หลักเกณฑ์ 7 ประการ ในการปฏิบัติธรรมอย่างเป็นขั้นตอนของพระพุทธเจ้า

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย @^น้ำใส^@, 19 มีนาคม 2009.

  1. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    หลักเกณฑ์ 7 ประการ ในการปฏิบัติธรรมอย่างเป็นขั้นตอนของพระพุทธเจ้า

    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->

    หลักเกณฑ์ 7 ประการ ในการปฏิบัติธรรมอย่างเป็นขั้นตอนของพระพุทธเจ้า


    พระพุทธองค์ทรงวางหลักเกณฑ์ในการศึกษาและปฏิบัติธรรมอย่างเป็นขั้นตอนเอาไว้ 7 ประการ

    ทรงแนะนำให้ลงมือปฏิบัติไปทีละขึ้นตามลำดับโดยไม่ข้ามขั้น เรื่องมีอยู่ว่า

    ครั้งหนึ่งมีพราหมณ์ชื่อ คณกโมคัลลานะ ได้เข้าไปทูลถามปัญหา มีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า

    "ในการให้การศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระองค์จะทำเป็นขั้นตอนไปได้หรือไม่?"

    พระพุทธองค์ทรงตอบว่า พระองค์ได้ทรงวางหลักเกณฑ์ ในการฝึกฝนตามลำดับดังนี้


    1.จงเป็นผู้ที่มีศีล โดยทรงแนะนำให้รักษาศีลให้ได้ก่อน โดยให้เป็นผู้ที่มีกิริยาเรียบร้อย รู้จักที่ควรและไม่ควรไป เป็นผู้ไม่ประมาทในโทษแม้เพียงเล็กน้อย การมีศีลในที่นี้ หมายถึงการมีความสำรวมทางกาย วาจา ใจ จนกระทั่งเป็นผู้มีศีลอยู่ที่เนื้อที่ตัวอย่างเป็นปกติ โดยไม่จำเป็นต้องยึดถือหรือกดข่มเอาไว้

    ส่วนการรู้จักที่ไม่ควรไปนั้น หมายถึง สถานที่ไม่ควรไป (อโคจรสถาน) เช่นสถานเริงรมย์ เป็นต้น


    2.จงเป็นผู้คุ้มครองทวารทั้งหกอยู่เสมอ คือให้คอยสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ การคิดนึก เอาไว้อยู่เสมอในขณะสัมผัสอารมณ์ต่างๆ กระทั่งสามารถรู้เท่าทันความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่ง


    3.จงเป็นผู้ประมาณในการบริโภคอาหาร คือ กินแต่พอดีเท่าที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิต ทั้งไม่ควรกินอาหารจุบจิบไม่เป็นเวลา ขณะกินควรกำหนดรู้รสอาหารที่กำลังขบเคี้ยอยู่ เคี้ยวอาหารให้ละเอียด การบริโภคและเคี้ยวอาหารควรกระทำด้วยความสำรวม ในช่วงเวลากินควรให้ใจจดจ่ออยู่กับการพิจารณาคอยกำหนดรู้อยู่กับการกระทำ เช่น การเคี้ยว การตัก การดื่ม เป็นต้น


    4.จงเป็นผู้มีความตื่นอยู่เสมอ โดยการชำระจิตให้บริสุทธิ์จากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย อาศัยการเดินจงกรมกับการนั่งกำหนดรู้ตัวอยู่โดยไม่ให้มีความวิตกกังวล ความห่วงใยอาวรณ์ใดๆ มาครอบงำจิตใจ และไม่มัวนอนหลับใหล หรือมัวนั่งปล่อยให้ใจฟุ้งซ่านไป ควรกำหนดสติให้รู้อยู่ในการเดินไปมาตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องกันไป และเมื่อจะนอนหรือพักผ่อน ก็อย่าคิดอะไรเรื่อยเปื่อย จงตั้งสติไว้กับลมหายใจ


    5.จงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ คือ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน เคลื่อนไหว ทำการงานใดแม้ในการกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มรส และในขขณะพูดหรือนิ่ง หรือแม้แต่ในขณะถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะอยู่ก็ควรทำความรู้สึกตัวอยู่เช่นกัน


    6.จงพอใจในที่อยู่อันสงัด การประพฤติปฏิบัติอยู่ในที่สงบตามลำพัง หรือปลีกตนออกจากหมู่คณะเป็นครั้งคราว เป็นการพรากตนเองออกจากกามคุณทั้งหลาย ซึ่งจะทำให้การประพฤติปฏิบัติก้าวหน้ายิ่งขึ้น


    7.จงใช้สติกำหนดรู้กายเวทนา จิต ธรรม เมื่อมีใจสงัดออกจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว จงใช้สติกำหนดพิจารณาให้เห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม ทั้งหลายอยู่เนืองๆ จงมีความเพียร มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ ในการกำจัดความพึงพอใจ และความไม่พอใจทั้งหลายในโลกออกเสียได้


    จากหนังสือ "คู่มือปฏิบัติธรรม" ของวรวุฒิ หน้า 67-88
    สำนักพิมพ์แพร่พิทยา และสติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก ภาษาไทย
    ฉบับหลวง เล่มที่ 12 หน้า84 ถึง101 ข้อ 131 ถึง 152
    (พระสุตตันตปิฎก) เล่ม 4 มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

    -----
    คัดลอกจาก หนังสือ สำหรับ..ผู้เห็นปัญญา นิกายเซน รศ.ดร.บุรัญชัย จงกลนี เรียบเรียง _heart+love_


    http://www.baddevil.net/forum/index.....msg304#msg304

    <!-- / message --><!-- sig -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...