เรื่องเด่น อภัยทาน กับ Hate speech (วาจาที่สร้างความเกลียดชัง)

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย rachotp, 1 กันยายน 2021.

  1. rachotp

    rachotp เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    1,216
    กระทู้เรื่องเด่น:
    252
    ค่าพลัง:
    +23,820
    A.PNG

    เธอทำได้อย่างไร? เธอให้อภัยเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่ฆ่าลูกน้อยอายุ 9 เดือนของเธอ ตัดแขนขวาของเธอ... และปล่อยให้เธอตาย โชคดีที่เธอรอดมาได้ ตอนนี้พวกเขาไปมาหาสู่กันและลูกๆ ของเขาก็เป็นเพื่อนกัน...

    1.PNG

    เอ็มมานูเอล เอ็นดายิซาบา (Emmanuel Ndayisaba) และ อลิซ มูคารูรินดา (Alice Mukarurinda) เป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนกันมาก่อน แต่เพราะการปลุกปั่นด้วย Hate Speech ที่สั่งสมมาเป็นเวลายาวนาน ทำให้เขาเริ่มฆ่าผู้คนฝ่ายตรงข้าม… เขาทำมันลงไปได้อย่างไร?


    3.PNG

    การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา (Rwandan genocide) เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1994 โดยมีเหตุจากความขัดแย้งระหว่างชนเผ่าทุตซี (Tutsi) และชนเผ่าฮูตู (Hutu) โดยชนเผ่าฮูตูได้ทำการสังหารทั้งชนเผ่าทุตซีและชนเผ่าฮูตูที่ยึดทางสายกลางเป็นจำนวนมาก จากเหตุการณ์นี้ทำให้ชาวรวันดาเสียชีวิตประมาณ 500,000-1,000,000 คน เหตุการณ์ปะทุขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน ปี 1994 เมื่อเครื่องบินของประธานาธิบดีถูกยิงตก ทำให้ชาวเผ่าฮูตูเริ่มฆ่าล้างเผ่าพันธุ์พวกทุตซี เอ็มมานูเอลได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าปฏิบัติการในระดับท้องถิ่น ตอนนั้นเขาอายุเพียง 23 ปี

    4.PNG

    เอ็มมานูเอลเป็นคนที่ศรัทธาในศาสนาอย่างแรงกล้า เขาไปร้องเพลงในโบสถ์เสมอๆ และไม่เคยฆ่าใครมาก่อน แต่ในวันแรกนั้นเขาฆ่าคนไป 14 คนในบ้านหลังหนึ่ง วันต่อมาเขาฆ่าหมอที่ซ่อนตัวอยู่ และจากนั้นก็ฆ่าผู้หญิงสองคนและเด็กคนหนึ่ง

    "ผมรู้สึกแย่ที่ฆ่าครอบครัวแรกไป ต่อมาผมก็ชินชา เพราะว่าถูกพูดกรอกหูปลุกปั่นบ่อยๆ ว่าพวกทุตซี่นั้นชั่วร้ายแค่ไหน"

    ในวันเกิดเหตุครอบครัวของอลิซและคนหลายร้อยอพยพไปซ่อนอยู่ในโบสถ์ ต่อมามีคนขว้างระเบิดเข้าไปในโบสถ์และเผา ทำให้อลิซสูญเสียสมาชิกในครอบครัวไปถึง 26 คน

    ตอนนั้นอลิซอายุเพียง 25 ปี เธอหนีรอดออกมาพร้อมลูกสาววัย 9 เดือนและหลานสาววัย 9 ขวบ เธอพาเด็กๆ ไปซ่อนตัวในป่าที่มีแต่ซากศพเกลื่อนไปหมด

    แต่สุดท้ายอลิซก็ถูกจับได้ พวกฮูตูเริ่มฆ่าลูกน้อยและหลานของเธอก่อน แล้วจึงค่อยมาจัดการกับเธอ เธอถูกฟันแขนขาดในตอนที่พยายามยกแขนป้องตัวเอง และคนที่ถือมีดตรงหน้าก็คือเอ็มมานูเอลเพื่อนร่วมชั้นของเธอ

    แม้เอ็มมานูเอลจะจำเธอได้แต่เขาก็ใช้มีดฟันแขนเธอที่ข้อมือ กรีดหน้าเธอ และเพื่อนที่มากับเขาก็ใช้หอกแทงที่ไหล่ข้างซ้ายของเธอ จากนั้นก็ปล่อยเธอเลือดไหลจนตายอยู่ในป่านั้น แต่เธอไม่ตาย... 3 วันต่อมาเธอฟื้นขึ้นมาเพื่อพบว่าเธอไม่มีมือข้างขวาอีกต่อไป

    2.PNG

    หลังจากผ่านไปหลายเดือน เอ็มมานูเอลทนความรู้สึกผิดไม่ไหวจึงตัดสินใจเข้ามอบตัวเมื่อปี 1996 เขาติดคุก 6 ปี จึงได้รับการนิรโทษกรรมให้ชาวฮูตูที่ยอมรับผิด… เอ็มมานูเอลกล่าวถึงตัวเองในอดีตเมื่อครั้งยังคงหลงผิดว่า "ผมเฝ้าถามตัวเองว่าทำไมถึงได้ทำตัวโง่เง่าแบบนั้น ไปหลงเชื่อคำลวงประมาณว่า ไอ้คนนี้หรือไอ้คนนั้นมันเป็นคนเลว คนที่ปลุกระดมให้เราออกไปฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มันคือคนเดียวกับที่บอกเราว่าไม่มีเรื่องแบบนั้นหรอก"


    5.PNG

    เมื่อพ้นโทษออกมา เอ็มมานูเอลออกตามหาครอบครัวของเหยื่อเพื่อร้องขอการให้อภัย เขายังเข้าร่วมกลุ่มที่มีชื่อว่า 'อูคูรีคูกันเซ' ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีขึ้นเพื่อให้อดีตผู้ก่อการร้ายและเหยื่อได้มาพบปะกันเป็นประจำทุกสัปดาห์ นอกจากนี้กลุ่มอูคูรีคูกันเซยังได้ช่วยกันสร้างบ้านเรือนให้แก่ผู้ที่สูญเสียบ้านระหว่างที่เกิดเหตุความขัดแย้งอีกด้วย


    6.PNG

    เอ็มมานูเอลเป็นประธานของกลุ่มดังกล่าว ส่วนอลิซทำงานเป็นเหรัญญิก แต่แม้จะทำงานในองค์กรเดียวกันแต่พวกเขาก็ไม่เคยเจอกันมาก่อน จนกระทั่งวันหนึ่งเอ็มมานูเอลได้พบกับอลิซ ผู้หญิงที่เขาคิดว่าได้ฆ่าเธอไปแล้ว ในช่วงแรกเขาพยายามหลบหน้าเธอ แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจรวบรวมความกล้า คุกเข่าสารภาพและขอร้องให้เธอให้อภัยแก่เขา… อลิซถึงกับเป็นลมเมื่อทราบว่าเอมมานูเอลคือใคร พวกเขาต้องพาเธอไปโรงพยาบาล

    หลายวันผ่านไป เธอกลับไปหาเอ็มมานูเอล บอกเขาว่าเธอให้อภัยเขา เธอบอกว่าเธอรู้สึกได้ถึงการเยียวยาและสันติในใจของเธอ… สงครามกลางเมืองที่รวันดาทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 800,000 คนในเวลาเพียง 100 วัน และไม่ใช่ทุกคนในเหตุการณ์นั้นจะได้รับการเยียวยาทางใจเช่นนี้…

    ป้องกันความโกรธเกลียดชังในใจ ก่อนที่มันจะลุกลาม…


    7.PNG

    Hate speech (ประทุษวาจา) การพูดหรือการสื่อความหมายที่สร้างความเกลียดชังระหว่างกลุ่มคนในสังคมคือ การแสดงออกด้วย “คำพูด” “การโพสต์แสดงความคิดเห็น” หรือ “วิธีการอื่นใด” ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อโจมตีกลุ่มบุคคลหรือปัจเจกบุคคล โดยมุ่งไปที่ฐานของอัตลักษณ์ซึ่งอาจจะติดตัวมาแต่ดั้งเดิม หรือเกิดขึ้นภายหลังก็ได้ เช่นความแตกต่างในเรื่อง เชื้อชาติ ศาสนา สีผิว สถานที่เกิด/ที่อยู่อาศัย อุดมการณ์ทางการเมือง ความเชื่อความศรัทธาในเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณี อาชีพ หรือลักษณะอื่นที่สามารถทำให้ถูกแบ่งแยกได้


    การแสดงความเกลียดชังที่ปรากฏอาจเป็นการเหยียดหยามศักดิ์ศรี หรือลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ หรือยุยงส่งเสริมให้เกิดความเกลียดชัง ตลอดจนการส่งเสริมให้เกิดความรุนแรงด้วยก็ได้

    Credit: ขอขอบคุณที่มาจาก ข้อธรรม คำสอน พระไพศาล วิสาโล


    https://www.dailymail.co.uk/femail/...-machete-attack-friends-man-killed-child.html
    https://atoday.org/rwandan-genocide-victim-forgives-adventist-who-cut-off-her-hand/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2021

แชร์หน้านี้

Loading...