เหตุที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมลง

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย upanya, 5 มีนาคม 2008.

  1. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    900
    ค่าพลัง:
    +1,035
    <!--coloro:#0000ff--><!--/coloro-->พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีพระสงฆ์เป็นผู้นำ โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางในแง่ของการปฏิบัติ คือเป้าหมายเพื่อมุ่งสู่พระนิพพาน พระภิกษุสงฆ์คือผู้ที่สละโลกตั้งใจปฏิบัติธรรมขัดเกลากิเลส ถือว่าเป็นต้นแบบของชาวพุทธทั่วไป ในแง่การเผยแผ่พระศาสนา พระภิกษุสงฆ์อยู่ในฐานะครูผู้สอน โดยสาธุชนทั่วไปเป็นผู้รับฟังคำสอนและนำไปปฏิบัติ อีกทั้งทำบุญสนับสนุนในการดำรงชีพ อีกทั้งปฏิบัติศาสนกิจของพระภิกษุสงฆ์<!--colorc--><!--/colorc-->

    <!--coloro:#0000ff--><!--/coloro--><!--colorc--><!--/colorc-->

    <!--coloro:#0000ff--><!--/coloro-->ในระยะแรกพระภิกษุสงฆ์ที่บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์มีอยู่เป็นจำนวนมาก ปฏิบัติตนเป็นผู้นำเป็นแบบอย่างแก่พระภิกษุสงฆ์อื่นในการเผยแผ่พระศาสนา พระภิกษุสงฆ์ส่วนใหญ่มีความศรัทธาในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นแฟ้น เป้าหมายการบวชในสมัยนั้นคือ บวชเพื่อมุ่งพระนิพพาน ให้ความสำคัญทั้งพระปริยัติธรรมและปฏิบัติธรรมควบคู่กันไป นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแผ่สั่งสอนประชาชนให้ปฏิบัติตามต่อไป พระพุทธศาสนาจึงเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว ต่อมาผู้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์มีน้อยลง ในหมู่พระภิกษุสงฆ์มีทั้งผู้ที่มีใจรักและเชี่ยวชาญทางด้านพระปริยัติธรรมและผู้ที่เชี่ยวชาญด้านธรรมปฏิบัติ แต่เนื่องจากการศึกษาพระปริยัติธรรมเป็นสิ่งที่วัดความรู้กันได้ สามารถจัดความรู้ให้เป็นระบบและวุฒิการศึกษาได้ เช่น ได้เปรียญธรรมประโยคนั้น ประโยคนี้ แต่ทางด้านธรรมปฏิบัติเป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตน เป็นของละเอียดวัดได้ยาก และเนื่องจากพระภิกษุสงฆ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านปฏิบัติ มักจะมีใจโน้มเอียงไปในทางแสวงหาความสงบ ความสงัด มักไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ <!--colorc--><!--/colorc-->

    <!--coloro:#0000ff--><!--/coloro--><!--colorc--><!--/colorc-->

    <!--coloro:#0000ff--><!--/coloro-->เมื่อเป็นเช่นนี้ หลังจากกาลเวลาผ่านไป พระภิกษุสงฆ์ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านพระปริยัติธรรม จึงขึ้นมาเป็นผู้บริหารการปกครองคณะสงฆ์โดยปริยาย เมื่อผู้บริหารการคณะสงฆ์เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านทางพระปริยัติธรรม ก็เป็นธรรมดาที่การศึกษาของสงฆ์จะเน้นหนักในด้านพระปริยัติธรรมเป็นหลัก เพราะเป็นสิ่งที่คุ้นเคยและชำนาญ แม้จะเห็นความสำคัญของธรรมปฏิบัติ แต่ในเมื่อตนไม่คุ้นเคย ไม่ชำนาญ การสนับสนุนก็ทำได้ในขอบเขตหนึ่งเท่านั้น พระภิกษุสงฆ์รุ่นใหม่ ๆ จึงมักได้รับการฝึกอบรมในด้านพระปริยัติธรรมเป็นหลัก ส่วนทางด้านธรรมปฏิบัติก็ค่อย ๆ เสื่อมถอยลงมา <!--colorc--><!--/colorc-->

    <!--coloro:#0000ff--><!--/coloro--><!--colorc--><!--/colorc-->

    <!--coloro:#0000ff--><!--/coloro-->การศึกษาพระปริยัติธรรมในยุคแรก ๆ เป็นการศึกษาเพื่อเน้นให้เข้าใจในพุทธพจน์ คือคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติเป็นหลัก แต่ต่อมาเมื่อศึกษามากเข้า ๆ ก็มีพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นนักคิดนักทฤษฏีจำนวนหนึ่ง ทนการท้าทายจากนักคิด นักปรัชญาศาสนาอื่น ๆ ไม่ได้ เมื่อถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องอภิปรัชญา เช่น ใครสร้างโลก โลกนี้โลกหน้ามีจริงหรือไม่ ตายแล้วไปไหน จิตมีการรับรู้ได้อย่างไร โลกเป็นอยู่อย่างไร มีจริงหรือไม่ เป็นต้น จึงพยายามหาเหตุผลตามแนวคิดในทางพระพุทธศาสนา ใช้การให้เหตุผลทางตรรกศาสตร์มาให้เหตุผลเหล่านี้ ทั้ง ๆ ที่คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ คือ ไม่ตอบ เพราะถือว่าตอบไปก็ไม่เกิดประโยชน์ มีแต่จะเป็นเหตุให้ไปถกเถียงทะเลาะเบาะแว้งกัน แต่ทรงอบรมสั่งสอนในสิ่งที่นำไปสู่การขัดเกลากิเลส มุ่งไปสู่พระนิพพาน ซึ่งถ้าใครทำอย่างนี้จิตก็บริสุทธิ์ผ่องใสจนเกิดธรรมจักขุและญาณทัสนะ เมื่อถึงจุดนั้นแล้วผู้ปฏิบัติธรรมก็จะเข้าใจสิ่งเหล่านั้นได้เอง เพราะไปเห็นและไปรู้ จะไปถกเถียงกันทั้งที่ไม่รู้ก็ทะเลาะกันเปล่า ๆ แต่นักคิดจะชอบถกเถียงกันไป <!--colorc--><!--/colorc-->

    <!--coloro:#0000ff--><!--/coloro--><!--colorc--><!--/colorc-->

    <!--coloro:#0000ff--><!--/coloro-->หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเมื่อปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงแล้ว ผู้ปฏิบัติย่อมเห็นตรงกัน เป็นภาวนามยปัญญา ความรู้แจ้งที่เกิดจากการเห็นแจ้ง คือ เห็นแล้วจึงรู้ แต่เมื่อพยายามพิสูจน์ด้วยความคิดทางตรรกศาสตร์ คือจินตามยปัญญา ซึ่งเป็นความนึกคิดที่ไม่ได้รู้แจ้งด้วยตนเอง คือไม่ได้เห็นแจ้ง ย่อมมีความคิดแตกต่างหลากหลาย ผลคือนักทฤษฏีของพระพุทธศาสนามีความเห็นไม่ตรงกัน ทะเลาะถกเถียงกันเองเกิดเป็นแนวคิดของสำนักต่าง ๆ แล้วแตกตัวเป็นนิกายต่าง ๆ ในที่สุด<!--colorc--><!--/colorc-->

    <!--coloro:#0000ff--><!--/coloro--><!--colorc--><!--/colorc-->

    <!--coloro:#0000ff--><!--/coloro-->มีนักทฤษฏีในพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น ท่านอานาคารชุน อสังคะ วสุธะ นสันธุ ทฤษนาคะ ภาวะวิเวก ธรรมกีรติ ศานตรสิตะ เป็นต้น ชื่อเหล่านี้จะคุ้นเฉพาะนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา ท่านเหล่านี้เป็นผู้ตั้งทฤษฏีต่าง ๆ จึงทำให้แตกเป็นนิกายต่าง ๆ มากมาย แนวคิดของพระนักทฤษฏีเหล่านี้มีความลึกซึ้งมาก แม้นักวิชาการชาวตะวันตกปัจจุบันมาเห็นเข้ายังตื่นตะลึง ผลที่เกิดจากนักคิดเหล่านี้ทำให้เกิดความขัดแย้งแตกกันในหมู่ชาวพุทธ และพระพุทธศาสนาได้กลายเป็นศาสนาที่มีคำสอนที่สลับซับซ้อนจนชาวบ้านฟังไม่เข้าใจ <!--colorc--><!--/colorc-->

    <!--coloro:#0000ff--><!--/coloro--><!--colorc--><!--/colorc-->

    <!--coloro:#0000ff--><!--/coloro-->ประหนึ่งว่า ความรู้พระพุทธศาสนาศึกษาผูกขาดได้เฉพาะพระภิกษุสงฆ์เท่านั้น เพราะมีพระภิกษุสงฆ์เพียงจำนวนน้อยที่รู้เรื่อง แถมยังคิดเห็นยังไม่ตรงกันอีก ส่วนชาวพุทธทั่วไปต่อมาก็กลายเป็นเพียงชาวพุทธแต่ในนามอย่างปัจจุบันนี้ ไปวัดก็ไปเพียงทำบุญตามเทศกาลตามประเพณีเท่านั้น ถามว่ารู้เรื่องอะไรไหมก็ไม่รู้ ถ้าถามเรื่องบอลยูโรยังรู้มากกว่าอีก <!--colorc--><!--/colorc-->

    <!--coloro:#0000ff--><!--/coloro--><!--colorc--><!--/colorc-->

    <!--coloro:#0000ff--><!--/coloro-->ขณะเดียวกัน มีพระภิกษุสงฆ์อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีจำนวนมากกว่านักคิด นักปฏิบัติ ได้หันไปปฏิบัติตามใจชาวบ้าน ซึ่งต้องการพึ่งพาอำนาจลึกลับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงมีการเล่นเครื่องรางของขลังเวทมนตร์คาถาต่าง ๆ ทำให้วัตรปฏิบัติต่าง ๆ ย่อหย่อนลงมา จนกลายเป็นนิกายตันตระ เช่น กุมารทอง รักยม สาลิกาลิ้นทอง ฯลฯ <!--colorc--><!--/colorc-->

    <!--coloro:#0000ff--><!--/coloro--><!--colorc--><!--/colorc-->

    <!--coloro:#0000ff--><!--/coloro-->ในปัจจุบันก็จะคล้าย ๆ กัน มีนักคิดเป็นจำนวนมาก และสงฆ์อีกกลุ่มหนึ่งก็ปฏิบัติตามใจชาวบ้าน เช่น น้ำมูก น้ำมนต์ หมอดู แจกกุมารทอง ฯลฯ พอเอาเวลามาศึกษาเกี่ยวกับการปลุกเสกเลขยันต์ เวลามนุษย์ซึ่งมีจำกัดเพียงวันละ 24 ชั่วโมง เมื่อต้องทุ่มเทชีวิตในการเรียนทางนี้ ก็จะไปย่อหย่อนในอีกทางหนึ่ง คือ ถ้าตึงทางหนึ่ง ก็ต้องหย่อนทางหนึ่ง เช่น ตึงทางเรียนเวทมนต์คาถา ก็จะหย่อนทางด้านความรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ ถ้าตึงทางพระปริยัติก็จะไปหย่อนทางด้านธรรมปฏิบัติ จริง ๆ แล้วต้องปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เทศนา ไปให้พร้อม ๆ กันจึงจะพอดี เรียนรู้เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ตรงนี้จะไปโยงว่ามันเกิดขึ้นมาแล้ว มีสัญญาณมากมายแล้ว ถ้าไม่รีบป้องกันในตอนนี้หรือแก้ไขในตอนนี้ในพุทธบุตรทั้งหลาย มีสิทธิที่เมืองไทยจะคล้าย ๆ กับอินเดีย ถ้าสาเหตุภายในอ่อนแออย่างนี้ เดี๋ยวสาเหตุภายนอกกระทุ้งนิดเดียวไปกันใหญ่ นี่เป็นเรื่องราวที่เราจะต้องทบทวนกันว่าทำไมพระพุทธศาสนาจึงเสื่อมสลายไปจากอินเดีย
    <!--colorc--><!--/colorc-->
    อ้างอิงจากhttp://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=15281
     
  2. มะกะโท

    มะกะโท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2008
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +373
    ลอง list เป็นข้อๆ ดีสิ ว่าสาเหตุมีอะไรบ้าง
    เป็นการเจริญปัญญาอย่างหนึ่งนะ list ไป ความคิดก็ขยายกว้างไป



    สนับสนุนการทำดีครับ
     
  3. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,682
    ค่าพลัง:
    +51,931
    ความหมายของ "หลักสัจจะธรรม"...
    และ คำสอนการปฏิบัติด้วย "สัจจะ".... ถูกบดบัง
    ด้วยความเชื่อนอกศาสนา

    พิธีกรรม ความเชื่อผิดๆ จึงเติบโต
    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  4. RuneChaos

    RuneChaos สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +12
    เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปครับ แต่เชื่อเถอะครับ หากยังไม่หมดกิเลส ยังไงๆ ก็ต้องมาเกิดอีก ไม่ภพใดก็ภพหนึ่ง
     
  5. NARKA

    NARKA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,572
    ค่าพลัง:
    +4,560
    ควรตั้งTOPIC ใหม่ให้ตรง
    พูดกันมานานแล้ว ศาสนาพุทธโดยพระธรรมนั้นเป็นสัจจะธรรม ไม่มีเสื่อมอยู่แล้วในโลก
    แต่การเสื่อมเกิดจากคน ตัวนี้ต้องเข้าใจ
     
  6. สร้อยฟ้า

    สร้อยฟ้า สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +0
    ศาสนาพุทธไม่เสื่อมค่ะ แต่ที่เสื่อมจะเป็นจิตใจของคน เพราะคนเราส่วนใหญ่ในสังคมห่างจากศาสนา ไม่ค่อยใส่ใจและให้ความสำคัญน้อยลง ไม่ได้ถือศีลฟังธรรมไปวัด เหมือนสมัยปู่ยา ตายาย
     

แชร์หน้านี้

Loading...