อยากฝึกสมถะให้เกิดฌาน๔ แต่จิตมักวนเข้าเป็นวิปัสสนาตลอด

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Nick_NaJa, 16 มิถุนายน 2020.

  1. Nick_NaJa

    Nick_NaJa สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2020
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +64
    เราฝึกกรรมฐานมาหลายปีแล้วค่ะ แต่จะติดเป็นวิปัสสนาตลอด คือ นั่งสมถะได้แต่จะไม่ดิ่งลึกจนไม่สนรอบตัวค่ะ ยังมีสติรู้ทันจิต ทันกาย และพิจารณา กลายเป็นว่าไม่เคยเข้าสมถะได้ถึงฌาน ๔ เลย นั่งสมาธิทีไรเป็นวิปัสสนาตลอด ไม่ถึงขั้นแยกกายใจได้สักที

    ซึ่งมันก็มีประโยชน์ค่ะ ทำให้เราสติดีขึ้นมาก ใจเย็น หลายอย่างเรารู้แจ้งด้วยปัญญา ตัดกิเลสเป็นสมุทเฉจทปหานได้จริง คือ ลด ละ กิเลสในจิตเราไปเยอะมาก

    แต่เราก็ไปฟังคำสอนครูบาอาจารย์ คือ ถ้าได้ฌาน ๔ ก็ยิ่งทำให้เกิดปัญญามากขึ้น จะทำให้ไปพระนิพพานได้เร็ว เลยพยายามลดวิปัสสนา มาเน้นสมถะดู แต่นั่งเท่าไรก็วกเข้าวิปัสสนาตลอด คือ เรานั่งไม่เคยเห็นอะไรแปลกๆเลย มีแต่อาการทางสภาวะธรรมเป็นปกติ ซึ่งเราก็กำหนดจิตรู้อาการต่างๆก็ระงับไป ไม่ได้ตระหนกตกใจ เพราะชินแล้ว การปฏิบัติแบบนี้เราเคยฟังหลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง ว่าเป็นแนวสุกขวิปัสสโก ซึ่งก็ไปถึงนิพพานได้ แต่จะไม่เห็นสวรรค์ หรือ นรก หรือโลกคู่ขนาน

    มีหลายครั้งที่เราก็พยายามนั่งสมถะ ดูลมหายใจเข้าออก ก็ดิ่งอยู่ได้สักพักนึง ก็มีลักษณะเหมือนมีแสงแฟล็ชมาตัดฉับ ทำให้กำลังสมาธิที่เราถึงอยู่ขณะนั้นทรงอยู่แบบนั้นไม่ขยับไปไหน บางทีก็กำลังของฌานตก มันเป็นเพราะอะไรคะ แล้วเราควรฝึกสมถะอย่างไรให้เข้าถึงฌาน ๔ มีคนแนะนำว่าอย่าอยาก อย่าสงสัย ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งบางครั้งเราก็นั่งสมาธินิ่งๆ สบายๆ ไม่ได้เครียดเลย ได้ก็ดีไม่ได้ก็ดี ไม่ได้อยากขนาดนั้น มันก็จะนิ่งๆเหมือนกำลังฌานไม่ขยับเลยอ่ะค่ะ แต่ถามว่านั่งแล้วสงบดีมั๊ย โอเคมากเลยค่ะ แต่แค่สนใจฝึกเข้าฌาน ๔ เพื่อทำให้เกิดปัญญาที่ชัดเจนกว่านี้ค่ะ

    เคยแอบคิดว่าหรือยังไม่ถึงเวลาของเราหรือเปล่า เลยมีอะไรทำให้ไปฌาน ๔ ไม่ได้สักที ขอบคุณสำหรับทุกคำแนะนำนะคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มิถุนายน 2020
  2. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ที่ว่า วิปัสนา

    วิปัสนาของ จขกท.
    เป็นยังไงเหรอครับ
     
  3. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ขอพูดแบบทั่วๆไปก่อนนะ...
    เล่าให้ฟังภาพกว้างๆก่อน .

    ตอนนี้นะ น้องอย่าพึ่งไปสนใจนะคำว่า สุขวิปัสสโก เตวิชโช หรือฉพฯ
    ปฏิสัมฯ หรือ ระดับ
    อะไรก็ตามเนี่ย ลืมไปเลย อย่าสนใจ
    คือ ถ้าเราพอเห็นแสงได้ ช่วงทำสมาธิคงไม่ใช่สุขวิปัสสโกหรอก
    จิตนะปกติถ้ามันจะทำงานได้
    มันจะทำงานได้ แบบ ๑. มีแสงนำ คือจะเห็นเป็นสีต่างๆไม่ว่าสีอะไร
    และทำงานได้แบบ ๒.มีเส้นสายนำ คือจะเห็นเป็นขอบต่างๆได้
    หรือ ทำงานได้ แบบทั้ง ๑ และ ๒ พร้อมกัน
    เราก็จะเห็นเป็นรูปร่าง รูปทรง พร้อมกับสีนั่นเอง.....


    เอาว่า ตอนนี้ที่เราพลาดแบบไม่รู้นะ
    ที่ทำให้ไปต่อถึงระดับที่ต้องการไม่ได้
    เพราะเราไปพลาดตรง
    ที่ไปเผลอตามดูลมหายใจนั่นหละ
    เหตุคืองี้นะ พอไอ้ตัวจิตไปสนใจ
    ตามดูลมหายใจแล้ว ทางกิริยาคือ
    ตัวจิตมันเกิด เกิดก็เพราะตัววิญญานที่อยู่ในจิต
    มันส่งออกจากตัวจิตไปกระทบลมหายใจอยู่
    กรณี้แบบนี้ให้
    เรานั่งสมาธิทั้งชาติ
    ก็ไม่มีทางที่จะเกินระดับปฐมฌานได้
    คือเราจะแป๊ก ระดับสมาธิที่ระดับปฐมฌานเท่านั้น
    เพราะจิตมันไม่ได้อยู่ที่ฐานของมัน ตรงใต้ลิ้นปี่
    มันเกิดอยู่ตลอดเวลา
    และที่เราเข้าใจว่า ทำไมมันถึงตัดมาโหมดวิปัสสนา
    ก็เพราะว่า กำลังในระดับนี้ เพียงพอที่จะใช้สำหรับ
    การวิปัสสนาได้นั่นเอง.....

    ส่วนถ้าหากในอนาคตเรานั่งสมาธิได้ในระดับสูงกว่านี้
    กำลังสมาธิในระดับที่สูงย่อมมีกำลังมากกว่า ในระดับปฐมฌาน
    เหมือนรถยนต์ขนาดเท่ากัน แต่ cc มากกว่า ย่อยวิ่งได้เร็วกว่านั่แระ
    พอกำลังสมาธิมากกว่า มันก็เอื้อต่อการตัดกิเลสง่ายกว่า
    เอื้อต่อการเอามาหนุนทางด้านวิปัสสนาได้ดีกว่านั่นเอง......




    ถ้าจะไปต่อในระดับที่ต้องการ
    ให้มาดูดังต่อไปนี้
    ๑. ให้เปลี่ยนจากการตามดูลม มาเป็นการระลึกรู้ว่าลมที่เข้าหยุดที่ปลายจมูกและหายใจเข้าจนท้องพอง แต่ห้ามไปตามลมให้ผลักเอา และเวลา
    หายใจออกให้รุลึกรู้ว่าลมหยุดที่ปลายจมูกเช่นกัน และหายใจออกจนท้องแฟ๊บ... เพื่อปรับความละเอียดของจิตให้เพียงพอต่อการก้าวไปในระดับ
    ฌานที่สูงกว่านี้ ถ้าหายใจหยุดเพียงหน้าอก
    กำลังความละเอียดมันยังไม่พอ และยิ่งไปตามลมด้วย พอถึงปฐมฌาน
    มันก็จะตัดไปโหมดวิปัสสนาเหมือนเดิมอีก ตรงนี้ให้เวลากับมันหน่อย
    ปกติร่างกาย ต้องใช้เวลาในการปรับตัวเองประมาณ ๒ สัปดาห์อย่างน้อย
    จนกระทั่ง ให้ระบบการหายใจแบบนี้ เป็นระบบการหายใจ
    ในชีวิตปกติประจำวันเราแทน การหายใจถึงแค่หน้าอก......

    ๒.ให้มาดูว่า ในระหว่างวัน เวลางานเราตั้งใจทำงานเต็มที่ของเราไป
    แต่ในช่วงที่ร่างกายนิ่งๆ ให้มาระลึกรู้ลมเข้าออกที่ปลายจมูกแบบ
    ข้อที่ ๑ เพิ่มขึ้นอีก และถ้าเวลาเดินไปทำธุระอะไรก็ตาม
    ให้นับก้าวเดินในใจ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างสติทางธรรม
    และสร้างสมาธิสะสม เก็บเอาไว้ ใช้สำหรับ เวลาเราไปนั่งสมาธิ
    แบบเป็นทางการ ไม่งั้นมันจะไม่มีกำลังเพียงพอที่จะดับ
    ความคิดต่างๆที่มันชอบผุดขึ้นมาในระหว่างที่กำลังทำสมาธิ
    และไม่มีกำลังพอที่จะรักษาสภาวะสมาธิในระดับให้ได้นานเพียงพอ
    เป็นเหตุให้กำลังสมาธิเราตกได้ตามมาภายหลังนั่นเอง ....


    ๓. อย่าเปรียบเทียบกับวันที่ผ่านมา ว่าวันโน้นวันนี้ดีกว่า ่
    อย่าตั้งเป้าว่าวันนี้จะต้องดีกว่าเมื่อวาน
    ให้คิดเสียว่า ได้แค่ไหนก็แค่นั้น เพื่อตัดในส่วน
    ของความอยากละเอียดที่มันแอบหวังผลออกไป
    ซึ่งมันเป็นตัวขวางความก้าวหน้าในการยกระดับสมาธิ

    ๔.ในระหว่างที่นั่ง ไม่ว่าจะได้เห็นภาพอะไร ก็ตาม จะสวยดีไม่ดี
    แค่ไหน หรือสถานที่อะไร ท่านใดก็ตาม หรือจะได้ยินเสียงไกล ใกล้
    หู ด้านไหน ข้างไหน หรือเสียงแบบไหนก็ตาม
    ห้ามสนใจทุกๆกรณี ไม่ว่าจะสัมผัสทางกาย หรือ ตาหูจมูก หรือทางจิต
    ก้ห้ามสนใจทุกๆกรณี


    ๕. ในระหว่างที่นั่ง หากระลึกได้ว่า ตนเองเข้าไปแช่ในสภาวะใด
    มากเกินไปแล้ว และมันไม่ไปต่อซักที ให้เข้าใจว่า
    กำลังสมาธิในการยกระดับเรายังไม่เพียงพอ
    ให้ระลึก ถอยกำลังออกมา แล้วนั่งใหม่
    ที่สำคัญคือ ห้ามลืมตาเป็นอันขาด และให้รักษาระบบวิธีการหายใจเอาไว้

    ๖.ถ้านั่งแล้วเกิดมีนิวรณ์ เข้าแทรก อย่าไปฝืน ให้เปลี่ยนไป
    หาอะไรอย่างอื่นทำก่อน ที่สำคัญก็คือ ให้รักษาระบบลมหายใจเอาไว้
    แล้วค่อยกลับมานั่งใหม่ อย่าคิดว่า จะนั่งแบบม้วนเดียวให้จบ



    ๗. ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ เด่วพอถึงระดับกำลังฌาน ๔ ที่กาย
    กับจิตมันเหมือนแยกขาดจากการได้ชั่วคราว ตัวจิต
    เรามันจะออกไปข้างนอกกายแบบอัตโนมัติเอง
    ให้ระลึกเอาไว้ว่า มันเป็นเรื่องปกติ.....
    ให้มาเพิ่มการเจริญสติในชีวิตประจำให้ต่อเนื่องเข้าไปอีก

    ๘. พอถึงจุดนี้ได้ข้อที่ ๗ ได้แล้ว
    ซึ่งมันจะเป็น ประมาณ ๓ ถึง ๔ ครั้ง
    เราถึงจะสามารถบังคับ ไอ้ตัวจิตที่เสมือน
    มันแยกจากกายแล้วให้อยู่นิ่งๆในกายเราได้
    เด่วเราจะรู้เอง ว่ามันนิงหรือไม่นิ่ง
    เพราะจะเหมือนเรามองออกจากตัวจิตมา
    แบบใช้ตาดวงเดียว......


    ข้อ ๙ ถึงตรงนี้จะไปได้ ๒ แบบ
    คือ ๑... และ ๒ ...... ไม่ว่าแบบไหน
    มันจะเป็นไปเองอัตโนมัติ เราแค่เหมือน
    ตามไปดูมันเฉยๆ สภาวะนี้จะไม่เงียบแน่นอนจำไว้
    ไม่อยากบอกไว้ก่อน เด่วจะกลายเป็นสัญญา.....

    พอผ่านข้อ ๙ จะมาข้อ ๑๐
    ค่อยมาว่ากันอีกทีว่าจะไปทางอรูปฌาน
    ไปทางอฐิษฐานจิต หรือไปทางพลังงาน


    เครเนาะ

     
  4. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,923
    ค่าพลัง:
    +2,262
    การที่แสง แฟลขตัดฉับ

    ตรงนั้น เปนการที่ จิต ตัดเข้า
    สัมผัส ฌาณ แล้ว ซึ่งจะเปน
    ฌาณอะไร ขึ้นกับ จิต ที่มันจะ
    วิวัฏของมันเอง

    ซึ่งจะเปนกับ บุคคลที่ ฝึกอานาปานสติ
    กับ วิปสสนามาหลายชาติ จนจิต
    มันมีภูมิธรรมว่า ไม่ต้องเสียเวลา
    ไปกับ สมถะแนวเห็นนั้น เหนนี้
    ให้เสียเวลา

    สมถะที่เปนแสงแฟลข เกิดหนึ่งครั้ง
    จะเท่ากับ นั่งทำฌาณจนไปเหนนั้น
    เหนนี้ เสกนั้น เหาะนี้ 100ชาติ

    งานภาวนาจึง สำคัญอยู่ที่การวิปัสสนา
    ซึ่งจะต้อง วิปัสสนาด้วยจิตกระทบ
    แสงแฟลชอีก แสนกัป จิตจึงจะยอม
    รับสัจจธรรมว่า...

    ปฏิปทาทั้งหลาย ไม่เที่ยง

    ก้จะถึง ชาติสุดท้าย ที่จะกำหนดรู้
    สมถะ และ วิปัสสนา ก้เปนสิ่งปรุง
    แต่งอย่างหนึ่ง เปน สสังขาร

    เมื่อกำหนดรู้ยิ่ง สมถ และ วิปัสนา
    ต่อไปอีก ก้จะเปน วาระของ

    การขึ้นฝั่ง โดยไม่เอา สมถะ
    และ วิปัสนา เข้านิพพานไปด้วย

    จะ แล อยู่ เหนสมถะ และ วิปัสสนา
    เปน แพ ที่อาสัยข้ามฝั่ง เท่านั้น

    พอเหนได้แบบนี้ จึงจะสามารถ
    พิจารณาจิต ที่ อ่อน ควรแก่การ
    งาน ปราศจากกิเลส นิวรณ์
    และ อุปกิเลส

    เน้นว่า เหนจิตปราศจาก อุปกิเลส
    คือ ไม่ติดใจรส สมถะ และ วิปัสสนา
    และ ผลของญ่นทัสนะ(เหนนั้น
    เสกนี้ ฯลฯ)

    พอเหนจิตปราศจาก อุปกิเลส สักแต่
    ว่าอาสัยระลึก เท่านั้น

    พอถึงตรงนี้ จึงจะ กลับมา มนสิการ
    การเหนนั้น เหนนี้ได้

    โดยจะไม่เลือกเอง แต่จะอาสัย
    ผัสสะ นิทาน นามรูป วิญญาน
    เวทนา ธรรมภายนอก กระทบ
    เปนเหตุอันสมควร แก่ธรรม

    เน้นว่า จะกระทบเพื่อให้เกิด
    อภิภายตนะ เฉพาะที่สมควร
    แก่ธรรม คือ นิพพานของ
    ธรรมภายนอก ที่เปนเหตุ
    ณ ขฯะนั้น ซึ่งอาจจะเปน
    บุคคลคนเกียวบ้าง สรรพสัตว์
    ทั้งหลายที่เนื่องกับ ขันธ์5
    ที่ จขกท มีบุญสัมพันธ์
    มีวาระทีจะนำพา ไปนิพพาน

    จะไม่มีการมนสิการ เหนนั้น
    รู้นี้ ที่ ฝั้นเฝือ ไม่ส่งผลให้
    ผู้ที่เกี่ยวเนื่อง กับ ขันธ์5
    ที่ จขกท หยิบยืมโลกมาใช้

    แต่ อนุโลมให้ออกทำ ภิกขาจาร
    สร้างเหตุใหม่ กับ บุคคลใหม่
    ด้วยการ บิณฑบาตร เพื่อให้
    มีเหตุในการเนื่องกัย กับขันธ์5
    ของนักภาวนา ก้จะเปนปัจจัย
    ให้เขา สมควรได้สดับธรรม
    เพื่อนิพพาน

    ซึ่งทำภายใน สามวาระ ไม่เกินนี้
    เพราะ จะไม่มีเรื่อง อยากสอน
    หรือ สอรธรรมด้วยตัณหา

    สอนครบสามวาระ ผลได้เท่าไหร่

    หนี้ ก้ ขาดลงเท่านั้น ด้วยความเพียร
    แล้ว ถือว่า หมดหนี้ หมดกรรมต่อกัน
     
  5. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,923
    ค่าพลัง:
    +2,262
    อย่างไรก้ ดี การจะเหนนั้น เหนนี้ ก้ต้องฝึก
    ไว้บ่อยๆ ใช่ว่า จะไม่ต้องฝึกเลย

    แต่การฝึก จะไม่เน้นว่า ต้องเหนชัด

    เราจะ ซ้อมๆ ออกนวมไปเรื่อยๆ
    ทุกครั้ง ที่ รับรู้ว่า งันนี้ เวลานี้
    หรือ ขณะ นี้ จิตอ่อน ควรแก่
    การงาน หากจิตอ่อน ควรแก่
    การงานปรากฏ ก้ จะลงนวมทันที

    แม้นว่า ขณะนั้น จะยืนแสดงความ
    คิดเหนใรที่ประชุม กำลังโดยสาร
    ในพาหนะ กำลังเดินซื้อสินค้า
    ในตลาด ( เว้น ขณะขับรถ อย่า
    ไปเชื่อ อุปกิเลส ขณะขับรถ
    ร้อยละร้อย โครมทุกราย แต่
    อาจจะไม่ตาย ไม่บาดเจ็บ
    อะไร แต่ก้อย่าไปฝึกเลย หาก
    อุปฆาติกรรม ตามทัน ก้ไม่รอด)

    ความสั้น ยาว ของห้วงเวลาลง
    นวมจะ ประยุกต์ตาม กาล เทศะ
    ถ้า สามารถ นั่งได้ ก้ นั่งลง
    แล้ว.......

    ฟังดีๆ นะ

    กรรมฐาน ที่ใช้ สับปิติ ของอานาปานาสติ
    เพื่อ ญานทัสนะ จะใช้

    อาโลกาสัญญา

    คือ ให้กำหนดเหนสภาพแวดล้อมปัจจุบัน
    ตรงนั้น หากเปนกลางวัน ให้วางจิตผลิก
    เหนในกรณีเปน กลางคืน

    หากขณะนั้นเปนกลางคืน ให้ผลิกเหน
    เปนกลางวัน

    หากพึ่งเริ่มฝึก ก้เอาแค่วัตถุชิ้นเดียว
    มีแสงอาบทา กับ ไม่มีแสงอาบทา
    ทำสลับกันไป จนเกิด ปิติ จิตรวม
    เท่านี้พอ ไม่ต้องถึงขนาด วูบลง
    อัปปนา

    พอชำนาญ จิตมันจะ วิวัฏเองเปน
    วัตถุหลายชิ้น บริเวณโดยรอบ
    หรือ ขยายกรอยเปน ชนบท
    เปนเมือฝ เปรโลก เปนจักวาล

    สำคัญว่า สุดท้ายต้องเหน กิเลส
    โลภะ โทษะ โมหะ ธรรมภายใน
    บ้าง ธรรมภายนอกบ้าง ธรรมภายใน
    เปนธรรมภายนอกบ้าง ธรรมภายนอก
    เปนธรรมภายในบ้าง

    ส่วน ญานทัสนใด จะ เปนประโยชน์
    ต่อการสื่อ โฆษณา การมีอยู่ของ ธรรม
    ที่สมควรแสดง ใน วันนั้น กาลนั้น
    ในขณะนั้น หรือ เบื้องหน้า จขกท
    จะทราบเอง เมื่อ ผัสสะนั้นกระทบ
    ธรรมก้จะไหล ไปตาม ปัจจัยการ

    เมื่อทำการแสดงแล้ว ก้ขาด ตัดลง
    อุเบกขา สมุทเฉทด้วย ไม่มีการ
    สำคัญตน ฝุ้งเฝ้อเห่อเหิม หวั่นไหว
    ไปในโลกธรรม8

    บริสุทธิสิ้นเชิง สามารถพยากรณ์
    ตนได้ แต่ ไม่สำคัญตน


    ปล. จริง คนสามารถ เหนแสงแฟลช
    ได้ ตอนเด็กๆ จะมี พฤติกรรม ใส่
    ใจกำหรดเหน กิเลส ภายใน ภายนอก
    มาแต่เกิด อาจจะเริ่มปรากฏตั้งแต่
    7ขวบ หรือ 12 ซึ่งจะชักนำให้
    เงี่ยโสตสดับ ธรรม ของผู้มีพระภาค
    ไม่แซงหน้า แซงหลัง ศาสดา

    ถ้ามีการแซงหน้า แซงหลังศาสดา
    สำคัญว่า ตน รู้เหนธรรม สดกว่า
    ใหม่กว่า ไม่เคยมีมาก่อน รื้อฝื้น
    ได้เก่งกว่า ......อันนี้ก้................

    ไม่ขออธิบายต่อ ละกัน ........
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มิถุนายน 2020
  6. Nick_NaJa

    Nick_NaJa สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2020
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +64
    ขอตอบนะคะ วิปัสสนาของเราคือ รู้ทันเวทนาทางกาย และใจอ่ะค่ะ อะไรเกิดก็กำหนดรู้ รู้แล้วก็อุเบกขา ไม่ปรุงแต่งจนฟุ้งซ่าน ไม่ใช่นั่งจนดำดิ่ง ปล่อยจนตัวโยกตัวหมุนอะไรประมาณนี้ค่ะ มีสติรู้ตลอด และพิจารณาความไม่เที่ยง

    ดูการเกิดดับ ดูอนุสัยกิเลสลอยขึ้นมาอ่ะ ค่ะ โดยไม่ปรุงแต่ง รู้ทันทุกขณะจิต เราก็ไม่มีความรู้มากนะคะ ถ้าอธิบายไม่ถูกก็ชี้แนะได้ค่ะ ส่วนใหญ่ฟังครูบาอาจารย์มาอีกที ขอบพระคุณคำชี้แนะจากทุกท่านเลยค่ะ จะลองนำไปปฏิบัติตามค่ะ
     
  7. Pngtree

    Pngtree เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2018
    โพสต์:
    1,612
    ค่าพลัง:
    +1,335
    ถ้าอยากได้ฌาน 4 ต้องเอาวิปัสสนาออกค่ะ ฝึกเป็นสมถะล้วนก่อน มีกรรมฐาน40 เป็นอารมณ์ เลือกที่ชอบมาฝึกเลย ..หลังจากนั้นก็ไปฝึกวิปัสสนาเอา ยืนเดินนั่งนอน

    สมถะ วิปัสสนามันจะคนละเส้นทางใจ คนละอารมณ์จิต

    ได้ฌาน 4 ไม่ได้หมายถึงจะได้ปัญญามาก นิพพานจะเร็วขึ้น...อำนาจสมถะสูงสุดคือแค่ความสงบ ไม่เกินไปกว่านี้
    สงบแล้วเอามาเป็นบาทเจริญวิปัสสนาเท่านั้นเอง ส่วนมากจะเป็นอสุภะหมวดกายา ที่เห็น ลป. ลพ. นิยมกัน อันนี้เร็วจริง..กายจะละก่อนแล้วมาเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตามลำดับ
     
  8. Nick_NaJa

    Nick_NaJa สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2020
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +64
    ถามว่าอยากได้มั๊ย เฉยๆค่ะ ได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าได้ก็ดีเหมือนกัน เพราะปฏิบัติทุกวันนี้เราก็รู้สึกว่าก้าวหน้าดีอยู่ค่ะ เรื่องนิสัยจากใจร้อนก็ใจเย็น แต่ก่อนใส่ไม่ยั้ง เดี๋ยวนี้รู้ทันอารมณ์ค่ะ ก็หยุด รู้ว่าโกรธ รู้ว่าเศร้า รู้ว่าสุข ก็หยุดดูทัน ดูเฉยๆ ไม่ปรุงแต่งจนมันดับเองค่ะ จะนานจะเร็วก็ดู ให้เป็นแค่มโนกรรม ไม่ปล่อยออกมาเป็นวจีกรรม หรือกายกรรม จากไม่เคยรักษาศีลก็มารักษาศีลอย่างเคร่งครัด รักษากรรมบท ๑๐ ยึดพรหมวิหาร ๔ ค่ะ แต่แค่ไม่เห็นอะไรเฉยๆ

    พอดีเราชอบฟังเทศของหลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุงค่ะ ท่านว่าฝึกฌาน ๔ หรือพวกมโนยิทธิ ให้เห็นอะไรไว้บ้าง จะรู้แจ้งเห็นจริง ไปนิพพานเร็วประมาณนี้อ่ะค่ะ เลยสนใจมาขอคำแนะนำในนี้ค่ะ เรายังไม่เก่ง และอาจเข้าใจอะไรผิด ไม่รู้จะไปปรึกษาใคร เลยมาถามที่นี่ค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มิถุนายน 2020
  9. Nick_NaJa

    Nick_NaJa สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2020
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +64
    หลังจากนี้ เราขออนุญาตอ่านอย่างเดียวแล้วนะคะ ความรู้เรายังน้อยนัก ขออ่านเงียบๆเก็บความรู้นะคะ แต่ถ้ามีคำถามอยากสอบถามอะไรเรา ถามได้นะคะ
     
  10. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014

    ให้พิจารณา ความตาย เพิ่มเติมครับ ว่า
    หากเราตายวันนี้ เราเอาอะไรไปได้บ้าง

    ให้พิจารณาอย่างนี้เสมอๆ แล้ว ตัดใจ เอา
    มีแค่ไหน เอาแค่นั้น เวลาไม่คอยใคร
    ทุกอย่าง ถูกกำหนดล่วงหน้าแล้ว
    หากว่ามีวาสนาจริง ถึงจะเป็น สายสุกกวิปัสสโก
    หากบรรลุชั้น อรหันต์ ก็อาจจะมี ฤทธิ์ ก็ได้
    มันแล้วแต่ กรรมเก่า ไม่ใช่ สร้างกรรมใหม่
    ทุกอย่างถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว
    จงปล่อยวาง ความอยากมีฤทธิ์ มีเดช
    เพราะมันจะควบคุมยาก
    แต่ถ้าเป็น พระอรหันตะผล แล้ว
    จะควบคุมได้ทั้งหมด
     
  11. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,923
    ค่าพลัง:
    +2,262
    การ ฝึก เพื่อให้เกิด ญานทัสนะ ก้อธิบายไปแล้ว

    เพื่อสติ สัมปชัญญะ จขกท ก้ เหนผลเปน ปัจจัตตัง

    ส่วนการทำนิพพานให้แจ้ง ก้ว่ากันไป

    แต่ จะมี สติปัฏฐานอีก หนึ่งลักษณะ จขกท ไม่ได้ถาม

    คือ เพื่อการผักผ่อน ไม่ประมาท

    สติปัฏฐาน เปน ทางสายเดียว ที่ทำให้
    สมถะ และ วิปัสสนา บริบูรณ์

    สติ สัมปชัญญะ บริบูรณ์

    ญานทัสนะบริบูรณ์

    ส่วน การผักผ่อน อันนี้เปนเรื่อง วาระ
    กาละ เทศะ

    เมื่อ จขกท ฝึก อาโลกาสะญญา
    ได้คล่องตัว ประมาณหนึ่ง

    หลังจาก จิตเกิดแสงแฟลช จะสังเกต
    ได้ถึงความ สว่างบางประการ บาง
    ครั้งเข้ม บางครั้งจางเหมือนแสงจันทร์
    ข้างแรม บางครั้งเหนแค่ แคบๆ เฉพาะ
    วัตถุ

    หากต้องการผักผ่อน ก้ แค่ หน่วงแสง
    สว่างนั้นไว้ ไม่ต้องไปทำให้สว่างขึ้น
    เข้มเปนหัวเข็มหมุด อะไร แค่หน่วงไว้
    ระลึกไว้ หากมันดับพรึ๊บอีก ก้ปล่อย
    ให้ดับ หากจะติดพรึบใหม่ ก้ปล่อย

    พอหน่วงได้เปนผล บางครั้ง จิตจับ
    ไปเปนฐานวิปัสสนาอีก แล้วเกิดแสง
    แฟลชต่อเนื่อง ก้ให้เปนเรื่องของจิต

    นักภาวนา มี หน้าที่ แค่ มนสิการธรรม
    ปฏิบัต เพื่อเหตุใกล้ เพื่ออาสัยระลึก
    ตามเหนควาทดับ ลูกเดียว

    แต่....

    จะสังเกตได้ ในความสืบเนื่องของ
    ความสว่าง ที่ไม่ก้ำเกินกัน

    คือ สมถะไม่หาย เมื่อจิตผลิกไปวิปัสสนา
    และ วิปัสสน่ไม่หาย หากจิตผลิกไป สมถะ

    เหนความเปน อัญญามัญญะ ไม่ก้ำเกิน
    กัน รู้ชัด ความไม่ปักใจ ไม่เกิดอุปกิเลส

    ความสว่างที่ต่อเนื่อง จะสามารถ เข้า

    อยู่ ออก และ ตามเหนควาทดับของ
    การตั้งขึ้นของความสว่าง การเข้าดับ
    การอยู่ดับ การออกดับ

    พอเหนได้แบบนี้ ความจงใจ เจตนา
    จะไม่มี ภาระทางใจหมด มีแต่
    การโคจรไปใน อภิภายตนะ
    วิโมกข .......นี้คือ เพื่อการผักผ่อน

    ส่วนการทำนิพพานให้แจ้ง จะอาสัย
    วิเวก วิราคะ วิโมก น้อมไปเพื่อการสละ

    จะเหนว่า ต้องมีการพัก ด้วย

    ส่วนเรื่อง สติ สัมปชัญญะ ญานทัสนะ
    ไม่เกี่ยวอะไรกับ นิพพาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มิถุนายน 2020
  12. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
    สติกล้าไปนะครับ
    ขยายกำลังสติให้รู้ตัวพร้อม
    เดียวสติอ่อนตัวลงปัญญากะอ่อนลงมาเองละครับ
     
  13. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    เจริญพร..
     
  14. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    อ้าว... ปัญญาอ่อนต้องฝึกด้วยหยอ ฮับ555
     
  15. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
    ฝึดเอาไปใช้ประโยชน์
    ตัดกิเลสกะดีอยู่แล้วนี้ครับ55
     
  16. Picolo Fanta

    Picolo Fanta ต้นคต ปลายตรง ไม่มี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,086
    ค่าพลัง:
    +651
    แหม่ กระชุ่มกระชวยกันแต่เข้ามืดเลยหนา นุ่มๆ:cool:
     
  17. กระร่อน

    กระร่อน จิตฺเตน นียติ โลโก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +994
    ได้หัวใจมาสองดวงด้วย55
     
  18. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    เอ้อจริง.... ลุงแมวได้แต่คน
    ตบมือ(เหลืองๆ)เลยยัง
    แพ้หัวใจแดงๆ
    เนาะ
     
  19. Picolo Fanta

    Picolo Fanta ต้นคต ปลายตรง ไม่มี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,086
    ค่าพลัง:
    +651
    แหม..วุ่นวายกะหัวใจจังนะ...
    พูดดไปเลยสิ ดวงใจ ดวงใจ ดวงใจ ดวงใจ
    ดวงใจ ดวงใจ
     
  20. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    กระร่อนอกหักหลักลอยคอยงานสังขารเสื่อม

    คนเราจะเชื่อเพราะมันตรงกะความเห็นเรา
    เรื่องปกติ
    อุเภพปิติมันจะโลดโผนหน่อย

    ปัสสธิดีๆเอาไว้ข้ามเวทนกายสะบาย
    ข้ามบ่อยกะลื่มทุก
    ผมชอบแบบใช้กำลังใจดู
    เวทนากายเวทนาจิต
    มันคลาสิก


    ..อาตมาเดินทางนี้ล่ะโยม หนักบ้าง ทรมานบ้าง แต่ สุดมันส์ สุดเร้าใจ ข้ามเวทนากายได้ก็เห็นตัวตัณหาทันที..

    (ที่ใช้คำว่า "ตัวตัณหา" เพราะอุปมาให้เห็นภาพเป็นเพียงสมมุติบัญญัติน่ะนะ)
     

แชร์หน้านี้

Loading...