เจตสิก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 5 มิถุนายน 2009.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    "เจตสิกปรมัตถ์"



    ในขณะที่ "จิต" เกิดขึ้น รู้อารมณ์.


    มี "นามปรมัตถ์" อีกประเภทหนึ่ง เกิดร่วมกับ "จิต"

    "นามปรมัตถ์" นั้น.....คือ



    "เจตสิกปรมัตถ์"



    ซึ่ง ได้แก่ ความโกรธ ความรัก ความสุข ความทุกข์

    ความตระหนี่ ความริษยา ความเมตตา ความกรุณา


    เป็นต้น.


    สภาพธรรม ที่มีจริง เหล่านี้

    เป็น
    .........
    "เจตสิกปรมัตถ์"

    และ

    "เจตสิกปรมัตถ์" ไม่ใช่ "จิตปรมัตถ์"



    ความโกรธ ความรัก ความทุกข์ ความสุข เป็นต้น นั้น

    เป็น สภาพธรรมที่มีจริง

    ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคค.


    และ


    เป็นสภาพธรรมที่ "ต้องเกิดกับจิต"

    หมายความว่า

    ถ้าไม่มี "จิต"
    ......"เจตสิก" ก็เกิดไม่ได้.!



    "เจตสิกปรมัตถ์"

    มี ๕๒ ประเภท.


    เช่น ความโกรธ
    ....... (โทสเจตสิก)

    มี "ลักษณะ" หยาบ กระด้าง ดุร้าย.


    ความรัก (โลภเจตสิก)

    มี "ลักษณะ" ยึดติด ติดข้อง ไม่สละ

    และ ปรารถนาในอารมณ์.


    เป็นต้น.




    ........................................




    จะเห็นได้ ว่า

    "เจตสิก"
    ........
    แต่ละประเภท ๆ

    เป็น สภาพธรรม แต่ละอย่าง ๆ



    มี "ลักษณะ"

    ต่าง ๆ กัน....แต่ละประเภท ๆ


    มี "กิจ"

    หน้าที่ เฉพาะตน ๆ....แต่ละประเภท ๆ


    "ผล" คือ อาการที่ปรากฏ

    ก็ต่างกัน
    ....
    แต่ละประเภท ๆ


    "เหตุปัจจัย"

    ที่ทำให้เกิด เจตสิก แต่ละประเภท ๆ

    ก็ต่างกัน.




    ...........................................





    "จิตปรมัตถ์" และ "เจตสิกปรมัตถ์"

    เป็น

    "นามธรรม ที่รู้ อารมณ์"

    จิต และ เจตสิก ต้องเกิด ร่วมกัน


    หมายความว่า


    เจตสิก
    .......เกิด พร้อมกับ จิต.

    เจตสิก
    ........
    ดับ พร้อมกับ จิต.

    เจตสิก รู้ อารมณ์เดียว กับ จิต.

    เจตสิก
    ......
    เกิดที่เดียว กับ จิต.


    และ


    จิต เกิดดับ ที่ไหน
    ....เจตสิกก็ เกิดดับ ที่นั่น

    จิต และ เจตสิก
    ................
    ไม่แยกจากกัน.



    คือ ไม่เกิด ดับ เพียงปรมัตถ์เดียว

    แต่ จิตปรมัตถ์ และ เจตสิกปรมัตถ์

    ต้องเกิด พร้อมกัน
    .........ที่เดียวกัน

    ต้องดับ พรัอมกัน
    .........
    ที่เดียวกัน

    และ ต้อง
    ......
    รู้ อารมณ์ เดียวกัน.




    ...................................




    "จิต"

    เป็นใหญ่ เป็นประธาน ใน การรู้ อารมณ์

    ส่วน เจตสิก แต่ละประเภท ที่เกิดร่วมกับจิต

    ต้องรู้ อารมณ์เดียวกับจิต.


    แต่


    "ลักษณะ" และ "หน้าที่"
    .......ในการรู้ อารมณ์ ของจิต

    มีความแตกต่างกันไป
    .........

    ตาม "ลักษณะ" และ "กิจการงาน"

    ของ เจตสิก แต่ละ ประเภท ๆ


    เพราะว่า เจตสิก มี "ลักษณะเฉพาะของตน ๆ"

    และ มี "กิจเฉพาะของตน ๆ"



    เพราะฉะนั้น

    การที่
    ......... "จิตแต่ละประเภท"

    ต่างกันไป เป็น ๘๙ ประเภท

    หรือ ๑๒๑ ประเภท โดยพิเศษ.



    เป็นเพราะ "เหตุปัจจัย" คือ

    จิต แต่ละประเภท

    มี เจตสิก เกิดร่วมด้วย มาก น้อย ต่าง ๆ กัน

    และ เป็น เจตสิก ที่มีกิจการงาน ที่ ต่าง ๆกัน

    ตามประเภท ของเจตสิก นั้น ๆ ด้วย.



    ดังนั้น จิต แต่ละประเภท จึงไม่เหมือนกัน

    เช่น รู้อารมณ์ ต่างกันบ้าง

    ทำกิจการงาน ต่างกันบ้าง.


    เป็นต้น.



    เช่น


    "จิต" บางประเภท

    มี "สิ่งที่ปรากฏทางตา" เป็น อารมณ์

    (หมายถึง จิตเห็น หรือ จักขุวิญญาณจิต)


    หรือ


    จิต บางประเภท มี โลภเจตสิก เกิดร่วมด้วย

    จิต บางประเภท มี โทสะเจตสิก เกิดร่วมด้วย


    ดังนี้ เป็นต้น.




    ....................................




    เมื่อเวไนยสัตว์ ฟัง "พระอภิธรรม"


    ก็ พิจารณา สภาพ "ปรมัตถธรรม"


    "ที่กำลังปรากฏ"


    ด้วย " ปัญญา"


    ที่ได้ "สะสม" อบรม มาแล้ว ในอดีต


    จึงสามารถที่จะ "รู้ความจริง" ของ "ปรมัตถธรรม"


    ในขณะที่ "กำลังปรากฏ" นั้น ได้.



    ด้วย "เหตุ" นี้


    ในครั้งพุทธกาล

    เมื่อพระบรมศาสดา ทรงแสดงธรรมจบลง

    จึงมีผู้ที่บรรลุ มรรค ผล นิพพาน

    เป็นจำนวนมาก.



    เพราะ "เหตุ" คือ

    ท่านเหล่านั้น เมื่อฟังพระธรรมแล้ว "เข้าใจ"

    และ "พิจารณา"

    จน "รู้ความจริง" ของ สภาพ "ปรมัตถธรรม"

    "ที่กำลังปรากฏ" ในขณะนั้น.



    เช่น

    เมื่อพระองค์ทรงเทศนา ว่า


    "จักขุวิญญาณ คือ จิตที่ทำกิจเห็น นั้น....ไม่เที่ยง"


    ท่านเหล่านั้น..........


    มี "สติสัมปชัญญะ"

    รู้ "ลักษณะของจิต"


    ขณะที่ "กำลังเห็น" นั้น

    ได้อย่างถูกต้อง
    ...........

    ว่า สภาพธรรมที่เป็น "นามธรรม" นั้น

    ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล.


    ในขณะที่ได้ยิน....ก็โดยนัยเดียวกัน.




    ...................................




    เมื่อ "ปัญญา" รู้แจ้ง "ลักษณะ"

    ที่ไม่เที่ยง เกิดดับ และเป็นทุกข์ ของ "ปรมัตถธรรม"


    "ที่กำลังปรากฏ" ในขณะนั้น แล้ว.


    ก็ "ละคลาย" ความยินดี และ ความเห็นผิด

    ที่ "ยึดถือ" ปรมัตถธรรม เหล่านั้น ว่า
    .........


    ...............เป็นตัวตน เที่ยง และ เป็นสุข.




    ....................................




    เพราะฉะนั้น

    พึง "เข้าใจ" ให้ถูกต้อง ว่า


    "พระธรรม"

    ที่พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสรู้

    และทรงเทศนา ทรงสั่งสอน


    ซึ่งได้มีการรวบรวมไว้

    เป็น " พระไตรปิฎก" นั้น

    เป็น


    "เรื่องความจริงของสภาพธรรมทั้งปวง"


    เมื่อ "ศึกษา" และ "เข้าใจ"

    เรื่อง สภาพของ "ปรมัตถธรรม"แล้ว

    ก็ควร
    "พิจารณาปรมัตถธรรม"

    "ที่กำลังปรากฏ"


    เพื่อ "การรู้แจ้ง"

    " ลักษณะตามความเป็นจริง"

    ของ "ปรมัตถธรรม"

    ที่ กำลังปรากฏ นั้น.


    นี่คือ "เหตุ" ที่ทำให้สามารถ

    "ละความสงสัย" และ "ความไม่รู้"

    ในสภาพ "ลักษณะ"

    ของ "ปรมัตถธรรม"

    ได้...อย่าง แท้จริง.!




    ....................................




    " การศึกษา"


    เพื่อให้ "เข้าใจ" ใน "ปรมัตถธรรม"

    ต้อง "พิจารณา" ถึง "เหตุ และ ผล"

    ของสภาพธรรม ที่เกิดขึ้น และปรากฏ

    จึงจะ
    "เข้าใจ" ได้ อย่าง "แจ่มแจ้ง"


    เช่น


    จะ ต้อง รู้ ว่า
    ............

    สภาพธรรมที่เห็น และ สภาพธรรมที่ได้ยิน


    เหมือนกัน หรือไม่
    ........................
    .?

    ถ้าเหมือน เหมือนกัน
    ........
    อย่างไร.?

    ถ้าไม่เหมือน ไม่เหมือนกัน อย่างไร.?



    เพราะฉะนั้น


    สภาพธรรมที่เห็น และ สภาพธรรมที่ได้ยิน

    เป็นจิต ปรมัตถ์ ก็จริง.

    แต่

    ไม่ใช่ จิต ประเภทเดียวกัน

    เพราะ "เหตุปัจจัย" ที่ทำให้เกิดนั้น ต่างกัน.!


    หมายความว่า


    "จิตเห็น"

    ต้องอาศัย

    "สิ่งที่ปรากฏทางตา"

    มากระทบกับ

    "จักขุปสาท"


    ทั้งหมด เป็น "ปัจจัย"

    "จิตเห็น" จึงเกิดขึ้นได้.



    "จิตได้ยิน"

    ต้องอาศัย

    "เสียง"

    ที่มากระทบกับ

    "โสตปสาท"


    ทั้งหมด เป็น "ปัจจัย"

    "จิตได้ยิน" จึงเกิดขึ้นได้.



    เพราะฉะนั้น

    "จิตเห็น" และ "จิตได้ยิน"

    จึงมี

    "กิจต่างกัน"

    เพราะมี

    "เหตุปัจจัย" ต่างกัน.


    (และ "จิตประเภทอื่น ๆ" ก็โดยนัยเดียวกัน)
     
  2. บุคคลไปทั่ว

    บุคคลไปทั่ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2009
    โพสต์:
    200
    ค่าพลัง:
    +106
    มันขัดกันอยู่นา..???


    <SCRIPT src="http://us.i1.yimg.com/us.yimg.com/i/mc/mc1.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://us.i1.yimg.com/us.yimg.com/i/mc/mc2.js"></SCRIPT>
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เราคิดว่า คนแต่ละคน มีจิตเท่ากัน แต่มีเจตสิกไม่เท่ากันทั้งชนิดและปริมาณ
    ทำให้ ความโลภ โกรธ หลง ตัณหา ราคะ นิวรณ์ มีเกิดและตั้งอยู่ในคนไม่เท่ากัน
    บางคนมีมาก บางคนมีน้อย บางคนก็ไม่มี เหมือนกับเราต้องมาอัพเกรดตัวเอง
    ให้เกิดมี เจตสิก ที่ดีที่เราไม่มีให้เกิดมี อย่าง โสภณเจตสิก ๒๕ ที่คนต้องพัฒนา
    ให้เกิดให้มีในตน ซึ่งต้องออกแรงสวนกระแสของโลก เพราะธรรมชาติของโลกคือ
    ไหลลงสู่ที่ต่ำ กับ เสมอตัว ถ้าไม่ทำให้ขึ้น ก็จะมีแต่ไหลลง กับเสมอตัว

    วิธีการที่จะทำให้เรามี โสภณเจตสิก ๒๕ คือปฏิบัติธรรมเจริญสติปัฐาน4
    และปฏิบัติตามมรรค8 (เราคิดและสรุปเอาเอง จากที่อ่านมา) ส่วนหนทางอื่น ไม่รู้

    เหมือนได้เกิดเป็นคนมีจิตเหมือนกัน แต่ทำกรรมต่างกัน เลยได้ออฟชั่น(เจตสิก)
    ไม่เหมือนกัน แต่ชุดพื้นฐานคงมีเหมือนกัน แล้วทำไปทำมา ทำกรรมต่างกัน
    ออฟชั่นก็เลยได้ต่างกัน แบบว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว สะสมเป็นสมบัติอยู่ที่คน
    ทำแบบไหน ก็ได้แบบนั้น ไม่ทำแบบไหน ก็ไม่ได้แบบนั้น

    เราคิดเล่นๆ หนา
     
  4. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เพราะผมไม่ได้ยึดแค่ว่า จิตเป็นเพียงแค่อารมณ์ไงครับ โดยนัย จิต อาจเป็นมากกว่าอารมณ์ ก็ได้ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...