เปิดคัมภีร์'พระไตรปิฎก'หลักคำสอนที่ประชาชนเข้าถึงง่ายกว่าที่คิด

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 28 พฤษภาคม 2010.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,489
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>เปิดคัมภีร์ ' พระไตรปิฎก' หลักคำสอนที่ประชาชนเข้าถึง ง่ายกว่าที่คิด</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ASTVผู้จัดการรายวัน</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>27 พฤษภาคม 2553 19:01 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​



    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=160><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​



    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 background=/images/linedot_vert3.gif>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>เป็นประจำสืบเนื่องทุกปีที่เมื่อถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาคราใด เหล่าพุทธศาสนิกชนต่างปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธที่ดี ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอน เข้าวัด บำเพ็ญบุญ รักษาศีล เจริญภาวนา


    และวันวิสาขบูชาก็เป็นอีกวันหนึ่งที่มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่ไม่ใช่แต่เฉพาะชาวพุทธในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นวันสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลกอีกด้วย ตามมติเอกฉันท์ของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ​



    เนื่องจากเป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือเป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยทั้ง 3 เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 แต่ต่างปีกัน​



    ปัจจุบันมีหลายประเทศที่ให้วันนี้เป็นวันหยุดราชการ เช่น อินเดีย พม่า ศรีลังกา สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย​



    จากความสำคัญของวันวิสาขบูชานี้เองทำให้มีการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ที่สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ มหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา มีการอันเชิญพระเจดีย์วิสาขบูชานุสรณ์ สกลโลกประกาศบูชาวันวิสาขะ มาประดิษฐานให้ประชาชนสักการบูชาเป็นการถาวร​



    ในประเทศไทยก็มีการจัดงาน กิจกรรมต่างๆ ไม่แพ้กัน นอกจากจะมีการเข้าวัด ถือศีลฟังธรรมแล้ว ยังมีการจัดการแสดงพระไตรปิฎกนานาชาติ ในวันวิสาขบูชาโลกปี 2553 ระหว่างวันที่ 23-25 พ.ค. 2553 ที่ผ่านมา ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) วังน้อย พระนครศรีอยุธยา​



    โดยในงานนี้ได้มีการรวบรวมพระไตรปิฎกมากถึง 16 ชาติ และพระไตรปิฎกของชาติไทยซึ่งมีตั้งแต่ ฉบับรัชกาลที่ 5 รวมทั้งฉบับล้านนา ฉบับอักษรธรรมอีสาน ฉบับบาลีอักษรขอม ฉบับสยามรัฐ จนกระทั่งถึงฉบับปัจจุบัน​



    ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการที่มีการจัดงานต่างๆ ขึ้นมา ก็เพราะพระไตรปิฎกมีความสำคัญยิ่งกับพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เนื่องจากเป็นคัมภีร์ที่รวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้า และพระธรรมวินัยในพระไตรปิฎกก็เป็นหลักเกณฑ์ มาตรฐานในการตัดสินความเชื่อถือ การประพฤติปฏิบัติตนของเหล่าพุทธศาสนิกชน​



    แต่คนในปัจจุบันต่างมองว่าการศึกษาพระธรรมคำสอนตามพระไตรปิฎกเป็นเรื่องยาก มีหลักธรรมคำสอน พระธรรมวินัยเยอะแยะมากมาย หรือบางคนอาจจะบอกว่าศึกษาแล้วแต่ยังไม่เข้าใจเนื้อหา สาระสำคัญของพระไตรปิฎกเลย ทำให้มองว่ายาก จนกลายเป็นเรื่องไกลตัวไปในที่สุด



    ศึกษา ทำตามคำสอนพุทธวจนะ
    ก่อนที่จะมาถามจึงจุดที่ว่าทำไมพระไตรปิฎกถึงช่างห่างไกลประชาชนนัก เราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าแท้จริงพระไตรปิฎกคืออะไร​



    ในเรื่องนี้ พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าอาวาสวัดนาป่าพง ได้อธิบายถึงความสำคัญของพระไตรปิฎกอย่างชัดเจนว่า เป็นที่รวมพุทธวจนะของพระพุทธเจ้า แต่พระไตรปิฎกไม่ใช่พุทธวจนะทั้งหมด​



    “เราเน้นสอนพุทธวจนะ เพราะพระศาสดาทรงสอนไว้อย่างนั้น ให้ศึกษาแต่คำตถาคตเท่านั้น อย่าศึกษาจากคำคนอื่น เพราะฉะนั้นคำที่แต่งขึ้นใหม่ที่ไม่ใช่คำพุทธศาสดา เราทำตามจุดประสงค์ก็คือไม่ต้องสนใจ สนใจแต่คำศาสดาเท่านั้น เพราะศาสดาพระองค์เดียวที่ตรัสไม่พลาด”



    พระพุทธเจ้าทรงกำหนดสมาธิทุกครั้งในคำสอน ไม่พลาดแม้แต่คำเดียว คำสอนของพระพุทธเจ้าสอดรับกันทั้งหมด ไม่มีการขัดแย้งกัน และคำที่ตรัสออกมาถูกต้องเป็นอกาลิโก ไม่ถูกจำกัดด้วยกาลเวลา ความสามารถเหล่านี้ไม่มีสาวกคนใดที่ทำได้ แม้แต่พระสารีบุตรก็ตาม​



    ปัจจุบันการเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า เกิดการเสื่อมและทำให้พระไตรปิฎกห่างไกลชาวพุทธ เพราะภิกษุไม่สนใจที่จะถ่ายทอดคำของตถาคต



    “มันกำลังเสื่อมไปเรื่อยๆ หากลองไปหาคำพระพุทธเจ้าตามร้านหนังสือทั่วประเทศสิ มีหนังสือที่เป็นธรรมะ 300-400 เล่ม แต่หาหนังสือที่เป็นพุทธวจนะได้สักเล่มไหม ไม่ถึง 0.5-1 เปอร์เซ็นต์ คำศาสดาของเราถูกปิดด้วยคำสาวกที่แต่งขึ้นใหม่หมดเลย”



    “เพราะฉะนั้นที่ถ่ายทอดไม่มีคำของศาสดาตัวเองเลย ไม่เหมือนกับไบเบิลหรือคัมภีร์อัลกุรอานที่เขาเอาคำของพระเจ้าของเขาเท่านั้น เราได้แต่กราบไหว้ ไม่รู้ว่าการกราบไหว้ การศรัทธาจริงๆ นั่นคือการเอาคำสอนของพระพุทธเจ้ามาลงมือปฏิบัติ”



    เข้าถึงยาก เพราะมองว่าเป็นของสูง
    “การศึกษาพระไตรปิฎกของประชาชนในปัจจุบัน น้อยคนนักที่จะได้อ่าน ศึกษาอย่างจริงจัง เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะคนสมัยนี้ต้องทำงานแข่งกับเวลา ทำให้หาเวลาว่างได้น้อย รวมทั้งการศึกษาเรื่องพระพุทธศาสนาในเมืองไทย ในโรงเรียนแม้จะมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งการอ่านหนังสือ การปฏิบัติ แต่ก็ยังอยู่ในรูปแบบเดิมๆ” อรสม สุทธิสาคร บรรณาธิการหนังสือธรรมะ สำนักพิมพ์มอร์ ออฟ ไลฟ์ และผู้ได้รับรางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนานานาชาติ ประจำปี 2551 แสดงความคิดเห็น​



    ในความรู้สึกของคนส่วนใหญ่อาจจะคิดว่าพระไตรปิฎกเข้าถึงได้ยาก มีลักษณะเป็นเล่มหนาๆ หลายๆ เล่ม และจริตของมนุษย์เรานั้นเมื่อเห็นตำรา หนังสือ คัมภีร์เล่มโต หนา ก็จะเกิดความรู้สึกท้อ ไม่อยากอ่าน



    “เวลาไปวัด เราก็จะเห็นพระไตรปิฎกวางเรียงอยู่ในตู้เต็มไปหมด บางคนก็เกิดความรู้สึกอยากอ่าน แต่ไม่กล้าเพราะมองว่าเป็นของสูง คนธรรมดาไม่มีสิทธิ์อ่าน ก็ได้แต่มองและคิดอยู่เช่นนั้นจึงทำให้เข้าถึงได้ยาก หรือคนอีกกลุ่มหนึ่งอาจจะคิดว่าอ่านแล้วเมื่อไหร่จะอ่านจบ​



    “ดิฉันก็ไม่ได้อ่านมาอย่างช่ำชองนะ แต่ก็ได้อ่านมาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นคัมภีร์ในศาสนาอื่น อย่าง อัลกุรอาน ของศาสนาอิสลาม คัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ หรือแม้แต่พระไตรปิฎกเองก็ตาม ความรู้สึกของเราคิดว่าถ้าทุกคนลองได้อ่าน ได้ศึกษา ก็จะรู้ว่าทุกครั้งที่อ่านจะได้ทั้งภาษาที่สวยงาม หลักคำสอน ข้อคิดต่างๆ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทำให้เกิดความซาบซึ้ง อิ่มเอม มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น”



    ขณะที่ดาราสาวอย่าง กิ๊ก-มยุริญ ผ่องผุดพันธ์ แม้บทบาทในจอแก้วจะทำให้เธอดูเป็นสาวเปรี้ยวปรี๊ด หรือไม่ก็ตลกโปกฮา และร้ายสุดๆ แต่ใครที่สนิทชิดเชื้อกับสาวคนนี้ จะรู้ดีว่าเธอเป็นคนธรรมะธรรมโมมากขนาดไหน โดยกิ๊กตั้งใจไว้ว่า ทุกวันจะทำความดีอย่างน้อยหนึ่งอย่าง และความดีในความหมายของเธอ คือ การทำบุญ​



    แม้กระนั้น เธอก็เป็นอีกคนหนึ่งที่เคยมองว่า พระไตรปิฎกเป็นของสูง และแม้จะไม่ได้หยิบจับพระไตรปิฎกขึ้นมาอ่านและศึกษา ก็คิดไปก่อนล่วงหน้าเสียแล้วว่า มันยากเกินกว่าที่สมองจะรับรู้ได้



    แต่เพราะกำลังจะมีโปรเจกต์อ่านพระไตรปิฎกให้กับสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำให้ดาราสาวได้รับพระไตรปิฎกในรูปของซีดีรอมมา จากนั้นความคิดของเธอก็ค่อยๆ เปลี่ยน​



    “พระไตรปิฎกเป็นสิ่งที่พุทธศาสนิกชนทุกคนควรอ่าน เพราะเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรง แม้จะเกิดขึ้นหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วก็ตาม แต่ผู้ที่จัดทำพระไตรปิฎก คือ พระสงฆ์ที่เป็นพระอรหันต์ 500 รูป ทำให้น่าสนใจและดีมากๆ ตอนที่เราอ่านพระไตรปิฎกบรรยากาศมันเหมือนกับพระพุทธเจ้ามาเทศน์ให้เราฟัง ยิ่งใครเป็นนักปฏิบัติ ยิ่งต้องอ่าน และศึกษาเป็นอย่างยิ่ง”



    พระไตรปิฎกไม่หนักอึ้ง! แค่คิดปรับเปลี่ยน
    ถ้ามองกันจริงๆ การศึกษาตำรา หนังสือ หรือคัมภีร์ใดๆ ย่อมมีความยากง่ายอยู่ในตัวอยู่แล้ว เพียงขึ้นอยู่กับตัวเราเองว่ามีความสนใจ ความอยากต้องการจะศึกษาเรียนรู้จริงจังมากแค่ไหน ถ้ามีความกระหายใคร่รู้เยอะก็จะมีแรงขับให้มีความพยายามต่อสู้จนสัมฤทธิผลได้ไม่ยาก เฉกเดียวกับการศึกษาเรียนรู้พระไตรปิฎก​



    การที่ชาวพุทธจะเข้าถึงพระไตรปิฎกอย่างง่ายๆ ตามแบบฉบับของพระอาจารย์คึกฤทธิ์ คือ เปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง หยิบหนังสือธรรมะทุกครั้ง ให้หยิบหนังสือที่เป็นพุทธวจนะมาอ่าน หากไม่มีหรือหาไม่ได้ ให้แสวงหา โดยสามารถมารับฟรีได้ที่วัดนาป่าพง หรือไปดาวน์โหลดในเว็บไซต์ ก็มีข้อมูลให้ครบ



    “เราทำข้อมูลให้ทั้งหมด ง่ายๆ ก็ให้หยิบเอาคำศาสดาขึ้นมาศึกษา และปฏิบัติตามคำพระศาสดา ถ้าอยากถ่ายทอดให้กับคนรัก และญาติ ให้ช่วยถ่ายทอดคำของศาสดาออกไปตรงๆ อย่าเติม อย่าตัด แค่นั้นง่ายๆ เชื่อว่าถ้าทุกคนเป็นกำลังให้ศาสดาตัวเองแล้ว ตัวเองก็จะหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ด้วย และได้จริง ศาสนาก็จะมีความตั้งมั่น มั่นคงอยู่ได้นาน”



    ด้านบรรณาธิการหนังสือธรรมะ บอกว่าต้องมองก่อนว่าเรื่องนี้ไม่ได้เป็นเรื่องยาก ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยสามารถอ่าน ศึกษาทำความเข้าใจเนื้อหาได้ โดยเฉพาะปัจจุบันมีสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ออกมามากมายก็ยิ่งทำให้เราเข้าถึงได้ไม่ยาก​



    “การเรียนรู้เรื่องเหล่านี้สามารถเริ่มได้ตั้งแต่เด็กๆ เลย โดยพ่อแม่อาจจะหาหนังสือนิทานธรรมะมาอ่านให้ลูกฟัง เด็กก็จะซึมซับหลักธรรมเนื้อหาและเห็นว่าเป็นเรื่องสนุก เข้าใจง่ายหลังจากนั้นเขาก็จะเกิดการเรียนรู้อยากศึกษาหามาอ่านเอง”



    “หรือถ้าเป็นวัยผู้ใหญ่ที่โตขึ้นมาหน่อยที่ต้องการศึกษา อยากลองอ่านก็หาพระไตรปิฎกแบบย่อมาอ่านก่อนก็ได้ และเดี๋ยวนี้ก็มีสื่อ เว็บไซต์ธรรมะออกมาให้ประชาชนได้ศึกษามากมาย ถ้าเราค่อยๆ สอน เรียนรู้ไปตามวัยคราวนี้พระไตรปิฎกก็จะกลายเป็นเรื่องใกล้ตัว”



    ซึ่งก็สอดคล้องกับดาราสาวใจบุญ กิ๊ก-มยุริญ บอกว่าการจะทำให้คนทั่วไปเข้าถึงพระไตรปิฎก ลำดับแรกต้องเริ่มจากการเปลี่ยนทัศนคติของคนผู้นั้นก่อน ให้รู้ว่าการศึกษาพระไตรปิฎกไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถของพุทธศาสนิกชน​



    “อย่าไปกลัวความเยอะของพระไตรปิฎก พระอาจารย์ท่านหนึ่งที่ศึกษาพระไตรปิฎกอย่างถ่องแท้เคยบอกว่า ทุ่มเทเวลาไปเลยปีสองปี จากนั้นค่อยไปหาพระไตรปิฎกมาอ่านศึกษา”



    กิ๊กแนะต่ออีกว่าควรเริ่มต้นจากพระสุตตันตปิฎก ซึ่งมีเนื้อหาที่เข้าใจง่าย หรือก่อนอ่านพระไตรปิฎกให้หาหนังสือ ‘ทางแห่งความดี’ ของ วศิน อินทสระ มาศึกษาดูก่อนเป็นการเตรียมความพร้อม



    สมัยนี้ช่องทางเข้าถึงพระไตรปิฎกเปิดกว้างมากขึ้นกว่าในสมัยอดีต เพราะพระไตรปิฎกไม่ได้มีแค่รูปแบบที่เป็นหนังสือเล่มหนาๆ หลายๆ เล่ม เท่านั้น มีเป็นซีดีรอมและมีแบบออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ตด้วย



    “พระพุทธศาสนาปรับตัวไปตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไป ไม่ต้องถึงขนาดไปซื้อหนังสือพระไตรปิฎก 40 กว่าเล่มมาอ่าน มีคนทำเป็นซีดีรอมแผ่นเล็กๆ ให้สามารถพกติดตัวไปอ่านที่ไหนก็ได้แค่มีคอมพิวเตอร์ติดไปด้วย” กิ๊กกล่าวทิ้งท้าย
    ……….​



    เพียงปรับเปลี่ยน มุมมอง ความคิด ทัศนคติ ค่อยๆ ศึกษาเรียนรู้ แค่นี้ สิ่งที่ว่ายากก็จะกลับกลายเป็นเรื่องง่าย สิ่งที่ว่าอยู่ไกลเกินเอื้อมก็จะอยู่ใกล้สามารถหยิบ จับ สัมผัสได้ เช่นเดียวกับการศึกษาเข้าถึงหลักคำสอนในพระไตรปิฎก



    คุยเฟื่องเรื่องพระไตรปิฎก



    พระไตรปิฎก มาจากภาษาบาลีที่หมายถึง ตะกร้าสามใบหรือคำสอนสามหมวด ประกอบด้วย พระวินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องวินัยหรือศีลของภิกษุ ภิกษุณี พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาทั่วๆ ไป และพระอภิธรรมปิฎก เป็นเรื่องพระธรรมล้วนๆ หรือธรรมะที่สำคัญ​



    ตามหลักฐานของพระเถระฝ่ายไทย บอกว่ามีการทำสังคายนาพระไตรปิฎกมาแล้ว 9 ครั้งโดยครั้งแรกเริ่มต้นขึ้นหลังจากพระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานแล้ว 3 เดือน จนกระทั่งถึงครั้งที่ 8 พ.ศ.2020 ได้มีการชำระพระไตรปิฎกเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกของไทย รวมถึงครั้งที่ 9 พ.ศ.2331 สมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ก็เป็นครั้งที่สองของไทยที่มีการสังคายนาพระไตรปิฎก​



    และใช่ว่าพระไตรปิฎกจะมีแค่ฉบับภาษาไทยที่พุทธศาสนิกชนคุ้นเคย ในงานประชุมวิสาขบูชาโลก ปี 2549 มีการจัดทำพระไตรปิฎกคอมพิวเตอร์ฉบับนานาชาติ แปลเป็นภาษาต่างๆ 8 ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย อังกฤษ เทวนาครี สิงหล พม่า เขมร ลาว และล้านนา ซึ่งประกอบด้วย ซีดีรอม 2 แผ่น หนังสือพระไตรปิฎกฉบับภาษาอังกฤษ 1 เล่ม คลิกเข้าไปสัมผัสพระไตรปิฎกคอมพิวเตอร์ฉบับนานาชาติได้ที่ Budsir Redirect หรือหากใครเป็นนักท่องเว็บ ลองคลิกเข้าไปศึกษาพระไตรปิฎกออนไลน์ที่มีอยู่ในโลกไซเบอร์จำนวนไม่น้อย เช่น ​

    http://www.84000.org, http://www.tipitaka.com หรือ http://www.polyboon.com /dhumma เป็นต้น
    ..........​

    เรื่อง : ทีมข่าว CLICK



    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    Daily News - Manager Online
     
  2. vilawan

    vilawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    836
    ค่าพลัง:
    +1,432
    ได้อ่านบางส่วนของพระไตรปิฎก ทุกบรรทัดล้วนเป็นคำสอนที่ให้เกิดข้อคิดคะ

    เพียงปรับเปลี่ยน มุมมอง ความคิด ทัศนคติ ค่อยๆ ศึกษาเรียนรู้

    ได้ประโยชน์มากมายมหาศาล
     
  3. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,775
    ค่าพลัง:
    +12,934
    พระไตรปิฎกมีสิ่งที่ดี ๆ มากมายขอเชิญทุกท่านใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการศึกษาพระไตรปิฎกกันครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...