แนวทางการดูพระสมเด็จสามวัดหลักแบบสากลนิยม ไม่ไช่แท้ตาเดียว

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย hiddenbhume, 29 ตุลาคม 2014.

  1. hiddenbhume

    hiddenbhume เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    2,513
    ค่าพลัง:
    +7,067
    ศึกษาเรื่องพระเครื่อง ตามหลักสากลนิยม

    "การศึกษาพระเครื่อง ความรู้เรื่องพระเครื่องต้องช่วยกันชี้แนะ ช่วยกันค้นคว้าหาเหตุและผลเครื่อง แล้วนำมาประมวลเป็นองค์ความรู้ เมื่อฝึกให้ชำนาญก็จะเป็นผู้ที่รู้จริงในเรื่องนั้นๆ"

    ศึกษาเรื่องพระเครื่อง 2การศึกษาด้านพระเครื่องตามหลักสากลนิยม การศึกษาด้านพระเครื่องนั้นต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน การศึกษาพระเครื่อง ความรู้เรื่องพระเครื่องต้องช่วยกันชี้แนะ ช่วยกันค้นคว้าหาเหตุและผล ศึกษาเรื่องพระเครื่อง แล้วนำมาประมวลเป็นองค์ความรู้ เมื่อฝึกให้ชำนาญก็จะเป็นผู้ที่รู้จริงในเรื่องนั้นๆ "การศึกษาและสะสมพระเครื่อง" ความรู้ในด้านพระเครื่องนั้นไม่มีใครที่จะสามารถรู้ได้หมดทุกเรื่องครับ

    ศึกษาเรื่องพระเครื่อง3การศึกษาพระเครื่อง ความรู้ในด้านพระเครื่องนั้นไม่มีใครที่จะสามารถรู้ได้หมดทุกเรื่องครับ ก็อย่างที่ผมบอกนั่นแหละ ความรู้เรื่องพระเครื่อง เอาแค่ในจังหวัดที่เราอยู่มาตั้งแต่เกิดนั้น เรายังไม่แน่ใจว่าจะบอกชื่อวัดทั้งวัดร้างและวัดที่มีพระสงฆ์จำวัดอยู่ พร้อมทั้งสำนักสงฆ์ทั้งหมดได้ถูกต้องเลย นอกจากนี้ยังมีวัดต่างๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบันที่สร้างพระเครื่อง ไว้มีทั้งหมดกี่รุ่น กี่องค์ ดังนั้น จึงเป็น การยากที่จะรู้ได้ทั้งหมด ในสังคมพระเครื่องทั่วๆ ไปก็จะรู้แค่พระที่นิยมดังๆ หน่อย แต่ในคนๆ เดียวก็ไม่สามารถรู้พระที่นิยมทั้งหมดได้เช่นกัน เขาจึงมีผู้ที่ชำนาญเฉพาะอย่างไป

    ในส่วนตัวผมนั้นชอบพระเก่าๆ เช่น พระกรุต่างๆ แต่ก็ไม่รู้ทั้งหมดนะครับ ในส่วนของจดหมายที่มีท่านถามมานั้น ผมก็อาศัยความคุ้นเคยกับผู้ชำนาญการในด้านพระเครื่อง หลายๆ คนไปสอบถามปัญหาต่างๆ ที่มีผู้ถามมา จึงนำมาประมวลตอบอีกทีหนึ่งครับ การศึกษาด้านพระเครื่องนั้นต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน การศึกษาพระเครื่องช่วยกันชี้แนะ ช่วยกันค้นคว้า หาเหตุและผล นำมาประมวลเป็นองค์ความรู้ เมื่อฝึกให้ชำนาญก็จะเป็นผู้ที่รู้จริงในเรื่องนั้นๆ ได้ครับ

    ศึกษาเรื่องพระเครื่อง4ความรู้เรื่องพระเครื่อง อย่างเช่นเมื่อเราศึกษาพระอย่างใดอย่างหนึ่ง เอาเป็นว่าประเภทเหรียญ เราก็ต้องศึกษาว่าเหรียญที่เรากำลังศึกษาอยู่นั้นเป็นหลวงพ่ออะไร ประวัติของท่านมีอย่างไรบ้าง สร้างเหรียญไว้กี่รุ่น เมื่อปี พ.ศ. อะไร แล้วเราก็มาดูว่าในปีพ.ศ.นั้นๆ เขามีกรรมวิธีผลิตเหรียญกันอย่างไร เช่น เหรียญเก่าๆ ที่มีปีพ.ศ. 2440 มาจนถึงปี พ.ศ. 2480 ต้นๆ นั้น การปั๊มเหรียญยังใช้แรงคนในการปั๊ม คือใช้เครื่องปั๊มที่ใช้การเหวี่ยงลูกตุ้มให้บล็อกลงมากระแทกแผ่นโลหะ เพื่อขึ้นรูปเหรียญ การปั๊มแต่ละครั้งต้องใช้การกระแทกหลายๆ ครั้ง และด้านข้างของเหรียญยังไม่มีการตัดขอบด้วยตัวปั๊มตัดเหรียญในยุคนี้จึงต้อง ใช้การเลื่อยฉลุตัดขอบเหรียญ และขอบอีกอย่างก็คือขอบข้างกระบอก โดยทำขอบเหล็กบังคับด้านข้างเหรียญตอนปั๊มเหรียญ ปีพ.ศ. 2480-2500 เริ่มทำตัวบล็อกตัดด้านข้างเหรียญ ในยุคนี้ พอตัดออกมาแล้วเหรียญจะมีการแอ่นขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากถูกกระแทกด้วยการตัด พ.ศ. 2500 ลงมา การทำบล็อกตัดเริ่มพัฒนาทันสมัยขึ้น เหรียญจะค่อนข้างเรียบร้อยไม่แอ่น ร่องรอยการผลิตต่างๆ เหล่านี้เราต้องศึกษา เนื่องจากเป็นการเกิดจากธรรมชาติเฉพาะของเหรียญแต่ละเหรียญแต่ละรุ่น ไม่สามารถปลอมแปลงได้เหมือนและเป็นการบ่งชี้ว่าเหรียญนี้แท้หรือไม่ครับ
    โดยอาจารย์ ราม วัชร ประดิษฐ์


    ขอเปิดกระทู้ใหม่ เพื่อให้กำลังใจพี่ๆที่อุตสาหะสร้างเว็บมา จะปล่อยให้หลักการวิชาดูพระเครื่องที่พี่ๆช่วยกันสร้างมาให้สูญหายไป ให้พระเก๊ดูง่าย มาทำให้นักเล่นหน้าใหม่สงสัยและถูกหลอก รวมถึงการกุพระเก๊ปั่นราคาขาย ให้เจ็บตัวและเจ็บใจกันไป
    บ้านใหม่หลังนี้หวังใจว่าจะอยู่ได้นาน ฝากพี่น้อง พอทราบอะไร รู้อะไร เชิงการวิเคราะห์พระสมเด็จแท้ๆ ฝากกระทู้นี้ให้เป้นองค์ความรู้สืบไปในเว็บนะครับผม
    ผมขอเปิดด้วยหนังสืออาจารย์ประชุมเรื่องข้อสังเกตุพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมก่อนครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2014
  2. hiddenbhume

    hiddenbhume เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    2,513
    ค่าพลัง:
    +7,067
    ขอเปิดด้วยหนังสือของอาจารย์ประชุมนะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. hiddenbhume

    hiddenbhume เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    2,513
    ค่าพลัง:
    +7,067
    ต้อชุดสอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. นํ้าข้าว

    นํ้าข้าว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,435
    ค่าพลัง:
    +10,351
    ความรู้ไม่ถึงคุยได้ปะ ครับ อิอิ
     
  5. hiddenbhume

    hiddenbhume เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    2,513
    ค่าพลัง:
    +7,067
    แนวทางการดูพระอย่างเซียน
    หลายท่านก้บอกแบบกั๊กๆ แต่ว่าแนวทางการดูก็มีจุดสังเกตุให้เข้าใจได้บ้างครับ ลองจับจุดกันดูครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC08583.JPG
      DSC08583.JPG
      ขนาดไฟล์:
      393.2 KB
      เปิดดู:
      365
    • DSC08584.JPG
      DSC08584.JPG
      ขนาดไฟล์:
      346.7 KB
      เปิดดู:
      388
    • DSC08585.JPG
      DSC08585.JPG
      ขนาดไฟล์:
      802.9 KB
      เปิดดู:
      411
    • DSC08586.JPG
      DSC08586.JPG
      ขนาดไฟล์:
      836.3 KB
      เปิดดู:
      336
    • DSC08587.JPG
      DSC08587.JPG
      ขนาดไฟล์:
      843.1 KB
      เปิดดู:
      345
    • DSC08588.JPG
      DSC08588.JPG
      ขนาดไฟล์:
      784.9 KB
      เปิดดู:
      343
    • DSC08589.JPG
      DSC08589.JPG
      ขนาดไฟล์:
      825.3 KB
      เปิดดู:
      326
    • DSC08590.JPG
      DSC08590.JPG
      ขนาดไฟล์:
      846.9 KB
      เปิดดู:
      396
    • DSC08591.JPG
      DSC08591.JPG
      ขนาดไฟล์:
      763.7 KB
      เปิดดู:
      542
    • DSC08592.JPG
      DSC08592.JPG
      ขนาดไฟล์:
      779.7 KB
      เปิดดู:
      531
  6. hiddenbhume

    hiddenbhume เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    2,513
    ค่าพลัง:
    +7,067
    ต้องชุดสองครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC08593.JPG
      DSC08593.JPG
      ขนาดไฟล์:
      873.2 KB
      เปิดดู:
      324
    • DSC08594.JPG
      DSC08594.JPG
      ขนาดไฟล์:
      280.6 KB
      เปิดดู:
      284
  7. hiddenbhume

    hiddenbhume เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    2,513
    ค่าพลัง:
    +7,067
    หลักการ์ณและเหตุผลชัดเจนว่าเน้นหนักสามหัวข้อหลักใหญ่
    เนื้อหา
    พิมพ์ทรง
    อายุ
    พี่ๆท่านไหนถนัดด้านใดบ้าง ของเชิญแลกเปลี่ยนความเห็นได้ครับ
     
  8. hiddenbhume

    hiddenbhume เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    2,513
    ค่าพลัง:
    +7,067
    พิมพ์ทรงผมคงต้องรบกวนพี่แบทแมนครับ ผมไปไม่เป้นจริงๆ:cool:

     
  9. นํ้าข้าว

    นํ้าข้าว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,435
    ค่าพลัง:
    +10,351
    ส่วนตัวผม มองพิมพ์ต้องมาก่อน ครับ พระต้องมีแม่พิมพ์แต่จะกี่แม่พิมพ์ก็อีกเรื่องหนึ่ง ส่วนเนื้อหาก็ไปขอดูตามงานประกวดเอานะครับ
     
  10. hiddenbhume

    hiddenbhume เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    2,513
    ค่าพลัง:
    +7,067
    ผงเริ่งจากเรื่องหลักที่ผมถนัดก่อนครับ
    อายุพระ
    ผมจะไล่พระเนื้อผงที่เขาว่าอายุเก่าที่สุดของกรุงรัตนโกสินก่อนครับ
    สมเด็จอรหัง

    สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเมื่อปี พ.ศ. 2363 อยู่ในตำแหน่ง 3 พรรษา สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2365 พระชนมายุได้ 90 พรรษา

    พระองค์ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2276 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรี ได้เป็นพระอธิการอยู่วัดท่าหอย แขวงรอบกรุงเก่า มีพระเกียรติคุณในทางบำเพ็ญสมถภาวนา

    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรดให้นิมนต์พระองค์มาอยู่ที่วัดพลับ และให้เป็นที่ พระญาณสังวรเถร พระองค์เป็นพระอาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ตั้งแต่ยังอยู่ที่วัดท่าหอย การที่โปรดให้นิมนต์มาอยู่ที่วัดพลับ ก็เนื่องจากเป็นวัดสำคัญฝ่ายอรัญวาสีของกรุงธนบุรี ซึ่งต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่า วัดราชสิทธาราม พระองค์ได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระญาณสังวร เมื่อปี พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชในอีก 4 ปีต่อมา เมื่อมีพระชนมายุได้ 88 พรรษา ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระญาณสังวร นับว่าเป็นตำแหน่งพิเศษ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นตำแหน่งที่พระราชทานแก่พระเถระผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระโดยเฉพาะ

    เมื่อครั้งเกิดอหิวาตกโรคระบาดในกรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2363 มีผู้คนเสียชีวิตมากมาย ประมาณถึง สามหมื่นคนเศษ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงให้ตั้งพระราชพิธีอาพาธพินาศ โดยพระองค์ทรงศีลและให้ตั้งโรงทาน ส่วนสมเด็จพระสังฆราชทรงให้สังคายนาบทสวดมนต์ในพระราชพิธีดังกล่าว

    ชาวบ้านทั่วไปมักเรียกพระองค์ว่า "สังฆราชไก่เถื่อน" เพราะร่ำลือกันว่า ทรงช่ำชองวิปัสสนาธุระถึงขนาดทำให้ไก่เถื่อนเชื่องด้วยอำนาจพรหมวิหารได้[1]


    กล่าวกันว่าท่านเป้นอาจารยญ์ของสมเด็จโตในช่วงหนึ่งด้วยครับ เรื่องนี้ขอให้ฟังหูไว้หู เนื่องจากพี่ธนต เคยให้แง่คิดไว้ว่า สมเด็จเพิ่งจะค้นพบว่าใช้น้ำมันตังอิ๊วเป้นตัวประสานก็เมื่อคราวที่แกะพิมพ์พระได้หลวงวิจารณ์ เฮง ช่วยแนะนำ แต่พบกว่าพระสมเด็จอรหังนั้นมีการใช้ตังอิ๊วเป้นเนื้อประสานแล้ว ซึ่งก็พิจารณาได้สองเงื่อนเวลา กล่าวคือ หลวงวิจารณืไม่ได้แนะ สมเด็จท่านทราบจากสมเด็จ สุก หรืออีกนัยหนึงคือ พระสมเด้จอรหัง อายุการสร้างหลังจากสมเด็จวัดระฆัง

    อย่างไรซะวงการเขาตั้งเป้นพระเนื้อผงที่เก่าที่สุด ผมก็ขอยึดตามวงการที่เขาเล่นกันครับ
    ซึ่งก็ให้เป้นการบ้านพี่น้องไปช่วยกันคิดก็แล้วกันครับ ว่าอะไรจริง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. hiddenbhume

    hiddenbhume เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    2,513
    ค่าพลัง:
    +7,067
    ขอกำหนดก่อนครับ พระทรงสี่เหลี่ยมที่สร้างโดยสังฆราช หรือทรงสมณะศักดิ์สมเด็จ จะเรียกว่าพระสมเด็จ แต่พระที่ถูกสร้างขึ้นในวาระอื่นๆหรือไม่ทันยุค สำหรับกระทู้นี้ ผมขอเรียกว่าพระผงทรงาสี่เหลี่ยม ตามที่พี่ธนตและพี่รัก เคยกล่าวไว้ครับ
     
  12. นํ้าข้าว

    นํ้าข้าว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,435
    ค่าพลัง:
    +10,351
    ผมก็งูๆปลาๆครับ แต่ถ้าเอา พิมพ์ประเภท กรุวัดพระแก้ว กรุวัดกัลยา หรือหลักการของ ดร.ทั้งหลายที่ตั้งตัวเป็นผู้รู้มาคุ่ยกะผม คงคุ่ยกันไม่รู้เรื่องนะครับ เพราะผม เอาพระองค์ครูในหนังสือที่เชื่อถือได้เป็นต้นแบบแล้วคิดเอาเองครับ
     
  13. นํ้าข้าว

    นํ้าข้าว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,435
    ค่าพลัง:
    +10,351
    ลองมาดูชักองค์ พิมพ์อะไร วัดไหน ดูยังไง เนื้อหามีอะไรให้ดู คราบเป็นแบบไหน การตัดเป็นแบบไหน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. นํ้าข้าว

    นํ้าข้าว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,435
    ค่าพลัง:
    +10,351
    ด้านหลังครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. นํ้าข้าว

    นํ้าข้าว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,435
    ค่าพลัง:
    +10,351
    หรือ แบบนี้ พิมพ์อะไร วัดไหน ดูอย่างไร อะไรติดดำๆ มันคืออะไร ยุคไหน การขึ้นซุ้มเป็นแบบไหน ใบหน้าเป็นแบบไหน การทิ้งแขนวงแขน แนวฐาน ความลึก การตัด ด้านหลัง เป็นอย่างไรดูเก่าได้อายุหรือไม่ ลองดูครับ ยืมภาพมาจากหนังสือพิมพ์ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 ตุลาคม 2014
  16. hiddenbhume

    hiddenbhume เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    2,513
    ค่าพลัง:
    +7,067
    ยุคต่อมาเป้นพระสมเด็จยุคสมเด้จโต ซึ่งได้มาการสร้างพระสมเด้จไว้หลายกรุ เป้นยอดปราถนาของทุกผุ้สะสมพระเครื่องและเป้นพระที่มีการปลอมแปลงเอาเก่ามาทำให้ใหม่ เอาใหม่มาทำให้เก่า เอาเก๊เอาเทียมมามั่วกันเยอะมาก หนังสือที่ขายพระปลอมกันก็มีอยู่หลากหลาย มีกระทั้ง ดร.หลายท่านก้หัมมาเอาดีทางนี้ด้วย มีกุแตกขึ้นเกือบทุกวัน ซึ่งยาป้องกันตัวที่ดีที่สุดคือการศึกษา ผมเน้นย้ำเรื่องการดูภาพพระสมเด็จแท้ๆบ่อยๆ จะทำให้เข้าใจมากขึ้นครับ

    ขอเริ่งจากสมเด้จวัดระฆังก่อนครับ

    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (นามเดิม: โต) หรือนามที่นิยมเรียก "สมเด็จโต" "หลวงปู่โต" หรือ "สมเด็จวัดระฆัง" เป็นพระสงฆ์มหานิกาย เป็นพระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความนิยมนับถืออย่างมากในประเทศไทย ท่านเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในสมัยรัชกาลที่ 4-5

    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) นับเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน[1] และนอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล "พระสมเด็จ" ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย[2] และมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท[3] ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน

    ประวัติ[แก้]
    ชาติภูมิ[แก้]

    รูปหล่อของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ประดิษฐานที่วัดไก่จ้น อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวกันว่าท่านเกิดในเรือของมารดาซึ่งจอดเทียบท่าอยู่หน้าวัดแห่งนี้
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 (หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว 7 ปี[4]) เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จุลศักราช 1150 เวลาพระบิณฑบาต (ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331) [5] ณ บ้านไก่จ้น (บ้านท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ[6] จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[7]

    มารดาบิดาของท่านเป็นใครไม่ทราบแน่ชัด มีผู้กล่าวประวัติของท่านในส่วนนี้แตกต่างกันไปหลายสำนวน เช่น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อนางงุด บุตรของนายผลกับนางลา ชาวนาเมืองกำแพงเพชร1 [8] หรือฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อเกตุ คนท่าอิฐ อำเภอบางโพ[9][10] อย่างไรก็ดีมารดาของท่านนั้นเป็นชาวเมืองเหนือ (คำเรียกในสมัยอยุธยา) 2 เพราะทุกแหล่งอ้างอิงกล่าวตรงกันว่ามารดาของท่านเป็นชาวเมืองเหนือแต่ได้ลงมาทำมาหากินแถบภาคกลางในช่วงหลัง3

    สำหรับบิดาของท่านนั้น สำนวนของพระยาทิพโกษา กล่าวว่าท่านเป็นโอรสนอกเศวตฉัตรของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งทรงพระยศเป็น เจ้าพระยาจักรี ส่วนฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล และฉบับของตรียัมปวายกล่าวว่าท่านเป็นพระโอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และแม้ในสำนวนของตรียัมปวายจะมีข้อสันนิษฐานเพื่อยืนยันหลายข้อ แต่อย่างไรก็ตาม ประวัติทั้งสองสำนวนกล่าวตรงกันเพียงว่า ข้อสันนิษฐานว่าด้วยบิดาของท่านนั้นเป็นเพียงเรื่องเล่าซึ่งชาวบ้านในสมัยนั้นกล่าวและเชื่อกันโดยทั่วไป[11][12]

    บรรพชาและอุปสมบท[แก้]

    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ดำรงตำแหน่งทางคณะสงฆ์เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ในสมัยรัชกาลที่ 4 จวบจนท่านมรณภาพในช่วงต้นรัชกาลที่ 5
    เมื่อถึงวัยพอสมควรแล้ว ได้บรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา เมื่อ พ.ศ. 2343 ต่อมาปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดและเมตตาสามเณรโตเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอายุครบอุปสมบทปี พ.ศ. 2350 จีงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปสมบทเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีฉายานามในพุทธศาสนาว่า "พฺรหฺมรํสี"[13] ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระภิกษุโตรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์

    จริยาวัตร[แก้]
    ครั้นถึงรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงสถาปนาสมณศักดิ์เพื่อยกย่องในกิตติคุณและเกียรติคุณของพระภิกษุโต แต่พระภิกษุโตไม่ยอมรับ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าท่านมีอุปนิสัยไม่ปรารถนายศศักดิ์หรือลาภสักการะใดๆ ทั้งสิ้น อนึ่ง แม้พระภิกษุโตได้ศึกษาพระธรรมวินัยแตกฉาน แต่ด้วยอุปนิสัยดังกล่าวข้างต้น ท่านจึงไม่ยอมเข้าแปลหนังสือเพื่อเป็นพระภิกษุชั้นเปรียญเช่นกัน

    ต่อมากล่าวกันว่า พระภิกษุโตได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และได้สร้างปูชนียสถานในที่ต่างๆ กัน เช่น สร้างพระพุทธไสยาศน์ไว้ที่วัดสตือ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างพระพุทธรูปหลวงพ่อโต วัดไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นต้น ซึ่งปูชนียสถานทุกแห่งที่ท่านสร้างจะมีขนาดใหญ่โตสมกับชื่อของพระภิกษุโตอยู่เสมอ การจะสร้างปูชนียสถานขนาดใหญ่เช่นนี้ล้วนแต่ต้องใช้ทุนทรัพย์และแรงงานจำนวนมากในการก่อสร้างจึงจะทำได้สำเร็จ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความศรัทธาและบารมีของพระภิกษุโต ซึ่งเป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนในย่านที่ท่านได้ธุดงค์ผ่านไปอย่างชัดเจน

    สมณศักดิ์[แก้]

    หลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย) วัดอินทรวิหาร กรุงเทพ ปูชนียสถานแห่งสุดท้ายที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ได้สร้างไว้
    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดปรานพระภิกษุโตเป็นอย่างยิ่ง ในปี พ.ศ. 2395 พระองค์จึงได้พระราชทานสมณศักดิ์ถวายพระภิกษุโตเป็นครั้งแรก โดยมีสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ราชทินนาม "พระธรรมกิติ" และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ขณะนั้นท่านอายุ 65 ปี โดยปกติแล้วพระภิกษุโตมักพยายามหลีกเลี่ยงการรับพระราชทานสมณศักดิ์ แต่ด้วยเหตุผลบางประการ ทำให้ท่านต้องยอมรับพระราชทานสมณศักดิ์ในที่สุด อีก 2 ปีต่อมา (พ.ศ. 2397) ท่านจึงได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ ในราชทินนาม "พระเทพกวี" หลังจากนั้นอีก 10 ปี (พ.ศ. 2407) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ ในราชทินนาม "สมเด็จพระพุฒาจารย์" มีนามจารึกตามสุพรรณบัฏว่า


    สมเด็จพระพุฒาจารย์ เอนกปรีชา วิสุทธศีลจรรยาสมบัติ นิพัทธุตคุณ สิริสุนทร พรตจาริก อรัญญิกคนฤศร สมณนิกรมหาปริณายก ตรีปิฎกโกศล วิมลศีลขันธ์ ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พระอารามหลวงฯ[14]


    สมณศักดิ์ดังกล่าวนี้นับเป็นสมณศักดิ์ชั้นสูงสุดและเป็นชั้นสุดท้ายที่ท่านได้รับตราบจนกระทั่งถึงวันมรณภาพ คนทั่วไปนิยมเรียกท่านว่า "สมเด็จโต" หรือ "สมเด็จวัดระฆัง" ส่วนคนในยุคร่วมสมัยกับท่านเรียกท่านว่า "ขรัวโต"[15]

    ปัจฉิมวัย[แก้]
    ราวปี พ.ศ. 2410 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้มาเป็นประธานก่อสร้างปูชนียวัตถุครั้งสุดท้ายที่สำคัญของท่าน คือ พระพุทธรูปหลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย) ที่วัดอินทรวิหาร (ในสมัยนั้นเรียกว่า วัดบางขุนพรหมใน) ทว่าการก่อสร้างก็ยังไม่ทันสำเร็จ โดยขณะนั้นก่อองค์พระได้ถึงเพียงระดับพระนาภี (สะดือ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ได้มรณภาพบนศาลาเก่าวัดบางขุนพรหมใน ณ วันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2415 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิริรวมอายุได้ 84 ปี อยู่ในสมณเพศ 64 พรรษา เป็นเจ้าอาวาสครองวัดระฆังโฆสิตารามได้ 20 ปี

    คำสอน[แก้]

    โต๊ะหมู่บูชาตั้งอัฐิธาตุบำเพ็ญกุศล สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ในพระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม
    Wikiquote-logo.svg
    วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ:
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นพระเกจิเถราจารย์ที่เป็นที่เคารพนับถือนอกจากด้านคาถาอาคมแล้ว ท่านยังได้ดำรงตนเป็นผู้สมถะ มักน้อยสันโดษ ไม่ปรารถนาลาภยศ การแสดงออกของท่านตามบันทึกหลักฐานในสมัยหลัง มักบันทึกถึงความเป็นพระเถระผู้มีเมตตา ดำรงศีลาจารวัตรเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของคนทั่วไป อย่างไรก็ตาม เอกสารที่บันทึกประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ไว้เป็นหมวดหมู่ชั้นเก่าสุด คือเอกสารฉบับของมหาอำมาตย์ตรีพระยาทิพยโกษา (สอน โลหนันท์) ซึ่งเป็นฉบับที่รวบรวมโดย ม.ล.พระมหาสว่าง เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ที่รวบรวมขึ้นในปี พ.ศ. 2473[16] ไม่ได้บันทึกคำสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ไว้เป็นหมวดหมู่ เพียงแต่กล่าวถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในช่วงชีวิตของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ต่างกรรมต่างวาระกัน ตามที่ผู้รวบรวมได้บันทึกมาจากปากคำผู้มีชีวิตร่วมสมัยกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เท่านั้น

    อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันได้ปรากฏมีคำสอนต่าง ๆ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นคำสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ที่เป็นที่นิยมนับถือกันทั่วไป โดยไม่มีการอ้างอิงที่มาที่แน่ชัด เช่น

    "บุญเราไม่เคยสร้าง...ใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า ..."[ต้องการอ้างอิง]

    "ลูกเอ๋ย ก่อนที่จะเข้าไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือบารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่ไปเที่ยวขอยืมมาจนพ้นตัว...เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมดไม่มีอะไรเหลือติดตัว...แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า...หมั่นสร้างบารมีไว้...แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง...จงจำไว้นะ... เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้... ครั้นเมื่อถึงเวลา... ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่...จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลยจะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า"[ต้องการอ้างอิง]

    รูปเหมือนของสมเด็จโต[แก้]

    ความศรัทธาในตัวสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ของพุทธศาสนิกชนในประเทศไทย ทำให้เกิดความนิยมสร้างรูปหล่อเหมือนตัวจริงของท่านประดิษฐานตามวัดต่างๆ โดยทั่วไป (ในภาพนี้ รูปหล่อของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) อยู่ทางด้านซ้ายของภาพ)
    เนื่องจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นพระมหาเกจิเถราจารย์ผู้เป็นที่เคารพนับถือยิ่งนับแต่เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ จนถึงปัจจุบันผู้ศรัทธาในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ได้ทำการสร้างรูปเหมือน รูปเคารพจำลองของท่านไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ มากมาย โดยเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "รูปหล่อสมเด็จ" ตามหลักฐานฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) ระบุว่ารูปจำลองรูปแรกของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) คือรูปหล่อที่ประดิษฐานที่วัดเกศไชโยวรวิหาร ในสมัยรัชกาลที่ 5 ปั้นหุ่นลงรักปิดทองโดยหลวงวิจิตรนฤมล (พึ่ง ปฏิมาประกร) หน้าตัก 40.2 เซนติเมตร หล่อขึ้นที่วัดระฆังโฆสิตาราม แต่ได้หล่อเมื่อปีใดไม่ปรากฏ แต่สันนิษฐานว่าสร้างก่อนปี พ.ศ. 2444[17] ดังความในสำเนาพระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คราวเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ พุทธศักราช 2444 ดังนี้


    เมืองสิงหบุรี
    วันที่ ๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๐
    ถึงกรมหลวงเทวะวงษวโรปการ

    "......เวลาเช้า ๒ โมงออกจากพลับพลาเมืองอ่างทอง มาจนเวลา ๕ โมงเช้าถึงวัดไชโย ได้แวะขึ้นที่วัด...ในมุขหลังพระอุโบสถรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต มีเค้าจำได้ แต่หนุ่มไปกว่าเมื่อเวลาถึงมรณภาพสักหน่อยหนึ่ง..."[18]


    — พระราชหัตถเลขา
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
    คราวเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ พุทธศักราช ๒๔๔๔


    (ซ้าย) รูปเหมือนสมเด็จโตในพระวิหารวัดระฆังโฆสิตาราม (ขวา) รูปเหมือนสมเด็จโตในท่านับลูกประคำ เป็นรูปเหมือนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะที่เป็นที่จดจำของคนในปัจจุบัน โดยได้ถอดแบบมาจากรูปถ่ายจริงของท่านเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่
    อย่างไรก็ดี รูปเคารพท่านที่เป็นที่แพร่หลายคือรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ที่สร้างขึ้นและประดิษฐานอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตาราม สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นไม่นานหลังจากได้สร้างรูปเคารพรูปแรกขึ้นและนำไปประดิษฐานที่วัดไชโยวรวิหาร ก่อนปี พ.ศ. 2444 มีขนาดหน้าตัก 48 เซนติเมตร ลักษณะนั่งสมาธิ โดยเคยมีงานแห่สมโภชรูปหล่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในวัน แรม 3 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี[19] แต่ปัจจุบันได้เลิกจัดไปแล้ว ปัจจุบันรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ของวัดระฆังโฆสิตาราม ยังคงประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหน้าพระอุโบสถของวัด มีผู้คนเคารพนับถือมากราบไหว้สักการะมากในปัจจุบัน

    ในช่วงหลัง มีผู้นำรูปถ่ายเมื่อครั้งมีชีวิตของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ในท่านับลูกประคำ ไปจัดสร้างเป็นรูปหล่อและรูปเหมือนเพื่อสักการบูชา จนเป็นที่แพร่หลาย และเป็นเอกลักษณ์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) จนถึงปัจจุบัน ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่โตมากมาย เพื่อให้สมชื่อโต ของสมเด็จท่าน โดยรูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ขนาดใหญ่ เช่นที่ วิหารสมเด็จโต มูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา สมเด็จโตองค์ใหญ่ปางเทศนาธรรม วัดโบสถ์ จังหวัดปทุมธานี สมเด็จโตองค์ใหญ่ วัดตาลเจ็ดยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สมเด็จโตองค์ใหญ่ที่สุดในโลก วัดสระลงเรือ จังหวัดกาญจนบุรี และที่วัดสามัคคีบรรพต จังหวัดชลบุรี เป็นต้น


    พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งมีทั้งหมด 4 พิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ฐานแซม และพิมพ์เกศบัวตูม สำหรับในวงการผู้นิยมสะสมพระเครื่องส่วนใหญ่ ถ้าจะมีการเปรียบเทียบความแตกต่างของพิมพ์ทรงที่มีความใกล้เคียงกันแลัว มักจะเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ กับ พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่ แต่ถ้าพิจารณาอย่างถี่ถ้วนจะเห็นว่าในพิมพ์ทั้ง 4 พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามเองนั้น พิมพ์ที่มีความเหมือนกันมากจนต้องมีการพิจารณาตำหนิต่างๆ อย่างรอบคอบและละเอียดมากๆ ก็คือ "พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่" และ "พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ทรงเจดีย์" เนื่องจาก พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามทุกพิมพ์ จำลองศิลปะมาจากพระประธานในพระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม อันเป็นศิลปะสมัยสุโขทัย พิมพ์สมาธิ คือพระหัตถ์ทั้งสองวางบนตัก ซึ่งโดยปกติแล้วพระประธานในพระอุโบสถต่างๆ ส่วนใหญ่มักเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย พิมพ์มารวิชัย คือพระหัตถ์ขวาวางลงบนเข่า พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ทรงเจดีย์ ก็เช่นกัน แต่ศิลปะองค์พระจะเล็กลง ดูจากเส้นรอบขององค์พระไล่จากฐานที่ 1 ขึ้นไปจดปลายเกศจะเป็นเส้นอ่อนช้อยเหมือนสัญฐานของศิลปะพระพุทธเจดีย์โดยรอบ นักนิยมพระจึงเรียกขานว่าเป็น "พิมพ์ทรงเจดีย์" มาแต่โบราณ

    พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์ทรงเจดีย์นั้น เนื่องจากเป็นพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามเช่นเดียวกัน ดังนั้น เนื้อหามวลสารและกรรมวิธีในการสร้างจึงเป็นลักษณะเดียวกัน จุดตำหนิหรือพุทธลักษณะเฉพาะที่เหมือนกันมีดังนี้

    เม็ดพระธาตุ ตลอดจนร่องรอยการหดตัวของเม็ดธาตุกับเนื้อองค์พระจะปรากฏให้เห็นชัดเจน
    รอยรูเข็ม ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามทุกพิมพ์
    รอยปูไต่ หรือร่องรอยของมวลสารที่สลายตัวบนเนื้อองค์พระจะปรากฏให้เห็นชัดเจน
    ส่วนแนวทางการศึกษาพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ทรงเจดีย์ เมื่อเปรียบเทียบกับพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ มีจุดตำหนิแม่พิมพ์ที่แตกต่างกันเพื่อการพิจารณาดังต่อไปนี้ 88

    เส้นขอบแม่พิมพ์ด้านซ้ายขององค์พระ ของพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ จะลากยาวลงมาจรดกับขอบซุ้มเรือนแก้วตรงมุมล่างพอดี ต่างจากพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ ซึ่งจะมาจรดกับขอบซุ้มเรือนแก้วตรงกลางของแขนองค์พระ
    พระเกศของพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ จะมีรอยขยักเหมือนมีพวงมาลัยครอบไว้กลางพระเกศ ซึ่งต่างจากพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่
    บริเวณหัวไหล่ทั้งซ้ายและขวาขององค์พระ ระหว่างหัวไหล่ถึงใต้รักแร้ทั้งสองข้างของพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ จะเท่าๆ กัน ต่างกับพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ เนื้อที่ระหว่างหัวไหล่กับรักแร้ด้านขวาขององค์พระจะกว้างกว่าด้านซ้ายขององค์พระ
    เส้นซุ้มครอบแก้วของพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ จะเล็กกว่าเส้นซุ้มครอบแก้วของพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่
    หัวฐานชั้นที่ 2 ด้านขวามือขององค์พระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ จะมีลักษณะเรียวแหลม ซึ่งคนโบราณเรียกว่า "หัวเรือเอี้ยมจุ๊น"
    พระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ที่ 2 จะมีเส้นผ้าอังสะพาดจากหัวไหล่ลงมาใต้รักแร้อย่างเห็นได้ชัด ส่วนพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ จะไม่ปรากฏเส้นผ้าอังสะ
    (สำหรับเส้นผ้าอังสะนั้น ในกรณีที่พระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์องค์ใดกดพิมพ์ไม่ชัด ก็อาจจะไม่ปรากฏให้เห็นเป็นตำหนิได้ แต่สามารถใช้ตำหนิแม่พิมพ์ตำแหน่งอื่นๆ เป็นที่สังเกตได้เหมือนเดิม)

    แขนข้างขวาด้านในขององค์พระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ จะมีเนื้อพอกอยู่เป็นส่วนเกิน ซึ่งเป็นตำหนิของแม่พิมพ์ที่เป็นส่วนลึกสุด ถึงแม้องค์ใดจะผ่านการใช้จนสึกหรือกดพิมพ์ไม่ลึกเพียงพอ แต่เนื้อพอกส่วนเกินของซอกแขนนี้ก็คงจะยังปรากฏให้เห็นชัดเจนอยู่
    ข้อศอกซ้ายด้านนอกของพระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ จะไม่มีเส้นชายจีวรแล่นจากข้อศอกมายังเข่าเหมือนพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่
    มุมหัวฐานด้านขวาขององค์พระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ชั้นล่างสุด จะมีเส้นรอยแตกของแม่พิมพ์วิ่งแล่นจรดมุมซุ้ม
    สัดส่วนของพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ จะเล็กกว่าพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่
    พิมพ์ด้านหลังของพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ จะไม่เหมือนพิมพ์ด้านหลังของพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ ตามภาษาวงการพระเรียกว่า "พิมพ์หลังทื่อ" และจะเหมือนกันหมดทุกพิมพ์ คือขอบข้างขององค์พระทั้งสี่ด้านจะปรากฏรอยกะเทาะของการตอกตัดครูดกับเนื้อพระ และปรากฏร่องรอยปริแยกของเนื้อพระที่เรียกว่า "รอยปูไต่" อันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญที่สุดของพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้สร้างขึ้น
    ที่สำคัญที่สุดคือ ผิวขององค์พระ ตลอดจนภาพรวมของพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ทรงเจดีย์ ต้องใช้ความคุ้นเคยอย่างที่เคยได้กล่าวไว้ว่าคนเราจำหน้าตาได้ก่อน ฉะนั้นต้องพิจารณาสังเกตภาพรวมให้มากๆ ครับ

    พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ทรงเจดีย์ ยังสามารถแยกพิมพ์ได้ทั้งหมด 5 พิมพ์ด้วยกัน คือ พิมพ์ที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 พระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ที่ 1 จะมีขนาดค่อนข้างล่ำสันใกล้เคียงกับพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่มาก แต่หาดูยากมากจนหลายๆ คนไม่เคยเห็น ส่วน พิมพ์ที่ 2 เป็นพิมพ์ที่ปรากฏมากที่สุดที่เห็นกันอยู่ ณ ปัจจุบัน รองลงมาก็เป็นพิมพ์ที่ 5 หรือทั่วไปเรียกว่า "พิมพ์เล็ก" สำหรับพิมพ์ที่ 3 และพิมพ์ที่ 4 ก็หาดูค่อนข้างยากเช่นกัน

    ขอขอบคุณเวบไซท์ อ.ราม มาณ ที่นี้ด้วยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. hiddenbhume

    hiddenbhume เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    2,513
    ค่าพลัง:
    +7,067
    เนื้อนี้ พิมพ์นี้ บางขุนพรหมชัดๆครับพี่ แท้ดูง่ายสุดๆ องค์ครูครับพี่แบทแมน ใครดูเป้นวัดระฆัง อายเขาตายเลย

     
  18. นํ้าข้าว

    นํ้าข้าว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,435
    ค่าพลัง:
    +10,351
    ฝากพระดูง่าย เรื่องเนื้อหาความเก่าให้ดูใว้อีกองค์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. hiddenbhume

    hiddenbhume เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    2,513
    ค่าพลัง:
    +7,067
    เพิ่มอีกนิดนึง ด้านล่างใต้ฐานพระ ท่านๆที่ดูไม่ละเอียดก็คงมองว่าเป้นเงา จริงๆเป้นคราบรักเก่าที่จับเนื้อพระ พวกเซียนเขาเวลาขายพระ ถ้าพระกระดำกระด่างคงขายพระไม่ได้เพราะพระไม่มีราศี ถ้าพระเนื้อนวล ขาวสะอาดคงขายได้ราคาดี เลี่ยมทองดูสวยหรู เลยล้างเป้นบางส่วน บางส่วนไม่ล้างให้คงสภาพเดิมไว้ดูอายุ คนที่ไม่ได้สังเกตุก็จะเหามเอาว่า พระเนื้อนวลสวย ไม่มีคราบรัก
    จริงๆออกกรุมา พระที่ไหนจะสวย เนื้อคงกระดำกระด่าง ไม่มีราศี
    อันนีผมฟันธงให้เลยครับ

     
  20. hiddenbhume

    hiddenbhume เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    2,513
    ค่าพลัง:
    +7,067
    สมเด็จวัดระฆังแบบชัดออกตาสากลนิยมเป้นห้าพิมพ์ทรง
    พิมพ์ใหญ่
    พิมพ์เจดีย์
    ฐานแซม
    สังฆาฏิ
    และเกศบัวตูม
    พิมพ์พิเศษหาได้ยากคือปรกโพธิ์หาดูได้ยากมากครับ ผมลงรูปให้ชมด้านบนแล้วครับ

    มาเริ่มที่พิมพ์ใหญ่ พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ ตามที่ อ.รามได้กำหนดการดูพิมพ์ไว้มีดังนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...