เตือนภัยลา นิน่าตัวป่วนเศรษฐกิจ-เวิรลด์แบงก์ตั้งกองทุนอุ้มเมืองชายฝั่ง

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 6 มีนาคม 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    เตือนภัย'ลา นิน่า'ตัวป่วนเศรษฐกิจ-เวิรลด์แบงก์ตั้งกองทุนอุ้มเมืองชายฝั่ง

    เตือนภัย "ลา นิน่า" ตัวป่วนเศรษฐกิจ เวิรลด์แบงก์ตั้งกองทุนอุ้มเมืองชายฝั่ง

    [​IMG]

    มหันตภัยจากธรรมชาติอาจไม่ได้ลดราวาศอกให้กับโลกที่ปะทุไปด้วยโรงงานอุตสาหกรรมและการผลิตกับการดำเนินชีวิตที่ไม่เอื้ออาทรกับโลกอีกต่อไป เมื่อผลการคาดการณ์สภาวะอากาศจากสำนักงานสำรวจชั้นบรรยากาศและมหาสมุทรแห่งชาติ (NOAA) ของสหรัฐ ซึ่งสำนักงานเอพีนำมาเปิดเผยเมื่อกลางสัปดาห์ก่อนระบุว่า ปรากฏการณ์ลา นิน่ากำลังก่อตัวขึ้น ท่ามกลางความหวาดหวั่น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดพายุเฮอร์ริเคนที่รุนแรงมากขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติก

    ขณะที่รายงานข่าวจาก www.caymannetnews.com ระบุถึงความเคลื่อนไหวของเมืองชายฝั่งและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน โดยอ้างรายงานของหน่วยประกันความเสี่ยงจากภัยพิบัติในทะเลแคริบเบียน (CCRIF) ซึ่งระบุว่า เมืองและประเทศในทะเลแคริบเบียนกว่า 18 ประเทศ

    ไม่ว่าจะเป็นหมู่เกาะเคย์แมน, เมืองบาฮามาส, บาร์เบโดส, เกรนาดา, จาเมกา, เบอร์มูดา, มอนต์เซอร์รัต, เซนต์ลูเซีย, บีไลซ์, ตรินิแดดและโตเบโก, เซนต์คิตส์และเนวิส, โดมินิกา, หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน และแองค์กูลา จะได้รับการช่วยเหลือจากกองทุนฉุกเฉินจากธนาคารโลก ซึ่งจะจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือประเทศในหมู่เกาะเหล่านี้จากภัยพิบัติของพายุเฮอร์ริเคน ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงปีนี้

    รายงานข่าวจากเอพีอ้างคำกล่าวของ คอนราด ลัวเทนบาเชอร์ ผู้อำนวยการ NOAA ซึ่งระบุว่า ทางหน่วยงานกำลังติดตามการเคลื่อนตัวของปรากฏการณ์ลา นิน่า ซึ่งในเวลานี้มีข้อมูลที่แสดงอยู่ชัดว่า ปรากฏการณ์ลา นิน่าจะเกิดขึ้นจากการลดลงของอุณหภูมิในมหาสมุทรแปซิฟิก และแม้จะไม่มีการเริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการ แต่จากการวิเคราะห์ผลผ่านข้อมูลดาวเทียมและการวัดอุณหภูมิมหาสมุทร ได้ทำให้เห็นถึงแนวโน้มที่ปรากฏการณ์ลา นิน่าจะเกิดขึ้นและเป็นผลให้เกิดพายุขนาดใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติก

    นอกจากนี้ลัวเทนบาเชอร์ยังมีความกังวลเป็นพิเศษในพื้นที่ด้านตะวันตกของเทกซัส ซึ่งประสบกับความแห้งแล้งมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน และหากเกิดปรากฏการณ์ลา นิน่าขึ้นมาอีก สภาพแห้งแล้งรุนแรงในพื้นที่จะยิ่งถูกซ้ำเติมมากขึ้น

    อีกทั้งประวัติศาสตร์ที่ผ่านมายังทำให้รู้ว่า ยังไม่มีหน่วยงานหรือสถาบันใดที่จะสามารถคาดการณ์หรือพยากรณ์ถึงผลที่เกิดจากปรากฏการณ์เอล นิโญ และลา นิน่าได้เลย

    "ผมไม่รู้ว่าจะมีเครื่องมือใดใช้ตรวจสอบและพยากรณ์ปรากฏการณ์นี้ได้ และที่ผ่านมาในหลายครั้งที่เกิดปรากฏการณ์เช่นนี้ แม้เราจะได้พยายามติดตามเฝ้าดูเอล นิโญมาอย่างใกล้ชิดโดยตลอด แต่มันก็ยังสร้างความประหลาดใจให้กับนักวิทยาศาสตร์เสมอมา" ไมเคิล คลันซ์ นักวิทยาศาสตร์อาวุโสศูนย์วิจัยชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐกล่าว

    ด้าน เวอร์นอน กัวสกี้ ผู้เชี่ยวชาญเอล นิโญ/ ลา นิน่า จาก NOAA ระบุว่า ปรากฏการณ์ลา นิน่ามีแนวโน้มจะก่อตัวขึ้นในช่วงเดือน มี.ค.-มิ.ย. และจะเพิ่มความรุนแรงถึงระดับสูงสุดในช่วงปลายปีและลามไปถึงเดือน ก.พ.ปีหน้าด้วยซ้ำ

    นอกจากนี้ปรากฏการณ์ลา นิน่าที่เกิดขึ้นในฤดูหนาวยังส่งผลให้มีอุณหภูมิสูงขึ้นมากกว่าในช่วงสภาพภูมิอากาศปกติในเขตตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่อีกด้านหนึ่งในภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือก็จะมีอุณหภูมิหนาวจัดมากกว่าสภาวะปกติด้วย

    ขณะที่ แอนดริว วีเวอร์ ศาสตราจารย์ด้านอุตุนิยมวิทยา มหาวิทยาลัยวิกตอเรีย แคนาดา กลับให้ภาพที่น่าหวาดหวั่นถึงภัยของปรากฏการณ์ธรรมชาตินี้ว่า ลา นิน่าเป็นปีศาจตัวน้องของเอล นิโญ ซึ่งมันจะดีหรือเลวก็ขึ้นอยู่กับว่า คุณอาศัยอยู่ที่ไหน แต่อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วลา นิน่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ได้เหมือนกับปรากฏการณ์เอล นิโญ

    ส่วน ดักลัส ลีคอมเต้ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องความแห้งแล้งจาก NOAA ระบุว่า การเกิดปรากฏการณ์ลา นิน่าครั้งล่าสุดในระหว่างปี 2541-2544 ยังเป็นสาเหตุทำให้เขตตะวันตก ของสหรัฐมีความแห้งแล้งที่รุนแรงที่สุดมาแล้ว

    ดังนั้นในระหว่างการประชุมของประเทศ ผู้บริจาคของธนาคารโลก ไม่ว่าจะเป็นแคนาดา ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส และอียู ซึ่งมีขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาที่กรุงวอชิงตัน

    ประเด็นสำคัญ อีกเรื่องหนึ่งที่ประเทศเหล่านี้ต้องเคาะออกมาให้ได้จึงอยู่ที่การอนุมัติเงินช่วยเหลือมูลค่า 30-50 ล้านดอลลาร์เพื่อกันเป็นกองทุนสำรองในกองทุนฉุกเฉินของธนาคารโลก เพื่อบรรเทาทุกข์ของผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยและถูกคาดการณ์ว่าอาจประสบกับพายุ เฮอร์ริเคนในปีนี้

    ขณะที่หน่วยงานพยากรณ์ความเสี่ยงจากพายุเขตร้อน (TSR) ในลอนดอนระบุว่า ในปีนี้อาจจะเกิดพายุเขตร้อนขึ้นอย่างน้อย 16 ครั้งในมหาสมุทรแอตแลนติก โดยในจำนวนนี้ 9 ครั้ง จะเป็นพายุเฮอร์ริเคนและอีก 4 ครั้งจะเป็น เฮอร์ริเคนระดับรุนแรงที่สุด


    ------------------------
    Ref.
    http://www.matichon.co.th/prachacha...g=02for02050350&day=2007/03/05&sectionid=0205
     

แชร์หน้านี้

Loading...