เหตุที่อิงอาศัยแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ(รู้-เห็น-ตามเป็นจริง) คือ สมาธิ (จาก พระสูตร)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ตรงประเด็น, 6 มิถุนายน 2010.

  1. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    <CENTER> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
    สังยุตตนิกาย นิทานวรรค</CENTER>



    [๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมเป็นที่สิ้นไป๑- เกิดขึ้นแล้ว ญาณ
    @๑. อรหัตผล ในธรรมเป็นที่สิ้นไป อันนั้นแม้ใด มีอยู่ เรากล่าวญาณแม้นั้นว่า มีเหตุเป็นที่
    อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุเป็นที่อิงอาศัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป ควรกล่าวว่า วิมุตติ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิมุตติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิมุตติ ควรกล่าวว่า วิราคะ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิราคะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่
    อิงอาศัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิราคะ ควรกล่าวว่า นิพพิทา

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนิพพิทาว่ามีเหตุที่อิงอาศัยมิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งนิพพิทา ควรกล่าวว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งยถาภูตญาณทัสสนะว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ควรกล่าวว่า
    สมาธิ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๆลๆ



    ..................


    ความหมายของ ยถาภูตญาณทัสสนะ


    จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)






    ความหมายของ ยถาภูตญาณทัสสนะแบบง่ายๆ คือ รู้-เห็น-ตามเป็นจริง....
     
  2. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    โอวาทธรรม หลวงปู่ ชา สุภัทโท [​IMG]


    "กุญแจ 4 ดอก"

    รู้ ...เฉพาะหน้า

    เห็น ...ตามเป็นจริง

    เป็น ...ตามนั้น

    อยู่ ...อย่างสม่ำเสมอ
     
  3. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677

    ยถาภูตญาณทัสสนะ มีสมาธิเป็นเหตุที่อิงอาศัย


    ยถาภูตญาณทัสสนะ ถ้าจะเทียบลงในสัมมัตตะ๑๐(จาก มหาจัตตารีสกสูตร) ก็น่าจะตรงกับระดับ สัมมาญาณะ



    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
    มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
    </CENTER>

    <CENTER>๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
    </CENTER>
    [๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
    ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
    เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้

    เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาญาณะสัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ฯ

    ..............


    ส่วน สมาธิอันเป็นที่อิงอาศัยแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ในพระสูตรนี้ ถ้าจะเทียบในสัมมัตตะ๑๐(จาก มหาจัตตารีสกสูตร) ก็น่าจะตรงกับระดับ สัมมาสมาธิในองค์มรรคที่เป็นโลกุตระ
     
  4. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    มี พระสูตรอื่นอีก ที่แสดง ว่า ญาณทัศนะ ที่สามารถละสังโยชน์ได้จะบังเกิดสืบเนื่องไปกับ สมถะ(เอกัคคตาจิต); ในที่นี้หมายเอา สัมมาสมาธิที่เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค



    จาก

    พระไตรปิฎก เล่มที่ 31

    [๒๑๑] ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ อย่างไร ฯ

    เอกัคคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เป็นสมาธิ

    ญาณเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสมาธินั้น อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น

    สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลัง

    ด้วยประการดังนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น


    เพราะเหตุนั้น
    ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาดเพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ ฯ

    ๆลๆ

    [๒๑๔] คำว่า อาสวา ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน
    อาสวะเหล่านั้น คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ฯ

    อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน

    ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค
    อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งโสดาปัตติมรรคนี้ ฯ

    กามาสวะส่วนหยาบ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค
    อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้ ฯ

    กามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค
    อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้ ฯ

    ภวาสวะ อวิชชาสวะ ย่อมสิ้นไปไม่มีส่วนเหลือด้วยอรหัตมรรค
    อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตมรรคนี้ ฯ

    ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น
    ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด

    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ ฯ



    ขยายความ คำว่า อานันตริกสมาธิ จาก พุทธธรรม


    สมาธิที่เลิศประเสริฐสุด ก็คือสมาธิที่ช่วยให้ตรัสรู้ หรือ สมาธิที่ช่วยให้ปัญญากำจัดกิเลสและหลุดพ้นได้ เรียกอย่างวิชาการว่า สมาธิที่เป็นองค์แห่งมรรค หรือสมาธิในมรรค (มัคคสมาธิ)

    สมาธิอย่างนี้มีชื่อเรียกพิเศษว่า อานันตริกสมาธิ (บางแห่งเพี้ยนเป็น อนันตริกะ บ้าง อานันตริยะ บ้าง)

    แปลว่า สมาธิที่ให้ผลต่อเนื่องไปทันที คือ ทำให้บรรลุอริยผลทันทีไม่มีอะไรคั่นหรือแทรกระหว่างได้

    สมาธิชนิดนี้พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า ไม่มีสมาธิอื่นใดเทียมเท่า (ขุ.ขุ.25/7/6: ขุ.สุ.25/314/368) ถึงหากจะเป็นสมาธิระดับต่ำ ก็ถือว่าประเสริฐกว่าสมาธิอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น
    สมาธิระดับรูปฌาน หรือ อรูปฌานก็ตาม (ขุทฺทก. อ.198; สุตฺต.อ.2/27)

    อานันตริกสมาธินี้ ท่านกล่าวถึงในที่อื่นๆ อีกทั้งบาลีและอรรถกา ผู้สนใจพึงดู ที.ปา.11/373/289 ฯลฯ

    ....................


    อานันตริกสมาธิ คือ เอกัคคตา(สมถะ)แห่งจิต ที่หากบังเกิดขึ้นแล้ว ในขณะจิตต่อมาจะบรรลุอริยมรรคมรรคผลทันที โดยไม่มีอะไรคั่นหรือแทรกระหว่างได้.

    นี่เป็นอีกพระสูตรหนึ่ง ที่แสดงไปในทิศทางเดียวกันถึง สัมมาสมาธิในองค์มรรค ว่า เป็นบาทแห่งวิปัสสนาญาณขั้นถอดถอนสังโยชน์.
     
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด

    ผู้ที่มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริงดังนี้

    ;aa24
     
  6. โป

    โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +256
    ผู้ที่มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริงดังนี้


    สาระสำคัญคือ....การรู้เห็นตามความเป็นจริง โดยองค์ประกอบคือ จิตตั้งมั่นดีแล้ว

    จิดตั้งมั่น....ตรงนี้ ผมเห็นว่า...ไม่จำเป็นต้องเป็นฌาน4 ที่จิดตั้งมั่นเด่นดวง ส่องสว่างให้เห็นในอก

    สมาธิชั่วครู่ชั่วคราวที่จิตตั้งมั่นเป็นพักๆ ก็สามารถทำได้ ขอให้รู้เห็นตามจริง แม้บางขณะก็ยังดี

    ซึ่งตรงนี้บางท่านยังเข้าใจผิด...ให้น้ำหนักในการขอให้จิตตั้งมั่นเป็นฌานก่อน

    โดยหลงลืม...หรือไม่ใส่ใจ....การเห็นตามจริง


    การเห็นตามจริงคืออะไร....

    คือการ.....รู้และเห็น......อารมณ์ต่างๆแล้ว ไม่กดข่มหรือบังคับอารมณ์ให้เป็นไปตามใจตนเองต้องการ

    ให้รู้เเละเห็นโดยอย่าเข้าไปปรุงแต่ง รู้เพียงว่าอารมณ์เกิดขึ้นและดับไปอย่างไรก็พอ

    รู้...จะฉับไวขึ้นเรื่อยๆ จะทวนย้อนเข้าไปหาต้นตอของอารมณ์เอง ว่าเกิดมาจากอะไร




     

แชร์หน้านี้

Loading...