) ที่หมอดูไหนๆ ก็บอกว่า มีแต่เรื่องร้ายๆ ยิ่งปี นี้มีคราสถึง 4 ครั้ง พระราหูมาอมจันทร์อมอาทิตย์ถี่กันเสียขนาดนี้ ทำให้เหล่าโหรก็เป็นห่วง ส่วนนักดาราศาสตร์ก็บอกว่าอย่าตกใจไป "เลขสี่" เป็นอัตราเฉลี่ย บางปีคราสเกิดถึง 7 ครั้งก็ยังมี

    ใครสนใจมาดูกันครับพรุ่งนี้ก่อน 9 โมงเช้า..ระมัดระวังอย่าส่องตรงๆครับ..ไม่งั้นเกิดคลาสที่ตาแล้วจะยุ่งครับ *-*
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2007
  3. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,134
    ค่าพลัง:
    +62,441
    เมื่อกี้ใช้กล้องส่องแล้วครับ..ถึงจะบังนิดเดียว และไม่ตื่นเต้นเหมือนถูกบังเต็มดวง แต่อุณหภูมิรอบข้างลดลงจนรู้สึกได้..คือพระอาทิตย์ไม่ร้อนเหมือนปกติ รู้สึกกันไหมเอ่ย?
     
  4. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ขอโทษที่ลงช้าครับ เมื่อคืนมีเพื่อนๆพวกเราโทรมาบอกไว้ว่า

    "สุริยคราสครั้งนี้อย่าไปดูอย่าไปใช้ใจสัมผัสเด็ดขาด เพราะจะถูกคราส และผู้ที่กฏแห่งกรรมให้ผลอาจถึงฆาตได้ โดยเฉพาะในเวลาที่คราสเต็มที่ บ่ายสามโมงเศษ อย่าได้ออกจากบ้านหรือที่โล่งแจ้ง ไปรับพลังลบตรงๆ ในอยู่ในที่บ้าน ที่ทำงาน กำหนดใจภาวนารักษาศีลไว้ให้ดีๆครับ"
     
  5. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,134
    ค่าพลัง:
    +62,441
    ขอบคุณครับที่บอก อิอิ ไม่ได้ดูตรงๆครับ ให้แสงผ่านกล้องอีกที..okครับ

    ถือเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติครับไม่ได้เอาใจไปใส่มาก
    เชื่อว่าความดีที่มีอยู่ทำให้แคล้วคลาดได้เสมอ..สาธุครับที่บอก *-*



    (verygood)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2007
  6. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,134
    ค่าพลัง:
    +62,441
    แต่เคยมีครั้งนึงที่เคยถูก"พระราหู"ตามเหมือนกัน ตอนนั้นมีจันทรุปราคาด้วย
    คือเข้าไปหาพระป่าท่านนึงแถวเพชรบูรณ์ หลังจากพวกเราทำพีธีไหว้ราหูเสร็จเมื่อปีก่อน
    พอเจอท่านปุ๊บ ท่านก็ทักพวกเราทันทีว่ามีพระราหูและบริวารตามพวกเรามา..
    ท่านก็มองไปมารอบๆพวกเรา แล้วท่านบอกก็ว่าดำมืดเลยนะ
    หนาวสิครับพอรู้แบบนั้น ก็เลยถามว่าแล้วท่านตามเรามาทำไม?
    ท่านก็บอกว่า ท่านตามมาดูแล คุ้มครอง ในงานที่เรากำลังกำลังคิดทำกันอยู่
    (โปรเจคช่วยเหลือภัยพิบัติที่เพชรบูรณ์) ก็เลยโล่งอกครับ..เฮ้อ!!

    เรื่องพวกนี้ลึกลับและน่าทึ่งจริงครับ สิ่งที่เรามองไม่เห็นน่ะครับ..

    แต่วันนั้นท่านให้พลอยสีพวกเรามาคนละเม็ด ท่านว่าเราขอมาจากถ้ำของพระเจ้าชัยวรมันฯ ซึ่งมาปฎิบัติธรรมอยู่ในถ้ำแห่งนึงที่เมืองศรีเทพ
    รู้สึกว่าท่านคว้าพลอยสีนั้นมาจากอากาศนะ เพราะจู่ๆท่านก็ยื่นให้พวกเราทุกคนโดยไม่มีการหยิบจากที่ไหนเลย แถมยังเป็นสีเดียวกันวันเกิดผมอีกด้วยสิ


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2007
  7. sanprach

    sanprach เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +433
    ภาพปรากฎการณ์ทางธรรมชาตินี้ มีคนส่งมาให้ปู่ ปู่เลยโพสต์มาให้ดูเล่น อย่าคิดมากนะหลาน ไม่มีอะไรหรอกมันเป็นตามที่มันเป็นก็เท่านั้นเอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,134
    ค่าพลัง:
    +62,441
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>
    ภาพกราฟิกแสดงการเคลื่อนตัวของเงามัวที่ทำให้เกิด "สุริยุปราคา"
    บางส่วน พาดผ่านพื้นโลก โดยห้องปฏิบัติการรัทเธอร์ฟอร์ด
    แอปเปิลตัน (Rutherford Appleton Laboratory)​


    ในข่าวบอกว่าคนสนใจดูกัน สนุกคืกคักเลยครับ
    ตั้งกล้องกันใส่ฟิลเตอร์ถ่ายรูปกันยกใหญ่
    ภาพของคุณปู๋ชัดดีจังครับ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,134
    ค่าพลัง:
    +62,441
    จับตา ! 3 อุปราคาที่ไทยมองเห็นในปีสริยฟิสิกส์
    : สมาคมดาราศาสตร์ไทย

    หลังจันทร์เต็มดวงในคืนวันมาฆบูชาและก้าวเข้าสู่วันที่ 4 มี.ค.จะเกิดปรากฏการณ์ “จันทรุปราคา” ซึ่งเป็นอุปราคาแรกที่เราจะเห็นในปีนี้ โดยตลอดทั้งปีเราจะได้เห็นอุปราคา 3 ครั้ง เป็นจันทรุปราคาเต็มดวง 2 ครั้งและสุริยุปราคาบางส่วนอีก 1 ครั้ง ทั้งนี้อาจเป็นความโชคดีของคนไทยที่มีโอกาสได้เห็นอุปราคาตลอดทั้งปีถึง 3 ครั้ง เพราะโดยปกติทั่วโลกจะเกิดอุปราคาเฉลี่ย 4 ครั้ง

    ดร.ศรันย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) เผยว่าโดยเฉลี่ยทั่วโลกจะเกิดอุปราคา 4 ครั้งต่อปี แต่ใช่ว่าทุกที่จะได้เห็นอุปราคาทุกครั้ง ซึ่งนับว่าปีนี้เมืองไทยโชคดีที่ได้เห็นปรากฏการณ์ดังกล่าวถึง 3 ครั้ง คือ จันทรุปราคาเต็มดวงในเช้าวันที่ 4 มี.ค.และช่วงหัวค่ำวันที่ 28 ส.ค. กับสุริยุปราคาบางส่วนในวันที่ 19 มี.ค.

    แม้จะมีโอกาสได้เห็นอุปราคาถึง 3 ครั้ง แต่ ดร.ศรันย์ก็ชี้ว่าเราคงเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าวไม่สมบูรณ์นัก โดยกล่าวถึงอุปราคาแรกที่จะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงในช่วงเช้าวันที่ 4 มี.ค. ที่ดวงจันทร์จะเริ่มเข้าสู่เงามืดของโลกในเวลา 4.30 น. และเต็มดวงในเวลา 5.43 น. ซึ่งไม่นานก็ตกลับขอบฟ้าและดวงอาทิตย์ก็จะขึ้นจากขอบฟ้า ทั้งนี้จะเห็นจันทรคราสเต็มดวงอยู่สูงจากขอบฟ้า 10 องศา ส่วนบริเวณที่จะเห็นอุปราคาดังกล่าวอย่างสมบูรณ์คือทวีปยุโรปและแอฟริกา

    อีกปรากฏการณ์คือสุริยุปราคาบางส่วนที่จะเห็นได้ทุกภาค ยกเว้นจังหวัดทางใต้ตั้งแต่ จ.สงขลาลงไปจะไม่เห็น โดยที่สงขลานั้นดวงอาทิตย์ถูกบดบังน้อยมากจนมองไม่เห็น ทั้งนี้จังหวัดที่อยู่ทางเหนือจะเห็นดวงอาทิตย์ถูกบดบังได้มาก โดยเฉพาะ จ.เชียงราย และ จ.เชียงใหม่จะเห็นดวงอาทิตย์บดบังสูงสุด 28 % ซึ่งอาจจะถ่ายทอดสดปรากฏการณ์นี้เพราะต้องใช้กล้องที่มีแผ่นกรองแสงและไม่สามารถมองด้วยตาเปล่าได้

    ส่วนอุปราคาสุดท้ายที่คนไทยจะได้เห็นในรอบปีนี้คือจันทรุปราคาเต็มดวงในวันที่ 28 ส.ค. ซึ่งจะเห็นได้ในช่วงหัวค่ำ ดร.ศรันย์ก็ชี้ว่าจะเห็นไม่สมบูรณ์เช่นกัน โดยคนไทยจะไม่ได้เห็นช่วงที่คราสเริ่มบังดวงจันทร์ แต่จะเห็นอีกทีตอนคราสเต็มดวงแล้วและโพล่พ้นขอบฟ้า ซึ่งหากสังเกตที่กรุงเทพก็จะเห็นว่าคราสเริ่มถอยออกแล้ว แต่หากสังเกตที่อุบลราชธานีก็จะเห็นคราสเต็มดวงสักพักก่อนจะถอยออก

    “มี.ค.น่าจะเป็นโอกาสได้เห็นอุปราคามากที่สุด และเป็นเช้าวันอาทิตย์พอดี” ดร.ศรันย์ให้ความเห็น โดยชี้ว่าอุปราคาหลังคืนวันมาฆบูชานั้นไม่มีอุปสรรคเรื่องฝนที่อาจจะกลายเป็นอุปสรรคในการสังเกตอุปราคาเดือน ส.ค.ซึ่งเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว อีกทั้งจันทรคราสในเดือน มี.ค.ยังอยู่สูงจากขอบฟ้า 10 องศา ขณะที่จันทรคราสในเดือน ส.ค.นั้นอยู่ตรงขอบฟ้าพอดีซึ่งอาจจะมีอะไรบดบัง

    อย่างไรก็ดียังมีอุปราคาที่เกิดขึ้นในปีนี้แต่คนไทยจะไม่ได้เห็นคือปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนในวันที่ 11 ก.ย. ซึ่งบริเวณที่จะเห็นได้คือ บางส่วนทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ บางส่วนของแอนตาร์กติกา ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก และด้านตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก

    นอกจากนี้ ดร.ศรันย์ยังได้อธิบายความสำคัญของปี 2550 ซึ่งถือเป็นปีสุริยฟิสิกส์สากล (International Heliophysical Year) ว่า สหประชาชาติหรือยูเอ็นเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ที่ต้องการให้ทั่วโลกได้ศึกษาผลกระทบของดวงอาทิตย์ที่มีต่อโลกในแง่มุมต่างๆ ที่ไม่ใช่เพียงแสงสว่างเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการสื่อสาร ปรากฏการณ์แสงออโรรา คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรืออนุภาคต่างๆ แล้วเก็บเป็นข้อมูลวิจัยที่นำไปใช่ร่วมกันทั่วโลก
     
  10. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,134
    ค่าพลัง:
    +62,441
    [​IMG]

    พระจันทร์สีอิฐ...เมื่อวันมาฆะบูชาที่ผ่านมา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2007
  11. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    เอ่า...ตื่นสาย
    อดดูเรย
    ที่บ้านฝนตกอิก


    [​IMG]
    พระจันทร์สีอิฐ...เมื่อวันมาฆะบูชาที่ผ่านมา

    สวยจัง...คุณมีด
    นึกถึงนิยายเรื่อง "พระจันทร์แดง"
     
  12. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,134
    ค่าพลัง:
    +62,441

    ขอโมทนาสาธุครับ ได้ธรรมะดีจากปู่มาฝากด้วย ขอบคุณมากๆครับ
    ทุกอย่างเป็นภาพมายาจริงๆด้วย อยุ่ที่จิตของเรานำไปเอง เราคิดว่าเราศึกษาปรากฎการณ์ธรรมชาติพอให้รู้เท่านั้น ขอบคุณมากครับคุณปู่..
    ท่าทางคุณปู่ชอบดาราศาสตร์เหมือนกันนะครับ


    ผมขอเอามาลงไว้ด้วยนะครับคุณปู่
    เอ..ป้าง้วน เจอกับคุณปู่แล้วยังครับ..(ป้ากับปู่ไงครับ)
    ป้าเค้าเป็นนักเขียนครับคุณปู่..รู้จักกันไว้ครับ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2007
  13. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    "ป้ากับปู่"
    แล้วมี "อีจู้" ปะจ๊ะ...ตามีด
    จาได้ "กู้" ซะ

    ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนจ้าาาาาาาาาาาาาา
     
  14. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    มีอีกาด้วย...ดูเดะ

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ท้องฟ้าปิด ชาวกรุงฯชม"สุริยุปราคา"ได้แค่ 2 นาที</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>19 มีนาคม 2550 13:00 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>
    [​IMG]

    ปรากฎการณ์ "สุริยุปราคา"ที่กรุงเทพฯ ในช่วงเวลา 08.00 น.
    ซึ่งฟ้าเปิดประมาณ 2 นาที หลังจากนั้นมีกลุ่มเมฆหนา
    ทำให้ชมปรากฎการณ์ได้เพียงครู่เดียว

    และขณะกลุ่มเมฆปกคลุมได้มีนกอีกาดำมาเกาะบริเวณเสาล่อฟ้า
    ซึ่งทำให้ดูสถานการณ์อึมครึมคล้ายกับการเมืองของไทยในขณะนี้


    [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]
    ภาพโดย สันติ เต๊ะเปีย
    ถ่ายบริเวณถนนพระราม 6 เขตจตุจักร


    สำหรับสุริยุปราคาที่เกิดขึ้นในวันนี้เป็นสุริยุปราคาบางส่วน
    มองเห็นมากที่สุด 20 เปอร์เซ็นต์ ที่บริเวณภาคเหนือ
    ส่วนที่กรุงเทพมหานครประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์



    ที่มา : http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9500000031622

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,134
    ค่าพลัง:
    +62,441
    อืมม บรรยากาศออกแนวมาคุมากๆ..ช่างสรรหามุมกล้องจริงๆนะครับ

    ย่าชอบรู้
    ปู่ชอบเรียน

    มีคุณย่ามาอ่านด้วย แล้วป้าง้วนชอบอะไรครับ? *-*
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2007
  16. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047


    ย่าชอบรู้
    ปู่ชอบเรียน


    ป้าชอบ mead...ไง
    เฮอะ...เฮอะ...

    (b-oneeye)(b-oneeye)(b-oneeye)
     
  17. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    [​IMG]

    [​IMG]

    บรรยากาศ "มาคุ" จิงจิง
    แบบนี้หละ....ป้าชอบ
    ป้าชอบผีผี
     

แชร์หน้านี้

Loading...