ให้จำไว้ว่าไม่ว่ากายหรือจิตก็ไม่ใช่ของเรา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kengkenny, 7 กรกฎาคม 2009.

  1. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ไม่ว่าจะเป็นการรู้หรือการคิดมันก็เป็นการเกิดแบบซ้ำๆ หากเรายอมเชื่อว่าตัวเราเองจิตเราเองเป็นผู้รู้เป็นผู้เห็น ก็จะเท่ากับว่าเราตกอยู่ภายใต้ความเป็นอัตตา ซึ่งเป็นศัตรูต่อการละต่อการสละ ตัณหา อุปาทาน ทั้งหลาย และทั้งหมดจะขัดแย้งกับสภาพความเป็นจริงทั้งหมดที่เกิดขึ้น
    ความคิดของผู้ไม่รู้ แด่ผู้ไม่รู้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2009
  2. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
  3. งูขาว

    งูขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2008
    โพสต์:
    945
    ค่าพลัง:
    +1,824
    พุทโธ พุทโธ (ผู้รูั ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน) นั้นเป็นใบ้ เขาไม่ยอมบอกหรอกว่าเขารู้ เพราะพูดไม่ได้ มันอยู่เหนือคำพูด ของพูดได้ไม่ใช่ของจริง จะต่างอะไรกับการหาหนวดเต๋า เขากบ หางอึ่งละ 55555555555
     
  4. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ช่ายมันปรพกอบกันขึ้นมาไม่มีตัวตน เป็นอนัตตา
     
  5. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    แค่มาสนับสนุนเฉยๆครับ [​IMG]
     
  6. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ไม่ใช่ของเรา แล้วเป็นของใครคะ???
    เป็นของสาธารณะหรือไร???
    งั้นใครๆก็สวมรอยได้สิ

    (smile)
     
  7. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    ขึ้นต้นกระทู้ก็ผิดแล้วจ้า "จำ" และโน้มจิตเชื่ออีกต่างหากมันก็คือคิด มันเสื่อมได้
    ถ้ารู้แล้วเกิดจากวิปสนา มันมีไม่ทางเสื่อม

    อัตตา ใครรู้ตัวว่ายึด ก็ดีกว่าคนทีี่แกล้งไม่ยึดอัตตานะ
     
  8. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    ทดลองโดยการเอาดอกไม้ธูปเทียน
    หรือจัดสำรับอาหารเล็กๆ
    ถวายพระพุทธรูปดูก่อนก็ได้ครับ

    พระพุทธรูปที่บ้านนั้นแหละ
    หรือจะจัดบูชาพระเครื่อง
    พระพุทธรูปองค์เล็กๆที่นิยมใช้บูชาติดตัวก็ได้

    ขณะที่เจ้าของเดิม ตั้งใจจะถวายพระ
    หลังจากถวายแล้ว ก็กลายเป็นของพระนะครับ

    แต่ในที่สุดเราก็ต้องลาท่าน เอามาทาน
    หรือว่าดอกไม้เหี่ยวแล้วก็ต้องเอาไปทิ้ง
    ต้องเอาภาชนะไปล้าง
    ปล่อยทิ้งไว้ ก็จะกลายเป็นเอาของบูดของเก่าถวายพระ

    ตอนที่เอากายใจถวายพระ
    ตอนนั้นเจ้าขอเค้าก็ไม่ได้คิดว่าเป็นของเค้าหรอกนะ
     
  9. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    กายใจของเราในทีแรก
    เป็นสมบัติสาธารณะไม่ได้หรอกครับ

    แต่กำลังใจพระอริยะเจ้าเบื้องสูง
    ไม่แน่ บางท่านปวารนาตน
    ทำกิจเพื่อสาธารณะประโยชน์

    อารมร์ใจจะกลายเป็นสาธารณะทันที
    ที่ตั้งใจจะเป็นอย่างนั้น

    เป็นความตั้งใจนะ
    ตั้งใจเป็นได้ ก็ตั้งใจเลิกได้
    เค้าเรียกสำนึกสาธารณะไง

    แต่จะให้คิดแบบปัจเจกบุคคลก็ได้
    เค้าเรียก เข้าอกเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ ไง
     
  10. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    ไม่ใช้แบบหมา
    เวลาไม่เลี้ยงก็เอาไปปล่อยวัด
    ตัดหางมันเสียอีก

    แต่กายใจเราที่ถวายวัด
    หรืออุทิศเพื่อประโยชน์สาธารณะบ้าง ในบางโอกาส

    เราก็ยังมีความรับผิดชอบ
    ในการกระทำ คำพูด หรือความคิด

    ไม่ใช่เอาไปไว้วัดแล้ว ก็เป็นของวัดเจ้าของเดิมไม่ต้องรับผิดชอบอะไร
    แบบปล่อยหมา
     
  11. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อืมสนับสนุนครับถูกแล้วมันเป็นไตรลักษณืครับ ตรงนี้ใครที่ยังมองไม่เห็นความไม่มีตัวตนของขันธ์ นี่ก้ต้องขอให้บารมีเพียงพอในเร็ววัน
     
  12. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ขออนุญาติตอบนะครับ ตอบธรรมนี่ก้ทำให้ได้ทำความเข้าใจธรรมมากยิ่งๆขึ้นด้วย ท่าผิดก้ปรับได้ ท่าถูกก้เป็นประโยชน์

    กายหรือจิตนี้ไม่ใช่ของเรา นั้น จะยกมาไห้ดูนะครับ

    <TABLE style="MARGIN-TOP: 0px; MARGIN-BOTTOM: -1mm; MARGIN-LEFT: 0px; LINE-HEIGHT: 2; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'" borderColorDark=#79052c width="100%" align=center borderColorLight=#804000 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=370>
    อนัตตลักขณสูตร
    </TD><TD vAlign=bottom align=right width=422>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร เรื่องอนัตตาในขันธ์ ๕ ต่อเหล่าพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ จนสำเร็จพระอรหันต์
    [๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    รูปเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตา(ใช่ตัวตน, มีตัวตน หรือเป็นของตัวตน อย่างแท้จริง)แล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ(ความเสื่อม ความเจ็บไข้ ความแปรปรวน) และบุคคลพึงได้(หมายถึง เมื่อเป็นเราหรือของเราจริงๆ ย่อมต้องบังคับบัญชาได้ตามปรารถนา)ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
    ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา(ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของตัวตน ตัวตนหรือกายที่เห็นหรือผัสสะได้ด้วยอายตนะใดๆนั้น เป็นเพียงกลุ่มหรือก้อนหรือฆนะของเหล่าเหตุที่มาเป็นปัจจัยประชุมปรุงแต่งกัน คือ ธาตุ ๔) ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ(แปรปรวนด้วยอนิจจัง จึงเจ็บป่วย) และบุคคลย่อมไม่ได้(หมายถึง ย่อมบังคับบัญชาไม่ได้ตามปรารถนาเพราะว่ารูปขึ้นอยู่กับเหตุคือธาตุทั้ง ๔ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเรา) ในรูปว่า รูปของเรา จง(สวย จงงาม)เป็นอย่างนี้เถิด รูปของเรา อย่าได้(น่าเกลียด)เป็นอย่างนั้นเลย.
    (กล่าวคือ รูปนั้นเป็นเพียงมวลหรือก้อนหรือฆนะของเหตุที่มาเป็นปัจจัยกัน คือธาตุ ๔ จึงย่อมขึ้นหรือเนื่องสัมพันธ์อยู่กับเหตุที่มาเป็นปัจจัยกันคือธาตุ ๔ แท้จริงหรือปรมัตถ์แล้วจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวตนที่หมายถึงเราหรือของเรา ถ้ารูปนั้นเป็นของเราหรือของตัวของตนจริงๆแล้วไซร้ จะต้องขึ้นอยู่กับเราจึงย่อมควบคุมบังคับได้ตามปรารถนา ต้องควบคุมบังคับให้สวยให้งามได้และไม่แปรปรวนหรือดับไปตามสภาวธรรมได้ด้วยตัวตนของตนเองอย่างแท้จริงและแน่นอน รูปหรือกายจึงไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา, เพียงแต่บางครั้งไปควบคุมเหตุบางประการได้ชั่วขณะหนึ่งๆ จึงก่อมายาจิตว่าเป็นเราหรือของเราที่สามารถควบคุมบังคับบัญชาได้ตามปรารถนา, ในขันธ์อื่นๆก็เป็นไปในลักษณาการเดียวกัน ล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย จึงล้วนขึ้นอยูกับเหตุนั้นๆ จึงขึ้นหรืออิงหรือเนื่องสัมพันธ์อยู่กับเหตุ ที่มาเป็นปัจจัยกัน จึงย่อมไม่ได้ขึ้นอยู่กับเราหรือตัวเราเช่นกัน, ดูรายละเอียดเพิ่มเติมการเป็นเหตุปัจจัยกันจึงเกิดขึ้นได้ในพระไตรลักษณ์และขันธ์ ๕)
    เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ(แปรปรวน) และบุคคลพึง(ควบคุมบังคับบัญชา)ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้นเวทนาจึง เป็นไปเพื่ออาพาธ(แปรปรวน) และบุคคลย่อมไม่(สามารถควบคุม)ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
    สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่าสัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
    สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้วสังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ เราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารทั้งหลายว่าสังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
    วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่าวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้นวิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่าวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
    ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์
    [๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
    . ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    . เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
    (โยนิโสมนสิการจากปฎิจจสมุปบาท และพระไตรลักษณ์ จะพบความจริงได้ด้วยตนเองในที่สุดว่า สุขทุกข์เพราะความไม่เที่ยง ย่อมเป็นทุกข์ในที่สุดทั้งสิ้น)
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?
    ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
    (ในเมื่อรู้แล้วว่า มันเป็นตัวทุกข์ แล้วไปเก็บไปเอามันว่า เป็นของตัวของตนทำไมให้เป็นทุกข์)
    ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?
    ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?
    ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?
    ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?
    ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
    ตรัสให้พิจารณาโดย ยถาภูตญาณทัสสนะ
    (ยถาภูตญาณทัสสนะ - ความรู้ความเห็น ตามความเป็นจริงอย่างถูกต้อง)
    [๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล
    รูปอย่างใด อย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก(ภายในหมายถึงรูปกายของตน, ภายนอกหมายถึงของบุคคลอื่น) หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป
    เธอทั้งหลาย พึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบ (สัมมาญาณ) ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
    เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา
    เธอทั้งหลาย พึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา
    (ไม่ใช่ของเราอย่างจริงแท้แน่นอน, เพียงเกิดแต่เหตุปัจจัย ขึ้นระยะหนึ่ง แล้วต้องแปรปรวนดับไปเป็นที่สุดอย่างจริงแท้แน่นอน).
    สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบ หรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา
    เธอทั้งหลาย พึงเห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
    สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอกหยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร
    เธอทั้งหลาย พึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
    วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ
    เธอทั้งหลาย พึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
    [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ
    เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น, เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว
    อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
    [๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลิน ภาษิตของผู้มีพระภาค.
    ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
    อนัตตลักขณสูตร จบ
    ท่าอ่านจบแล้วจะเข้าใจในความไม่ใช่ของเรา ไม่มีตัวตนได้เพราะเราไม่สามารถบังคับมันได้ให้เป็นตามความตองการของเราได้
    เราบังคับกายให้ตั้งอยู่ไม่อาพาทไม่ ดับไปไม่ได้
    เราบังคับให้จิต ตั้งอยู่ไม่อาพาทไม่ดับไปไม่ได้
    จิต คือ เวทนา สันยา สังขาร วินยาน ตรงนี้คงเข้าใจนะครับ
     
  13. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    จิตแท้ จิต บริสุทธิ เป็นอย่างไร ก้เป็นด้วยว่า จิตที่ไม่ประกอบด้วย อวิชา เป็นเครื่องชักจูง
    หรือจิตที่มีปัญญาเห็นแจ้งรุ้เท่าทัน อวิชา ไม่ได้หลงไปตาม ทำตามเพราะอำนาจชักจูงนั้น
    จิตไม่ได้สูญสลายไป สิ่งที่สูญ สลายไปนั้นคืออวิชา คือตัวจูงใจไห้หลงอยู่ในความมีตัวตน
    เพราะความหลงที่ว่าสิ่งเหล่านี้มีตัวตนเป็นของตนนี้แหละจึงก่อให้เกิดทุข เพราะความทนอยู่ไม่ได้ของมันที่ต้องแปรเปลี่ยนที่ไม่คงทน เมื่อเราไปยึดไปจับไว้จึงเป็นทุข
    จิตไม่ได้ตั้งอยู่ เพราะจิตนั้นไม่มีตัวตนแต่ประกอบกันขึ้นด้วย เหตุและปัจจัย หากยังมีกาย จิตยังคงรับรู้ อารม มีเวทนา มีสันยา มีสังขาร

    นำธรรมที่ยังไม่ได้มาพูด ตัดสินอารมของผู้ที่บรรลุธรรม มันก้ยังผิดอยุ่ดี แต่ที่ดีคือมีสัมสมาทิฐิ พอรุ้ ทาง
     
  14. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ท่าอ่านจบแล้วจะเข้าใจในความไม่ใช่ของเรา(แล้วเราคือใคร???)
    ไม่มีตัวตนได้เพราะเรา(เราคือใคร???)ไม่สามารถบังคับมันได้
    ให้เป็นตามความตองการของเรา(เราคือใคร???)ได้

    เรา(เราคือใคร???)บังคับกายให้ตั้งอยู่ไม่อาพาทไม่ ดับไปไม่ได้
    เรา(เราคือใคร???)บังคับให้จิต ตั้งอยู่ไม่อาพาทไม่ดับไปไม่ได้

    จิต คือ เวทนา สันยา สังขาร วินยาน ตรงนี้คงเข้าใจนะครับ
    ไม่เห็นตรัสไว้เลย ว่าจิตคือวิญญาณ เพราะตรงท้ายพระสูตร ตรัสว่า

    จิต
    ของพระปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย
    เพราะไม่ถือมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    ไม่ได้ตรัสว่า
    วิญญาณ
    พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


    ตรงนี้เข้าใจซะนะคะ

    จิตไม่ใช่วิญญาณขันธ์ จิตคือผู้รู้ ผู้เห็นอยู่

    (smile)
     
  15. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    พระพุทธเจ้าแสดง จิตว่าเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน


    อนัตตลักษณะ : ลักษณะที่แสดงความเป็นอนัตตา

    ลักษณะที่ชี้แสดงว่าให้เห็นว่าเป็นของไม่ใช่ตัวใช่ตน หรือมิใช่ตัวตน หรือไม่มีตัวตน โดยอรรถต่างๆ
    ๑. เป็นของสูญ ในความหมายของสังขาร(
    สังขตธรรม) ก็เพราะว่า เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆทั้งหลาย เพราะเกิดขึ้นมาจากการที่มีเหตุต่างๆมาเป็นปัจจัยประชุมรวมกันขึ้น จึงเพียงแต่แลดูประหนึ่งว่าเป็น สิ่งๆเดียวกัน เป็นมวลเดียวกัน, เป็นชิ้นเดียวกันจริงๆ ด้วยฆนะ, แต่ความจริงอย่างยิ่งหรืออย่างปรมัตถ์แล้วก็ยังเป็นเพียงการประชุมเข้ากันของส่วนย่อยๆดังกล่าว มิได้กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวจริงๆ โดยแท้จริงจึงว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา นาย ก. นาย ข. หรือการสมมติเป็นต่างๆ(สมมติสัจจะ)
    เป็นของสูญ ในความหมายของอสังขตธรรมเช่นกัน ก็เพราะว่า เป็นเพียงสภาวธรรมหรือธรรมชาติเท่านั้น กล่าวคือ เป็นเพียงธรรมหรือสภาวธรรมที่ยังไม่เกิดการปรุงแต่งกันขึ้น กล่าวคือยังไม่เกิดปรากฏการณ์ของการประชุมหรือปรุงแต่งกันขึ้นเป็นสังขาร อันเป็นฆนะกลุ่มก้อนของการที่มีเหตุต่างๆได้มาเป็นปัจจัยปรุงแต่งกัน
    ๒. เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง แต่มักไปหลงผิด ไปหลงยึดหรือมัวเมากันด้วยกิเลสว่า เป็นตัวตน เป็นของตัวของตน หรือของใครอย่างจริงแท้ เพราะเกิดแต่
    เหตุปัจจัยจึงขึ้นหรืออิงอยู่กับเหตุปัจจัย จึงไม่ได้ขึ้นหรืออิงอยู่กับผู้ใดอย่างแท้จริง
    ๓. ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา
    ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆอย่างแท้จริง เพราะสภาวะของสังขารเองก็มีแรงแต่ภายใน ตลอดจนแรงจากภายนอก มาบีบคั้นให้คืนสู่สภาพเดิมๆเป็นที่สุด โดยไม่ยอมขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครอย่างแท้จริง แต่เพราะมีการควบคุมบังคับเหตุได้บ้างบางส่วนและได้อย่างเป็นครั้งคราว จึงมักพากันไปหลงผิดหลงยึดหรือมัวเมากันโดยไม่รู้ตัวหรืออวิชชาว่าสามารถควบคุมบังคับบัญชาได้อย่างแท้จริงตามความปรารถนา
    ๔. เป็นสภาวธรรมที่ดำรงอยู่ หรือเป็นตามธรรมดาของมันเช่นนั้นเองในธรรมที่เป็น
    สังขตธรรมคือสังขาร ซึ่งเป็นไปตามเหตุปัจจัย จึงขึ้นต่อเหตุปัจจัย จึงไม่มีอยู่โดยลำพังตัว จึงเป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ
    ๕. โดยสภาวะของมันเอง ก็แย้งหรือค้านต่อความเป็น
    อัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา (แสดงรายละเอียดของอัตตาในขันธ์ ๕ ว่ามีจริงหรือไม่)
    ลักษณะหรืออาการเหล่านี้จึงจึงก่อให้เกิดทุกข์ เมื่อธรรมหรือสิ่งทั้งหลายที่ไปอยากหรือไม่อยากด้วยตัณหาหรือไปยึดมั่นด้วยกิเลส(อุปาทาน)ว่าเป็นของตัวตน ด้วยทั้งความไม่รู้(อวิชชา)และไม่รู้เท่าทัน(สติ)เหล่านั้น ไม่สามารถควบคุมบังคับบัญชาให้เป็นไปตามปรารถนา
     
  16. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ตรงนี้ไม่ได้อทิบายจากความคิดเห็นนะครับ ยก ตัวอย่างพระสูตรมาไห้
    ไม่ใช่ไม่ตอบคำถามนะครับแต่พระสูตรอทิบายไว้แล้ว หลังจากนี้ก้สุดแล้วแต่ การพิจารนา ของตัวคุรเอง เพราะการฟังหรือการอ่านเพียงครั้งเดียวนั้น เห็นไม่เท่ากัน
     
  17. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    จิตของพระปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    ไม่ได้ตรัสว่า
    วิญญาณ
    พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


    จิต ในที่นี้ กล่าวรวม ทั้งดวงจิต+เจตสิกครับ สิ่งที่หลุดพ้นนั้นคือทั้งหมดไม่ได้แยกไปหลุดตัวเดียวดังที่คุณเข้าใจ และไม่ใช่วิญญานตัวเดียวที่หลุดพ้น แต่เป็นจิตทั้งดวง อย่าสับสนภาษาไทยกับภาษาธรรมครับ เวลาอ่านให้ใช้ปัญญา
     
  18. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ท่าอ่านจบแล้วจะเข้าใจในความไม่ใช่ของเรา(แล้วเราคือใคร???)
    ไม่มีตัวตนได้เพราะเรา
    (เราคือใคร???)
    ไม่สามารถบังคับมันได้
    ให้เป็นตามความตองการของเรา
    (เราคือใคร???)
    ได้
    เรา(เราคือใคร???)บังคับกายให้ตั้งอยู่ไม่อาพาทไม่ ดับไปไม่ได้

    เรา(เราคือใคร???)บังคับให้จิต ตั้งอยู่ไม่อาพาทไม่ดับไปไม่ได้

    ตอบให้อีกครับเราในที่นี้ทรงแสดงถึงขันธ์ เราในที่นี้รวมความเรื่องขันธ์ ทั้งหมดไม่ได้แยก เฉพาะจิตเพียงอย่างเดียว เพราะ ขันะนั้นไม่เที่ยงเป็นอนัตตา
    ท่าไม่เข้าใจอ่านความเป็นอนัตตาที่ทรงแสดงนะคับ
     
  19. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    เด่วจะกลายเป็น ประเดนไปอีกก้ขอจบแค่นี้แล้วกันคุณก้กล่าวโต้แย้งได้ มันก้แค่ทัศนะทั้งนั้นหล่ะ ท่าหลุดพ้นแล้วมาพูดนั่นหล่ะไม่ประกอบด้วยอวิชาจึงจะจริง
     
  20. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    อือ...

    พวกเราบางทีก็ลืมที่จะฝึกเพื่อให้เข้าใจกับกระบวนการใช้ความคิดของตัวเองก่อน

    จู่ ๆ เราก็มาใช้ความคิดกันเลยทีเดียว คิดโน่นคิดนี่เลย แล้วก็ไปหลงกับเรื่องที่คิดกันไปเสียหมด เทใจยอมรับให้กับความคิดนั้นทั้งหมด เราไม่ค่อยมาดูมาทำความเข้าใจกับกระบวนการในการใช้ความคิดของเรา ความคิดเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากจิตที่เกิดอาการไปแล้วหรือจิตปกติ เราไม่ค่อยมาทำความเข้าใจตรงจุดนี้ ส่วนมากเรายังแยกกันไม่ออกเลย ถ้าเรายังแยกจุดก่อเกิดของความคิดแต่ละความคิดไม่ได้ เราก็จะไม่สามารถควบคุมความคิดที่เกิดจากจิตเกิดได้ นั่นเพราะเรายังไม่ได้สร้างสติขึ้นมาดู มารู้ มาทำความเข้าใจตรงนี้ หรือไม่ก็ สติยังไม่มีกำลังพอ ยังไม่มีความต่อเนื่องเพียงพอนั่นเอง

    จิตเกิดคือจิตที่มันกำลังอิน กำลังหลงอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอยู่ เรายังดูไม่ออก เราก็ไม่เข้าใจ ก็ควบคุมเขาไม่ได้ ความคิดที่ออกมาจากจิตเกิดนี้มันก็พาเราหลงไปเรื่อย ๆ สุดแท้แต่เขาจะคิดจะพาเราไปแสวงหาสุขทุกข์

    พระท่านให้ดับความคิดที่เกิดจากตัวจิต (เกิด) นี้เสีย อย่าเอาจิต (เกิด) เที่ยวแสวงหาจิต (ปกติ) เช่นนั้ันย่อมหาไม่เจอ ให้ดับให้ควบคุมเขา ใหม่ ๆ ต้องหัดฝืนใจ ไม่หลงปล่อยใจให้คิดตามอำเภอใจให้ได้บ่อย ๆ ดับ หยุด ให้นิ่งก่อนแล้ว ค่อยมาวิเคราะห์พิจารณาแยกแยะความคิดให้ออก เราทุกข์เพราะความคิดไปได้อย่างไร เราก็มาหัดทำความเข้าใจตรงนี้ อีกหน่อย พอเข้าใจแล้ว จะคิดอะไรมันก็คิดอย่างไม่อิน พอใช้ความคิดเสร็จแล้ว เข้าใจแล้วก็วาง วางหมดไม่ถือเอาอะไรมาเป็นอัตตาตัวตนอีก...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กรกฎาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...