ส่งการบ้าน...ปัญญาวรรค วิเวกกถา

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย AddWassana, 22 พฤษภาคม 2010.

  1. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    <TABLE class=tborder id=post4385 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt1 id=td_post_4385 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><CENTER><!-- google_ad_section_end -->
    พระไตรปิฎก เล่มที่ 31 พระสุตตันตปิฎก เล่ม23
    </CENTER>



    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start --><CENTER>ปัญญาวรรค วิเวกกถา
    </CENTER><CENTER>สาวัตถีนิทาน</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>
    </CENTER>[๗๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานที่ต้องทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่งการงานทั้งหมดนั้น บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน จึงทำกันได้
    การงานที่ต้องทำด้วยกำลังนี้ บุคคลย่อมทำได้ด้วยประการอย่างนี้
    แม้ฉันใด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญ
    ทำให้มาก
    ซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ

    [๗๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล
    ตั้งอยู่ในศีลแล้วย่อมเจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้อย่างไร ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสัมมาทิฐิอันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ ...
    ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
    น้อมไปในความสละ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว
    ย่อมเจริญทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ อย่างนี้แล ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พืชคามและภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พืชคามและภูตคามทั้งหมดนั้น อาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน
    ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ พืชคามและภูตคามเหล่านี้ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์
    ด้วยประการฉะนี้ แม้ฉันใด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล อาศัยศีล
    ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘
    ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฯ
    [๗๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้
    งอยู่ในศีลแล้ว เจริญทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘
    ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
    อย่างไร ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสัมมาทิฐิ
    อันอาศัยวิเวก
    อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ ... เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ
    สัมมาทิฐิมีวิเวก ๕
    มีวิราคะ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ สัมมาสังกัปปะ
    ฯลฯ สัมมาสมาธิ มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕
    มีนิสัย ๑๒ ฯ
    [๗๐๔] สัมมาทิฐิมีวิเวก ๕ เป็นไฉน ฯ
    วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ป
    ฏิปัสสัทธิวิเวก นิสสรณวิเวก วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุ
    ผู้เจริญปฐมฌาน ๑ วิเวก
    ในการละทิฐิด้วยองค์นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑
    สมุจเฉทวิเวก ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑
    ปฏิปัสสัทธิวิเวกในขณะผล ๑ นิสสรณวิเวกเป็นที่ดับ คือ นิพพาน ๑ สัมมาทิฐิมีวิเวก ๕
    เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา
    และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี
    ในวิเวก ๕ นี้ ฯ
    [๗๐๕] สัมมาทิฐิมีวิราคะ ๕ เป็นไฉน ฯ
    วิราคะ ๕ คือ วิกขัมภนวิราคะ ตทังควิราคะ สมุจเฉทวิราคะ
    ปฏิปัสสัทธิวิราคะ นิสสรณวิราคะ วิราคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุ
    ผู้เจริญ
    ปฐมฌาน ๑ ... นิสสรณวิราคะเป็นที่ดับ คือ นิพพาน ๑ สัมมาทิฐิมีวิราคะ ๕
    เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา
    และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี
    ในวิราคะ ๕ นี้ ฯ
    [๗๐๖] สัมมาทิฐิมีนิโรธ ๕ เป็นไฉน ฯ
    นิโรธ ๕ คือ วิกขัมภนนิโรธ ตทังคนิโรธ สมุจเฉทนิโรธ
    ปฏิปัสสัทธินิโรธ นิสสรณนิโรธ นิโรธในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญ
    ปฐมฌาน ๑ ... นิสสรณนิโรธเป็นที่ดับ คือ นิพพาน ๑ สัมมาทิฐิมีนิโรธ ๕
    เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา
    และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี
    ในนิโรธ ๕ นี้ ฯ
    [๗๐๗] สัมมาทิฐิมีความสละ ๕ เป็นไฉน ฯ
    ความสละ ๕ คือ วิกขัมภนโวสัคคะ ตทังคโวสัคคะ สมุจเฉทโวสัคคะ
    ปฏิปัสสัทธิโวสัคคะ นิสสรณโวสัคคะ ความสละในการข่มนิวรณ์
    ของภิกษุ
    ผู้เจริญปฐมฌาน ๑ ... นิสสรณโวสัคคะ เป็นนิโรธ คือ นิพพาน ๑
    สัมมาทิฐิมีความสละ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา
    และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในความสละ ๕ นี้ ฯ
    สัมมาทิฐิมีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕
    มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ ฯ
    [๗๐๘] สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะ ฯลฯ
    สัมมาอาชีวะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ
    สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ เป็นไฉน ฯ
    วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิ
    วิเวก นิสสรณวิเวก วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน ๑ วิเวกใน
    การละทิฐิด้วยองค์นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนทำลายกิเลส ๑
    สมุจเฉทวิเวก ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิ
    วิเวกในขณะผล ๑ นิสสรณวิเวกเป็นนิโรธ คือ นิพพาน ๑ สัมมาสมาธิมีวิเวก
    ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี
    ในวิเวก ๕ นี้ ฯ
    [๗๐๙] สัมมาสมาธิมีวิราคะ ๕ เป็นไฉน ฯ
    วิราคะ ๕ คือ วิกขัมภนวิราคะ ตทังควิราคะ สมุจเฉทวิราคะ ปฏิปัสสัทธิ
    วิราคะ นิสสรณวิราคะ วิราคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน ๑ ...
    นิสสรณวิราคะเป็นนิโรธ คือ นิพพาน ๑ สัมมาสมาธิมีวิราคะ ๕ เหล่านี้
    ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีใน
    วิราคะ ๕ นี้ ฯ
    [๗๑๐] สัมมาสมาธิมีนิโรธ ๕ เป็นไฉน ฯ
    นิโรธ ๕ คือ วิกขัมภนนิโรธ ตทังคนิโรธ สมุจเฉทนิโรธ
    ปฏิปัสสัทธินิโรธ นิสสรณนิโรธ นิโรธในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน ๑
    ... ปฏิปัสสัทธินิโรธในขณะผล ๑ นิสสรณนิโรธเป็นอมตธาตุ ๑ สัมมา
    สมาธิมีนิโรธ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะน้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิต
    ตั้งมั่นอยู่ด้วยดีในนิโรธ ๕ นี้ ฯ
    [๗๑๑] สัมมาสมาธิมีความสละ ๕ เป็นไฉน ฯ
    ความสละ ๕ คือ วิกขัมภนโวสัคคะ ตทังคโวสัคคะ สมุจเฉทโวสัคคะ
    ปฏิปัสสัทธิโวสัคคะ นิสสรณโวสัคคะ ความสละในการข่มนิวรณ์ ของภิกษุ
    ผู้เจริญปฐมฌาน ๑ ความสละในการละทิฐิด้วยองค์นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิ
    อันมีส่วนทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทโวสัคคะ ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้
    ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิโวสัคคะในขณะผล ๑ นิสสรณโวสัคคะเป็นนิโรธ
    คือ นิพพาน ๑ สัมมาสมาธิมีความสละ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ
    น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในความสละ ๕ นี้ ฯ
    สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย
    ๑๒ เหล่านี้ ฯ
    [๗๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานที่ต้องทำด้วยกำลัง อย่างใดอย่างหนึ่ง
    การงานทั้งหมดนั้น บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน จึงทำกันได้
    การงานที่ต้องทำด้วยกำลังนี้ บุคคลย่อมทำได้ด้วยประการฉะนี้ แม้ฉันใด ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญ ทำให้มากซึ่งโพชฌงค์
    ๗ ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ ภิกษุเจริญ ทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อยู่
    ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ภิกษุเจริญทำให้มาก
    ซึ่งพละ ๕ ฯลฯ ภิกษุเจริญทำให้มากซึ่งพละ ๕ อยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงาม
    ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ภิกษุเจริญทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ฯลฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พืชคามและภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พืชคามและภูต
    คามทั้งหมดนั้น อาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน ย่อมถึงความเจริญงอกงาม
    ไพบูลย์ พืชคามและภูตคามเหล่านั้นย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ด้วยประการ
    ฉะนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล อาศัยศีล ตั้งอยู่ใน
    ศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากอยู่ซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์
    ในธรรมทั้งหลาย ฯ
    [๗๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญ
    ทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
    อย่างไร ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสัทธินทรีย์อันอาศัยวิเวก
    อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ เจริญวิริยินทรีย์ ฯลฯ เจริญสตินทรีย์
    เจริญสมาธินทรีย์ เจริญปัญญินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
    น้อมไปในความสละ สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความ
    สละ ๕ มีนิสัย ๑๒ วิริยินทรีย์ ฯลฯ สตินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ
    ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ ฯ
    [๗๑๔] สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ เป็นไฉน ฯ
    วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิ
    วิเวก นิสสรณวิเวก วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน ๑
    วิเวกในการละทิฐิด้วยองค์นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลาย
    กิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑
    ปฏิปัสสัทธิวิเวกในขณะผล ๑ นิสสรณวิเวกเป็นนิโรธ คือ นิพพาน ๑
    สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา
    และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ ฯลฯ สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕
    มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ วิริยินทรีย์ ฯลฯ สตินทรีย์
    ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ
    ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ เป็นไฉน ฯ
    วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิ
    วิเวก นิสสรณวิเวก ฯลฯ ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕
    มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ ฉะนี้แล ฯ

    <!-- google_ad_section_end -->



    </TD></TR><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">[MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.971468/[/MUSIC]</TD><TD class=alt1 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2010
  2. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,951
    ค่าพลัง:
    +43,556
    อนุโมทนาจ่ะ พี่แอ๊ด

    ๗๐๗ ตทังคโวสัคคะ ลองดูนะจ๊ะ
     
  4. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    สาธุค่ะคุณสร้อย
     
  5. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    อ นุ โ ม ท น า ส า ธุ ... ในการสร้างกุศลด้วยครับ (good)


    .
     
  6. แอ๊บแบ้ว

    แอ๊บแบ้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,335
    ค่าพลัง:
    +2,544
    [​IMG]
    เสียงนุ่มนวล ร.รอ ...ชัดเจน
    น้ำเสียงคุณแอ๊ดเอง...อ่านธรรม
    เสียงบันลือบรรเลง....ธรรมใด
    ขอจงถึงธรรมพลัน....ไพบูลย์ ปัญญา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...