อะไรเป็นแก่นสารในพระพุทธศาสนา

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย Phanudet, 16 เมษายน 2009.

  1. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG] <!--WapAllow0=Yes--><!--pda content="begin"--><B><BIG><BIG><!--Topic-->อะไรเป็นแก่นสารในพระพุทธศาสนา [​IMG] </BIG></BIG></B>
    <!--MsgIDBody=0-->
    พระไตรปิฎก ภาค ๓ ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก อะไรเป็นแก่นสารในพระพุทธศาสนา ( พระไตรปิฏก ฉบับสำหรับประชาชน มมร. หน้า48 )




    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถีมีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อ ปิงคลโกจฉะเข้าไปเฝ้า เมื่อได้กล่าวทักทายปราศรัยพอสมควรแล้ว พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า


    “พระโคดมผู้เจริญ ! สมณพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่คณะเป็นคณาจารย์มีคนรู้จักมาก มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ อันชนหมู่มากเข้าใจกันว่าเป็นคนดี เช่นปูรณะ กัสสป, มักขลิ โคสาล, อชิตะ เกสกัมพล, ปกุธะ กัจจายนะ, สัญชัย เวลัฏฐบุตร, และนิครนถนาฏบุตร. สมณพราหมณ์ ทั้งหมดนั้น รู้แจ้งเห็นจริงตามปฏิญญาของตน หรือไม่รู้แจ้งเห็นจริงเลย หรือบางพวกรู้ บางพวกไม่รู้”



    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

    “อย่าเลย พราหมณ์ ! ข้อที่สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั้น รู้แจ้งเห็นจริงตามปฏิญญาของตน หรือไม่รู้แจ้งเห็นจริงเลยเป็นต้นนั้น จงยกไว้ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงตั้งใจฟังให้ดีเถิด” <!--MsgEdited=0-->

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 เมษายน 2009
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    เมื่อพราหมณ์ทูลรับคำแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

    “ดูก่อนพราหมณ์ ! มีข้ออุปมาว่า บุรุษต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมีต้นไม้ใหญ่มีแก่นยืนต้นอยู่ ละเลยแก่น, กะพี้, เปลือก, สะเก็ด,กิ่งและใบไม้ เมื่อต้องการแก่นไม้ จึงละเลยแก่นเป็นต้นตัดเอากิ่งและใบไม้ไปด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น ทั้งจะไม่ได้รับประโยชน์จากกิ่งและใบไม้นั้นด้วย”


    “มีอุปมาอื่นอีก บุรุษต้องการแก่นไม้ แต่ถากสะเก็ดไม้ไปด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น หรือถากเปลือกไปด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น หรือถากกะพี้ไม้ไปด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น ก็จะพึงถูกหาว่าไม่รู้จักแก่นไม้เป็นต้น และไม่ได้รับประโยชน์จากสิ่งที่ถากไปนั้นเช่นเดียวกัน”


    “อีกอุปมาหนึ่ง บุรุษต้องการแก่นไม้ ก็ตัดเอาแต่แก่นไปด้วยรู้จักแก่นไม้ คนที่รู้เรื่องดีเห็นเข้าก็จะพึงกล่าวว่า บุรุษผู้เจริญนี้ รู้จักแก่น กะพี้เปลือก สะเก็ด กิ่งและใบไม้ ต้องการแก่นไม้ก็ตัดเอาแต่แก่นไปด้วยรู้จักแก่นไม้ทั้งจะได้รับประโยชน์จากแก่นไม้นั้นด้วย” <!--MsgFile=1-->

     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ดูก่อนพราหมณ์ ! ข้ออุปไมยก็ฉันเดียวกันนั่นแหละ คือ กุลบุตรบางคนในศาสนานี้ มีศรัทธาออกบวชไม่ครองเรือน ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความคร่ำครวญ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ และความคับแค้นใจ เข้าถึงตัวแล้ว อันความทุกข์เข้าถึงตัวแล้วมีความทุกข์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า
    ไฉนหนอการทำที่สุดแห่งทุกข์ ทั้งหมดนี้จะปรากฏ
    ผู้นั้นออกบวชแล้ว ลาภสักการะและชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็อิ่มใจ เต็มความปรารถนาด้วยลาภสักการะและชื่อเสียงนั้น ยกตนเองข่มผู้อื่นเพราะลาภสักการะชื่อเสียงนั้น
    ว่าเราเป็นผู้มีลาภ สักการะ และชื่อเสียง ก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้นๆ เป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม”



    “ดูก่อนพราหมณ์ ! เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือน
    ผู้ต้องการแก่นไม้ แต่ละเลยแก่น, กะพี้, เปลือก, และสะเก็ดเสีย
    ตัดเอากิ่งและใบไม้ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น”

    <!--MsgFile=2-->

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    “อนึ่ง บุคคลบางคนออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น แต่ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วยลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเพราะสิ่งนั้น
    ทั้งยังปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมที่ยิ่งกว่าประณีตกว่าลาภสักการะชื่อเสียงนั้น
    ไม่มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวมผู้นั้นได้ความสมบูรณ์ด้วยศีล ก็อิ่มใจ เต็มปรารถนาด้วย สีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้น
    ยกตนเอง ข่มผู้อื่นเพราะสีลสัมปทานั้นว่า เราเป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม ส่วนภิกษุอื่นๆ เหล่านี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลว คุณธรรมอื่นๆที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าสีลสัมปทา ก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้นๆ เป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม


    ดูก่อนพราหมณ์ ! เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้
    แต่ละเลยแก่นกะพี้ และเปลือกเสีย
    ถากเอาสะเก็ดไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น”
    <!--MsgEdited=3-->


    <!--MsgFile=3-->
    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>

     
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    “อนึ่ง บุคคลบางคนออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วยลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ประพฤติสมบูรณ์ด้วยศีลก็อิ่มใจ แต่ยังไม่เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้นไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเป็นต้น
    เพราะสีลสัมปทานั้น คุณธรรมอื่นๆ ที่ยิ่งกว่าประณีตกว่าสีลสัมปทานั้น ก็ปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้นๆ ไม่มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม
    ผู้นั้นได้ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ (ความตั้งมั่นหรือความสงบแห่งจิต)
    ก็อิ่มใจ เต็มปรารถนาด้วยสมาธิสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ) นั้น
    ยกตนเองข่มผู้อื่นเพราะสมาธิสัมปทานั้นว่า เราเป็นผู้ตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ส่วนภิกษุอื่นๆ เหล่านี้
    เป็นผู้ไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิดแล้ว คุณธรรมอื่นๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่า สมาธิสัมปทานั้นก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้นๆ เป็นผู้มีความประพฤติหย่อนหละหลวม

    ดูก่อนพราหมณ์ ! เรากล่าวบุคคลนี้ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้
    แต่ละเลยแก่นและกะพี้เสีย
    ถากเอาเปลือกไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น”

    <!--MsgFile=4-->

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    “อนึ่ง บุคคลบางคนออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น
    แต่ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วยลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยศีลก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้นได้ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ ก็อิ่มใจ
    แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสมาธินั้น ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นเพราะสมาธิสัมปทานั้น คุณธรรมอื่นๆที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าสมาธิสัมปทานั้น ก็ปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้นๆ
    ไม่เป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม ผู้นั้นได้ญาณทัสสนะ (ความเห็นด้วยญาณหรือปัญญา) ก็อิ่มใจ
    เต็มปรารถนาด้วยญาณทัสสนะ หรือปัญญานั้นยกตนเอง ข่มผู้อื่นเพราะญาณทัสสนะนั้น ว่าเราอยู่อย่างรู้เห็น
    ส่วนภิกษุอื่นๆเหล่านี้ อยู่อย่างไม่รู้ไม่เห็น คุณธรรมอื่นๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้นๆ เป็นผู้มีความประพฤติหย่อนหละหลวม

    ดูก่อนพราหมณ์! เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้
    แต่ละเลยแก่นเสีย
    ถากเอากะพี้ไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น”

    <!--MsgFile=5-->

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    <!--MsgIDBody=6-->“อนึ่ง บุคคลบางคนออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วยลาภสักการะชื่อเสียงนั้น
    ได้ความสมบูรณ์ด้วยศีลก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้น
    ได้ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วย สมาธิสัมปทา(ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ) นั้น
    ได้ญาณทัสสนะ (หรือปัญญา) ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วย ญาณทัสสนะนั้น

    ไม่ยกตน ข่มผู้อื่นเพราะญาณทัสสนะนั้น คุณธรรมอื่นๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ ก็ปลูกความพอใจ
    พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้นๆ ไม่มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม

    ดูก่อนพราหมณ์!ธรรมอะไรบ้าง ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ

    ดูก่อนพราหมณ์! ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เข้าปฐมฌาน(ในการแปลตอนนี้ ได้แปลลัดแต่ใจความของเรื่องว่าเข้าฌานที่ ๑ ที่ ๒ เป็นต้น เพราะรายละเอียด ของแต่ละฌานมีแล้วในที่อื่น)

    (ฌานที่ ๑) เข้าทุติยฌาน
    (ฌานที่ ๒) เข้าตติยฌาน
    (ฌานที่ ๓) เข้าจตุตถฌาน
    (ฌานที่ ๔) เข้าอากาสานัญจายตนะ (อรูปฌานกำหนดอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์)
    เข้าวิญญาณัญจายตนะ (อรูปฌานกำหนดวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์)
    เข้าอากิญจัญญายตนะ (อรูปฌานกำหนดว่าไม่มีอะไรแม้แต่นิดหน่อย)
    เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ (อรูปฌานที่มีสัญญาความจำได้หมายรู้ ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญา ก็ไม่ใช่)
    เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ(สมาบัติชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา ซึ่งเมื่อเข้าแล้วทำให้ดับสัญญาความจำได้หมายรู้และเวทนาความเสวยอารมณ์สุขทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุขได้)


    อาสวะของภิกษุนั้นสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา คุณธรรมเหล่านี้แล ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่า ญาณทัสสนะ


    ดูก่อนพราหมณ์! เรากล่าวบุคคลนี้ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้ ก็ตัดเอาแต่แก่นไม้ไปฉะนั้น”
    <!--MsgEdited=6-->



    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  8. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    “ด้วยประการฉะนี้แหละพราหมณ์! พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีลาภสักการะชื่อเสียงเป็นอานิสงส์
    มิใช่มีความสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นอานิสงส์
    มิใช่มีความสมบูรณ์ด้วยสมาธิเป็นอานิสงส์
    มิใช่มีญานทัสสนะเป็นอานิสงส์

    แต่ความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบอันใด

    พรหมจรรย์นี้ มีความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบนั้นแหละเป็นที่ต้องการ นั้นเป็นแก่นสาร นั้นเป็นที่สุดโดยรอบ”



    เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ ปิงคลโกจฉะพราหมณ์กราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต

    จูฬสาโรปมสูตร ๑๒/๓๗๔
    <!--MsgFile=7-->



    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 เมษายน 2009
  9. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG]

    สรุปความ

    ๑. ลาภสักการะชื่อเสียง เปรียบเหมือนกิ่งไม้ใบไม้
    ๒. ความสมบูรณ์ด้วยศีล เปรียบเหมือนสะเก็ดไม้
    ๓. ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ เปรียบเหมือนเปลือกไม้
    ๔. ญาณทัสสนะ หรือปัญญา เปรียบเหมือนกะพี้ไม้
    ๕. ความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบ ซึ่งใช้คำภาษาบาลี "อกุปฺปา เจโตวิมุตฺติ" เปรียบเหมือนแก่นไม้

    http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/interest/part1.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...